การร้องเพลงเบื่องต้น

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2พื้นฐานของการร้องเพลง

       ก่อนที่จะเรียนเรื่องเทคนิคในการร้องเพลงให้ละเอียดยิ่งขึ้น เราจะกลับไปทบทวนความหมาย ของการร้องเพลงกันอีกครั้ง เพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกัน ซึ่งการร้องเพลง ก็คือการสื่อสารชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเดียวกับการพูดคุย เพียงแต่เป็นการพูดคุยตามลักษณะท่วงทำนองและจังหวะที่ถูกต้อง หรือเรียกง่ายๆ ว่า “การร้องเพลง คือการพูดเป็นทำนองและจังหวะที่ถูกต้อง” ถ้าเราแยกให้ละเอียด การร้องเพลงก็จะประกอบด้วยองค์ประกอบสําคัญ 3 ส่วน คือ การพูด ทำนอง จังหวะ

       การพูดก็คือการสื่อสารชนิดหนึ่ง ซึ่งมนุษย์เราทำกันอยู่เป็นประจำในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วย

       1. การพูดคุยตามธรรมชาติ คือ การพูดคุยแบบอัตโนมัติที่เราทำกันในชีวิตประจำวัน นั่นคือ การ ถาม ตอบ การแสดงความคิดเห็น การเล่าเรื่องราวสนุกสนานระหว่างเพื่อนฝูง การปรับทุกข์ ฯลฯ

       2. การรายงานข่าว หรือการพูดแบบเป็นทางการที่ถูกเตรียมการไว้ล่วงหน้า เป็นการพูดตามบท หรือสคริปต์ (Script) ที่ถูกจัดเตรียมไว้แล้ว วิธีการพูดแบบนี้ ผู้พูดจะต้องมีการอ่านและเตรียมตัวมาก่อน ล่วงหน้า และให้การพูดนั้นเป็นธรรมชาติมากที่สุด

       3. การอ่าน เป็นการออกเสียงให้ชัดเจน จะเน้นความถูกต้องของอักขระ โดยไม่เน้นการใช้ อารมณ์ไปกับการออกเสียงนั้นๆ

       สําหรับการร้องเพลง มีลักษณะคล้ายคลึงกับการพูดแบบที่ 2 และ 3 คือ คล้ายกับการอ่าน สคริปต์ให้เป็นธรรมชาติ แต่จะต้องมีความชัดเจนในการออกเสียงอักขระ (สระ พยัญชนะ และตัวสะกด) แต่ส่วนที่ยากกว่าก็คือในขณะที่ออกเสียงคําแต่ละคําให้ชัดเจน แต่เป็นธรรมชาตินั้น เรายังจะต้องร้อง ออกไปในทำนองที่ถูกต้อง และจังหวะที่ถูกต้องด้วย ดังนั้น ถ้าเราจะแบ่ง เพลงออกเป็นองค์ประกอบย่อย ๆ เราจะสามารถแบ่งเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ คําร้องหรือเนื้อร้อง ทำนองและจังหวะ การเรียบเรียงเสียงประสาน

องค์ประกอบของเพลง

       การเรียนรู้เทคนิคในการร้องเพลงในเบื้องต้น เราต้องทำความเข้าใจในองค์ประกอบของเพลง เนื่อง จากองค์ประกอบแต่ละส่วนนี้ จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับเทคนิคที่จะร้องเพลงให้ถูกต้องและไพเราะ ซึ่งมี สาระสําคัญดังนี้

·   คําร้อง หรือเนื้อร้อง (Lyrics)

       คําร้อง หรือ เนื้อร้อง เป็นองค์ประกอบหลักในการสื่อสาร มีคนจำนวนมากที่ฟังเพลงและชอบ เพลงๆ หนึ่ง เพราะชอบเนื้อหาของเพลง ดังนั้น “คําร้อง” จึงมีอิทธิพลกับวิธีการร้อง การสร้างสรรค์ อารมณ์เพลง และเทคนิคของการร้องมาก เพลงบางเพลง เมื่อเราเปลี่ยนวิธีการร้อง หรือเปลี่ยนเทคนิค การร้องก็จะทำอารมณ์เพลงเปลี่ยนแปลงไป นอกจากนั้น คําแต่ละคนที่เรียงร้อยเป็นคําร้อง ก็จะมี อารมณ์ของคําที่แตกต่างกันไป เช่น คําว่า “เบา” หรือ “แผ่ว” ให้ความรู้สึกเบาและล่องลอยด้วย ความหมายของคําอยู่แล้วด้วยเช่นกัน เมื่อเราพูดหรือร้องคําคํานั้น ตามอารมณ์ของคําก็จะช่วยให้เกิด อารมณ์ของเพลงที่ชัดเจนยิ่งขึ้น


       การร้องเพลงได้และร้องเพลงเป็นนั้นต่างกัน ผู้ที่ร้องเพลงเป็นนอกจากพรสวรรค์ ความสนใจแล้ว ยังจำเป็นต้อง

เรียนรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและวิธีการต่างๆ ของการร้องเพลงอย่างถูกต้อง ซึ่งในหน่วยการเรียนรู้นี้เราจะมา เรียนรู้เนื้อหาที่เกี่ยวข้องเหล่านี้

ความหมายของการร้องเพลง

       หลายๆ คนคงเคยร้องเพลง ไม่ว่าจะเป็นเพลงอะไร ก็ตาม ในชีวิตนี้อย่างน้อยที่สุดก็เพลงชาติไทย และก็ เพลงสรรเสริญพระบารมี โดยที่อาจจะร้องเป็น ร้องได้ ร้องดี หรืออาจจะร้องเพี้ยนก็ได้ แต่ไม่ว่าจะร้องออกมาอย่างไร เคยถามและตอบตัวเองได้หรือไม่ ว่าจริงๆ แล้ว ความหมาย ของการร้องเพลงมันคืออะไรกันแน่ ถ้าหากเราลองพิจารณา จากอากัปกิริยาและการกระทำของเรา เราจะเห็นว่าการร้อง เพลง จะประกอบไปด้วยการเปล่งเสียงออกมา เพื่อบอกเล่า เรื่องราว ไปตามตัวโน้ตของเพลง และก็จังหวะนั่นเอง และ จะเห็นได้ว่าการร้องเพลงไม่ใช่แค่การเปล่งเสียงธรรมดา มันจะต้องเปล่งออกไปตามตัวโน้ต อีกทั้งยังต้องให้ได้จังหวะที่ถูกต้องด้วย

       บางคนอาจจะตอบได้แค่ว่าการร้องเพลงคือการออกเสียงแค่เพียงอย่างเดียว อย่างนี้ยังไม่ถือว่า ถูกต้อง เพราะถ้าตอบอย่างนั้น อยากให้คนที่ตอบลองเปล่งเสียงอะไรก็ได้ออกมาหลายๆ เสียงติดกัน แล้ว ลองฟังดูซิว่ามันใช่เพลงหรือไม่ ถ้าตอบว่ายังไม่ใช่แสดงว่าเริ่มจะเข้าใจอะไรบางอย่างแล้ว แต่ถ้าหาก ตอบว่าใช่แสดงว่าคุณยังไม่เข้าใจจริงๆ ว่า การร้องเพลง มันต่างจากการออกเสียงธรรมดา จึงอยากให้ ลองกลับไปปฏิบัติใหม่อีกรอบ และคราวนี้ลองให้คนรอบข้างมาฟังคุณด้วย แล้วให้เขาตอบว่าสิ่งที่คุณ ทำอยู่นั้นใช่การร้องเพลงหรือไม่

       เมื่อเรารู้แล้วว่าการร้องเพลงไม่ใช่แค่เพียงการออกเสียงหรือเปล่งเสียงธรรมดา แต่จะต้องเป็นการออกเสียงมาตามตัวโน้ตและจังหวะที่ถูกต้องด้วย แน่นอนว่ามันต้องมีเรื่องราวให้เราได้ถ่ายทอดหรือ บอกเล่าออกไปด้วยหรือที่เราเรียกว่า “เนื้อเพลง” นั่นเอง ดังนั้น หากเราพิจารณาจากสิ่งต่างๆ ข้างต้น แล้ว เราก็อาจจะสรุปสั้นๆ ได้ว่า การร้องเพลง ก็คือ “การพูดเป็นทำนอง” นั่นเอง การพูดเป็นทำนอง นั้น ประกอบไปด้วย 2 องค์ประกอบ นั่นคือ “การพูด” บวก “ทำนอง” และก่อนที่เราจะเริ่มเรียนรู้ในเนื้อ หาต่อๆ ไป พวกเราควรลองพิจารณาให้ลึกซึ้งอีกสักนิด ว่าทำไมการร้องเพลงจึงเป็น “การพูดเป็นทำนอง

       การพูดนั้น หมายถึง การสื่อสารของมนุษย์ โดยมีตัวกลางคือ “ภาษา” ที่เราได้เรียบเรียงขึ้นมาเป็น คํา วลีหรือประโยค และที่สําคัญยังมีเรื่องของอักขระวิธีและหลักการใช้ภาษา รวมไปถึงอารมณ์ของ การพูด ระดับเสียงที่พูดออกไปด้วย เพราะแน่นอนว่าคงไม่มีมนุษย์คนไหน ที่พูดในระดับเสียงเดียวกัน ทั้งประโยค เพราะนั่นคงจะทำให้คนฟัง ไม่อยากจะรับฟังคําพูดนั้นแน่ ๆ และคําพูดนั้นก็จะกลายเป็นการ สื่อสารที่ไม่สมบูรณ์ในที่สุด

       ดังนั้น หากเราต้องการที่จะร้องเพลงให้ได้ดี คงต้องเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ เหล่านั้น เพื่อให้มีวิธีการ พูดที่ดีขึ้นด้วย เพราะบางคนหรือหลายๆ คน อาจจะยังพูดได้ไม่ดี เช่น พูดไม่ชัดเจน ออกเสียงผิดอักขระ วิธี มีปัญหาเรื่องการออกเสียงพยัญชนะและตัวสะกด ไม่มีอารมณ์ในการสื่อสาร หรือพูดด้วยระดับเสียง ที่ไม่ถูกต้อง บางคนเป็นคนที่พูดเบาเกินไป หรือบางคนก็พูดด้วยวิธีตะโกน เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องแก้ไข หรือศึกษาในเรื่องเหล่านี้เพิ่มเติมก่อน จึงจะช่วยให้ร้องเพลงได้ดีขึ้น

       สําหรับองค์ประกอบต่อไปคือ “เป็นทำนอง” อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ว่า การร้องเพลง ต้องอาศัยท่วงทำนองของเพลงด้วย สําหรับทำนองนั้น ก็คือการนำเอาโน้ตดนตรีมาเรียงร้อยต่อกัน หรือ ที่เราเรียกว่า “MELODY (เมโลดี้)” แล้วผสานเข้ากับจังหวะ ก็จะกลายเป็นทำนองขึ้นมา และปฏิเสธ ไม่ได้ว่า ทุกเพลงในโลกนี้ล้วนมีทำนอง ไม่ว่าจะเป็นเพลงที่ง่ายหรือยากแค่ไหนก็ตาม การที่เรามีโน้ต หรือทำนองนี่เอง ที่ทำให้การถ่ายทอดหรือการสื่อสารในการร้องเพลง แตกต่างจากการพูดหรือการออกเสียงทั่ว ๆ ไป

       เมื่อทุกคนได้เรียนรู้มาถึงตรงนี้แล้ว ก็คงจะเริ่มเข้าใจถึงกระบวนการของการร้องเพลงและ ความหมายของการร้องเพลงได้ดีขึ้นแล้ว และก็น่าจะพร้อมสําหรับการเรียนรู้พื้นฐานการร้องเพลงในลำดับต่อไป

กิจกรรมที่ 2.1  การฝึกพูด ให้ผู้เรียนทุกคนลองฝึกพูดจากประโยคต่างๆ ดังต่อไปนี้ ในลักษณะ ของการสื่อสารที่มีอารมณ์   

                ไม่ใช่การอ่านออกเสียงเพียงอย่างเดียว

· ฉันไม่รู้

· ฉันรักเธอ

· เจ็บนะ

· ออกไป.... ไปให้พ้น

· เป็นอะไรหรือเปล่า

· ไม่ต้องมาสนใจกันได้ไหม

· อยากทำอะไรก็ตามใจเถอะ

· พอแล้วไม่อยากได้ยินอีก

· สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ดีที่สุด ที่ฉันได้เคยทำให้กับเธอนะ

· วันข้างหน้า ไม่ว่ามันจะเป็นอย่างไร ฉันไม่สน ตอนนี้ฉันพร้อมจะสู้ไปพร้อมเธอ

กิจกรรมที่ 2.2  การฝึกออกเสียงพูดจากประโยคที่ยาว หรือข้อความที่ยาวให้ผู้เรียนหาบทความจาก หนังสือ นิตยสาร

                หรือ หนังสือพิมพ์ มาสัก 2-3 บทความแล้วฝึกพูดให้คล่องปาก จนรู้สึกว่าพูดได้คล่อง จากนั้นลองใส่

                อารมณ์ให้รู้สึกในการพูดหรืออ่านบทความ นั้นอย่างธรรมชาติ

        ข้อเสนอแนะ

       ในการฝึกพูดประโยชน์ต่างๆ ข้างต้น ผู้เรียนอาจจะลองนึกถึงสถานการณ์จริง หรือ เหตุการณ์สมมุติก็ได้ ว่าหากต้องพูดในสถานการณ์หรืออารมณ์แบบนั้น ควรจะออกเสียง แบบใด

       นอกจากนั้น อาจลองพูดประโยคหรือคําต่างๆ ในอารมณ์ที่ต่างๆ กันด้วยก็ได้ ทั้งแบบ มีความสุข ทุกข์ เศร้า เหงา เป็นต้น

       สําหรับการฝึกอ่าน บทความ จากหนังสือ หรือนิตยสาร ผู้เรียนอาจลองสังเกต การอ่าน และการพูดที่เป็นธรรมชาติ จากพิธีกรรายการโทรทัศน์ หรือผู้ประกาศข่าว ตามสถานีโทรทัศน์ ต่างๆก็ได้ เพื่อเป็นแบบอย่างในการฝึกพูด และอ่านออกเสียง

กิจกรรมที่ 2.3  การออกเสียงอักขระ และคําควบกล้ำ หลายๆ คนอาจมีปัญหากับการออกเสียง อักขระ ตัว ส ช จ ฉ ท ธ

                 รวมไปถึง อักษรควบกล้ำอย่าง ร และ ล ให้ผู้เรียนลอง ฝึกพูดประโยคต่างๆ ดังต่อไปนี้

· เรารักโรงเรียนเรา เราเร่งเร้าในการเรียน

· เราขยันเราหมั่นเพียร เร่งการเรียนเร้าวิชา

· สาวสวยใส่เสื้อสีแสด ใส่ส้นสูงสีส้ม

· กลับกลอก เกลือกกลั้ว หลับใหล คลาน คลางแคลง กลับกลาย เปลี่ยนแปลง

· จับใจ จืดจาง จี๊ดจ๊าด จุ้มจิ้ม จิตใจ

       สรุป-ข้อสังเกต

       สำหรับ ตัว ฉ ช และ ท ธ อาจมีหลายๆ คนที่มีปัญหาในการออกเสียงซึ่งติดมาจากการ ออกเสียงอักษรภาษาอังกฤษ เช่น 2 และ ช ออกเสียง เป็นตัว Ch หรือ ท และ ธ ออกเสียงเป็นตัว T ซึ่งจริงๆ เสียงไทยไม่มี ดังนั้นให้ลองแก้ไขการพูดด้วย

กิจกรรมที่ 2.4  การฝึกออกเสียงที่ระดับเสียงที่แตกต่างกัน ให้ผู้เรียนลองพูดในระดับเสียงที่ต่างกัน (ดังและเบา) แล้วหา

                ข้อดี ข้อเสีย ของการพูดดังและเบา และสุดท้ายลองหา ระดับเสียงการพูดที่ชัดเจนที่สุดของตัวเองอยู่ตรง

                จุดใด

       ข้อเสนอแนะ

       สําหรับการพูดที่เบาเกินไปนั้น อาจทำให้การสื่อสารของเราไม่ชัดเจน ผู้ที่รับสาร ไม่ สามารถที่จะรับสารของเราได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน ขณะเดียวกันการพูดที่ดังเกินไป เช่น การ ตะโกน จะเป็นการสร้างมลภาวะทางเสียงให้แก่ผู้ที่ได้ยิน และอาจจะเป็นการทำร้ายอวัยวะในการออกเสียงของเราด้วย

       สําหรับการพูดเต็มเสียงนั้น ไม่ได้หมายความถึง การพูดด้วยระดับเสียงที่ดัง หรือตะโกน แต่เป็นการพูดด้วยระดับเสียงปกติของเรา ที่สามารถถ่ายทอดความชัดเจนของข้อความ หรือสาร ที่เราต้องการส่งไปยังผู้รับสาร ได้อย่างครบถ้วนและถูกต้อง

กิจกรรมที่ 2.5  การฝึกอ่านเนื้อเพลงให้ผู้เรียนหาเนื้อเพ อเพลงที่ชื่นชอบมาลองฝึก อาจใช้เพลงที่มีอยู่ใน บทเรียนมา

               ฝึกฝนก็ได้ แล้วฝึกอ่านเนื้อเพลงนั้น โดยให้มีความรู้สึกว่าผู้เรียนกำลังพูด หรือสื่อสารกับใครสักคนอยู่

               โดยที่ยังไม่ต้องใส่ท่วงทำนองของเพลงลงไป

       ข้อเสนอแนะ

       ในการฝึกกิจกรรมนี้ผู้เรียนควรพูดตามทำนองเพลง โดยยังไม่ต้องร้องออกมา ซึ่งสามารถ สังเกตวิธีปฏิบัตินี้ได้จากวีดีทัศน์ประกอบชุดการเรียน

การหายใจสําหรับการร้องเพลง

       การหายใจ เป็นพื้นฐานสําคัญที่ถือว่าเป็นหัวใจของการร้องเพลงเลยก็ว่าได้ ถึงตอนนี้หลายคน อาจจะเริ่มสงสัยและตั้งคําถาม ว่าเพราะอะไรการหายใจจึงสําคัญกับการร้องเพลงขนาดนั้น เมื่อ พิจารณาจากการกำเนิดเสียงของมนุษย์แล้ว เราจะพบว่าสรีระของมนุษย์ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เสียง กำเนิดโดยการนำลมเดินทางผ่านกล่องเสียง เพื่อเข้าไปพัดให้เส้นเสียง เปิด-ปิดและเกิดการสั่นสะเทือน เป็นคลื่นเสียงออกมา ดังนั้น ลมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากที่ทำให้มนุษย์เรามีเสียงขึ้นมาได้ ถ้ายังนึกไม่ออก ลองนึกต่อไปว่า อาจมีหลายๆครั้งที่เราพูดคุยหรือเปล่งเสียงอะไรเป็นเวลานานๆ บางครั้งเสียงอาจจะ หายไปเลย หรือเราอาจจะเหนื่อยจนต้องหยุดพักหายใจก่อน ถ้าเป็นแบบนั้นแสดงว่า เราเริ่มขาดลมที่จะมาทำให้เสียงของเราต่อเนื่องได้อีก

       ดังนั้น เมื่อเรารู้แล้วว่า “ลม” หรือในที่นี้คือ “ลมหายใจ” มีความสําคัญสําหรับมนุษย์เราใน การที่จะเปล่งเสียงออกมาได้มันจึงถือว่าเป็นหัวใจ ของการร้องเพลงด้วย และที่สําคัญลมหายใจในการ ร้องเพลง ยิ่งมีความสําคัญมากกว่าการใช้ลม หายใจในการพูดเพราะการที่เราจะร้องเพลงให้ดี ให้ ไพเราะได้ จำเป็นต้องฝึกฝนให้เสียงของเรามีความ ก้องกังวาน ซึ่งหากจะฝึกฝนให้เสียงมีความก้องกังวานได้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้และฝึกฝน วิธีการควบคุมลมหายใจที่จะใช้ในการเปล่งเสียง กระบวนการหายใจสําหรับการร้องเพลงนั้นเป็นกระบวนการที่ต้องผ่อนคลายมาก เพราะขณะที่ เราหายใจตามธรรมชาติทั้งกระบวนการหายใจเข้า

และหายใจออกมันจะเกิดขึ้นโดยเหมาะสมกับสภาพร่างกายและกล้ามเนื้อของแต่ละบุคคลอยู่แล้ว อาจถือได้ว่า เราไม่ต้องบังคับหรือพยายามที่จะทำเพื่อให้เกิดกระบวนการนี้ขึ้นเลย นอกเสียจากว่าระบบ การหายใจของร่างกายเรา หรือสภาพร่างกายของเราไม่อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์พอที่จะทำให้การหายใจ เกิดขึ้นโดยธรรมชาติได้

       แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราก็ยังต้องออกกำลังกายเพื่อเป็นการสร้างสมรรถภาพและความแข็งแรงให้กับ ระบบกล้ามเนื้อและระบบอวัยวะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการหายใจทั้งหมด เพื่อให้ระบบการ หายใจของเราทำงานได้อย่างดีที่สุด ซึ่งระบบกล้ามเนื้อดังกล่าวนั้น อย่างเช่น กล้ามเนื้อกระบังลม กล้าม เนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อชายโครง เป็นต้น ตราบใดที่เรายังคงรักษาสภาพร่างกายเอาไว้ได้สมบูรณ์ และ ระบบการหายใจของเราก็เป็นอัตโนมัติอยู่แล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นใดๆ เลย ที่เราจะต้องไปเพิ่มความเกร็ง หรือความกดดันให้กับกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการหายใจของเรา เพราะต้องจำไว้ว่ายิ่งเราเกร็ง ก็ยิ่ง กลายเป็นการสร้างความตึงเครียดให้กับเส้นเสียงของเราด้วย ซึ่งแน่นอนว่า ยิ่งเป็นการยากที่เราจะร้องเพลงให้ได้ดีด้วย

ภาพ แสดงการเคลื่อนไหวของอากาศ ไปกระทบกล้ามเนื้อเส้นเสียง

กิจกรรมที่ 2.6  ให้ผู้เรียนสํารวจว่ามีอวัยวะใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการหายใจของมนุษย์เรา

กิจกรรมที่ 2.7   ให้ผู้เรียนฝึกหายใจโดยทำให้รู้สึกว่าการหายใจผ่อนคลายที่สุด

ข้อเสนอแนะ

       การหายใจที่ผ่อนคลายที่สุด โดยปกติมนุษย์เราจะหายใจโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว จนบางครั้ง เราแทบไม่ได้สังเกตเลย ว่าร่างกายของเรากำลังหายใจเข้า-ออกอยู่ แต่เมื่อเรากำหนดให้ลองฝึก หายใจ ร่างกายและสมองของเราจะมาสั่งการและสังเกต การหายใจของเรามากเกินไป จน บางครั้งเกิดอาการเกร็ง ผู้เรียนอาจต้องฝึกกำหนดลมหายใจและหายใจเข้า-ออกให้รู้สึก ผ่อนคลายที่สุด คล้ายๆการกำหนดลมหายใจในการนั่งสมาธิก็ได้

       กระบวนการหายใจปกติและการหายใจสําหรับการร้องเพลงนั้น มีความแตกต่างกัน อยู่พอสมควร สําหรับการหายใจแบบปกตินั้น มนุษย์เราส่วนใหญ่จะใช้จมูกเป็นอวัยวะในการ

สูดเก็บลมหรืออากาศเข้าไปในร่างกาย เพื่อให้ลมหรืออากาศนั้นเข้าสู่ปอด และก็ทำการฟอก เลือดด้วยก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศต่อไป แต่การหายใจสําหรับการร้องเพลงนั้น กระบวน การจะแตกต่างออกไป เพราะว่าเราไม่ได้ใช้อากาศเพื่อมาฟอกเลือดแต่อย่างใด แต่เราจะใช้ อากาศ หรือลมหายใจนั้นมาเป็นพลัง เพื่อทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของเสียงและการเปล่งเสียงออกไป เพราะเหตุที่วัตถุประสงค์ของการใช้ลมแตกต่างกัน วิธีการหายใจจึงต้องแตกต่างกันออกไปด้วย สําหรับ การหายใจเพื่อการร้องเพลงนั้น เราจะแบ่งองค์ประกอบเป็น 2 ส่วน นั่นคือ การเก็บลมหายใจ และการ บังคับ หรือการใช้ลมหายใจ โดยมีรายละเอียดดังนี้

การเก็บลมหายใจ

       การเก็บลมหายใจ เป็นขั้นตอนที่เรานำลมจากภายนอก เก็บเข้าสู่ร่างกายของเรา เพื่อเป็นพลัง สําหรับการเปล่งเสียงออกมา วิธีการเก็บลมจะเป็นลักษณะของการปั๊มลมเพื่อ นำลมเข้ามาเก็บในร่างกาย โดยหลักการของมันจะคล้ายๆกับ ที่สูบลมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นที่สูบลมจักรยาน ที่สูบลมลูกโป่ง หรือ เครื่องมือที่เราเรียกว่า “หลอดหยด” หรือ (Dropper) หากนึกไม่ออกว่า “หลอดหยด” (Dropper) หน้าตา เป็นยังไง ให้นึกถึงหลอดแก้วที่มีลูกยางด้านบน เป็นอุปกรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์ คล้ายกับหลอดหยด ยาหยอดตา หรือถ้าใครมีสัตว์เลี้ยง มันก็คือเจ้าหลอดที่ใช้หยอดยา หรือของเหลวต่างๆ (นม,น้ำ) นั่นเอง

หลอดหยดหรือ Dropper

          การปั๊มลมดังกล่าวนั้น มีกระบวนการคือ เราจะบังคับให้กล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเก็บลมหายใจ ทำงานเพื่อพร้อมสําหรับการหายใจ จากนั้น อากาศหรือลม จะถูกนำ เข้าสู่ร่างกายโดยอัตโนมัติ โดยถูกเก็บในอวัยวะที่ใช้สําหรับการเก็บลม นั่นคือปอดและช่องท้อง เพื่อเพิ่มความเข้าใจในขั้นตอนการเก็บลมให้พิจารณาจากกระบวนการเก็บลม สําหรับการหายใจปกติกับการหายใจสําหรับการร้องเพลงดังนี้

ภาพ แสดงวิธีการดูดน้ำของ Dropper

·       การหายใจแบบปกติ

       สมองของเราจะสั่งงานให้ระบบกล้ามเนื้อที่ใช้สําหรับการหายใจ เพื่อรับก๊าซออกซิเจนทำงาน และมนุษย์เราจะสูดลมเข้าทางจมูก เพื่อเข้ามาเก็บไว้ที่ปอด ให้ปอดทำการฟอกเลือดต่อไปและกระบังลม เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ภายในร่างกาย บริเวณช่องท้องใต้กระดูกซี่โครงของเรา ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่ เกี่ยวข้องกับการหายใจจะหดตัวเพื่อเพิ่มพื้นที่อกด้านล่าง ให้ปอดสามารถขยายตัวลงมาได้เต็มที่ และลมก็จะถูกดูดเข้ามาในปอด

       หากเราลองสังเกตการหายใจของเราหน้ากระจก จะพบว่าบริเวณช่วงไหล่ของเราจะยกพร้อมกับการที่กระดูกซี่โครงบริเวณหน้าอกของเราขยาย และที่สําคัญหากลองเอามือวางไว้บริเวณท้องของเรา จะพบว่าท้องของเราแฟบ เมื่อเราหายใจออก อวัยวะทุกส่วนก็จะหดตัวกลับสู่ปกติ

·       การหายใจสําหรับการร้องเพลง

       สําหรับลมหายใจสําหรับการร้องเพลง สมองของเราจะสั่งการให้อวัยวะและกล้ามเนื้อต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมสําหรับการเก็บลมหายใจเข้าไป สําหรับอวัยวะที่ใช้ จะมีกล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อ กระบังลม จมูก ปาก ปอดและช่องท้อง โดยวิธีการเก็บลมของเราต้องใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้าม เนื้อกระบังลม ทำหน้าที่ให้เป็นเหมือนปั๊มสําหรับสูบลมเข้ามาในร่างกายของเรา วิธีการนี้จะไม่ใช้ปาก หรือจมูกในการสูดลมเข้าในร่างกายเหมือนกับการหายใจแบบปกติ แต่เราจะอาศัยจมูกและปากเป็น เพียงช่องทางในการเปิดรับอากาศจากภายนอกเข้าสู่ร่างกายเท่านั้น

       เมื่อเราจะเก็บลมเข้าภายในร่างกาย ให้ดำเนินการขยายพื้นที่ ที่เราจะใช้เก็บลมนั่นคือ บริเวณ ปอดและช่องท้อง ด้วยการดันกล้ามเนื้อหน้าท้องออกมา เราจะรู้สึกว่าพุงป่องออกมา ถือว่าตอนนี้เรามี ที่ว่างสําหรับลมของเราแล้ว และในจังหวะเดียวกันกับการดันกล้ามเนื้อหน้าท้องออกมา ให้เราอ้าปาก เพื่อ ให้ลมจากภายนอกสามารถไหลเข้าไปอยู่ในช่องว่างในช่องท้องของเราได้ แต่จำไว้ว่าทั้งสองขั้นตอนนี้เราต้องทำให้พร้อมกันเป็นจังหวะเดียวกัน ระบบการปั๊มลมอัตโนมัติของเราก็จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

       หากลองสังเกตการหายใจแบบนี้ เราจะพบว่า บริเวณไหล่ของเราจะไม่ยกตัวขึ้น แต่สิ่งที่จะ ขยับคือ บริเวณท้องของเราเท่านั้น เป็นความแตกต่างภายนอกที่สามารถมองเห็นได้ ระหว่างการหายใจ แบบปกติ และการหายใจสําหรับการร้องเพลง ส่วนการหายใจออกสําหรับการร้องเพลง เราจะปล่อยลมหายใจออกมาทางปาก นั่นคือ เรา ปล่อยมันออกมาพร้อมกับคําพูด หรือ คําร้องของเรานั่นเองและเมื่อลมหมดแล้ว หรือต้องการเก็บลม เข้าไปเพิ่ม ก็ให้เราย้อนกลับกระบวนการเดิม (จำไว้ไม่ต้องสูดลมหายใจ) ลมจะเข้าไปแทนที่ช่องว่างในช่องท้องของเราเองโดยอัตโนมัติ

ภาพ แสดงกระบวนการหายใจแบบปกติ เปรียบเทียบกับ กระบวนการหายใจสําหรับการร้องเพลง

การบังคับลมหรือการใช้ลมหายใจ

       เมื่อเรารู้จักการเก็บลมแล้ว อีกหนึ่งองค์ประกอบของการหายใจสําหรับการร้องเพลงก็คือการบังคับ ลม เพราะการรู้จักบังคับใช้ลมหายใจที่ดีนั้น จะช่วยให้เราสามารถส่งกำลังสนับสนุนการออกเสียงของ เราได้อย่างมีคุณภาพ การบังคับลมหรือการใช้ลมหายใจ จึงถือเป็นเรื่องสําคัญอีกเรื่องหนึ่งที่เราต้อง เรียนรู้และฝึกฝน ให้ได้อย่างดี

       การบังคับลมหรือการใช้ลมหายใจ ก็คือการบริหารการใช้ปริมาณลมหายใจของเรานั่นเอง สําหรับ การใช้ลมหายใจของคนเรานั้น มีวิธีที่แตกต่างกันไป นั่นเป็นเหตุมาจากปริมาณลมที่แต่ละคนสามารถ เก็บได้และเทคนิคการใช้ลมในช่วงหรือตอนของการร้องเพลงที่แตกต่างกัน อีกทั้งการเว้นวรรคที่ต่างกันก็ทำให้การใช้ลมของแต่ละคนต่างกันออกไปด้วย

       การบังคับลมนั้น อวัยวะที่เกี่ยวข้องก็คือ กล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อกระบังลมนั่นเอง เรา จะใช้กล้ามเนื้อทั้งสองส่วนนี้ช่วยในการดันลมหายใจ ที่เราเก็บเข้าไปไว้ในบริเวณช่องท้องออกมา หาก ปริมาณลมที่เราใช้ไม่มากก็ให้ค่อยๆดันหน้าท้องของเราเข้าไปช้าๆ แต่หากเราต้องการใช้ลมในปริมาณมากก็ให้ดันหน้าท้องของเราเข้าไปอย่างเร็ว

       การบังคับลมในระดับปกติก็คือ ลมหายใจที่เราปล่อยผ่านออกมา จะมีความสม่ำเสมอและมี ความต่อเนื่องในความแรงของลม ทดสอบได้โดยการปล่อยลมออกทางปากเป็นเสียง S แล้วลองสังเกต ว่า เสียง S ของเรามีความดังที่สม่ำเสมอหรือไม่ หรือว่าดังเป็นห้วงๆ หรือว่ามีการขาดตอน หากเป็น เช่นนั้น แสดงว่าการปล่อยลมของเรายังไม่สม่ำเสมอและขาดความต่อเนื่อง การบังคับลมนั้น ถือเป็นอีก หนึ่งวิธีที่ช่วยให้เรารู้ได้ด้วยว่าการเก็บลมของเรานั้น านั้นมีประสิทธิภาพหรือได้ปริมาณมากน้อยเพียงใดทดสอบ โดยการลองปล่อยลมหายใจเป็น เสียง S แล้วจับเวลาว่าได้กี่วินาที ยิ่งนานแสดงว่าปริมาณลมที่เราเก็บ มีอยู่มาก แต่ถ้าได้น้อย แสดงว่าการเก็บลมของเรายังไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควรและควรหมั่นฝึกฝนบ่อยๆ

       สําหรับการใช้ลมในปริมาณมากและรวดเร็วนั้น มักจะเป็นการใช้ลมสําหรับการร้องในโน้ตสูง หรือ การร้องแบบสั้นๆ ให้เราทดลองโดยการดันหน้าท้องเข้าไปจนสุดให้เร็วที่สุด แล้วปล่อยเสียง S สั้นๆ ออกมาเพียงครั้งเดียว แต่ในการร้องเพลงจริงนั้นบางครั้งเราไม่ได้มีการใช้ลมแบบเดียว คือ แบบสม่ำเสมอ คงที่ตลอดทั้งเพลง ทั้งนี้ เนื่องจากเพลงมีน้ำหนัก หนักเบาและมีความยากง่ายของโน้ต รวมทั้งทำนอง (Melody-เมโลดี้) ที่ต่างกัน ทำให้ปริมาณการใช้ลมจะแตกต่างกันออกไปด้วย ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเพลงแต่ละเพลง ว่าจะมีการใช้ลมอย่างไร

       กระบวนการหายใจนั้น เราจะต้องฝึกฝนด้วยความผ่อนคลาย และพยายามทำให้เป็นอัตโนมัติให้ ได้มากที่สุด (หมายความว่า เราจะต้องทำกระบวนการหายใจนี้ให้ได้โดยที่เราไม่ต้องนึกถึงมันอีก ในเวลาที่เราร้องเพลง) และฝึกฝนจนเราสามารถรู้จังหวะการหายใจของเรา เพื่อให้เหมาะสมในแต่ละ เพลง ที่เราจะขับร้องให้ได้ เพราะหากเรายังต้องพะวงกับการหายใจ ก็จะไม่สามารถคิดหรือปฏิบัติ เรื่องอื่นๆ ได้ดี เพราะอย่าลืมว่าการร้องเพลงยังมีอีกหลายองค์ประกอบที่ต้องใช้สมาธิและความใส่ใจ

       สําหรับกล้ามเนื้อและกระบวนการต่างๆในการหายใจที่ให้ฝึก ช่วงแรกอาจจะมีความรู้สึกฝืนและ ผิดธรรมชาติไปบ้าง แต่ความจริงแล้วการหายใจแบบนี้เป็นวิธีตามธรรมชาติอยู่แล้ว (เชื่อหรือไม่ว่า ตอนนอนเราหายใจแบบนี้) ดังนั้น ไม่ต้องไปกังวลกับกระบวนการต่างๆมากเกินไป ขอเพียงให้เราฝึกฝน จนเข้าใจและเคยชิน กระบวนการเหล่านี้ก็จะเป็นไปโดยอัตโนมัติ

       หากจะสรุปกระบวนการการหายใจสําหรับการร้องเพลงเพื่อให้จำได้ง่ายๆ ก็คือ หายใจเข้าท้อง ต้องป่อง และอ้าปากหายใจออกท้องแฟบ แต่ถ้าหากตอนฝึกรู้สึกว่าทำแล้วกระบวนการสลับกัน แสดง ว่าเรายังฝึกไม่ถูกต้อง ให้ลองตั้งสมาธิดีๆ แล้วลองปฏิบัติใหม่จนกว่าจะทำได้คล่องตัวเป็นอัตโนมัติ

       เรื่องที่สําคัญของการฝึกฝนเรื่องของการหายใจสําหรับการร้องเพลงก็คือ เวลาที่ฝึกฝนให้ พยายามตั้งสมาธิดีๆ ในการควบคุมการหายใจ และที่สําคัญพยายามปล่อยร่างกายให้สบาย อย่าเกร็ง เพราะการเกร็งจะทำให้อวัยวะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการหายใจนั้น เกิดอาการเกร็งขึ้นด้วย ซึ่งจะ เกิดการยืดหด และคลายตัวที่ผิดไปจากธรรมชาติ ดังนั้น เวลาฝึกขอให้รู้สึกผ่อนคลายที่สุด

การจัดจังหวะการหายใจสําหรับการร้องเพลง

       เมื่อเราฝึกฝนการเก็บลมหายใจ และการบังคับใช้ลมหายใจได้อย่างดีแล้ว เราจะรู้จักวิธีการ จัดการกับลมหายใจและเกิดเป็นความชํานาญขึ้น อย่าลืมว่าเพลงแต่ละเพลงแต่ละประเภทนั้นจะมีวิธี การจัดการกับลมหายใจที่แตกต่างกัน ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละเพลง นอกจากนั้นการจัดการ กับลมหายใจในแต่ละบุคคลก็ยังมีความแตกต่างกันออกไปด้วย แต่ทั้งนี้ ไม่ว่าเราจะเลือกใช้วิธีการจัดการกับลมหายใจของเราแบบไหน จะต้องจดจำไว้เสมอว่า เราจะต้องจัดการกับลมหายใจของเรา ให้เราสามารถร้องเพลงนั้นๆ ได้จนจบประโยคของเพลง แต่ไม่ใช่ว่าลมหมดพอดีกับประโยคของเพลง ควร จะพอมีลมเหลืออยู่บ้าง เผื่อไว้สําหรับการใช้เทคนิคต่างๆ เพื่อมาเพิ่มประสิทธิภาพของการร้องเพลงให้ดี ขึ้น เช่น อาจมีลูกคอท้ายประโยค ซึ่งจะช่วยให้เพลงที่เราร้องมีความไพเราะขึ้น เป็นต้น

       การที่เราจะฝึกฝนให้การจัดการกับลมหายใจของเรามีประสิทธิภาพ และทำให้การหายใจในการร้องเพลงมีความต่อเนื่อง เราต้องมาเรียนรู้ก่อนว่าปกติคนเรามักจะหายใจเมื่อพูดจบประโยค หรือจบ วรรคตอนตอนหนึ่ง ดังนั้น การร้องเพลงก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน นั่นคือเริ่มจากการแบ่งการหายใจที่สิ้น สุดวรรค หรือประโยคของเพลงนั้นๆ ไม่ควรหายใจระหว่างคํา แต่อาจมีบางครั้งที่แต่ละประโยคมีการ ร้องที่ติดกันเกินไป จนทำให้เราไม่สามารถจะแบ่งการหายใจได้ สําหรับเรื่องนี้เราจำเป็นต้องฝึกฝนให้ มากขึ้นจนชํานาญ ซึ่งจะช่วยให้เลือกได้ว่า เราควรจะแบ่งการหายใจตรงไหน เพื่อที่จะไม่เป็นการทำให้ อรรถรสของเพลงเสียไป หรือทำให้เสียไปน้อยที่สุด เพราะเราทุกคนคงจะสังเกตได้ว่าบางครั้งหากนักร้อง หรือผู้ร้อง ไม่สามารถที่จะหายใจได้ถูกต้อง การร้องเพลงในเพลงนั้นก็จะไม่ราบรื่นทันที

       ในบางครั้ง การหายใจระหว่างประโยคก็เป็นเรื่องที่ยากอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ดังนั้น วิธีที่ เราจะจัดการกับการหายใจหรือถ้าจะพูดง่ายๆ คือถ้าหายใจไม่ทัน จะทำอย่างไร วิธีนี้ต้องกลับไปดูที่การ เก็บลมหายใจ เนื่องจากเก็บลมของเรา ใช้วิธีการปั้มลมหายใจเข้ามาช่วงเวลาที่เราใช้สําหรับกระบวนการนี้ อาจเรียกได้ว่าเพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้น ที่เราจะต้องทำให้ได้และสําคัญมาก หากว่าเราใช้กระบวนการอื่น ที่ไม่ใช่การปั้มลม นั่นหมายถึงการสูดลมเข้าไป เราจะต้องใช้เวลานานมากกว่า ในการที่จะเก็บลมเข้าไป และแน่นอนนั่นย่อมหมายถึงเราต้องเสียเวลาที่จะปล่อยคําออกมาด้วย

       การเก็บลมเข้าไปแต่ละครั้งนั้นเราไม่จำเป็นที่จะต้องรอให้ลมหมดก่อนเราจึงค่อยเก็บลมเข้าไปใหม่เราสามารถที่จะลองแบ่งการหายใจให้เหมาะสมกับตัวเองให้มากที่สุด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และ การฝึกฝนของแต่ละคนด้วย หากมีผู้ฝึกสอนก็จะช่วยให้เราเข้าใจมากขึ้น แต่หากไม่มีก็ไม่ใช่เรื่องยาก เกินไปที่จะเรียนรู้เพราะการหายใจเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอยู่แล้ว เพียงแต่สิ่งที่ต้องฝึกก็คือเราต้องควบคุมกระบวนการนั้นให้เป็น

       สําหรับการฝึกฝนการบังคับใช้ลมหายใจ อีกสองเรื่องที่สําคัญนอกเหนือไปจากการแบ่งวรรค หายใจให้ถูกต้อง หรือการจัดจังหวะหายใจให้ถูกต้อง ก็คือการหายใจให้ทันกับจังหวะเนื้อเพลงที่ขึ้น และ การจัดจังหวะการหายใจให้ดีในการร้องต่อเนื่อง อย่างที่ได้กล่าวไปบ้างแล้วในตอนต้นว่า การออกแบบการแบ่งใช้ลมหายใจนั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละคน ซึ่งการหายใจให้ทันกับจังหวะเนื้อเพลงที่ขึ้นและการจัดจังหวะการหายใจในการร้องต่อเนื่อง ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลเหมือนกัน

สําหรับการหายใจให้ทันกับจังหวะเนื้อเพลงที่ขึ้นนั้น ที่ขึ้นนั้น หากจะกล่าวง่ายๆ ก็คือ ในท่อนเพลงมักจะมีจังหวะที่รอให้เรา ร้องแต่ละท่อนอยู่แล้ว ดังนั้น หากเราได้เรียนรู้เรื่องจังหวะแล้ว เราจะเข้าใจในเรื่องนี้มากขึ้น (อาจย้อน กลับมาทบทวนใหม่อีกครั้ง เมื่อเรียนรู้เรื่องจังหวะแล้ว) นั่นคือ ส่วนใหญ่ให้เราเก็บลมหายใจก่อนที่จะร้อง 1/2 หรือ 1 จังหวะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเพลงแต่ละเพลง สําหรับการฝึกนี้สังเกตได้ไม่ยาก แต่ทั้งนี้ ต้องเป็นคน ที่ค่อนข้างแม่นยําเรื่องจังหวะ หากเป็นประเภท นับจังหวะไม่ถูก หรือคร่อมจังหวะ อาจจะมีปัญหาใน เรื่องนี้พอสมควร ข้อควรจำคือ อย่าหายใจก่อนการร้องนานเกิน เพราะจะทำให้รู้สึกฝืนธรรมชาติ และการร้องเพลงอาจจะหยุดชะงักได้

       การจัดจังหวะการหายใจในการร้องต่อเนื่องนั้น ในหลายๆ ครั้งเราจะสังเกตได้ว่า เพลงส่วนใหญ่ มักจะมีวรรคตอนที่แบ่งได้ง่าย และช่วยให้สามารถจัดจังหวะการหายใจของเราได้ง่าย แต่ก็มีหลายครั้ง ที่เพลงมีความไวของจังหวะมาก หรือมีคําและทำนองในแต่ละวรรคมากเกินไป หรือวรรคที่เชื่อมต่อกัน จำเป็นต้องร้องติดกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ปัญหาที่มักจะตามมาก็คือ เรามักจะหายใจไม่ทัน หรือไม่รู้ว่าจะ หายใจตรงไหนได้บ้าง หรือท้ายสุดปัญหาที่เกิดคือ เสียงร้องของเราหายไปเลยระหว่างเพลง เพราะขาด ลมหายใจ สิ่งเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการฝึกฝนและฝึกสังเกต ต้องรู้จักวางแผนสําหรับการร้องในเพ ลงนั้นๆ ก่อน เพราะจะช่วยทำให้เราเลือกการเว้นวรรคหายใจได้อย่างถูกต้อง โดยที่คําในประโยคนั้นไม่ ถูกตัดทอน และ/หรือ ความหมายของเพลงไม่ถูกเปลี่ยน เพราะแบ่งวรรคหายใจที่ผิดของเรา

       กล่าวโดยสรุป คือการฝึกฝนสําหรับเรื่องการหายใจให้ทันกับจังหวะเนื้อเพ อเพลง บินและการจัด จังหวะการหายใจให้ดี ในการร้องต่อเนื่องนั้น เราควรจะฝึกฝนเพื่อทำความรู้จักคุ้นเคยกับเพลงที่เราจะ ต้องร้องให้ดีก่อน จนเรารู้ว่าต้องร้องท่อนไหน ขึ้นตรงไหน หยุดตรงไหน มีความยาวของทำนองแค่ไหน และควรจะแบ่งการหายใจได้อย่างไร ที่สําคัญการจัดจังหวะหายใจนั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของ แต่ละคนด้วย อย่าลืมว่าแต่ละคนมีความแตกต่างกันอยู่แล้วในเรื่องของความสามารถในการเก็บลม หายใจด้วย (การเก็บลมได้มากมีส่วนช่วยให้เรา สามารถที่จะมีลมใช้ร้องได้ยาวขึ้นและมีเทคนิคที่ดีขึ้น มากกว่าการเก็บลมได้น้อย) แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการรู้จักบังคับใช้ลมและการจัดสรรจังหวะการหายใจที่ ดี ซึ่งเกิดจากการวางแผนและประสบการณ์ของแต่ละบุคคลด้วย

       สําหรับเรื่องอื่นที่ต้องใส่ใจในการหายใจนั่นคือ เราต้องรู้จักกับการจัดการเสียงหายใจของเราด้วยหากเราจัดการไม่ได้ เสียงหายใจนี้จะเป็นอุปสรรคอย่างมากทีเดียวที่จะทำลายอรรถรส อารมณ์และ ความไพเราะของเพลง ตัวอย่างเช่น นักร้องที่ร้องเพลงเร็วหากไม่ฝึกฝนให้ดี การที่ต้องร้องเพลงไปด้วย และเต้นไปด้วยจะเหนื่อยมาก (ลองนึกถึงตอนออกกำลังกาย เช่น วิ่ง แล้วก็พูดไปด้วย เรารู้สึกอย่างไร) การหายใจจะมีลักษณะเหมือนคนเหนื่อยหอบ และเสียงหอบนั้นก็จะได้ยินถึงคนฟังด้วย หากนักร้องไม่ ฝึกฝน และไม่รู้จักจัดการกับเสียงลมหายใจของตัวเอง แม้แต่เพลงช้าถ้าหายใจดังเกินไปหรือมีเสียงสุด ลมหายใจ ก็คงไม่ใช่เรื่องที่ดีแน่นอน

       การฝึกควบคุมเสียงนั้นทำได้ไม่ยาก สําหรับการร้องเพลงปกติ ถ้าเราใช้การหายใจแบบ การปั๊มลมแทนการสูดลมหายใจ จะช่วยลดเสียงหายใจที่ดังได้อยู่แล้วระดับหนึ่ง และยิ่งถ้าเราฝึกฝนจนชํานาญ เสียงหายใจก็จะเบามากจนไม่เป็นอุปสรรคต่อการร้องเพลง ส่วนถ้าเราร้องเพลงเร็ว เรา สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการฝึกร้องเพลงนั้น พร้อมเต้น

 (ถ้าหากต้องเต้นด้วย) ฝึกทั้งสองอย่างพร้อมกัน เพื่อช่วยสร้างพลังให้กับร่างกายของเรา และเมื่อร่างกายเรามีพลังแล้ว ก็จะไม่เหนื่อยง่ายเมื่อไม่เหนื่อยง่ายก็จะไม่หอบ เสียงหายใจก็จะไม่ดังเกินไปและสุดท้ายการออกกำลังกายให้ร่างกายเราแข็งแรงพร้อม อยู่เสมอ จะช่วยให้จังหวะการหายใจของเราดีขึ้นและไม่เหนื่อยง่ายด้วย ดังนั้น อาจถือได้ว่าการออก กำลังกายเป็นสิ่งสําคัญอย่างมาก ในการช่วยฝึกฝนเรื่องของลมหายใจ และวิธีนี้เป็นวิธีที่นักร้องเกือบทุกคน ใช้เพื่อสร้างพลัง และรักษาสุขภาพเสียงของตนเองไว้ให้ดีและคงที่อีกด้วย

กิจกรรมที่ 2.8  ให้ผู้เรียนยืนหน้ากระจกแล้วค้นหาความแตกต่างของการหายใจแบบปกติ กับการ หายใจสําหรับการร้องเพลง โดยสังเกตจากกระบวนการหายใจที่ปฏิบัติ และดูการ เปลี่ยนแปลงของสรีระต่างๆ ของร่างกาย

กิจกรรมที่ 2.9  ให้ผู้เรียนฝึกเก็บลมหายใจเข้า ด้วยวิธีของการเก็บลมหายใจสําหรับการร้องเพลง จากนั้นให้ค่อยๆ ปล่อยลมออกมา เป็นเสียง S จับเวลาอย่างน้อย 10 วินาที หรือ อาจปล่อยให้นานกว่านั้น (ยิ่งนานยิ่งดี) ทำติดกัน 10 ครั้ง ต่อหนึ่งเซ็ต ให้สังเกต กระบวนการด้วยว่าเราทำถูกต้องหรือไม่ (ท้องป่องถูกจังหวะหรือไม่ อ้าปากรับลม หรือไม่ สูดลมเข้าไปหรือไม่ ไหล่ยกหรือไม่)

       สรุป-ข้อสังเกต

       สําหรับกิจกรรมที่ 2.8 - กิจกรรมที่ 2.9 ผู้เรียนอาจฝึกปฏิบัติตามคํแนะนำในวิดีทัศน์ประกอบชุดการเรียน

กิจกรรมที่ 2.10  ให้ผู้เรียนฝึกกระบวนการหายใจสําหรับการร้องเพลงด้วยวิธีการนอนราบ สิ่งของที่มีน้ำหนัก เช่น หนังสือเล่มหนาๆ มาวางบริเวณหน้าท้อง จากนั้นให้ดัน หน้าท้องขึ้นเพื่อทำให้ท้องป่อง แล้วให้ดันค้างไว้สัก 10 วินาที จากนั้นค่อยๆ ปล่อย ลมหายใจออกทางปาก เป็นเสียง S ประมาณ 15-20 วินาที แล้วย้อนกลับไปทำ ใหม่อีกครั้ง ทำให้ครบ 10 ครั้ง สําหรับการฝึกปฏิบัติหนึ่งเซ็ต

       สรุป-ข้อสังเกต

       สําหรับการฝึกในกิจกรรมนี้ จะเป็นการฝึกยกน้ำหนักกระบังลม ซึ่งจะช่วยให้กล้ามเนื้อ กระบังลม และกล้ามเนื้อหน้าท้องของเราแข็งแรงขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การควบคุมลมหายใจ ในการร้องเพลง ของเราให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้เรียนอาจสังเกตวิธีการปฏิบัติกิจกรรมนี้ได้จากวิดีทัศน์ประกอบชุดการเรียน

กิจกรรมที่ 2.11  ให้ผู้เรียนฝึกการปล่อยลมหายใจแบบสั้นๆ และรวดเร็ว วิธีคือให้เก็บลมหายใจ เข้าท้องแล้วดันท้องอย่างรวดเร็ว แล้วปล่อยเสียง S ออกมาสั้นและเร็ว

       ข้อเสนอแนะ

       กิจกรรมนี้จะช่วยให้ผู้เรียน สามารถควบคุมการส่งลมของเราให้สั้นและเร็วได้ อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการใช้ลมในการร้องเพลงในบางครั้ง จำเป็นที่จะต้องส่งลมออกมาในระยะ เวลาที่สั้นและเร็ว ซึ่งลมที่ออกมาจะมีความแรงมากกว่าการผ่อนลมในระดับปกติ

กิจกรรมที่ 2.12  ให้ผู้เรียนฝึกปล่อยลมหายใจให้สม่ำเสมอด้วยวิธีดังนี้

                  วิธีที่ 1 เตรียมอุปกรณ์คือ แก้วน้ำใส่น้ำครึ่งแก้วและหลอดดูด จากนั้นให้เก็บลมหายใจ แล้วเป่าลมออกมาทางหลอด ให้สังเกตความแรงของน้ำที่เป่า                                       พยายามควบคุมให้ สม่ำเสมอ ไม่แรงหรือเบาจนเกินไป

                        วิธีที่ 2 เตรียมอุปกรณ์คือ เทียนไขหนึ่งเล่ม แล้วไปยืนในห้องที่มีลมพัดน้อย (หาก ลมแรงการฝึกนี้อาจไม่ค่อยเห็นผล) จุดเทียน จากนั้นให้ถือเทียน
ที่มือด้านหนึ่ง เหยียด แขนให้สุด ค่อยๆ เป่า สังเกตความแรง ของ เปลวเทียนที่ปลิวไป พยายามฝึกให้ เปลวเทียนที่โดนเป่า มีความสม่ำเสมอ
ที่สุดเท่าที่จะทำได้

       ข้อเสนอแนะ

       การฝึกกิจกรรมทั้งสองวิธีนั้น จะเป็นการฝึกเพื่อให้เรารู้จักควบคุมการปล่อยลมหายใจ ออกมาให้มีความแรงที่สม่ำเสมอ ซึ่งจำเป็นมากในการสร้างพลังให้กับลมหายใจของเราในระดับปกติ เนื่องจากหลายๆคน เมื่อเริ่มฝึกปล่อยลมที่ปล่อยออกมาช่วงแรก ๆ จะมีความแรงมากกว่า ช่วงปลาย ซึ่งกิจกรรมนี้จะช่วยให้เรารู้จักรักษาระดับของความแรงที่ปล่อยลมออกมา

กิจกรรมที่ 2.13  ให้ผู้เรียนลองแบ่งวรรคการหายใจ โดยการทำสัญลักษณ์จากเพลงที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ แล้วลองสังเกตความแตกต่างของเพลงแต่ละประเภท ด้วยว่าต้องใช้ลักษณะการหายใจที่แตกต่างกันอย่างไรบ้าง

                  ตัวอย่าง : ฉันไม่รู้ว่าหลังจากนี้ มันจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง / ฉันไม่กล้าจะสัญญา ด้วยคําใด /

       ข้อเสนอแนะ

       การฝึกแบ่งวรรค และแบ่งลมหายใจกับเพลงในกิจกรรมนี้ ผู้เรียนแต่ละคนอาจมีการแบ่ง วรรคหายใจที่ไม่เหมือนกันโดยผู้เรียนอาจตรวจสอบการหายใจที่ตนเองแบ่งไว้ ด้วยการร้องจริง ตามเพลงและหายใจตามที่ตนเองได้กำหนดเอาไว้ หากพบว่าขัดกับธรรมชาติของการร้อง ก็ให้ผู้ เรียนลองแก้ไข และหาการแบ่งวรรคหายใจที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับตนเอง

       การแบ่งวรรคหายใจของแต่ละบุคคลนั้น อาจไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความ สามารถในการเก็บลมหายใจ ผู้ที่เก็บลมหายใจและปล่อยได้ยาว อาจจะพูด หรือร้องได้ยาวกว่า ก่อนจะเว้นวรรคหายใจ สําหรับเพลงที่กำหนดไว้ อาจแบ่งวรรคลมหายใจได้ดังตัวอย่าง

ตัวอย่างการแบ่งวรรคหายใจของศิลปินเจ้าของเพลง

เพลงที่ 1 สิ่งสําคัญ (ศิลปิน : เอ็นโดรฟิน)

ฉันไม่รู้ว่าหลังจากนี้ มันจะมีอะไรปลี่ยนแปลงฉัน ไม่กล้าจะสัญญาด้วยคําใด /

รักเรานั้นจะไปอีกไกล / หรือวันไหนจะต้องร้างลา / ฉันไม่รู้ไม่เคยแน่ใจอะไร /

ฉันพูดได้เพียงว่า ตอนนี้รักเธอ / เทให้ทั้งหัวใจ/

นี่คือสิ่งสําคัญ ที่เรายังอยู่ด้วยกัน สิ่งอื่นใดนั้น มันยังไม่มาถึง/

บอกได้แค่นี้ จะรักหมดทั้งใจที่มี / ให้มันตราตรึงอยู่ในใจเพื่อไปถึง / วันลาจาก /

เรื่องที่รู้วันนี้ตอนนี้ ฉันก็มีแต่ความอุ่นใจ / รักที่เราให้กันคือสิ่งดีงาม /

แม้สุดท้ายจะเหลือพียงฝัน / หรือจะเป็นอย่างไรก็ตาม ฉันจะทำวันนี้ให้ดีดังใจ

เพลงที่ 2 เพียงแค่ใจเรารักกัน (ศิลปิน : 2become1)

เพียงอยู่ในวงแขนคุณ / อบอุ่นในหัวใจ / เพียงได้เดินเคียงข้างคุณ ดั่งมีพรมละมุน /

ทอดพาดวงใจเราไปยังนภาฟ้าที่แสนไกล / ที่ไม่เคยมีใครก้าวล้ำข้ามผ่านพ้นไป/

เก็บดวงดาวที่ลอยเกลื่อนฟ้า / จับมาเรียงร้อยเป็นมาลัย / คล้องใจ/

เพียงแค่ใจเรารักกัน / บดบังความสําคัญอื่นใด / เพียงแค่ใจเราสองใจ เข้าใจในรักจริง /

และเรามีเพียงงานวิวาห์เดียวดายภายใต้แสงจันทร์ / สุขสกาวดวงดาวแพรวพราวนับหมื่น/

ร้อยพัน / ร่วมกันเป็นพยานแห่งรัก / ที่ไม่มีพิธีใดจักสําคัญ (เหนือใจ)

 เพลงที่ 3 Music Lover (ศิลปิน : มาช่า วัฒนพานิช)

ลองเก็บตัวเงียบ / เหนื่อยมามาก / ลองอยู่เงียบๆ อยู่ดูบ้างไม่สนใจผู้ใด / ไม่ต้องการข้องเกี่ยว/

ไม่ออกไปเที่ยว / เบื่อคนมาก / พอเจอะเธอเข้า ก็ทำยาก ทั้งที่เคยตั้งใจ / พักหัวใจช่วงหนึ่ง /

ช่วยไม่ได้ช่วยไม่ได้อีกแล้วใจ ก็เธอดึงดูดขนาดนี้ ยิ่งได้ใกล้เธอคนดี ยิ่งมีใจให้เธอมากทุกวัน /

รักเธอแล้วใจก็มีเสียงเพลง / ให้ใจครื้นเครงบรรเลงล่องไป / ปลุกฉันขึ้นมาใหม่ /

หัวใจเต้นแรงเหมือนเก่า / เหมือนใจเต้นรําอยู่กลางแสงไฟ / ไม่มัวมืดมนให้ฟลอร์ของเรา /

จากนี้ แค่มีเรา / ทุกคืนไม่เคยเงียบเหงา มีเธอเป็นเสียงเพลงในใจ/

ทำไมใจเต้น/บอกเธอใช่ / คนอื่นว่าไม่ก็ว่าใช่ เพราะว่าใจฉันเอง / รักเสียงเพลงของเธอ /

เพลงที่ 4 เล่นของสูง (ศิลปิน : บิ๊กแอส)

รู้ว่าเสี่ยงแต่คงต้องขอลอง / รู้ว่าเหนื่อยถ้าอยากได้ของที่อยู่สูง ยังไงจะขอลองดูซักที /

รู้ว่าเราแตกต่างกันเท่าไร รู้ว่าเธออยู่ไกลอยู่สูงขนาดไหน / ใครๆ ก็รู้เป็นไปไม่ได้หรอก /

แต่คําว่ารักมันสั่งให้ฉันต้องปีนขึ้นไป ได้เกิดมาเจอเธอทั้งที / ไม่ว่ายังไงต้องลองดูซักวัน /

อยากรักก็ลองเสี่ยง / ไม่อยากให้เธอเป็นเพียงภาพในความฝัน / ลำบากลำบนไม่สนใจ/

ตะเกียกตะกายสักเพียงใดก็ดีกว่าปล่อยเธอไปจาก/

ฉันตกหลุมรักจริงๆ / เพราะรักจริงๆ / เธอคงไม่ว่ากัน/

แม้ต้อยต่ำแต่ยังมีหัวใจ / แม้ต้องเจ็บแต่มันก็คุ้มก็สุขใจ / ไม่ผิดใช่ไหมที่ฉันไม่เจียมตัว /

เมื่อคําว่ารักมันสั่งให้ฉันทำตามหัวใจ / ตกหลุมรักจริงๆ / รักเธอจริงๆ เธอคงไม่ว่ากัน

เพลงที่ 5 ช่างไม่รู้เลย (ศิลปิน : พีซเมคเกอร์)

ในแววตาทั้งคู่ / ไม่รับรู้อะไรเธอคงยังไม่เข้าใจ ว่าฉันไม่ใช่คนเก่า /

เรายังคงเหมือนเพื่อน / หยอกล้อเหมือนวันวาน แต่ฉันคือคนใจสั่น แต่ฉันคือคนหวั่นไหว /

ช่างไม่รู้อะไรบ้างเลย / ในความคุ้นเคยกันอยู่ มันแฝงอะไรบ้างอย่าง ที่มากกว่านั้น /

ช่างไม่รู้อะไรบ้างเลย ว่าเพื่อนคนหนึ่ง มันแอบไปคิดอะไร / ไปไกลกว่าเป็นเพื่อนกัน /

กลายเป็นคนฝันใฝ่ / อยู่ใกล้ๆ เธอ กลายเป็นคนที่รอเก้อ / เหมือนหนังสือที่เธอไม่อ่าน /

ตาคอยมองจ้องอยู่ อยากให้รู้ใจกัน และแล้วก็ยังมองผ่าน และฉันก็ยังหวั่นไหว /

มันคิดอะไรไปไกล / กว่าเป็นเพื่อนกัน/

เพลงที่ 6 คนมันรัก (ศิลปิน : ไอซ์ ศรันยู)

เธอไม่รักฉันไม่รู้ / ที่เธอไม่รักฉันไม่รู้ แต่ที่รู้ฉันนั้นรักเธอมาตั้งนาน /

เธอไม่คิดฉันจะคิดว่าเธอคนนี้ใช่ที่ฝัน / เข้ากันไม่ยากเท่าไหร่ /

เธอจะร้อนฉันก็รักจะเย็นเป็นน้ำฉันก็รัก / เธอจะงั้นฉันจะมัดเธอไว้ด้วยใจ /

ถ้าเธอหนีฉันจะตาม / จะดำลงน้ำข้ามไปไหน จะไปให้ถึงใจเธอ /

 ก็คนมันรอเธอมาตั้งนาน / ข้างเดียว / แค่อยากจะเกี่ยวเธอมาไว้กอด ทั้งตัวและใจ/

 ไม่ให้รักฉันจะรัก / ไม่ให้สนฉันจะสน ก็เป็นเหตุผลของใจ /

ก็อย่าลำบากขัดใจฉันเลย / นะเธอแค่อยากให้เธอเผื่อใจให้ฉัน ได้ไหม /

 คนมันรักห้ามได้ไหม / ใจมันรักห้ามไม่ไหว / เปิดใจได้ไหมคนดี /

ถ้าไม่รักคงไม่ตื้อ  / ก็เธออย่าถือฉันเลยนะ / เธอชนะฉันอยู่แล้วหมดทั้งหัวใจ /

ถ้าเธอพร้อมฉันก็พร้อม / จะยอมอ่อนใจให้วันไหน / จะไปคล้องแขนเลยเธอ /

เพลงที่ 7 ไม่อาจเปลี่ยนใจ (ศิลปิน : เจมส์ เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์)

ไม่บอกก็รู้ว่าเธอ / ไม่มีฉันเหลืออีกแล้วในใจ / เจ็บมันเป็นอย่างไร / เข้าใจลึกซึ้งก็วันนี้ /

อยากจะบอกเธอว่ารัก / อยากจะฉุดรั้งเธอไว้ เพื่อทำทุกอย่าง / ที่ตัวฉันทำได้ /

แต่มันก็สายไปแล้วใช่มั้ย / ฉันคงไม่อาจทำให้เธอเปลี่ยนใจ / ฉันคงไม่อาจทำให้เธอกลับมารักฉัน /

 เมื่อคนนั้นเข้ามา / ทำให้ใจเธอหวั่นไหว / รักเขาช่างง่ายดาย / ไม่อาจจะลบภาพเธอ /

จากความทรงจำที่ฝังในใจ / อยากหยุดเวลาไว้ ไม่อยากให้เธอต้องเจอเขา /

อยากจะบอกเธอว่ารัก / อยากจะฉุดรั้งเธอไว้ เพื่อทำทุกอย่าง / ที่ตัวฉันทำได้ /

แต่มันก็สายไปแล้วใช่มั้ย / ฉันคงไม่อาจทำให้เธอเปลี่ยนใจ / ฉันคงไม่อาจทำให้เธอกลับมารักฉัน /

 เมื่อคนนั้นเข้ามา / ทำให้ใจเธอหวั่นไหว / รักเขาช่างง่ายดาย /

ฉันจึงขอแค่เพียง / ยังรักเธอจะได้ไหม / นะเธอจะได้ไหม / รักเธอตลอดไป

 การเปล่งเสียง

การเปล่งเสียง หรือการออกเสียงนั้น นับได้ว่าเป็นพื้นฐานอีกข้อหนึ่งที่สำคัญสำหรับการร้องเพลง เพราะถือได้ว่าเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งของการร้องเพลงทีเดียว หากเราไม่เปล่งเสียงออกมา ก็จะไม่มี ใครรู้ได้เลยว่าเรากำลังร้องเพลงอยู่ การเปล่งเสียงกับการร้องเพลงนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้อง ฝึกปฏิบัติให้สามารถทำงานได้กับพื้นฐานในข้ออื่น ๆ เพราะการร้องเพลงเป็นการประสานสิ่งต่าง ๆ เข้า ด้วยกัน ทั้งทักษะและความสามารถของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย

การร้องเพลงนั้น ผู้ร้องเปรียบเสมือนเป็นเครื่องดนตรีที่มีชีวิต ซึ่งแตกต่างจากเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ นั่นคือ ตัวเราต้องเป็นทั้งเครื่องดนตรีและเป็นผู้เล่นเครื่องดนตรีในเวลาเดียวกัน การเป็นเครื่องดนตรีก็คือ ผู้ร้องจะต้องพร้อมและสมบูรณ์ด้วยความสามารถในการรับรู้ทักษะพื้นฐานที่จะช่วยให้การร้องเพลง ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบการหายใจ การรับฟังโน้ต การเทียบเสียงที่ถูกต้อง (นั่นคือ ระบบประสาทการรับฟัง) เป็นต้น การเปล่งเสียงในระดับที่เหมาะสมและมีคุณภาพ ซึ่งแตกต่างจาก เครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ เพราะความสามารถเหล่านี้ เครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ ได้ถูกกำหนดมาก่อนแล้ว เช่น เปียโน เราสามารถที่จะลองกดแป้นคีย์บอร์ดแป้นใดก็ได้ เสียงก็จะออกมาให้ได้ยินในระดับต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งแตกต่างจากการร้องเพลง เพราะถ้าเราไม่ร้องก็จะไม่มีเสียงใดออกมา ไม่ว่าเราจะลองกดส่วนไหน ของร่างกายก็ตาม

สำหรับการเป็นผู้เล่นเครื่องดนตรี เราจะต้องฝึกฝนทักษะให้มีพอที่จะควบคุม หรือบังคับใช้ เครื่องดนตรีนั้น เช่นเดียวกันในการร้องเพลง เราจะต้องควบคุมหรือบังคับขีดความสามารถของ ร่างกายเรา เพื่อให้เกิดการขับร้องที่ดีที่สุด เสมือนการที่เราฝึกฝนเล่นเครื่องดนตรีซึ่งต้องอาศัย ทักษะความชำนาญและการฝึกซ้อมอยู่ตลอด (ในข้อนี้ให้จำให้ดีว่าการฝึกร้องเพลงก็เช่นเดียวกัน เป็นเรื่องของทักษะ ดังนั้นจะต้องฝึกฝนอยู่ตลอด เพื่อให้เกิดการพัฒนาทักษะ) เมื่อเรารู้เช่นนั้นแล้ว การเปล่งเสียงจึงถือเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญข้อหนึ่งสำหรับการร้องเพลงเลยทีเดียว

ในเนื้อหาต่อไปนี้เราจะมาทำความเข้าใจ และเรียนรู้กันว่า เราจะทำการเปล่งเสียงให้ถูกต้อง สำหรับการร้องเพลงได้อย่างไร สำหรับปัจจัย 2 ประการที่ช่วยให้เกิดการออกเสียง นั่นคือการสั่น สะเทือนของเส้นเสียง (Vocal cord vibration) และการก้องกังวาน (Resonance)

การสั่นสะเทือนของเส้นเสียง

ตอนที่อากาศที่เราหายใจออกมากระทบกับเส้นเสียง เส้นเสียงของเราจะเกิดการสั่นสะเทือนซึ่งความดังมากน้อยจะขึ้นอยู่กับการสั่นสะเทือน และพยายามที่จะสร้างระดับความถี่ที่ถูกต้อง (Pitch) และ แรงหรือความเข้ม หรือความดังของเสียง (Intensity) เพื่อทำให้เกิดเป็นเสียงออกมา ไม่ว่าจะเป็นการพูด หรือการร้องเพลง สำหรับการร้องเพลงนั้น เราจำเป็นที่จะต้องออกเสียงร้องให้ตรงตามโน้ตและทำนองที่มีอยู่ในเพลง จึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่เราจะต้องร้องให้ได้ถูกโน้ตและทำนองนั้น ๆ ซึ่งโน้ตแต่ละตัว จะมี ความถี่ที่ถูกต้องของมันอยู่ เราจึงควรฝึกฝนเพื่อให้การร้องนั้นสมบูรณ์

ภาพ แสดงตำแหน่งและอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการออกเสียง

การร้องให้ได้ระดับเสียงที่ถูกต้อง (Pitch)

การร้องเพลงที่ถูกต้อง มีความจำเป็นที่จะต้องร้องให้ถึงโน้ต ที่ถูกต้องของเพลงนั้นๆ ซึ่งการร้อง แบบนั้น เราเรียกว่า การร้องให้ถึงระดับความถี่ของเสียงที่ถูกต้อง หรือ ภาษาดนตรีเรียกว่า “การร้อง Pitchโน้ต”

การร้อง Pitch จึงเป็นการร้องที่ระดับเสียงหรือที่ระดับความถี่ของเสียงที่ถูกต้องซึ่งก็คือ การร้องที่ คลื่นความถี่ที่สมบูรณ์สำหรับรอบการสั่นสะเทือนในการออกเสียงแต่ละครั้งเราจะวัดค่าเป็นเฮิรตซ์ (Hertz) ปกติมนุษย์เราสามารถรับฟังความถี่ของเสียงได้ที่ระดับ 20-20,000 เฮิรตซ์ (Hertz) ถ้าสูงหรือต่ำกว่านั้นหูของเราจะไม่สามารถได้ยินได้

การร้องให้ได้ระดับความถี่ที่ถูกต้องนั้น จะสัมพันธ์กับระบบการรับฟังหรือประสาทการรับฟัง ของเรา ซึ่งก็คือหูนั่นเอง หูถือเป็นอวัยวะที่สำคัญมากสำหรับนักร้อง เพราะเป็นเสมือน มอนิเตอร์ (Monitor) หรือตัวคอยตรวจสอบเสียง ว่าเสียงที่เราเปล่งหรือร้องออกมานั้น ได้ระดับเสียงที่ถูกต้องหรือ ไม่ ดังนั้น หากเรามีประสาทหูที่ดีแล้ว เราจะสามารถจะตรวจสอบ ได้ทันทีว่าระดับเสียงในแต่ละครั้งที่ เราเปล่งหรือร้องออกเสียงมาได้ระดับความถี่ที่ถูกต้องหรือไม่ และสำหรับการร้องเพลงนั่นก็หมายความว่า เราสามารถที่จะร้องได้ถึงโน้ตที่ควรจะเป็นของเพลงๆ นั้นหรือไม่

บุคคลแต่ละคนนั้น จะมีระดับเสียงที่แตกต่างกัน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นและระดับเสียงที่ร้อง ก็จะแตกต่างกันด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาด ความยาวและความหนาของสรีระของเส้นเสียงของแต่ละบุคคล ที่จะทำให้เกิดความถี่ของเสียงขึ้นมา ซึ่งสิ่งนี้เองที่ทำให้เสียงของมนุษย์แตกต่างกันและเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัวบุคคล แต่ก็มีหลายๆ ครั้งที่เราอาจจะเคยได้ยินหรือได้พบคนที่มีเสียงคล้าย หรือเสียงใกล้เคียง กับบุคคลอื่นอยู่บ้าง หรือพบเห็นผู้ที่สามารถร้องเพลงได้เหมือนศิลปินต้นแบบต่าง ๆ นั่นเป็นเพราะบุคคล เหล่านั้น มีสรีระของเส้นเสียงที่ใกล้เคียงกัน และมีวิธีการใช้เสียงที่ทำให้ได้ระดับความถี่ที่ใกล้เคียงกัน แต่จะไม่มีทางเป็นไปได้ที่เสียงของคนเราจะเหมือนกันได้ทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์แน่นอน

ปัญหาที่มักจะประสบสำหรับการร้องให้ถึงระดับความถี่ที่ถูกต้อง หรือการร้อง Pitch โน้ต นั่นก็คือ เรามักจะไม่สามารถทำให้การออกเสียงของเรา ประสานกับประสาทรับฟัง หรือหูของเราได้อย่างดีพอ จึงทำให้โน้ตที่ร้องออกมาอาจจะผิดเพี้ยนไปบ้าง และปัญหาที่มักเกิดขึ้นบ่อยก็คือ บางครั้งอาจจะร้อง เพี้ยนไปเพียงแค่ครึ่งเสียง ดังนั้น จึงมีความสำคัญอย่างมากในการที่จะฝึกฝนให้เราสามารถร้องได้ในระดับเสียงที่ถูกต้อง

ระดับความเข้มของเสียง (Intensity)

ระดับความเข้มของเสียง ก็คือความดังของเสียง ซึ่งหมายถึง แรงของคลื่นเสียงที่ไปกระทบที่หู นั่นเอง สำหรับหน่วยการวัดความดัง เราเรียกว่า “เดซิเบล” (Decibels) และความสัมพันธ์ของ ความดังในระดับต่าง ๆ เราเรียกว่า “น้ำหนักหนัก-เบาของเสียง หรือไดนามิค” (Dynamics) ความดัง หรือแรงของคลื่นเสียงนั้น กำหนดได้โดยแรงของอากาศที่ถูกปล่อยออกมาจากภายในร่างกาย (ลมหายใจออก) ผ่านเส้นเสียง ซึ่งทางวิทยาศาสตร์เราวัดจากระยะเวลาที่เส้นเสียงของเรา หดตัวกลับ เพื่อสะสมแรงดันอากาศ ก่อนที่จะเปิดเพื่อปล่อยลมออกมาในระดับเสียงที่ดัง เส้นเสียงของเราจะมีการ สะสมของแรงดันอากาศ ไว้มากก่อนที่จะถูกปล่อยออกมา

สำหรับระดับเสียงที่ต่ำ การหดตัวกลับของเส้นเสียงจะใช้เวลาไม่นานนัก และจะเปิดออกอย่าง รวดเร็ว แต่จะเปิดตัวไว้นานกว่าในการสั่นสะเทือนแต่ละครั้ง ในขณะที่ระดับเสียงที่ดัง การหดตัวกลับไว้ ของเส้นเสียง จะใช้เวลานานกว่าจึงจะเปิดออก แต่เมื่อเปิดออกแล้วจะหดตัวกลับทันทีอย่างเร็ว

แต่ทั้งนี้ เราไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ลมปริมาณมากมายเลยในการที่จะร้องเสียงดังหรือเบา เพราะ สิ่งที่เราใช้คือ แรงดันอากาศที่มากกว่าเท่านั้น การร้องให้ได้ความดังในบางครั้ง ผู้ร้องหลายๆ คนใช้วิธี ซึ่งนั่นเป็นวิธีที่ผิดอย่างมากและมีผลต่อการทำลายกล้ามเนื้อเส้นการตะโกนหรือกระแทกเสียงออกมาเสียงของเราด้วย วิธีการที่จะฝึกร้อง เราต้องทำตัวเหมือนเป็นวิทยุ ที่สามารถเพิ่ม-ลดความดังของเสียง ได้ในระดับที่ต่างกัน เริ่มต้นจากการปล่อยลมหายใจแล้วค่อยๆร้องให้ดังขึ้นเรื่อย ๆ แต่ไม่ใช่ตะโกน เพียง เท่านี้เราก็จะเริ่มรู้จักระดับเสียงที่แตกต่างกันของร่างกายเราแล้ว และหมั่นฝึกฝนให้สม่ำเสมอ ก็จะสามารถควบคุมระดับความดังของเสียงให้เหมาะสมกับการร้องเพลงได้

การฝึกน้ำหนักหนักเบาในการร้องเพลง หรือ ไดนามิค (Dynamics) นั้น เป็นระดับความดังมากน้อย ที่สัมพันธ์กันในเพลง หากนึกไม่ออกว่าการร้องเพลงจะมีน้ำหนักหนักเบาได้อย่างไร ให้ลองนึกถึงการพูด ก่อน นั่นคือโดยปกติเวลาพูด เราจะมีน้ำหนักของความหนักเบาอยู่แล้วตามธรรมชาติ จะมีการขึ้นเสียง สูงเสียงต่ำอยู่แล้ว เพราะไม่ค่อยพบเห็นใครที่พูดด้วยระดับเสียงเดียวกันตลอด ซึ่งหากเป็นอย่างนั้น คำพูดของบุคคลนั้น จะไม่น่าฟังและดูไร้อารมณ์ ซึ่งย่อมไม่เป็นที่ประสงค์ของผู้ที่รับฟังอย่างแน่นอน เมื่อรู้เช่นนั้นแล้วผู้ที่จะร้องเพลง หรือเป็นนักร้องจึงควรที่จะฝึกฝนให้การร้องเกิดน้ำหนักของความหนักเบาด้วย

ถ้าหากท่านเคยเล่นดนตรี หรือเป็นผู้เล่นเครื่องดนตรี ไม่ว่าจะชนิดใดก็ตามคงจะคุ้นเคยกับน้ำ หนักหนักเบาเป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น กีตาร์ หากเราดีดด้วยน้ำหนักที่ต่างกัน ทั้งหนักและเบาก็จะได้ อารมณ์เพลงที่แตกต่างกันด้วย สำหรับการร้องเพลงให้ได้น้ำหนักความหนักเบา ให้เราฝึกโดยเพิ่มและ ลดแรงกดดันของอากาศที่เราเปล่งออกมาแต่ละครั้ง ในการออกเสียงแต่ละประโยคหรือคำ ซึ่งการปล่อย เสียงออกมาให้ได้นั้น ต้องขึ้นอยู่กับการสร้างอารมณ์ของคำหรือประโยคนั้น ๆ ด้วย ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์และการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ

 การก้องกังวาน

เมื่อเสียงของเราถูกสั่นสะเทือนออกมาจากเส้นเสียงแล้ว ก่อนที่จะผ่านออกจากร่างกาย มันจะ ถูกส่งไปขยายที่โพรง หรือช่องว่างเหนือเส้นเสียง ก่อนที่มันจะออกจากปากเราไ

ภาพ แสดงโพรงต่างที่เกี่ยวข้องกับการก้องกังวานของเสียง

ในช่วงเวลาที่เส้นเสียงของเราสั่นสะเทือนเกิดเป็นคลื่นเสียงแล้ว มันจะเดินทางเพื่อผ่านออกทาง ปากของเรา มันจะเกิดเป็นกระบวนการที่แปลงคลื่นเสียงนั้น ก่อนออกจากร่างกายเรา

พื้นที่ว่าง หรือโพรงที่อยู่เหนือ กล่องเสียงของเรา จะเป็นตัวช่วยส่งให้คลื่นเสียงของเรามีพลัง และ ได้ระดับความถี่ที่ถูกต้อง และถูกขยายออกมา ซึ่งทั้งหมดนี้คือ กระบวนการของการก้องกังวานของเสียง (Resonance) หรือ ที่เรียกว่า “การกำทอน” นั่นเอง

กระบวนการสร้างเสียงให้ก้องกังวาน หรือการกำทอน (Resonance) นั้น เป็นกระบวนการตาม หลักฟิสิกส์ นั่นคือคลื่นเสียงจะเดินทางผ่านอากาศและผ่านโพรงต่าง ๆ จะทำให้คุณภาพเสียงที่เกิดขึ้น มี ความดังชัดเจนและมีความกว้างของเนื้อเสียง ดังนั้นในร่างกายของเราก็ได้ถูกสร้างมาให้มีโพรงอย่างนั้นเช่นกัน เพื่อที่จะทำให้เสียงของเราเกิดการก้องกังวานก่อนที่จะถูกปล่อยออกไป สำหรับการร้องเพลงก็เช่นเดียวกัน การอาศัยประโยชน์จากการก้องกังวานและการฝึกฝนจะทำให้เราสามารถควบคุมคุณภาพของเสียงในระดับที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นเสียงสูง กลางหรือต่ำได้ดี ซึ่งทำให้การร้องเพลง ของเราไพเราะขึ้นด้วย ตามธรรมชาติเสียงของเราจะก้องกังวานที่โพรงบริเวณปากและโพรงจมูก แต่ใน การร้องเพลงนั้น นอกจากโพรงบริเวณปากและโพรงจมูกแล้ว เรายังสามารถอาศัยพื้นที่ว่างหรือโพรงใน ร่างกายอื่น ๆ เพื่อช่วยให้เกิดระดับเสียงที่แตกต่างกันได้อีกด้วย

ทั้งนี้เราสามารถบังคับคลื่นเสียงที่สั่นสะเทือนให้ไปก้องกังวานที่โพรงต่าง ๆ ในร่างกายได้ 3 โพรงใหญ่ๆ ซึ่งเมื่อไปสั่นสะเทือนยังโพรงเหล่านั้นแล้ว จะทำให้เสียงเกิดขึ้นในระดับที่ต่างกัน ดังนี้

1. เมื่อให้เสียงไปก้องกังวานที่บริเวณโพรงอก จะได้เสียงที่เรียกว่า “Chest Tone” เสียงที่ได้จะ อยู่ในระดับเสียงต่ำ

2. เมื่อให้เสียงไปก้องกังวานที่บริเวณโพรงปาก จะได้เสียงที่เรียกว่า “Mouth Tone” เสียงที่ได้ จะอยู่ในระดับ เสียง กลาง หรือเสียงปกติ

3. เมื่อให้เสียงไปก้องกังวานที่บริเวณโพรงศีรษะ จะได้เสียงที่เรียกว่า “Head Tone” เสียงที่ได้จะอยู่ในระดับเสียงสูง

         เราสามารถสังเกตระดับการก้องกังวานของเสียงเราได้ด้วยตัวเองด้วยคือ ในระดับเสียงต่ำ หรือ “Chest Tone” หากเราบังคับเสียงเราลงไปสั่นสะเทือนและก้องกังวานที่บริเวณโพรงอกได้ถูกต้อง ให้เราลองเอามือไปแตะที่บริเวณหน้าอกของเรา จะพบว่า อกของเรามีการสั่นสะเทือนด้วย สำหรับในระดับเสียงสูง (Head Tone) นั้น ให้ลองสังเกต เวลาที่เราร้องโน้ตสูงนาน ๆ หรือตอนเรากรีดร้อง สูงๆ จะรู้สึกว่าปวดหัว นั่นเป็นเพราะมันเกิดการก้องกังวานอยู่ในบริเวณโพรงศีรษะของเรา

หลายๆ คนคงอาจเคย ได้ยินว่าการร้องเพลงคือพรสวรรค์ คนที่จะร้องเพลงได้ดี หรือไพเราะนั้น ต้องเป็นคนที่มีพรสวรรค์ ในเรื่องนี้เป็นความจริงอยู่บ้างแต่ไม่ทั้งหมด นั่นคืออย่างแรกเราต้องทำความ เข้าใจก่อนว่าสรีระร่างกายของคนเรา รวมถึงอวัยวะต่าง ๆ ที่ช่วยในการร้องเพลงล้วนมีส่วนอย่างมากที่ทำให้ คนเรามีความแตกต่างกันในการออกเสียง ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อ กล่องเสียง และเส้นเสียง ซึ่งล้วนมี ลักษณะที่ไม่เหมือนกันจึงทำให้เสียงของคนเรามีความถี่ที่แตกต่างกันจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคน นั่นคือความแตกต่างด้านสรีระอย่างแรก

ส่วนต่อไป เมื่อเราได้เรียนรู้แล้วว่าโพรงต่าง ๆ ในร่างกาย มีส่วนช่วยให้เสียงของเราก้องกังวาน ออกมาเป็นโทนเสียงที่แตกต่างออกไป ซึ่งขึ้นอยู่กับสรีระของร่างกาย ทั้งนี้อาจสังเกตได้ว่าคนที่ลำตัวใหญ่ หรือส่วนอกใหญ่ (ไม่ได้หมายถึงผู้หญิงที่มีหน้าอกใหญ่) เช่น ผู้ชายตัวใหญ่ เขาจะเป็นคนที่มีเสียงลักษณะ ทุ้ม นุ่มลึก ฟังดูอบอุ่น ในขณะที่คนตัวเล็กกว่า จะไม่สามารถมีเสียงที่ใหญ่และต่ำได้ขนาดนั้น หรือคนที่ มีส่วนหน้าผากโหนกนูน ก็สามารถที่จะมีเสียงร้องในโทนที่สูงกว่า (ให้ลองสังเกตสรีระของนักร้องผิวดำ ที่ทำให้พวกเขาสามารถร้องเพลงในเสียงสูงๆ ได้มากกว่า)

 กิจกรรมที่ 2.14  ให้ผู้เรียนสังเกตสรีระของนักร้องที่ชอบสัก 3 คน แล้วบอกลักษณะทางกายภาพ ที่เห็นได้ชัด และ สังเกตสรีระของร่างกายตนเอง แล้วบอกว่าตัวผู้เรียนเองน่าจะ เหมาะกับโทนเสียงแบบใด

สรุป-ข้อสังเกต

มีหลักการในทางฟิสิกส์ที่สำคัญประการหนึ่งสำหรับเรื่องเสียง นั่นก็คือ เมื่อคลื่นเสียงเดิน ทางผ่านโพรง

เพื่อเกิดการก้องกังวานนั้น หากความกว้างของความถี่ของเสียงมีขนาดที่เท่ากันพอดีกับโพรง จะทำให้เกิดการกำทอนที่สมบูรณ์และเสียงที่ได้จะมีคุณภาพเสียงที่ดังและดีที่สุด ซึ่งหากจะพิจารณาจากสรีระร่างกายของเราแล้ว คงมีเพียงสองวิธีที่จะช่วยให้เสียงของเราเกิด การกำทอน หรือการก้องกังวานที่ดีที่สุดนั่นคือ จะต้องทำให้โพรงในร่างกายของเรา มีขนาดที่ กว้างพอดีกับคลื่นเสียงที่ปล่อยออกมา และ/หรือจะต้องเปล่งเสียงให้มีขนาดความถี่ของเสียงที่ กว้างพอดีกับโพรง ซึ่งทั้งสองวิธีต้องทำงานประสานกัน แต่ทั้งนี้ มีข้อจำกัดคือ สรีระร่างกายของ คนเรา อาจจะไม่สามารถปรับขยาย เพิ่มหรือลดขนาดของโพรงได้ ไม่ว่าจะเป็นโพรงศีรษะหรือว่า โพรงอก จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากที่จะทำให้ขนาดของโพรงนั้นพอดี กับขนาดความกว้างของ ความถี่ของเสียง แต่มีอยู่โพรงหนึ่งที่เราสามารถปรับขนาดของมันได้ นั่นคือ โพรงปาก ดังนั้น ใน การร้องเพลงเราจะให้ความสำคัญกับโพรงปากและรูปปากของเราค่อนข้างมาก

สำหรับการสร้างโพรงปากให้สมบูรณ์นั้น อยู่ที่การฝึกฝนการออกเสียงของเราให้ถูกต้อง ตามอักขระวิธีด้วย ซึ่งการออกเสียงตามอักขระวิธีนั้น จะสร้างความแตกต่างของโพรงปากที่แตก ต่างกันออกไป และสร้างความชัดเจนของเสียงที่แตกต่างกันออกไปด้วย

ความกว้างของเสียง (Range of Voice)

          นอกจากความแตกต่างทางด้านสรีระและร่างกายซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้มนุษย์เรามีความ แตกต่างด้านโทนเสียง หรือระดับเสียงแล้ว มนุษย์เรายังมีความกว้างของเสียง (Range) ที่แตกต่างกัน ออกไปด้วย ซึ่งความกว้างของเสียงหรือ Range ของแต่ละคนนั้น ขึ้นอยู่กับสององค์ประกอบ นั่นคือ เพศและเส้นเสียง

          ผู้หญิง จะมีโทนเสียงที่อยู่ในระดับเสียงสูง เรียกว่า “โซปราโน” (Soprano) ระดับเสียงกลาง เรียก ว่า “เมสโซ่” (Mezzo) และระดับเสียงต่ำ เรียกว่า “อัลโต” (Alto) ความกว้างของเสียงดังกล่าว จะอยู่ใน ระดับของโน้ต บนคีย์บอร์ดของเปียโน ดังภาพ แต่ทั้งนี้ ความกว้างของเสียงของแต่ละคน ก็ยังคงมี ความแตกต่างกัน Range เดียวกันด้วย

ภาพ แสดงระดับโทนเสียงของผู้หญิงบนคีย์บอร์ด

            สำหรับผู้ชาย ความกว้างของเสียงในระดับเสียงสูง เรียกว่า “เทเนอร์” (Tenor) ระดับเสียงกลาง เรียกว่า “แบริโทน” (Baritone) และ ระดับเสียงต่ำ เรียกว่า “เบส” (Bass) ซึ่งมีความกว้างของเสียง อยู่ใน ระดับของโน้ต บนคีย์บอร์ดของเปียโน ดังภาพด้านล่าง แต่ทั้งนี้ ความกว้างของเสียงของแต่ละคน ก็ยัง คงมีความแตกต่างกัน Range เดียวกันด้วย

ภาพ แสดงระดับโทนเสียงของผู้ชายบนคีย์บอร์ด

แต่ยังมีข้อแตกต่างอีกอย่างหนึ่งของผู้ชายเมื่อก้าวเข้าสู่วัยรุ่น จะมีการเปลี่ยนแปลงของเสียง ที่ เราเรียกว่า “เสียงแตก” หรือ “เสียงแตกหนุ่ม” ซึ่งลักษณะของเสียงที่เปลี่ยนคือ จากเสียงเด็กที่เล็กและ แหลม ก็จะทุ้มและใหญ่ขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงของแต่ละคน มีความมากน้อยไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับระดับ ของฮอร์โมนเพศชายและกรรมพันธุ์

สำหรับความกว้างของเสียงของเด็กผู้ชายที่เสียงยังไม่เปลี่ยนแปลง เราจะยึดระดับความกว้างของเสียง เช่นเดียวกับผู้หญิง ดังนั้นหากสังเกตเด็กผู้ชายจะฝึกร้องเพลงด้วยเพลงของผู้หญิงดีกว่าการ ฝึกร้องเพลงด้วยเพลงผู้ชาย (เด็กผู้ชายอย่าเพิ่งท้อใจว่าตนเองต้องฝึกร้องเพลงผู้หญิง หรืออายที่จะต้อง ฝึกร้องด้วยเพลงผู้หญิง เพราะการฝึกด้วยการนำเพลงผู้ชายมาร้อง จะทำให้ไม่เกิดการฝึกฝนที่ถูกต้อง และ เป็นเหตุให้สูญเสียความมั่นใจ เพราะไม่สามารถฝึกร้องเพลงผู้ชายได้ อย่าลืมว่าเพลงผู้หญิงที่มีความ หมายเป็นกลาง ที่ผู้ชายสามารถ ร้องได้มีจำนวนมากโดยไม่ต้องกลัวว่าความหมายของเพลงจะถูกสื่อ ผิดออกไปด้วย)

แม้ว่าขีดจำกัดของเสียง หรือความกว้างของเสียงของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน เพราะขึ้นอยู่กับสรีระ แต่การมีระดับเสียงที่สูงหรือต่ำกว่าบุคคลอื่น ๆ ไม่ได้แสดงความเก่งหรือไม่เก่ง เพียงแต่การที่มีความกว้างของเสียงกว้าง หรือช่วงเสียงที่กว้างกว่าคนอื่น ๆ ถือได้ว่าเป็นข้อ ได้เปรียบ เพราะทำให้สามารถร้องเพลงได้ในระดับของเสียงที่ทั้งสูงและต่ำ และการร้องเพลงก็จะหลาก หลายขึ้น ดังนั้นผู้ฝึกร้องควรจะต้องฝึกเพื่อทำให้ช่วงเสียง หรือความกว้างของเสียงของตนเองขยายขึ้น แต่ทั้งนี้ การขยายขึ้นหรือลงของความกว้างของเสียงคนเรา ตามธรรมชาติจะเพิ่มได้อีกไม่มาก ดังนั้น อาจจะต้องยอมรับข้อจำกัดในข้อนี้ด้วยก่อนที่จะฝึกฝนต่อไป

 มวลของคลื่นเสียง

คลื่นเสียงนั้น แม้ว่ามันจะคืออากาศที่ถูกปล่อยผ่านออกมาจากเส้นเสียงของเรา และ เดินทางผ่านช่องปากก่อนเพื่อจะออกจากร่างกายเรา แต่ก็ต้องถือว่าคลื่นเสียงนั้นมีมวล และหลายๆ ครั้ง เสียงที่ถูกปล่อยออกมา จะดูเหมือนว่าเป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ ไม่มีตัวตน แต่เราสามารถสังเกตได้ว่า เสียงหรืออากาศที่ปล่อยมานั้น มีแรงพอที่จะไปกระทบกับสิ่งต่าง ๆ แล้วทำให้เกิดการสั่นสะเทือนได้ เช่น เมื่อคลื่นเสียงไปกระทบกับหู ทำให้อวัยวะและกระดูกเล็ก ๆ ภายในหูสั่นสะเทือนและเกิดเป็นการรับ สัญญาณ และแปลความหมายคลื่นเสียงที่ได้ยิน เมื่อคลื่นเสียงมีแรงและมีความสามารถที่จะไปกระทบ และทำให้หูสั่นสะเทือนได้ นั่นก็หมายความว่า คลื่นเสียงมีมวล

เมื่อเส้นเสียงสั่นสะเทือน
จะก่อให้เกิดคลื่นเสียงไปกระทบหูของผู้ฟัง

ภาพ แสดงการเดินทางของมวลของคลื่นเสียง









 โมเลกุลของอากาศที่ถูกผลักดันให้ไปรวมกัน
และเมื่อเส้นเสียงเปิดออกมันจะถูกปล่อยออกมา
ทำให้เกิดเป็นคลื่นเสียง

           สำหรับวัตถุและสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ล้วนมีมวล รวมถึงอากาศด้วย แม้จะไม่มีตัวตน เมื่อมีมวล ก็จะ อยู่ภายใต้หลักการเดียวทั้งหมดนั่นคือ มวลของวัตถุจะถูกดึงดูดลงสู่ผิวโลก หรือ โลกนั้นมีแรงดึงดูดต่อ มวลของวัตถุนั่นเอง

           เมื่อเรารู้หลักการเช่นนี้ ก็แสดงว่าทุกครั้งที่เราเปล่งเสียง เสียงจะพุ่งไปข้างหน้า แล้วค่อยๆ โค้งลง สู่พื้นเสมอ ดังรูป ดังนั้นการร้องเพลง เราจะต้องอาศัยการออกเสียง และการสร้างจินตนาการ เพื่อให้ เสียงของเราพุ่งออกมาจากปากเราเสมือนเป็นวัตถุชิ้นหนึ่งที่เรากำลังคายออกจากปากหากเราทำได้เช่นนั้น เสียงของเราจะไม่แตกกระจายออกไปในหลายทิศทาง ทำให้เสียงพุ่งออกมาเป็นลำ ช่วยสร้างพลังและ ทิศทางให้เสียงของเราได้อย่างดี และทำให้เสียงที่เปล่งออกมามีคุณภาพ และมีเป้าหมายที่ดี

ภาพ เสียงพุ่งไปข้างหน้าแล้วค่อย ๆ โค้งลงด้วยแรงดึงดูดของโลก

ภาพ เปรียบเทียบเสียงที่มีทิศทางกับเสียงที่กระจัดกระจาย

การสร้างพลังและทิศทางให้กับเสียง

จากที่ได้เรียนรู้แล้วว่า เสียงของคนเรานั้นมีมวลและน้ำหนักในตัวของมัน แต่การที่จะให้เสียงที่ เปล่งออกมา มีประสิทธิภาพและมีความชัดเจน จะต้องรู้จักการสร้างพลังและกำหนดทิศทางให้กับเสียง ที่เราเปล่งออกมาด้วย ซึ่งในการเรียนรู้หรือฝึกร้องเพลงเราจะเรียกวิธีการนี้ว่า การ Project เสียง

วิธีการสร้างพลังให้กับเสียงหรือการ Project เสียงนั้น ขั้นแรกต้องฝึกฝนและเรียนรู้การควบคุมลม หายใจของเราให้ดี จากนั้นก็ต้องมีสมาธิในการเปล่งเสียงแต่ละครั้ง เพื่อที่จะกำหนดทิศทางของเสียง และปล่อยเสียงออกไป การปล่อยเสียงออกไปนั้นเมื่อมีทิศทางแล้ว เราต้องกำหนดให้ได้ว่าเสียงที่จะ ปล่อยออกไปนั้น ได้พุ่งไปยังทิศทางที่กำหนดไว้ แล้วมันจะเกิดเป็นลำเสียงขึ้นมาทำ ให้เสียงของเรารู้สึก มีพลังขึ้น และเมื่อฝึกฝนการควบคุมน้ำหนักการออกเสียงได้อย่างดีแล้วด้วย ก็จะยิ่งสร้างให้เสียงของเรา มีพลังมากขึ้นด้วย การฝึกการออกเสียงให้มีพลังและมีทิศทางนั้น ให้ลองจินตนาการถึงตอนที่เราอาเจียน ออกมา หากสังเกตจะพบว่า หน้าท้องของเราจะดันเข้ามาแล้วเราก็ปล่อยออกมา โดยที่ปากและคอได้ เปิดออกอย่างเต็มที่ ดังนั้น หากเราลองนำกระบวนการนี้มาใช้ดูบ้าง คือเมื่อเราต้องการเปล่งเสียงออก มาจะต้องทำให้คอและปากของเราเปิดอย่างเต็มที่ พร้อมกับลมที่จะสนับสนุนการออกเสียงของเรา

สำหรับการเปิดคอนั้นเป็นเช่นไร กระบวนการนี้จะมีลักษณะคล้ายกับตอนที่เราหาว กล้ามเนื้อ บริเวณกล่องเสียงของเราจะเปิดกว้าง และหากลองจับบริเวณคอของเราดูจะรู้สึกเหมือนมีอะไรบาง อย่างเคลื่อนตัวลงมา เหมือนเป็นการเปิดทางให้ลมหายใจออก ที่จะมาช่วยในการสั่นสะเทือนของเสียง ให้สามารถที่จะไหลออกมาได้อย่างดี และแน่นอนผลของมันก็คือ มันจะช่วยให้การร้องเพลงของเรามีพลัง และมีน้ำหนักที่ดีขึ้นด้วย

ระดับการออกเสียงที่ถูกต้อง

หลายๆ ครั้งที่นักร้อง หรือผู้ที่ฝึกร้องเพลงมักจะใช้ความพยายามมากจนเกินไปที่จะใช้กล้ามเนื้อ ต่าง ๆ มาช่วยในการออกเสียง จนบางครั้งกลายเป็นเกร็งไปเลย ซึ่งการทำแบบนั้นอาจทำให้เกิดการบาด เจ็บขึ้นกับอวัยวะต่าง ๆ ที่ใช้ในการออกเสียง ซึ่งก็คือกล้ามเนื้อบริเวณกล่องเสียงและเส้นเสียง ผล สุดท้ายคือทำให้เราไม่สามารถที่จะเปล่งเสียงได้อย่างถูกต้อง

ระดับการออกเสียงที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดสำหรับการร้องเพลง ก็คือ ระดับเสียงที่เป็นระดับ ของการพูดปกติในชีวิตประจำวัน เพราะการพูดกล้ามเนื้อเส้นเสียงจะสั่นสะเทือนในระดับปกติ ไม่ยกตัว สูงขึ้นหรือต่ำลงมากเกินไป แต่ทั้งนี้ต้องเป็นการพูดในลักษณะและระดับที่ถูกต้องด้วย ไม่ใช่เป็นคนพูด เบาหรือดังเกินไป ก็ไม่ถือว่าเป็นการพูดในลักษณะที่ถูกต้อง เพราะการพูดเบาหรือดังเกินไป ไม่ใช่ ลักษณะของการถ่ายทอดหรือการสื่อสารที่ดีต่อผู้ฟัง อีกทั้งผู้ฟังอาจจะรับสารที่ได้นั้นไม่ได้ใจความ ดังนั้นระดับของเสียงพูดที่ดีคือการพูดแบบเต็มเสียงแบบธรรมชาติในลักษณะที่เราไม่รู้สึกอึดอัดมากเกินไป และเต็มที่พอที่เสียงจะมีพลัง สามารถถ่ายทอดไปยังผู้ฟังได้

หากยังนึกตามไม่ทันว่าระดับเสียงแบบไหน จึงจะเรียกว่าเต็มเสียง ให้ลองนึกว่าหากเราพูดเบา เกินไป เมื่อนำเสียงประเภทนี้ไปใช้ในการร้องเพลง คงจะไม่สามารถดึงความสนใจผู้ฟังได้แน่นอน และ ถ้าหากเราต้องร้องเพลงโดยมีวงดนตรีที่เล่นสดด้วยแล้ว เครื่องดนตรีทั้งหลายที่มีความดังและหนักแน่น มากกว่าเสียงร้องของเรา ก็จะทับเสียงร้องที่เบาเกินไป จนยากที่จะร้องถึงผู้ฟังได้ ในทางตรงข้ามหาก เราใช้เสียงที่ดังเกินไป หรือลักษณะของเสียงเป็นแบบตะโกน มันก็จะเป็นการทำให้อวัยวะและกล้ามเนื้อ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกเสียงของเรา เกิดการบาดเจ็บได้

กล่าวโดยสรุปคือ ระดับเสียงที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการร้องเพลง ก็คือระดับเสียงที่เท่ากับเสียงพูด ถ้าหากตอนนี้ ผู้เรียนทุกคนยังมีข้อบกพร่องในเรื่องของการออกเสียงในขณะพูดจะต้องแก้ไขก่อน โดย การฝึกพูดให้มีลักษณะเต็มเสียงที่พอดี ชัดเจน พูดง่ายๆ คือ พูดให้ฉะฉาน เมื่อเราแก้ไขปรับปรุง หรือ ฝึกการพูดให้ได้เสียงระดับนี้แล้ว เราก็พร้อมที่จะฝึกร้องเพลงได้อย่างดีต่อไป

การร้องเพลงตามอักขระวิธี

สำหรับการร้องเพลงแล้ว เรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งก็คือการสื่อสาร ซึ่งการสื่อสารก็คือการใช้ภาษา นั่นเอง คงปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกครั้งที่เราร้องเพลง ก็เสมือนว่าเรากำาลังถ่ายทอดเรื่องราวบางอย่างอยู่ ใน ภาษาของผู้รับฟัง ตามที่ได้เรียนรู้ความหมายไปแล้ว ว่าการร้องเพลงคือการพูดเป็นทำนอง เมื่อเรารู้ ว่าการร้องเพลงเริ่มต้นมาจากการพูด ดังนั้นการที่จะเป็นนักร้องที่ดีหรือเพื่อการฝึกร้องที่ดี เราจะต้อง ฝึกฝนและเรียนรู้เรื่องภาษาที่ใช้ในการพูดให้ถูกต้องด้วย ซึ่งจะทำให้เราร้องเพลงได้ถูกต้องต่อไป ในที่นี้ จะหมายถึงภาษาไทยที่เป็นภาษาประจำชาติของเรา และเป็นภาษาที่คนไทยส่วนใหญ่ใช้ในการร้องเพลงและรับฟังด้วย

เนื้อหาสาระต่อไปนี้จะไม่พูดถึงหลักการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง เพียงแต่จะเป็นการเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของภาษากับการร้องเพลง และความจำเป็นที่เราจะต้องฝึกการพูดและการออกเสียงตาม หลักภาษาให้ถูกต้อง หากเราต้องการเป็นนักร้องที่ดี

ภาษากับการสื่อสาร

ภาษา (Language) เป็นตัวแทนของการสื่อสาร ในการทำความเข้าใจระหว่างกันของ มนุษย์ และภาษาเป็นสิ่งที่ช่วยถ่ายทอด บอกเล่า ข้อความ ความรู้สึกต่างๆ ให้กับผู้ฟังได้ ภาษานั้น มี สองลักษณะคือ อวัจนภาษา และอวัจนภาษา ซึ่ง อวัจนภาษา ก็คือ ภาษาที่สื่อสารออกมาเป็นคําพูด ส่วน อวัจนภาษา คือ ภาษาที่ไม่ได้สื่อสารออกมาเป็นคําพูด แต่ในการสื่อสารโดยใช้อากัปกิริยาท่าทางของผู้ส่งสารแทนคําพูด

สําหรับการเป็นนักสื่อสารที่ดีหรือเป็นผู้ส่งสารที่ดีนั้น จะต้องเป็นผู้ที่สามารถถ่ายทอด ภาษาออกมาได้ทั้งสองลักษณะ โดยที่ทำให้ผู้รับส รับสารหรือผู้ฟังนั้นเข้าใจในความหมายของสิ่งที่ผู้ส่งสารนั้นสื่อสารออกมา สิ่งที่สําคัญคือจะต้องมีความชัดเจนในข้อความที่ส่งออกมา รวมทั้งอารมณ์สําหรับ การส่งสารในครั้งนั้น ในเรื่องนี้ขอแนะนำให้ผู้เรียนลองตรวจสอบตนเองดูว่าการพูดของตนเอง มีความ สมบูรณ์หรือมีข้อบกพร่องในเรื่องใดบ้าง เมื่อตรวจสอบได้แล้ว ให้พยายามพัฒนาหรือแก้ไขข้อบกพร่อง นั้นให้ดีขึ้นก่อน เพียงเท่านี้เราก็พร้อมที่จะสื่อสารในการร้องเพลงได้แล้ว

การสื่อสารกับการร้องเพลง

การร้องเพลงนั้นถือเป็นการสื่อสาร หรือตามความหมายที่ได้เรียนรู้ไปคือการพูดเป็นทำนอง ดังนั้นองค์ประกอบของการร้องเพลงมีสองส่วน คือ การพูดและทำนอง เมื่อการพูดเป็นตัวแทนของ การสื่อสาร จึงมีความจำเป็นมากที่จะต้องฝึกพูดให้ดีและถูกต้องตามอักขระวิธี และสื่ออารมณ์ให้ได้ ตามความหมายนั้นๆ ด้วย แต่สิ่งหนึ่งที่การร้องเพลงแตกต่างจากการพูดปกติทั่วไป คือการที่เราต้องร้อง หรือพูดออกมาตามเนื้อเพลง ซึ่งบางครั้งจะมีข้อจำกัดคือ เนื้อเพลงมักจะมีลักษณะคล้ายบทกลอน หรือเป็นคําที่คล้องจองกัน จึงอาจเป็นการยากสําหรับการสื่อสาร เพราะมีหลายครั้งที่นักร้องหรือ ผู้เรียนร้องเพลงจะรู้สึกขัดข้องกับการที่ต้องพูดภาษาที่ไม่เป็นธรรมชาติอย่างที่พูดอยู่ปกติ ดังนั้น ข้อแก้ไขของเรื่องนี้คือผู้เรียนจะต้องทำความคุ้นเคยกับเนื้อเพลงแ ลงและเนื้อหาของเพลงให้เข้าใจ เพื่อให้ รู้สึกว่าเนื้อเพลงหรือภาษาที่เราจะร้องนั้น เราสามารถพูดได้คล่องหรืออาจเรียกว่าร้องได้คล่องปาก นั่นเอง หากเราขจัดความขัดข้องข้อนี้ได้ เรื่องการทำอารมณ์ของเพลงก็จะไม่เป็นปัญหา หรือสร้าง ปัญหาให้กับเราน้อยลงด้วย ดังนั้น เรื่องของการออกเสียงให้ชัดเจนและอักขระวิธี จึงมีความสําคัญ เช่นกัน สําหรับการที่เราจะฝึกฝนเพื่อเป็นนักร้องที่ดี

ความชัดเจนของเสียง

ความชัดเจนของเสียงนั้นนอกจากจะช่วยให้การออกเสียงของเรามีพลังแล้วยังมีส่วนช่วยให้ถ้อยคํา หรือเนื้อเพลงที่เราถ่ายทอดออกมา มีความชัดเจนที่จะทำให้ผู้ฟัง หรือคนฟัง เข้าใจในสิ่งที่เราสื่อสารด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาไทยมีอักขระเป็นภาษาดนตรี (หมายความว่า เสียงในภาษาไทยเป็นเสียงวรรณยุกต์  ดังนั้นเสียงที่ต่างกันอาจให้ความหมายของคําที่แตกต่างกันออกไปด้วย เช่น มา....หม่า....ม่า...ม้า....หมา จะเห็นว่าเสียงวรรณยุกต์ ต่างกันห้าเสียงก็ได้ ความหมายที่ต่างกัน ห้าความ หมายด้วย) ซึ่งแตกต่างจากภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาอังกฤษ อย่างคําว่า LOVE ออกเสียงว่า เลิฟ ต่อให้เรา ออกเสียงเลิฟ เพี้ยนไปแค่ไหน ความหมายก็ยังคือคําว่า Love อยู่ดี ไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นเรื่องนี้จึงเป็น เอกลักษณ์เรื่องหนึ่งของภาษาไทย ซึ่งผู้ร้องจะต้องทำความเข้าใจในข้อนี้ด้วยเพื่อที่จะออกเสียงให้ถูกต้อง

หลายๆ ครั้งที่นัก ครั้งที่นักร้อง หรือผู้ฝึกร้องเพลงหลายๆ คน ไม่มีความชัดเจนของเสียง ทำให้ผู้ฟังไม่ สามารถจะจับใจความได้ว่าเพลงๆ นั้น มีคําร้องว่าอย่างไร หรือว่าบทเพลงนั้นมีความหมายว่าอย่างไร ดังนั้นการเป็นนักร้องที่ดีต้องฝึกฝนการออกเสียงของเราให้ชัดเจนด้วย

อักขระวิธี

สําหรับเรื่องของอักขระวิธีในการร้องเพลงนั้น

ก็เป็นเรื่องที่นักร้องหรือผู้ฝึกร้องเพลงต้องใส่ใจใน

 การร้องเพลง ยกตัวอย่างเช่น เรื่องของคําควบกล้ำ

 การปิดตัวสะกด การเปิดเสียงพยัญชนะต้น และ การออกเสียงสระ

 ซึ่งทุกอย่างที่กล่าวไปนั้นมีผลต่อ การออกเสียงของเราด้วยไม่ว่าจะเป็นทั้งการพูด

   หรือการร้องเพลง 

รูปปากกับการร้องเพลง

ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า อักขระวิธีในการใช้ภาษานั้นมีผลต่อการพูดและการร้องเพลง เนื้อหาสาระ ต่อไปนี้จะกล่าวถึงว่าการออกเสียงนั้น มีผลต่อรูปปากของเราด้วย สําหรับรูปปากนั้นก็มีความสําคัญต่อ การร้องเพลง เพราะรูปปากที่ดีที่ถูกต้อง จะช่วยให้การออกเสียงของเราสมบูรณ์ขึ้น นอกจากนี้การฝึกรูป ปากที่ดียังช่วยพัฒนาให้เรามีบุคลิกในการร้องเพลงที่ดีด้วย เพราะอย่าลืมว่าผู้ฟังหากมีโอกาสได้เห็น การถ่ายทอดเสียงร้องของนักร้องคนใดคนหนึ่ง ก็ย่อมต้องสังเกตการร้องของนักร้องคนนั้น รวมไปถึง บุคลิกภาพของเขาด้วย (หลายๆ คนอาจเคยพบ หรือได้เห็นนักร้องบางคนที่เสียงร้องดี แต่พอเห็น หน้าจริงๆแล้วทำให้ความรู้สึกที่ว่าร้องดีเสียไป ไม่ใช่เพราะหน้าตาไม่ดี แต่เป็นเพราะนักร้องคนนั้นมี บุคลิกภาพที่ไม่ดีต่างหากรูปปากจึงเป็นจุดสําคัญประการหนึ่งที่ช่วยให้เรามีบุคลิกภาพการออกเสียงที่ดีได้

สําหรับรูปปากของเรานั้น จะเปลี่ยนแปลงไปตามรูปของสระ หากกล่าวอย่างเดียวคงไม่เชื่อ ดังนั้น ให้ลองนั่ง หรือยืนหน้ากระจก แล้วลองพูดคําดังต่อไปนี้

สังเกตเห็นได้หรือไม่ว่ารูปปากของเรา เปลี่ยนแปลงไปทุกครั้งที่เราพูดคําทั้งห้าคําข้างบน ซึ่งคํา ทั้งห้าคําด้านบน มีพยัญชนะที่เหมือนกัน คือ ตัว ม. แต่สระแตกต่างกัน คือ สระ อา เอ อี โอ และ อู ทั้งนี้ สระในภาษาไทยนั้น มีเสียงทั้งสิ้น 32 เสียงที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเป็นทั้งสระแท้และสระผสม แต่ทั้งนี้ รูปปากที่แท้จริงของเรา ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากขนาด 32 เสียง แต่จะแตกต่างกันออกไป ตามขนาด รูปร่าง หรือการผสมการออกเสียง ซึ่งรูปปากแท้ๆ ของเราจะเปลี่ยนไปตามรูปของสระแท้ จำนวน 6 ตัว นั่นคือ

ซึ่งลักษณะของรูปปากที่เปลี่ยนไปตามรูปสระข้างต้นเป็นดังนี้

วลาที่เราพูด อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการออก
เสียงสระ ได้แก่ ขากรรไกรล่าง และริมฝีปาก                 เมื่อเราออกเสียงสระอา ขากรรไกรล่างจะอ้าลง              คางจะชี้ลงพื้น


เวลาที่เราพูด “สระเอ” ขากรรไกรล่างจะอ้าลง
คางจะชี้ลงพื้นเหมือนสระอา มุมปากทั้งสองข้าง
จะฉีกออกด้านข้าง ทำให้รูปปากมีลักษณะเหมือ
สี่เหลี่ยมผืนผ้า 

เวลาที่เราพูด “สระอี” ขากรรไกรล่างจะอ้า ลง คางจะชี้   ลงพื้น มุมปากทั้งสองข้างจะชี้ขึ้น ทำให้ รูปปากมี      ลักษณะเหมือนกับเวลาที่เรายิ้ม


เวลาที่เราพูด “สระออ” วิธีการพูดเหมือน
สระอาคือขากรรไกรล่างจะอ้าลง
คางจะชี้ลงพื้น ริมฝีปากจะยื่นออกไปด้านหน้า


เวลาที่เราพูด “สระโอ” วิธีการพูดเหมือน สระออ
คือขากรรไกรล่างจะอ้าลง คางจะชี้ลงพื้น แต่ริมฝีปาก
จะยื่นออกไปด้านหน้ามากกว่าการพูดสระออ


 เวลาที่เราพูด “สระอู” วิธีการพูดเหมือนสระออ
และสระโอ คือขากรรไกรล่างจะอ้าลง คาง จะชี้             ลงพื้น แต่ริมฝีปากจะยื่นออกไปด้านหน้ามาก
กว่าการพูดสระออและสระโออีก ดังรูป


       นอกจากสระแท้แล้ว หากเราต้องออกเสียงสระที่เป็นสระผสม การออกเสียงของเราก็ยังคงยึด ตามรูปปากของสระแท้ก่อน แต่เป็นรูปปากที่นำมาผสมกันด้วย เช่น

·   สระ เอีย คือ สระ อี + สระ อา รูปปากที่พูดก็คือ อี ก่อน แล้วตามด้วย อา เช่นคําว่า เสีย เมื่อ เราพูด ปาก จะต้องออกเสียง อี ก่อน แล้วปิดคําด้วยรูปปากสระ อา

·   สระ เอา คือ สระ อา + สระ อูรูปปากที่พูดก็คือ อา ก่อน แล้วตามด้วย อู เช่นคําว่า เขา เมื่อ เราพูด ปากจะต้องออกเสียง อา ก่อนแล้วปิดคําด้วยรูปปากสระ อู

·   สระ อัว คือ สระ อู + สระ อา รูปปากที่พูดก็คือ อู ก่อนแล้วตามด้วย อา เช่นคําว่า กลัว เมื่อ เราพูด ปากจะต้องออกเสียง อู ก่อนแล้วปิดคําด้วยรูปปากสระ อา

·   หรือ สระบางประเภท เช่น สระ ไอ, ใอ หรือ คําว่า อัย สระจำพวกนี้ จะมีลักษณะของเสียง ที่ต้องปิดคําเป็น แบบมีตัว อี ต่อท้าย เช่น ไร....ต้องแปลงออกมาเป็น
รัย + อี นั่นคือ รูปปาก เป็น แบบสระอาก่อน แล้วปิดคําด้วยรูปปากสระอี

       จากที่กล่าวมาจะเห็นว่ารูปปากของเรา ไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการร้องเพลง ล้วนเปลี่ยนไปตาม รูปสระ และมีโอกาสที่จะเปลี่ยนไปตามตัวสะกดด้วย ดังนั้นในการร้องเพลง จึงมีความจำเป็นต้องใส่ใจ ในรายละเอียดของการออกเสียงคําแต่ละคําด้วย หากเป็นไปได้ควรจะวิเคราะห์คําทุกครั้งก่อนที่จะร้องเพลงจะเป็นการดี เพราะจะทำให้เราได้รู้และได้ลองมองสังเกตรูปปากของเราก่อนว่าถูกต้องหรือไม่ และ มีโอกาสที่จะปรับปรุงรูปปากของเราให้สวยงามได้ด้วยและที่สําคัญต้องไม่ลืมว่าการที่เรามีรูปปากที่ถูกต้องจะช่วยให้การออกเสียงของเราชัดเจนขึ้น

กิจกรรมที่ 2.15  การฝึกความชัดเจนของเสียง ให้ผู้เรียนพูดอะไรก็ได้โดยไม่อ้าปากกับพูดโดยอ้าปาก แล้วสังเกตว่าเสียงของคํา            ที่เปล่งออกมามีความชัดเจนของเสียงแตกต่างกัน หรือไม่

       ข้อสังเกต

       การพูดโดยอ้าปากให้รูปปากชัดเจน จะทำให้คําพูดที่เปล่งออกมาชัดเจนขึ้น และมี ความดังในระดับที่เหมาะสม ทำให้ผู้รับสารสามารถรับสารที่เราส่งออกไปได้ดีขึ้น ซึ่งแตกต่างกับ การพูดหรือออกเสียงโดยไม่อ้าปาก จะทำให้ผู้รับสารหรือผู้ฟังไม่สามารถฟังและรับสารได้อย่างชัดเจน แต่ในการพูดหรือออกเสียงโดยอ้าปากให้รูปปากถูกต้องนั้น ในช่วงแรกผู้เรียนอาจจะ รู้สึกผิดธรรมชาติและรู้สึกว่ารูปปากไม่สวยงาม อันอาจเป็นการทำให้เสียความมั่นใจ ซึ่งขอให้ ผู้เรียนอ้าปากให้กว้างและถูกต้องที่สุดในการฝึก เพราะเมื่อเราฝึกจนชํานาญแล้ว ในการพูดจริง ปากเราจะกว้างโดยอัตโนมัติ และมีการปรับให้รูปปากสวยงามขึ้น

กิจกรรมที่ 2.16  การฝึกหารูปปากที่ถูกต้องสําหรับการพูดในคําที่แตกต่างกัน ให้ผู้เรียนนำเนื้อเพลง ที่ชื่นชอบมา 1 เพลง          แล้วพูดตามเนื้อเพลง จาก จากนั้นให้สังเกตความถูกต้องของรูปปากว่าการอ้าปาก ขนาดของปากและ                         การเปลี่ยนแปลงของรูปปากถูกต้องตาม ที่ได้ศึกษาไปหรือไม่ ควรสังเกตความแตกต่างของคําต่างๆ ที่มี            ในเพลง ทั้งคําที่มี ตัวสะกด และไม่มีตัวสะกด มีคําใดบ้างที่มีความยากในการออกเสียงและการออก รูป                    ปาก โดยให้บันทึกผลการเรียนรู้ลงในบันทึกกิจกรรม

       ข้อสังเกต-ข้อเสนอแนะ

       การร้องเพลงก็เช่นเดียวกันกับการพูดหรือการออกเสียงประเภทอื่นๆ ที่จำเป็นต้องอ้าปาก ให้มีรูปปากที่ชัดเจนก่อนเปล่งเสียงคําร้องออกมา เนื่องจากการร้องเพลงนั้น คําอาจมีการ ผันวรรณยุกต์ไปมา ซึ่งหากเราออกรูปปากไม่ชัดเจน ผู้ฟังจะไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่าคําที่ถูกต้อง ที่เราร้องออกมานั้นคือคําว่าอะไร

       ผู้เรียน อาจสังเกตรูปปากกับการร้องเพลงได้จากนักร้อง หรือนักร้องต่างประเทศ ซึ่ง นักร้องเหล่านั้นจะมีลักษณะการใช้รูปปากที่ชัดเจนมากในการร้องเพลง

โน้ตดนตรีกับการร้องเพลง

      ความรู้เรื่องโน้ตดนตรีสําหรับการร้องเพลงนั้น ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีความสําคัญมากสําหรับ นักร้องและผู้ฝึกร้องเพลงด้วยเหตุผลหลาย ประการแรกคือ โน้ตถือเป็นสัญลักษณ์ของเสียงสําหรับ ดนตรีและเครื่องดนตรีทุกชนิด ดังนั้น การที่ใครคนหนึ่งจะเป็นนักร้อง ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง จึงจำเป็นที่ผู้นั้นต้องเรียนรู้เรื่องโน้ตด้วยประการต่อมาโน้ตดนตรีนั้นถูกผสานเข้ากับทักษะการฟังของผู้ร้อง เพื่อทำให้การร้องเพลงของผู้ร้องนั้น มีระดับเสียงของโน้ตหรือความถี่ที่ถูกต้อง (Pitch) ดังนั้น โน้ตดนตรี จึงถือเป็นพื้นฐานที่สําคัญอีกข้อหนึ่งของการฝึกการขับร้องที่ดี เพราะการฝึกหรือเรียนรู้เรื่องโน้ตจะช่วย ให้ประสาทการรับฟัง หรือหูซึ่งเป็นอวัยวะในการรับฟังมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้การรับฟังโน้ตต่างๆ ง่ายขึ้น สามารถแยกเสียงต่างๆ ได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้การร้องเพลงไม่มีเพี้ยนอีกด้วย

      ปัญหาใหญ่อีกข้อหนึ่งสําหรับผู้ฝึกร้องเพลงก็คือ หลายๆ คนอาจมีประสาทหูที่ไม่ค่อยดี หรือไม่ แม่นยําพอ ในการที่จะแยกแยะระดับเสียงที่ความถี่แตกต่างกัน ปัญหาก็คือ เขาเหล่านั้นจะร้องเพลงเพี้ยน สําหรับการเพี้ยนมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการด้วยกัน แต่ทั้งนี้ล้วนเกิดมาจากการมี ประสาทการรับฟังที่บกพร่องอยู่ ดังนั้นการฝึกหรือเรียนรู้เรื่องโน้ตจะช่วยพัฒนาการรับฟังของเราให้ดีขึ้น และสามารถร้องเพลงได้ดีในที่สุด

      การเรียนเรื่องรู้โน้ตดนตรีนั้น จะผสานไปกับการฝึกประสาทการรับฟัง ถึงตรงนี้ผู้เรียนทุกคน ไม่ต้องกังวลว่าตนมีความจำเป็นที่จะต้องอ่านโน้ตได้ถูกต้องหรือเปล่า จึงจะเป็นนักร้องที่ดีได้ ตรงนี้ ต้องตอบว่าไม่จำเป็น แต่ถ้าหากต้องการที่จะฝึกฝนเป็นนักร้องอาชีพ ในขั้นนั้นก็มีความจำเป็นซึ่งการที่ จะอ่านโน้ตได้เป็นทักษะที่ต้องใช้เวลา และความอดทนในการฝึกฝนอย่างมาก แต่สําหรับคนทั่วไป ที่ต้องการฝึกฝนการร้องที่ถูกต้อง การรู้จักพื้นฐานของโน้ตก็เพียงเพื่อให้สามารถแยกแยะความแตกต่าง ของระดับเสียง การไล่ระดับเสียงต่างๆ เพราะสิ่งเหล่านี้มีความสําคัญมาก เพราะในการร้องเพลง แต่ละเพลง ทำนองของเพลงนั้นมีความสูงต่ำของระดับเสียงอยู่แล้ว ดังนั้น การทำให้ประสาทหูคุ้นเคย กับระดับเสียงที่แตกต่างกันนั้น จะช่วยให้เราสามารถปรับหู หรือที่เรียกว่า “การเทียบเสียง” (Tuning) ได้เสมือนกับการตั้งคีย์ (Key) ของเครื่องดนตรี ซึ่งเราเองก็จำเป็นต้องตั้งคีย์ในการร้องเพลงสําหรับ ตัวเองด้วย เพื่อให้สามารถที่จะร้องเพลงได้อย่างถูกต้อง

บันไดเสียง

       บันไดเสียง ก็คือ กลุ่มของตัวโน้ตที่นำมาจัดเรียงกัน โดยบันไดเสียงนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ บันไดเสียงเมเจอร์ และบันไดเสียงไมเนอร์ ซึ่งบันไดเสียงไมเนอร์ยังแบ่งออกเป็นอีกสองลักษณะคือ ฮาร์โมนิก ไมเนอร์ (Harmonic minor) และ เมโลดิก ไมเนอร์ (Melodic minor)

       ทั้งบันไดเสียงเมเจอร์ และบันไดเสียงไมเนอร์ จะมีการไล่เรียงกลุ่มของตัวโน้ต (Scale) ที่แตกต่าง กันออกไป บันไดเสียงไมเนอร์มักพบในเพลงประเภท Blue ซึ่งโน้ตในบันไดเสียงไมเนอร์ มักจะให้อารมณ์ และความรู้สึกที่เศร้า แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงบันไดเสียงเมเจอร์เท่านั้น เนื่องจากเพลง Pop (Popular Song) ทั่วไป จะใช้บันไดเสียงเมเจอร์เป็นส่วนใหญ่ ต่อไปนี้จะกล่าวถึง บันไดเสียง ซี เมเจอร์ (C major scale) ซึ่ง บันไดเสียง ซี เมเจอร์ จะใช้เพื่อฝึกร้องเพลงทั่วไป ซึ่งโน้ตที่ประกอบอยู่ในบันไดเสียง ซี เมเจอร์ คือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที่ และ โดสูง นั่นเอง

ระดับเสียง หรือระดับความถี่ของเสียงที่ถูกต้อง (Pitch)

       ระดับเสียง หมายถึง ความสูงต่ำของเสียงดนตรี ซึ่งระดับเสียงนั้นมีชื่อเรียงตามความสูงต่ำของเสียง โดยไล่จากเสียงต่ำ ไปเสียงสูง ระดับเสียงของเสียงดนตรี มีทั้งหมด 7 ตัวดังต่อไปนี้

ถ้าลองสังเกตบนคีย์บอร์ดของเปียโน หรืออิเล็คโทน จะเห็นลักษณะของระดับเสียงที่เรียงกันเป็นตัวอักษร ดังต่อไปนี้ 

         และจะเรียงไล่ย้อนไปอย่างนั้น ตลอดทั้งคีย์บอร์ด ซึ่งจะเห็นได้ว่า ระยะจากเสียง เช่น เสียง ซีหรือ โด ไปยังเสียง ซี หรือโดต่อไป จะมีระยะห่างกัน 8 เสียง หรือ เราเรียกว่า “คู่แปด” (Octave) ซึ่งเป็น เสียงเดียวกัน แต่มีระดับเสียงที่สูง ต่ำ ต่างกัน 1 เท่า

บรรทัด 5 เส้น

        บรรทัด 5 เส้น (Staff) ประกอบด้วย เส้นขนาน 5 เส้น กับช่องว่างระหว่างเส้น 4 ช่องที่มีระยะห่าง เท่าๆ กันระหว่างเส้น บรรทัด 5 เส้นนั้น เราใช้สําหรับเขียนหรือบันทึกตัวโน้ตดนตรีลงไปบนบรรทัด 5 เส้น เมื่อเขียนโน้ตลงในบรรทัด 5 เส้นแล้ว จะสามารถบอกความสูง ต่ำของเสียงได้ โดยสังเกตจากตำแหน่ง ของโน้ตที่บันทึกอยู่ ถ้าโน้ตบันทึกอยู่ต่ำ เสียงที่ได้ คือ เสียงต่ำ ถ้าบันทึกอยู่สูง เสียงที่ได้คือเสียงสูง

เส้นน้อย

       เส้นน้อย (Leger line) ใช้สําหรับบันทึกโน้ต ที่มีระดับเสียงสูงหรือต่ำเกินกว่าที่จะบันทึกลงใน บรรทัดห้าเส้นได้ สําหรับ scale ปกติ หรือ C Major Scale นั้น จะมีโน้ตหนึ่งตัวอยู่แล้วที่เขียนอยู่บนเส้น น้อย นั่นคือ ตัวโด หรือ ซี นั่นเอง

กุณแจประจำหลัก

       กุญแจประจำหลัก หรือ เรียกสั้นๆว่า “กุญแจ” (Clef) เป็นเครื่องหมายกำหนดชื่อระดับเสียงที่ บันทึกลงในบรรทัด 5 เส้น ทั้งนี้ สําหรับกุญแจประจำหลักนั้น มี กุญแจซอล กุญแจฟา และกุญแจโด แต่ ในที่นี้จะกล่าวถึงเพียงกุญแจซอลเท่านั้น ซึ่งกุญแจซอล จะกำหนดให้เส้นที่ 2 ของบรรทัดห้าเส้นมีชื่อเป็น G ดังนั้น โน้ตทุกตัวที่บันทึกอยู่บนเส้นที่ 2 มีชื่อโน้ตว่า โน้ต G หรือ ตัวซอล นั่นเอง

ภาพ แสดงบรรทัด 5 เส้น เส้นน้อย กุญแจประจำหลักและตัวโน้ตใน C Major Scale

ระยะห่างของระดับเสียง

         ระดับเสียงที่สูงต่ำของดนตรี จะมีระยะห่างของเสียงที่ต่างกันออกไป ซึ่งในที่นี้ มีทั้งเสียงที่ห่างกัน ครึ่งเสียง (Semi tone) และ ห่างกันเต็มเสียง (Tone)

         ระยะห่างครึ่งเสียง เป็นช่วงเสียงที่มีระยะใกล้กัน หากมองจากตำแหน่งของ คีย์บอร์ด ได้แก่เสียง ที่อยู่ที่ตำแหน่งที่คีย์สีขาวอยู่ติดกัน นั่นคือตำแหน่งของโน้ต E กับ F และ B กับ C และตำแหน่งคีย์สีดํา กับคีย์สีขาวที่อยู่ติดกันทุกคู่

หมายเหตุ   W หมายถึง เสียงที่ห่างกันเต็มเสียงเหมือนหนึ่งเสียง (Whole Note หรือ Tone)                                                             

            H หมายถึง เสียงที่ห่างกันครึ่งเสียง (Half Note หรือ Semi Tone)

    ดังนั้นจะได้ว่า          C กับ     D     ห่างกัน เต็มเสียง

                                   D กับ E      ห่างกัน เต็มเสียง

                                   E กับ F     ห่างกัน ครึ่งเสียง

                                   F กับ G ห่างกัน เต็มเสียง

                                  G กับ A     ห่างกัน เต็มเสียง

                                   A กับ B ห่างกัน     เต็มเสียง

                                   B กับ C ห่างกัน ครึ่งเสียง

ขั้นคู่เสียง

   ขั้นคู่เสียง หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ขั้นคู่” คือ ระดับเสียงที่ใช้วัดความแตกต่างระหว่างเสียง

สองเสียง เช่น ขั้นคู่เสียงดังต่อไปนี้

โด-เร โด-มี โด-ฟา โด-ซอล โด-ลา โด-ที โด-โด

โด-เร   เรียกว่า   ขั้นคู่สอง

โด-มี   เรียกว่า   ขั้นคู่สาม

                                                           โด-ฟา  เรียกว่า   ขั้นคู่สี่

                                                           โด-ซอล เรียกว่า   ขั้นคู่ห้า  

                                                           โด-ลา   เรียกว่า    ขั้นคู่หก

                                                           โด-ที เรียกว่า ขั้นคู่เจ็ด

                                                           โด-โด   เรียกว่า ขั้นคู่แปด หรือ Octave

 

ได้รู้จักกับสิ่งต่างๆ เหล่านั้น แต่ทั้งนี้ การรู้จักพื้นฐานของโน้ตและหลักการเบื้องต้นต่างๆ ไม่ว่าจะ เป็นการบันทึกโน้ต ตัวโน้ต ระดับเสียง ขั้นคู่ ล้วนช่วยให้เราได้รู้ว่า ระดับของเสียงในดนตรีหรือเพลงนั้น จะมีการไล่เรียงและร้อยกันขึ้นมาเป็นทำนอง โดยประกอบไปด้วยระดับเสียงที่แตกต่างกัน ซึ่งจำเป็น อย่างยิ่งในการที่จะฝึกประสาทหูของเราให้พัฒนาขึ้น สามารถรับฟังและแปลความหมายของระดับเสียงที่ได้ยินได้อย่างถูกต้อง

          สําหรับการฝึกฝนของผู้ฝึกร้องทั่ว ๆ ไปหรือนักร้องทั่วไป สามารถที่จะฝึกประสาทหูหรือประสาท การรับฟังได้โดยวิธีธรรมชาติ นั่นคือ เลียนเสียงที่ได้ยินให้ได้ระดับเสียงที่ถูกต้อง นั่นคือหากผู้เรียน สามารถที่จะฟังเพลงหรือดนตรีที่ได้ยินแล้ว สามารถที่จะเลียนเสียงออกมาได้ในระดับที่ถูกต้อง นั่นก็คือ นักร้องหรือผู้ฝึกร้องคนนั้นสามารถที่จะทำการเทียบระดับเสียง (Tuning) ได้แล้ว และนั่นถือเป็นสิ่งที่ สําคัญที่สุด ไม่จำเป็นเสมอไปที่นักร้องที่เสียงดีทุกคนจะต้อง สามารถอ่านโน้ตแล้วร้องออกมาได้อย่าง ถูกต้อง (Sight Singing) ซึ่งการร้องแบบนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการฝึกฝนจากผู้เชี่ยวชาญและต้องใช้เวลาในการฝึกฝนค่อนข้างมากด้วย

Movable Do

         Movable Do หรือ โด ที่เคลื่อนที่ได้ หมายความว่า เราสามารถที่จะเคลื่อนเสียงโด ให้ไปอยู่ที่ ตำแหน่งใดของ scale ที่เราร้องก็ได้ เช่น ปกติเราร้อง โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด เราก็เปลี่ยนเป็น โด โด โด โด โด โด โด โด ได้โดยที่เสียงยังเป็นเสียงเดียวกันกับตอนที่เราไล่เสียงใน C major scale

        การที่ “โด” สามารถเคลื่อนที่ได้ จะช่วยให้เราฝึกประสาทหูสําหรับการร้องเพลงได้ดีขึ้น และ ทำให้เราสามารถที่จะเปลี่ยนคีย์ให้เหมาะสมกับการร้องของเราได้ ดังเช่นที่เราเห็นจากเครื่องเล่นซีดี หรือ คาราโอเกะ สามารถที่จะปรับเลื่อนคีย์ ให้เหมาะสมกับเสียงร้อง หรือระดับเสียงร้องของเราได้ การฝึก Movable Do นั้นสามารถฝึกได้ง่ายๆ นั่นคือ ใช้การ ฮัมเพลงนั่นเอง

กิจกรรมที่ 2.17  การฝึกเสียงเคลื่อนที่ได้หรือ Movable Do ให้ผู้เรียนเลือกเพลงที่ชื่นชอบ หรือเพลง ในบทเรียน ขั้นแรกให้ 

                  ลองใช้เสียงฮัมตามทำนองของเพลงตลอดทั้งเพลง ขั้นที่สอง ลองเปลี่ยนจากการฮัมเป็นการใส่คําเพียงคํา

                  เดียวลงไป เช่น คําว่า ลา เป็นต้น แล้วให้บันทึกผลเรียนรู้

        สรุป-ข้อสังเกต

         การฝึกฮัม หรือแทนเนื้อร้องของเพลงด้วยคําเดียว จะช่วยให้เราสามารถจับโน้ตที่ถูกต้อง ของคําในเพลงนั้นๆ ได้ง่ายกว่าการที่เราร้องเนื้อเพลงนั้นออกมาเลย ทั้งนี้เพราะ คําบางคําใน ภาษาไทย ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ ซึ่งแต่ละเสียงของ วรรณยุกต์ จะมีความหมายของคําที่แตกต่างกัน และอาจทำให้เกิดการเพี้ยนได้ง่าย ดังนั้นการ ฝึกด้วยวิธีนี้ จะเป็นการฝึกที่ช่วยให้โน้ตของเราแม่นยําขึ้น และเมื่อเราแม่นยําขึ้นแล้ว ก็สามารถกลับไปร้องเนื้อร้องของเพลงได้ต่อไป

สัญญาณมือ (Hand Sign)

        สัญญาณมือ หรือ Hand sign นั้น เป็นสัญลักษณ์ที่ถูกกำหนดขึ้น โดยบิดาของดนตรีชาวฮังกาเรียน ที่มีชื่อว่า เซาท์เทิร์น โคไดส์ ซึ่งผู้นี้คิดค้นสัญญาณมือ แทนระดับเสียงที่แตกต่างกัน เพื่อเป็นการกำหนด ระดับเสียงตามหลักจิตวิทยาซึ่งทำให้มนุษย์เราสามารถแยกระดับเสียงที่แตกต่างกันออกจากกันได้ง่ายขึ้น สัญญาณมือนั้น มีลักษณะที่แตกต่างกันตามเสียงของโน้ตดังตาราง

ตาราง แสดงตัวโน้ต ลักษณะของมือและสัญญาณมือ


กิจกรรมที่ 2.18  ให้ผู้เรียนฝึกการออกเสียง และทำสัญญาณมือ จากเสียงดังต่อไปนี้

                  หมายเหตุ ได้ = โด สูง

                  โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด

                  โด โด เร เร มี

                  โด มี ซอล มี โด

                  เร ฟา ลา ที โด

                  มี ซอล ซอล เร ฟา ฟา

                มี ซอล มี โด

                 โด ลา ฟา มี ซอล

                มี เร มี เร โด ที่ ลา ซอล

               ซอล ลา ซอล ฟา มี ฟ้า เร

ข้อเสนอแนะ   ผู้เรียนสามารถฝึกร้องที่เสียงต่างๆ นอกเหนือจากกิจกรรมที่กำหนดได้

จังหวะกับการร้องเพลงเบื้องต้น

        ไม่ว่าจะเป็นดนตรี หรือเพลงชนิดไหนก็ตามล้วนแล้วแต่มีจังหวะ (Rhythm) ด้วยกัน ทั้งนั้น จังหวะเป็นช่วงเวลาช่วงหนึ่งที่มีความสม่ำเสมอ เหมือนลักษณะของการเต้นของหัวใจ เราอาจจะรู้จักจังหวะกันอยู่แล้วตามธรรมชาติ จังหวะอย่างแรกที่เรารู้จักก็คือ จังหวะการเต้นของหัวใจ (ให้ ลองสัมผัสชีพจรของเรา จะพบว่าหัวใจ หรือ ชีพจรของเรา เต้นเป็นจังหวะ) หรือ เวลาที่เราได้ยินเสียงเพลง หรือเสียงดนตรี แล้วเราขยับเท้าหรือมือตาม หรือแม้แต่การโยกตัวตามไปมา ก็ถือว่าสิ่งนั้นที่เรากำลังทำอยู่คือการให้จังหวะกับตัวเอง

กิจกรรมที่ 2.19  การทำความรู้จักกับจังหวะในขั้นแรก ให้ผู้เรียนทุกคน ปรบมือแล้วนับ 1 ถึง 4 ดู ย้อนไปมา ดังนี้ 1...2...3...    

                   4...1...2...3...4...1...2...3...4... สังเกตดูว่า การปรบมือของเรามีจังหวะเป็นอย่างไรบ้าง มีความเร็วสม่ำเสมอ

                  เท่ากันหรือไม่

         ข้อเสนอแนะ

ผู้เรียนอาจฝึกเรื่องการนับจังหวะที่สม่ำเสมอได้โดยการฟังเพลงที่ชอบสักเพลง แล้วลอง ปรบจังหวะให้ตรงกับจังหวะของเครื่องดนตรีบอกจังหวะของเพลงนั้นๆ เช่น กลอง และอาจ สังเกตว่าหากเราปรบไม่ตรงกับจังหวะของเครื่องดนตรีนั้นๆ แสดงว่าเราปรบจังหวะไม่สม่ำเสมอแล้วอาจจะเร็ว หรือช้าเกินไป

ความหมายของจังหวะ

         จังหวะ หมายถึง ช่วงเวลาที่มีความสม่ำเสมอ ที่ดําเนินอยู่ในขณะที่ดนตรีได้บรรเลงอยู่ และสิ้น สุดเมื่อจบบทเพลงนั้นๆ แล้ว จังหวะจะเป็นตัวคอยควบคุมการเคลื่อนไปของทำนองของเพลง และเป็น ตัวกำหนดความสั้น-ยาวของเสียงต่างๆ ให้ประสานไปด้วยดีในเพลง

         จังหวะถือเป็นทักษะสําคัญอีกข้อหนึ่งที่ผู้เป็นนักร้อง หรือนักดนตรี ควรจะต้องฝึกฝนและเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง เพราะจังหวะถือได้เสมือนกับเป็นชีพจรของดนตรี ที่ จะคอยพาให้ดนตรี หรือเพลงต่างๆ เคลื่อนไปได้อย่างสมบูรณ์ เช่นเดียวกับ ชีพจรของร่างกายเราเลยทีเดียว จังหวะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ จังหวะเคาะและจังหวะทำนอง

·       จังหวะเคาะ (Beat)

        จังหวะเคาะจะเป็นหน่วยที่วัดเวลาสําหรับดนตรี ซึ่งเราสามารถปฏิบัติได้โดยการเคาะจังหวะ ให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ตลอดทั้งเพลงในขณะที่เราร้องเพลงนั้นๆอยู่ จนกว่าจะจบเพลง การเคาะ จังหวะที่ดีนั้น ควรจะกำหนดให้มีความสม่ำเสมอ ไม่ช้าหรือเร็วจนเกินไป ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับบทเพลงต่างๆด้วย ซึ่งแต่ละเพลงก็จะมีความแตกต่างกัน และที่สําคัญการเคาะจังหวะนั้น ไม่ควรจะเร่งให้ช้า หรือลด ความเร็วของการเคาะจังหวะ ระหว่างที่เพลงกำลังดำเนินไปด้วย

        การฝึกเคาะจังหวะนั้นเราสามารถใช้วิธีการฝึกได้หลายวิธี อาจใช้การปรบมือ ปรับขา เคาะโต๊ะ ฯลฯ หรือ ใช้อุปกรณ์ร่วมด้วยก็ได้ เช่น เคาะไม้ เคาะซ้อน เป็นต้น ในจังหวะการเคาะนั้น เราสามารถ แบ่งจังหวะออกเป็นสองลักษณะด้วย นั่นคือ จังหวะเคาะ จะมีจังหวะยก (Up Beat) และ จังหวะตก (Down Beat)

จังหวะยก ก็คือ จังหวะที่อยู่ระหว่างการนับ หรือการเคาะจังหวะของเรา หรืออาจเรียกได้ง่ายๆ ว่า จังหวะยก เป็นจังหวะ ขึ้น หรือ จังหวะ ตก คือจังหวะลง

          วิธีการนับจังหวะเคาะ

         1 และ 2 และ 3 และ 4 และ 1 และ 2 และ 3 และ 4 และ...

กิจกรรมที่ 2.20  ให้ผู้เรียนลองเคาะจังหวะ ในความเร็วที่ต่างกัน แต่ในการเคาะแต่ละครั้งให้เคาะที่ ความเร็วนั้นไปตลอด

                  แบบที่ 1  1……...2.........3.........4……... 1.........2…......3……....4

                  แบบที่ 2  1.....2.....3.....4..... 1.....2.....3.....4..... 1.....2.....3.....4

                  แบบที่ 3  1..2..3..4..1..2..3..4..1..2..3..4..1..2..3..4..1..2..3..4..1..2..3..4

        จังหวะทำนอง (Rhythm)

        จังหวะทำนองนั้น เป็นช่วงของเวลาที่เสียงดังออกมา ซึ่งในการร้องแต่ละครั้ง และในคําแต่ละ คําอาจมีจังหวะความยาวของช่วงเวลาที่แตกต่างกัน อาจจะมีเสียงสั้นและยาวที่ แตกต่างกันออกไป ซึ่ง ก็แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ละบทเพลงด้วย ความสั้นยาวของจังหวะประเภทนี้ เราสามารถใช้จังหวะเคาะเป็นตัวนับจังหวะได้

ตัวอย่าง  จังหวะทำนองและการนับด้วยจังหวะเคาะ

      สําหรับความสั้น-ยาวของเสียง หรือความเงียบในจังหวะทำนองนั้น เราจะบันทึกไว้ ด้วยสัญลักษณ์ที่เรียกว่า ตัวโน้ต และตัวหยุด หรือ Time Signature ดังตาราง

ตาราง แสดงสัญลักษณ์ ของตัวโน้ต และ Time Signature

สําหรับค่าความยาวของโน้ตแต่ละตัวจะมีความสั้น-ยาวของจังหวะ ดังตาราง

ตาราง แสดงค่าความยาวของโน้ต แต่ละตัว

จากตารางค่าความยาวของตัวโน้ตนั่นหมายความว่า

        โน้ตตัวขาว            มีค่าเท่ากับ              1/2 ของโน้ตตัวกลม

        โน้ตตัวดำ             มีค่าเท่ากับ               1/4 ของโน้ตตัวกลม

        โน้ตเขบ็ตหนึ่งชั้น    มีค่าเท่ากับ                1/8 ของโน้ตตัวกลม

        โน้ตเขบ็ตสองชั้น    มีค่าเท่ากับ                1/16 ของโน้ตตัวกลม

สําหรับจังหวะกับเพลงนั้น โดยทั่วไปเราแบ่งได้ 2 ลักษณะนั่นคือ nirutoann

    1. Common Time a Simple Time

จังหวะประเภทนี้ คือจังหวะที่เราพบได้ทั่วไปในเพลงส่วนใหญ่ นั่นคือ ใน 1 ห้องดนตรี จะมี ทั้งหมด 4 จังหวะ ดังนั้น เวลาที่เรานับจังหวะ เราจะนับ 1 ถึง 4 ย้อนไปมาได้ ไม่ว่าเพลงนั้น จะมี ความเร็วของจังหวะเท่าใดก็ตาม การเคาะจังหวะของเพลงที่มีจังหวะประเภทนี้ คือ 1..........2.........3.........4………..1..........2.........3...... .4

   การเน้นจังหวะจะเน้นที่ จังหวะที่ 1 กับ 3 หรือ 2 กับ 4

2. Waltz หรือ จังหวะวอลซ์

จังหวะวอลซ์นั้น คือ จังหวะที่ในหนึ่งห้องดนตรี จะมีความยาวของจังหวะทั้งหมดได้เพียง 3 จังหวะ หรือหมายความว่าในห้องดนตรีนั้น มีโน้ตตัวดำได้เพียง 3 ตัว นั่นคือ จังหวะประเภทนี้ จะไม่มี โน้ตตัวกลมได้เลย การเคาะจังหวะของเพลงที่มีจังหวะประเภทนี้ คือ1.........2..........3……...1……...2……….3

   การเน้นจังหวะจะเน้นที่จังหวะที่ 1 เพียงจังหวะเดียว ตัวอย่างเพลงที่มีลักษณะเป็นเพลงจังหวะวอลซ์ (Waltz)

·       นาทีที่ยิ่งใหญ่ (คริสตินา อากิล่า)

·       หน้าต่างบานนั้น ( เจ เจตริน วัฒนะสิน

·       ไม้วิเศษ (มอส ปฏิภาณ ปฐวีกานต์)

 ตัวอย่าง การเคาะจังหวะ Waltz กับเพลง

เพลง นาทีที่ยิ่งใหญ่ (คริสตินา อากิล่า)

บน  ทาง      เดิน       อาจไม่มีทาง...ไห... น       มุ่งไป      ดวง      ดาว......

1.2.3   1.2.3    1.2.3      1..2..3.. 1..2..3        1.2.3      1.2.3     1.2.3....

           สําหรับเนื้อหาที่กล่าวมาเป็นการเตรียมความพร้อมทักษะเรื่องจังหวะพื้นฐานในการร้องเพลงเบื้องต้น การฝึกจังหวะที่ดีนั้นเราจะต้องฝึกเคาะจังหวะให้แม่นยําเสียก่อน การฝึกเคาะจังหวะง่ายๆ สําหรับการร้องเพลงคือ ให้ลองฟังเพลง แล้วจับจังหวะของเพลงนั้นๆ ดู โดยอาศัยเครื่องดนตรีบอก จังหวะชิ้นที่เด่น ๆ ในเพลง เช่น กลอง ให้เราลองเคาะจังหวะ ตามจังหวะกลองนั้นไปตลอดทั้งเพ หมั่นฝึกฝนแบบนี้ ไปเรื่อย ๆ เป็นต้น

       สําหรับปัญหาที่เกิดขึ้นหลายๆครั้งสําหรับผู้ที่มีทักษะเรื่องจังหวะ บกพร่องไปนั้น อาจทำให้ขณะ ที่เราร้องเพลง เราจะร้องคร่อมจังหวะ หรือร้องผิดส่วนของเพลง ทำให้อรรถรสของเพลงนั้นเสียไป หรือ อาจทำให้เราร้องช้าหรือเร็วกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้เลยสําหรับการฝึกฝนเรื่องจังหวะ

การอ่านจังหวะโน้ต

    การอ่านจังหวะโน้ตถือว่าเป็นการฝึกเพื่อให้สามารถปฏิบัติได้จริงหลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับจังหวะ และค่าความยาวของตัวโน้ตต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเรียนรู้และการฝึกนับจังหวะที่ถูกต้อง ถึงแม้ว่าใน ความเป็นจริงแล้ว การร้องเพลงโดยทั่วไป เราอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องรู้โน้ตทุกตัว ว่ามีลักษณะของตัว โน้ตเป็นอย่างไร แต่เรายังคงต้องอาศัยจังหวะในการร้องเพลงอยู่ ดังนั้น การอ่านจังหวะโน้ต โดยการฝึก ตบจังหวะไปด้วย จะทำให้เราได้เรียนรู้ลักษณะของจังหวะที่แตกต่างกันออกไป ความยาวของจังหวะ และ การเน้นของจังหวะต่างๆ

ตัวอย่าง การอ่านโน้ต

หมายเหตุ  การตบจังหวะให้ตบมือ หรือให้จังหวะ ตรงที่เป็นจังหวะตัวหนา

กิจกรรมที่ 2.21  ให้ผู้เรียนฝึกตบจังหวะให้มีความสั้นยาวที่แตกต่างกันตามสัญลักษณ์ของโน้ต หรือ Time Signature  

                   ดังต่อไปนี้

        ข้อเสนอแนะ

        การปรบจังหวะของโน้ตตัวกลม เราจะปรบที่จังหวะที่ 1 จังหวะเดียว จังหวะที่เหลือให้เรานับให้ครบการปรบจังหวะของโน้ตตัวขาว เราจะปรบที่จังหวะที่ 1 จังหวะเดียว จังหวะที่เหลือให้เรานับให้ครบการปรบจังหวะของโน้ตตัวดำ เราจะปรบมันทุกครั้งที่เราเจอการปรบจังหวะของโน้ตตัวเขบ็ตหนึ่งชั้น เราจะปรบมัน ทั้งจังหวะที่ 1 และจังหวะ และลองสังเกตตัวอย่างการปรับจังหวะได้จากวิดีทัศน์ประกอบชุดการเรียน

       นอกจากนั้นให้ผู้เรียนฝึกเขียนสัญลักษณ์โน้ต เพื่อตรวจสอบความเข้าใจในเรื่อง Time Signature และการอ่านจังหวะ แล้วฝึกตบจังหวะตามโน้ตที่ตนเองเขียน

กิจกรรมที่ 2.22  ให้ผู้เรียนเคาะจังหวะตามเพลงในบทเรียนทุกเพลง แล้วหาว่า คําใดอยู่ที่จังหวะตกและจังหวะยกบ้าง

      สรุป-ข้อสังเกต

      คําที่ขีดเส้นใต้ คือจังหวะตก

      แต่ในคําบางคําอาจมีความยาวหลายจังหวะ ดังนั้น ในคํานั้นอาจมีทั้งจังหวะตก และ จังหวะยก เช่น ตอนเปิดคําเป็นจังหวะยก แต่ตอนปิดคําเป็นจังหวะตก จะทำสัญลักษณ์ ดังนี้ เช่น หลัง เป็นต้น สําหรับเพลงที่กำหนดให้ สามารถขีดเครื่องหมายคําที่เป็นจังหวะตกได้ดังนี้

เพลงที่ 1 สิ่งสําคัญ ศิลปิน : เอ็นโดรฟิน)

เพลงที่ 2 เพียงแค่ใจเรารักกัน (ศิลปิน : 2become1)

เพลงที่ 3 Music Lover ศิลปิน : มาช่า วัฒนพานิช)

เพลงที่ 4 เล่นของสูง (ศิลปิน : บิ๊กแอส)

เพลงที่ 5 ช่างไม่รู้เลย (ศิลปิน : พีซเมคเกอร์)

เพลงที่ 6 คนมันรัก (ศิลปิน : ไอซ์ ศรันยู)

เพลงที่ 7 ไม่อาจเปลี่ยนใจ ศิลปิน : (เจมส์ เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์)