การร้องเพลงเบื่องต้น

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 กำเนิดของเสียง

เสียงมาจากไหน

         ในชีวิตประจำวันของเรา เคยมองไปรอบตัวเราหรือไม ว่ามีสิ่งต่างๆ มากมายก่อให้เกิด "เสียง" ไม่ว่าจะเป็นเสียงที่เราได้ยินจากธรรมชาติ เช่น เสียงลมพัดกิ่งไม้ เสียงฝน เสียงคลื่นในทะเล เป็นต้น หรือเสียงที่เราได้ยินจากสัตว์ต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา เช่น เสียงเห่าของสุนัข เสียงแมวร้อง เสียงนกร้อง  หรือแม้แต่เสียงสัตว์ต่างๆ ยามที่เราเข้าไปเยี่ยมชมที่สวนสัตว์ เช่น เสียงเสือ หรือ สิงโต คำราม เสียงของแรด เสียงของช้าง  เป็นต้น หรือเสียงที่ได้ยินจากเครื่องมือหรือเครื่องจักรกลต่างๆ เช่น รถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ เสียงเครื่องมือก่อสร้าง เครื่องเจาะถนน เสียงจากโรงงานอุตสาหกรรมเสียงแตรรถยนต์ หรือเสียงหวูดเรือ เป็นต้น หรือแม้กระทั่งเสียงการสนทนาตอบโต้กัน เสียงพูดของมนุษย์ เสียงเด็กร้องไห้เสียงต่างๆ เหล่านั้น เป็นเสียงที่อยู่รอบๆ ตัวเราทั้งสิ้น เสียงเหล่านั้น มีความแตกต่างกันเมื่อเราได้ยิน มนุษย์เราอาศัยการแยกแยะของสมอง เพื่อแยกเสียงต่างๆ ที่ได้ยิน และบอกความแตกต่างของสิ่งต่างๆ ที่เป็นต้นกำเนิดของเสียงนั้นการกำเนิดของเสียง เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุและเคลื่อนที่ออกจากแหล่งกำเนิดในลักษณะของ "คลื่นเสียง" ที่อาศัยตัวกลาง ในขณะที่คลื่นเสียงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางใดๆ โมเลกุลของตัวกลางนั้นๆ จะเกิดการสั่นสะเทือนไปยังโมเลกุลถัดไป จนกระทั่งกระทบโสตประสาทในการรับเสียงของมนุษย์ เกิดเป็น "การได้ยิน"

กิจกรรมที่ 1.1     การทดลองเรื่องคลื่น : เพื่อเข้าใจความหมายของคำว่า "คลื่น" ให้มากขึ้น ให้ผู้เรียน

               ทำการทดลองโดยปฏิบัติตามนี้

                   1. จัดหาอุปกรณ์สำหรับการฝึก ได้แก่ เชือก วัสดุ หรือสิ่งที่สามารถยึดปลายเชือกด้านหนึ่งไว้

            2. ทำการทดลองโดย ให้ใช้มือจับปลายต้านหนึ่งของเชือกไว้ ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งให้ผูกติดไว้กับประตู ผู้เรียนสามารถทำให้เกิดคลื่นบนเส้นเชือกได้ เมื่อสะบัดเชือกขึ้นลง การทำให้เชือกสะบัดขึ้นลงนี้ เป็นการทำให้เกิดการสั่นสะเทือนบนเชือก ดังรูป

จากรูป เราจะสังกตเห็นคลื่นบนเส้นเชือกเคลื่อนที่ใด้ ขณะที่เส้นเชือกเคลื่อนที่ ขึ้นลง เราอาจกล่าวได้ว่า เชือกเป็นตัวกลา'ทำให้คลื่นบนเส้นเชือกเคลื่อนที่ หรือแพร่กระจายไป

        สรุป - ข้อสังเกต

          ลักษณะของคลื่นแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ คลื่นตามขวาง และคลื่นตามยาว ซึ่งเราจะจำแนกตามลักษณะของการสั่นสะเทือนของแหล่งกำเนิด

          1. คลื่นตามขวาง ได้แก่ คลื่นบนเส้นเชือก คลื่นผิวน้ำ คลื่นแสง คลื่นวิทยุ ฯลฯ

          2. คลื่นตามยาว ได้แก่ คลื่นเสียง คลื่นในลวดสปริง ฯลฯ อย่างไรก็แล้วแต่ การกำเนิดคลื่นไม่ว่าจะเป็นคลื่นตามขวาง หรือคลื่นตามยาว จะต้องมีการกระทบกันของวัตถุ 2 ชนิด ผ่านตัวกลางจึงเกิดเป็นคลื่น

         จากการทดลองข้างต้น มือ และเชือก เป็นวัตถุ 2 ชนิดที่กระทบกันผ่านตัวกลาง คือ อากาศจึงเกิดเป็นคลื่น ซึ่งเป็นลักษณะของคลื่นตามขวาง

กิจกรรมที่ 1.2      การทดลองเรื่องการเกิดคลื่น : เพื่อเพิ่มความเข้าใจ เรื่องการเกิดของคลื่นให้ผู้เรียนทำการทดลอง ดังต่อไปนี้

มื่อเกิดการกระทบกันระหว่างวัตถุ 2 ชนิด คือ ก้อนหินกับน้ำ จะเกิดเป็นคลื่นในแนวขวาง 

 กรณีนี้สามารถเกิดคลื่นได้ทั้ง 2 ลักษณะ สามารถเกิดได้ทั้งคลื่นตามขวางและคลื่นตามยาว

    สรุป - ข้อสังเกต

    จากการทดลองที่ 2 ในลวดสปริงนี้ จะเห็นความแตกต่างระหว่างคลื่นตามขวาง และคลื่น

ตามยาวได้อย่างชัดเจน เราต้องไม่ลืมว่าการเกิดคลื่นเสียงเป็นการเกิดคลื่นแบบตามยาว ซึ่งจะเกิดมีบริเวณส่วนอัดและส่วนขยายของคลื่น ที่แผ่ออกไปอย่างต่อเนื่อง

         แหล่งกำเนิดของเสียง

         มนุษย์สามารถสื่อสารระหว่างกันและรับรู้สิ่งต่างๆ ได้ด้วยการใช้ "เสียง" ซึ่ง "เสียง" เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ และเคลื่อนที่ออกจากแหล่งกำเนิดในลักษณะของคลื่นที่อาศัยตัวกลาง ในขณะที่คลื่นเสียงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางใดๆ โมเลกุลของตัวกลางจะเกิดการสั่นสะเทือน และถ่ายทอดการสั่นสะเทือนไปยังโมเลกุลถัดไป เกิดเป็นบริเวณอัดและขยาย แผ่ออกไปอย่างต่อเนื่อง "คลื่นเสียง" จึงจัดเป็นคลื่นตามยาว ทั้งนี้ อัตราเร็วของเสียงขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของตัวกลางนั้นๆ ด้วย

         อย่างไรก็ตามส่วนสำคัญที่สุดของการเกิดเสียง คือ ลักษณะของแหล่งกำเนิดเสียง และการที่มีวัตถุ 2 ชนิดกระทบกันทำให้เกิดเสียง

กิจกรรมที่ 1.3 การทดลองเรื่องกำเนิดเสียงให้ผู้เรียนทำกิจกรรมตามที่กำหนด ( กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติการทดลองตาม กิจกรรมได้ครบ เนื่องจากไม่สามารถหาอุปกรณ์ต่างๆได้ ให้ผู้เรียนเลือกปฏิบัติเฉพาะการทตลองที่สามารถ  ปฏิบัติได้ หากไม่สามารถทำกิจกรรมใดได้เลย ให้ปฏิบัติการทดลองโดยนำกะละมัง มาถือแบบคว่ำ แล้วนำ 

                     ไม้มาเคาะที่กันกะละมัง สังเกตเสียงที่ได้ยิน )

           1) การดีดกีตาร์

ถ้าวางกีตาร์ไว้เฉยๆ โดยไม่ดีด จะไม่เกิดเสียงใดๆใช้นิ้วดีดที่สายกีตาร์ จะเกิดเสียงที่ก้องกังวานขึ้น

ถ้าแหล่งกำเนิดเสียง คือ กีตาร์ ได้รับการตั้งสายที่ถูกต้อง เสียงที่เกิดขึ้นเมื่อเราดีดสายกีตาร์ ก็จะเป็นเสียงที่ไพเราะ มีคุณภาพ แต่ถ้ากีตาร์ไม่ได้รับการตั้งสาย เสียงที่เกิดขึ้นก็จะเพี้ยน และไม่มีคุณภาพ               

การเกิดเสียงต่ำ – สูง 

ทดลองดีดสายกีตาร์ สายที่ 1 (สายล่างสุด) และเมื่อเราหมุนลูกบิดให้สายตึงขึ้น จะพบว่าเสียงดีดที่เรได้ยินก็จะสูงขึ้น แต่ถ้าเราผ่อนลูกบิดให้สายหย่อนจะพบว่าเสียงที่ได้ยินเมื่อเราดีดจะทุ้มขึ้นเรื่อยๆ

2) การตีกลอง ให้ทดลองตีกลอง

การเกิดเสียงตังของกลองเกิดจำกกำรใช้ มือ หรือวัตถุบำงอย่ำง เช่น ไม้ตีกลองตีลงบริเวณที่เป็นหนังกลองเพื่อให้เกิดกำรกระทบกันของวัตถุ 2 ชนิดจนเกิดเสียง

3) การเคาะซ้อม

นำส้อมเสียงมำ จำกนั้นลองเคะส้อมเสียงให้สั่นพอประมำณ แล้วนำปลำยส้อมเสียง ไปจุ่มในน้ำ โดยให้ปลำยส้อมเสียงแตะน้ำพอประมำณลองสังเกตผลกำรทดลอง และบันทึกผลที่เกิดขึ้น

ข้อควรระวัง ไม่ควรยื่นหน้ำเข้ำไปใกล้จำนน้ำขณะทำกำรทดลอง เพรำะอำจทำให้หูได้รับอันตรำยได้

4) การเป้าหลอด

นำหลอดมำ 1 หลอด บีบปลำยข้ำงหนึ่งให้แบน แล้วใช้กรรไกรหรือคัตเตอร์ตัดมุมทั้งสองออกเล็กน้อยจำกนั้นทำกำรเป่ำด้ำนที่แบนจนเกิดเสียงดังสังเกตควำมรู้สึกที่เกิดขึ้นที่ริมฝีปำก และบันทึกผลที่เกิดขึ้น

ข้อควรระวัง ขณะเป๋ำหลอด ไม่ควรสอดปลำยหลอดเข้ำไปในปำกมำกเกินไปเพรำะจะทำให้เกิดเสียงได้ยำก

5) การสีไวโอลิน หรือการสีซอ

ทดลองสีไวโอลิน หรือซอ แล้วสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น ให้สีในลักษณะที่ต่ำงกัน แล้วบันทึกผลกการทดลอง

ข้อสังเกต

 ถ้าไม่มีการเสียดสีระหว่างสายคันชักและสายไวโอลิน โดยการก็จะไม่เกิดเสียงขึ้น

 เสียงจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีการกระทบกันโดยการสี ระหว่างสายคันชักกับสายไวโอลิน

       สรุป-ข้อสังเกต

      ผลจากการปฏิบัติกิจกรรมการทดลองข้างต้น แสดงให้เห็นว่า วัตถุจะเกิดเสียงได้เมื่อมี การกระทบกันของวัตถุ 2 ชนิด ทําให้เกิดการสั่นสะเทือน และทําให้เกิดเสียงได้ เราเรียกวัตถุที่มา กระทบกันที่ทําให้เกิดการสั่นสะเทือนนี้ว่า “แหล่งกําเนิดเสียง”

         ในชีวิตประจําวันของเราจะพบว่ามีเสียงที่มีความแตกต่างกันมากมายหลากหลายทั้งเสียงทุ้ม เสียงแหลม เสียงค่อยและดัง เราเคยสงสัยหรือไม่ว่า ความแตกต่างของเสียงเหล่านี้เกิดจากอะไร

       จากการทดลองที่ผ่านมา สามารถชี้ให้เห็นได้ว่า การเกิดเสียงสามารถทําได้หลายวิธี เช่น การดีด สี ตี หรือเป่า ซึ่งความแตกต่างของเสียงที่เกิดขึ้น จะขึ้นอยู่กับลักษณะของวัตถุที่เป็นแหล่งกําเนิดเสียง การสั่นสะเทือนที่แตกต่างกัน ทําให้เสียงแตกต่างกันด้วย เช่น การดีดกีตาร์ การตีกลอง การเป่าหลอด หรือ การสีไวโอลิน เป็นต้น

จะสังเกตได้ว่า เมื่อดีดกีตาร์ ในสายที่แตกต่างกัน ก็จะทําให้เกิดเสียงที่แตกต่างกัน เป็นเพราะ สายกีตาร์ แต่ละสายทําจากวัสดุ และมีองค์ประกอบ รวมถึงขนาดที่แตกต่างกัน เมื่อเราใช้นิ้วกดที่ สายกีตาร์ที่ความยาวต่างกัน ในแต่ละเส้น แล้วดีดสายกีตาร์ ก็จะทําให้เกิดเสียงที่แตกต่างกันเช่นเดียวกัน

กิจกรรมที่ 1.4   การทดลองเรื่องความแตกต่างของเสียง ให้ผู้เรียนดีดกีตาร์อีกครั้ง โดยดีดทีละสาย และทีละ 5 สายพร้อมกัน      

                แล้วสังเกตความแตกต่างของเสียงที่เกิด

 ทดลองดีดกีตาร์ที่ละสาย

 ทดลองดีดพร้อมกันทั้ง 6 สาย

    สรุป-ข้อสังเกต

    การตีกลองก็เช่นเดียวกัน เมื่อเราใช้วัสดุที่ต่างกัน ตีลงไปบริเวณหน้ากลอง จะได้ยินเสียง ที่เกิดขึ้นต่างกัน เช่น ใช้ไม้ตีกลอง ใช้มือตีกลอง ใช้แส้เส้นเล็กๆ ตีกลอง เราจะได้ยินเสียงที่เกิด ขึ้นต่างกัน เนื่องจากแหล่งกําเนิดเสียงที่มีลักษณะต่างกัน นอกจากนั้นตําแหน่งในการตีที่ต่างกัน ก็จะให้เสียงที่ต่างกันด้วย

ไม้กลอง 

มือ 

แส้ 

จุดตกกระทบของเสียงใกล้กับบริเวณที่เป็นขอกลอง 

จุดตกกระทบของเสียงบริเวณเกือบกึ่งกลางกลอง 

จุดตกกระทบของเสียงบริเวณกึ่งกลาง หรือจุดศูนย์กลางของกลอง

(บริเวณนี้ จะเป็นตําแหน่งที่ได้ยินเสียงที่ก้องกังวานชัดเจนที่สุด)

            ในการเกิดเสียงของมนุษย์ก็เช่นเดียวกัน เกิดจากการสั่นสะเทือนของอวัยวะในช่องคอ ที่เราเรียก ว่า “กล่องเสียง” และการสั่นสะเทือนของเส้นเสียง (Vocal cords)

กิจกรรมที่ 1.5   ให้ผู้เรียนใช้นิ้วมือแตะบริเวณลําคอด้านหน้าหรือบริเวณที่เราเรียกว่า “ลูกกระเดือก” แล้วลองเปล่งเสียง คํา 

                  ว่า “สวัสดี” ปฏิบัติดังรูป จากนั้นให้สังเกตความรู้สึก ที่มือ และบันทึกผลที่เกิดขึ้น


          สรุป-ข้อสังเกต

            สิ่งที่ผู้เรียนจะรู้สึกคือ เมื่อเปล่งเสียง “สวัสดี” หรือ “อา” ผู้เรียนจะรู้สึกถึงการสั่นสะเทือน ที่มือ เมื่อสัมผัสบริเวณลูกกระเดือก นั่นแสดงว่า ที่บริเวณช่องคอด้านหน้า หรือภายในลูกกระเดือก จะต้องเกิดการสั่นสะเทือนขึ้นแน่นอน นั่นหมายความว่า แหล่งกําเนิดของเสียงของคนเราอยู่ที่ “กล่องเสียง” ตรงบริเวณลําคอ

ภาพ แสดงด้านหน้า หลังของกล่องเสียงและเส้นเสียง

         กล่องเสียงประกอบด้วยอวัยวะสําคัญ คือ กระดูกอ่อนที่เป็นสันนูนออกมาตรงแนวกลาง ซึ่งเรียก ว่า ลูกกระเดือก และจะสังเกตได้ชัดในผู้ชาย นอกจากนั้น ภายในยังประกอบไปด้วย เส้นเสียง (Vocal cords) ที่เป็นหนังบางๆ คู่หนึ่งที่วางขวางหลอดลม เมื่อเราพูดร่างกายจะบังคับให้ลมวิ่งผ่านขึ้นมาตามหลอดลม ลมที่ผ่านจะทําให้หนังบางๆคู่นี้เกิดการสั่น การสั่นจะทําให้อากาศบริเวณลําคอสั่นสะเทือนตามไปด้วย ต่อจากนั้นจะผ่านปาก จมูก เป็นเสียงปรากฏแก่ผู้ฟัง นอกจากนี้ ลิ้น ฟันและริมฝีปาก ยังช่วยให้เกิด เสียงในลักษณะต่างๆ ได้อีกด้วย

       จากที่เราได้เรียนรู้ไปแล้วว่า การเกิดเสียงจะต้องเกิดจากการกระทบกันของวัตถุ 2 ชนิดเกิดเป็น คลื่นเสียง (คลื่นแบบตามยาว) มากระทบอวัยวะในการรับฟังของเรา จึงเกิดเป็นการได้ยิน ดังนั้นการเกิด เสียงของมนุษย์ ถ้าเราจะวิเคราะห์กันง่ายๆ ก็คือการที่ลมที่เกิดขึ้นภายในร่างกายของเรา ไปกระทบเส้น เสียงที่อยู่ในกล่องเสียงบริเวณลําคอและทําให้เส้นเสียงสั่นสะเทือน และเกิดเป็นคลื่นเสียง เดินทางผ่าน ตัวกลางคืออากาศมากระทบกับหูของเราทําให้เราได้ยินเสียงนั้นๆ

          ถ้าเราสํารวจดูการเกิดเสียงในวัตถุแต่ละชนิด เราจะเห็นองค์ประกอบหนึ่งที่สําคัญนั่นก็คือ โพรง ที่ใช้ในการก้องกังวานของเสียง (คลื่นเสียง) ซึ่งโพรงนี้จะทําให้เกิดลักษณะการสะท้อนของเสียงอย่าง เป็นธรรมชาติ หรือที่เราเรียกว่าการสะท้อนแบบวิทยาศาสตร์ของเสียง (Acoustic)

       2. การเกิดเสียงกลาง เสียงกลางคือ “เสียงพูด” หรือเสียงที่เราใช้ในการร้องเพลงมาก และบ่อย ครั้งที่สุด การเกิดเสียงกลาง คือ การที่เส้นเสียง (Vocal cords) ได้รับการสั่นสะเทือนจากการที่มีลมมา กระทบเส้นเสียงนั้นให้สั่นสะเทือน เกิดเป็นคลื่นเสียง และคลื่นเสียงนั้นจะไปก้องกังวาน บริเวณ “โพรง ปาก” เกิดเป็นระดับความถี่ของเสียงกลาง ผ่านมาสู่ “หู” ของเรา ดังนั้นจุดสําคัญที่เป็นหัวใจของการ ร้องเพลง หรือเปล่งเสียงในระดับเสียงกลาง คือ การใช้รูปปากที่ถูกต้อง นั่นคือความกว้าง และแคบของปาก มีผลต่อเสียงที่ได้ยิน

การอ้าปากกว้างทําให้พื้นที่ในการก้องกังวานของเสียงภายในโพรงปากมีพื้นที่มาก ทําให้เสียงที่ออกมามีคุณภาพ และก้องกังวาน

ถ้าเราไม่ให้ความสําคัญกับรูปปากในการร้องเพลง เช่น ไม่ค่อยอ้าปาก เสียงที่ออกมาจะไม่ชัดเจนและไม่มีคุณภาพ

หมายเหตุ เสียงที่มีคุณภาพในการร้องเพลง ลักษณะของเสียงที่เปล่งออกมาต้องกลม มีเนื้อเสียง และเสียงต้องไม่แบน หรือขึ้นจมูก

       3. การเกิดเสียงต่ำ เสียงต่ำ ต้องมีความคุ้ม ลึก ดังนั้น การเกิดเสียงต่ำในการร้องเพลง เกิดจาก การที่เส้นเสียง (Vocal cords) สั่นสะเทือน เมื่อลมภายในร่างกายมากระทบเส้นเสียงและเกิดคลื่นเสียงที่ ไปก้องกังวานบริเวณ “โพรงของทรวงอก” ในร่างกายของเรา ทําให้เกิดเป็นระดับความถี่ของเสียงมา กระทบอวัยวะรับฟังของเราที่ “หู”

สรีระและอวัยวะในการออกเสียงของมนุษย์

          จากการที่เราได้เรียนรู้ว่าลักษณะของแหล่งกําเนิดเสียงที่แตกต่าง ก่อให้เกิดเสียงที่แตกต่างกัน นั่น แสดงให้เห็นว่า มนุษย์แต่ละคนจึงมีเสียงที่แตกต่างกัน อันเนื่องมาจากสรีระร่างกายของแต่ละคน ขนาด ของโพรงสมองที่แตกต่างกัน ก่อให้เกิดเสียงที่แตกต่างกัน

กิจกรรมที่ 1.6     ให้ผู้เรียนเปรียบเทียบลักษณะกะโหลกศีรษะและโพรงสมอง ของมนุษย์ในแต่ละเชื้อชาติ

       สรุป-ข้อสังเกต

            ผู้เรียนจะสังเกตได้ว่า โพรงสมองพวกผิวดําที่เราเรียกว่า นิโกรหรือแอฟริกัน อเมริกัน จะมี ลักษณะของหน้าผากที่โหนกนูน ถ้าเทียบตามอัตราการเปรียบเทียบคือ พวกผิวดําจะมีหน้าผาก โหนกนูนที่สุด ลองลงมาคือคนคอเคเชี่ยน และที่หน้าผากโหนกนูนน้อยสุดคือคนเอเชียน โดย นั่นหมายความว่า คนผิวดําจะมีเสียงโดยเฉลี่ยสูงกว่าคนคอเคเชี่ยน และคนคอเคเชียนก็จะมี เสียงโดยเฉลี่ยสูงกว่าคนเอเซียน

           สําหรับระดับเสียงกลางก็เช่นเดียวกันลักษณะของโพรงปากมีส่วนในการกําหนดความกว้างของเสียงที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน ลักษณะของฟันและลักษณะภายในโพรงปาก ก็มีผลกับการเกิด เสียงมากเช่นเดียวกัน

คนที่มีฟันบนกว้างกว่าฟันล่าง หรือ “ฟันเหยิน” จะมีเสียงในระดับกลางที่ชัดเจน และก้องกังวาน มากกว่าคนที่มีฟันเรียบเรียงสวย

       คนที่มีลําตัวผอมบาง จะมีพื้นที่ในการก้องกังวานของเสียงต่ําน้อยกว่า ทําให้มีเสียงที่ระดับ เสียง ต่ํา ไม่คุ้ม ลึก หรือต่ําเท่ากับคนที่ลําตัวหนากว้างกว่า

       หมายเหตุ

       วิธีง่ายๆ ในการเพิ่มระดับเสียงของเราไม่ว่าจะเป็นเสียง สูง กลาง ต่ํา นั่นก็คือ ให้ ความสะดวกในการที่เสียง หรือ คลื่นเสียง ที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของเส้น เสียงไปก้องกังวานบริเวณโพรงต่างๆ ของร่างกายได้อย่างสะดวก เช่น “เสียงสูง” เราไม่ควรเงยหน้า เพราะจะทําให้เส้นเสียงตึง เกิดการสั่นสะเทือนยาก และทําให้ ระยะระหว่างกล่องเสียงกับโพรงสมองไกลกันมากขึ้นดังรูป

การมองตรงในระดับสายตาปกติจะทําให้เส้นเสียงมีความยืดหยุ่นพอดีไม่ตึงหรือหย่อนเกินไป

 การเงยหน้าจะทําให้ระยะทาง ระหว่างเส้นเสียง (Vocal cords) กับ โพรงสมองเพิ่มขึ้นมากกว่าตอนที่ ก้มหน้าลง เมื่อเราเงยหน้า เส้นเสียงจะดึง ทําให้เมื่อมีลมมากระทบ เส้นเสียงจะสั่นสะเทือนได้ยาก 








นอกจากนี้ระยะทางระหว่างเส้นเสียงกับโพรงสมอง

จะน้อยกว่าการเงยหน้า ทําให้คลื่นเสียงที่ก้องกังวาน

บริเวณ โพรงสมองนั้นมากกว่า ขณะที่เราเงยหน้า

การก้มหน้าลงจะทําให้เส้นเสียงหย่อน              

 เมื่อเกิดการสั่นสะเทือนการกระทบของ  

 ลมภายในร่างกาย จะเกิดการ

สั่นสะเทือน ของเส้นเสียงอย่างมีคุณภาพ

 สําหรับระดับเสียงกลาง ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า ลักษณะความกว้าง แคบ หรือลักษณะของ รูปปาก แต่ละประเภท จะก่อให้เกิดเสียงที่แตกต่างกัน รวมทั้งคุณภาพของเสียงที่ต่างกัน 

         สําหรับระดับเสียงต่ำ วิธีการง่ายๆในการเพิ่มคุณภาพของระดับเสียงต่ำในการร้องเพลงนั้น คือ การเพิ่มพื้นที่ของโพรงทรวงอก โดยการห่อไหล่เข้าหากัน

ห่อไหล่เข้าหากัน จะเพิ่มพื้นที่บริเวณทรวงอกได้เล็กน้อย

       อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะใช้เทคนิคหรือวิธีการใดๆ ในการเพิ่มระดับเสียง แต่มนุษย์เราก็ยังคงมีข้อ จํากัดในการร้องเพลง และการเปล่งเสียงอยู่ดี มนุษย์แต่ละคนจะมีระดับการเปล่งเสียง (Range) ต่างกัน ขึ้นกับลักษณะสรีระของร่างกาย การก้มตัวเพื่อเสียงสูง หรือ การห่อไหล่เพื่อเพิ่มพื้นที่โพรงทรวงอก สําหรับ เสียงต่ำ เพียงแต่เป็นการยึดระดับความกว้างของเสียงสูง - ต่ำ ของมนุษย์ ได้จากเดิมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

          ผู้ที่ได้รับการฝึกฝนจะสามารถขยายระดับความกว้างของเส้นเสียงได้เพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยให้สามารถร้องเพลงในระดับเสียงที่ต่ำและสูงกว่าเดิมได้

       ดังนั้น ถ้าผู้เรียนเป็นคนที่มีธรรมชาติเสียงทุ้มต่ําแล้วมีความใฝ่ฝันจะมีเสียงสูงเหมือนนักร้องใน ดวงใจที่มีเสียงสูงมากๆ คําตอบมีคําตอบเดียว คือ “เป็นไปไม่ได้” เพราะเราไม่สามารถแก้ไข เปลี่ยนแปลงธรรมชาติของเสียงของเราได้มากขนาดนั้น แต่ผู้เรียนอย่าพึ่งท้อใจ เพราะการเรียนร้องเพลง เป็นการฝึกการใช้เสียงระดับกลางให้เป็นเสียงที่มีคุณภาพ เพราะการใช้เสียงระดับกลาง มีแหล่งกําเนิด มาจากการก้องกังวานของเสียงบริเวณ “โพรงปาก” ซึ่งเป็นส่วนเดียวในร่างกายที่เราสามารถฝึกฝน และ แก้ไข ปรับปรุงให้เสียงที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเสียงที่มีคุณภาพและมีความไพเราะได้

        อันที่จริงแล้วมนุษย์ เลียนแบบเสียงต่างๆจากการได้ยินเสียงที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น เสียงของเครื่องดนตรี ซึ่งพัฒนามาจากการเลียนเสียงธรรมชาติ หรือ กิจวัตรประจําวันของมนุษย์ใน สมัยโบราณ แม้แต่ที่มนุษย์เลียนเสียงสัตว์ต่างๆในธรรมชาติ ก็เป็นที่มาของการพัฒนามาเป็นเสียงร้อง ของมนุษย์ ในระดับเสียงต่างๆ

กิจกรรมที่ 1.7  ให้ผู้เรียนนึกถึงสัตว์ต่างๆ ในธรรมชาติ ที่ทําให้เกิดเสียงในระดับต่างๆ

           สรุป-ข้อสังเกต

              ถ้าเราวิเคราะห์ลักษณะของสัตว์แต่ละชนิด ที่เปล่งเสียงแต่ละระดับเสียง โดยวิเคราะห์ถึง อากัปกิริยาที่สัตว์นั้นๆ กระทําเวลาออกเสียง เราจะได้แง่คิดในการเปล่งเสียงในระดับต่างๆของเรา โดยอ้างอิงกับธรรมชาติในการเปล่งเสียงของสัตว์นั้นๆ ได้

 กิจกรรมที่ 1.8 ให้ผู้เรียนวาดภาพและบรรยายอากัปกิริยาของสัตว์ที่มีเสียงระดับต่างๆมาโดยละเอียด

                   1) สัตว์ที่มีเสียงสูงคือ ไก่หรือนกก่อนที่จะเปล่งเสียงขันหรือร้อง

                   2) สัตว์ที่มีเสียงกลางคือ สุนัขหรือสิงโตก่อนเห่าหรือคําราม

                   3) สัตว์ที่มีเสียงต่ำคือ กบหรืออึ่งอ่างก่อนที่จะเปล่งเสียงร้อง

           สรุป-ข้อสังเกต

อากัปกริยาของไก่ก่อนขันไก่

หมายเหตุ         ลักษณะที่เหมือนกันระหว่างไก่กับมนุษย์ คือ จะก้มตัวลงในขณะที่เปล่ง เสียงสูง และเมื่อเราจะลากเสียงนั้นให้ยาวต่อไปเราจะยืดตัวขึ้นเป็นการช่วย
ควบคุมเสียง

อากัปกริยาของสุนัขก่อนเท่า

หมายเหตุ   ลักษณะที่เหมือนกันเมื่อเปล่งเสียงกลาง ระหว่าง สุนัข กับมนุษย์ คือ การ เก็บลมไว้บริเวณที่เป็นลําตัว และเปล่งเสียงโดยการอ้าปากให้กว้างที่สุดเท่า
                ที่จะกว้างได้ เพื่อให้ได้เสียงที่มีระดับกลางที่มีคุณภาพมากที่สุด

อากัปกริยาของอึ่งอ่างก่อนร้อง

หมายเหตุ  ลักษณะที่เหมือนกัน เมื่อเปล่งเสียงระหว่าง อึ่งอ่าง กับ มนุษย์ ที่เปล่ง เสียงต่ำ คือ แหล่งกําเนิดเสียงที่ก่อให้เกิดเสียงต่ำนั้น จะอยู่บริเวณลําตัว
                ยิ่งขยายพื้นที่ในการเปล่งเสียง คือ ยิ่งขยายพื้นที่ของลําตัวมากเท่าไหร่ ยิ่ง ก่อให้เกิดเสียงทุ้มต่ำ และกังวานมากขึ้นเท่านั้น

                อึ่งอ่าง >>> ใช้การพองตัว (พองบริเวณลําตัว) ในการเพิ่มพื้นที่ในการก่อให้เกิดเสียงต่ำ ที่ทุ้มต่ำ และกังวานมากขึ้น

                มนุษย์ > >>> ใช้การห่อไหล่เข้าหากัน เป็นการเพิ่มพื้นที่ของลําตัว เพื่อก่อ ให้เกิดเสียงต่ำ ที่ทุ้มต่ำ และ กังวานมากขึ้น

   เสียงของมนุษย์

            ในชีวิตประจําวันของเรา เราจะได้ยินเสียงต่างๆ มากมายรอบๆ ตัว ไม่ว่าจะเป็นเสียงสัตว์ร้อง เช่น ไก่ขัน นกร้อง เสียงเครื่องจักร เสียงนาฬิกา เสียงพูดคุย เสียงรถยนต์ เสียงลม เสียงฝน เป็นต้น มนุษย์เรานั้น อาศัยการแยกแยะและจดจํา จากความสามารถของสมอง เพื่อบอกความแตกต่างของสิ่งต่างๆที่เป็นต้นกําเนิดรวมไปถึงความแตกต่างของเสียงด้วยจึงทําให้มนุษย์มีความเข้าใจในธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัว สําหรับเสียงซึ่งเป็นองค์ประกอบของภาษาพูดของมนุษย์ ที่มนุษย์ แต่ละชนชาติใช้ติดต่อและสื่อสารกัน เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเป็นคําพูดสื่อสารกัน จะมีอิทธิพลต่อ สภาพจิตใจ และความรู้สึก ความคิด ของผู้ฟังด้วย เช่น เสียงเชียร์ เสียงต่อว่า เสียงดุ เสียงชื่นชม ฯลฯ แล้วแต่ประเภทของน้ำเสียงที่เราใช้ออกไป

            จากที่กล่าวมาข้างต้น ทําให้เราเห็นความสําคัญของเสียง ที่มีอยู่ในชีวิตประจําวันของเรามากขึ้น แต่จากที่เราได้เรียนรู้ไปแล้วในตอนต้น เราพบว่า เสียงที่เกิดจากแหล่งกําเนิดเสียงที่มีลักษณะแตกต่างกัน ในด้านต่างๆ ได้แก่ เสียงทุ้ม (ต่ํา) เสียงแหลม(สูง) เสียงดัง เสียงเบา และเสียงที่มีคุณภาพเสียงที่แตกต่างกัน จะก่อให้เกิดเสียงที่แตกต่างกัน ทําให้การได้ยิน และความรู้สึกเมื่อเราได้รับฟังแตกต่างกันไป เพื่อให้ เข้าใจลักษณะของแหล่งกําเนิดเสียงที่แตกต่างกันชัดเจนขึ้น เราจึงควรรู้จัก “ธรรมชาติของเสียง”

ธรรมชาติของเสียง

            เราทุกคนคงทราบแล้วว่าเสียงเป็นพลังงานรูปหนึ่ง และเนื่องจากเสียงเป็นพลังงาน และการเดิน ทางของเสียงนั้นเป็นไปในลักษณะของคลื่นเสียง เสียงจึงต้องเดินทางผ่านตัวกลาง ซึ่งในที่นี้ก็คือ “อากาศ” ไปยัง “หู” ของผู้ฟัง มีลักษณะดังนี้

ภาพ แสดงการเดินทางของคลื่นเสียง

                  มนุษย์เราใช้วิธีการดังกล่าวข้างต้นนี้ ในการได้ยินเสียงต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา และเราสามารถ บอกได้ว่าเสียงที่เราได้ยินนั้น คือเสียงอะไร โดยที่เราไม่จําเป็นต้องเห็นแหล่งกําเนิดเสียง แต่ทั้งนี้ต้องขึ้น อยู่กับว่าเสียงที่เราได้ยินนั้นเป็นเสียงที่เราเคยได้ยินมาก่อนหรือไม่ และเราทราบหรือไม่ว่าเสียงนั้นคือ เสียงอะไร เช่น เสียงสุนัขเห่า เสียงพูดคุย เสียงโทรศัพท์

 เสียงเครื่องบิน เป็นต้น    

                  อย่างไรก็ตาม การได้ยินของมนุษย์นั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะเสียงของแหล่งกําเนิดเสียงนั้นๆ ความ ดัง-เบา รวมไปถึงระยะห่างของผู้ฟังกับแหล่งกําเนิดเสียงด้วย เสียงที่เราได้ยินนั้นจะมีลักษณะแตกต่าง กันออกไป ซึ่งความแตกต่างนี้เป็นธรรมชาติของเสียง โดยธรรมชาติของเสียงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ ประการ ซึ่งเราสามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะดังนี้

            1. ระดับของเสียง ได้แก่ เสียงทุ้มต่ำ และเสียงแหลมสูง

            2. ความดังของเสียง ได้แก่ เสียงดัง และเสียงเบา

            3. คุณภาพของเสียง

ระดับของเสียง (Pitch)

            ระดับของเสียงมีหลายระดับ ตั้งแต่เสียงต่ำ (Low Pitch) หรือเสียงทุ้ม ไปจนถึงเสียงสูง (High Pitch) หรือเสียงแหลม การเกิดเสียงสูง (High Pitch) หรือเสียงต่ำา (Low Pitch) นั้น ขึ้นอยู่กับความถี่ของเสียง ซึ่ง หมายถึงจํานวนรอบที่แหล่งกําเนิดสั่นใน 1 วินาทีซึ่งปัจจุบันเรานิยมเรียกหน่วยความถี่เป็น เฮิรตซ์ (บัญญัติ ตามชื่อของ ไฮน์ริช รูดอล์ฟ เฮิรตซ์ นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1857-1894 เพื่อเป็น เพื่อเป็นเกียรติในการค้นพบวิทยุเป็นคนแรก)

            การสั่นของแหล่งกําเนิดของเสียงมีความสัมพันธ์กับระดับเสียง กล่าวคือ เมื่อแหล่งกําเนิดเสียง สั่นด้วยความถี่สูงก็จะเกิดเสียงที่มีระดับเสียงสูงหรือเสียงแหลม แต่ถ้าแหล่งกําเนิดเสียงสั่นด้วยความถี่ต่ำก็จะเกิดเสียงที่ระดับเสียงต่ำหรือหุ้ม

กิจกรรมที่ 1.9     ให้ผู้เรียนทําการทดลองโดยสั่นไม้บรรทัดพลาสติก โดยให้ทําการทดลองดังนี้

              1) กดไม้บรรทัดไว้กับโต๊ะดังรูป

                   2) ใช้มืออีกข้างดีดไม้บรรทัดให้ไม้บรรทัดสั่น

                   3) บันทึกผลที่เกิดขึ้น ให้สังเกตเสียงของไม้บรรทัดที่กระทบโต๊ะ ในเวลาที่ต่างกัน 5,10 และ 15 วินาที

           สรุป-ข้อสังเกต

           จากการทดลองแสดงให้เห็นว่า ความเร็วของการสั่นของแหล่งกําเนิดเสียง ซึ่งในที่นี้ คือ “ไม้บรรทัด” ไม่เท่ากัน ซึ่งจะช้าลงตามเวลาที่ผ่านไป และนั่นก็ทําให้ระดับเสียงที่เราได้ยิน (เสียง สูง หรือ ต่ำ) ก็ต่างกันไปด้วย กล่าวคือเมื่อแหล่งกําเนิดเสียงสั่นด้วยความเร็วมาก จะเกิดเสียงแหลม และเสียงจะเริ่มทุ้มขึ้น เมื่อความเร็วของแหล่งกําเนิดเสียงลดลง หรือ อธิบายได้ง่ายๆ ดังนี้

·       ความเร็วของการสั่นของแหล่งกําเนิดมาก = ความถี่ของการสั่นมาก = เสียงแหลมสูง

·       ความเร็วของการสั่นของแหล่งกําเนิดน้อย = ความถี่ของการสั่นน้อย = เสียงทุ้มต่ำ

             เมื่อเสียงเดินทางผ่านตัวกลางตัวกลางนั้นๆ จะสั่นด้วยความถี่เดียวกับความถี่ที่แหล่งกําเนิดเสียงสั่น

ดังนั้นผู้ที่ได้ยินเสียง หรือผู้ฟังจะได้ยินเสียงที่มีความถี่เท่ากับความถี่ที่แหล่งกําเนิดเสียงนั้นๆ สั่น เพื่อ ความเข้าใจ ให้ผู้เรียนศึกษาจากภาพการแสดงการเดินทางของเสียงดังนี้

              โดยปกติ หูของมนุษย์สามารถรับคลื่นเสียงได้บางช่วงความถี่เท่านั้น นั่นคือ มนุษย์จะได้ยินเสียง ในช่วงความถี่ 20-20000 เฮิรตซ์ ซึ่งเสียงที่อยู่ในย่านความถี่นี้เราเรียกว่า “โซนิก” (Sonic) เสียงที่อยู่ใน ย่านความถี่ที่สูงหรือต่ํากว่าช่วง “โซนิก” นี้มนุษย์จะไม่ได้ยิน ซึ่งเราสามารถศึกษาได้จากแผนภาพ                                     

·   ความถี่ที่ต่ำเกินกว่าที่มนุษย์ จะได้ยินถึงความถี่ 0.1-20 เฮิรตซ์ อินฟราโซนิก (Infrasonic) หรือเสียงเงียบ

·   เสียงที่มนุษย์ได้ยินจะอยู่ที่ความถี่20-20000 เฮิรตซ์ โซนิก (sonic)

·   ความถี่ที่สูงเกินกว่ามนุษย์ได้ยินตั้งแต่ 20000 เฮิรตซ์ อัลตร้าโซนิก (Ultrasonic)

 ความดังของเสียง

          ชีวิตประจําวันของมนุษย์ เราจะได้ยินเสียงในลักษณะต่างๆ กันมากมาย บางครั้งเราได้ยินเสียง นกร้องเบาๆ ข้างหน้าต่าง บางครั้งเราได้ยินเสียงสุนัขเห่าเสียงดัง เสียงรถชน เสียงแก้วแตก เสียงเพลง เสียงคนพูดคุยกัน หรือเสียงคนทะเลาะวิวาทกัน ฯลฯ เสียงดังและค่อยเหล่านี้ เราเคยสงสัยกันบ้างหรือ

ไม่ว่าเกิดจากปัจจัยใดบ้าง

กิจกรรมที่ 1.10     การทดลองเรื่องการเกิดเสียงดังเบา ให้ผู้เรียนทําการทดลองโดยจัดหาอุปกรณ์ และ ทําการ 

                    ทดลองดังนี้

                    อุปกรณ์ แผ่นไม้สําหรับทดลองเรื่องเสียง (พร้อมเส้นเอ็น 1 ชุด)

วิธีทําการทดลอง

1) ซึ่งเส้นเอ็นไนล่อนให้ตึง โดยเลื่อนไม้หมอนทั้งสองอันไปชิดกับปลายข้างที่ผูก เส้นเอ็นไนล่อนไว้เรียบร้อยแล้วก่อน แล้วจึงผูกเส้นเอ็นไนล่อนเข้ากับตะปูอีก ด้านหนึ่งให้ถึงที่สุด แล้วจึงเลื่อนไม้หมอนอีกอันหนึ่งไปหาตะปู เพื่อให้เส้นเอ็นตึงตามต้องการ

2) ใช้นิ้วดีดตรงกลางของเส้นเอ็นไนล่อนเบาๆ หลายๆ ครั้ง พร้อมกับสังเกตความ ดังของเสียงที่เกิดขึ้น แล้วบันทึกผลในตารางบันทึกผลการทดลอง

3) ดําเนินการทดลองเช่นเดียวกับข้อ 2 แต่ดีดเส้นเอ็นแรงๆ หลายๆ ครั้ง ทั้งนี้การ ดีดเส้นเอ็นไนล่อนแต่ละครั้งควรดีดตรงจุดเดียวกันตลอดการทดลอง

หมายเหตุ  หลังจากดําเนินการทดลองเสร็จแล้ว ควรวิ่งเส้นเอ็นไนล่อนไว้กับตะปูตามเดิมเพื่อป้องกันไม่ให้เส้นเอ็นไนล่อนหาย

สรุป-ข้อสังเกต

               จากการทดลองเราจะเห็นว่า แหล่งกําเนิดเสียงเดียวกัน เราสามารถทําให้เกิดเสียงดังหรือเบาต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับ แอมปลิจูด (Amplitude) ของการสั่น นั่นคือ เมื่อค่าแอมปลิจูดมากเสียง จะดังมากกว่า และเมื่อค่าแอมปลิจูดแหล่งกําเนิดเสียงนั้น มีค่าแอมปลิจูดน้อยเสียงจะดังน้อย

                นอกจาก “ค่าแอมปลิจูด” จะมีผลต่อความดังของเสียงแล้ว ลักษณะของแหล่งกําเนิดที่ แตกต่างกัน ขนาดที่แตกต่างในการทําให้แหล่งกําเนิดสั่นสะเทือน ก็มีผลต่อความดังของเสียง เช่นกัน ผู้เรียนจะเข้าใจมากขึ้นหากได้ทดลองดีดสายกีตาร์ ซึ่งมีวิธีการทดลองคล้ายกับการดีด สายไนล่อน แต่เปลี่ยนเป็นการดีดสายกีตาร์ที่ละสาย จากสายที่ 1-6 ดังนี้

กิจกรรมที่ 1.11      การทดลองเรื่องแหล่งกําเนิดของเสียงให้ผู้เรียนทดลองดีดสายกีตาร์ (ถ้ามีหรือสะดวก ในการหากีตาร์) โดยให้ปฏิบัติดังนี้

                             1) ทดลองดีดกีตาร์ จากสาย 1-6

                             2) ดีดครั้งที่ 1 และดีดครั้งที่ 1 เบา 2 แรงขน

                             3) การดีดให้น้ําหนักในการดีด เบา และ แรงในแต่ละสายเท่ากัน

                             4) บันทึกผลการทดลอง โดยให้บันทึกความแตกต่างของสายกีตาร์แต่ละสายอย่างละเอียดด้วย

             สรุป-ข้อสังเกต

               จากการทดลองจะเห็นว่า ขนาดของสายกีตาร์มีผลต่อความดังของเสียงที่ได้ยินเช่นกัน แหล่งกําเนิดของเสียงที่มีขนาดใหญ่กว่าจะให้ความดังมากกว่า นอกจากขนาดของแหล่งกําเนิดจะมีผลต่อความดังแล้ว ระยะห่างของแหล่งกําเนิดกับผู้ฟังก็มีผลกับความดังเช่นกัน

กิจกรรมที่ 1.12 การทดลองเรื่องระยะห่างของแหล่งกําเนิดเสียง ให้ผู้เรียนทดลองง่ายๆ โดยการ เปิดวิทยุ โดยตั้งระดับ

                      ความดังไว้ที่ระดับหนึ่ง แล้วผู้เรียนลองค่อยๆ ถอยห่างจาก วิทยุออกไปในแนวระนาบ (ต้องไม่มีสิ่งกีด

                      ขวางใดๆ กั้นระหว่างแหล่งกําเนิดเสียง คือ วิทยุกับผู้ฟัง) แล้วบันทึกผลการทดลอง

                    สรุป-ข้อสังเกต

                    จากการทดลองพบว่า แหล่งกําเนิดเสียงชนิดเดียวกัน จะให้ความดังที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับ ระยะห่างระหว่างแหล่งกําเนิดเสียงนั้นๆ กับผู้ฟัง นั่นคือ ยิ่งระยะห่างมาก เสียงจะยิ่งเบาลง

                    เราสามารถสรุปได้ง่ายๆ ว่า ปัจจัยที่มีผลต่อ “ความดัง” ของเสียงจากแหล่งกําเนิดมี 4 ประการ คือ

                   1. แอมปลิจูดของการสั่น แอมปลิจูดของการสั่นมาก (เสียงดัง) กว่า แอมปลิจูดของการ สั่นน้อย (เสียงเบา)

                   2. ขนาดและรูปร่างของแหล่งกําเนิดเสียง

                   3. ระยะห่างระหว่างแหล่งกําเนิดเสียงกับผู้ฟัง

                  4. ลักษณะของตัวกลางที่คลื่นเสียงเคลื่อนผ่านเพราะตัวกลางบางชนิดทําหน้าที่ดูดซับเสียง

                      เช่น ตะโกนผ่านหมอน เสียงที่ได้ยินจะเบากว่า ตะโกนผ่านอากาศ เป็นต้น

                    ความดังของเสียงหรือเราเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ความเข้มของเสียง” ในสากลจะมี หน่วยเป็น “เบล” (Bel) ซึ่งเป็นชื่อของนักวิทยาศาสตร์ชาวสกอตแลนด์ ผู้ประดิษฐ์คิดค้นโทรศัพท์เป็นคนแรก โดยกําหนดว่าเสียงที่เบาที่สุดที่มนุษย์ได้ยิน มีค่าความเข้มของเสียงเท่ากับ 0 เบล ระดับความเข้มของ เสียง 0 เบล เรียกว่าขีดเริ่มต้นของการได้ยิน (The threshold of hearing) อย่างไรก็ตามหน่วยเบล (Bel) ก็ ยังเป็นหน่วยที่ใหญ่เกิดไป ไม่สามารถแยกค่าความดังของเสียงอย่างละเอียดได้ นักวิทยาศาสตร์ จึง กําหนดหน่วยย่อยลงไปอีกเรียกว่า “เดซิเบล” (Decibel) เขียนย่อว่า dB และเสียงที่มนุษย์สามารถได้ยิน จะมีระดับความเข้มของเสียงอยู่ระหว่าง 0-120 เดซิเบล จากข้อกําหนดขององค์การอนามัยโลกได้ กําหนดไว้ว่า ความดังของเสียงที่ปลอดภัยต่อการได้ยินต้องอยู่ในระดับที่ไม่เกิน 85 เดซิเบล และได้ยิน นานไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน แหล่งกําเนิดเสียงที่ให้เสียงที่มีระดับความเข้มของเสียงมากกว่านี้ถือเป็น “มลพิษ ของเสียง”

                  “มลพิษของเสียง” คือ ภาวะของเสียงจากแหล่งกําเนิดที่มีเสียงดังเกินระดับที่มนุษย์รับได้ หรืออยู่ในระดับที่เราไม่ต้องการจะได้ยินหรือได้ยินต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานจนกลายเป็นเสียงรบกวน ซึ่งมลพิษของเสียง บางครั้งเพียงทําให้เกิดเสียงรบกวนที่ก่อให้เกิดความรําคาญ แต่บางครั้งมลพิษของ เสียงอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อการได้ยิน ต่อจิตใจและสุขภาพทั่วๆ ไปได้

                      การจะเป็นนักร้องที่ดีได้นั้น สิ่งสําคัญสิ่งหนึ่งคือการมีประสาทรับฟังที่เยี่ยมยอด ที่จะทําให้เรา ร้องเพลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เพี้ยน สามารถฟังแล้วแยกโน้ตได้อย่างชัดเจน ดังนั้น ผู้ที่จะฝึกร้องเพลงจําเป็นต้องให้ความสําคัญกับโสตประสาทในการได้ยินและฝึกลักษณะนิสัยที่ดีในการฟังด้วยเช่น ไม่ฟังเพลงดังเกินไป ไม่อยู่ในที่ๆมีเสียงรบกวนต่อเนื่องกันเป็นเวลานานๆ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจมากขึ้น ให้ ผู้เรียนศึกษาแผนภาพแสดงระดับความเข้มของเสียงในหน่วยเดซิเบล ที่มาจากแหล่งกําเนิดเสียงที่

แผนภาพแสดงความดังของเสียงจากแหล่งต่างๆ

คุณภาพของเสียง

                เคยสงสัยหรือไม่ว่า ทําไมเราจึงจําเสียงเพื่อนได้ทันทีที่รับโทรศัพท์ หรือบางครั้ง เมื่อเราได้ยิน เพื่อน 2-3 คนคุยกันอยู่ในห้องข้างๆ ถึงแม้เราจะไม่เห็นแต่เราก็สามารถแยกแยะและบอกได้ว่าเป็นเสียง ใครบ้าง หรือเวลาที่นักศึกษาได้ยินเพลงๆ หนึ่ง ก็สามารถแยกเสียง กีตาร์ กลอง เบส เปียโนและ เสียงร้องได้ การที่เราสามารถจําแนกเสียงที่เกิดจากแหล่งกําเนิดเสียงต่างๆ ได้นั้น เนื่องจากแหล่ง กําเนิดที่ต่างกันจะให้เสียงที่มีคุณภาพเสียงที่แตกต่างกันผู้เรียนสามารถทําความเข้าใจกับคําว่า “คุณภาพของเสียง” ได้ชัดเจนขึ้นจากการทดลองต่อไปนี้

กิจกรรมที่ 1.13     การทดลองเรื่องคุณภาพของเสียงให้ผู้เรียนทดสอบคุณภาพของเสียง โดยให้ผู้เรียน ปฏิบัติดังนี้ (หากไม่

                        สามารถทดลองได้ครบ ให้ทดลองเฉพาะส่วนที่สามารถปฏิบัติได้

                       1) เปียโน หรือ เมโลดิกา ให้เป็นเครื่องดนตรีชนิดที่ 1 โดยให้เล่นโน้ต “มี” (E)

                    2) ขลุ่ย หรือแอคคอร์เดียน ให้เป็นเครื่องดนตรีชนิดที่ 2 โดยให้เป่าโน้ต “มี” (E)

                        3) นักร้อง(ตัวผู้เขียนเอง) ให้เป็นเครื่องดนตรีชนิดที่ 3 โดยให้ร้องโน้ต “มี” (E)

                 สรุป-ข้อสังเกต

                     จากการทดลอง แหล่งกําเนิดเสียงต่างชนิดกัน แต่เล่นด้วยความถี่เท่ากัน (เล่นโน้ต มี(E)] แต่ก็ยังสามารถแยกออกว่า เสียงที่ได้ยินนั้นเป็นเสียงของเครื่องดนตรีชนิดใด เสียงร้องของมนุษย์ เสียงเปียโน หรือเสียงขลุ่ย นั่นแสดงว่านอกจากระดับเสียงหรือความถี่ของเสียงแล้ว ยังมีสิ่งอื่น อีกที่ทําให้เราได้ยินเสียงแตกต่างกันออกไป ซึ่งทําให้เราสามารถแยกประเภทของเครื่องดนตรี ที่เราได้ยิน หรือนั่นคือเราสามารถแยกแหล่งกําเนิดของเสียงได้

แหล่งกําเนิดเสียงแต่ละชนิดจะให้ความถี่ 2 ลักษณะปรากฏออกมาพร้อมๆ กัน คือ

1. ความถี่มูลฐาน (Fundamental Frequency)

2. ฮาร์มอนิก (Harmonic)

                    ในขณะที่เปียโน (Piano) เล่นโน้ต “มี” (E) และนักร้องก็เปล่งเสียง “อา” ในโน้ต มี (E) เช่นกัน เรา เรียกว่า เปียโน (Piano) และนักร้อง (Singer) ต่างร้องและเล่นในความถี่มูลฐาน (Fundamental Frequency) เดียวกัน ซึ่งความถี่มูลฐาน หมายถึงความถี่ของเสียงต่ำสุดที่ออกจากแหล่งกําเนิดเสียงใด ๆ ก็ตาม

                   สําหรับความถี่อื่นๆที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับความถี่มูลฐาน เราเรียกว่า “ฮาร์มอนิก” (Harmonic) ในการเกิดเสียงแต่ละครั้งของแหล่งกําเนิดเสียงต่างๆ เสียงที่เกิดขึ้นจะเป็นเสียงที่มีความถี่มูลฐาน และ ฮาร์มอนิกต่างๆ ออกมาพร้อมกันทุกครั้ง แต่จํานวนฮาร์มอนิกและความเข้มของเสียงแต่ละฮาร์มอนนิก จะแตกต่างกันออกไป จึงทําให้ลักษณะของคลื่นเสียงแตกต่างกันออกไปด้วย ดังนั้นแหล่งกําเนิดเสียง จะมีลักษณะเฉพาะตัวที่ต่างกัน นั่นคือมี “คุณภาพของเสียง” ที่แตกต่างกันนั่นเอง และนี่จึงเป็นสาเหตุ ให้เสียงที่เกิดจากโน้ตเดียวกัน ในแหล่งกําเนิดเสียงต่างกัน มีลักษณะต่างกัน

                 คําว่า “คุณภาพเสียง” ไม่ได้หมายความว่าเสียงที่เกิดขึ้นนั้นดีหรือไม่ดี งที่เกิดขึ้นนั้นดีหรือไม่ดี แต่เป็นลักษณะเฉพาะตัว ของแหล่งกําเนิดเสียง และทําให้คลื่นเสียงของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ แตกต่างกัน

 ตัวอย่างของคลื่นเสียงของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ

               นอกจากธรรมชาติของเสียงที่มีส่วนทําให้ เกิดความแตกต่างของเสียงที่เกิดจากแหล่งกําเนิดเสียงต่างชนิดกันแล้ว องค์ประกอบอีกอย่างที่มีส่วนสําคัญทําให้เสียงที่เกิดจากแหล่งกําเนิดเสียงเดียวกัน เมื่อ เราได้ยินจะได้ความรู้สึกต่างกันคือการกําทอนของเสียง ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้จากกิจกรรมที่ 1.14                             

กิจกรรมที่ 1.14   การทดลองเรื่องการกําทอนของเสียง ให้ผู้เรียนดําเนินการทดลองโดยจัดหาอุปกรณ์ กีตาร์

                       (Acoustic Guitar), กระดาษแข็ง ซึ่งถ้าสังเกตที่กีตาร์ เราจะพบว่ากีตาร์จะมี โพรงที่เจาะอยู่ตรง

                       กลางลําตัวของกีตาร์ ให้ผู้เรียนทําการทดลองโดยดีดกีตาร์ 2 แบบ แล้วบันทึกผลการเรียนรู้ ดังนี้

                            1. ดีดแบบธรรมดา

                            2. เอากระดาษแข็งมาปิดตรงโพรงที่อยู่ตรงกลางกีตาร์ แล้วจึงดีด


              สรุป-ข้อสังเกต

                  จะพบว่า เสียงกีตาร์ ที่เกิดจากการดีดธรรมดา (คือ ดีดกีตาร์โดยไม่ปิดโพรงตรงกลางของ กีตาร์ด้วยกระดาษแข็ง) จะมีเสียงที่ก้องกังวานและไพเราะกว่าเมื่อปิดโพรงตรงกลางกีตาร์ด้วย กระดาษแข็ง วิธีการนี้เราเรียกว่า การเกิดเรโซแนนซ์ของเสียง (Resonance)

                  เมื่อเราดีดสายกีตาร์ ความถี่ที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของสายกีตาร์ จะไปก้องกังวานในโพรง ของกีตาร์ด้วยความถี่ที่เท่ากัน ทําให้เกิดการสั่นสะเทือนที่รุนแรงขึ้น สามารถเห็นคลื่นเสียงที่มี การสั่นสะเทือนที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เมื่อเสียงเดินทางมาสู่หูของเรา เครื่องดนตรีอีกหลายชนิดใช้วิธีการ Resonance นี้ช่วยในการทําให้เกิดเสียงที่ดังขึ้นกว่าเสียงที่เกิดขึ้นในตอนแรก เช่น ซอ ไวโอลิน เปียโน เป็นต้น

                    สําหรับเสียงร้องก็เช่นเดียวกัน อย่างที่เราได้ศึกษาไปในตอนต้นๆ แล้วว่า เสียงร้องของมนุษย์จะ เกิดจากโพรงในร่างกาย 3 ส่วน แบ่งเป็นเสียง 3 ระดับเสียง ได้แก่

1. โพรงสมอง ก่อให้เกิดเสียงสูง (Head Tone) 2. โพรงปาก ก่อให้เกิดเสียงกลาง (Mouth Tone) 3. โพรงทรวงอก ก่อให้เกิดเสียงต่ํา (Chest Tone)

ภาพ แสดงโพรงในร่างกายที่ก่อให้เกิดเสียงในระดับต่างๆ

                     นั่นคือเมื่อมีลมมากระทบเส้นเสียง จนทําให้สั่นสะเทือนคลื่นเสียงจากการสั่นสะเทือนของเส้นเสียง จะไปก้องกังวาน (Resonance) บริเวณโพรงส่วนต่างๆของร่างกาย ขึ้นอยู่กับระดับเสียงที่เราร้องขณะนั้น และจะเกิดเป็นคลื่นเสียงที่สมบูรณ์ เมื่อมาเข้าหูผู้ฟัง ดังนั้นการที่เราเรียนร้องเพลงก็เพื่อที่จะสามารถ สร้างสรรค์เสียงที่มีคุณภาพในระดับเสียงต่างๆได้ถูกต้อง เช่น ถ้าเราร้องเสียงสูง แต่เราไม่ให้คลื่นเสียง ไปก้องกังวานบริเวณโพรงสมอง จะทําให้เสียงสูงที่เกิดขึ้นนั้นไม่มีคุณภาพ เช่น เสียงแบน เสียงขาดหาย ไปไม่สามารถควบคุมได้ หรือเสียงมีลักษณะของการตะโกน เป็นต้น

                     เราได้เรียนรู้ตั้งแต่ต้นแล้วว่า เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนและในการสั่นสะเทือนนั้น จะต้องมี วัตถุเป็นแหล่งกําเนิดเสียง การที่คนเราได้ยินเสียง นั่นหมายถึงเสียงต้องเดินทางจากแหล่งกําเนิด มาสู่หูของคนฟัง โดยผ่านกระบวนการได้ยินเสียงของโสตประสาทรับฟัง แต่เราอาจจะสงสัยว่าเสียงเดินทางมาสู่หูของเราได้อย่างไร ข้อสงสัยดังกล่าวผู้เรียนสามารถศึกษาได้จากการปฏิบัติ กิจกรรมการทดลองต่อไปนี้

กิจกรรมที่ 1.15    ให้ผู้เรียนทําการทดลองเกี่ยวกับการเดินทางของเสียงสู่หูโดยให้ปฏิบัติดังนี้

                            1) จัดหาอุปกรณ์

                                (1) ถ้วยกระดาษ หรือ ถ้วยพลาสติก 2 ใบ

                               (2) ด้าย 3-4 เมตร

                               (3) กรรไกร หรือคัตเตอร์ 1 อัน

                            (4) เข็ม 1 เล่ม

                          2) ดําเนินการทดลองโดย

                             (1) นําถ้วยกระดาษทั้ง 2 ใบมาเจาะรูที่กลางก้นถ้วย ให้เป็นรูเล็กๆ ขนาดพอดีที่ เส้นด้ายที่เตรียม

                                 ไว้จะผ่านได้

                           (2) ให้ผู้เรียนหาคู่ฝึก แล้วถือถ้วยกระดาษคนละใบและยืนห่างกัน ระยะพอ ประมาณ ให้คนหนึ่ง พูดข้อความว่า “ฉันรักการร้องเพลง”     (หรือประโยคอื่นๆ ก็ได้) ผ่านทางถ้วยและให้คู่ฝึกเป็นผู้ฟัง โดยฟังผ่านถ้วยกระดาษเช่นเดียวกัน ดังรูป แล้วบันทึกผลการทดลอง

                            (3) จากนั้นให้เอาด้ายความยาวประมาณ 3-4 เมตร สอดปลายทั้งสองด้านของ เส้นด้ายผ่านรูตรง กลางถ้วยทั้ง 2 ใบ ที่เจาะไว้แล้ว
      ผูกให้เป็นปมเพื่อไม่ให้ ด้ายหลุดออกจากแก้ว

                           (4) ให้ผู้เรียนและคู่ฝึก ถือถ้วยคนละใบแล้วเดินถอยห่างออกจากกัน ให้ห่างกัน จนกระทั่ง ด้ายที่ผูก แก้วไว้ตึงและให้สลับกันเป็นผู้พูด
      และผู้ฟัง ให้พูดโดยใช้ข้อความเดิมกับการทดลองครั้งแรก จากนั้นสังเกตและบันทึกผลการทดลองอย่างละเอียด

                                (5) ทําการทดลองเช่นเดียวกันกับ ข้อ (4) แต่ในขณะที่พูดข้อความ ให้ผู้เรียน ลองเอามือจับเส้นด้ายไว้ด้วย สังเกตและบันทึกผลการทดลอง อย่างละเอียด

                                 (6) ทําการทดลองเช่นเดียวกับข้อ (4) แต่ในขณะที่พูดข้อความ ให้ผู้เรียน ใช้กรรไกรหรือคัตเตอร์ตัด เส้นด้ายให้ขาด จากนั้นให้บันทึก
ผลการทดลองอย่างละเอียด

                              หมายเหตุ  1. ในขณะพูดให้ผู้เรียน จับปากถ้วยครอบปากให้สนิทและอย่าพูดเสียงดังเกินไป

                                              2. การพูดแต่ละครั้งให้ใช้ข้อความเดียวกัน โดยให้พูดด้วยระดับ ความดังของเสียงที่เท่ากันทุกครั้ง

              สรุป-ข้อสังเกต

               จากผลการทดลองดังกล่าว จะพบว่าเสียงเกิดจากกันสั่นสะเทือนของวัตถุและเดินทางผ่านตัวกลางมายังหูของเราจึงทําให้ได้ยินเสียงตัวกลางที่รับการสั่นสะเทือนจากแหล่งกําเนิดเสียง จะสั่นสะเทือนไปในทิศทางเดียวกันกับคลื่นเสียงด้วย ดังนั้น ถ้าหากตัวกลางมีความหนาแน่นมาก ซึ่งในกรณีด้ายคือ มีความตึงมากเสียงที่เกิดขึ้นจะได้ยินชัดเจน นอกจากนั้นยังมีอีกปัจจัยหนึ่งคือ ระยะทางของแหล่งกําเนิดเสียง หากแหล่งกําเนิดเสียงอยู่ใกล้จะได้ยินชัดเจนกว่า แหล่งกําเนิด เสียงที่อยู่ไกล

              นอกจากนั้นหากเราลองเปลี่ยนตัวกลางเป็นลวด ซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่าเส้นด้าย เสียง ที่ได้ยินก็จะดังชัดเจนมากขึ้นกว่าเดิมด้วย ทั้งนี้ หากระหว่างผู้ฟังกับแหล่งกําเนิด ไม่มีตัวกลางใดๆ อยู่เลย เสียงก็จะไม่สามารถเดินทางมาถึงผู้ฟังได้ ผู้ฟังก็จะไม่ได้ยินเสียงใดๆ นั่นคือ เสียงไม่ สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศได้นั่นเอง

             เมื่อเราได้เรียนรู้ลักษณะการเดินทางของเสียงแล้ว ว่าเสียงต้องเดินทางผ่านตัวกลางเพื่อมายังหู ของเรา เคยสงสัยหรือไม่ว่า เมื่อเสียงมากระทบหูของเราแล้ว ขั้นตอนในการได้ยินของโสตประสาทหู ใน การรับฟังของคนเราเป็นอย่างไร ผู้เรียนจะได้รับความเข้าใจมากขึ้น เมื่อได้เรียนรู้เกี่ยวกับการรับเสียง การ ได้ยินเสียงและเมื ะเมื่อได้เรียนรู้เกี่ยวกับสมองและระบบประสาทรับเสียงดังนี้

การรับเสียง

                  อวัยวะที่สําคัญของมนุษย์ที่ใช้ในการรับฟังเสียง หรือได้ยินเสียง ก็คือ “หู” (Ear) ซึ่งหูของมนุษย์ เรานั้นแบ่งออกเป็น 3 ส่วน นั่นคือ หูชั้นนอก หูชั้นกลางและหูชั้นใน

หูชั้นนอก

              หูชั้นนอกประกอบด้วย ใบหู ช่องหูและเยื่อแก้วหู ใบหูนั้นถือเป็นอวัยวะเพียงส่วนเดียวของหูที่ยื่น ออกมานอกศีรษะ อวัยวะส่วนอื่นๆ จะอยู่ภายในกะโหลกศีรษะทั้งหมด ใบหูจะทําหน้าที่คอยรวบรวม คลื่นเสียงต่างๆ ที่เข้ามากระทบหู เพื่อที่จะส่งต่อไปยังหูส่วนอื่นๆ ทางช่องหูที่อยู่ถัดไป ช่องหูจะมี ลักษณะเป็นท่อ มีความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ตรงกลางจะมีความโค้งเล็กน้อย เพื่อทําหน้าที่บัง เยื่อแก้วหูเอาไว้ ไม่ให้เป็นอันตราย ด้านในสุดของส่วนหูชั้นนอกก็คือ เยื่อแก้วหูมีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ ซึ่งตั้งเฉียงเล็กน้อย เป็นตัวแบ่งระหว่าง หูชั้นนอกกับหูชั้นกลาง

ภาพ แสดงส่วนประกอบของหูชั้นใน 

หูชั้นกลาง

                    หูชั้นกลางเป็นส่วนที่อยู่ต่อจากหูชั้นนอก มีลักษณะเป็นโพรงตั้งอยู่ในกระดูกขมับ มีกระดูกเล็กๆ 3 ชิ้น ได้แก่ กระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลน ต่อกันอยู่ด้วยข้อต่อ ปลายข้างหนึ่งของกระดูกก้อน จะยึดติดอยู่กับเยื่อแก้วหู สําหรับทางด้านกระดูกโกลน จะมีฐานยึดอยู่กับช่องรูปรี ทั้งนี้อาศัยเอ็นของ กล้ามเนื้อเป็นตัวยึด หน้าต่างรูปรีเป็นทางผ่านของการสั่นสะเทือนจากเยื่อแก้วหู ซึ่งถูกส่งถ่ายทอดมา ตามกระดูกทั้งสามชิ้น มีลักษณะคล้ายระบบคาน ซึ่งมีการได้เปรียบเชิงกลประมาณ 3 : 1 นั่นก็คือ ระยะ ทางการขยับตัวของเยื่อแก้วหูมีค่าน้อย เมื่อส่งผ่านเป็นการสั่นไปสู่ฐานของกระดูกโกลน แต่เกิดแรง กระตุ้นมากขึ้น บริเวณด้านล่างของ หูชั้นกลางมีท่อซึ่งติดต่อกับอากาศภายนอก ทางด้านหลังของจมูก เรียกว่า ท่อยูสเตเซียน (Eustachian tube) ทําหน้าที่ปรับความดันอากาศภายในหูชั้นกลางให้เท่ากับ ความดันอากาศอยู่เสมอ

หูชั้นใน

                 หูชั้นใน เป็นส่วนที่อยู่ภายในส่วนลึกของกระดูกขมับ ประกอบด้วยอวัยวะที่ทําหน้าที่เกี่ยวกับ การได้ยิน และอวัยวะที่ใช้ในการทรงตัวที่มีชื่อว่า “คอเคลีย” (Cochiea) เป็นอวัยวะเกี่ยวกับการได้ยิน มีลักษณะเป็นท่อยาวประมาณ 30 มิลลิเมตร ขดเป็นวงซ้อนกันขึ้นเป็นรูปก้นหอยประมาณ 2.5 รอบ คอเคลีย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ตามความยาวโดยแผ่นเยื่อบาซิลาร์ เมมเบรน (Basilar Membrane) ช่องบนเรียกว่า “สกาลา เวสติบไล” (Scala Vestibuli) และช่องล่างเรียกว่า “สกาลา ทิมพานิก” (Scala Tympanic) ช่องทั้งสองติดต่อกันที่บริเวณยอดของคลอเคลีย ซึ่งเป็นรูเปิดเล็กๆ เรียกว่า “เฮลิโคทริมา” (Helicotrema) ภายในช่องทั้งสองมีของเหลวบรรจุอยู่

ภาพ แสดงส่วนประกอบของหูชั้นใน

          บนบาซิลาร์ เมมเบรน มีอวัยวะรับเสียง คือ ออร์แกน ออฟ คอร์ต (Organ of corti) ประกอบด้วยเซลล์ขนและเซลล์อื่นๆ เมื่อคลื่นเสียงถูกส่งมาถึงช่องรูปรี คลื่นเสียงจะถูกส่งผ่านของเหลวที่อยู่ในหูชั้น ในไปตามช่องบน ผ่านรูเปิดลงช่องล่างสุดท้าย จนไปถึงช่องรูปวงกลม ระหว่างที่มีคลื่นเสียงเดินทาง ผ่านตามเส้นทางดังกล่าว เซลล์ขนซึ่งมีความไวสูงจํานวนมากที่อยู่บนบาซิลาร์ เมมเบรนจะถูกกระตุ้นให้สั่น และจะเปลี่ยนความสั่นสะเทือนให้เป็นศักย์ไฟฟ้า กลายเป็นกระแสประสาทไปยังสมอง ทางเส้นประสาทเสียง สมองจะทําหน้าที่แปลสัญญาณที่ได้รับ อัตราการผลิตกระแสประสาทของเซลล์ขน ขึ้นอยู่ กับความเข้มของเสียง หรือความดังของเสียงและความถี่ของเสียงด้วย

การได้ยินเสียง

        เมื่อคลื่นเสียงเคลื่อนที่ผ่านอากาศผ่านเข้าหูและไปกระทบกับเยื่อแก้วหูทําให้เยื่อแก้วหูสั่นสะเทือนส่งผลให้กระดูกเล็กๆทั้ง 3 ชิ้น อันได้แก่ กระดูกทั้ง กระดูกค้อน กระดูกโกลนที่อยู่ภายในหูชั้นกลาง สั่น สะเทือนตามไปด้วย ซึ่งการสั่นสะเทือนนี้จะส่งผ่านของเหลวที่อยู่ภายในท่อนําเสียงและอวัยวะรับเสียง ไปทําให้เซลล์ขนเสียดสีกับเยื่อเทกตอเรียลเกิดสัญญาณกระแสประสาทผ่านเส้นประสาทสมองไปยังสมอง จากนั้นสมองก็จะทําหน้าที่แปลสัญญาณต่างๆ อีกครั้งหนึ่ง จึงจะสามารถระบุได้ว่าเสียงที่ได้ยินนั้น เป็นเสียงอะไร

ภาพ แสดงการได้ยินเสียงของหู

สมองและระบบประสาทรับเสียง

                    สมองของมนุษย์จัดเป็นอวัยวะของระบบประสาทที่ซับซ้อนที่สุด และถือว่ามีพัฒนาการมากที่สุด เมื่อเทียบกับสัตว์ชนิดอื่นๆ คนเราจึงสามารถเรียนรู้และจดจําสิ่งต่างๆ ได้มากกว่าสัตว์ ซึ่งสมองของคน เรามีหลายส่วน แต่ละส่วนจะมีการควบคุมการทํางานที่แตกต่างกันออกไป

                 เซรีบรัม (Cerebrum) เป็นสมองส่วนที่มีขนาดใหญ่ บริเวณผิวด้านนอกมีรอยหยักมากมาย ซึ่ง ทําให้สมองมีพื้นที่เพิ่มขึ้น สมองส่วนเซรีบรัม ทําหน้าที่เกี่ยวกับความรู้ ความจํา เชาวน์ปัญญาและที่ สําคัญสมองส่วนนี้ทําหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการควบคุมการทํางานของส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ศูนย์กลางควบคุมการทํางานของกล้ามเนื้อ การรับสัมผัสต่างๆ การพูดและการรับรู้ภาษา การมองเห็นการรับรส การได้ยิน และการดมกลิ่น

ภาพ แสดงส่วนประกอบของสมองส่วนเซรีบรัม

                         ภายในสมองมีเส้นประสาทที่ติดต่อกับสมอง เราเรียกว่า เส้นประสาทสมอง (Cranial nerve) เส้น ประสาทสมองเหล่านั้น จะเชื่อมติดกับอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งมีคู่หนึ่งที่เชื่อมติดกับอวัยวะภายในหู สมองก็จะทําหน้าที่รับกระแสประสาทจากหูโดยสามารถรับเสียงที่มีความถี่สูงได้ดีกว่าเสียงที่มีความถี่ต่ำ ทั้งนี้ เพราะคลื่นเสียงที่มีความถี่สู จะกระตุ้นให้เกิดการสั่นสะเทือนภายในหูได้มากกว่าและรุนแรงกว่า แต่ถ้าหากเสียงนั้น มีความถี่สูงหรือต่ำเกินไป หูก็จะไม่สามารถรับเสียงนั้นๆ ได้

                          เมื่อกระแสประสาทเข้าสู่สมอง สมองก็จะแปลกระแสประสาทนั้นออกเป็นความหมาย ทั้งนี้ สมอง จะต้องมีการเรียนรู้เกี่ยวกับเสียงนั้นๆ มาก่อน จึงจะสามารถแปลและรับรู้ความหมายได้ เสียงบางอย่าง ที่เราไม่เคยได้ยินสมองจะไม่เข้าใจและไม่สามารถรับรู้ถึงความหมายได้ เช่น หากเราไม่เคยได้ยิน หรือ

 ได้เรียนรู้ภาษาต่างประเทศมาก่อน เราจะไม่มีทางเข้าใจและรู้ความหมายของเสียงที่ได้ยินเหล่านั้นเลยเป็นต้น

                         หากคนเรามีอวัยวะในการรับเสียงที่ไม่ดีตั้งแต่หูชั้นนอก หูชั้นกลางและหูชั้นใน อาจทําให้กลาย เป็นคนหูตึงหรือหูหนวกได้ ดังนั้น ถ้าไม่เคยเรียนรู้ความหมายของเสียงเลย ก็จะกลายเป็นคนที่พูดไม่ได้ ไปในที่สุด เช่น เป็นคนใบ้ เป็นต้น ดังนั้น การได้ยินของสมองจะต้องสัมพันธ์กับการเข้าใจความหมาย ของเสียงนั้นๆ ด้วยว่ามันคืออะไร การเรียนรู้ภาษาของมนุษย์ก็เริ่มจากการได้ยินและทํางานกับสมอง ส่วนที่พัฒนาการพูดมาเกี่ยวข้องด้วย

                        ถึงแม้ว่ามนุษย์เราจะมีระบบประสาทในการรับฟังและได้ยิน แต่บางครั้งคนบางคนก็มีความ บกพร่องในการได้ยิน เช่น เราอาจเคยได้ยิน นักร้องบางคนร้องเพลงที่ฟังแล้วดูแปลกๆ เพี้ยนๆ ไม่กลมกลืนกับเสียงดนตรี นั่นอาจเป็นเพราะนักร้องคนนั้นมีความบกพร่องทางด้านการแปล เสียงที่ได้ยินออกมาเป็นเสียงร้อง ทําให้เสียงร้องไม่ถูกต้องตามคีย์เสียงที่ควรจะเป็น เมื่อผู้ฟังได้ยิน จะรู้สึกว่าเป็นเสียงเพี้ยน คนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเช่นนี้จะเป็นอุปสรรคสําคัญในการเป็น นักร้อง แต่อย่างไรก็ตามถ้าหมั่นฝึกฝนการรับฟัง (Ear Training) ก็จะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ ซึ่ง แบบฝึกหัด และการฝึกฝนการรับฟัง (Ear Training) ผู้เรียนจะได้รับการฝึกฝนในเนื้อหาต่อๆ ไป

                     อย่างไรก็ตาม จากที่เราได้เรียนรู้จากบทเรียนนี้ การได้ยินของมนุษย์เราก็มีข้อจํากัดมากมาย เช่น ถ้าแหล่งกําเนิดเสียงอยู่ไกลจากผู้ฟังมากเกินไป ก็จะทําให้ผู้ฟังได้ยินเสียงนั้นไม่ชัดเจน หรือบางครั้งอาจ จะไม่ได้ยินเสียงจากแหล่งกําเนิดเลยด้วยซ้ำไป ดังนั้น นักร้องจึงจําเป็นต้องใช้ไมโครโฟนช่วยในการ ขยายเสียงให้ดังมากขึ้น เมื่อจําเป็นต้องร้องในสถานที่ที่กว้างใหญ่ หรือในกรณีที่ต้องร้องให้คนเป็น จํานวนมากฟัง การขยายเสียงของไมโครโฟน (Microphone) คือการเปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นไฟฟ้า เพื่อ การขยายเสียง อย่างไรก็ตามการใช้ไมโครโฟน มีหลายแบบและหลายวิธีการใช้ ซึ่งจะได้เรียนรู้เช่นกัน

                      ถึงแม้ว่าเราจะมีอุปกรณ์มากมายที่เป็นองค์ประกอบช่วยเราในการเปล่งเสียง แต่สิ่งที่สําคัญที่สุดคือ เสียงที่เป็นธรรมชาติของผู้เรียนเอง ซึ่งแต่ละคนก็จะมีลักษณะเฉพาะของเสียงที่แตกต่างกันเป็น เอกลักษณ์ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสรีระร่างกายของแต่ละคน ผู้เรียนจึงจําเป็นที่จะต้องใช้เสียงตามธรรมชาติ ของตนเองอย่างถูกวิธี เพราะการใช้เสียงแบบผิดๆ จะเป็นการทําลายเสียงของเรา เช่น คนที่ตะโกนเสียง ดังอยู่ตลอดเวลา ก็มีโอกาสที่เสียงจะแหบจนกลายเป็นคนเสียงแหบไปในที่สุด เป็นต้น

 วิธีการดูแลรักษาเสียงและหู

        การดูแลรักษาเสียง

          การมีเสียงที่ดีนั้น ขึ้นอยู่กับสุขภาพของเจ้าของเสียงนั้น ดังนั้น หากเราต้องการมีเสียงหรือ สุขภาพของเสียงที่ดี ก็มีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลสุขภาพของตนเอง ซึ่งก็มีวิธีการไม่ยุ่งยากอะไร โดยปฏิบัติดังนี้

         1. พักผ่อนให้เพียงพอ

             มนุษย์เราต้องการการพักผ่อนที่เพียงพอ ประมาณวันละ 8-10 ชั่วโมง เพื่อทําให้ระบบต่างๆ ใน ร่างกายทํางานได้อย่างเป็นปกติและมีความสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งการพักผ่อนที่ดีที่สุดคือการนอนหลับตอน กลางคืน เพราะจะเป็นการนอนหลับอย่างสนิท ปราศจากเสียงรบกวนใดๆ คนที่พักผ่อนนอนหลับผิดเวลา เช่น นักร้องอาชีพที่ร้องเพลงตอนกลางคืน แล้วมานอนตอนกลางวัน คนเหล่านี้จะกลายเป็นคนมีปัญหา ในการใช้เสียงในที่สุด เพราะระบบต่างๆ ในร่างกายไม่ได้เป็นไปตามธรรมชาติ ดังนั้นการนอนเป็นเวลา และตื่นแต่เช้า คือการพักผ่อนที่ดีที่สุดในการรักษาเสียง

          เมื่อเราตื่นนอนใหม่ๆ เราจะไม่ค่อยมีเสียง หรือเสียงจะแหบกว่าปกติ เพราะว่าเรายังไม่มีการ วอร์มเสียง (warm up) หรืออุ่นเครื่องการใช้เสียงนั่นเอง ซึ่งการอุ่นเครื่องก็ง่ายๆ ใช้วิธีการพูดคุย หากยัง ไม่อุ่นเครื่อง เส้นเสียงก็จะยังไม่ทํางานเต็มที่ การสั่นสะเทือนของมัน ก็ยังทําได้ไม่เต็มที่ ดังนั้น เราจึง จําเป็นต้องพูดคุยเพื่อให้เส้นเสียงเริ่มทํางาน ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง หลังจากตื่นนอน เสียงจึงจะเข้าที่เป็นปกติ

           2. ดื่มน้ำสะอาด

           น้ำที่เหมาะกับนักร้องหรือบุคคลผู้ใช้เสียง คือน้ำสะอาดที่อยู่ในอุณหภูมิห้อง คือ ไม่เย็นและ ไม่ร้อนไปโดยเราควรจะดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้วต่อวันการดื่มน้ำเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับเส้นเสียงเพราะถ้าเส้นเสียงแห้งเกินไป เมื่อเส้นเสียงสั่นสะเทือน เพื่อให้เกิดเสียงจะเกิดการระคายเคืองกับเส้นเสียง อาจทําให้เส้นเสียงอักเสบ ซึ่งเป็นบ่อเกิดของอาการเจ็บคอ

           สาเหตุที่เราจําเป็นต้องดื่มน้ำในอุณหภูมิห้อง เพราะน้ำนอุณหภูมิห้องจะไม่ทําให้เส้น เสียงแห้งหรืออักเสบ การดื่มน้ำที่เย็นจัดหรือน้ำที่ร้อนจัดเกินไป จะทําให้เกิดอันตรายกับเส้น เสียงได้ นักศึกษาอาจจะสงสัยว่าเวลาที่เราป่วยเป็นหวัดและเจ็บคอ เมื่อไปพบแพทย์จะได้รับ คําแนะนําให้ดื่มน้ำร้อน การดื่มน้ำร้อนเวลาเป็นหวัดหรือเจ็บคอ จะช่วยทําให้เสมหะที่เกาะอยู่บริเวณ เส้นเสียงละลายออกไป แต่ถ้าดื่มน้ำที่ร้อนจัดเกินไปเป็นเวลานาน ก็จะทําให้เส้นเสียงชา และเกิดอาการ อักเสบตามมา

                  3. ไม่รับประทานอาหารที่มีความมันจัด หรือขนมขบเคี้ยวที่ทําให้คอแห้ง

              อาหารที่มันจัดจะทําให้ไขมันหรือน้ำมันที่อยู่ในอาหารไปสะสมและเกาะตัวอยู่บริเวณเส้นเสียง ทําให้เส้นเสียงเกิดความระคายเคือง จนในที่สุดอาจทําให้เส้นเสียงอักเสบได้ เช่นเดียวกับการ รับประทานขนมขบเคี้ยวที่ทําให้คอแห้ง ถ้าเราไม่ดื่มน้ำตามมากๆ เมื่อคอแห้ง นั่นหมายถึงเส้นเสียงก็จะ แห้งไปด้วย ทําให้เมื่อเราออกเสียงแล้วพอเส้นเสียงสั่นสะเทือน ก็จะทําให้เกิดการอักเสบและระคาย เคืองได้ง่าย

             4. ออกกาลังกาย

                การออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยได้ง่าย นอกจากนี้ เมื่อ ร่างกายแข็งแรงก็จะช่วยให้กล้ามเนื้อกระบังลม ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ รวมไปถึงกล้าม เนื้อต่างๆ ที่ช่วยในการร้องเพลงแข็งแรงตามไปด้วย ซึ่งจะมีผลต่อการร้องเพลงและคุณภาพของเสียงเป็นอย่างมาก

             5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

            การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เป็นการป้องกันที่ต้นเหตุ เมื่อร่างกายได้รับ สารอาหารที่มีประโยชน์ถูกสุขลักษณะและถูกสุขอนามัย ร่างกายก็จะแข็งแรง และมีภูมิต้านทาน ไม่ ป่วยหรือเป็นหวัดหรือเจ็บป่วยได้ง่าย การที่จะเป็นนักร้องที่ดีได้ ต้องมีสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย โดยเฉพาะโรคหวัด เพราะหวัดจะทําให้เกิดน้ำมูกและเสมหะ ซึ่งจะ มีผลต่อเส้นเสียงและการออกเสียงด้วย ดังนั้น เราจําเป็นต้องป้องกันที่ต้นเหตุ โดยการรับประทาน อาหารที่มีประโยชน์ รวมไปถึงผักและผลไม้ด้วย เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง

               6. ไม่ตะโกน หรือใช้เสียงไม่ถูกวิธี

            การตะโกนเสียงดังนานๆ จะทําให้เส้นเสียงอักเสบ เป็นบ่อเกิดของเสียงแหบและอาการเจ็บคอ ถ้าเราปฏิบัติตามวิธีการดูแลรักษาเสียงดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้วอย่างเคร่งครัดเราก็จะมีเส้นเสียงที่ให้เสียง ที่ไพเราะและมีคุณภาพ ยิ่งได้รับการฝึกฝนและเรียนรู้วิธีการร้องเพลง หรือการใช้เสียงที่ถูกวิธีเพิ่มขึ้นแล้ว ยิ่งจะทําให้การใช้เสียง หรือเสียงที่เราเปล่งออกมามีคุณภาพมากขึ้น

               นอกจากการดูแลรักษาเสียงแล้ว นักร้องที่ดีจําเป็นต้องให้ความสําคัญและระมัดระวังในเรื่องการ ดูแลรักษาหูให้ดีอีกด้วย เพราะโสตประสาทในการรับฟัง เป็นองค์ประกอบที่สําคัญอีกส่วนหนึ่งของการ เป็นนักร้องที่ดีด้วย

การดูแลรักษาหู

                  เนื่องจากหูเป็นอวัยวะที่สําคัญของร่างกายของเรา การได้ยินเสียงที่มีระดับความดังมากๆ และบ่อยๆ อาจทําให้หูของเราได้รับอันตรายได้ จนในที่สุดอาจทําให้เราเป็นคนหูตึง หรือหูหนวก นอกจากนี้ยังมีความผิดปกติอื่นๆ อีกด้วยที่สามารถเกิดขึ้นได้กับหู ซึ่งได้แก่

               1. การที่หูได้รับอันตรายจากสาเหตุต่างๆ เช่น แก้วหูแตกอันเนื่องจากอุบัติเหตุ เป็นต้น

               2. ขี้หูมาก จนทําให้หูไม่สามารถรับฟังได้ชัดเจน

               3. โรคติดต่อบางอย่างที่อาจทําให้หูอื้อ หูตึงหรือหูหนวกได้ เช่น โรคหัด โรคคอตีบ โรคคางทูมเป็นต้น

               4. การเป็นฝีในหู เนื่องมาจากหูสกปรกมาก และได้รับการดูแลรักษาไม่เพียงพอ

            5. เชื้อโรคจากการเป็นไข้หวัด หรือการอักเสบติดเชื้อโรคของจมูก

                 การที่จะดูแลรักษาหูของเราไม่ให้ได้รับอันตรายและถนอมการได้ยินของเราไว้ได้นานที่สุดควรปฏิบัติดังนี้

              1. ควรหมั่นทําความสะอาดหูอยู่เสมอ หากมีขี้หูแข็งอุดตันในช่องหู ควรให้แพทย์แคะออกให้

              2. ไม่ควรใช้ไม้หรือของแหลมแคะหู เพราะอาจจะทําให้เกิดอันตราย

              3. ถ้าน้ำเข้าหูจนหูอื้อ ให้กรอกน้ำสะอาดลงไปในหู แล้วเอียงศีรษะให้หูคว่ำลงเล็กน้อย พร้อม ทั้งดึงใบหูขึ้นข้างบนและดึงไปด้านหลังของศีรษะ เพื่อช่วยให้น้ำไหลออกได้สะดวก จากนั้น ให้ใช้ก้านสําลี (Cotton Bud) ซับน้ำออกจากหู

             4. หากมีแมลงเข้าหูให้หยดน้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะกอก ทิ้งไว้สักครู่ จนแมลงตายแล้วจึงเอียง หูให้แมลงและน้ำมันไหลออกมา แล้วทําความสะอาดให้เรียบร้อย หากไม่ออกให้ไปพบแพทย์

             5. หลีกเลี่ยงการฟังเสียงที่ดังมากๆ เช่นเสียงปืน เสียงดนตรีในผับ เสียงเครื่องจักร หากหลีก เลี่ยงไม่ได้ ควรใช้เครื่องป้องกันหู

             6. ระมัดระวังอย่าให้เกิดอุบัติเหตุกับใบหูของเราให้ดีที่สุด

               ในปัจจุบันมีคนจํานวนมากที่เป็นโรคหูตึง และหูหนวกซึ่งอาจเกิดมาจากพันธุกรรม หรือ จากโรค ที่มารดาได้รับขณะตั้งครรภ์ ควรจะปรึกษาแพทย์เพื่อไม่ให้เกิดการลุกลามถึงขั้นเป็นโรค แต่ทั้งนี้ปัจจุบัน ก็มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่ช่วยพัฒนาเครื่องช่วยฟังสําหรับแก้ไขภาวะบกพร่องทางการได้ยินให้ แก่คนหูตึงด้วย

ภาพ แสดงอุปกรณ์เครื่องช่วยฟังสําหรับผู้ที่มีปัญหาการได้ยิน

                แต่ทั้งนี้สิ่งสําคัญที่สุด หากผู้เรียนต้องการเป็นนักร้องที่ดีในอนาคต ต้องจดจําไว้ว่าอวัยวะเกี่ยว กับการรับเสียงชิ้นนี้ คือ หู นั้นมีความสําคัญมากๆ ในการที่จะช่วยเทียบเสียงและการได้ยินเสียง ฯลฯ สําหรับการร้องเพลง เราจึงต้องรักษาหูของเราให้ดีที่สุด เพื่อให้การใช้งานที่ดีที่สุด

                จากเนื้อหาที่กล่าวมานี้ เราก็ได้ทราบแล้วว่า เสียงเกิดจากอะไรและอวัยวะในร่างกายใดที่เป็น แหล่งกําเนิดเสียง รวมถึงอวัยวะในการได้ยินด้วย นี่เป็นเพียงบทเริ่มต้นก่อนที่เราจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การร้องเพลงที่ถูกต้องในเนื้อหาต่อๆ ไป อย่างไรก็ตามผู้เรียนต้องไม่ลืมดูแลรักษาอวัยวะส่วนที่กําเนิด และรับฟังเสียงให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ พร้อมที่จะใช้งานได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพด้วย อีก ทั้งยังต้องรักษาสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงด้วย เพื่อการเป็นนักร้องที่ดี และแลดูมีสุขภาพ รวมทั้งบุคลิกภาพที่ดี

กิจกรรมที่ 1.16       ให้ผู้เรียนอธิบายการเกิดเสียงของมนุษย์มาพอสังเขป

กิจกรรมที่ 1.17   ให้ผู้เรียนอธิบายขั้นตอนการได้ยินเสียงของมนุษย์อย่างละเอียด

 แนวคําตอบ

                      เมื่อคลื่นเสียงเคลื่อนที่ผ่านอากาศผ่านเข้าหูและไปกระทบกับเยื่อแก้วหู ทําให้เยื่อแก้วหู สั่นสะเทือน ส่งผลให้กระดูกเล็กๆทั้ง 3 ชิ้น อันได้แก่ กระดูกทั่ง กระดูกค้อน กระดูกโกลน ที่อยู่ ภายในหูชั้นกลาง สั่นสะเทือนตามไปด้วย ซึ่งการสั้นสะเทือนนี้จะส่งผ่านของเหลวที่อยู่ภายในท่อ นําเสียง และอวัยวะรับเสียง ไปทําให้เซลล์ขนเสียดสีกับเยื่อ เทกตอเรียล เกิดสัญญาณกระแส ประสาทผ่านเส้นประสาทสมอง ไปยังสมอง จากนั้นสมองก็จะทําหน้าที่แปลสัญญาณต่างๆอีก ครั้งหนึ่ง จึงจะสามารถระบุได้ว่าเสียงที่ได้ยินนั้น เป็นเสียงอะไร