ภาพถ่ายบรรพชน

"สายสกุล สารพัฒน์"

ภาพถ่ายขุนเปรมกิจประชา (เพ็ชร์ สารพัฒน์) ในเครื่องแบบชุดปกติขาวเต็มยศ ขณะเป็นนายอำเภอนครจำปาศักดิ์ ในสมัยนั้น

ช่วงปี พ.ศ. 2484 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากกรณีพิพาทอินโดจีน ประเทศไทยได้รับดินแดนอินโดจีนฝรั่งเศสบางส่วนคืนจากฝรั่งเศส โดยนำท้องที่การปกครองเมืองจำปาศักดิ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 รวมไปถึงดินแดนประเทศกัมพูชาปัจจุบัน ได้แก่พื้นที่ส่วนหนึ่งของจังหวัดสตึงแตรงและพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดพระวิหาร ยกขึ้นเป็นจังหวัดนครจัมปาศักดิ์ โดยมีเจ้ายุติธรรมธร (หยุย ณ จำปาศักดิ์) เป็นผู้ครองนคร แต่เมื่อสงครามสิ้นสุด ไทยในฐานะผู้แพ้สงครามต้องส่งดินแดนดังกล่าวคืนให้แก่ฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อประเทศลาวได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2497 จึงได้รวมอาณาจักรล้านช้างทั้ง 3 อาณาจักรขึ้นเป็นราชอาณาจักรลาว พื้นที่ดังกล่าวจึงได้ยกขึ้นเป็นแขวงจำปาศักดิ์ของประเทศลาวมาจนถึงปัจจุบัน 

ภาพถ่ายขุนเปรมกิจประชา (เพ็ชร์ สารพัฒน์) ต้นสกุลสารพัฒน์ 

ขุนเปรมกิจประชา สืบเชื้อสายมาจาก ญาแม่หมุ่ย น้องสาวพระยาวิเศษภักดี (ท้าวโท) เจ้าเมืองศีรสะเกษท่านสุดท้าย ญาแม่หมุ่ยมีบุตร ธิดา หลายคน หนึ่งในนั้น คือ ญาแม่อ้วน สมรสกับ พระไชยภักดี ผู้ช่วยเจ้าเมืองศีรสะเกษยกทัพไปรักษาช่องโพย อ.กันทรลักษ์ เมื่อ ร.ศ.112 (พ.ศ. 2436) สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเสียชีวิต ญาแม่อ้วนกับพระไชยภักดี มีบุตร คือ

1. ท้าวคำสิงห์ สมรสกับ แม่มั่น มีบุตรคือ นายตุ้มทอง สมรสกับ นางเข็ม

2. ท้าวสาร สมรสกับ นางสังวาลคำ มีบุตรคือ ขุนเปรมประชากร (เพ็ชร์) สมรสกับ นางจร มีบุตรคือ นางเขียว, นางใหญ่ ต่อมาขุนเปรม สมรสกับ นางแป๊ะ มีบุตรคือ พ.อ.ประเสริฐ สารพัฒน์

นางแป๊ะ เป็นบุตรีของ หลวงพลศักดิ์ และ แม่ผุย ซึ่งแม่ผุยเป็นธิดาของญาแม่มาศ ซึ่งญาแม่มาศผู้นี้เป็นบุตรีของพระยาวิเศษภักดี (ท้าวโท) เจ้าเมืองศีรสะเกษท่านสุดท้าย

บุตรคนที่สองของท้าวสารกับนางสังวาลคำ คือ นายสุข สมรสกับ นางแหล้ มีบุตรคือ นางจันทร์แกง นายสุวรรณ และ นายบุญเลี้ยง

3. ท้าวบัวฮอง สมรสกับ แม่เหนี่ยว มีบุตรคือ นางใค นางพานทอง นายฮดนายกรด และนายสมรส

4. ท้าวเฮือง สมรสกับ นางเฮี้ย มีบุตรคือ นางเผือ (อยู่คุ้มบ้านหัวนา)

5. ท้าววัน สมรสกับ แม่สุ้ย (อยู่คุ้มบ้านหัวนา)


ใบประทานนามสกุล

นามสกุลสารพัฒน์ เป็นนามสกุลที่ มหาอำมาตย์ตรี พระยาวิเศษสิงหนาท (ปิ๋ว บุนนาค) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุบลในขณะนั้น ตั้งชื่อสกุลให้แก่ นายเพ็ชร์ ตามที่ขอมานั้นว่า "สารพัฒน์" เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2457 ต่อมา นายเพ็ชร์ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ขุนเปรมกิจประชา ท่านผู้นี้เคยดำรงตำแหน่งนายอำเภอนครจำปาศักดิ์ สมัยที่ยังขึ้นตรงกับประเทศสยาม และเคยดำรงตำแหน่งนายอำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี 

ภาพถ่ายพันเอก ประเสริฐ สารพัฒน์ 

ณ ค่ายป่าหวาย จังหวัดลพบุรี

พันเอก ประเสริฐ สารพัฒน์ เป็นบุตรชายของขุนเปรมกิจประชา (เพ็ชร์ สารพัฒน์) กับ นางแป๊ะ  สืบเชื้อสายมาจาก ญาแม่หมุ่ย น้องสาวพระยาวิเศษภักดี (ท้าวโท) เจ้าเมืองศีร์สะเกษท่านสุดท้าย 

ข้อความหลังภาพถ่าย พันเอก ประเสริฐ สารพัฒน์ 


ข้อมูลภาพจาก นายวิสุทธิ์ สารพัฒน์

ปศุสัตว์จังหวัดอุบลราชธานี