พงศาวลีเจ้าเมืองขุขันธ์-ศรีสะเกษเท่าที่ค้นพบ


เรียบเรียงและจัดทำโดย ว่าที่ ร.ต.ชัชวาลย์ คำงาม

วงศ์ตระกูลเจ้าเมืองศีร์สะเกษ 

ปรากฏเชื้อสายของพระยารัตนวงษา (ท้าวอุ่น) เจ้าเมืองศรีสะเกษ ได้ใช้สกุลสืบต่อกันมา ดังนี้

1. สกุลสุวรรณวิเศษ เป็นสกุลที่สืบเชื้อสายจากพระยารัตนวงษา (ท้าวอุ่น) เจ้าเมืองศรีสะเกคนแรก ท่านเป็นบุตรของเจ้ามืดคำดล เจ้าผู้ครองเมืองท่งศรีภูมิองค์ที่ 2 สืบเชื้อสายมาจากเจ้าแก้วมงคล เจ้าผู้ครองเมืองทุ่งศรีภูมิพระองค์แรกจากราชวงศ์ล้านช้าง  พระยารัตนวงษา (ท้าวอุ่น) สมรสกับธิดาคนโตของพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (ตากะจะ) ภายหลังเกิดการชิงอำนาจกัน ท้าวอุ่นจึงขอตั้งเมืองขึ้นใหม่ที่บ้านโนนสามขา พระราชทานนามว่าเมืองศรีสะเกษ สกุลนี้ได้เป็นเจ้าเมืองศรีสะเกปกครองเมืองแยกกับขุขันธ์นับแต่นั้นมา รวมทั้งสิ้น 5 ท่าน  ได้แก่ 

2. สกุลอินตะนัย เป็นสกุลที่สืบเชื้อสายจากพระยารัตนวงษา (ท้าวอุ่น) เจ้าเมืองศรีสะเกคนแรก ต้นสกุลคือ พระภักดีโนชิต บุตรพระยาวิเศษภักดี (ท้าวโท) เจ้าเมืองศสะเกษท่านที่ 5

3. สกุลจันทรศร เป็นสกุลที่สืบเชื้อสายจากพระยาวิเศษภักดี (ท้าวบุญจันทร์) เจ้าเมืองศีรสะเกษท่านที่ 4 สืบเชื้อสายมาจากพระยารัตนวงษา (ท้าวอุ่น) เจ้าเมืองศรีสะเกษคนแรก นามสกุลจันทรศรนี้ พันตำรวจตรี หลวงชาญนิคม (ทอง จันทรศร) เป็นผู้ขอพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชทานให้เมื่อครั้งหลวงชาญนิคมมียศเป็นนายร้อยตำรวจเอก ปรากฏความในหนังสือนามสกุลพระราชทานว่า นายร้อยตำรวจเอกทอง ผู้บังคับกองตำรวจภูธรเมืองที่ 5 จังหวัดนครนายก ทวดชื่อ พระยาวิเศษภักดี (บุญจันทร์) บิดาชื่อ ขำ ปู่ชื่อ หลวงวิเศษ (สอน) เขียนเป็นอักษรโรมันว่า "Chandrasara" พระราชทานเมื่อวันที่ 4/11/16 เป็นนามสกุลพระราชทานลำดับที่ 3547

นอกจากนี้ยังปรากฏสายสกุลสัมพันธ์ คือ


******ในเอกสารของสภาวัฒนธรรมเมืองขุขันธ์ ระบุว่า "พระยารัตนวงษา" เป็นบุตรผู้หนึ่งของพระยาไกรภักดีฯ (ตากะจะ) ซึ่งขัดกับเอกสารบันทึกส่วนตัวของลูกหลานพระยาวิเศษภักดี (ท้าวโท) เจ้าเมืองศีร์สะเกษท่านสุดท้ายที่กล่าวว่า พระยารัตนวงษา เป็นบุตรเขยของเจ้าเมืองขุขันธ์****** 


สายสกุลสัมพันธ์วงศ์เจ้าเมืองชลบถวิบูลย์ 

พระจันตะประเทศ (ท้าวคำพาว) เจ้าเมืองชลบถวิบูลย์คนแรก ท่านเป็นบุตรของเจ้ามืดคำดล เจ้าผู้ครองเมืองท่งศรีภูมิองค์ที่ 2 สืบเชื้อสายมาจากเจ้าแก้วมงคล เจ้าผู้ครองเมืองทุ่งศรีภูมิพระองค์แรกจากราชวงศ์ล้านช้าง พระจันตะประเทศ (ท้าวคำพาว) เดิมทีมีตำแหน่งเป็นเมืองแสน (สมุหกลาโหม) แห่งเมืองสุวรรณภูมิ ภายหลังเกิดความขัดแย้งภายในเมืองสุวรรณภูมิ จึงอพยพผู้คนจำนวนหนึ่งแยกออกมาตั้งบ้านหนองกองแก้ว สมัครทำราชการขึ้นกับเจ้าพระยานครราชสีมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2335 เจ้าพระยานครราชสีมามีใบบอกไปยังกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จึงทรงพระกรุณายกบ้านหนองกองแก้วขึ้นเป็นเมือง พระราชทานนามนามว่า เมืองชลบถวิบูลย์ ยกท้าวคำพาว เมืองแสน ขึ้นเป็น พระจันตะประเทศ เจ้าเมืองคนแรก ใช้ราชทินนามคู่กับ พระยาวิเศษภักดี (ท้าวชม) น้องชาย ซึ่งเป็นเจ้าเมืองศีรสะเกษ เป็น จันตะประเทศ - วิเศษภักดี สืบต่อมา ปรากฏเชื้อสายของพระจันตะประเทศ (ท้าวคำพาว)  เจ้าเมืองชลบถวิบูลย์ ได้ใช้สกุลสืบต่อกันมา ดังนี้

1. สกุลประจันตะเสน เป็นสกุลที่สืบเชื้อสายจากพระจันตะประเทศ (ท้าวคำพาว) เจ้าเมืองชลบถวิบูลย์คนแรก นามสกุลนี้เป็นนามสกุลที่

รองอำมาตย์โท หลวงพิชัยชาญยุทธ์ (เสนา) กรมการพิเศษอำเภอชนบทพิบูลย์  จังหวัดขอนแก่น  ปู่ชื่อพระประจันตประเทศธานี (คำสาว) ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เขียนเป็นอักษรโรมันว่า "Prachantasena" พระราชทานเมื่อวันที่ 5/4/19 เป็นนามสกุลพระราชทานลำดับที่ 4795 

2. สกุลพึ่งมี (กำลังสืบค้น)

3. สกุลวรแสน (กำลังสืบค้น)

    

สายสกุลสัมพันธ์วงศ์เจ้าเมืองขุขันธ์

แบ่งออกเป็น 2 วงศ์ คือ วงศ์พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (ตากะจะ) เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านแรก และวงศ์พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (เชียงขันธ์) เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 2 แต่ทั้ง 2 วงศ์ล้วนเป็นเผ่าพงษ์เชื้อสายเดียวเดียวกัน เนื่องจากตากะจะ และเชียงขันธ์เป็นพี่น้องกัน มีสายสกุลดังที่ปรากฏ ดังนี้

สายที่ 1 

คือ วงศ์ตระกูลของพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (ตากะจะ) เจ้าเมืองขุขันธ์คนแรก ประกอบด้วยสายสกุลต่าง ๆ ดังนี้

1. สกุลขุขันธิน เป็นสกุลสายตรงที่สืบเชื้อสายจากพระยาขุขันธ์ฯ (เชียงขันธ์) เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 2 อำมาตย์ตรี พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ปัญญา) กรมการพิเศษจังหวัดขุขันธ์ มณฑลอุบลราชธานี ได้รับพระราชทานนามสกุลนี้จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เขียนเป็นอักษรโรมันว่า "Khukhandhin" พระราชทานเมื่อวันที่ 25/11/16 เป็นนามสกุลพระราชทานลำดับที่ 3565 แม้ว่าพระยาขุขันธ์ฯ (ปัญญา) จะสืบเชื้อสายมาจากพระยาขุขันธ์ฯ (เชียงขันธ์) เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 2 แต่เมื่อได้รับพระราชทานนามสกุลแล้ว บรรดาญาติ ๆ บางสายทั้งสายของพระยาไกรภักดีฯ (ตากะจะ) เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านแรก และสายตรงของท่านคือ สายพระยาขุขันธ์ (เชียงขันธ์) ก็ได้ใช้นามสกุลนี้กันเป็นส่วนมากเนื่องจากได้รับพระราชทานจากในหลวงรัชกาลที่ 6  

2. สกุลสหุนาฬุ / สหุนาลุ เป็นสกุลสายตรงที่สืบเชื้อสายมาจากพระสีมาปัจจิมเขตต์ (ดวง) นายกองนอกฝ่ายตะวันตกขึ้นต่อเมืองขุขันธ์ (กองนอกยางอนันต์) หัวหน้าสำรองเจ้าเมือง (ปัจจุบันพื้นที่ที่ท่านเคยปกครองกลายเป็นตำบลยาง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์) บุตรพระขุขันธ์ (โลกตาเปตี๊ยะธม แซรธม) หัวหน้าผู้ปกครองบ้านอนันต์ หลานพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (ตากะจะ) เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านแรก ได้มีลูกหลานสืบสกุลหลายสายด้วยกันคือสาย พระนรินทรภักดี(สวาย), หลวงประเสริฐฯ (เนียม), อำแดงโคตร, หลวงทิพยโอสถ (น้อม), นายนิล, อำแดงกระโอม, นายนึม, แสงเพ็ง, นายแก้ว, อำแดงตลับ, อำแดงกา (ธิดาบุญธรรมพระสีมาฯ)  นอกจากนี้ยังปรากฏสายสกุลสัมพันธ์ที่สำคัญเป็นที่รู้จักของชาวบ้านตำบลยาง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ณ ปัจจุบัน ดังต่อไปนี้


สายที่ 2

คือ วงศ์ตระกูลที่สืบเชื้อสายจากพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (เชียงขันธ์) เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 2 ผู้มีศักดิ์เป็นน้องชายของพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (ตากะจะ) เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านแรก ประกอบด้วยสายสกุลเท่าที่สืบค้นพบ คือ

1. สกุลขุขันธิน เป็นนามสกุลพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ผู้ที่ได้รับพระราชทาน คือ พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ปัญญา) กรมการพิเศษจังหวัดขุขันธ์ มณฑลอุบลราชธานี เขียนเป็นอักษรโรมันว่า "Khukhandhin" พระราชทานเมื่อวันที่ 25/11/16 เป็นนามสกุลพระราชทานลำดับที่ 3565 พระยาขุขันธ์ฯ (ปัญญา) เป็นเจ้าเมืองขุขันธ์ท่านสุดท้าย เป็นบุตรของ พระยาขุขันธ์ฯ (วัง) เจ้าเมืองท่านที่ 8 และท่านมีศักดิ์เป็นหลานของพระยาขุขันธ์ (เชียงขันธ์) เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 2 

2. สกุลศรีอุทุมพร เป็นนามสกุลพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ผู้ที่ได้รับพระราชทาน คือ พระพิไชยราชวงศ์ (บุญมี) กรมการพิเศษ จังหวัดขุชันธ์ บิดาชื่อพระอุทุมพรเทศานุรัตน์ (วัตร์) เขียนเป็นอักษรโรมันว่า "Sriudumbara" พระราชทานเมื่อวันที่ 5/4/19 เป็นนามสกุลพระราชทานลำดับที่ 4783 สกุลนี้สืบเชื้อสายจากพระอุทุมพรเทศานุรักษ์ (บุตรดี) เจ้าเมืองอุทุมพรพิไสยท่านแรก ซึ่งเป็นบุตรชายของพระยาขุขันธ์ฯ (วัง) เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 8 หลานพระยาขุขันธ์ฯ (เชียงขันธ์) เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 2 และมีศักดิ์เป็นพี่น้องกับพระยาขุขันธ์ฯ (ปัญญา ขุขันธิน) เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 9 แต่ต่อมาพระยาขุขันธ์ฯ (วัง) บิดา ได้ขอให้ยกฐานะบ้านกันตวดเป็นเมืองอุทุมพรพิไสย เมื่อได้เป็นเมืองแล้วท่านขอให้ ท้าวบุตรดี บุตรชายเป็นเจ้าเมือง สายสกุลนี้จึงได้ปกครองเมืองอุทุมพรพิไสยสืบต่อมา จนได้รับพระราชทานนามสกุลแยกไป  ดังนั้น เมืองอุทุมพรพิไสย มีเจ้าเมืองปกครองรวมทั้งสิ้น 2 ท่าน ดังนี้

3. สกุลเจริญศรีเมือง  เป็นสกุลที่สืบเชื้อสายจากพระกันทรลักษ์บาล (พิมพ์) เจ้าเมืองกันทรลักษท่านแรก บุตรชายของพระยาขุขันธ์ฯ (วัง) เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 8 หลานพระยาขุขันธ์ฯ (เชียงขันธ์) เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 2 และมีศักดิ์เป็นพี่น้องกับพระยาขุขันธ์ฯ (ปัญญา ขุขันธิน) เจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 9 และมีศักดิ์เป็นพี่น้องกับพระอุทุมพรเทศานุรักษ์ (บุตรดี) เจ้าเมืองอุทุมพรพิสัยท่านแรกอีกด้วย พระกันทรลักษ์บาล มีบุตรชาย คือ พระกันทรลักษ์บาล (อ่อน) ต่อมาเป็นเจ้าเมืองกันทรลักษณ์ท่านที่สอง พระกัทรลักษณ์บาล (อ่อน) สมรสกับนางทองอยู่ เจริญศรีเมือง ดังนั้น เมืองกันทรลักษมีเจ้าเมืองปกครองรวมทั้งสิ้น 2 ท่าน ดังนี้

เมืองขุขันธ์เป็นเมืองใหญ่มีเจ้าเมืองปกครองอย่างไม่ขาดสายถึง 9 ท่าน ดังนี้

เป็นคนเชื้อสายจากลาวเวียงจันทร์ เป็นเจ้าเมืองขุขันธ์ ท่านที่ 3 

เป็นเจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 4

    

***ดูข้อมูลสายสกุลสัมพันธ์เจ้าเมืองขุขันธ์ สายพระสีมา  เพิ่มเติม คลิกด้านล่าง