A-020-ตะไคร้หอม

ชื่อสามัญ

Citronella grass

ชื่ออื่น: จะไคมะขูด, ตะไครมะขูด, ตะไคร้แดง

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cymbopogon nardus (Linn.) Rendle,

ลักษณะ

พืชล้มลุก มีอายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นตั้งตรง ออกเป็นกอ มีกลิ่นหอม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปยาวแคบ โคนใบแผ่ออกเป็นกาบ มีลิ้นใบรูปไข่ มีขน อยู่ตรงรอยต่อระหว่างใบกับกาบมีแผ่น ดอกช่อขนาดใหญ่ สีน้ำตาลแดง แทงออกจากกลางต้น ใบประดับลักษณะคล้ายกาบ ดอกช่อเชิงลด แยกเป็นหลายแขนง ออกเป็นคู่ ช่อย่อยมีใบประดับที่โคน 2 ใบ ใบนอกมีหยัก ด้านนอกแบนเขอบแผ่ออกเป็นปีกแคบๆ และขอบด้านบนสาก ใบในรูปเรือ ปลายแหลมมีเส้นตามยาว 1-3 เส้น ขอบมีขน แต่ละดอกย่อยมีใบประดับ 2 แผ่น เรียกกาบบนและกาบล่าง กาบบนรูปขอบขนาน เนื้อบาง ขอบมีขน กาบล่างรูปยาว แคบ มีขนแข็งและปลายแหลม ผลเป็นผลแห้งเมล็ดเดียว ไม่แตก

ลำต้น

ตะไคร้หอมเป็นพืชล้มลุก อายุประมาณได้นาน 6-8 ปี เป็นพืชที่มีกลิ่นหอม เจริญเติบโตด้วยการแตกหน่อ หรือแตกเหง้า มีทรงพุ่มเป็นกอคล้ายตะไคร้บ้าน มีลำต้นยื่นจากเหง้าสั้น รูปทรงกระบอก ผิวเรียบเกลี้ยง ส่วนเหนือดินสูงได้ตั้งแต่ 1-2 เมตร

ใบ

ใบเป็นใบเดี่ยว ขนาดใหญ่ ยาว แต่บางกว่าตะไคร้บ้าน ใบเรียวยาว กว้าง 1.5-2.6 เซนติเมตร ยาว 60-115 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบหยักถี่ คมแข็ง มีผิวใบสาก ไม่มีขน บริเวณโคนใบด้านในมีขน ปลายใบยาวมีลักษณะโน้มลง ใบมีสีเขียวแกมเหลือง กาบใบเป็นส่วนหุ้มที่มองเป็นลำต้นเทียม มีสีเขีนวแกมแดงหรือสีม่วง ซึ่งต่างจากตะไคร้บ้านที่มีสีขาวอมเขียว

ดอก และเมล็ด

ดอกออกในฤดูหนาว ออกเป็นช่อยาวขนาดใหญ่ เป็นแบบแยก แขนงขนาดใหญ่ยาวประมาณ 100 เซนติเมตร แกนก้านช่อยาวโค้งหักไปหักมา ช่อดอกย่อยเป็นแบบกระจับหรือแบบเชิงลด ดอกประกอบด้วยดอกสมบูรณ์เพศ กาบล่างมี 2 หยัก สีใส รยางค์แข็งยาว (ถ้ามีรยางค์) ไม่มีกาบบน กลับเกล็ดมี 2 กลับ เกสรเพศผู้มี 3 อัน เกสรเพศเมียมี 2 อัน ยอดเกสรปกคลุมด้วยขนยาวนุ่ม ก้านย่อยรูปรี เป็นดอกเพศผู้หรือดอกเป็นหมัน กาบช่อย่อยข้างล่าง มีเส้น 7-9 เส้น ดอกย่อยจริงมีเกล็ด 1 เกล็ด ยาวประมาณ 0.3 เซนติเมตร มีสีใส ล้อมเกสรเพศผู้ไว้ 3 อัน และมีกลีบเกล็ด 2 กลีบ ผลเป็นแบบผลแห้งติดเมล็ด รูปทรงกระบอกออกกลม และมีขั้วที่ฐาน

สรรพคุณ

ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ

– ช่วยในการย่อยอาหาร และเจริญอาหาร

– ช่วยป้องกัน และรักษาโรคในช่องปาก ยังยั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัสบางชนิด

น้ำมันหอมระเหยตะไคร้หอม

น้ำมันหอมระเหย (volatile oil) เป็นสารอินทรีย์ที่พืชสังเคราะห์ขึ้น มีกลิ่น และรสเฉพาะตัว ถูกสร้างไว้ในเซลล์พิเศษ ผนังเซลล์ ต่อมหรือท่อภายในพืช น้ำมันหอมระเหยเกิดขึ้นจากกระบวนการเมทาบอลิซึมระดับทุติยภูมิ (secondary metabolite) แต่เป็นสารที่ไม่ได้ทำหน้าที่ต่อการเจริญเติบโต เป็นสารที่พบในพืชบางชนิด สารตั้งต้นในกระบวนการผลิตน้ำมันหอมระเหย เป็นสารที่ได้จากปฏิกิริยาเมแทบอลิซึมระดับปฐมภูมิ (primary metabolite) แตกต่างกันที่มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาของการผลิตน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิด

พืชที่ผลิตน้ำมันหอมระเหยได้จะสังเคราะห์ จัดเก็บ และปลดปล่อยกลิ่นน้ำมันหอมระเหยแตกต่างกัน สำหรับตะไคร้หอม เป็นพืชที่สร้างน้ำมันหอมระเหยจากเซลล์ขนขนาดเล็ก (microhairs) ที่อยู่บริเวณเนื้อเยื่อถาวร abaxial epidermis ของใบ

การสร้างน้ำมันหอมระเหย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1. สารประกอบกลุ่มเทอร์พีนอยด์ (terprenoids)

สารประกอบกลุ่มเทอร์พีนอยด์ เป็นสารสารประกอบอินทรีย์ มีโครงสร้างเป็นเส้นตรงหรือวงแหวน ประกอบด้วยไอโซพรีน (isoprene) ตั้งแต่ 2 หน่วยขึ้นไป เรียกว่า เทอร์พรีนไฮโดรคาร์บอน (terprenehydroocarbon) สารไอโซพรีนที่สำคัญเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารเทอร์พีนอยด์ คือ ไอโซพรีนไพโรฟอสเฟต (isoprene pyrophosphate: IPP) และไดเมทธิลอาลลิลไพโรฟอสเฟต (dimetyllalyl pyrophosphate: DMAPP) สารประกอบเทอร์พีนอยด์ที่สังเคราะห์ได้ คือ monoterpenes มีคาร์บอน 10 อะตอม, diterpenes มีคาร์บอน 20 อะตอม, triterpenes มีคาร์บอน 30 อะตอม และ tetraterpenes มีคาร์บอน 40 อะตอม

สารสำคัญของตะไคร้หอมของสารคือ monoterpenes ที่มีคาร์บอน 10 อะตอม ประกอบด้วยสารสำคัญหลัก 3 ชนิด คือ citronellal, geraniol และ citronellol เป็นสารที่เกิดจากกระบวนการ terpenoidderivertive โดยมีไอโซพรีนไพโรฟอสเฟต และไดเมทธิลอาลลิลไพโรฟอสเฟต เป็นสารตั้งต้นของการสังเคราะห์ เมื่อพิจารณรองค์ประกอบโครงสร้างของ citronellal มีแอลดีไฮด์เป็นองค์ประกอบหลัก (aldehyde volatile oils) ส่วน geraniol และ citronellol มีแอลกอฮอล์เป็นองค์ประกอบหลัก (alchol volatile oils)

2. สารประกอบกลุ่มฟีนิลโพรพานอยด์ (phenylpropanoids)

สารกลุ่มฟีนิลโพรพานอยด์เกิดผ่านกระบวนการ shikimic acid-phenylpropeniod route พบในพืชชั้นสูงหลายชนิด สารตั้งต้นที่สำคัญ ได้แก่ กรดอะมิโน (amino acid) ฟีนิลอะลานิน (phenylalanine) และ ไทโรซิน (tyrosine)

สารสำคัญของน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากพันธุ์ C. nardusL. และพันธุ์ C. winterianusJ. มีปริมาณที่แตกต่างกัน โดยพันธุ์ C. winterianus J. มีปริมาณ citronellal, geraniol และ citronellol สูงกว่าพันธุ์ C. nardusL.

สารสำคัญของน้ำมันหอมระเหยจากพันธุ์ Cymbopogonnardus L. และพันธุ์ CymbopogonwinterianusJ.

1. Limonene

– C. nardusL. ร้อยละ 9.7

– C. winterianusJ. ร้อยละ 1.3

2. Methyl neptanone

– C. nardus L. ร้อยละ 0.2

– C. winterianusJ. ร้อยละ Trace

3. Citronellal

– C. nardus L. ร้อยละ 5.2

– C. winterianusJ. ร้อยละ 32.7

4. Citronyl acetate

– C. nardus L. ร้อยละ 1.9

– C. winterianusJ. ร้อยละ 3.0

5. Menthol

– C. nardus L. มีปริมาณน้อย

6. I-borneol

– C. nardus L. ร้อยละ 6.6

– C. winterianusJ. ร้อยละ Trace

7. Citronellol, geranyl acetate

– C. nardus L. ร้อยละ 8.4

– C. winterianusJ. ร้อยละ 15.9

8. Geraniol

– C. nardus L. ร้อยละ 18.0

– C. winterianusJ. ร้อยละ 23.9

9. Methyl euginol

– C. nardus L. ร้อยละ 1.7

10. Methyliso-euqunol; euginol

– C. nardus L. ร้อยละ 7.2

– C. winterianusJ. ร้อยละ 2.3

11. Geranylformate

– C. nardus L. ร้อยละ 4.2

– C. winterianusJ. ร้อยละ 2.5

12. Trans-ocinene

– C. nardus L. ร้อยละ 1.8

ประโยชน์

การใช้ประโยชน์ทางด้านการแพทย์

ตะไคร้หอมเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่มีน้ำมันหอมระเหยสูงกว่าตะไคร้บ้าน พบในส่วนใบ กาบใบ และลำต้น มีสรรพคุณทางยา ใช้แก้ริดสีดวงในปาก ปากแตกระแหง แผลในปาก ขับลมในกระเพราะ ลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ

การใช้ประโยชน์ทางการเกษตร

น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอมคุณสมบัติป้องกันตัวเต็มวัยและสามารถฆ่าไข่ของด้วงถั่วเขียว (Callosobruchus maculates)ซึ่งเป็นแมงลงในโรงเก็บเข้าทำลายเมล็ดถั่วเขียวที่เก็บ โดยใช้ citronellal ความเข้มข้นร้อยละ 5 ตั้งทิ้งไว้ในดรงเก็บเมล็ดเป็นเวลา 3 ชั่วโมงสามารถออกฤทธิ์ไล่ตัวเต็มวัยและไข่ของด้วงถั่วเขียวได้

มีการทดลองใช้สารสกัดจากตะไคร้หอมยับยั้งเพลี้ยที่เข้าทำลายต้นยี่หร่าฝรั่งได้โดยใช้ citronellal เข้มข้นร้อยละ 1.0 ฉีดพ่นยี่หร่าฝรั่ง และมีการนำมาใช้ประโยชน์ในการควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อรา Aspergillusflavus และการผลิต aflatoxin พบว่า citronellal ซึ่งเป็นองค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม สามารถยับยั้งการผลิต aflatoxin โดยใช้ความเข้มข้นร้อยละ 1.0

  • การใช้ ไล่ยุง ใช้ต้นตะไคร้หอม ทุบวางไว้ข้างๆ
  • ใช้สารสกัดตะไคร้หอมด้วยแอลกอฮอล์ ชุบสำลีวางไว้ใกล้ๆ ตัว
  • ใช้น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอมมาทาตามตัว
  • ตะไคร้หอม ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช: แมลงสาบ หนอนกัดกินผัก หนอนใยผัก ไล่ยุง โดยมีวิธีใช้คือ นำเหง้าและใบตะไคร้หอมมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วบดให้ละเอียดประมาณ 5 ขีด นำมาผสมน้ำครึ่งปี๊บ แช่ทิ้งไว้ 1 วัน จากนั้นกรองเอาแต่น้ำ ผสมสารจับใบ เช่น สบู่หรือแชมพู ฉีดพ่นกำจัดหนอน

วิธีการปลูก

ตะไคร้หอมมีในประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดสระแก้ว กาญจนบุรี อุบลราชธานี นครราชสีมา เชียงใหม่ ราชบุรี และชลบุรี โดยเฉพาะจังหวัดสระแก้วที่ปลูกกันมาก พันธุ์ที่นิยมปลูก คือ พันธุ์ C. winterianus J. เนื่องจากมีช่อดอกยาว โน้มต่ำลง มีลำต้น และใบที่ยาว มีกลิ่นแรง และน้ำมันหอมระเหยที่ได้มีคุณภาพดีกว่าพันธุ์ C. nardus L. ที่มีช่อดอกตรง และสั้น นิยมปลูกกันมากในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน

ตะไคร้หอมเป็นพืชที่มีอายุหลายปี ชอบแสงแดดจัด ทำให้เจริญเติบโต และสร้างน้ำมันหอมระเหยเร็ว เป็นพืชที่มีรากฝอยมาก สามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน ดินที่เหมาะสม ได้แก่ ดินร่วน ดินร่วนปนทราย ที่มีปริมาณอินทรียวัตถุสูง ส่วนดินเหนียวจัดหรือทรายจัด การเจริญเติบโตจะช้า ค่า pH ที่เหมาะสมในช่วง 6-7

การเตรียมดิน เตรียมแปลง

เตรียมดินหรือแปลงปลูก ด้วยการไถตากดินก่อนปลูกประมาณ 7 วัน พร้อมกำจัดวัชพืช โรค และแมลงในดิน หลังจากนั้น ไถพรวนดินให้ร่วน และไถยกร่อง ให้มีระยะห่างระหว่างแถว 1-1.5 เมตร ขุดหลุมขนาดประมาณ 15 x 15 x 15 เซนติเมตร โดยมีระยะห่างระหว่างหลุมประมาณ 1-1.5 เมตร หว่านโรยด้วยปุ๋ยคอกผสมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตราปุ๋ยคอก 3-5 กำมือ/หลุม ปุ๋ยเคมี ครึ่งกำมือ/หลุม

การเตรียมท่อนพันธุ์

ท่อนพันธุ์ที่ใช้ปลูกควรเป็นสายพันธุ์ที่มีกลิ่นหอมฉุน ลำต้นใหญ่ ใบยาว โดยขุดเหง้าจากกอที่มีอายุตั้งแต่ 8 เดือน ขึ้นไป นำมาตัดส่วนใบออกให้เหลือเฉพาะกาบใบหรือลำต้น ให้มีข้ออยู่ประมาณ 2-3 ข้อ มีกาบใบหุ้มข้ออยู่ 4-5 ใบ ทั้งนี้ การขุดเหง้าต้องขุดให้มีส่วนรากติดมาด้วย และระวังการหักของโคนเหง้า

การปลูก

นำต้นพันธุ์ที่เตรียมไว้ลงปลูก หลุมละประมาณ 1-2 ต้น โดยปักให้เอียง 45 องศา หลังจากปลูกประมาณ 20-50 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 21-0-0 และ 16-20-0 และเมื่อตะไคร้หอมเริ่มจะมีการแตกกอในช่วงตั้งแต่ 120 -150 วัน อัตราการใช้ปุ๋ยขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน

การให้น้ำ

การให้น้ำอย่างสม่ำเสมอทำให้ตะไคร้หอมแตกกอเร็วขึ้น และสามารถให้ผลผลิตได้ตลอดปี และตลอดระยะเวลาในการเจริญเติบโต ตะไคร้หอมเป็นพืชที่ทนต่อโรค แมลง และทนแล้งได้ดี ซึ่งง่ายต่อการดูแล

การเก็บผลผลิต

สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลังจากปลูกประมาณ 6-8 เดือน มีอายุการให้ผลผลิตยาวประมาณ 5-6 ปี แต่ปริมาณการให้น้ำมันหอมระเหยสูงสุดอยู่ในปีที่ 2 หรือ 3 เท่านั้น หลังจากนั้นปริมาณน้ำมันหอมระเหยจะลดลง การปลูกใหม่จึงควรดำเนินการปลูกในปีที่ 3 หรือ 4 การเก็บเกี่ยวจะตัดส่วนใบเหนือพื้นดิน 25-30 เซนติเมตร เพื่อให้ต้นที่เหลือสามารถแตกใบใหม่ได้เร็วขึ้น การเก็บเกี่ยวแต่ละครั้งควรเว้นระยะห่างประมาณ 3 เดือน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ปีละ 2-3 ครั้ง

คุณค่าทางโภชนาการ

คุณค่าทางโภชนาการที่จะได้รับจากการรับประทานตะไคร้ในปริมาณ 100 กรัม

1. จะได้รับพลังงานในปริมาณ 126 กิโลแคลอรี่

2. จะได้รับโปรตีนในปริมาณ 1.2 กรัม

3. จะได้รับคาร์โบไฮเดรตในปริมาณ 25.5 กรัม

4. จะได้รับไขมันในปริมาณ 2.1 กรัม

5. จะได้รับเส้นใยอาหารหรือกากใยอาหารในปริมาณ 4.2 กรัม

6. จะได้รับวิตามินเอในปริมาณ 427 มิลลิกรัม

7. จะได้รับวิตามินซีในปริมาณ 1 มิลลิกรัม

8. จะได้รับธาตุเหล็กในปริมาณ 2.6 มิลลิกรัม

9. จะได้รับแคลเซียมในปริมาณ 35 มิลลิกรัม

10. จะได้รับฟอสฟอรัสในปริมาณ 30 มิลลิกรัม

11. จะได้รับไนอะซีนในปริมาณ 2.2 มิลลิกรัม

12. จะได้รับไธอะมีนในปริมาณ 0.05 มิลลิกรัม

13. จะได้รับไลโบฟลาวินในปริมาณ 0.02 มิลลิกรัม

อ้างอิง

Masui K, Kochi H. Camphor and tricyclodecane in deodorants and insect repelling compositions. Patent: Japan Kokai-74 1974;100(239):4.

2. Schearer WR. Components of oil of Tancy (Tanacetum vulgare) that repel colorado potato beetes (Leptinotarsa Decemlineata). J Nat Prod 1984;476:964-9.

3. Scriven R, Meloan CE. Determining the active component in 1,3,3-trimethyl-2-oxabicyclo [2,2,2] octane (cineole) that repels the American cockroach, Periphaneta americanna. Ohio J Sci 1984;843:85-8.

4. Verma MM. The isolation and identification of a cockroach repellent in Bay leaves and a flourescence method for determination of protein in wheat. Diss Abstr Int B 1981;41:4514.

5. Hwang YS, Wu KH, Kumamoto J, Axclrod H, Mulla MS. Isolation and identification of mosquito repellents in Artemisia vulgaris. J Chem Ecol 1985;119:1297-306.

6. Chogo JB, Crank G. Chemical composition and biological activity of the Tanzanian plants, Ocimum suave. J Nat Prod 1981;433:308-11.

7. Vartak PH, Sharma RN. Vapour toxicity and repellence of some essential oils and terpenoids to adults of Ades Algypti (L) (Doptera: Culicidae). Indian J Med Res 1993;973:122-7.

8. Tunon H, Thoreell W, Bohlin L. Mosquito repelling activity of compounds occurring in Achillea Millefolium L. (Astraceae). Econ Bot 1994;482:111-20.

9. Marcus C, Lichtenstein EP. Biologically active components of anise: toxicity and interactions with insecticides in insects. J Agr Food Chem 1979;276:1217-23.

10. Bower WS, Oretego F, You XQ, Evans PH. Insect repellants from Chinese pickly ash Zanthoxylum bungenanum. J Nat Prod 1993;566: 935-8.

11. Nyamador WS, Ketoh GK, Amevoin K, Nuto Y, Koumaglo HK, Glitho IA. J Stored Prod Res 2010;46:48-51.

12. Samarasekere R, Kalhari KS, Weerasinghe IS. Insecticidal activity of essential oils of Ceylon Cinnamomum and Cymbopogon species against Musca domestica. J Essent Oil Res. 2006;18:352-4.

13. Campbell C, Gries R, Gries G. Forty-two compounds in eleven essential oils elicit antennal responses from Aedes aegypti. Entomol Exp Appl 2011;138:21-32.

14. Cos ND. Flea treatment composition for animals. US Patent R 193,986,1980.

15. Phasomkusolsil S, Soonwera M. Insect repellent activity of medicinal plant oil against Aedes aegypti (Linn.), Anopheles minimus (Theobald) and Culex quinquefasciatus Say Based on protection time and biting rate. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2010;41:831-40.

16. สมยศ จารุวิจิตรวัฒนา และคณะ. ผลของการใช้ครีมตะไคร้หอมในการป้องกันยุงเปรียบเทียบกับครีมที่ไม่มีตัวยา. หนังสือรวบรวมผลงานวิจัยโครงการพัฒนาการใช้สมุนไพรและยาไทยทางคลินิก (2525-36) มหาวิทยาลัยมหิดล, 2536. หน้า 63-8.

17. ศศิธร วสุวัต และคณะ. ประสิทธิภาพป้องกันยุงกัดของครีมตะไคร้หอม วท. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2533;5(2):62-7.

18. กิตติพันธ์ ตันตระรุ่งโรจน์. การพัฒนาตำรับยาทากันยุงจากสมุนไพร. รวมบทคัดย่องานวิจัยการแพทย์แผนไทยและทิศทางการวิจัยในอนาคต สถาบันการแพทย์แผนไทย, 2543.

19. วรรณภา สุวรรณเกิด และ กิตติพันธ์ ตันตระรุ่งโรจน์. การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรในการป้องกันยุงกัด. วารสารโรคติดต่อ. 2537;20(1):4-11.

20. Tyagi BK, Shahi AK, Kaul BL. Evaluation of repellant activities of Cymbopogon essential oils against mosquito vectors of malaria, filariasis, and dengue fever in India. Phytomedicine 1998;5(4):324-9.

21. สมเกียรติ บุญญะบัญชา กสิน ศุภปฐม เอื้อมเดือน ศรีสุระพัตร. การทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันยุงลาย (Aedes aegypti L.) ด้วยน้ำมันหอมระเหย 6 ชนิด โดยใช้เครื่องทดสอบสารป้องกันยุงที่ประดิษฐ์ขึ้น. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2540;39(1):61-6.

22. เนาวรัตน์ ศุขะพันธุ์ สมคิด แก้วมณี ไพโรจน์ เปรมปรีดิ์ สุชาติ อุปถัมภ์ ยุพา รองศรีแย้ม. ประสิทธิภาพการแสดงฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรในการขับไล่ยุง. การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 19, 27-29 ตุลาคม, หาดใหญ่, 2536. หน้า480-1.

23. Thorsell W, Mikiver A, Tunon H. Repelling properties of some plant materials on the tick Ixodes ricinus L. Phytomedicine 2006;13:132-4.

24. Soares SF, Borges LM, de Sousa Braga R, Ferreira LL, Louly CC, Tresvenzol LM, de Paula JR, Ferri PH. Repellentactivity of plant-derived compounds against Amblyom macajennense (Acari: Ixodidae) nymphs. Vet Parasitol 2010;167:67-73.

25. Paranagama P, Abeysekera T, Nugaliyadde L, Abeywickrama K. Effect of the essential oils of Cymbopogon citratus, C. nardus and Cinnamomum zealanicum on pest incidence and grain quality of rough rice (paddy) stored in an enclosed seed box. J Food Agric Environ 2003;1(2):134-6.

26. Chumnanvej N, Leetranont M, Leangtrakoon S. Mitigation of Musca domestica with medicinal plant extracts. The 34th Congress on Science and Technology of Thailand on Dec 31- Nov 2, Bangkok, Thailand, 2008.

27. Sinchaisri N, Roongsook D, Areekul S. Botanical repellant against the diamonback moth, Plutella xylostella L. Kasetsart J 1988;22(5):71-4.

28. Sugiura M, Ishizuka T, Neishi M. Flying insect repellents containing essential oils. Patent: Jpn Kokai Tokkyo Koho JP 2002 173,404, 2002:7pp.

29. Phasomkusolsil S, Soonwera M. Potential larvicidal and pupacidal activities of herbal essential oils against Culex quinquefesciatus Say and Anopheles minimus (Theobald). Southeast Asian J Trop Med Public Health 2010;41:1342-51.

30. Ketoh GK, Koumaglo HK, Glitho IA, Auger J, Huignard J. Essential oils residual effects on Callosobruchus maculatus (Coleoptera: Bruchidae) survival and female reproduction and cowpea seed germination. Int J Trop Insect Sci 2005;25(2):129-33.

31. Ketoh GK, Glitho AI, Huignard J. Susceptibility of the bruchid Callosobruchus maculatus (Coleoptera: Bruchidae) and its parasitoid Dinarmus basalis (Hymenoptera: Pteromalidae) to three essential oils. J Economic Entomology 2002;95(1):174-82.

32. ชาญณรงค์ ศรีทรงเมือง. การจัดการแมลงศัตรูพืชตระกูลกะหล่ำภายในสภาพโรงเรือนมุ้งตาข่าย. รายงานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2002.

33. กนก อุไรสกุล. การใช้สมุนไพรบางชนิดยับยั้งการเจริญเติบโตของไรแดงกุหลาบ. รายงานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2002.

34. สุรัตน์วดี จิวะจินดา ชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล อุดม แก้วสุวรรณ์. การควบคุมแมลงศัตรูผักโดยสารสกัดจากพืช. สรุปผลการดำเนินงานวิจัย ทุนอุดหนุนวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการวิจัย KIP (KURDI INITIATED PROJECT) ประจำปี 2536, 16-19 พฤษภาคม ณ ห้องประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์, 2537. หน้า101-3.

35. วสุ วิฑูรย์สฤษฎ์ศิลป์ ศุทธิชัย พจนานุภาพ. แชมพูสมุนไพรสำหรับสัตว์เลี้ยง.โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์, กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2545.

36. อรัญ งามผ่องใส สุนทร พิพิธแสงจันทร์ วิภาวดี ชำนาญ. การใช้สารฆ่าแมลงและสารสกัดจากพืชบางชนิดควบคุมแมลงศัตรูถั่วฝักยาว. วารสารสงขลานครินทร์ 2546;25(3):307-16.

37. Dhar MLOS, Dhar MN, Dhawan BN, Mehrotra BN, Srimal RC, Tandon JS. Screening of Indian plants for biological activity. Part IV. Indian J Exp Biol 1973;11:43.

38. Sakulku U, Nuchuchua O, Uawongyart N, Puttipipatkhachorn S, Soottitantawat A, Ruktanonchai U. Characterization and mosquito repellent activity of citronella oil nanoemulsion. Int J Pharm 2009;375:105-11.