การร้องเพลงเบื่องต้น

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เทคนิคพัฒนาการร้องเพลง

       การเรียนรู้ถึงองค์ประกอบและปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และคว จะช่วยให้การแสดงออกในการร้องเพลงสมบูรณ์แบบที่สุดในการร้องเพลงบนเวทีจริง รวมทั้งการปฏิบัติตนเพื่อให้เป็น นักร้องที่ดี ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อที่ต้องเรียนรู้ดังต่อไปนี้

       - การแสดงสีหน้า ท่าทางและอารมณ์ในการร้องเพลง

       - การยืน และการเดินและการเคลื่อนไหวขณะร้องเพลง

       - ไมโครโฟนกับการร้องเพลง

       - เวทีและองค์ประกอบของเวที

       - Isolation

       - การแสดงออกบนเวที

       - คุณสมบัติของนักร้องที่ดี

การแสดงสีหน้า ท่าทางและอารมณ์ในการร้องเพลง

       การแสดงออกในการร้องเพลงแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ การแสดงออกทางสีหน้า และการแสดงท่าทาง        (Body Language) การแสดงสีหน้า ท่าทางรวมถึงอารมณ์ในการร้องเพลงเป็นสิ่งที่สําคัญอีกอย่างหนึ่งในการแสดงออกในการร้องเพลงเพื่อการส่งความหมายในเพลงให้ผู้ฟังรู้สึกถึงอารมณ์ของเพลงให้ได้มากที่สุดนักร้องที่ดีต้องทําให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ร่วมไปกับเพลง ดังนั้นนักร้องจะต้องออกเสียงและแสดงออกทาง สีหน้าท่าทางให้ตรงกับความหมายของเพลงเพลงนั้น

       เรื่องอารมณ์กับการร้องเพลง นักร้องจะต้องทําความเข้าใจความหมายของเพลงก่อน การร้องเพลงให้เกิดอารมณ์นักร้องควรจะคิดถึงเรื่องราวในเพลงเหมือนตัวนักร้องเองเป็นตัวละครตัวหนึ่งในเพลงนั้น เมื่อตัวนักร้องเองเกิดอารมณ์ในเพลง การแสดงออกทางสีหน้าจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ จากที่ได้ศึกษามา แล้วว่าเพลงแบ่งตามอารมณ์เพลงออกเป็น 2 ประเภท คือ เพลงที่มีความหมายเป็นบวก ซึ่งจะให้ความ รู้สึกสดชื่น สมหวัง มีความสุขสนุกสนาน กับเพลงที่มีเนื้อหาเป็นลบที่ให้ความรู้สึกเหงา เศร้าหรือเจ็บ ปวด ฉะนั้นการแสดงออกทางสีหน้าเมื่อร้องเพลง 2 ประเภทนี้จะต่างกัน อย่างไรก็ตามนักร้องที่ดีควร ร้องเพลงได้ทุกอารมณ์นักร้องแต่ละคนมีวิธีการแสดงสีหน้าและท่าทางต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น

1. เพศ

       เพศชายและเพศหญิงมีการแสดงออกทางอารมณ์ต่างกัน กล่าวคือในชีวิตจริง เมื่อเวลาร้องไห้

โกรธ งอนหรือสุข เพศชายและหญิงจะแสดงออกต่างกัน

2. ลักษณะนิสัยและบุคคลิก

       แต่ละคนย่อมมีนิสัยและบุคคลิกที่ต่างกัน บางคนอาจมีนิสัยอ่อนโยนอ่อนไหว ซึ่งจะเกิด อารมณ์ความรู้สึกกับเรื่องราวต่างๆง่ายกว่าคนอื่นๆ บางคนอาจมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง เมื่อเวลาทํา อะไรจะแสดงออกถึงความมั่นใจกว่าคนอื่นๆ นิสัยที่ต่างกันจะมีผลต่อการแสดงออกที่ต่างกัน

3. ประสบการณ์และเรื่องราวในชีวิตของแต่ละคน

       ทุกคนจะประสบเรื่องราวในชีวิตแตกต่างกัน เช่น มีประสบการณ์เกี่ยวกับความรักต่างกัน เด็ก วัยรุ่นอาจมีความรักในรูปแบบที่ไม่เหมือนกับผู้ใหญ่ที่แต่งงานแล้ว หรือคนที่ยังไม่มีลูกอาจไม่เข้าใจ ความรักที่มีต่อลูกเท่ากับผู้เป็นพ่อผู้เป็นแม่ ดังนั้นการที่แต่ละบุคคลได้ประสบกับเหตุการณ์ หรือมี ประสบการณ์ในเรื่องต่างๆไม่เหมือนกัน จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้การรับรู้อารมณ์ และการจัดการกับ อารมณ์ ในการเผชิญกับสถานการณ์นั้นๆต่างกัน หรือแม้กระทั่งได้ประสบกับเหตุการณ์แบบเดียวกัน แต่ การรับรู้ของแต่ละบุคคลก็แตกต่างกันออกไปด้วย

       ดังนั้น จะเห็นได้ว่ามีองค์ประกอบหลายเรื่องมาก จึงเป็นปัจจัยที่ทําให้การแสดงอารมณ์ หรื อการรับรู้อารมณ์ในแต่ละบุคคลแตกต่างกันออกไป การจะฝึกเป็นนักร้องที่ดีจะต้องเป็นคนที่รู้จักอารมณ์ และรูปแบบการแสดงอารมณ์ของตนเองเป็นอย่างดี (ลองสังเกตนักร้องในปัจจุบันที่เพลงของพวกเขา กินใจผู้ฟังนั่นเป็นเพราะเขาสามารถจะถ่ายทอดอารมณ์ของถ้อยคํา หรือเพลงนั้นๆ ออกมาให้เราฟัง ได้อย่างสมจริง) เพราะสิ่งนี้จะเป็นตัวช่วยให้เราสามารถถ่ายทอดบทเพลงที่ร้องออกมาได้อย่างดี และ เข้าถึงอารมณ์ และทําให้เรากลายเป็นนักร้องที่ดีต่อไปในอนาคตได้

กิจกรรมที่ 4.1  ให้ผู้เรียนศึกษาตนเองในประเด็นต่างๆดังต่อไปนี้ แล้วอธิบายมาพอสังเขป

               1) ลักษณะนิสัยของตัวเองโดยทั่วไป

               2) การแสดงออกทางอารมณ์ของตัวเองในเหตุการณ์ต่อไปนี้

      เวลาร้องไห้เสียใจเรื่องความรัก

      เวลาโกรธ

      เวลาทะเลาะกับเพื่อน

      เวลาดีใจ

      เวลาที่กําลังมีความรัก     

การแสดงออกทางสีหน้า

       การแสดงออกทางสีหน้าเป็นสิ่งที่สําคัญในการสื่อสารทางอารมณ์ สายตาเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถสื่อ อารมณ์ความรู้สึกได้ ในชีวิตจริงเวลาที่เราพูดกับใครสักคน ผู้พูดจะมองตาผู้ฟังเพื่อเป็นการส่งข้อความ ถึงผู้ฟัง นอกจากคําพูดแล้วผู้ฟังยังสามารถเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้พูดได้โดยผ่านทางสายตา บางครั้งการมองผู้ฟังยังแสดงถึงความจริงใจต่อผู้ฟังอีกด้วย นักร้องจึงจําเป็นต้องมองผู้ฟังและถ่ายทอด อารมณ์ผ่านสายตา หรือที่เรียกว่า “การติดต่อสื่อสารทางสายตา” (Eyes Contact) การมองจึงเป็นสิ่ง สําคัญที่ต้องได้รับการฝึกฝน

วิธีฝึกการมอง (Eyes Contact)

       อันดับแรกยืนหน้ากระจกแล้วมองตาตัวเองในกระจก และคิดว่าในคนกระจกเป็นบุคคลที่เรากําลัง พูดอยู่ด้วย พูดเนื้อเพลงกับดนตรี โดยคิดถึงความหมายของทุกคําพูด เวลาที่พูดให้สังเกตสายตาและ สีหน้าตัวเองในกระจกให้แสดงอารมณ์ออกมาทางสายตาและสีหน้าตามความหมายของเพลงๆนั้นให้มากที่สุด พยายามอย่าหลบสายตาตัวเอง ปฏิบัติซ้ํา 2-3 ครั้ง จากนั้นจึงร้องเป็นเพลง

       นอกจากนั้น ในแต่ละวรรคหรือประโยคของเพลง มักจะมีคําที่มีความหมายเป็นใจความสําคัญอยู่ ซึ่งคําเหล่านั้นในการร้องเพลง เรามักจะเน้นให้มันเด่นขึ้นมา ซึ่งนอกจากการใช้วิธีการร้องหรือเทคนิคใน การช่วยส่งอารมณ์ให้กับคําที่เน้นนั้นแล้ว เรายังสามารถที่จะใช้สายตา หรือสีหน้าในการช่วยเน้นให้คํา นั้นดูเด่นชัดขึ้นด้วย เช่น คําในตัวอย่างดังต่อไปนี้

       Music Lover (ศิลปิน : มาช่า วัฒนพานิช)

ลองเก็บตัวเงียบ เหนื่อยมามาก ลองอยู่เงียบๆ อยู่ดูบ้าง

       ไม่สนใจผู้ใด ไม่ต้องการข้องเกี่ยว

       ไม่ออกไปเที่ยว เบื่อคนมาก พอเจอะเธอเข้า ก็ทํายาก

       ทั้งที่เคยตั้งใจ พักหัวใจช่วงหนึ่ง

       ช่วยไม่ได้ช่วยไม่ได้อีกแล้วใจ ก็เธอดึงดูดขนานนี้

       ยิ่งได้ใกล้เธอคนดี ยิ่งมีใจให้เธอมากทุกวัน

       รักเธอแล้วใจก็มีเสียงเพลง ให้ใจครื้นเครงบรรเลงล่องไป

       ปลุกฉันขึ้นมาใหม่ หัวใจเต้นแรงเหมือนเก่า

       เหมือนใจเต้นรําอยู่กลางแสงไฟ ไม่มัวมืดมน ให้ฟลอร์ของเรา

       จากนี้แค่มีเรา ทุกคืนไม่เคยเงียบเหงา มีเธอเป็นเสียงเพลงในใจ

       ทําไมใจเต้น บอกเธอใช่ คนอื่นว่าไม่ ก็ว่าใช่

       เพราะว่าใจฉันเอง รักเสียงเพลงของเธอ

กิจกรรมที่ 4.2  ให้ผู้เรียนขีดเส้นใต้คําที่สามารถแสดงอารมณ์ทางสีหน้าจากเพลงที่กําหนดให้

ตัวอย่างคที่สามารถแสดงอารมณ์ทางสีหน้ากองแกงGuppleme

1) เพลงสิ่งสําคัญ (ศิลปิน : เอ็นโดฟิน)

2) เพลงช่างไม่รู้เลย (ศิลปิน: พีซเมกเกอร์)

กิจกรรมที่ 4.3   ให้ผู้เรียนพูดและฝึกแสดงสีหน้าตามความหมายของคําและประโยคต่อไปนี้หน้ากระจก

1) เสียใจ

2) อบอุ่น

3) หนาว

4) สบาย

5) อิจฉา

6) ฉันรักเธอ

7) หลอกกันทําไม

 8) อย่าทิ้งฉันไปได้มั้ย

9) รักกันบ้างรึเปล่า

10) ฉันจะอยู่เคียงข้างเธอเสมอ

11) เธอคือที่สุดในใจฉัน

12) พ่อ/แม่รักลูกนะ

13) ผม/หนูก็รักแม่ครับ/ค่ะ

14) หลับให้สบายนะคนดี

15) ฉันจะเก็บความทรงจําดีๆ นี้ไว้ตลอดไป

การแสดงท่าทาง (Body Language)

       การร้องเพลงนอกจากจะสื่อความหมายของเพลงผ่านสายตาแล้ว ยังสามารถสื่อสารโดยการ แสดงท่าทางหรือภาษากาย (Body Language) ได้อีกด้วย เพราะอย่าลืมว่าการสื่อสารของมนุษย์เรา ประกอบไปด้วยทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา ซึ่งวัจนภาษาคือภาษาที่เราพูดออกมา ส่วนอวัจนภาษาคือ อากัปกิริยา ท่าทางการแสดงออกต่างๆ ที่มาช่วยทําให้การสื่อสารสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ดังนั้น การที่เรา ฝึกฝนการแสดงออกด้วยท่าทาง จะทําให้การสื่อสารในการร้องเพลงสมบูรณ์ขึ้น และที่สําคัญการฝึก แสดงท่าทางยังช่วยสร้างความมั่นใจให้กับการแสดงออกของเราด้วย หากเราสังเกตดูจะพบว่ามีหลายคน และหลายๆ ครั้งเวลาร้องเพลง ผู้ร้องมักจะรู้สึกว่าเหมือนตนเองมีอวัยวะเกินกว่าปกติ มือไม้ขาแขน ไม่รู้ จะไปเก็บไว้ตรงไหน หรือไม่รู้จะทําอะไรกับอวัยวะเหล่านั้นดี เมื่อเป็นเช่นนั้น มันกลับกลายเป็นสิ่งที่มา ทําลายบุคคลิกภาพของผู้ร้องไปในที่สุด ดังนั้น เราจึงต้องฝึกฝนการแสดงออกท่าทางด้วย

       ข้อสังเกตอย่างหนึ่งสําหรับการแสดงท่าทางนั้นที่ต้องจําไว้นั้นก็คือ เพลงแต่ละเพลงประกอบด้วย คําต่างๆ กันออกไป นักร้องไม่สามารถแสดงท่าทางของทุกคําได้ คําที่มีอยู่ในเพลงทั่วไปที่สามารถ แสดงท่าทางได้ เช่น ฉัน เธอ รัก ไม่ ใช่ ไป ท้องฟ้า พื้นดิน เก็บไว้ อดทน ไกล เป็นต้น คําที่ไม่สามารถ แสดงท่าทางได้ เช่น พ่อ แม่ เก้าอี้ เตียง เป็นต้น

       การแสดงท่าทาง คือการใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายในการบอกความหมาย เวลาที่เราพูด อวัยวะส่วนใหญ่ที่ใช้ประกอบในการสื่อสารได้แก่ ศีรษะและมือ สิ่งที่สําคัญที่ต้องคํานึงถึงมือใช้ศีรษะ และมือในการสื่อความหมายคือ

       1. แสดงท่าทางให้ตรงกับความหมาย

       เพื่อให้การสื่อความหมายถูกต้อง ศีรษะและมือที่ใช้ต้องสัมพันธ์กับความหมายของคํา เช่น เมื่อ ร้องคําว่า “ไม่” ให้ส่ายหน้า เมื่อร้องคําว่า “เธอ” ให้ผายมือไปที่ผู้ฟัง เป็นต้น

       2. แสดงท่าทางให้เหมาะสมกับเพลง

       ทั้งเพลงเร็วและเพลงช้า หรือเพลงประเภท Pop R&B (Rhythm and Blue) หรือ Rock ท่าทาง การร้องเพลงอาจแตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม

3. แสดงท่าทางในปริมาณที่พอดี

       การใช้ศีรษะและมือต้องไม่มากไม่น้อยจนเกินไป ในเพลงหนึ่งเพลงไม่จําเป็นต้องใช้ศีรษะและมือในการสื่อความหมายทุกคํา

       4. แสดงท่าทางให้สวยงาม

       ทุกครั้งที่ใช้ศีรษะและมือต้องคํานึงถึงความสวยงาม เช่น การผายมือ หรือส่ายหน้า เมื่อทําแล้วต้องสวยงามน่ามอง เป็นต้น

·       การใช้ศีรษะ

       การใช้ศีรษะในการสื่อความหมายสามารถใช้ได้ 2 วิธีคือ

       1. ส่ายหน้า สามารถใช้ในคําต่างๆ ได้ เช่น ไม่ ไม่เป็นไร อย่า ไม่รู้ ไม่รัก ไม่เข้าใจ ไม่เห็น ไม่ได้ ไม่จริง ไม่ดี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีคําอื่นๆ อีกมากมายที่สามารถสายหน้าในการแสดง คําที่ขีดเส้นใต้ในประโยคตัวอย่างต่อไปนี้เป็นคําที่สามารถแสดงออกโดยการสายหน้าได้อารมณ์ได้

       - ไม่เคยรักกันเลยใช่ไหม

       - อย่าทําแบบนี้อีกเลย

       - ที่ผ่านมาเธอไม่แคร์กันบ้างเลย

       ไม่มีอีกแล้วฉันเข้าใจ

       - วันเวลาจะผ่านไป ฉันไม่เสียใจ

       จะเห็นได้ว่าคําตัวอย่างข้างต้นเป็นคําที่มีความหมายเป็นลบ ในกรณีที่ในประโยคมีคําที่ความหมายเป็นลบหลายคํา ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมขึ้นอยู่กับเพลงแต่ละเพลงซึ่งต้องไม่มากจนเกินไป

       2. พยักหน้า สามารถใช้ในคําต่างๆ ได้ เช่น ใช่ เข้าใจ กลับมา เสียใจ เก็บ ขอบคุณ บอก อยาก เป็น เชื่อ รู้ จริง รัก เป็นต้น คําที่ขีดเส้นใต้ในประโยคตัวอย่างต่อไปนี้เป็นคําที่สามารถ พยักหน้าเพื่อสื่อความหมายได้

       - อยากบอกให้รู้ อยากจะบอกเอาไว้

       - บอกกันสักคําว่าอะไรที่ใจเธอต้องการ

       - ฉันมั่นใจ สิ่งที่ทําลงไปก็เพื่อเธอคนเดียว

       - ฉันสัญญาว่าจะรักเธอตลอดไป

       - มีเค่เธอเท่านั้นที่ฉันจริงใจ

       คําเหล่านี้เป็นคําที่มีความหมายเป็นบวก บางครั้งในประโยคเดียวกันอาจมีคําหลายคําที่สามารถพยักหน้าได้ เช่น ประโยคตัวอย่างแรก อาจพยักหน้าได้ดังตัวอย่างหรือ “อยากบอกให้รู้ อยาก จะบอกเอาไว้” หรือ “อยากบอกให้รู้ อยากจะบอกเอาไว้” เป็นต้น

·       การใช้มือ

       การใช้มือจะใช้มือข้างที่ไม่ได้ถือไมค์ ในกรณีที่ใช้ “Headset” หรือขาตั้งไมค์ อาจใช้ทั้งสองมือ ก็ได้ตามความเหมาะสม การใช้มือในการร้องเพลงต้องใช้ให้เหมาะสมเช่นเดียวกับการใช้ศีรษะ คือ ใช้ให้ตรงกับความหมายของคํา ใช้ในปริมาณที่พอดี ใช้ให้เหมาะสมกับแนวเพลง ใช้มือให้สวยงาม อันดับแรกนักร้องควรเรียนรู้องค์ประกอบของมือและแขน ซึ่งมือและแขนประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ

       - สันมือหรือแขนด้านบน

       - สันมือหรือแขนด้านล่าง

       - นิ้วมือ

       ในบางท่อนของเพลงเมื่อไม่ใช้มือและแขน ให้ปล่อยมือไว้ข้างลำตัวสบายๆโดยให้นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนางและนิ้วก้อยติดกัน หรือกํามือหลวมๆ ดังรูป

รูปท่ายืนกำมือหลวมๆ ข้างลำตัว 

เมื่อเวลาที่จะใช้มือและแขนไปในทิศทางใดต้องคำนึงถึงความสวยงาม โดยให้ยกสันมือและแขน ด้านบนก่อน โดยนิ้วมือทั้ง 4 นิ้วยังคงติดกัน ซึ่งท่าพื้นฐานในการใช้มือและแขนมีดังนี้

การผายมือออก

การผายมือออกสามารถใช้กับคำต่าง ๆ เช่น มากมาย หลายคน คนอื่น ตลอดไป ใครต่อใคร,เดินจากไป เป็นต้น

ยกมือขึ้นไปข้างหน้า
การยกมือขึ้นไปข้างหน้าสามารถใช้กับ
คำต่าง ๆ เช่น เธอ ข้างหน้า ใจเธอ ให้ก้าวไปเป็นต้น                       





รูปการผายมือ 

นอกจากนี้ยังมีท่าทางการใช้มือและแขนอื่น ๆ ซึ่งสื่อความหมายของคำต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้




ฉัน หรือ หัวใจ 





เก็บไว้ หรือ อดทน 




ท้องฟ้า





พื้นดิน 





ไม่ หรือ อย่า 

          อย่างไรก็ตามนักร้องแต่ละคนอาจมีวิธีการใช้มือและแขนต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับบุคลิกของแต่ละคน

ผู้เรียนควรฝึกทำท่าทางต่าง ๆ พร้อมทั้งแสดงสีหน้า หน้ากระจกเพื่อสังเกตท่าทางของตนเอง และปฏิบัติซ้ำ ๆ เพื่อเกิดความเคยชิน

กิจกรรมที่ 4.4 1) ให้ผู้เรียนขีดเส้นใต้คำที่สามารถแสดงการใช้มือและแขนได้จากเพลงที่กำหนด

                ตัวอย่างคำที่สามารถแสดงการใช้มือและแขนได้

1)      เพลง “ไม่อาจเปลี่ยนใจ” (ศิลปิน : เจมส์ เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์)

2)      เพลง “คนมันรัก” (ศิลปิน : ไอซ์ ศรันยู )

สรุป-ข้อสังเกต

การแสดงท่าทางทั้งการแสดงสีหน้า และการใช้มือต้องใช้ควบคู่กันไปตามความเหมาะสม การแสดงคอนเสิร์ตและการร้องเพลงโชว์ในโอกาสต่าง ๆ อาจมีการแสดงท่าทางที่ต่างกันออกไป จุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดในการแสดงออกคือ สื่อความหมายเพลงและให้ผู้ชมเกิดความประทับใจมากที่สุด

การยืน การเดิน และการเคลื่อนไหวขณะร้องเพลง

การเป็นนักร้องที่ดีนอกจากจะต้องมีน้ำเสียงที่ดีและร้องเพลงไพเราแล้วยังจะต้องมีท่าทาง การเคลื่อนไหวที่น่าดู ผู้ชมมองแล้วจะต้องเกิดความประทับใจทั้งเสียง บุคลิกภาพและการแสดงออกของ นักร้อง การแสดงออกนอกจากจะเป็นการแสดงออกทางสีหน้าดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังรวมถึงการยืน การเดิน ตลอดจนการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ขณะร้องเพลงอีกด้วย โดยมีสิ่งที่ควรเรียนรู้ดังนี้

การยืน

การยืนที่มั่นคงและถูกต้องมีผลต่อการร้องเพลงที่ดี นอกจากนี้ท่าทางการยืนยังแสดงถึงบุคลิก ของนักร้องอีกด้วย ก่อนที่จะฝึกร้องเพลงทุกครั้ง ควรตรวจสอบท่ายืนให้ถูกต้องก่อน วิธีการยืนที่มั่นคง และถูกต้องในเวลาฝึกร้องเพลงควรมีลักาณะดังนี้

1. ยืนให้ความกว้างของเท้าเท่ากับไหล่

2. แยกปลายเท้าออก 30 องศา

3. ทิ้งน้ำหนักตัวลงที่ปลายเท้า ให้ตัวไปข้างหน้า ไม่เอนตัวหรือทิ้งตัวไปด้านหลังเพราะจะทําให้ เสียการทรงตัวซึ่งมีผลในการร้องเพลงและทำให้เสียบุคลิกไม่น่ามอง

4. หลังตรง บางคนยืนหลังไม่ตรงทำให้เสียบุคลิกเมื่อบนเวที วิธีทำให้หลังตรงคือ ยืดตัวขึ้น หมุน ไหล่ทั้งสองข้างไปด้านหลังแล้วกดไหล่ลงแล้วลอกไหล่ไว้ โดยไม่เกร็ง

5. ศรีษะตรง ให้คางชี้ลงไม่ก้มหรือเงยหน้า ตามองไปข้างหน้า 6. วางมือไว้ข้างลำตัว อาจกำมือหลวมๆ เพื่อความสวยงาม

ที่กล่าวมาเป็นท่ายืนพื้นฐานที่นักร้องสามารถโยกตัวหรือเคลื่อนไหวไปทิศทางต่าง ๆได้โดยไม่เสียการทรงตัวและเป็นการยืนที่สง่างาม เวลาฝึกควรยืนหน้ากระจกเพื่อสังเกตตัวเองให้ยืนในท่าที่ถูกต้อง ตลอดเวลา แต่เวลาร้องเพลงบนเวทีจริงเพื่อความสวยงาม ผู้ชายอาจยืนแบบพักเข่าข้างใดข้างหนึ่ง และ ทิ้งน้ำหนักตัวไปอีกข้างหนึ่ง ผู้หญิงอาจยืนในท่าโพส คือก้าวท้าวใดทางหนึ่งมาข้างหน้าโดยความกว้างของเท้ายังคงเท่ากับไหล่และทิ้งน้ำหนักตัวที่เท้าหลัง การยืนในท่าโพสทำให้เกิดความสวยงามมองเห็น สรีระของผู้หญิงได้ชัดเจนขึ้น เนื่องจากผู้หญิงสรีระที่มีส่วนโค้ง นูน เช่นเอวเล็กและมีสะโพกผายออก

การเดิน

วิธีการฝึกเดินให้สวยงาม ให้เดินเป็นเส้นตรงอาจเดินตามเส้นตรงตามพื้นห้อง เตรียมการเดินโดย ยืนในท่าที่ถูกต้องโดยให้เส้นอยู่ตรงกลางระหว่างเท้าทั้งสองข้าง ฝึกเดินช้า ๆ ให้ตัวตรง สบายๆ ไม่เกร็งแกว่ง แขนให้สวยงามตามธรรมชาติ ศีรษะตรงและตามองไปข้างหน้า ท่าทางการเดินของผู้หญิงและผู้ชายมี ความต่างกัน ผู้ชายให้เดินคร่อมเส้น ผู้หญิงให้เดินทับเส้นเพื่อโชว์สรีระของผู้หญิงให้ชัดเจนขึ้น การฝึกเดินควรฝึกเดินหน้ากระจกเช่นกัน เพื่อสังเกตตัวเองให้เดินให้สวยงามในท่าทางที่ถูกต้อง อยู่เสมอ เมื่อฝึกคล่องแล้ว ให้ฝึกเดินพร้อมกับเพลงทั้งเพลงช้าและเพลงเร็ว ในการร้องเพลงบนเวที นักร้องจะต้องแสดงออกทั้งสีหน้า ท่าทาง การยืนและการเดินประกอบกัน ซึ่งในแต่ละเพลงจะมี การเคลื่อนไหวที่ต่างกันตามความเหมาะสมของเพลง

กิจกรรมที่ 4.5  ให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติดังนี้

               1) ฝึกยืนหน้ากระจก

               2) ฝึกเดินดังต่อไปนี้

                  - เดินโดยวางหนังสือบนหัวไม่ให้หนังสือหล่น

                        - เดินตามจังหวะเพลง Music Lover โดยเดินจากหลังห้องมาหน้าห้องแล้ว

                           หมุนตัวเดินกลับมาหลังห้อง ไปมาจนคล่อง จากนั้นเดินรอบห้องตาม จังหวะเพลงโดยฝึกหยุดยืนโพสท่าตามมุมห้อง

คำอธิบาย-ข้อสังเกต

ผู้เรียนควรเริ่มจากการเดินช้า ๆ ให้สง่าที่สุด เมื่อสามารถทรงตัวได้ดีแล้ว ให้ฝึกเดินเร็วขึ้น และพยายามเดินให้ดูดี สวยงามเป็นธรรมชาติที่สุด

ไมโครโฟนกับการร้องเพลง

โดยทั่วไประดับความดังของเสียงคนเรามีขีดจำกัด เมื่อนักร้องต้องร้องเพลงที่มีผู้ฟังมากหรือต้องร้องกับดนตรีหรือกับวงดนตรี เราไม่สามารถเปล่งเสียงให้ดังเท่ากับเสียงดนตรีได้ ไมโครโฟนจึงเป็นอุปกรณ์เสริมที่ช่วยขยายเสียงของเราให้มีความดังขึ้น

ไมโครโฟนเป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นคลื่นไฟฟ้าซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญคือแผ่นไดอะแฟรม ซึ่งจะอยู่ภายในบริเวณหัวไมโครโฟน ไมโครโฟนมีหลักการทำงานคือ เมื่อเสียงผ่าน เข้าไปจะทำให้แผ่นไดอะแฟรมสั่นสะเทือนและทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าขึ้น จากนั้นคลื่นไฟฟ้าจะถูกส่ง เข้าไปยังเครื่องขยายเสียงหรือ “ลำโพง” เพื่อขยายให้แรงขึ้น และลำโพงจะเปลี่ยนคลื่นไฟฟ้าให้กลับ เป็นเสียงของเราอีกที ก่อนที่จะเรียนรู้ถึงการใช้ไมโครโฟนนักร้องควรจะรู้จักประเภทของไมโครโฟน

ประเภทของไมโครโฟน

ไมโครโฟนมีหลากหลายชนิด ซึ่งมีการออกแบบที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นสี ขนาด น้ำหนัก ความคงทน รวมถึงราคาด้วย นักร้องควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานและสถานที่ไม่ว่าจะเป็นเวทีกลางแจ้ง เวทีในฮอล์หรือในห้องบันทึกเสียงก็ตาม เพื่อช่วยให้เสียงที่ออกมามีคุณภาพดีเหมือนจริงและถ่ายทอด อารมณ์ความรู้สึกทุกถ้อยคำออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราสามารถแยกประเภทไมโครโฟนได้ตาม ลักษณะ คือ ตามวิธีการแปลงสัญญาณหรือตามการออกแบบ (Method of Transducer or Design Type) และแยกตามการใช้งาน (Functional Design) โดยมีรายละเอียดของไมโครโฟนแต่ละประเภทดังนี้

  ไมโครโฟนที่แยกตามวิธีการแปลงสัญญาณหรือตามการออกแบบ ไมโครโฟนเมื่อแบ่งตามการแปลงสัญญาณหรือตามการออกแบบสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ชนิดด้วยกันคือ

1. ไดนามิก ไมโครโฟน (Dynamic Microphone)

ไดนามิกไมโครโฟนมีคุณภาพเสียงดี มีความแข็งแรงทนต่อสภาพแสงแดดได้และการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้ดี ราคาไม่แพงจึงเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน

2. คอนเดนเซอร์ ไมโครโฟน (Condenser Microphone)

คอนเดนเซอร์ไมโครโฟน มีคุณภาพเสียงดีมาก มีขนาดเล็กและมีน้ำหนักเบา แต่มีราคาสูง นิยมใช้ในห้องบันทึกเสียงและใช้ขยายเสียงเครื่องดนตรีประเภทเคาะจังหวะ (Percussion) แต่มีความ ทนทานต่ำ ต้องระวังไม่ให้เกิดการกระแทกอย่างแรงและต้องเก็บในที่ไม่มีความชื้น

3. อีเลคเตรด คอนเดนเซอร์ไมโครโฟน (Electret Condenser Microphone)

อีเลคเตรดคอนเดนเซอร์ไมโครโฟน มักใช้ในห้องบันทึกเสียงและในระบบเสียงทั่วไป ไมโครโฟน ชนิดนี้ใช้ส่วนประกอบของเทคโนโลยีที่ราคาไม่แพง จึงเป็นไมโครโฟนที่ถูกผลิตขึ้นใช้กันทั่วไป

4. ริบบอน ไมโครโฟน (Ribbon Microphone)

ริบบอนไมโครโฟนราคาแพง มีคุณภาพดีมาก มีความไวต่อเสียงมาก สามารถรับเสียงเบาๆได้เช่น เสียงลมหรือเสียงลมหายใจ แต่ไม่คงทนจึงไม่ค่อยนิยมใช้กันในปัจจุบันส่วนใหญ่ริบบอน ไมโครโฟน จะใช้ในห้องส่งวิทยุโทรทัศน์และห้องบันทึกเสียง

   5. คาร์บอนไมโครโฟน (Carbon Microphone)

คาร์บอนไมโครโฟนเป็นไมโครโฟนที่ให้คุณภาพของเสียงไม่ดีแต่มีราคาถูกและทนทาน เป็นไมโครโฟนที่ใช้ในอดีต เช่น โทรศัพท์ ซึ่งในปัจจุบันโทรศัพท์ได้เปลี่ยนมาใช้ระบบไดนามิกแล้ว

   6. เพียโซ- อีเลคทริกไมโครโฟน (Piezo- Electric Microphone)

ไพอีโซ อีเลคทริกไมโครโฟนเป็นไมโครโฟนที่ใช้ในอดีต มีราคาถูกและคุณภาพเสียงไม่ ค่อยดีและเสียหายง่าย ไม่ทนต่อความร้อนและความชื้น จึงไม่นิยมใช้

จากคุณสมบัติของไมโครโฟนทั้ง 6 ชนิด จะเห็นได้ว่าแต่ละประเภทมีคุณสมบัติของเสียง ความคงทน ราคา และลักษณะการใช้งานต่างกัน ซึ่งในปัจจุบันนิยมใช้กันแค่ 2 ประเภท คือ ไดนามิกไมโครโฟนและ คอนเดนเซอร์ไมโครโฟน ซึ่งเราควรจะเลือกใช้ไมโครโฟนได้ถูกต้องตาม ลักษณะการใช้งาน

  ไมโครโฟนที่แยกตามการใช้งาน

ไมโครโฟนเมื่อแบ่งประเภทตามการใช้งานสามารถแบ่งได้หลายประเภท เช่น ไมโครโฟนตั้งโต๊ะสำหรับที่ประชุม ไมโครโฟนขนาดเล็กติดเสื้อต่าง ๆ เป็นต้น แต่สำหรับนักร้องแล้วไมโครโฟน สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภทดังนี้

1. ไมโครโฟนมือถือ (Hand-Held)

ไมโครโฟนแบบมือถือเป็นไมโครโฟนที่นิยมใช้กันทั่วไป มีให้เห็นกันบ่อยที่สุด ซึ่งจะมีหัวไมค์ทำหน้าที่รับเสียงและด้ามจับดังรูป ซึ่งไมโครโฟนมือถือสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1.1 ไมโครโฟนมือถือแบบมีสาย(Handheld Microphone)

   ไมโครโฟนประเภทนี้จะมีสายไมค์

ต่อจากส่วนท้ายของไมค์เข้ากับำโพง สายไมค์มี

ความยาวขึ้นอยู่กับการใช้งานและขนาดของเวที

ข้อเสียของไมโครโฟนมือถือแบบมีสายคือ นักร้องไม่

สามารถเคลื่อนไหวได้เต็มที่ สายไมค์อาจหลุดหรือ

พันกัน ทำให้เกิดความผิดพลาดในการแสดงได้

1.2 ไมโครโฟนมือถือแบบไร้สาย(Handheld Wireless Microphone)

ในปัจจุบันเทคโนโลยีพัฒนาไปมากสังเกตเห็นว่าในคอนเสิร์ตทั่วไปจะนิยมใช้
ไมโครโฟนไร้สายเนื่องจากสะดวกเองจากสะดวก นักร้องสามารถถือเดินไปมาและเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระบนเวทีโดยไม่ต้องกลัวว่าสายไมค์จะมีความยาวไม่พอไม่ต้องกลัวสะดุดสายไมค์หรือไม่ต้องกลัวว่าสายไมค์จะพันกัน ไมโครโฟนไร้สายมีหลักการทำงานคือเมื่อเสียงที่ผ่านเข้าไปในไมโครโฟนจะถูก เปลี่ยนให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าแล้วจะถูกส่งผ่านไปในอากาศโดยใช้ลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในอากาศเป็น ตัวนำสัญญาณ ไปถึงเครื่องรับสัญญาณที่เรียกว่า มิกเซอร์(Mixer) โดยไมโครโฟนจะถูกตั้งค่าคลื่น ความถี่ให้ตรงกับเครื่องรับสัญญาณ จากนั้นเครื่องรับสัญญาณจะเปลี่ยนสัญญาณให้เป็นเสียงเสนอคอนอีกครั้งหนึ่ง

ข้อดีของไมโครโฟนมือถือคือ นัก ร้องสามารถควบคุมเสียงให้เบาและดังได้โดยการดึงไมค์เข้าและออก นอกจากนี้ในบางคอนเสิร์ตอาจเห็นนักร้องใช้ไมโครโฟนมือถือร่วมกับขาตั้งไมค์(Stand Microphone)เพื่อความถนัดหรือเมื่อเวลาที่ นักร้องต้องเล่นเครื่องดนตรีไปด้วยเช่น กีตาร์ ดังรูป

ภาพ อุปกรณ์ไมโครโฟนแบบเฮดเซ็ต

          2. ไมโครโฟนไร้สายแบบพกติดตัว (Body Pack Transmitter Wireless Microphone) ไมโครโฟนไร้สายแบบพกติดตัวแบบที่นักร้องใช้ เรียกว่า เฮดเซ็ต (Head set) ซึ่งประกอบด้วย กล่องสี่เหลี่ยมขนาดเล็กและเฮดวอน (Head worn) กล่องสี่เหลี่ยมทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายไฟโดยจะมีสาย ไฟต่อมาที่เฮดวอน ซึ่งเป็นหัวไมค์ขนาดเล็ก ปกตินักร้องจะติดกล่องสี่เหลี่ยมนี้ไว้ที่เข็มขัดหรือเก็บไว้ใน กระเป๋ากางเกงด้านหลังและจะสวมเฮดวอนที่ศีรษะ นักร้องสามารถปรับระดับของหัวไมค์ได้ จุดประสงค์ของเฮดเซ็ตนี้เพื่อช่วยให้การเคลื่อนไหวของนักร้องสะดวกยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องคำนึงถึงสายไมโครโฟนที่อาจจะก่อให้เกิดความรำคาญ และสามารถใช้มือทั้งสองข้างได้สะดวกหรือนักร้องไม่ สามารถถถือไมค์ขณะร้องเพลงได้ คือนักร้องประเภทเพลงเต้นและนักร้องที่ร้องไปด้วยเล่นเครื่องดนตรี ไปด้วย เช่น กีตาร์ เปียโน กลอง เป็นต้น ข้อเสียของการใช้เฮดเซ็ตคือ นักร้องไม่สามารถควบคุมระยะ ห่างของไมค์ได้ตามต้องการจึงมีผลต่อความดังหรือไดนามิกของเสียง นอกจากนี้นักร้องประเภทเพลงเต้น ถ้าติดเฮดเซ็ตไม่แน่นอาจทำให้เฮดเซ็ตหลุดได้ขณะเต้น

  3. ไมโครโฟนที่ติดตั้งอยู่บนขาหรือที่จับ (Stand - Mounting)
ไมโครโฟนชนิดนี้มักใช้ในห้องบันทึกเสียงโดยตัวไมโครโฟนจะตั้งบนขาตั้งหรือก้านบูม (Boom)ดังรูปไมโครโฟนประเภทนี้มีคุณภาพเสียงดีและมีความไวต่อเสียงมาก ซึ่งบางตัวมีทิศทางการรับเสียงได้รอบ ๆ ไมโครโฟนประเภทนี้มีราคาค่อน ข้างแพงตั้งแต่หลักหมื่นถึงหลักล้าน 

การใช้ไมโครโฟน

          การจับไมค์มีผลต่อคุณภาพเสียงที่ออกมาเช่นกัน เราจึงต้องเรียนรู้และฝึกจับไมค์ให้ถูกต้อง ดังที่ กล่าวมาแล้วข้างต้น ไมโครโฟนประกอบด้วย หัวไมค์และด้ามจับ วิธีการจับไมค์ที่ถูกต้องควรใช้มือข้างที่ ถนัดกำบริเวณส่วนกลางของด้ามจับ ให้หัวไมค์อยู่ตรงกับปากโดยมีระยะห่างประมาณ 3-4 นิ้วมือ ดังรูป

            นอกจากนี้นักร้องสามารถควบคุมความดังของเสียงหรือไดนามิกได้โดยการใช้ไมค์ คือ ถ้า ต้องการให้เสียงดังขึ้นให้ค่อยๆ ดึงไมค์เข้า และถ้าต้องการให้เสียงเบาลงให้ค่อยๆดึงไมค์ออก โดยเวลา ดึงไมค์เข้าออก ให้ดึงไมค์ตามทิศทางของเสียง ในกรณีที่ใช้ไมค์ร่วมกับขาตั้งไมค์ (Stand Microphone) อาจ มีการจับไมค์ได้หลายวิธีดังรูป

ข้อควรระวังในการใช้ไมโครโฟน

1. เวลาที่ร้องเพลง ไม่ว่าจะเคลื่อนไหวหรือหันหน้าไปทางใดต้องให้ไมโครโฟนอยู่ตรงปากตลอดเวลา

2. ไม่กำส่วนหัวไมค์เพราะไมค์จะเก็บเสียงได้ไม่เต็มที่และอาจทำให้เกิด"จี๊ด” ได้

3. ไม่กระดกหางไมค์ขึ้น ควรกดหางไมค์ลงไม่ให้บังหน้าบนเวที

4. เพื่อความสวยงามของท่าทางในการแสดงออกไม่ควรกางข้อศอกออกขณะจับไมค์

5. เวลาจับไมค์ระหว่างร้องเพลงไม่ควรกระดูกนิ้ว เพราะจะเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของคนดู

6. ไม่ควรเปลี่ยนมือถือไมค์ขณะร้องเพลง เพราะจะทำให้เกิดเสียงรบกวนหรือระดับความดัง

ของเสียงไม่คงที่ได้

7. กรณีที่ใช้ไมค์มีสาย ไม่ควรจับหรือบิดสายไมค์ไปมาเพราะอาจทำให้สายไมค์หลุดระหว่าง ร้องเพลงได้

8.เพื่อไม่ให้เกิดการผิดพลาด ควรตรวจสอบปุ่มเปิดปิดไมค์ก่อนขึ้นเวที

9. กรณีที่ใช้เฮดเซ็ตควรตรวจสอบการติดตั้งและปรับหัวไมค์ให้ตรงปากก่อนขึ้นเวที

10. ขณะร้องเพลงไม่ควรถือไมค์ใกล้ลำโพงหรือหันหัวไมค์ไปทางลำโพงเนื่องจากอาจทำให้เกิดเสียง “จี๊ด” ได้ โดยเฉพาะบนเวทีที่มี “เอีย มอนิเตอร์” (Ear Monitor) ซึ่งเป็นลำโพงที่วางหน้าเวที หันหน้าเข้าหานักร้อง เพื่อช่วยให้นักร้องได้ยินเสียงร้องหรือเสียงดนตรีชัดเจนขึ้น เวลาไม่ใช้ไมค์ให้ถือไมค์ข้างลำตัวโดยให้หัวไมค์ชี้ขึ้น

 การบำรุงรักษาไมโครโฟน

      เนื่องจากนักร้องอาชีพบางคนต้องขึ้นร้องเพลงบ่อย ๆ นักร้องจึงมีไมค์ส่วนตัว เพื่อความเคยชินใน การใช้ไมค์หรือเพื่อป้องกันโรคติดต่อ ซึ่งมักเป็นไมค์ที่มีคุณภาพและราคาแพง ฉะนั้นเพื่อยืดอายุการใช้ งานควรมีการดูแลรักษาดังต่อไปนี้

      1. ไม่เคาะหรือเป่าไมโครโฟน

      2. ระวังไม่ให้ให้ไมโครโฟนได้รับการกระทบกระเทือนหรือตกพื้น

      3. ระวังไม่ให้มีลมแรงๆพัดเข้าไปในหัวไมค์ เช่น พัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

      4. ระวังไม่ให้ไมโครโฟนเปียกน้ำ

      5. เมื่อใช้เสร็จควรเก็บในกล่องให้เรียบร้อย โดยเก็บในที่ไม่มีฝุ่นละอองและความชื้น

     6. หมั่นทำความสะอาดโดยเฉพาะบริเวณหัวไมค์ เพื่อป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ

กิจกรรมที่ 4.6  ให้ผู้เรียนฝึกร้องเพลงกับไมโครโฟนต่าง ๆดังต่อไปนี้ (ถ้าหาได้) และแสดงความรู้สึก หรือความเห็นที่มีต่อการ

                ใช้ไมโครโฟนแต่ละชนิด

                1. เพลง สิ่งสำคัญด้วยไมโครโฟนแบบมือถือ

                2. เพลง Music Lover ด้วยเฮดเซ็ต 3. เพลง เล่นของสูงด้วยไมโครโฟนกับขาตั้งไมค์

              คำอธิบาย-ข้อสังเกต

            การฝึกร้องโดยใช้ไมโครโฟนที่ต่างกันเพื่อให้ให้ผู้เรียนทราบถึงลักษณะและวิธีการใช้ ไมโครโฟนแต่ละประเภท ซึ่งจะช่วยให้สามารถควบคุมและใช้ได้อย่างถูกต้องเวลาต้องร้องเพลงจริง ๆ ถ้าไม่สามาเรถหาไมโครโฟนได้อาจใช้อุปกรณ์อื่นฝึกจับ เช่น ใช้ขวดน้ำขนาดเล็กถือแทน หรือ อาจใช้หลอดดูดน้ํที่มีข้องอได้มาเสียบบริเวณหู ให้ปลายส่วนที่งอตรงกับปากแทนไมโครโฟนแบบเฮดเซต เป็นต้น

เวทีและองค์ประกอบของเวที

               สถานที่จัดแสดงคอนเสิร์ตมีทั้งจัดในร่ม ซึ่งเรียกว่า “อินดอร์” (Indoor) เช่น ในโรงละครหรือ ในหอประชุมต่าง ๆ และมีทั้งจัดกลางแจ้ง เรียกที่เราเรียกว่า เอาท์ดอร์ (Outdoor) เช่น สนามกีฬากลางแจ้ง เป็นต้น สถานที่จัดคอนเสิร์ตนั้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ

              1. ส่วนที่เป็นเวที (Stage) คือ พื้นที่สำหรับนักร้อง นักดนตรีและนักแสดงใช้แสดง

              2. ส่วนที่เป็นที่นั่งสำหรับผู้ชมหรือเรียกว่า ออดิทอเรียม (Auditorium หรือ House) ซึ่งอาจจะมี ชั้นเดียว สองชั้นหรือสามชั้นก็ได้ขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดและขนาดของสถานที่ บริเวณออดิทอเรียมจะประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ คือ

            - ห้องควบคุมเสียง (Sound Control Booth) เป็นที่สำหรับผู้ควบคุมเสียง (Sound engineer) ซึ่งมีหน้าที่ปรับแต่งเสียงให้นักร้อง ห้องควบคุมเสียงนี้มักจะอยู่บริเวณตรงกลางของออดิทอเรียม เป็นตำแหน่งที่ผู้คุมเสียงสามารถฟังเสียงทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเสียงร้องหรือเสียงดนตรีได้อย่างชัดเจนที่สุด

           - ห้องควบคุมไฟ-แสงสี (Lighting Control Booth) สำหรับเจ้าหน้าที่ควบคุมแสงไฟในคอนเสิร์ต ซึ่งจะอยู่บริเวณด้านหลังสุดของออดิทอเรียม เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่สามารถมองเห็นเวทีได้อย่างชัดเจนที่สุด

         นอกจากนี้ภายในสถานที่จัดคอนเสิร์ตยังมีห้องแต่งตัวนักแสดงและห้องเก็บตัวนักแสดงซึ่งมักจะอยู่บริเวณด้านหลังของเวทีเพื่อสะดวกเวลาที่นักร้องขึ้นเวที

      คอนเสิร์ตมีเวทีหลายหลายรูปแบบแล้วแต่การจัด ซึ่งโดยทั่วไปสามารถแบ่งเวทีออกเป็น 3 ประเภท ตามลักษณะการออกแบบ คือ

       1. โพรซีเนียม สเตจ (Proscenium Stage)

       เป็นเวทีที่พบเห็นมากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยจะมีกรอบที่เรียก ว่าโพรซีเนียม อาร์ค (Proscenium Arch) อยู่ที่หน้าเวที โพรซีเนียม อาร์ค เป็นตัวแบ่งเขตแดนระหว่าง
        นักร้อง นักแสดงบนเวทีกับผู้ชม นอกจากนี้โพรซีเนียม อาร์ค ยังเป็นฉากกำบังนักแสดงและทีมงานที่ เตรียมงานด้านหลังและด้านข้างเวทีก่อนขึ้นเวที ลักษณะของเวทีแบบโพรซีเนียมมีดังรูป 

แผนผัง จัดคอนเสิร์ตเวทีแบบ โพรซีเนียม สเตจ

2. ธรัส สเตจ (Thrust Stage)

            เวทีแบบธรัสสเตจนี้ผู้ชมจะนั่งล้อมรอบเวที 3 ด้านเป็นตัวยู พื้นที่ของเวทีการแสดงจะอยู่ใกล้กับที่นั่งของผู้ชมซึ่งจุดประสงค์หลักของการออกแบบเวทีนี้เพื่อให้ผู้ชมทุกคนสามารถมองเห็นการแสดงได้อย่างชัดเจนซึ่งส่วนใหญ่ที่นั่งแถวหลังจะมีระดับที่สูงกว่าแถวหน้า มี ลักษณะคล้ายอัฒจรรย์  ดังรูป        

แผนผัง จัดดคอนเสิร์ตเวทีแบบธรัส สเตจ 

        3. อารีนา สเตจ (Arena Stage)

        เวทีแบบอารีนา สเตจจะมีที่นั่งผู้ชมล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน ดังรูป

แผนผัง จัดคอนเสิร์ตเวทีแบบอารีนา สเตจ

เวทีที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เวทีแบบโพรซีเนียม สเตจเป็นเวทีทั่วไปที่เห็นบ่อยที่สุด แต่ในปัจจุบัน เวทีมีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น อาจมีการนำรูปแบบของเวทีทั้ง 3 ลักษณะมาผสมกันเพื่อให้เกิด ความแปลกใหม่และทันสมัย อีกทั้งรูปแบบการจัดเวทียังขึ้นอยู่กับรูปแบบการแสดงของคอนเสิร์ต และความเหมาะสมของพื้นที่การจัดแสดงอีกด้วย เช่น ในบางครั้งเวทีอาจมีทางเดินหรือที่เรียกว่า แคทวอล (Catwalk) เพื่อให้นักร้องได้ใกล้ชิดกับคนดูที่อยู่ด้านหลังมากขึ้น ดังแผนผังต่อไปนี้ 

แผนผัง เวทีแบบมีทางเดิน

องค์ประกอบของเวที (Stage)

จากแผนผังเวทีดังที่ได้กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่า เวทีประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ

1.พื้นที่สำหรับแสดง

   พื้นที่บนเวทีแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังรูป

         โดยทั่วไปพื้นที่ด้านหลังเวทีส่วนใหญ่จะเป็นที่สำหรับนักดนตรีเล่นดนตรีและอุปกรณ์ประกอบการแสดง เช่น ทีวีจอใหญ่ (Projector) ตรงกลางของเวทีอาจใช้สำหรับนักแสดงอื่นๆ เช่น แดนเซอร์ ส่วน พื้นที่ด้านหน้าใช้สำหรับนักร้อง แต่บางครั้งทั้งนักร้อง นักแสดง แดนเซอร์และนักดนตรีอาจมีการใช้พื้นที่ เวทีทั้งหมดร่วมกันได้แล้วแต่รูปแบบของคอนเสิร์ต

          2. ด้านข้างเวที (Wings)

          ด้านข้างของเวที หรือเรียกว่า วิ่ง (Wings) จะมี 2 ด้านคือ ด้าน A คือด้านซ้ายของเวทีและด้าน B คือด้านขวาของเวที ซึ่งทั้งสองด้านจะเป็นทางเข้า-ออกของนักร้องและนักแสดง บริเวณด้านข้างจะมี พื้นที่เป็นที่สำหรับการเก็บอุปกรณ์ต่าง ๆที่ใช้ในการแสดงคอนเสิร์ต และยังเป็นพื้นที่ใช้สำหรับการประสานงานของทีมงานและผู้ควบคุมเวที (Stage Manager) ในระหว่างการแสดง

         3. ด้านหลังเวที (Back stage)

          ในบางคอนเสิร์ตด้านหลังเวทีอาจใช้เป็นพื้นที่เก็บอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงได้เช่นกัน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นอุปกรณ์ประเภทเครื่องดนตรี และในบางครั้งยังมีประตูทางเข้า-ออกของนักร้อง นักดนตรีและนักแสดงอีกด้วย

 ลำโพง

               นอกจากลักษณะและองค์ประกอบเวทีดังที่กล่าวมาแล้ว องค์ประกอบท่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ นักร้องควรรู้ ควรดูก่อนแสดงก็คือเรื่องของระบบเสียงหรือลำโพง เพราะเวลาที่ร้องเพลงจริงบนเวที คอนเสิร์ต นักร้องมักจะประสบปัญหาการได้ยินที่ไม่ชัดเจนทำให้ร้องเพี้ยนและร้องไม่ตรงจังหวะ เนื่องจากเสียงดนตรีที่ดังบ้าง หรือเสียงสะท้อนบ้าง หรือแม้แต่เสียงคนดู ซึ่งในคอนเสิร์ตจะมีเจ้าหน้าที่ เทคนิคเสียง (Sound engineer) เป็นผู้ดูแลปรับแต่งเสียงให้กับนักร้องและนักดนตรีเพื่อให้เสียงที่ออกมามี คุณภาพ ไพเราะและน่าฟังที่สุด อย่างไรก็ตามนักร้องควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบเสียงบนเวที คอนเสิร์ต บนเวทีคอนเสิร์ตประกอบด้วยลำโพงหรือที่เรียกว่า มอนิเตอร์ (Monitor) หลายประเภทคือ

  พีเอ

         พีเอ ย่อมาจากคำว่า พาวเวอร์ ออดิโอ (PA หรือ Power Audio) เป็นลำโพงที่ตั้งหรือแขวนไว้ อยู่ด้านข้างเวทีคอนเสิร์ต (Wing) โดยจะหันหน้าลำโพงออกจากเวที ผู้ฟังจะได้ยินเสียงจากพี่เอ พี่เอมี หลายขนาดขึ้นอยู่กับขนาดของสถานที่จัดคอนเสิร์ตและจำนวนผู้ฟัง เวทีขนาดเล็กอาจใช้พี่เอข้างละ 2 คู่ แต่ในคอนเสิร์ตใหญ่ๆอาจใช้ข้างละ 4 คู่ไปจนถึง 8 คู่ subwoofer

  ซาวด์มอนิเตอร์

        ซาวด์มอนิเตอร์ (Sound Monitor) เป็นลำโพงที่ช่วยให้นักร้องนักดนตรีให้ได้ยินเสียงดนตรีและ เสียงร้องชัดมากขึ้น โดยจะวางที่พื้นหันหน้าเข้าหาเวที โดยปกติเวทีคอนเสิร์ตอาจใช้ซาวด์ มอนิเตอร์ ตั้ง แต่ 2 ตัวจนถึง 4 ตัวขึ้นอยู่กับความกว้างของเวที ในกรณีที่เวทีมีแคทวอดอาจวาง ซาวด์มอนิเตอร์ด้าน ข้างและด้านหน้าแคทวอค ดังแผนผังเวทีข้างต้น ก่อนการแสดงจริงจะมีการซ้อม หรือเรียกว่า ซาวด์เช็ค(Sound check) เพื่อให้นักร้องได้ทดสอบเสียงและการได้ยิน ระหว่างซาวด์เช็คนักร้องควรยืนหน้าซาวด์ มอนิเตอร์เพื่อทดสอบการได้ยินซาวด์มอนิเตอร์นี้สามารถปรับความดังของทั้งเสียงร้องและเสียงดนตรีได้ตามความต้องการของนักร้องเอง

  เอียร์ มอนิเตอร์

         เอียร์ มอนิเตอร์ (Ears Monitor) เป็นหูฟังขนาดเล็กที่เสียบเข้ากับหู ใช้สำหรับนักร้องเพื่อให้ ได้ยินเสียงร้องของตัวเองชัดขึ้น โดยนักร้องสามารถเดินไปมาบนเวทีคอนเสิร์ตได้ และสามารถปรับ ความดังของเสียงร้องได้เช่นกันอย่างไรก็ตามการฝึกฝนและประสบการณ์การขึ้นเวทีจะช่วยส่งเสริมให้นักร้องพัฒนาประสิทธิภาพในการได้ยินมากขึ้น

การแยกโสตประสาท (Isolation)

          ในการร้องเพลง นักร้องจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆมากมายดังที่กล่าวมาแล้วได้แก่ การหายใจ ทำนอง และจังหวะ ความหมายของเพลง การแสดงอารมณ์ การแสดงสีหน้าท่าทาง เทคนิคการร้องเพลงต่าง ๆ การยืน การเดิน การเคลื่อนไหวขณะร้องเพลง นอกจากนี้ถ้าเป็นการแสดงบนเวทีคอนเสิร์ต นักร้องยัง ต้องคำนึงถึง การใช้และควบคุมไมโครโฟน รวมถึงการแสดงออกบนเวที Script หรือบทพูดบนเวที Effect ต่าง ๆ เช่น Bomb (ระเบิด) หรือDry ice (ควัน) และสิ่งต่าง ๆที่จะเกิดขึ้นขณะแสดง เป็นต้น เวลาแสดงบน เวทีนักร้องต้องใช้สมองหลายๆส่วนในการคิดถึงสิ่งต่างเหล่านี้ ซึ่งเราไม่สามารถคิดถึงสิ่งต่าง ๆทั้งหมดนี้ ได้ในเวลาเดียวกันได้ เราจึงต้องฝึกแบ่งแยกโสตประสาท ซึ่งเรียกว่า “ไอโซเลชั่น” (Isolation) คือ การ แบ่งหรือการแยกออกเป็นส่วนๆ ซึ่งในความหมายของการร้องเพลงนั้นคือ การแยกส่วนประสาทต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ

    1. สิ่งที่นักร้องต้องทำให้เป็นอัตโนมัติ เช่น การหายใจ การจำเนื้อเพลง การร้องให้ถูกทำนองและ จังหวะ การใช้ไมโครโฟน เป็นต้น

     2. สิ่งที่นักร้องต้องคิดเวลาร้องเพลง เช่น ตำแหน่งการยืนเพื่อหลบระเบิด เพลงที่จะร้องต่อไปรวม ถึง Script พูดเพื่อเข้าเพลงที่จะร้องต่อไป เป็นต้น

วิธีฝึกไอโซเลชั่น

    การฝึกไอโซเลชั่นนี้จะใช้ เท้า แขนขวาและแขนซ้าย โดยให้เท้าและแขนขวาเปรียบเป็นสิ่งที่ นักร้องต้องทำให้เป็นอัตโนมัติ แขนซ้ายเปรียบเป็นสิ่งที่นักร้องต้องคิดเวลาร้องเพลง เวลาฝึกไอโซเลชั่น ควรฝึกไปพร้อมกับเพลงเต้นที่มีจังหวะช้าก่อน เมื่อฝึกจนสามารถแยกส่วนประสาทได้แล้ว จึงฝึกพร้อม กับเพลงเต้นที่มีจังหวะเร็วขึ้น มีวิธีการฝึกดังต่อไปนี้

  เท้า

        1. ท่าเตรียม ยืนเท้าชิด

        2. ก้าวเท้าขวาไปด้านขวาและก้าวเท้าซ้ายตาม เรียกว่า ก้าว-ชิด

        3. ก้าวเท้าซ้ายไปด้านซ้ายและก้าวเท้าขวาตาม เรียกว่า ก้าว-ชิด

  แขนขวา

        1. ท่าเตรียม กำมือหลวมๆไว้ที่หน้าอก

        2. ชูมือขึ้น เรียกว่า “ขึ้น”

        3. เอามือกลับมาที่ท่าเตรียม เรียกว่า “กลาง”

        4. เอามือไว้ที่ข้างลำตัว เรียกว่า “ลง”

        5. เอามือกลับมาที่ท่าเตรียม เรียกว่า “กลาง”

        6. ทำย้อนกลับไปตั้งแต่ข้อ 2

แขนซ้าย

          1. ท่าเตรียม กำมือหลวมๆไว้ที่หน้าอก

          2. ชูมือขึ้น เรียกว่า “ขึ้น”

          3. เอามือกลับมาที่ท่าเตรียม เรียกว่า “กลาง”

          4. เหยียดมือออกไปด้านข้าง เรียกว่า “ข้าง”

5. เอามือกลับมาที่ท่าเตรียม เรียกว่า “กลาง”

6. เอามือไว้ที่ข้างลำตัว เรียกว่า “ลง”

7. เอามือกลับมาที่ท่าเตรียม เรียกว่า “กลาง”

8. เหยียดมือออกไปด้านข้าง เรียกว่า “ข้าง”

9. เอามือกลับมาที่ท่าเตรียม เรียกว่า “กลาง”

10. ทำย้อนกลับไปตั้งแต่ข้อ 2

          การฝึกให้เริ่มในแต่ละส่วนให้คล่องก่อน โดยเริ่มจากการฝึกก้าว-ชิดเท้า แขนขวา และแขนซ้าย ตามลำดับจากนั้นจึงฝึกก้าว-ชิดเท้าพร้อมกับแขน เมื่อฝึกเท้าพร้อมกับแขนขวาจนคล่องแล้ว จากนั้นจึงเริ่มฝึกพร้อมกับทั้งหมด

     จะเห็นได้ว่าการฝึกไอโซเลชั่นนี้ จะช่วยฝึกให้เราแยกส่วนประสาทต่าง ๆ ได้ ซึ่งเราสามารถนำไปใช้ในการร้องเพลงบนเวทีได้

กิจกรรมที่ 4.7  ให้ผู้เรียนตอบคำถามเกี่ยวกับการแยกโสตประสาท ในประเด็นดังต่อไปนี้

แนวคำตอบ

1) สิ่งที่นักร้องสามารถทำให้เป็นอัตโนมัติมีอะไรบ้าง นอกเหนือจากที่กล่าวมา ข้างต้น

2) สิ่งที่นักร้องต้องคิดเวลาร้องเพลงมีอะไรบ้าง นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น

3) สิ่งอื่น ๆ ที่นักร้องต้องทำบนเวทีหรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในการแสดงคอนเสิร์ตมี อะไรบ้าง

1.สิ่งที่นักร้องสามารถทำให้เป็นอัตโนมัติ เช่น การหายใจ เนื้อร้อง ทำนอง จังหวะ สีหน้า ท่าทาง การถือไมค์ เป็นต้น

2.สิ่งที่นักร้องต้องคิดเวลาร้องเพลง เช่น การพูด (Dialog) เพลงที่จะต้องร้องต่อไป การเดิน เพื่อหลบเอฟเฟค เช่น ระเบิด การเอ็นเตอร์เทนผู้ชม เป็นต้น

3.สิ่งอื่น ๆที่นักร้องต้องทำบนเวที คือการเอาใจใส่ผู้ชม ต้องสังเกตอารมณ์ร่วมของคนดู พยายามทักทายคนดูให้ทั่วถึงที่สุดเท่าที่จะทำได้ และสิ่งอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นเวลาแสดงบนเวทีคอนเสิร์ต เช่น ไมค์หวีด ไม่ได้ยินเสียงร้อง หรือเสียงดนตรี รับของจากแฟนเพลง โดนแฟนเพลง ฉุด พูดผิด เป็นต้น

การแสดงออกบนเวที

        การแสดงออกบนเวทีเป็นการนำพื้นฐานการร้องเพลงทั้งหมดที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นมาแสดงบนเวที ให้ผู้ชมดู บางครั้งการทำให้ผู้ชมเกิดความประทับใจ ไม่ได้อยู่ที่การร้อง การแสดงออกทางสีหน้าท่าทาง การยืนและการเดินเพียงอย่างเดียว ยังรวมไปถึงการแต่งตัว การพูดบนเวทีและปัจจัยอื่น ๆอีกมากมาย ในเนื้อหาต่อไปนี้จะอธิบายถึงเรื่องต่าง ๆที่นักร้องต้องเรียนรู้เพื่อนำไปใช้เวลาร้องเพลงบนเวทีจริงไม่ว่า จะเป็นเวทีใดก็ตาม รวมถึงการเตรียมตัวก่อนการแสดงเพื่อให้การแสดงออกมาสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งแบ่งเป็น หัวข้อดังต่อไปนี้

-         การสื่อสารกับคนดู

-         การเดินบนเวที

-         สิ่งที่ไม่ควรทำขณะร้องเพลงบนเวที

-         อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนเวที

-         การเตรียมตัวก่อนขึ้นเวที

การสื่อสารกับคนดู

         ในการร้องเพลงแต่ละครั้งอาจมีผู้ชมมากหรือน้อยแตกต่างกันออกไป บางคนอาจเคยร้องเพลง หน้าชั้นเรียนหรือหน้าเสาธง บางคนอาจเคยร้องเพลงบนเวทีในงานต่าง ๆเช่น งานประจำปีของโรงเรียน งานแต่งงานหรืองานปีใหม่ ในการแสดงคอนเสิร์ตของนักร้องอาจมีคนดูเป็นพันคน ซึ่งผู้ชมจะนั่งหรือยืน เป็นสัดส่วนขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดคอนเสิร์ตและขนาดของสถานที่จัดคอนเสิร์ต บางคอนเสิร์ตอาจมีที่ นั่งคนดูเพียงชั้นเดียว บางคอนเสิร์ตอาจมีสองชั้น หรือสามชั้น ในคอนเสิร์ตทั่วไปอาจแบ่งที่นั่งของคนดู ออกเป็นกลุ่มตามแผนผังดังต่อไปนี้

แผนผัง แสดงที่นั่งของคนดูหรือผู้ชม

         จากที่ได้เรียนรู้มาแล้วตอนต้นว่าเวลาที่เราร้องเพลงเราจะต้องมีการสื่อสารทางสายตา (Eyes Contact) เพื่อส่งข้อความหรือความหมายของเพลงไปถึงผู้ฟัง ในกรณีที่มีผู้ชมจำนวนมาก เราไม่ควรให้ความสนใจหรือส่งสายตาไปที่ผู้ชมแค่คนเดียวหรือกลุ่มเดียว นักร้องที่ดีควรมีการเปลี่ยน จุดการมองหรือเรียกว่า “จุดโฟกัส” (Focus Point) เพื่อส่งสายตาไปยังผู้ชมให้ทั่วถึง เพื่อแสดง สนใจให้ผู้ชมทุกคนรู้สึกว่าไม่ถูกทอดทิ้งและมีส่วนร่วมในการแสดง แต่ในกรณีที่เป็นคอนเสิร์ตใหญ่ๆ ที่มีผู้ชมมาก ๆ เราไม่สามารถส่งสายตาไปที่ผู้ชมทุกคนได้ เราจึงต้องมีการแบ่งคนดูออกเป็นกลุ่มๆตาม ที่นั่งของคนดู การแบ่งผู้ชมออกเป็นกลุ่มๆมีประโยชน์ในการกำหนดทิศทางเพื่อมองคนดูให้ทั่วถึง การเปลี่ยนจุดโฟกัสไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ขึ้นอยู่กับรูปแบบการแสดงของนักร้องแต่ละคน แต่สิ่งที่สำคัญคือการเปลี่ยนจุดโฟกัสให้เป็นธรรมชาติและเหมาะสมกับเพลงและรูปแบบในการแสดง หลักการ โดยทั่วไปนักร้องควรร้องให้จบประโยคหรือจบท่อนก่อนจึงค่อยๆเปลี่ยนจุดโฟกัสไปที่คนดูจุดอื่น ไม่ควรเปลี่ยนอย่างกระทันหัน เพราะจะทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาติ

            วิธีฝึกการเปลี่ยนจุดโฟกัส ให้เราร้องเพลงที่หน้ากระจก อาจทำเครื่องหมายโดยการนำสก๊อตเทป มาติดตามตำแหน่งต่าง ๆที่กระจกให้เป็นจุดโฟกัสในการมอง เริ่มแรกอาจติดไว้สามจุดที่ระดับสายตาคือ ตรงกลาง ด้านซ้ายและด้านขวาดังรูป จุดที่ระดับสายตาเปรียบเหมือนเป็นกลุ่มคนดูแถวกลางทั้งหมดเวลาร้องให้ฝึกเปลี่ยนจุดการมองโดยสังเกตตัวเองให้การเปลี่ยนจุดโฟกัสเป็นไปอย่างธรรมชาติที่สุดกระจก

ตัวอย่างการเปลี่ยนจุดโฟกัส เพลง “สิ่งสำคัญ”

ฉันไม่รู้ว่าหลังจากนี้ มันจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง ฉันไม่กล้าจะสัญญาด้วยคำใด

จุดที่ 2

รักเรานั้นจะไปอีกไกล หรือวันไหนจะต้องร้างลา ฉันไม่รู้ไม่เคยแน่ใจอะไร

จุดที่ 1

ฉันพูดได้เพียงว่าตอนนี้รักเธอ เทให้ทั้งหัวใจ

นี่คือสิ่งสำคัญ ที่เรายังอยู่ด้วยกัน สิ่งอื่นใดนั้นมันยังไม่มาถึง

บอกได้แค่นี้ จะรักหมดทั้งใจที่มี ให้มันตราตรึง อยู่ในใจเพื่อไปถึงวันลาจาก

จุดที่ 2

เรื่องที่รู้วันนี้ตอนนี้ ฉันก็มีแต่ความอุ่นใจ รักที่เราให้กันคือสิ่งดีงาม

จุดที่ 3

แม้สุดท้ายจะเหลือเพียงฝัน หรือจะเป็นอย่างไรก็ตาม ฉันจะทำวันนี้ให้ดีดังใจ

จุดที่ 2

ฉันพูดได้เพียงว่าตอนนี้รักเธอ เทให้ทั้งหัวใจ

จุดที่ 1

นี่คือสิ่งสำคัญ ที่เรายังอยู่ด้วยกัน สิ่งอื่นใดนั้นมันยังไม่มาถึง

บอกได้แค่นี้ จะรักหมดทั้งใจที่มี ให้มันตราตรึง อยู่ในใจเพื่อไปถึงวันลาจาก

จุดที่ 2

ดนตรี (Solo)

มองทั้งสามจุดเริ่มจากจุดที่ 1, 2 และ3 ตามลำดับ

ฉันพูดได้เพียงว่าตอนนี้รักเธอ เทให้ทั้งหัวใจ

จุดที่ 1

นี่คือสิ่งสำคัญ ที่เรายังอยู่ด้วยกัน สิ่งอื่นใดนั้นมันยังไม่มาถึง

บอกได้แค่นี้ จะรักหมดทั้งใจที่มี ให้มันตราตรึง อยู่ในใจเพื่อไปถึงวันลาจาก

จุดที่ 2


กิจกรรมที่ 4.8  1) ให้ผู้เรียนกำหนดจุดโฟกัสสามจุดของเพลง “ช่างไม่รู้เลย” (ศิลปิน : พีซเมคเกอร์)

               2) เมื่อกำหนดจุดโฟกัสแล้วให้ผู้เรียนฝึกร้องเพลงช่างไม่รู้เลยหน้ากระจกโดยฝึกการเปลี่ยนจุดโฟกัสตามที่

                  ตัวเองกำหนด เมื่อฝึกจนคล่องแล้วให้เพิ่มเครื่องหมาย บนกระจกเป็นหกจุดดังรูป

แผนผัง การทำเครื่องหมายบนกระจกหกจุด

ตัวอย่าง การกำหนดจุดโฟกัส 3 จุด ของเพลง “ช่างไม่รู้เลย”

จุดที่ 2

ในแววตาทั้งคู่ ไม่รับรู้อะไร เธอคงยังไม่เข้าใจ ว่าฉันไม่ใช่คนเก่า

จุดที่1

เราคงยังเหมือนเพื่อน หยอกล้อเหมือนวันวาน แต่ฉันคือคนใจสั่น แต่ฉันคือคนหวั่นไหว

จุดที่ 2

ช่างไม่รู้อะไรบ้างเลย ในความคุ้นเคยกันอยู่ มันแฝงอะไรบางอย่างที่มากกว่านั้น

ช่างไม่รู้อะไรบ้างเลย ว่าเพื่อนคนหนึ่ง มันแอบมันคิดอะไรไปไกล กว่าเป็นเพื่อนกัน

จุดที่ 3

กลายเป็นคนฝันใฝ่อยู่ใกล้ใกล้เธอ กลายเป็นคนที่รอเก้อ เหมือนหนังสือที่เธอไม่อ่าน

จุดที่ 2

ตาคอยมองจ้องอยู่ อยากให้รู้ใจกัน แต่แล้วเธอยังมองผ่าน และฉันก็ยังหวั่นไหว

  

ตัวอย่าง การกำหนดจุดโฟกัส 6 จุดของเพลง “ช่างไม่รู้เลย”

จุดที่ 2                 จุดที่ 1

ในแววตาทั้งคู่ ไม่รับรู้อะไร / เธอคงยังไม่เข้าใจ ว่าฉันไม่ใช่คนเก่า

จุดที่ 4                 จุดที่ 5

เราคงยังเหมือนเพื่อน หยอกล้อเหมือนวันวาน / แต่ฉันคือคนใจสั่น แต่ฉันคือคนหวั่นไหว

จุดที่ 2

ช่างไม่รู้อะไรบ้างเลย ในความคุ้นเคยกันอยู่ มันแฝงอะไรบางอย่างที่มากกว่านั้น

จุดที่ 3

โดย ช่างไม่รู้อะไรบ้างเลย ว่าเพื่อนคนหนึ่ง มันแอบมันคิดอะไรไปไกล กว่าเป็นเพื่อนกัน

จุดที่ 2                  จุดที่ 5

สลากกัน กลายเป็นคนฝันใฝ่อยู่ใกล้ใกล้เธอ / กลายเป็นคนที่รอเก้อ เหมือนหนังสือที่เธอไม่อ่าน

จุดที่ 6

ตาคอยมองจ้องอยู่ อยากให้รู้ใจกัน แต่แล้วเธอยังมองผ่าน และฉันก็ยังหวั่นไหว

  

กิจกรรมที่ 4.9 1) ให้ผู้เรียนกำหนดจุดโฟกัสหกจุดของเพลง “สิ่งสำคัญ” (ศิลปิน : เอ็นโดฟิน)

ตัวอย่าง การกำหนดจุดโฟกัส 6 จุดของเพลง “สิ่งสำคัญ”

จุดที่ 2

ฉันไม่รู้ว่าหลังจากนี้ มันจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง ฉันไม่กล้าจะสัญญาด้วยคำใด

จุดที่ 3

รักเรานั้นจะไปอีกไกล หรือวันไหนจะต้องร้างลา ฉันไม่รู้ไม่เคยแน่ใจอะไร

จุดที่ 4

ฉันพูดได้เพียงว่าตอนนี้รักเธอ เทให้ทั้งหัวใจ

จุดที่ 2

นี่คือสิ่งสำคัญ ที่เรายังอยู่ด้วยกัน สิ่งอื่นใดนั้นมันยังไม่มาถึง

บอกได้แค่นี้ จะรักหมดทั้งใจที่มี ให้มันตราตรึง อยู่ในใจเพื่อไปถึงวันลาจาก

จุดที่ 1

เรื่องที่รู้วันนี้ตอนนี้ ฉันก็มีแต่ความอุ่นใจ รักที่เราให้กันคือสิ่งดีงาม

จุดที่ 4

แม้สุดท้ายจะเหลือเพียงฝัน หรือจะเป็นอย่างไรก็ตาม ฉันจะทำวันนี้ให้ดีดังใจ

           2) ให้ผู้เรียนฝึกร้องเพลงช่างไม่รู้เลยหน้ากระจกโดยฝึกการเปลี่ยนจุดโฟกัสตามที่ตัวเองกําหนด

คำอธิบาย- ข้อสังเกต

การฝึกเปลี่ยนจุดโฟกัสนี้อาจทำได้อีกวิธีโดยการให้เพื่อนหรือคนในครอบครัวหลายๆคน เพื่อให้เกิดความรู้สึกเหมือนสถานการณ์บนเวทีจริง การเปลี่ยนตำแหน่งการ มองหรือ จุดโฟกัสนี้ทำให้นักร้องสามารถสื่อสารกับคนดูได้อย่างทั่วถึง เพื่อให้คนดูทุกคนมีส่วนร่วมและสนุกไปกับการแสดง

 นอกจากนี้ในการแสดงคอนเสิร์ตหรือการร้องเพลงโชว์ ไม่ใช่ร้องเพลงอย่างเดียว นักร้องจะต้องมี การทักทายและพูดคุยกับคนดู คำพูดทั้งหมดที่นักร้องพูดบนเวทีนี้เรียกว่า “ไดอาล็อก” (Dialog) ซึ่ง ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของในการแสดงคอนเสิร์ต โดยปกติการแสดงคอนเสิร์ตทั่วไปจะมีการคิดไดอาล็อกไว้ล่วงหน้าโดยทีมงาน หรือนักร้องเป็นผู้คิดเอง ไดอาล็อกนี้แบ่งออกเป็น

- การทักทายคนดู

- การพูดในท่อน อินโทร (Intro)

- การพูดในท่อนกลางเพลงที่ไม่มีดนตรี (Solo)

 - การพูดเพื่อจะร้องเพลงต่อไป

 = การพูดลาคนดู

การพูดไดอาล็อกเหล่านี้ นักร้องควรจะฝึกพูดก่อนการแสดง เพื่อให้การพูดออกมาเป็นธรรมชาติ การพูดที่ดีนักร้องควรพูดให้เป็นตัวเอง ไม่จำเป็นต้องท่องทุกคำพูดตามไดอาล็อกที่คิดไว้ แต่ควรจะจำเฉพาะข้อความสำคัญแล้วพูดโดยใช้ภาษาของตัวเอง เพื่อให้การพูดราบรื่นไม่ติดขัดและมีความเป็นตัว ของตัวเอง นอกจากนี้การเลือกเพลงที่จะร้องเป็นส่วนที่สำคัญอีกเช่นกัน เนื่องจากรสนิยมการฟังเพลง หรือความชอบในแนวเพลงของคนต่างกัน เช่น บางคนชอบเพลงเร็ว บางคนชอบเพลงช้าบางคนชอบ เพลงป๊อบ บางคนชอบร็อค และควรเลือกร้องเพลงให้เหมาะกับงาน เช่น ในงานแต่งงานควรเลือกร้อง

เพลงที่มีความดี ไม่มีความหมายเป็นลบ หรือเมื่อเวลาไปร้องเพลงที่มีผู้ฟังเป็นชาวต่างชาติ นักร้องอาจ เลือกร้องเพลงสากลที่เป็นที่รู้จัก ถ้าผู้ฟังเป็นผู้ใหญ่ก็อาจเลือกเพลงสมัยเก่าที่ดังในอดีต เป็นต้น นอกจาก นี้เรายังต้องเรียงลำดับเพลงที่ร้องและเรียงไดอาล็อกพูดให้เหมาะสม ซึ่งไม่มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัว ขึ้นอยู่ กับแนวคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน แต่สิ่งที่สำคัญในการร้องเพลง คือให้อารมณ์เพลงของทั้งการแสดง ต่อเนื่องกัน ให้คนดูไม่รู้สึกสะดุด เช่น เมื่อคนดูกำลังสนุกกับเพลงเร็ว เมื่อจะร้องเพลงช้าต่อนักร้องอาจ คั่นด้วยการพูดไดอาล็อกเพื่อให้คนดูปรับอารมณ์ก่อน เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการคิดคำพูดที่จะพูดกับคนดู และการเลือกเพลงที่จะร้องและการเรียงลำดับเพลงและไดอาล็อกให้เหมาะสมต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ โดย

สรุปดังต่อไปนี้

- ประเภทของผู้ชม เช่น เด็กเล็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ คนชรา หรือยศ หรือตำแหน่ง เป็นต้น

- ประเภทของงาน เช่น งานแต่งงาน งานปีใหม่ คอนเสิร์ตทั่วไป เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าในการแสดงให้ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประทับใจของผู้ชมต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ มากมาย ฉะนั้นไม่ว่าจะร้องเพลงในงานใดก็ตาม เราควรศึกษาประเภทของงานและประเภทคนดู ให้ละเอียดก่อน เพื่อให้การแสดงเหมาะสมและเป็นที่ประทับใจมากที่สุด

 กิจกรรมที่ 4.10  1) ให้ผู้เรียนเขียนไดอาล็อกโดยเลือกเพลง 10 เพลงที่จะร้อง โดยเรียงลำดับเพลง และไดอาล็อก 

                    เมื่อต้องไปร้องเพลงในงานแต่งงานและงานคอนเสิร์ตในมหาวิทยาลัย

                   2) ฝึกพูดตามไดอาล็อกที่เขียนหน้ากระจก

ตัวอย่างของบทพูดหรือไดอะล็อก ( Dialog ) สหรับเพลง 10 เพลง

งานแต่งงาน

งานคอนเสิร์ตในมหาวิทยาลัย 

ข้อสังเกต

 จะเห็นว่าการเลือกเพลงที่จะร้องและไดอาล็อกพูดจะแตกต่างกันออกไป ตามความเหมาะสมของงาน และผู้ชมหรือคนดู การร้องเพลงในงานแต่งงานอาจจะต้องพูดภาษาที่สุภาพ และอวยพรคู่บ่าวสาว ร้องเพลงช้า ๆที่มีความหมายดี ๆ ทั้งใหม่และเก่า เพราะผู้ร่วมงานอาจมีตั้ง แต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ แต่ในงานคอนเสิร์ตในมหาวิทยาลัย คนดูคือนักศึกษาเป็นส่วนใหญ่ จึงต้อง เลือกเพลงที่ทันสมัย เป็นที่นิยมของวัยรุ่น และไดอาล็อกพูดอาจไม่ต้องมาก เพราะอาจทำให้ผู้ชม หรือคนดูเบื่อ และควรใช้ภาษาเป็นกันเอง เป็นต้น

การยืนและเดินบนเวที

จากที่ได้เรียนรู้มาแล้วว่าเวทีสามารถแบ่งออกเป็นหกส่วน การยืนและการเดินบนเวทีที่เหมาะสม ช่วยให้ภาพรวมของการแสดงออกเป็นที่น่าประทับใจยิ่งขึ้น โดยส่วนใหญ่นักร้องจะยืนหรือใช้พื้นที่ บริเวณตรงกลางด้านหน้าเวที (Front) มากที่สุด เนื่องจากเป็นจุดที่คนดูทุกคนสามารถมองเห็นนักร้อง ชัดเจนมากที่สุด แต่บางครั้งเพื่อให้ได้ใกล้ชิดคนดูด้านข้างและเพื่อให้มีการเคลื่อนไหวบนเวที นักร้อง ควรเดินไปด้านหน้าซ้าย (Front left) และด้านหน้าขวาบ้าง (Front right) หรือเมื่อเวลาที่ต้องการใกล้ชิด จับมือ หรือรับของจากคนดูด้านหน้า ให้เดินมาที่ด้านหน้า (Front) ในกรณีที่เวทีมีแคทวอค นักร้องอาจ เดินไปบนแคทวอคในบางท่อนของเพลงก็ได้ และในบางครั้งนักร้องอาจมีการเดินไปด้านหลัง (Back) เมื่อต้องการแอคติ้งกับนักดนตรีก็ได้ ก่อนการแสดงจริงนักร้องจะต้องมีการซ้อมเดินบนเวทีหรือที่ เราเรียกว่า “การบล็อกกิ้ง” (Blocking) โดยบางครั้งนักร้องเป็นผู้คิดเองหรือในบางครั้งอาจมี โคโรกราฟ เฟอร์ (Chorographer) เป็นผู้ออกแบบท่าทางการแสดงรวมถึงการเดินบนเวที นักร้องไม่จำเป็นต้องเดิน ให้ทั่วเวที ในการเดินบนเวทีให้เหมาะสมขึ้นอยู่กับประเภทของเพลงที่ร้อง แสงสีและเอฟเฟคต่าง ๆ เพื่อ ให้ภาพรวมของการแสดงออกมาดีที่สุด และที่สำคัญที่สุดคือสถานการณ์ของผู้ชม เนื่องจากบางครั้ง เราไม่สามารถคาดการณ์ อารมณ์ร่วมและการมีส่วนร่วมของคนดูได้ ฉะนั้นนักร้องอาจจะต้อง ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม

กิจกรรมที่ 4.11  ให้ผู้เรียนฝึกร้องเพลงและเคลื่อนไหว โดยยืนและเดินหน้ากระจกกับเพลงต่อไปนี้

                  -เพลง เพียงแค่ใจเรารักกัน (2 become 1)

                  -เพลง Music Lover (มาช่า วัฒนพานิช)

 ข้อสังเกต-ข้อเสนอแนะ

การฝึกกิจกรรมนี้ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องอาศัยการดูคอนเสิร์ตบ่อย ๆอาจดูจากการแสดงจริงหรือจากวิดีทัศน์บันทึกการแสดงก็ได้ และพยายามหาโอกาสร้องบนเวทีจริง ๆ  ถ้าฝึกอยู่กับบ้านต้องฝึกบ่อย ๆให้เกิดความเคยชินและมั่นใจ ผู้เรียนอาจถ่ายวิดิโอขณะฝึก(ถ้ามี) ในทุก ๆ รอบ เพื่อมาดูถึงข้อดีและข้อเสียของตนเอง เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น

 สิ่งที่ไม่ควรทำขณะร้องเพลงบนเวที

บนเวทีคอนเสิร์ตนักร้องเป็นตัวละครเอกที่สำคัญที่สุด คนดูหรือผู้ชมจะให้ความสนใจกับการ แสดงออกต่าง ๆ ของนักร้องมากที่สุด นอกจากรูปร่างหน้าตาของนักร้องแล้วบุคลิกและท่าทางการ แสดงออกทั้งหมดจะช่วยส่งเสริมให้นักร้องดูดีเป็นที่ประทับใจของคนดูได้ยิ่งขึ้น ฉะนั้นนักร้องจึงควร ระวังการกระทำหรืออากัปกริยาทั้งหมดเมื่ออยู่บนเวที สิ่งต่าง ๆ ที่นักร้องไม่ควรทำเมื่ออยู่บนเวทีสามารถสรุปได้ดังนี้

  กระทบเท้าตามจังหวะเพลง

การกระทบเท้าตามจังหวะเพลงแสดงให้เห็นว่านักร้องไม่แม่นในจังหวะเพลง และยังเป็นการเบนความสนใจของผู้ชม คนดูอาจให้ความสนใจกับการกระทบเท้ามากกว่าการร้อง การแสดงออก ทางอารมณ์ของนักร้อง

   เงยหน้าขณะร้องเพลง

จากพื้นฐานการร้องเพลงการเงยหน้าขณะร้องเพลงทำให้เส้นเสียงตึง ไม่สามารถสั่นสะเทือน ได้เต็มที่ทำให้การเปล่งเสียงมีประสิทธิภาพลดลงโดยเฉพาะเพลงที่มีเสียงสูง นอกจากนี้นักร้องอยู่ใน ตำแหน่งที่สูงกว่าคนดู การเงยหน้าทำให้คนดูมองเห็นสิ่งต่าง ๆที่ไม่หน้ามอง เช่น รูจมูกและกรามดูใหญ่ขึ้น เป็นต้น

  ถือไมค์ใกล้ลำโพง

เมื่อไมค์อยู่ใกล้ลำโพงทำให้ความถี่ของไมค์กับลำโพงตรงกัน ทำให้เกิดเสียงจี๊ดได้ ก่อให้เกิดความรำคาญแก่นักร้องและผู้ฟัง เสียงรบกวนที่เกิดขึ้นอาจทำให้นักร้องเสียสมาธิได้ ขมวดคิ้วร้องเพลงเมื่อร้องเพลงเศร้าหรือเพลงที่มีเสียงสูงนักร้องบางคนขมวดคิ้ว ทำให้ไม่น่ามอง ทำให้คนดู รู้สึกเครียดไปกับเพลงเกินไป นักร้องควรฝึกไม่ให้ติดเป็นนิสัย

กระดกนิ้วขณะจับไมค์

การกระดกนิ้วเหมือนกับการกระทบเท้าตามจังหวะเพลง คือเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของคนดู และบางครั้งยังเป็นการบังหน้าตาของนักร้องอีกด้วย

เปลี่ยนมือจับไมค์บ่อย ๆ

การเปลี่ยนมือถือไมค์บ่อย ๆ ทำให้เกิดเสียงกุกกักระหว่างร้องหรืออาจทำให้เสียงร้องหายไป ชั่วขณะ และไมค์อาจหลุดจากมือได้ การเปลี่ยนมือควรเปลี่ยนในช่วงที่ไม่ได้ร้อง เช่น ช่วงโซโล่ของเพลง แต่ไม่ควรเปลี่ยนบ่อย ควรใช้มือที่ถนัดถือไมโครโฟนตั้งแต่เริ่มร้อง

    กระแอมก่อนเข้าท่อนร้อง

เมื่อมีเสมหะหรือคอแห้งควรดื่มน้ำแทนการกระแอมเพื่อป้องกันเส้นเสียงเสียดสีกัน และเสียงที่กระแอมอาจดังเข้าไปในไมโครโฟน คนดูจะสังเกตเห็นความไม่พร้อมของเสียงของนักร้องได้

    ยกไหล่ขณะหายใจ

การหายใจที่ถูกต้องในการร้องเพลงคือ หายใจด้วยกระบังลม ฉะนั้นการยกไหล่เวลาหายใจ เป็นการหายใจที่ไม่ถูกต้อง และทำให้เสียบุคลิกภาพ

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนเวที

เวลาร้องเพลงบนเวทีจริงนักร้องอาจพบเจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากความผิด พลาดของตัวนักร้องเอง หรือเป็นเหตุสุดวิสัย อุบัติเหตุบนเวทีที่อาจเกิดขึ้นสามารถสรุปได้ดังนี้

ไมค์ไม่ดัง

บางครั้งไมค์ไม่ดังมีสาเหตุมาจากลืมเปิดสวิสท์ แบตเตอร์รี่หมดหรือผู้คุมเสียง (Sound Engineer) ลืมเปิดเสียง นักร้องต้องแสดงต่อไปเพื่อให้คนดูรู้สึกว่าเป็นการผิดพลาดเพียงเล็กน้อย ในคอนเสิร์ต ทั่วไปจะเป็นหน้าที่ของทีมงาน (Back stage) เป็นคนแก้ปัญหา ในส่วนของนักร้องเองควรตรวจสอบ สวิสท์เปิดปิดไมค์ก่อนขึ้นเวที

เสียงอี๊ด

ขณะร้องเพลงหรือเดินไปใกล้ลำโพงไม่ว่าจะเป็นลำพงสำหรับนักร้อง (Sound Monitor) หรือลำโพงที่ออกไปสู่ผู้ฟัง (PA หรือ Power Audio) ไมโครโฟนยิ่งเปิดดังมากเท่าไหร่ยิ่งต้องอยู่ห่างลำโพงมากเท่านั้น ในบางครั้งอาจเกิดเสียงวัดได้ นักร้องอาจเผลอหันหัวไมค์เข้าใกล้ลำโพงมากเกินไปขณะยืนหน้า เวทีหรือขณะก้มรับของจากแฟนเพลง นักร้องต้องพยายามหันหัวไมค์ออกจากลำโพงตลอดเวลา

  สะดุดหกล้ม

เนื่องจากการปล่อยควัน (Smoke) หรือซีโอทู (CO2) หรือดรายไอซ์ (Dry ice) ทำให้นักร้องมอง ไม่เห็นพื้นต่างระดับ หรือนักร้องอาจสะดุดสายไฟบนเวที เชือกรองเท้าหรือชายกางเกงตัวเอง ก่อนการ แสดงจริงนักร้องควรซ้อมเดินบนเวทีโดยใส่ชุดที่จะแสดงจริงเพื่อให้ชินกับเสื้อผ้า รองเท้าและเพื่อจำลักษณะของพื้นเวที นอกจากนี้ก่อนขึ้นเวทีควรตรวจสอบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายให้เรียบร้อยเพื่อไม่ให้ สะดุดหกล้มได้

    ไม่ได้ยินเสียงร้องหรือดนตรี

          การไม่ได้ยินเสียงร้องหรือเสียงดนตรีเกิดขึ้นหลายสาเหตุ เช่น ลำโพงไม่ดัง หรือเสียงคนดู ปัญหาทางด้านร่างกาย เช่น เกิดอาการหูอื้อ ทำให้จับคีย์หรือจังหวะไม่ได้ การอุดหูข้างใดข้างหนึ่งเป็น วิธีแก้ปัญหาจะทำให้นักร้องได้ยินเสียงตัวเอง

    เสียงหลง

         เวลาร้องเพลงบางครั้งเกิดอาการเสียงหลง อาจจะเป็นเพราะเพลงที่ร้องมีเสียงสูงเกินไป หายใจไม่พอ หรือกรณีเพลงเต้นอาจเต้นจนเหนื่อยจนทำให้แรงหมด หรือในวันแสดงนักร้องอาจไม่สบาย กระทันหัน อย่างไรก็ตามนักร้องต้องซ้อมรันทรู (Run Through) หรือการซ้อมเหมือนแสดงจริงตั้งแต่ต้น จนจบ การรันทรูนี้ยังเป็นการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายของนักร้องก่อนการแสดงจริง

    ลืมเนื้อร้องและเข้าร้องผิดท่อน

         การลืมเนื้อร้องและเข้าร้องผิดท่อนอาจเป็นเรื่องปกติสำหรับนักร้อง ถึงแม้นักร้องจะซ้อมมา อย่างดีและจำได้แล้ว แต่บางครั้งในขณะแสดงคอนเสิร์ตนักร้องอาจมีความกังวลในเรื่องอื่น ๆ หรือกำลัง คิดว่าจะต้องทำอะไรต่อไป อาจทำให้ลืมเนื้อร้องหรือร้องผิดได้ ในการแก้ปัญหาอาจพยายามร้องต่อไป เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น หรือบางครั้งสามารถเรียกให้คนดูช่วยร้อง หรืออ่านปากคนดูก็ได้

    เฮดเซ็ตหลุด

         เฮดเซ็ตหลุดมักจะเกิดได้กับนักร้องประเภทเพลงเต้น หรือเก็บสายเฮดเซ็ตไม่เรียบร้อย ฉะนั้น

นักร้องควรตรวจสอบให้เรียบร้อยก่อนขึ้นเวที

    พูดผิดไดอาล็อก

         เมื่อนักร้องพูดไดอาล็อกผิด ควรพูดต่อไปโดยพยายามใช้ไหวพริบให้กลับมาเข้าไดอาล็อกเดิมให้ได้ พยายามแสดงไม่ให้คนฟังรู้

    คนดูฉุดหรือดึง

         นักร้องที่มีชื่อเสียงมากมักมีแฟนเพลงอยากใกล้ชิดและต้องการสัมผัส การจับมือคนดูต้อง ระวังอาจถูกฉุดกระชากได้ ในคอนเสิร์ตทั่วไปถ้านักร้องถูกฉุดจะมีทีมงาน (Back stage)ช่วยเหลือ นักร้อง สามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยการแตะมือคนดูแทน

    ลักควัน (Dry ice)

นักร้องอาจสำลักควันต่าง ๆที่ปล่อยออกมาโดยไม่ทันระวัง ก่อนการแสดงจริงนักร้องควรตรวจ สอบกับทีมงานว่าจะปล่อยควันตอนไหน เพื่อที่จะได้ตั้งตัวทัน

     สิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาอาจเกิดขึ้นโดยที่นักร้องไม่ทันตั้งตัว นักร้องต้องอาศัยประสบการณ์ในการ แสดงบนเวทีเพื่อที่จะสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันที สิ่งหนึ่งที่จะช่วยป้องกันปัญหาก็คือ นักร้องต้อง ให้ความสนใจกับการรันทรู (Run through) เพื่อให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด

การเตรียมตัวก่อนขึ้นเวที

         ก่อนขึ้นเวทีคอนเสิร์ตทุกครั้งนอกจากจะต้องดูแลรักษาร่างกายให้พร้อม ไม่ให้เจ็บป่วยแล้วยัง ต้องซ้อมเพื่อให้เกิดความเคยชินกับเวทีเพื่อให้เกิดข้อผิดพลาดในการแสดงน้อยที่สุด สิ่งต่าง ๆต่อไปนี้ เป็นการดูแลตัวเองตั้งแต่ร่างกายตลอดจนความพร้อมของรูปลักษณ์ภายนอก

    วอร์มเสียงและคลายกล้ามเนื้อ

นักร้องเหมือนนักกีฬาที่ต้องอบอุ่นร่างกายก่อนการแข่งขันเพื่อคลายกล้ามเนื้อ การวอร์มเสียง

ก่อนขึ้นเวทีทำได้ดังนี้

      1. เก็บลมแล้วปล่อยออกมาเป็นตัว “เอส” ให้ลมนิ่งและยาวที่สุดจากนั้นเก็บลมแล้วดัน กระบังลมพร้อมเปล่งคำว่า “ฮะ”

      2. วอร์มเสียงจาก Vocalize Exercise กับเปียโนหรือคีย์บอร์ด โดยให้ร้อง มา เม มี โม ม หรือ Exercise  อื่น ๆ ดังที่ได้เรียนมาแล้วตอนต้น

      3. อ้าปาก หรือเคี้ยวลม ขยับริมฝีปาก เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณขากรรไกรและริมฝีปาก

      4. เก็บลม ดันกระบังลมแล้วเป่าลมเข้าไปในมือที่ประสานกัน การเป่าลมนี้นอกจากจะช่วย ผ่อนคลายกล้ามเนื้อกระบังลมแล้วยังทำให้มืออุ่นขึ้นและลดความตื่นเต้น และยังเป็นการฝึกสมาธิอีกด้วย

       เมื่อวอร์มเสียงแล้วควรวอร์มร่างกายด้วย โดยเริ่มจากการหมุนศรีษะ หมุนไหล่และแขน หมุนเอว ยืนเท้าชิดแล้วก้มตัวลงแตะที่ปลายเท้า ประสานมือกันแล้วเหยียดแขนขึ้น สะบัดข้อมือข้อเท้า เพื่อทำให้ร่างกายอบอุ่น คลายกล้ามเนื้อและลดอาการเกร็งและจะทำให้เคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น

    การรับประทานอาหาร

        ก่อนการแสดงนักร้องควรรับประทานอาหารก่อนการแสดงจริงไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง เพื่อให้ร่าย กายได้ย่อยอาหารหมดก่อนเวลาที่ยังอิ่มอยู่ทำให้รู้สึกแน่นท้องเนื่องจากมีลมในกระเพาะอาหารมาก ทำให้หายใจไม่สะดวก ร่างกายเคลื่อนไหวได้ไม่เต็มที่ และอาจเกิดอาการจุกได้

    ดื่มน้ำไม่ให้คอแห้ง

        การดื่มน้ำเพื่อเป็นการรักษาเส้นเสียงและยังช่วยขจัดเสมหะในคอ อีกทั้งยังช่วยรักษาความ สมดุลของเกลือแร่ในร่างกายเนื่องจากนักร้องอาจสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากขณะแสดง การดื่มน้ำต้อง ค่อยๆ จิบ ไม่ควรดื่มน้ำเย็นและไม่ควรดื่มในปริมาณที่มากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดอาการจุกได้

    ตรวจสอบการแต่งกาย หน้า ผมให้เรียบร้อย

       เพื่อรูปลักษณะภายนอกที่ดูดีเสมอและป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นบนเวที ควรสำรวจหน้าผม และเครื่องแต่งกายให้เรียบร้อย เช่น ผูกเชือกรองเท้าให้แน่น เป็นต้น

    สมาธิ

      การทำสมาธิจะช่วยให้นักร้องมีสติและลดความกังวล ความตื่นเต้น ทำให้มีความมั่นใจในการแสดงออก ก่อนการแสดงอาจเก็บตัวอยู่ในที่เงียบๆ สถานที่จัดคอนเสิร์ตมักจะมี “ห้องเก็บตัวศิลปิน” การทำสมาธิสามารถทำพร้อมกับการวอร์มเสียงและการคลายกล้ามเนื้อได้

คุณสมบัติของนักร้องที่ดี

       หลายๆ คนใฝ่ฝันที่จะเป็นนักร้อง การที่จะเป็นนักร้องที่ประสบผลสำเร็จนั้นไม่ใช่แค่ร้อง เพลงไพเราะอย่างเดียว บางคนร้องเพลงเพราะแต่ไม่ประสบความสำเร็จ นักร้องที่ประสบความสำเร็จ หลายๆคนต้องใช้เวลาเรียนรู้หลายปี เริ่มจากความสนใจและรักการร้องเพลง มีความตั้งใจเรียนร้อง เพลงอย่างจริงจัง อดทนกับการฝึกซ้อม บางคนเข้าร่วมการประกวดร้องเพลงนับครั้งไม่ถ้วน ชนะบ้าง แพ้ บาง หลายคนพยายามทำทุกวิถีทางกว่าจะประสบความสำเร็จในการเป็นนักร้อง การเป็นนักร้องที่ดี มี

คุณภาพต้องประกอบด้วยคุณสมบัติและปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

       1. มีพรสวรรค์ในการร้องเพลง

        การร้องเพลงเป็นศาสตร์และศิลป์อย่างหนึ่ง ทุกคนเกิดมามีความสามารถในการร้องเพลงไม่ เท่ากัน อย่างเรื่องที่ชัดเจนที่สุด คือคนเรามีความถี่ของเสียงที่แตกต่างกัน ทำให้มีเสียงที่ต่างกันเป็น เอกลักษณ์ เสียงบางคนน่าฟัง บางคนไม่น่าฟัง รวมไปถึงสรีระต่าง ๆทางร่างกายด้วยดังที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว บางคนใช้เวลาฝึกไม่นานก็ร้องเพลงเป็น แต่บางคนต้องใช้เวลาฝึกหลายปี เช่น บางคนที่มีปัญหาด้าน การฟังทำให้ร้องไม่ตรงโน้ต อาจต้องใช้เวลาในการฝึก เป็นต้น

                  สำหรับพรสวรรค์เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่ช่วยให้ผู้ที่มีได้เปรียบบุคคลอื่นสำหรับการร้องเพลงแต่ไม่ได้      

        หมายความว่าผู้ที่ขาดพรสวรรค์จะร้องเพลงไม่ได้ หรือเป็นนักร้องที่ดีไม่ได้ โปรดจำไว้ว่ายังมี เรื่องอีกหลายเรื่องที่ 

        จะต้องฝึกฝน และการที่หมั่นฝึกฝนหรือฝึกซ้อมบ่อย ๆ สามารถทำให้เราเก่งขึ้นและ กลายเป็นนักร้องที่ดีได้เช่นกัน

     2. เข้าใจพื้นฐานการร้องเพลงเป็นอย่างดี

      นอกจากพรสวรรค์ในการร้องเพลงแล้ว นักร้องจะต้องมีความสนใจที่จะใฝ่หาความรู้ ตั้งใจ ที่จะเรียนร้องเพลงอย่างจริงจัง เพื่อให้เข้าใจพื้นฐานการร้องที่ถูกต้อง นักร้องหลายคนมีเสียงไพเราะ น่าฟังแต่ร้องเพลงไม่ชัด ทำให้สื่อสารความหมายเพลงได้ไม่ดีเท่าที่ควร การฝึกฝนพื้นฐานการร้องเพลง เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามและไม่ใช่เรื่องยากสำหรับผู้ที่รักการร้องเพลงอยู่แล้ว เพราะจริง ๆ แล้วการ ร้องเพลงต้องถือว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของเราอยู่แล้ว เพียงแต่เราต้องหัดใช้ให้เป็นและถูกต้อง เท่านั้น และหากได้ฝึกฝนบ่อย ๆ การพัฒนาการร้องเพลงของเราจะต้องดีขึ้นอย่างแน่นอน

      3. มีความมั่นใจในตัวเองและกล้าแสดงออก

      การร้องเพลงเป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่ง ถ้าเรามีความมั่นใจแล้วจะทำให้เราแสดงออกมาได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพที่สำคัญเมื่อเป็นคนที่มีความมั่นใจและกล้าแสดงออกแล้ว จะช่วยทำให้เราเป็นคนที่เข้าใจอารมณ์และแสดงอารมณ์ออกมาได้ดีด้วย เพราะนั่นคือเรามั่นใจในอารมณ์ของเรา อย่างชัดเจนว่าในอารมณ์แบบไหน การแสดงออกของเราจะเป็นอย่างไร และที่สำคัญการที่มีความ มั่นใจและกล้าแสดงออก จะทำให้เราร้องเพลงและเป็นนักร้องที่ดีได้โดยไม่รู้สึกเขินหรือประหม่า เมื่อ ต้องไปการร้องเพลงต่อหน้าสาธารณชน

       4. มีบุคลิกภาพและการแสดงออกดี

        บุคลิกภาพและการแสดงออกที่ดีจะช่วยส่งเสริมให้ผู้ชมเกิดความประทับใจในการแสดงมากยิ่งขึ้น การที่นักร้องมีบุคลิกภาพที่ไม่ดี เช่น ยืนหลังไม่ตรง เดินไม่สวย อาจทำให้ผู้ชมมีความประ ทับใจน้อยลง ดังนั้น นักร้องควรสำรวจตนเองดูก่อนว่า ตัวเองมีบุคลิกภาพจุดใดที่บกพร่อง แล้วพยายามแก้ไขด้วยการฝึกฝนในสิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งการหาข้อบกพร่องของตนเองถือเป็นเรื่องที่ยาก หากเราไม่เปิดใจยอมรับข้อบกพร่องของตนเอง เราก็จะมองไม่เห็นข้อด้อยของตนเองเพื่อที่จะแก้ไขและพัฒนา ทางออกอีกทางหนึ่งที่จะช่วยให้เรารู้ข้อบกพร่องของตนเองได้ก็คือโดยการถามข้อบกพร่อง ในเรื่องบุคลิกของเราจากบุคคลรอบข้าง ซึ่งขอแนะนำให้เลือกถามคนที่เป็นกลาง ไม่ใช่ผู้ที่หวังดี หรือไม่หวังดีกับเราเกินไป เพราะเขาเหล่านั้นอาจจะมีอคติในการบอกข้อบกพร่องต่าง ๆกับเรา ที่สำคัญ เมื่อเรารับรู้ข้อบกพร่องจากเขาเหล่านั้นแล้ว ขอให้เปิดใจให้กว้างไว้ อย่าไปโกรธเคืองหรือกล่าวโทษ พวกเขา จึงจำไว้ว่าหากวันหนึ่งเราประสบความสำเร็จได้เป็นนักร้องแล้ว จะต้องมีคนพูดถึงเราหรือวิพากษ์วิจารณ์เราอีกมากมาย

    5. สามารถร้องเพลงได้หลายแนวเพลง

           ปัจจุบันมีเพลงใหม่ๆ หลายแนวเกิดขึ้นมากมายตามยุคตามสมัย นักร้องควรฝึกร้องเพลงใน หลายๆแนวเพื่อปรับเปลี่ยนตามความนิยมของผู้ฟัง หรือในการร้องเพลงตามงานต่าง ๆ ผู้ฟังชื่นชอบแนว เพลงต่างกัน ถ้านักร้องสามารถร้องเพลงได้หลายแนว อาจสร้างความประทับใจให้กับผู้ชมทุกกลุ่มได้ นอกจากนี้เพลงแต่ละแนวมีเทคนิคการร้องที่ต่างกัน การฝึกจะช่วยเสริมสร้างเทคนิคการร้องใหม่ๆ และพัฒนาตนเองได้อีกด้วย

    6. มีเอกลักษณ์การร้องเพลง

   หากสังเกตนักร้องที่ประสบความสำเร็จจะพบว่านักร้องเหล่านี้มีเสียงและเทคนิคการร้องที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว นักร้องที่ดีไม่ควรเลียนแบบเสียง เทคนิค บุคลิกภาพและการแสดงออกของผู้ อื่น ควรร้องและแสดงออกด้วยความเป็นตัวของตัวเอง เพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้เป็นที่จดจำแก่ผู้ฟัง

            ในหลายๆ ครั้ง ผู้ร้องหรือผู้ฝึกร้องเพลง มักจะพยายามฝึกร้องโดยเลียนเสียงนักร้อง หรือเรา อาจจะได้เห็นหรือได้ยิน นักร้องที่มีเสียงร้องเหมือนหรือคล้ายกับนักร้องที่เป็นต้นแบบ การฝึกแบบนั้นก็ มีข้อดีอยู่คือเราสามารถได้เทคนิคการร้องของนักร้องคนนั้น ๆ มาด้วย แต่ข้อเสีย คือ ตัวเราจะไม่มี เอกลักษณ์ของเสียงที่ทำให้ผู้อื่นจดจำได้ ดังนั้นการฝึกร้องเลียนแบบนักร้อง เราควรฝึกเลียนแบบเฉพาะ เทคนิคของเขาเหล่านั้น ไม่ใช่ฝึกเลียนแบบเนื้อเสียง

    7. มีแนวคิดสร้างสรรค์

    ในการร้องเพลงหรือในการแสดงบนเวทีแต่ละครั้งนักร้องควรมีความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างสิ่งใหม่ๆ ทำให้การแสดงทุกครั้งดูแล้วไม่น่าเบื่อ ความคิดสร้างสรรค์ดังกล่าวอาจจะหมายความถึง การ สร้างสรรค์การร้อง หรือหาวิธีการร้องแบบใหม่ๆ รวมถึงการแสดงใหม่ๆ มาเพิ่มเติม เพื่อเป็นการสร้าง ความแปลกใหม่ให้กับการร้องเพลงในแต่ละครั้ง

           สำหรับความคิดสร้างสรรค์ในเรื่องการร้องนั้น มีได้ทั้งวิธี ในเรื่องการร้องนั้น มีได้ทั้งวิธีการร้องแบบใหม่ๆ เช่นการเอื้อนเสียง การใส่เทคนิคการร้องใหม่ๆ การสร้างอารมณ์ใหม่ๆ ให้กับเพลง หรือการสร้างเสียง Adlib หรือ การร้อง Im- provise ซึ่งการร้องทั้งสองแบบก็คือการร้องแบบอาจจะเป็นการเปลี่ยนโน้ตเดิมของเพลง แต่ยังคงให้เข้า กับทำนอง หรือเมโลดี้ของเพลงอยู่ หรือนอกจากนั้นอาจเป็นการเรียบเรียงทำนองและจังหวะใหม่ เพื่อทำให้เพลงเปลี่ยนอารมณ์ไปจากเดิม เช่น จากเพลงช้าเป็นเพลงที่เร็วขึ้น หรือจากเพลงเร็วกลายเป็น เพลงที่มีจังหวะช้าลง เพียงเท่านี้เราก็จะได้เพลงที่มีความรู้สึกแปลกใหม่ขึ้น เป็นต้น

       ตัวอย่างต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้นนั้น ถือเป็นความคิดสร้างสรรค์อย่างหนึ่งที่นักร้องควรมี ดังนั้น ผู้เรียนทุกคนจึงควรฝึกฝนไว้ด้วย การค้นหาความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ให้กับตัวเรานั้น สามารถทำได้ ด้วยวิธีง่ายๆวิธีหนึ่งก็คือ การเป็นผู้ฟังที่ดี การฟังเพลงมาก ๆ ช่วยให้เราเกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ได้ รวมถึงการฟังเพลงต่างประเทศบ่อย ๆ ก็จะช่วยให้เราได้เรียนรู้เทคนิคการร้องใหม่ๆ จากนักร้อง ต่างประเทศอีกด้วย นักร้องของไทยที่ดีหลายๆ คน ก็ฝึกฝนด้วยวิธีนี้ ซึ่งเป็นการเปิดวิสัยทัศน์ ให้กับพวกเขาด้วย นอกจากนั้นการรับข่าวสาร และการได้รู้ได้เห็นสิ่งใหม่ๆ ก็ช่วยให้เราเป็นคนที่มี ความคิดสร้างสรรค์ขึ้นด้วย เช่น การดูแสดงคอนเสิร์ต ไม่ว่าจะสดหรือดูจากสื่อบันทึกต่าง ๆ เช่น ซีดี วีซีดี หรือดีวีดี เพราะต้องไม่ลืมว่า ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่นักร้องใช้ มักจะเกิดขึ้นระหว่าง การเล่นคอนเสิร์ตของพวกเขาแต่ละครั้ง และหลายๆครั้ง แต่ละคอนเสิร์ตก็มีสิ่งใหม่ๆที่ไม่ซ้ำกันด้วย การดูสิ่งเหล่านั้นบ่อย ๆ จะช่วยให้เรามีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ เกิดขึ้นได้ด้วย

8. มีไหวพริบปฏิภาณสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้

     การร้องเพลงบนเวทีอาจเกิดข้อผิดพลาดและเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น อาจเป็นการลืมเนื้อ เพลงบ้าง ไมค์ไม่ดังบ้าง สะดุดหกล้มบ้างหรือผู้ชมไม่มีความสนใจบ้าง นักร้องจึงต้องมีปฏิภาณไหวพริบ ที่จะแก้ไขปัญหาต่าง ๆเพื่อให้การแสดงเป็นไปอย่างราบรื่นและผิดพลาดน้อยที่สุด

9. มีความอดทนและตั้งใจหมั่นฝึกซ้อมอยู่เสมอ

      การฝึกซ้อมจะช่วยพัฒนาทักษะการร้องและการแสดงออกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยัง ทำให้เรามีความมั่นใจมากขึ้น แต่การที่จะฝึกซ้อมหรือฝึกฝนได้สม่ำเสมอนั้น ต้องอาศัยความอดทน อดกลั้นเป็นอย่างมากด้วย แต่ขอให้จำไว้ว่า การหมั่นฝึกซ้อม ช่วยให้เราเป็นนักร้องที่ดีได้แน่นอน ขอให้ จำไว้ว่า “เราต้องร้องเพลงทุกวันเพื่อเป็นนักร้องที่ดี” และข้อความดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องจริงเสมอ สำหรับผู้ที่อดทนและตั้งใจ

 กิจกรรมที่ 4.12  ให้ผู้เรียนยกตัวอย่างพร้อมให้รายละเอียดสังเขปของนักร้องต่อไปนี้

                  1) นักร้องที่มีคุณสมบัติดีตามที่กำหนด พร้อมบรรยายคุณสมบัติดังกล่าวมาพอ สังเขป

                  2) นักร้องที่มีบุคลิกภาพและการแสดงออกที่ดี

                  3) นักร้องที่มีเอกลักษณ์ในการร้องเพลง

       ข้อสังเกต-ข้อเสนอแนะ

     ถ้าผู้เรียนต้องการเป็นนักร้อง หรือศิลปินที่มีอนาคต ควรเลือกนักร้องที่มีคุณสมบัติที่ดี ทั้งในการปฏิบัติตน การแสดงออก บุคลิกภาพและความสามารถในการร้องเพลง เป็นต้นแบบ

     การที่จะเป็นนักร้องที่เป็นที่นิยมชื่นชอบของผู้คน นอกจากคุณสมบัติข้างต้นแล้ว นักร้องยังต้อง รู้จักการวางตัวในสังคม รู้จักวิธีที่จะปฏิบัติตนให้เป็นที่รักของคนรอบข้างและบุคคลทั่วไป นักร้องหลาย คนไม่มีมารยาทและปฏิบัติตนไม่เหมาะสม ทำให้ความนิยมในตัวลดลงได้ การปฏิบัติตนและวางตัวใน สังคมที่คนที่จะเป็นนักร้องควรเรียนรู้มีดังนี้

      1. มีมนุษยสัมพันธ์และพูดจาดี

         นักร้องที่พูดจาดี สุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใจและเป็นมิตรกับทุกคน ก็จะเป็นที่รักของบุคคลทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นทีมงาน หรือจะเป็นบุคคลรอบข้างและบุคคลทั่วไปที่ไม่รู้จักก็ตาม บุคคลทั้งหลายนี้จะช่วย ส่งเสริมและผลักดันเต็มที่ และพร้อมที่จะทำงานให้กับเราได้อย่างสุดความสามารถด้วย

      2. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

        นักร้องต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง เพราะ บางครั้งเราอาจมองไม่เห็นข้อบกพร่องของตัวเอง การที่เรายอมรับฟัง ไม่ว่าจะเป็นข้อดีหรือข้อเสียย่อมทำให้เราได้รับทั้งกำลังใจ และยอมรับการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย

         ในทางกลับกันการไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น จะทำให้เราเป็นคนที่ ไม่ยอมรับ ในข้อบกพร่องของตนเอง และเมื่อเราไม่ยอมรับในข้อบกพร่องของตนเอง ก็ทำให้เราไม่สามารถพัฒนา ตนเองได้ เมื่อเราไม่พัฒนาตนเอง ก็จะไม่สามารถแข่งขันกับใครได้ในอนาคต หากมีบุคคลที่ดีกว่าและพัฒนาตนเองได้ดีกว่าตัวเรา

      3. อ่อนน้อมถ่อมตน

         เนื่องจากนักร้องต้องพบปะและทำงานร่วมกับบุคคลหลายฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคม ไทยให้ความสำคัญกับเรื่องอาวุโส ไม่ว่าจะเป็นวัยวุฒิหรือคุณวุฒิ การรู้จักไหว้คนที่มีวัยวุฒิหรือคุณวุฒิ สูงกว่า รวมไปถึงความสุภาพ พูดจาดี จะช่วยให้นักร้องคนนั้น เป็นที่รักของผู้ที่ได้พบเจอหรือต้องทำงานด้วย

     4. รู้จักดูแลตนเองให้ดูดีเสมอ

         คนที่จะเป็นนักร้องต้องดูแลตัวเองทั้งรูปลักษณ์ภายนอก คือ หน้าตา การแต่งตัว ให้ดูดีอยู่เสมอ และต้องรักษาภาพลักษณ์ เพราะนักร้องต้องเป็นบุคคลที่เป็นตัวอย่างที่ดี เช่น ไม่เที่ยวกลางคืน ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า ตั้งใจเรียน รวมถึงการอุทิศตนช่วยเหลือสังคมอีกด้วย เป็นต้น

       การดูแลตัวเองนั้นไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องใช้ของแพงๆเพื่อมาดูแลตนเอง เพียงแต่ต้อง เป็นคนที่รู้จักดูแลตนเอง เช่น การพักผ่อนให้เพียงพอ การออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อาจจะมีการใช้เครื่องบำรุงอื่น ๆบ้างก็ได้ เช่นการใช้ครีมบำรุงบ้างตามสมควร แต่ไม่ต้องมากจนเกินไป เพราะอย่าลืมว่าท้ายสุดแล้ว การเอาเวลากับการประทินโฉมกับการฝึกร้อง การฝึกร้องย่อมเป็นการ เสียเวลาที่ดีกว่าแน่นอน หากเราต้องการเป็นนักร้องที่ดี เป็นต้น

      5. มีความรับผิดชอบและตรงต่อเวลา

         ดังที่กล่าวแล้วว่าการเป็นนักร้องต้องทงานกับบุคคลหลายๆ ฝ่าย การรักษาเวลาเป็นสิ่ง สคัญทให้ผู้ร่วมงานอยากร่วมงานด้วย และทให้งานดเนินไปด้วยความราบรื่น ดังนั้น จึงควรเริ่มฝึก นิสัยนี้ไว้ตั้งแต่ตอนนี้ และทให้เกิดความเคยชินจนกลายเป็นนิสัยของเราขึ้นมา เพราะนิสัยนี้เป็นสิ่งที่ดี ไม่ว่าจะสหรับการเป็นนักร้อง หรือการดเนินชีวิตประจวันของเราตามปกติก็ตาม

     6. มีความกตัญญู

         นักร้องต้องรู้จักกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ ครูและบุคคลอื่น ๆที่ช่วยสนับสนุน และผลักดันในการเป็นนักร้อง ห้ามลืมว่าสังคมไทยส่งเสริมผู้ที่มีความกตัญญูรู้คุณคน แต่สิ่งนี้ต้องเป็น สิ่งที่ออกมาจากใจ และจากตัวตนที่แท้จริงของเราด้วย เพราะหากเสแสร้งหรือแกล้งทำ ก็จะไม่ใช่สิ่งที่ เกิดขึ้นจากใจ และท้ายสุดแล้วก็ต้องมีคนรู้ได้ ว่าสิ่งที่เราทำไปนั้นเป็นสิ่งที่แกล้งทำขึ้นมา เรื่องของความ กตัญญูคงเป็นสิ่งที่สอนกันไม่ได้ แต่อยากจะบอกไว้ ณ ที่นี้ว่านักร้องที่ดีควรเป็นผู้ที่มีความกตัญญูอย่างจริงใจด้วย