B-011-ขี้เหล็กบ้าน

ชื่อสามัญ

Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod

Cr.Data : Medthai

ชื่อวิทยาศาสตร์

Senna siamea (Lam.) H.S.Irwin & Barneby (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cassia siamea Lam.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)

Cr.Data : Medthai

ลักษณะ

ต้น เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นมักคดงอ เปลือกมีสีเทาถึงน้ำตาลดำแตกเป็นร่องตื้น ๆ ตามยาว แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแคบ ส่วนลักษณะของผลขี้เหล็ก มีลักษณะเป็นฝักแบนกว้าง 1.4 เซนติเมตร ยาว 15-23 เซนติเมตร มีความหนา มีสีน้ำตาล มีเมล็ดหลายเมล็ด

Cr.Data : Medthai

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับกัน ใบเป็นสีเขียวเข้ม มีใบย่อยรูปรี 5-12 คู่ กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ที่ปลายสุดเป็นใบเดี่ยว ปลายใบเว้าตื้น โคนใบมน ขอบและแผ่นใบเรียบ โดยใบขี้เหล็ก 100 กรัมจะมีเบต้าแคโรทีน 1.4 มิลลิกรัม, ธาตุแคลเซียม 156 มิลลิกรัม, ธาตุฟอสฟอรัส 190 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 5.8 มิลลิกรัม, เส้นใยอาหาร 5.6 กรัม, โปรตีน 7.7 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 10.9 กรัม, พลังงาน 87 กิโลแคลอรี

Cr.Data : Medthai

ดอก จะออกดอกเป็นช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่ง มีดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงกลมมี 3-4 กลีบ ปลายมน กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายมน โคนเรียว หลุดร่วงง่าย ก้านดอกจะยาว 1-1.5 เซนติเมตร และมีเกสรตัวผู้หลายเกสร และในบรรดาผักผลไม้ไทยทั้งหลาย ดอกขี้เหล็กก็จัดเป็นผักที่มีวิตามินซีสูงมากที่สุดเป็นอันดับ 1 โดยมีวิตามินซีมากถึง 484 มิลลิกรัมต่อดอกขี้เหล็ก 100 กรัม และยังมีเบต้าแคโรทีน 0.2 กรัม, ธาตุแคลเซียม 13 มิลลิกรัม, ธาตุฟอสฟอรัส 4 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัม, เส้นใยอาหาร 9.8 กรัม, โปรตีน 4.9 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 18.7 กรัม และให้พลังงาน 98 กิโลแคลอรี

Cr.Data : Medthai

ผล เป็นฝักแบนยาว กว้าง 1.3 ซม. ยาว 15-23 ซม. หนา สีน้ำตาล เมล็ดมีหลายเมล็ด

สรรพคุณ

ดอก - รสขม

- รักษาโรคเส้นประสาท นอนไม่หลับ ทำให้หลับสบาย

- รักษาหืด รักษาโรคโลหิตพิการ ผายธาตุ

- รักษารังแค ขับพยาธิ

ราก - รสขม

- รักษาไข้ แก้ไข้กลับรักษาโรคเหน็บชา ทาแก้เส้นอัมพฤกษ์ให้หย่อน แก้ฟกช้ำ แก้ไข้บำรุงธาตุ ไข้ผิดสำแดง

ลำต้นและกิ่ง

- เป็นยาระบาย รักษาโรคผิวหนัง แก้โรคกระษัย แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ ขับระดูขาว

ทั้งห้า รสขม

- แก้กระษัย ดับพิษไข้ แก้พิษเสมหะ รักษาโรคหนองใน รักษาอาการตัวเหลือง เป็นยาระบาย บำรุงน้ำดี ถ่ายเส้นทำให้เส้นเอ็นหย่อน แก้พิษทั้งปวง

เปลือกต้น - รสขม

- แก้เส้นเอ็นตึง แก้ริดสีดวงทวาร

กระพี้ - รสขมเฝื่อน

- ถอนพิษไข้ แก้ไข้เพื่อดี แก้กษัยเส้นเอ็น

แก่น - รสขมเฝื่อน

- ถ่ายพิษ ถ่ายเส้น ถ่ายม้าม แก้กษัย แก้ไข้เพื่อกษัย แก้เหน็บชา

- ขับโลหิต แก้เตโชธาตุพิการ ทำให้ตัวเย็น แก้แสบตา แก้กามโรค แก้หนองใน

- รักษาโรคเบาหวาน รักษาโรคหนองใน ใช้เป็นยาระบาย

- รักษาวัณโรค รักษามะเร็งปอด ปอดอักเสบ มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร

ใบ - รสขม แก้ระดูขาว แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ แก้กษัย ถ่ายพิษไข้ พิษเสมหะ ถ่ายพรรดึก

- ตำพอกแก้เหน็บชา แก้บวม

- บำรุงโลหิต ลดความดันโลหิตสูง ขับพยาธิ เป็นยาระบาย

- ดองสุราดื่มก่อนนอนรักษาอาการนอนไม่หลับ

ฝัก รสขม

- แก้พิษไข้เพื่อปิตตะ(น้ำดี) ไข้เพื่อเสมหะ แก้ลมขึ้นเบื้องสูง โลหิตขึ้นเบื้องบน ทำให้ระส่ำระสายในท้อง

เปลือกฝัก - รสขมเฝื่อน แก้เส้นเอ็นตึง แก้กษัย

ประโยชน์

  1. ใบขี้เหล็กมีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง (ใบ)
  2. ดอกขี้เหล็กมีวิตามินที่ช่วยบำรุงและรักษาสายตา (ดอก)
  3. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ป้องกันหวัด ช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น (ดอก)
  4. ช่วยบำรุงธาตุ (ราก)
  5. แก้ธาตุพิการ แก้ไฟ ทำให้ตัวเย็น (แก่น)
  6. ช่วยเจริญธาตุไฟ (ราก)
  7. ช่วยแก้โรคกระษัย (ราก, ลำต้นและกิ่ง, เปลือกต้น, ทั้งต้น)
  8. ช่วยรักษาอาการตัวเหลือง (ทั้งต้น)
  9. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน (ใบ, แก่น)
  10. ช่วยลดความดันโลหิตสูง (ใบ)
  11. ช่วยรักษาวัณโรค (แก่น)
  12. ช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง (ดอก)
  13. ช่วยรักษามะเร็งปอด ปอดอักเสบ มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร (แก่น)
  14. ช่วยแก้อาการชักในเด็ก (ราก)
  15. แก้ไตพิการ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  16. ช่วยแก้อาการแสบตา (แก่น)
  17. ใบขี้เหล็กมีสารที่ชื่อว่า "แอนไฮโดรบาราคอล" (Anhydrobarakol) ที่มีสรรพคุณช่วยในการคลายความเครียด บรรเทาอาการจิตฟุ้งซ่าน (ใบ)
  18. ช่วยบำรุงสมอง บำรุงประสาท แก้โรคประสาท และช่วยสงบประสาท (ดอก)
  19. ช่วยทำให้นอนหลับสบาย แก้อาการนอนไม่หลับ ผ่อนคลายความกังวล ด้วยการใช้ใบขี้เหล็กแห้ง 30 กรัม (หรือใบสด 50 กรัม) นำมาต้มกับน้ำไว้ดื่มก่อนนอน หรือจะใช้ใบอ่อนทำเป็นยาดองเหล้า โดยใส่เหล้าขาวพอท่วมยา แช่ทิ้งไว้ 7 วันและคนทุกวันให้น้ำยาสม่ำเสมอ เมื่อครบให้กรองเอากากยาออก จะได้น้ำยาดองเหล้าขี้เหล็ก แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1-2 ช้อนชาก่อนเข้านอน (ใบ, ดอก)
  20. ช่วยแก้ลมขึ้นเบื้องสูง เบื้องบน โลหิตขึ้นเบื้องบน ทำให้มีอาการระส่ำระสายในท้อง (ฝัก)
  21. ช่วยรักษาหืด (ดอก)
  22. ช่วยรักษาโรคโลหิตพิการ ผายธาตุ (ดอก)
  23. ช่วยบำรุงโลหิต (ใบ)
  24. ช่วยขับโลหิต (แก่น)
  25. ช่วยขับพิษโลหิต (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  26. แก้เลือดกำเดาไหล (ต้น, ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  27. ช่วยถ่ายพิษไข้ แก้ไข้กลับซ้ำ แก้ไข้หนาว ไข้ผิดสำแดง (ราก)
  28. ช่วยดับพิษไข้ (เปลือกต้น, ทั้งต้น)
  29. ช่วยแก้พิษไข้เพื่อน้ำดี พิษไข้เพื่อเสมหะ (เปลือกต้น, ฝัก)
  30. ช่วยแก้พิษเสมหะ (ทั้งต้น)
  31. ช่วยกำจัดเสมหะ (ใบ)
  32. ช่วยขับมุตกิด กัดเถาดาน กัดเสมหะ และกัดเมือกในลำไส้ (เปลือกฝัก)
  33. ขี้เหล็กมีสรรพคุณช่วยแก้ร้อนใน (ใบ)
  34. ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ดอก)
  35. แก้อาการเบื่ออาหาร ด้วยการใช้ใบขี้เหล็กแห้ง 30 กรัม (หรือใบสด 50 กรัม) นำมาต้มกับน้ำไว้ดื่มก่อนนอน หรือจะใช้ใบอ่อนทำเป็นยาดองเหล้า โดยใส่เหล้าขาวพอท่วมยา แช่ทิ้งไว้ 7 วันและคนทุกวันให้น้ำยาสม่ำเสมอ เมื่อครบให้กรองเอากากยาออก จะได้น้ำยาดองเหล้าขี้เหล็ก แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1-2 ช้อนชาก่อนเข้านอน (ใบแห้ง, ใบอ่อน)
  36. ช่วยแก้อาการท้องผูก ด้วยการใช้ใบอ่อน 2-3 กำมือ หรือแก่นประมาณ 2 องคุลี ประมาณ 3-4 ชิ้น นำมาต้มกับน้ำครึ่งถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ใช้ดื่มหลังตื่นนอนตอนเช้าหรือก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว (ใบอ่อน, แก่น)
  37. ช่วยรักษาโรคบิด (ใบ)
  38. ใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ด้วยการใช้ใบอ่อน 2-3 กำมือ หรือแก่นประมาณ 2 องคุลี ประมาณ 3-4 ชิ้น นำมาต้มกับน้ำครึ่งถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ใช้ดื่มหลังตื่นนอนตอนเช้าหรือก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว (ดอก, ใบ, แก่น, ลำต้นและกิ่ง, เปลือกต้น, ราก, ทั้งต้น)
  39. ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร (เปลือกต้น)
  40. ช่วยบำรุงน้ำดี (ทั้งต้น)
  41. ช่วยขับปัสสาวะ (ใบ, ลำต้น และกิ่ง)
  42. ช่วยรักษานิ่วในไต (ใบ, ลำต้น และกิ่ง)
  43. ช่วยรักษาโรคหนองใน (แก่น, ทั้งต้น)
  44. รักษาแผลกามโรค (ราก, แก่น)
  45. ช่วยแก้หนองใส (แก่น)
  46. ช่วยขับระดูขาว (ใบ, ลำต้น และกิ่ง)
  47. ช่วยฟอกโลหิตในสตรี (ต้น)
  48. ช่วยขับพยาธิ (ใบ, ดอก)
  49. ช่วยรักษาอาการเหน็บชา (ใบ, ราก)
  50. รากใช้ทาแก้อัมพฤกษ์ให้หย่อน (ราก)
  51. ช่วยทำให้เส้นเอ็นหย่อน (ทั้งต้น)
  52. แก้เส้นเอ็นพิการ (เปลือกฝัก)
  53. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง (ลำต้นและกิ่ง)
  54. ช่วยรักษาโรคหิด (เปลือกต้น)
  55. ช่วยรักษาฝีมะม่วง (ใบ)
  56. ทางภาคใต้ใช้รากขี้เหล็กผสมกับสารส้ม นำมาทาแผลฝีหนอง (ราก)
  57. ช่วยแก้อาการฟกช้ำ (ราก, ลำต้น และกิ่ง)
  58. ประโยชน์ของขี้เหล็กช่วยแก้บวม (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  59. ช่วยรักษารังแค ด้วยการใช้ดอกขี้เหล็กผสมกับมะกรูดย่างไฟ 2 ลูก โดยต้องย่างให้มีรอยไหม้ที่ผิวมะกรูดด้วย ใช้ดอกขี้เหล็ก 2 ช้อนโต๊ะ พิมเสน 1 ช้อนชา นำมาปั่นผสมกันแล้วเติมน้ำปูนใส 100 cc. ปั่นจนเข้ากัน แล้วคั้นกรองเอาแต่น้ำ จากนั้นนำน้ำมันมะกอกเติมผสมเข้าไปประมาณ 60-100 cc. ผสมจนเข้ากันแล้วนำมาหมักผมทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีก่อนการสระผมทุกครั้ง จะช่วยรักษารังแคได้ (ดอก)
  60. ใช้ทำปุ๋ยหมัก (ใบแก่)
  61. ดอกและดอกอ่อนใช้รับประทานหรือทำเป็นแกงขี้เหล็กได้ (ดอก)
Cr.Data : Medthai

วิธีการปลูก

โดยทั่วไปแล้วนิยมขยายพันธุ์ด้วยการนำเอาเมล็ดมาเพาะ แล้วนำไปปลูกในพื้นที่ที่ต้องการจะปลูก เพราะเป็นวิธีการสะดวกและประหยัดกว่าวิธีอื่น ไม่ยุ่งยากมาก

ต้นขี้เหล็กโดยปกติจะออกดอกออกผลให้เมล็ดเมื่ออายุ 3 ปีขึ้นไป ฝักจะแก่พอที่จะเก็บเมล็ดได้ประมาณเดือนเมษายน – พฤษภาคม สังเกตได้จากฝักแก่จะมีสีค่อนข้างคล้ำหรือ น้ำตาลแก่ การเก็บฝักขี้เหล็กก็จะเก็บจากต้นเลยอย่าปล่อยให้ฝักแก่มาก เพราะเมื่อฝักแก่มากๆ จะแตกคาต้นทำให้เมล็ดร่วงหล่นยากต่อการเก็บเมล็ด เมื่อเก็บฝักมาแล้วให้นำไปตากแดดบนผ้าหรือพลาสติก ฝักจะแห้งและแตกอ้ามาก เมล็ดขี้เหล็กจะหล่นออกมาเอง จากนั้นจึงแยกเมล็ดออก การเก็บรักษาเมล็ดทำได้โดยการนำไปบรรจุไว้ในถุงพลาสติกและปิดปากถุง พอให้อากาศผ่านได้ หรือเก็บในขวดโหลหรือกล่องกระดาษที่มีฝาปิดก็ได้

ในการเพาะเมล็ดขี้เหล็กเพื่อที่จะให้เมล็ดมีอัตราการงอกสูงและได้จำนวนกล้ามาก ควรนำไปแช่น้ำร้อนเดือดคนให้ทั่วกันประมาณ 5 นาที แล้วเทน้ำเย็นลงผสม ทิ้งให้แช่น้ำต่อไปอีก 12 ชั่วโมง จึงนำไปเพาะในแปลงเพาะวิธีนี้ได้ผลดีกว่า การหยอดเมล็ดโดยตรงในแปลงปลูก

การทำแปลงเพาะเมล็ดทำได้โดยการพูนดินขึ้นมาให้สูงจากพื้น 15 เซนติเมตร ขนากว้าง 1 เมตร ยาว

2 – 5 เมตร ขอบแปลงกั้นด้วยไม้ไผ่หรือขอนไม้ทั้ง 4 ด้าน ดินในแปลงเพาะควรเป็นดินร่วนปนทราย หรือดินเหนียวผสมทรายหยาบ หรือแกลบเผาในอัตรา 1 ต่อ 2 หรือ 1 ต่อ 3 หลังจากนั้นหว่านเมล็ดบนแปลงเพาะในอัตราส่วนครึ่งลิตรต่อพื้นที่แปลง 1 ตารางเมตร แล้วกลบเมล็ดรดน้ำให้ชุ่มคลุมแปลงเพาะด้วยฟางข้าวแห้ง หญ้าคาแห้งหรือใบสนก็ได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหน้าแปลงแห้ง รดน้ำเช้า – เย็น ทุกวัน ประมาณ 7 - 15 วัน เมล็ดจะเริ่มงอกปล่อยให้ต้นกล้าสูงประมาณ 4 – 6 เซนติเมตร จึงถอนไปชำในถุงพลาสติกบรรจุดินขนาด

10 x 15 เซนติเมตร โดยใช้ไม้จิ้มดินให้เป็นรูแล้วหย่อนกล้าลงไปแล้วบีบให้แน่นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดช่อง

อากาศ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดรากแห้ง กล้าขี้เหล็กอาจตายได้

สร็จแล้วนำไปวางเรือนเพาะชำโดยวางให้เป็นแถวเป็นแนวเพื่อสะดวกต่อการรดน้ำ ถ้าไม่มีเรือนเพาะชำก็อาจสร้างเรือนเพาะชำอย่างง่ายๆ โดยฝังเสาไม้เป็นโครงมุงหลังคาด้วยทางมะพร้าวให้แสงแดดส่องผ่านได้พอสมควร การบำรุงรักษาให้รดน้ำ

เช้า – เย็น คอยสังเกตว่ามีโรคหรือแมลงรบกวนกล้าไม้ขี้เหล็กหรือไม่ เมื่อกล้าไม้ขี้เหล็กมีความเจริญเติบโตให้คัดต้นที่มีความสูงมากมาจัดเรียง ไว้ที่หัวแปลง โดยจัดเรียงตามลำดับ

ความสูง เพื่อให้กล้าไม้ได้รับแสงแดดอย่างทั่วถึง ถ้าไม่ทำเช่นนี้ต้นกล้าทีสูงกว่าจะบดบังแสงแดดต้นที่เล็กกว่าจะทำให้กล้าต้น เล็กแคระแกรน อีกทั้งเป็นการป้องกันไม่ให้รากของกล้าไม้ไชลึกลงสู่พื้นดิน เมื่อกล้าไม้ขี้เหล็กมีอายุประมาณ 3 – 4 เดือน หรือมีความสูงประมาณ 20 – 40 เซนติเมตร ก็พร้อมที่จะนำไปปลูกได้

คุณค่าทางโภชนาการ

ยอดอ่อน และดอกอ่อน 100 กรัม

– พลังงาน : ยอดอ่อน 139, ดอกอ่อน 80 กิโลแคลอรี่

– น้ำ : ยอดอ่อน 57.8, ดอกอ่อน 74.7 กรัม

– คาร์โบไฮเดรต : ยอดอ่อน 22.8, ดอกอ่อน 14.3 กรัม

– โปรตีน : ยอดอ่อน 7.7, ดอกอ่อน 4.9 กรัม

– ไขมัน : ยอดอ่อน 1.9, ดอกอ่อน 0.4 กรัม

– กาก (crude fiber) : ยอดอ่อน 3.7, ดอกอ่อน 4.3 กรัม

– ใยอาหาร : ยอดอ่อน 8.2กรัม, ดอกอ่อน ไม่พบ

– เถ้า : ยอดอ่อน 1.6, ดอกอ่อน 1.3 กรัม

– แคลเซียม : ยอดอ่อน 156, ดอกอ่อน 13 มิลลิกรัม

– ฟอสฟอรัส : ยอดอ่อน 190, ดอกอ่อน 4 มิลลิกรัม

– เหล็ก : ยอดอ่อน 5.8, ดอกอ่อน 1.6 มิลลิกรัม

– วิตามินเอ : ยอดอ่อน 1,197, ดอกอ่อน 8,221 หน่วยสากล (I.U)

– วิตามินบี 1 : ยอดอ่อน 0.04, ดอกอ่อน 0.11 มิลลิกรัม

– วิตามินบี 2 : ยอดอ่อน 0.69 มิลลิกรัม,ดอกอ่อน ไม่พบ

– ไนอะซิน : ยอดอ่อน 1.3, ดอกอ่อน 1.8 มิลลิกรัม

– วิตามินซี : ยอดอ่อน 11, ดอกอ่อน 484 มิลลิกรัม

Cr.Data : Puechkaset.com