หลักการโฆษณาสินค้า

การโฆษณาสินค้า

วัฎจักรการโฆษณา

1.ขั้นริเริ่ม หรือขั้นบุกเบิก (Pioneering Stage) ได้แก่ ขึ้นตอนแรกของการโฆษณาสำหรับสินค้าใหม่ที่ออกสู่ตลาดครั้งแรก

ซึ่งจะต้องทุ่มงบประมาณโฆษณาค่อนข้างสูง ระดมสื่อหลาย ประเภทให้ประชาชนได้พบเห็นอย่างทั่วถึง

หรือเน้นเฉพาะสื่อประเภทใดประเภทหนึ่งและย้ำความถี่บ่อย ๆ โดยเน้นความแปลก-ใหม่ ที่น่าสนใจ

ให้เกิดการยอมรับ เกิดความต้องการซื้ออย่างมั่นใจว่าดีกว่าหรือไม่ด้วยกว่าสินค้ายี่ห้ออื่น ๆ ที่มีอยู่เดิม

เพื่อจะได้อุดหนุนกันเป็นประจำต่อไป

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โฆษณาสินค้าใหม่

2.ขั้นแข่งขัน (Competitive Stage) เมื่อสินค้าใหม่ออกสู่ตลาดและเป็นที่สนใจของประชาชน

สินค้าประเภทเดียวกันแต่ต่างยี่ห้อกันอาจจะสูญเสียลูกค้าไปบางส่วน ถ้ายังไม่คิดดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด

ก็อาจจะสูญเสียลูกค้าไปเรื่อย ๆ ระยะนี้จึงถึงเวลาที่จะต้องต่อสู้กับคู่แข่งขัน โดยสินค้าเก่าที่เคยครองตลาดอยู่ก่อน

ต่างตื่นตัวขึ้นมาปรับปรุงพัฒนาสินค้าของตนให้น่าสนใจ อาจจะปรับปรุงคุณภาพใหม่ เติมสูตรเดิมสารพิเศษใหม่ ๆ

หรือเปลี่ยนแปลงหีบห่อใหม่ที่น่าสนใจ ฯลฯ หรือออกสินค้ารุ่นใหม่มาต่อสู้กับคู่แข่งในขั้นนี้จะต้องทุ่มทุนโฆษณาค่อนข้างหนัก

โดยพยายามเน้นส่วนดีที่เหนือกว่าสินค้าของคู่แข่งขัน เพื่อให้ลูกค้าสนใจ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โฆษณาสินค้า

3.ขั้นรักษาตลาด (Retentive Stage) เนื่องจากขั้นแข่งขันจำเป็นต้องทุ่มโฆษณาค่อนข้างหนัก

ด้วยการระดมสื่อโฆษณาประเภทต่าง ๆ ทั้งต้องย้ำความถี่บ่อย ๆ เมื่อเห็นว่าสินค้าที่โฆษณา

ได้รับความนิยมดีแล้วจำเป็นต้องลดบทบาทการโฆษณาลงบ้าง เพื่อการประหยัด

แต่การโฆษณาจะหยุดโดยสิ้นเชิงไม่ได้เพราะอาจจะต้องสูญเสียตลาดไปอย่างถาวร จำจำเป็นต้องทำการโฆษณา

เพื่อรักษาความนิยมให้คงอยู่เสมอ เรียกการโฆษณาขั้นนี้ว่า “ขั้นรักษาตลาด”

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โฆษณาโค้ก น้ำอัดลม

การเขียนข้อความโฆษณา

โครงร่างข้อความโฆษณา

1. พาดหัว (Headline)

2. พาดหัวรอง (Sub Headline)

3. ประโยชน์หรือรายละเอียด (Body text)

4. ข้อความพิสูจน์กล่าวอ้าง (Proof)

5. ข้อความปิดท้าย (Closing)

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

พาดหัว (Headline) ในการเขียนข้อความโฆษณา จำเป็นจะต้องมีพาดหัวเสมอเพราะพาดหัวเป็นส่วนที่เด่นที่สุด

ในประเภทของข้อความโฆษณา มีไว้เพื่อให้สะดุดตาสะดุดใจชวนให้ติดตามอ่านเรื่องราวต่อไป

ลักษณะของพาดหัวที่ดี ควรจะมีขนาดตัวอักษรโตหรือเด่น เป็นข้อความที่สั้น กะทัดรัด

ชวนให้น่าคดหรือน่าติดตามอ่านต่อไป

พาดหัวรอง (Subheadline or Subcaption)

คือ ข้อความที่มีขนาดและความสำคัญรองลงมาจากพาดหัว หรือในกรณีที่พาดหัวเป็นประโยคยาว ๆ

ทำให้ไม่เด่นไม่สะดุดตา อาจจะตัดทอนตอนใดตอนหนึ่งลงมาให้เป็นพาดหัวรองก็ได้

โดยลดให้ตัวอักษรมีขนาดรองลงมาจากพาดหัว ถ้าเป็นพาดหัวประเภทอยากรู้อยากเห็นหรือแบบฉงน

ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้อ่านสนเท่ห์หรือประหลาดใจ อาจจะต้องใช้พาดหัวรองทำหน้าที่ขยายความจากพาดหัว

ให้เข้าใจเพิ่มขึ้น

ข้อความบอกรายละเอียด (Body text)

สำหรับสินค้าใหม่ที่ประชาชนยังไม่รู้ยังไม่เข้าใจประโยชน์ว่าใช้ทำอะไร ใช้อย่างไร

หรือรู้จักแล้วแต่การโฆษณาต้องการเน้นให้ถึงประโยชน์เพื่อการจูงใจซื้อ จึงควรชี้ให้เห็นว่าสินค้านี้ให้ประโยชน์คุ้มค่าอย่างไร

แต่ถ้าเป็นสินค้าที่รู้จักกันดีโดยทั่วไป อาจจะไม่จำเป็นต้องเน้นประโยชน์ก็ได้ เพื่อให้พื้นที่โฆษณาดูโปร่งตา

ไม่รกไปด้วยข้อความ ซึ่งจะดูดีกว่าโฆษณาที่แน่นไปทั้งภาพด้วยเรื่องราวต่างๆ เต็มพื้นที่

ประโยชน์อื่น ๆ หรือรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า

ถ้าสินค้ามีคุณสมบัติพิเศษ หรือมีประโยชน์เหนือกว่าสินค้าธรรมดาโดยทั่วไป

การเขียนข้อความโฆษณาจึงควรมีรายละเอียดส่วนนี้ไว้ด้วย เพื่อช่วยสร้างความสนใจเป็นพิเศษแก่ผู้อ่าน

เช่น เครื่องดูดฝุ่น นอกจากใช้ดูดฝุ่นแล้วยังสามารถใช้เป่าลมได้อีกด้วย

ข้อความพิสูจน์ข้ออ้าง (Proof)

ข้อความส่วนนี้มีไว้เพื่อสร้างความเชื่อถือหรือช่วยให้เกิดความมั่นใจในสินค้า

โดยมักจะอ้างอิงบุคคลที่สามารถอ้างอิงได้ตั้งแต่บุคคลธรรมดาทั่ว ๆ ไปที่ใช้สินค้าหรือบริการ

แต่ถ้าเป็นดาราหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับและรู้จักกันดีในสังคม

ก็จะได้รับความสนใจและได้รับความเชื่อถือเป็นพิเศษโดยเฉพาะคนเด่นคนดังในสาขาอาชีพนั้นๆ

เช่น นักกีฬาที่มีชื่อเสียงระดับชาติ หรือระดับโลก โฆษณาสินค้าที่เกี่ยวกับกีฬาประเภทนั้นๆ

ผู้มีชื่อเสียงเกี่ยวกับอาหารการกิน แนะนำเรื่องอาหารหรือเกี่ยวกับอาหาร เป็นต้น

การอ้างถึงสถาบัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับรอง เช่น การได้รับเครื่องหมายรับรองของ อย. (คณะกรรมการอาหารและยา)

หรือเครื่องหมายรับรองของ มอก. (ซึ่งเป็นเครื่องหมายรับรองของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม)

เป็นต้น หรืออ้างถึงหน่วยงานหรือกิจกรรมที่ยอมรับและนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน

เช่น นาฬิกาที่ใช้จับเวลาในการแข่งขันกีฬาระดับภาค ระดับชาติ ไปจนถึงระดับโลก เป็นต้น

ข้อความลงท้าย (Closing)

เป็นการจบโฆษณา โดยสรุปให้ทราบว่าผู้อ่านควรจะทำอย่างไร เช่น ให้ตัดสินใจซื้อ ซื้อได้ที่ไหน

ซื้อได้โดยวิธีใด ใครเป็นผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่าย และคำขวัญ ก็เป็นที่นิยมในส่วนข้อความปิดท้าย เป็นต้น

หลักการเขียนข้อความโฆษณา

การเขียนข้อความโฆษณาสำหรับสื่อประเภทต่างๆ

สื่อแต่ละประเภทมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป เพื่อให้มีการเขียนข้อความที่เหมาะสมและดีที่สุด

มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาการเขียนดังนี้

1. วิทยุ ควรฟังง่าย เข้าใจง่าย ได้ภาพพจน์ชัดเจนจากการฟัง

2. โทรทัศน์ ต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างภาพและเสียง และการเคลื่อนไหว เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถสื่อความหมายแทนคำพูดได้มาก

3. หนังสือพิมพ์ ต้องคำนึงถึงความสำคัญระหว่างภาพและข้อความ

4. นิตยสาร ต้องคำนึงถึงระยะเวลาของอายุนิตยสาร เพื่อให้ผู้อ่านมีความรู้สึกว่ามันไม่ล้าสมัย

5. โปสเตอร์ เขียนข้อความสั้นๆ เน้นจุดเด่น ของภาพ และข้อความ

6.อินเทอร์เนท ปัจจุบันการซื้อขายการโฆษณาทางอินเทอร์เนทนับว่ามีบทบาทสำคัญมาก จึงขอกล่าวรายละเอียดดังต่อไปนี้

เคล็ดลับสำคัญในการโฆษณาทางอินเตอร์เน็ตสู่ความสำเร็จทางธุรกิจ

ผู้เขียน : Alex W1

แปล/เรียบเรียง : สาระดีดี.คอม

การโฆษณาได้รับการพิจารณาว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะยกระดับให้แก่ธุรกิจต่างๆ สามารถช่วยในการกระตุ้นผู้บริกโภคให้รับรู้ถึงสินค้าและบริการใหม่ๆ หรือสินค้าและบริการใหม่ ทุกวันนี้องค์กรต่างๆ เริ่มหันมาใช้การโฆษณาผ่านระบบออนไลน์เพื่อการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของตน แต่โดยทั่วไปองค์กรมักใช้การโฆษณาออนไลน์โดยเน้นไปที่การโฆษณาชวนเชื่อ

การโฆษณาทางอินเตอร์เน็ตใช้ search engines ในการมองหาผู้ซื้อที่กำลังค้นหาสินค้าที่ต้องการ แต่สำหรับแนวคิดการตลาดแบบออนไลน์นี้ การโฆษณาจะได้ผลหรือไม่ได้ผลจะขึ้นอยู่กับ keyword ที่คุณเลือกเป็นสำคัญ keyword จะทำให้โฆษณาของคุณได้พบกับผู้บริโภคที่มีศักยภาพ ดังนั้นการเลือกใช้วลีและคำที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญต่อการทำโฆษณาทางอินเตอร์เน็ต อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรทำในการตัดสินใจนำแนวการโฆษณาทางอินเตอร์เน็ตมาใช้ มีดังนี้คือ

1) ถูกต้องและกระชับได้ใจความความคิดที่คุณต้องการจะส่งถึงผู้บริโภคของคุณผ่านการโฆษณาจะต้องถูกต้องและตรงประเด็น ควรเข้าใจง่ายและไม่ยาวเกินไป

2) กำหนดหมายพื้นฐานของผู้เข้าชมการโฆษณาของคุณควรจะเจาะจงกลุ่มเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น ประชากรวัยรุ่น หรือประชากรผู้ที่เข้าใจอินเตอร์เน็ต ค้นหาสิ่งที่พวกเขาชื่นชอบและใกล้เคียงกับกระบวนการคิดของพวกเขา เมื่อคุณเข้าใจความคิดของพวกเขาคุณจะสามารถดำเนินการรณรงค์โฆษณาได้อย่างสอดคล้อง อย่างไรก็ตามลองสังเกตว่าคุณได้ลองที่จะค้นหาความแตกต่างอย่างชัดเจนของกลุ่มเรียบร้อยแล้ว

3) แสดงภาพลักษณ์ที่ชัดเจนขององค์กรของคุณสร้างโลโก้ เครื่องหมาย ตัวนำโชค หรือคำขวัญองค์กร แนวความคิดทั้งหมดคือการสร้างแบรนด์ให้คนสามารถจดจำองค์กรของคุณได้ผ่านภาพลักษณ์

4) จงระวังคู่แข่งของคุณทำความรู้จักกับคู่แข่งที่กำลังไล่ตามหรือมีธุรกิจคล้ายกับคุณ คุณสามารถตัดราคาคู่แข่งโดยการลดราคาสินค้าในโฆษณาของคุณ คุณยังสามารถเปิดตลาดใหม่ๆ ที่คู่แข่งอาจจะไม่รู้จัก นี่นับเป็นโอกาสสำหรับการวางโฆษณาให้ใกล้กับการพบเห็นของผู้เข้าชม

5) ทำการศึกษาวิจัยตนเองการวางแผนทำโฆษณาจะต้องอยู่บนพื้นฐานของการค้นคว้าวิจัย คุณจะประสบความสำเร็จและสามารถเสนอการแลกเปลี่ยนที่พิเศษกับลูกค้า ถ้าการทำโฆษณาของคุณดำเนินการโดยอยู่บนพื้นฐานของการศึกษาวิจัย เนื่องจากการวิจัยของคุณจะทำให้สามารถระบุและทราบเป้าหมายของผู้เข้าชมได้ดียิ่งขึ้น มีความจำเป็นที่จะต้องมั่นใจว่าข้อความที่คุณส่งออกไปผ่านการโฆษณาจะสื่อความหมายถึงผู้เข้าชมและไม่ใช่มีเพียงคุณคนเดียวที่จะเข้าใจ

6) ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำปรึกษาหากคุณไม่สามารถวางแผนการโฆษณาด้วยตนเอง กรณีนี้คุณจำเป็นต้องว่าจ้างมืออาชีพที่จะเข้ามาดูแลดำเนินการโฆษณาให้แก่คุณ คุณจะเสียทั้งเวลาและเงินทองถ้าคุณพยายามดำเนินการโฆษณาด้วยตัวเองทั้งที่ยังขาดความรู้และทักษะที่เหมาะสมเกี่ยวกับการโฆษณา ดังนั้นจึงควรที่จะยอมให้ผู้เชี่ยวชาญวิจัยและศึกษาตลาดในปัจจุบัน พร้อมวางแผนการโฆษณาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ธุรกิจส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่มีเงินทุนหมุนเวียนต่ำมักกำหนดต้นทุนในการทำโฆษณาค่อนข้างน้อย

ในการดำเนินการส่งเสริมการตลาดให้กับธุรกิจของตน การโฆษณาทางอินเตอร์เน็ตเป็นหนทางที่ดีที่สุด

ในการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ทั้งนี้คุณจำเป็นต้องวางกลยุทธ์การดำเนินการโฆษณา

เพื่อที่จะได้รับผลตอบแทนที่ดีในการนำมาใช้กับธุรกิจ

ที่มาของบทความhttp://sara-dd.com/index.php?option=com

ลักษณะที่ดีของข้อความโฆษณา

1. ความชัดเจน (Clearness) เข้าใจง่าย ไม่คลุมเครือ

2. ความเหมาะสม (Aptness) ข้อความต้องตรงกับกลุ่มเป้าหมาย

3. ความกะทัดรัด (Brief) ได้ใจความ ไม่เยิ่นเย้อ

4. เป็นการส่วนตัว (Personal) ให้ผู้อ่านมีความรู้สึกว่ากำลังสื่อสารกับเขา

5. ข้อความลงท้าย (Closing) ทำให้ผู้อ่านรู้ว่าต้องการให้ทำอะไร

แรงจูงใจ (Motive)

สาเหตุที่สามารถทำให้เกิดความต้องการการซื้อสินค้าได้ สามารถจำแนกได้ 2 วิธี

1.แรงจูงใจซื้อด้วยเหตุผล(Rational Motive) หมายถึง การใช้หลักเหตุผลในการจูงในให้เกิดความต้องการซื้อ

ซึ่งเหมาะสำหรับสินค้าจำเป็นที่ต้องซื้อใช้ในชีวิตประจำวัน

2. แรงจูงใจซื้อด้วยอารมณ์ (Emotional Motive) เป็นการจูงใจให้เกิดความต้องการใช้สินค้าหรือ

บริการโดยใช้อารมณ์ในการตัดสินใจ ซึ่งอาจจะสอดคล้องกับวิธีการโฆษณาโดยให้ผู้อ่านมีจินตนาการ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สินค้า ลดราคา

หลักการสร้างสรรค์งานโฆษณา

งานโฆษณา เป็นงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์งานโฆษณาที่ดีควรกำหนดวัตถุประสงค์ในการ โฆษณา

และการส่งเสริมการตลาดโดยใช้หลัก 4 ประการ ดังนี้

1. Attention..>> สะดุดใจ การโฆษณาที่ดีต้องสามารถดึงดูดความสนใจ เป็นสิ่งแรกที่งานโฆษณาควรมี

เป็นการวัดความรู้สึกครั้งแรกในการเห็นงานโฆษณา

2. Interest..>>ความสนใจโฆษณาต้องเน้นให้ผู้บริโภคเห็นถึงผลประโยชน์

ที่จะได้รับจากสินค้าหรือบริการ เพื่อทำให้เกิด ความสนใจติดตาม

3. Desire..>> ความปรารถนาการเสนอจุดขายที่ชัดเจน แสดงให้เห็นความ แตกต่าง

ของการมีสินค้ากับการไม่มีสินค้า หรือความแตกต่าง จากสินค้าประเภทเดียว กัน

ทำให้ผู้บริโภคเกิด ความต้องการใน สินค้าหรือบริการนั้น

4. Action..>> การกระทำการโฆษณาต้องเชิญชวนให้ผู้บริโภคกลุ่มเป้า

หมายเกิดพฤติกรรมการตอบสนอง(Action) โดยการซื้อสินค้าหรือใช้บริการ

กลับไปที่หน้าหลัก