เพลงและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

ตอนที่ 2 หุ่น

เรื่องที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหุ่น

       ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้คนในสังคมโลกให้มีความสามารถในการแข่งขันจะเห็นได้ว่ามีการนำเอาสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายมาใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการศึกษาที่จะนำไปสู่ความรู้และความเข้าใจของผู้เรียน สื่อที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือส่งเสริมการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีอย่างหนึ่งคือ หุ่น ซึ่งมีอากัปกริยาแสดงออกได้ทางการเคลื่อนไหวลีลา อารมณ์ และการสื่อสารความคิดให้บุคคลอื่นรับรู้ ทั้งยังสร้างบรรยากาศให้เกิดความสุข สนุกสนาน อีกแสดงถึงขนบธรรมเนียมประเพณีของชนในชาตินั้นๆ

ความหมายของหุ่น

       อรชุมา ยุพวงค์ (2527:568) ให้ความหมายว่า หุ่นเป็นวัตถุที่สร้างขึ้นแล้วนำมาทำให้เคลื่อนไหวได้ เพื่อสื่อความหมายกับผู้อื่นโดยใช้ในการสื่อสารนำความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ แรงบันดาลใจ และความฝันมาทำให้เป็นตัวตนขึ้นมา

       เกศินี โชติกเสถียร (2524:9) อธิบายว่า หุ่นเป็นการแสดงมหรสพชนิดหนึ่งที่ใช้รูปจำลองคล้ายของจริง เป็นการแสดงแทนตัวตน  สิ่งมีชีวิตอื่นๆ หรือแม้แต่สิ่งสมมติในเทพนิยาย การเคลื่อนไหวของหุ่นจะอยู่ในความควบคุมของมนุษย์ที่เป็นผู้สร้างมันขึ้นมา

ประวัติความเป็นมา

       หุ่นถือเป็นมรดกทางศิลปะแขนงหนึ่งที่มีมาแต่โบราณกาล โดยนำหุ่นมาใช้เนในรูปแบบของละคร นิทาน นิยาย โดยมีมนุษย์เป็นผู้ควบคุมการเคลื่อนไหวให้มีความสามารถจำลอง เลียนแบบคล้ายของจริง แม้หุ่นจะไม่มีชีวิตแต่สามารถสื่อให้ผู้ดูเข้าถึงอารมณ์จากลีลาที่หุ่นแสดงออกมา ทั้งยังสามารถแสดงถึงวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีในชาติได้อีกด้วย

       หุ่นในประเทศไทย ไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นผู้ริเริ่มสร้างหุ่นเมื่อไหร่ รู้แต่เพียงว่าหุ่นเป็นการแสดงที่เล่นควบคู่มากับการละเล่นโขน ละคร หลักฐานที่เชื่อถือได้ คือ จดหมายเหตุของ เดอ ลาลูแบร์ อัครราชทูตฝรั่งเศสที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ส่งมาเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับไทย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231)

ประเภทของหุ่น

       ในการจัดประเภทของหุ่นนั้น สามารถจัดได้หลายแนวทาง ขึ้นอยู่กับการจำแนกประเภทของหุ่นว่าอยู่ในประเภทใด ในส่วนของหุ่นไทยแบ่งประเภทของหุ่นตามขนาดซึ่งมีความสัมพันธ์กับวิวัฒนาการของหุ่นตามยุคสมัย โดย สน สีมาตรัง (2521: 13-15) ได้จำแนกไว้ ดังนี้

       1. หุ่นหลวงหรือหุ่นใหญ่ เป็นหุ่นที่เก่าแก่ที่สุดโดยมีการเล่นหุ่นหลวงหรือหุ่นใหญ่มาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตัวหุ่นมีขนาดใหญ่สูงประมาณ 1 เมตร มีหน้าตา แขนขา เครื่องประดับ เครื่องแต่งกายแบบตัวโขนและละครจริง ภายในหุ่นเป็นตัวกลวงเต็มไปด้วยกลไก เป็นสายเชือกโยงใยมาก สามารถบังคับเคลื่อนไหวได้มากมาย เช่น ชี้นิ้วได้ ยกมือ ยกแขน กลอกกลิ้งลูกตาและรำได้ การเชิดต้องใช้คนเชิด 2-3 คน ตามแต่ขนาดหุ่น เรื่องที่ใช้เล่นเชิดหุ่นมักเป็นเรื่องละครใน ทุกวันนี้เลิกเล่นหุ่นหลวงหรือหุ่นใหญ่แล้ว

       2. หุ่นเล็ก เป็นหุ่นแบบที่สร้างขึ้นโดยกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ความคิดจากการแสดงหุ่นจีนในเมืองไทย

       3. หุ่นละครเล็ก เป็นหุ่นที่พัฒนามาจากแบบหุ่นเล็กและเป็นเวลาหลังจากหุ่นกระบอกเกิดขึ้นแล้ว ลักษณะตัวหุ่นเหมือนหุ่นเล็กแต่มีกลไกที่หยาบกว่า สิ่งที่โดดเด่นก็คือการเชิดได้ท่าทางฉับไวให้ความรู้สึกได้ดี คล่องแคล่วกว่าการบังคับด้วยสายโยงใย การเชิดใช้คนเชิดคนเดียวต่อหุ่น 1 ตัว

       4. หุ่นกระบอก เป็นหุ่นที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ขนาดตัวหุ่นสูง 1 ฟุต มีแกนและลำตัวเป็นกระบอกไม้ไผ่ยาวประมาณ 1 ฟุต ปลายกระบอกด้านบนจะสวมด้วยหุ่นซึ่งเป็นไม้แกะสลักตกแต่งด้วยสีสัน และเครื่องประดับแบบโขน ตะเกียบสองก้านซึ่งปลายด้านบนผูกติดกับมือของหุ่น ตะเกียบจะบังคับหุ่นให้ร่ายรำทำเพลงตามท่าทางที่ต้องการ มักจะใช้บทละครนอกมาเล่นเชิดหุ่นกระบอก

ประเภทของหุ่นเพื่อการศึกษาและพัฒนาเด็ก

       จะเห็นได้ว่าในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาเด็กนั้น นิยมใช้สื่อประกอบการเรียนการสอนที่สามารถโน้มน้าวจิตใจให้ผู้เรียนสนใจในกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้หุ่นเพื่อการศึกษาและพัฒนาเด็ก โดยแบ่งประเภทของหุ่นตามที่ จิระประภา บุณยนิตย์ (2525: 7-8) กล่าวถึงประเภทของหุ่นไว้ 5 ประเภท ดังนี้

1. หุ่นมือ (The Glove  Puppet) หัวหุ่นอาจทำด้วยปูนปลาสเตอร์ กระดาษเปื่อย กระดาษปะ หรือสลักด้วยไม้หรือเย็บด้วยผ้า และมีเสื้อต่อที่คอหุ่นเพื่อใช้ช่อนมือในการเชิดหุ่นมือ

2. หุ่นเงา (The Shadow Puppet) หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหนังตะลุง เป็นรูป 2 มิติ มีลักษณะเป็นแผ่นแบน  ตัดเป็นตัวละครและสลักเป็นลวดลาย มีไม้ยึดโยงในส่วนต่างๆ ของตัวหุ่น เวลาแสดงจะต้องมีจอขึงแล้วเชิดหุ่นจากหลังโรง โดยมีไฟล่องหลังตัวหุ่น การเคลื่อนไหวของหุ่นจะปรากฎเป็นเงาทาบบนจอ

3. หุ่นกระบอก (The Rod Puppet)  เป็นหุ่นที่สามารถทำได้ตั้งแต่วิธีง่ายๆ ไปจนยาก หุ่นกระบอกที่ทำอย่างประณีตสามารถทำให้ยักเยื้อง แขน ขา และอวัยวะต่างๆ ได้อย่างอ่อนช้อย บางแบบสามารถกะพริบตาหรือขยับปากได้ สามารถเชิดหุ่นโดยผู้เชิดถือไม้เชิดที่เสียบติดกับคอหุ่น

4. หุ่นชัก (The Marionette) เป็นหุ่นที่เคลื่อนไหวได้โดยการที่ผู้เชิดบังคับหุ่นด้วยเชือกที่ผูกติดกับส่วนต่างๆ ของตัวหุ่น ตัวหุ่นอาจทำอย่างง่าย หรืออย่างวิจิตรพิสดาร การที่หุ่นเคลื่อนไหวได้มากเพียงใดขึ้นอยู่กับรายละเอียดของตัวหุ่นและเขือกที่บังคับ 

5. หุ่นนิ้วมือ (The Finger  Puppet) เป็นหุ่นที่เหมาะสำหรับใช้ประกอบการเล่านิทานสอนบทร้อยกรองแก่เด็ก 

บทบาทของหุ่นในทางการศึกษา

       1. ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านสังคม โดยการที่เด็กและผู้เลี้ยงดูเด็กเชิดหุ่นร่วมกับเพื่อนๆ การแบ่งหน้าที่ในการจัดการเชิดหุ่น จะทำให้เด็กสามารถปรับตัวเข้ากับเพื่อน มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และช่วยฝึกให้เด็กกล้าแสดงออก (กิจกรรมที่ 1)

       2. ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านอารมณ์ โดยที่เด็กจะได้มีโอกาสแสดงออกด้วยการคิดฝันจากประสบการณ์ที่ผ่านมา และมีโอกาสแสดงจินตนาการเชิงสร้างสรรค์ให้ปรากฏการเชิดหุ่น เปิดโอกาสให้เด็กได้ระบายความคับข้องใจของตน โดยแสดงผ่านหุ่นที่เชิด

       3. ช่วยพัฒนาการทางภาษา สามารถส่งเสริมการใช้ภาษาของเต็กให้ดีขึ้น โดยใช้หุ่นสร้างการเริ่มต้น "ประสบการณ์ทางภาษา" ใช้หุ่นเป็นตัวละคร ถือดินสอ คาบดินสอ หรือส่งบัตรคำที่เตรียมไว้นำมาติดบนบอร์ดกระดาษทราย ใช้หุ่นเล่านิทาน อ่านหนังสือให้เด็กฟังออกคำสั่งให้ออกเสียงตามหุ่น เด็กจะได้รับความสนุกสนานจากการเรียนจากหุ่นมาก

       4. ใช้หุ่นเป็นสื่อในการสอนวิชาต่างๆ ได้หลายวิชา เช่น ศิลปะ คณิตศาสตร์ ร้องเพลง เกม ตลอดจนวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นต้น นอกจากนั้นหุ่นยังชวยแก้ทัศนคติที่เด็กบางคนไม่ชอบวิชาต่างๆ อีกด้วย

สรุป

       หุ่นเป็นตัวละครที่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างหลากหลายรูปแบบโดยมนุษย์ จัดแสดงเป็นเรื่องราวที่สนุกสนานโดยใช้เทคนิคการเชิดตามลักษณะของหุ่นแต่ละประเภท ศิลปะการแสดงหุ่นเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของทุกชาติที่ถ่ายทอดกันมาหลายชั่วอายุคน อีกทั้งยังมีวิวัฒนาการและพัฒนามาโดยลำดับ การแสดงหุ่นนอกจากให้ความบันเทิงแล้วยังเสริมสร้างความคิด จินตนาการ จริยธรรม และสิ่งที่ดีงาม จากเรื่องราวท่าแสดงจึงทำให้นักการศึกษานำหลักการวิธีการของหุ่นมาใช้ในการเรียนการสอนโดยถือเป็นสื่อที่ส่งเสริมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

เรื่องที่ 2 เทคนิคการสาวหุ่น

ผู้เรียนควรได้ศึกษาและสร้างหุ่นไว้ใช้เอง เนื่องจากปัจจุบันหุ่นที่มีจำหน่ายทั่วไปมีราคาแพงและมีให้เลือกแบบน้อย ไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ หากมีความสามารถในการทำขึ้นใช้เอง จะได้หุ่นตามความประสงค์ อีกก่อให้เกิดความมั่นใจในการใช้และปรับเติมเสริมแต่งใช้ได้คุ้มค่าอย่างแท้จริง

เทคนิคการสร้างหุ่น

       การสร้างหุ่นเป็นงานประดิษฐ์ที่เล็งผลส่งต่อความเป็นเลิศทางวิชาการทางการศึกษา ผู้ประดิษฐ์จึงมีความจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจรูปแบบ การจินตนาการ การวางแผนปฏิบัติการสร้างหุ่น การนำหุ่นไปใช้ ประเมินผลและพัฒนาตามลำดับ ดังนั้นในการสร้างหุ่นสิ่งสำคัญที่ผู้ประดิษฐ์ควรรู้ก็คือ 1. วัสดุอุปกรณ์ 2. องค์ประกอบ และ 3. วิธีสร้างหุ่นที่จำเป็นต่อการสร้างหุ่นนั่นเอง

       1. วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างหุ่น

       การสร้างหุ่นนั้นมีความจำเป็นจะต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ที่นำมาสร้างหุ่นพอสังเขปที่สามารถเลือกซื้อได้จากร้านจำหน่ายเสื้อผ้า เย็บปักถักร้อย รวมไปถึงร้านจำหน่ายเครื่องเขียน หรืออื่นๆ โดยมีรายการวัสดุที่จำเป็นต่อการสร้างหุ่นพอสังเขป ดังนี

องค์ประกอบของหุ่น

       ในการสร้างหุ่นนั้น ถือได้ว่าองค์ประกอบที่สำคัญของหุ่นจัดแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนศีรษะ ส่วนลำตัว และส่วนที่ทำให้ทรงตัวเพื่อเคลื่อนไหวแสดงลีลาต่างๆ ในแต่ละส่วนบ่งบอกถึงลักษณะเด่นเฉพาะของหุ่น ดังนี้

วิธีสร้างหุ่น

       ในการสร้างหุ่นนั้น หุ่นจะต้องประกอบด้วยส่วนหัวและส่วนเสื้อของหุ่น ซึ่งมีขั้นตอนการสร้างดังนี้

       1. วิธีสร้างหัวหุ่น

       2. เสื้อผ้าหุ่น

1. วิธีสร้างหัวหุ่น

       ส่วนหัวของหุ่นประกอบด้วย ส่วนโครงสร้าง ชิ้นส่วนบนใบหน้า หู และผม เพื่อให้ได้หุ่นที่สวยงามเหมาะสมแก่การใช้และเข้าใจง่าย การสร้างหัวหุ่นมี 4 ขั้นตอน คือ

       1.1 สร้างหัวหุ่นส่วนโครงสร้าง

       1.2 สร้างชิ้นส่วนบนใบหน้าและหู

       1.3 ติดชิ้นส่วนบนใบหน้าและหู

       1.4 การประดิษฐ์ผมหุ่น

       1.1 สร้างหัวหุ่นส่วนโครงสร้างในการสร้างหัวหุ่นส่วนโครงสร้างนั้นมีขั้นตอนการประดิษฐ์หัวหุ่น 3 ขั้นตอน ดังนี้คือ

             1.1.1. สร้างแบบหัวหุ่นลงบนกระดาษสร้างแบบดังภาพข้างล่างนี้

             วาดลายเส้นรูปหัวหุ่น วาดลงบนกระดาษสร้างแบบ ลอกลงบนกระดาษเทาขาว

1.1.2 ลอกแบบลงบนผ้าและตัดเย็น  วิธีลอกลงบนผ้าและตัดเย็บสามารถแสดงให้เข้าใจง่ายด้วยภาพดังนี้

        วางแบบลงบนผ้าด้านใน เย็บต้นถอยหลังด้วยมือหรือจักรขีดรอบๆ ด้วยดินสอสี    (ควรเนาเสียก่อนเพื่อเย็บง่ายขึ้น) ตัดเผื่อเย็บโดยรอบครึ่งนิ้ว

ตัดแต่งตะเข็บให้เล็กลงขลิบด้วยกรรไกรโดยรอบ กลับด้านนอกออก

             1.1.3 การบรรจุนุ่นหรือใยสังเคราะห์ การบรรจุนุ่นหรือใยสังเคราะห์ในหัวหุ่นเพื่อให้หัวหุ่นมีความคงตัว มองเห็นสัดส่วนเป็นรูป 3 มิติคล้ายของจริง วัสดุที่นำมาบรรจุอันได้แก่ นุ่นและใยสังเคราะห์ควรเลือกวัสดุที่มีคุณภาพดี สะอาด ไม่เป็นปัญหาต่อสุขภาพของเด็ก

       1.2 สร้างส่วนบนใบหน้าและหู ในการสร้างชิ้นส่วนบนใบหน้าและหู เริ่มต้นด้วยการสร้างแบบและการลอกแบบลงบนผ้าก่อนเช่นเดียวกันกับการทำโครงสร้างของหัวหุ่น ในส่วนของการตัดเย็บมีข้อแตกต่างกันบางรายการดังนี้

                1.2.1 ชิ้นส่วนบนใบหน้าให้ตัดตามรอยเท่าแบบ  ไม่ต้องเย็บ ใช้การติดด้วยการทากาว แล้วติดลงบนใบหน้าได้เลย

                1.2.2 ส่วนหูให้ตัดโดยรอบเส้นแบบเผื่อเย็บครึ่งนิ้ว เย็บเช่นเดียวกันกับหัวหุ่นส่วนโครงสร้าง

       1.3 ติดชิ้นส่วนบนใบหน้าและ  วิธีติดชิ้นส่วนบนโบหน้าและหูใช้ได้ทั้งวิธีเย็บติดและติดด้วยกาว ผ้าที่ใช้ในการทำส่วนใบหน้าและหูมักนิยมใช้ผ้ากำมะหยี่ ผ้าสักหลาดหรืออื่นใดที่เหมาะสมมีขั้นตอนการทำดังนี้

                1.3.1 ทดสอบความถูกต้องพอเหมาะของแบบ โดยนำแบบที่สร้างบนกระดาษบาง (แบบชั่วคราว) ทดลองติดบนหน้าหุ่น หากสัดส่วนใหญ่ใหญ่เกินไปให้ตัดออกให้พอดี ถ้าเล็กเกินไปให้ขยายทำใหม่ ลอกลงบนกระดาษเทายาว เขียนกำกับว่าเป็นชิ้นส่วนใดเป็นแบบจริงสำหรับลอกลงผ้าต่อไป

                1.3.2 นำแบบที่ปรับได้ขนาดพอเหมาะแล้วทาบลงบนผ้า ใช้ปากกาสีขีดรอบแบบสำหรับส่วนของตา จมูกและปาก ให้ตัดเป็นชิ้นตามแนวเส้น โดยตัดเส้นสีรอยขีดออกด้วย ส่วนหูนั้นลอกลงบนผ้าด้านในข้างละ 2 ชิ้นประกบกัน ตัดเผื่อเย็บ โดยรอบนำไปเย็บและขลิบตะเข็บโดยรอบและกลับออก จะได้ชิ้นส่วนครบถ้วนนำไปติดบนใบหน้าได้

                1.3.3 นำนส่วนจากข้อ 1.3.2 วางลงบนใบหน้าหุ่นที่บรรจุนุ่นหรือใยสังเคราะห์เรียบร้อยแล้ว จัดให้ถูกต้องตามตำแหน่งจนพอใจ ตรึงด้วยเข็มหมุด หากาวติดส่วนของตา จมูกและปากทีละชิ้น ใช้มือลูบเบาๆ เพื่อให้ติดสนิท เรียบ ปราศจากรอยย่น ทิ้งไว้ให้กาวแห้ง ส่วนหูใช้วิธีเย็บสอดติดกับหัวหุ่นโดยสอยซ่อนปมด้ายด้วยการขึ้นต้นสอยและลงท้ายที่หลังใบหูจะทำให้ผลงานเรียบร้อย ประณีต สวยงาม

       1.4 การประดิษฐ์ผมหุ่น ในการประดิษฐ์ทรงผมหุ่น สามารถทำได้จากวัสดุหลายชนิด ได้แก่ เศษผ้า กระดาษ ใยสังเคราะห์ สำลี เปลือกข้าวโพดตากแห้ง ไหมผม ไหมญี่ปุ่น โดยการเลือกรายการวัสดุที่เหมาะกับการทำผม หากจะทำผมหุ่นคนแก่ทั่วไปมักนิยมใช้สำลี ซึ่งมีสีขาวอยู่แล้วหรือเส้นใยสังเคราะห์สีขาว เปลือกข้าวโพดนำมาทำผมทั่วไปโดยสามารถย้อมเป็นสีต่างๆ ตามความต้องการได้รวมไปถึงไหมพรม  ไหมญี่ปุ่น ซึ่งมีหลากหลายสีสามารถเลือกทำเป็นเส้นผมได้

2. เสื้อผ้าหุ่น

       ในการสร้างหุ่นนั้น เสื้อผ้าหุ่นจัดว่าเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งในการสร้างหุ่น เพราะเสื้อผ้าของหุ่นจะบ่งบอกถึงบุคลิกภาพและคุณลักษณะทางฐานะที่แตกต่างของตัวละครได้เป็นอย่างดี เช่น ชุดชาวนา ยุคสากล ยุคไทย เป็นต้น เสื้อผ้าหุ่นจึงต้องมีการออกแบบตัดเย็บให้เหมาะสมกับตัวละคร อีกทั้งยังมีความคงทนต่อการใช้งาน ขั้นตอนการตัดเย็บเสื้อผ้าหุ่นมี 6 ขั้นตอนดังนี้

       2.1 เลือกผ้าที่เหมาะสมที่จะนำมาตัดเป็นเสื้อผ้าหุ่น โยนำผ้ามาทบเป็นสองทบกลับผ้าด้านในออก

2.2 วางแบบเสื้อลงบนผ้าแล้วใช้ดินสอขีดไปรอบๆ แบบเสื้อ กลัดเข็มหมุดไว้ให้มั่นคงป้องกันการคลาดเคลื่อนของแบบและผ้าที่จะนำมาตัดเป็นเสื้อหุ่น

2.3 ตัดไปตามรอบรอยที่ยึดไว้ โดยตัดเพื่อเย็บโดยรอบประมาณครึ่งนิ้ว

2.4 เนาไว้รอบๆ ตัวเสื้อก่อนแล้วจึงเย็บด้วยการเริ่มเย็บด้วยการย้ำฝีเข็มตอนเริ่มต้นและตอนเย็นจบจะทำให้ช่วยให้ยายเสื้อไม่แยกหรือยาดในเวลาที่เรานำหุ่นมาสวมมือ 

2.5 ใช้กรรไกรขลิบไปรอบๆ ตะเข็บ เพื่อไม่ให้ยุดรั้ง ตะเข็บไม่ย่นเวลากลับผ้า ดังรูปข้างล่างนี้ 

2.6 กลับเอาผ้าด้านนอกออกดังรูปข้างล้างนี้

สรุป

       หุ่นเป็นสื่อการเรียนการสอนที่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนในระดับปฐมวัย ควรมีไว้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งมีขั้นตอนการสร้างหุ่นตั้งแต่การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ สร้างแบบหัวหุ่น ชิ้นส่วนของใบหน้าและหู ลอกลงบนผ้า ตัดเย็บ ตกแต่งใบหน้าและทรงผม ตัดเย็บเสื้อผ้าหุ่นและตกแต่งให้สวยงาม

เรื่องที่ 3 การสร้างหุ่น

การสร้างหุ่นจากกระดาษ

       กระดาษเป็นวัสดุราคาถูกกว่าผ้าและหาได้ทั่วไป แม้จะให้ความรู้สึกแข็งไม่นุ่นนวลเท่ากับหุ่นที่ทำด้วยผ้าแต่ประหยัดและสะดวกในการประดิษฐ์ การระบายสีให้เห็นเส้นสายลวดลายต่างๆ แต่งเติมเสริมให้งดงาม มีศิลปะไม่แพ้หุ่นที่ทำจากผ้าเลย และสามารถสร้างหุ่นได้หลายประเภทหลายแบบ ดังนี้

หุ่นนิ้วมือจากกระดาษอย่างง่าย

       อุปกรณ์

       1. กระดาษโปสเตอร์ 2 หน้า หรือกระดาษวาดเขียน

       2. กาวลาเท็กซ์

       3. สีไม้หรือสีเมจิก

 ขั้นตอนการทำหุ่นนิ้วมือจากกระดาษอย่างง่าย

       1. ตัดกระดาษเท่าแบบ

       2. วาดภาพบนกระดาษช่วงกลาง ระบายสี

หุ่นนิ้วมือจากกระดาษทรงกรวยและทรงกระบอก

       อุปกรณ์

       1. กระดาษโปสเตอร์ 2 หน้า กระดาษวาดเขียนหรือกระดาษการ์ด

       2. กาวลาเท็กซ์

3. สีเมจิกหรือสีโปสเตอร์

4. ปากเป็ดหนีบผม

5. กรรไกรตัดกระดาษ

6. ปากกาปากกำมะหยี่

ขั้นตอนการทำกรวย

1. กรวยสามเหลี่ยม


1. กรวยทรงกระบอก

หุ่นงูจากถุงเท้า

อุปกรณ์

1. ถุงเท้าชนิดหนาสีพื้นหรือลายขวาง 1 ข้าง

2. ผ้ากำมะหยี่หนังสีแดง ขาว ฟ้า ดำ

3. กระดาษโปสเตอร์สีเหลือง สีแดง

4. เข็ม ด้าย

5. กาวลาเท็กซ์

ขั้นตอนการทำหุ่นจากถุงเท้า

1. ปาก

ตัดกระดาษเทาขาวตามแบบกระดาษเทาขาว 1 ชม. ตามแบบ

ตัดผ้ากำมะหยี่ (สีแดง) ให้ใหญ่กว่า

2. ตา

3. ชิ้นส่วนตัว (กลับตะเข็บถุงเท้าออก)

4. เย็บผ้ากำมะหยี่ติดกับปากที่ตัดไว้ ติดกระดาษเทาขาวทับผ้ากำมะหยี่ พับส่วน 1 ขึ้นไปประมาณ 5 ซม.

5. กลับตะเข็บ ติดลิ้นและรูปหัวใจตรงบริเวณรอยพับ

6. เย็บตาติดกับหัวดังรูป

หุ่นถุงขยับปาก

อุปกรณ์

1. กระดาษหนังสือพิมพ์ นิตยสารหรือกระดาษทำปก

2. กระดาษโปสเตอร์ 2 หน้า

3. สีโปสเตอร์ สีไม้ สีเมจิก หรือสีเทียนอย่างใดอย่างหนึ่ง

4. กาวลาเท็กซ์

หุ่นไม้ไอศกรีม

อุปกรณ์

1. ไม้ไอศกรีม หรือไม้ไผ่เหลาแบนๆ

2. กระดาษโปสเตอร์ 2 หน้า หรือกระดาษวาดเขียน

3. สีไม้หรือสีโปสเตอร์

4. กาวลาเท็กซ์

ภาพขั้นตอนการทำหุ่นไม้ไอศกรีม

แบบหุ่นไม้ไอศกรีม

แสดงแบบหุ่นไม้ไอศกรีม

กิจกรรมท้ายตอนที่ 2

เรื่อง หุ่น

ให้นักศึกษาทำหุ่นจากไม้ไอศกรีมในรูปแบบต่างๆ มาส่ง ในรุ่นสัมนาวิชาชีพ (คนละ 3 ตัว/แบบ)