เพลงและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

ตอนที่ 1 การเล่น

เรื่องที่ 1 ความหมาย ประเภทและประโยชน์ของการเล่น

ความหมาย

       การเล่นของเล่นเป็นการเล่นอย่างหนึ่งที่เด็กๆ ชอบ การเล่นเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของเด็ก เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลินการเล่นของเด็กเป็นวิธีการที่เด็กแปลและถ่ายทอดความหมาย ความเข้าใจและความรู้สึกที่เด็กมีต่อสิ่งต่างๆ และสถานการณ์ต่างๆ รอบตัวออกมาเป็นการกระทำเพื่อให้ตนเองเรียนรู้และผู้อื่นได้รับรู้ความสามารถของตน

ประเภทของการเล่น

       การเล่นมี 4 ประเภท

       1. การเล่นตามอิสระของเด็ก

       การสำรวจอย่างอิสระเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับเด็ก เด็กจะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ผ่านประสาทสัมผัสหลายด้านในเวลาเดียวกัน เช่น หยิบจับสิ่งของ เคลื่อนย้ายของเล่น เดินไปมา ทั้งสำรวจ ฟังเสียง แล้วก็มองเห็น เช่น เมื่อเด็กเล่นบล็อกที่มีรูปทรงต่างกัน เต็กก็จะมองเห็นและรู้สึกถึงความแตกต่างของบล็อก อาจหยิบใส่ปาก พยายามหย่อนบล็อกลงในกล่อง

       2. การเล่นที่ต้องอาศัยผู้เชื่อมโยงประสบการณ์

       ผู้เลี้ยงดูเด็กหรือผู้ปกครองคอย เฝ้าสังเกตการเล่นของเด็ก อาจเข้าไปช่วยเหลือต่อยอดให้เด็กเรียนรู้เต็มที่แล้วเพิ่มพูนประสบการณ์ต่างๆ ให้เด็ก เชน ขณะที่เต็กเล่นต่อบล็อกอยู่อย่างอิสระ ผู้เลี้ยงดูเด็กหรือผู้ปกครองอาจจะพูด/นำเสนอ หรือช่วยวางแท่งบล็อกที่เหมาะสมเพื่อให้เด็กทำได้สำเร็จ

       3. การเล่นโดยให้ผู้เลี้ยงดูเต็กเป็นผู้เลือกกิจกรรม

       ผู้เลี้ยงดูเต็กจะเป็นผู้เลือกกิจกรรมและสร้างสิ่งเร้าต่างๆ เช่น ชี้แนะให้ต่อภาพจิ๊กซอร์ โดยต่อภาพที่สมบูรณ์ให้ดู และบอกให้รู้ว่าคือภาพอะไรจากนั้นก็ลองให้เด็กทำ

      

       4. การเล่นผ่านการเลียนแบบ

       การเลียนแบบอาจเริ่มจากทั้งตัวเด็กเองหรือจากคนรอบข้าง บางครั้งเต็กเลียนแบบได้ทันที การเล่นเลียนแบบมีความสำคัญต่อการเล่นบทบาทสมมุติ ซึ่งอาจจะช่วยเชื่อมโยงให้เด็กเกิดจินตนาการได้

ประโยชน์ของการเล่น

       1. การเล่นเพื่อพัฒนาความคิดของเด็กทางสติปัญญา การเล่นจะทำให้เกิดความคิตใหม่ๆ เกิดการจูงใจในการเรียนรู้  เมื่อเด็กได้ลงมือทำและพัฒนาความสามารถสติปัญญาเป็นการส่งเสริมประสบการณ์ ความรู้ ช่วยให้มชับค่านิยมทางสังคม รวมทั้งวางรากฐานด้านบุคลิกภาพความเฉลียวฉลาด รู้จักกฎและกติกา

       2. การเล่นเพื่อพัฒนาอารมณ์และสังคมของเด็ก จะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์พัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง พัฒนาความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง รู้จักตเอง รู้จักสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น ปรับตัวให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ เกิดการเรียนรู้ที่จะแบ่งปันและช่วยเหลือผู้อื่น

       3. การเล่นเพื่อพัฒนาความสามารถในการเคลื่อนไหว จะทำให้เกิดความสามารถในการทรงตัวได้อย่างสมดุล ช่วยให้กล้ามเนื้อต่างๆ ทำงานได้สัมพันธ์กับความเคลื่อนไหว ที่คล่องแคล่วว่องไว ร่างกายมีความคงทนและมีประสิทธิภาพ

       4. การเล่นเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ จะทำให้เต็กได้เรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ของระยะทางกับพื้นที่และทิศทาง จึงแยกรายละเอียดของสิ่งของต่างๆ เข้าใจในเรื่องของรูปทรงตำแหน่งบนล่าง ถัดไป ข้างหน้า ข้างหลัง คุณลักษณะของรูปทรงต่างๆ

เรื่องที่ 2 ตัวอย่างเกมและการเล่น

       สำหรับตัวอย่างเกมและการเล่นในตอนที่ 2 นี้ จะแบ่งเกมและการเล่นเกมตามความเหมาะสมในช่วงอายุเต็กปฐมวัย 1-3 ปี และช่วงอายุ 3-6 ปี ซึ่งมีข้อแตกต่างในพัฒนาการ คือ

       เด็กในช่วงอายุ 1-3 ปี จะเป็นวัยก่อนเข้าเรียนจะเป็นช่วงการพัฒนาการเคลื่อนไหวที่ยังไม่ค่อยสนิท ควรจะเน้นในเรื่องการฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กด้วยการหยิบขึ้นจับ ซึ่งจะช่วยให้พัฒนากล้ามเนื้อเล็กอย่างมือและนิ้วได้ดีและมั่นคง ซึ่งจะส่งผลให้เด็กเกิดความมั่นใจมากขึ้น

       ส่วนเด็กในช่วงอายุ 3-6 ปี เด็กๆ เริ่มมีการใช้ความคิดสร้างสรรค์ พลังงานในตัวจะสูงกว่าเด็กในช่วงอายุ 1-3 ปี เต็กในวัยนี้จะสนุกกับการใช้มือและขาโดยจะพาเอาความคิดสร้างสรรค์มาสร้างจินตนาการในการเล่นรูปแบบต่างๆ ผู้เลี้ยงดูเต็กจะต้องจัดเกมหรือกิจกรรมที่อยู่ในพื้นที่กว้าง เพื่อให้เด็กได้ใช้พลังงานบวกกับความคิดสร้างสรรค์ เพื่อมาสร้างจินตนาการ ในบทเกมควรจะเน้นในเรื่องการพัฒนาความคิดของเด็กเพื่อการอยู่ร่วมกันและเล่นกันอย่างมีความสุข

อย่างอิสระ

1. ตัวอย่างเกมการเล่นแบบอิสระ

       1.1 มือปั้นดิน ใจถึงดาว

             วิธีเล่น นำดินเหนียว ดินน้ำมัน มาปั้นเป็นรูปต่างๆ ตามความต้องการของเต็ก

           วัสดุอุปกรณ์

             ดินเหนียว, ดินน้ำมัน

             เครื่องมือประกอบการปั่น เช่น พิมพ์รูปต่างๆ

        จุดประสงค์

              ทำให้มือและนิ้วออกกำลังและทำงานได้อย่างคล่องแคล่วฝึกให้เด็กได้คิดและตัดสินใจ  

       1.2 ลากเส้นต่อจุด

           วิธีเล่น แผ่นกระดาษแข็งวาดภาพต่อ จุด 1-10 แล้วติดสติ๊กเกอร์ ให้เด็กใช้สีเมจิกลาก ต่อจุดออกมาว่าเป็นรูปอะไร (ลบออกได้)

           วัสดุอุปกรณ์

             กระดาษแข็ง

                สติ๊กเกอร์

                สีเมจิก

           จุดประสงค์

                ฝึกความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา

                ฝึกกล้ามเนื้อมือ

                เรียนรู้การนับ 1-10

2. ตัวอย่างการเล่นที่ต้องอาศัยผู้เชื่อมโยงประสบการณ์

       2.1 เกมภาพตัดต่อ

           วิธีเล่น

            ให้เด็กดูภาพที่สมบูรณ์ก่อนแล้วหยิบออกทีละชิ้นนำชิ้นส่วนที่แยกมาประกอบใหมให้เป็นภาพที่สมบูรณ์

          วัสดุอุปกรณ์

             ภาพตัดต่อจำนวนชิ้นตามความเหมาะสมของวัยผู้เล่น

         จุดประสงค์

                ช่วยให้เต็กได้คิดและเกิดความเชื่อมโยง

                ฝึกให้รู้จักคิดอย่างมีขั้นตอนและใช้มือกับตาประสานกันดี

       2.2 เกมซื้อไข่

           จุดประสงค์

                เพื่อพัฒนาการกล้ามเนื้อเล็ก

                เพื่อพัฒนาทักษะด้านสังคม

            วัสดุอุปกรณ์

                ตะกร้าติดกระดาษสีต่างๆ สีแดง สีฟ้า สีเขียว สีเหลือง (รวม 4 ใบ 4 สี)

                ไข่ทำจากกระดาษสีต่างๆ

             วิธีเล่น

                แบ่งเด็กออกเป็น 4 กลุ่ม (กลุ่มสีแดง สีฟ้า สีเขียว สีเหลือง)

                เมื่อเข้ากลุ่มแล้ว แจกตะกร้าที่ติดกระดาษสีให้ตรงกับฉลากที่เด็กจับได้

                ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันหาไที่ซ่อนไว้ในห้องและใสตะกร้าให้ตรงตามสี

       2.3 ตัวเลขอยู่ไหน

           วัตถุประสงค์

           เพื่อให้เด็กเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย

                เพื่อให้เด็กรู้จักตัวเลข

                เพื่อให้เด็กมีสมาธิในการฟัง

                เพื่อให้เด็กรู้จักการระมัดระวัง และความปลอดภัยในการเล่น

           อุปกรณ์

                สติ๊กเกอร์ตัวเลข 1-5

         กิจกรรม

                ร่วมกันสร้างข้อตกลงในการเล่น

                ให้เด็กเดินเป็นวงกลม

                เป่านกหวีดแล้วพูด เลข 1 ให้เด็กวิ่งมาเหยียบเลข 1 (ควรตัดสติ๊กเกอร์ให้ห่างเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กวิ่งชนกัน)

                ให้เปลี่ยนตัวเลขจาก 1 ไปถึง 5 หรือจะสลับกันก็ได้

       2.4 ธรรมชาติ

       วัตถุประสงค์

          เพื่อส่งเสริมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์

                เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน

            อุปกรณ์

                กิ่งไม้, ใบไม้

           กิจกรรม

                แบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม

                ให้เด็กถือกิ่งไม้แห้งหรือใบไม้คนละ 1 ชนิด

                ให้เด็กในกลุ่มช่วยกันใช้ใบไม้แห้ง หรือกิ่งไม้แห้งต่อรูปตามจินตนาการ

                ให้เด็กเล่าถึงสิ่งที่ตนทำว่าคืออะไร

        2.5 ลูกบอลข้ามศีรษะ

           วัตถุประสงค์

           เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ และมัดเล็ก

                ปฏิบัติตามคำสั่งได้

             อุปกรณ์

                ลูกบอล 4 ลูก

                นกหวีด

            กิจกรรม

                แบ่งเด็กเป็น 4 แถวๆ ละ 5 คน

                ให้คนที่อยู่หัวแถวถือลูกบอลคนละ 1 ลูก

                เมื่อได้ยินเสียงนกหวีด ให้เริ่มส่งลูกบอลข้ามศีรษะไปให้คนที่อยู่ด้านหลัง พอคนด้านหลังได้ลูกบอลแล้วให้วิ่งมาต่อข้างหน้าแถวแล้วส่งลูกบอลอย่างนี้ไปจนครบทุกคนให้นั่งลง

       2.6 พลังฝ่ามือ

             วัตถุประสงค์

           เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก

                เพื่อความสนุกสนาน

             อุปกรณ์

                ลูกบอลพลาสติก

                เก้าอี้

            กิจกรรม

                ให้เต็กเข้าแถว 4 แถว ให้แถวที่ 1 คู่กับแถวที่ 2 และแถวที่ 3 คู่กับแถวที่ 4

                เมื่อจับคู่ได้แล้ว แจกลูกบอลให้เต็กแถวละ 1 ลูก โดยเด็กที่จับคู่ นำลูกบอลมาไว้ที่ฝ่ามือคนละข้าง พยายามประคองลูกบอลไมให้หล่น แล้วเดินไปที่เก้าอี้ที่จัดไว้ พอเดินมาถึงเก้าอี้ให้เต็กเดินอ้อมเก้าอี้กลับมายังจุดเริ่มต้น  แล้วส่งต่อให้เพื่อนคู่ต่อไป

                ให้เด็กเล่นจนครบทุกคน

        2.7 บัวตูม บัวบาน

             วัตถุประสงค์

                ฝึกการปฏิบัติตามคำสั่ง

                ฝึกการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย

             อุปกรณ์

                ผู้เล่นประมาณ 10 คน

             กิจกรรม

       ให้เด็กยืนจับมือกันเป็นวงกลมแล้วยืนหันหน้าออกนอกวง

       เมื่อได้ยินคำสั่งว่า "บัวตูม" ให้เต็กทุกคนเดินถอยหลังเข้ากลางวง ทำให้วงเล็กที่สุด

       เมื่อได้ยินคำสั่งว่า "บัวบาน" ให้เต็กทุกคนเดินไปข้างหน้าให้เป็นวงกลมที่ใหญ่ที่สุด

       สลับกันออกคำสั่ง "บัวตูม" และ "บัวบาน"

       2.8 ลอดอุโมงค์

            วัตถุประสงค์

             ฝึกการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย

                เพื่อความสนุกสนาน

           อุปกรณ์

             (ไม่มี)

           กิจกรรม

                ให้เด็กยืนเข้าแถว

                แบ่งเด็กเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 10 คน

                ให้ยืนหรือนั่งหันหน้าเข้าหากัน แล้วจับมือยูสูงขึ้นเป็นรูปอุโมงค์

                ให้กลุ่มที่เหลือเดินหรือคลานลอดอุโมงค์

                ให้เด็กผลัดเปลี่ยนกันเป็นอุโมงค์

        2.9 เกมต่อไม้บล็อก

             วิธีเล่น เลือกแห่งไม้มาเล่นต่อกันอย่างอิสระตามจินตนาการ

             วัสดุอุปกรณ์

                แท่งไม้ขนาดรูปทรงต่างๆ ประมาณ30 ขึ้นขึ้นไป

                ที่จัดเก็บแท่งไม้

             จุดประสงค์

                ส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อ

                ฝึกประสานสัมพันธ์ระหว่างมือและสายตา

3. ตัวอย่างการเล่นโดยให้ผู้เลี้ยงดูเต็กช่วยจัดกิจกรรม

       3.1 เกมการจัดกิจกรรมการเล่าเรื่อง

       กิจกรรม ครูเล่าเรื่องนิ้วทั้ง 5 "นิ้วโป้ง พูดว่า เขามีความสำคัญที่สุด เวลาใครทำดีทำถูก คนก็จะยกนิ้วโป้งให้ นิ้วชี้ ก็บอกว่า นิ้วชี้มีความสำคัญ คือ ใช้ซี่ให้คนทำนั่นทำนี่ได้ นิ้วกลาง ก็บอกว่า เขาเป็นนิ้วที่สูงที่สุดกว่านิ้วอื่น นิ้วนาง ก็บอกว่า เขาเป็นนิ้วที่มีความสำคัญ เวลาใครจะใส่แหวนก็จะใส่นิ้วนาง นิ้วก้อย ก็คุยว่า เวลาคนพนมมือไหว้ นิ้วก้อยต้องออกหน้าเสมอ สุดท้ายแล้วนิ้วทุกนิ้วก็ต้องมีความสำคัญเท่ากัน"

       วัสดุอุปกรณ์

                นิทาน

                นิ้วมือ

       จุดประสงค์

                - เพื่อให้เป็นการฝึกการฟังของเต็กและถ่ายทอดการฟังให้เป็นภาษาที่สื่อความหมายได้

                - ฝึกทักษะการคิด

                      - ให้เห็นความสำคัญของนิ้วทั้ง 5 นิ้ว

                  -  ฝึกทักษะการจำ

4. เกมการจัดกิจกรรมด้วยการใช้เพลงกล่อม

       กิจกรรม ครูให้นักเรียนทุกคนนอนลงบนพื้น แล้วครูร้องเพลงกล่อม "นอนหลับเสียอ่อนเพลียทั้งวัน นอนหลับฝันถึงเทวดามาร่ายมารำ งามขำโสภา พอตื่นขึ้นมาเทวตาไม่มี" แล้วให้เต็กทำตามโดยให้ตัวเต็กเป็นครู แล้วนำตุ๊กตามาเป็นเต็ก แล้วร้องเพลงกล่อมเลียนแบบครูหรือเด็กอาจจะคิดแต่งเพลงกล่อมเอง

5. ตัวอย่างการเล่นผ่านการเลียนแบบ

       มุมบ้าน เป็นมุมเล่นที่จัดให้มีสภาพคล้ายบ้าน ประกอบด้วยเครื่องใช้ภายในบ้าน อาจเป็นของจริงหรือของจำลอง  เพื่อให้เต็กเกิดความอบอุ่นและได้เลียนแบบชีวิตในครอบครัว ให้เด็กเล่นอิสระในมุมบ้านตามความคิดและจินตนาการของเด็ก

       วัสดุอุปกรณ์

                เครื่องใช้ภายในบ้าน อาจเป็นของจริงหรือของจำลอง

                เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับของผู้ใหญ่ที่ใช้แล้ว

       จุดประสงค์

                ให้เด็กเรียนรู้บทบาทหน้าที่ของบุคคลต่างๆ ในบ้าน

                เด็กสามารถเล่นเลียนแบบผู้ใหญ่ตามความต้องการของตน

                ส่งเสริมการใช้ภาษาในการพูดสื่อความหมาย

6. เกมเลียนแบบท่าทางของบุคคลอาชีพต่างๆ

       วิธีเล่น ขออาสาสมัครนักเรียน 1 คน ออกมาทำท่าทางเลียนแบบบุคคลอาชีพต่างๆ และให้เพื่อนทำตาม และช่วยกันทายว่าทำท่าเลียนแบบบุคคลอาชีพอะไร แล้วเปลี่ยนให้เพื่อนคนอื่นๆ ออกมาเป็นผู้นำบ้าง

       วัสดุอุปกรณ์

                นักเรียนทุกคน

       วัตถุประสงค์

                ให้เด็กมีความมั่นใจและกล้าแสดงออก

                ฝึกความจำ การทำท่าทางเลียนแบบบุคคลอาชีพต่างๆ

                เด็กมีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการในการเลียนแบบ

                ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตาม

                ฝึกทักษะการสังเกต

7. ตัวอย่างเกมที่บ้านในการใช้ทักษะด้านต่างๆ

       7.1 กิจกรรมทักษะการฟัง

                ใครกันหนอ...ขอให้บอก

แนวคิด

       แต่ละคนมีเสียงเป็นของตนเอง

วัตถุประสงค์

       ฝึกทักษะการฟังและเปรียบเทียบ

       ฝึกการคิดหาเหตุผล

       กการปฏิบัติตามข้อตกลง

การดำเนินกิจกรรม

       เด็กแต่ละคนผลัดกันออกมาพูดทักทายกับเพื่อนๆ แล้วกลับไปนั่งที่

       เล่นเกม "ใครกันหนอขอให้บอก" ทายเสียงเพื่อน โดยเด็ก 5 คน ออกไปยืนเรียง

       แถวหลังฉากกั้น เต็กคนหนึ่งกล่าวทักทาย เพื่อนที่นั่งฟังข้างนอกให้ช่วยกันบอกว่าเป็นเสียงของใคร จากนั้นเฉลยว่าเด็กคนใดทายถูก/ผิด ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ถ้าจะให้ทายถูกควรทำอย่างไร

       เด็กๆ ผลัดกันออกมาเป็นผู้ออกเสียงและเป็นผู้ทาย

       ร่วมกันสนทนาถึงเสียงที่เต็กแต่ละคนจำได้ และสนทนาถึงประโยชน์ของการจำเสียงคนต่างๆ ได้

       นอกจากเสียงคนแล้ว เด็กๆ ช่วยกันคิดว่าควรจะจำเสียงของอะไรได้อีกบ้าง ทำไมจึงต้องจำเสียงเหล่านั้น

การประเมินผล

       สังเกตจากการร่วมกิจกรรม

       สังเกตจากการตอบคำถาม

        ตามเสียงแทมบูรีน

แนวคิด

       เราใช้หูในการฟังเสียง

วัตถุประสงต์

       ฝึกทักษะการฟัง

       ฝึกการเล่นตามกฎกติกา

       ฝึกทักษะการคิด

 สื่อ

       แทมบูรีน

       ผ้าปิดตา

การดำเนินกิจกรรม

       เด็กจับมือกันและยืนเป็นวงกลม เลือกอาสาสมัคร 1 คน ให้ออกมาใช้ผ้าปิดตาและยืนกลางวง

       เต็กปรบมือหรือร้องเพลง ขณะเดียวกันก็ส่งแทมบูรีนเวียนไปรอบๆ วง

       เมื่อร้องเพลงจบ ให้ทุกคนหยุดการส่งเสียงทุกชนิด คนที่ถือแทมบูรีนอยู่ในมือจะต้องเขย่าแทมบูรีนให้มีเสียง

       เด็กที่ปิดตาจะต้องเดินไปจับคนที่เขย่าแทมนูน แล้วผลัดกันออกไปปิดตา ยืนกลางวงแล้วตามเสียงแทมบูรีนให้ได้

       หลังจากการเล่น เด็กๆ ร่วมกันสนทนาถึงการฟังเสียงที่ทำให้สามารถเดินไปหาเพื่อนที่ทำเสียงตังได้แม้ตาจะมองไม่เห็น และร่วมกันสรุปถึงประโยชน์ของการฟัง

การประเมินผล

       สังเกตจากการร่วมกิจกรรม

       สังเกตการสนทนา

        โทรโข่งส่งเสียง

แนวคิด

       หูสามารถรับฟังเสียงได้ในระยะใกล้และไกล

วัตถุประสงค์

       ฝึกทักษะการทำงานประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมือกับตา

       ฝึกทักษะการคิด

       ฝึกทักษะการสังเกต

สื่อ

       กระดาษแข็ง

       กรรไกร

       กระดาษสื

       กาว

การดำเนินกิจกรรมม

       ครูนำภาพคนที่ใช้โทรโข่งหรือนำโทรโข่งของจริงมาให้เต็กๆ สังเกตและสนทนาร่วมกันถึงลักษณะของโทรโข่ง เช่น ทำไมส่วนปลายของโทรโข่งจึงกว้างกว่าส่วนที่ใช้พูด ชักชวนเด็กๆ ทำโทรโย่งจำลอง

       นำกระดาษแข็งมามัวน ให้เป็นรูปกรวยและติดกาวให้แน่น

       ใช้กรรไกรตัดส่วนปลายกรวย (ด้านแหลม) ให้เป็นฐวงกลม (พอดีกับปาก) และตัดฐานกรวย (ด้านกว้าง) ให้เป็นวงกลมสวยงาม

       ใช้กระดาษสีปะติดให้สวยงาม และเจาะรูเล็กๆ ที่ปลายกรวย ใช้เชือกร้อยและผูกทำไว้สำหรับไว้คล้องคอ

       เด็กเล่นโทรโข่งโดยจับคู่ยืนไกลๆ กันและพูดผ่านโทรโข่งที่ตนทำ และสังเกตเสียงที่ได้ยิน

การประเมินผล

       สังเกตจากการทำกิจกรรม

       สังเกตจากการตอบคำถาม

        เลือกสีที่ชอบ

แนวคิด

       ประสาทสัมผัสทางตาช่วยในการมองเห็นลักษณะของสิ่งต่างๆ

วัตถุประสงค์

       ฝึกทักษะการจำ

       ฝึกการเคารพกฎกติกา

       ฝึกการเล่นร่วมกันเป็นกลุ่ม

สื่อ

       เจดีย์วงแหวนจัมโบ้

       ผ้าปิดตา

การดำเนินกิจกรรม

       เด็กนั่งล้อมวงกันเป็นวงกลมแล้วขอเด็กอาสาสมัคร 1 คนออกมายืนกลางวง

       นำวงแหวนสีต่างๆ วางรอบๆ อาสาสมัคร และใช้ผ้าปิดตาอาสาสมัครไว้ไม่ให้มองเห็น

       ผู้เล่นที่นั่งล้อมวงออกมาหยิบวงแหวนออกจากวง จำนวน 1 สี

       เปิดผ้าปิดตาอาสาสมัครออกและให้ดูว่าวงแหวนสีอะไรที่หายไป

       สลับสับเปลี่ยนให้เต็กคนอื่นๆ ออกมายืนกลางวงและเป็นคนทายบ้าง การวางวงแหวนควรจะคละสีหรือวางแต่ละครั้งจำนวนไม่เท่ากัน

       เด็กร่วมเล่นเจดีย์วงแหวนอย่างอิสระ

การประเมินผล

       สังเกตการเล่นเกม

        เดินตามคำบอก

แนวคิด

       ตาช่วยในการมองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัว

วัตถุประสงค์

       เรียนรู้ตำแหน่งและทิศทาง เช่น ด้านข้าง ด้านหลัง ข้ายมือและขวามือ

       ฝึกทักษะการฟัง

       ฝึกการเล่นร่วมกันกับผู้อื่น

       ฝึกการปฏิบัติตามกฎกติกา

สื่อ

       เจดีย์วงแหวนจัมโบ้

       ผ้าปิดตา

การดำเนินกิจกรรม

       เด็กนั่งล้อมวงกันเป็นวงกลม ให้เด็กอาสาสมัคร 1 คนออกมายืนกลางวง และนำวงแหวนสีต่างๆ วางรอบๆ  อาสาสมัคร ให้อาสาสมัครมองจนจำได้ จากนั้นให้ปิดตาด้วยผ้า

       เด็กที่นั่งตกลงกันว่าจะให้ผู้ที่ปิดตาเดินไปหยิบวงแหวนสีอะไร

       เด็กช่วยกันบอกทิศทางหรือตำแหน่งของวงแหวนที่ต้องการให้อาสาสมัครไปหยิบ

       อาสาสมัครจะต้องคอยฟังทิศทางการบอกตำแหน่งจากเพื่อนๆ ถ้าเดินไปหยิบวงแหวนผิดสีจะต้องเริ่มเล่นใหม่ แต่ถ้าหยิบสีที่ถูกต้องได้ก็ให้เลือกเพื่อนคนอื่นๆ มายืนกลางวงแทนตนและเริ่มเล่นเกมใหม่

การประเมินผล

       สังเกตจากการร่วมกิจกรรม

       สังเกตการบอกตำแหน่งและทิศทาง

 กิจกรรมเสนอแนะ

       ถ้าไม่ใช้เจดีย์วงแหวนอาจใช้สื่ออื่นที่มีสีต่างๆ แทนได้

7.2 กิจกรรมทักษะการสังเกต

                หาจนเจอ

แนวคิด

       การสัมผัสบอกให้รู้ถึงผิวรูปทรงของวัตถุ

วัตถุประสงค์

       ฝึกทักษะการสังเกตและจำแนกจากการใช้ประสาทการสัมผัส

       ฝึกการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์

       ฝึกทักษะการคิด

สื่อ

       ลูกบอลสี ตุ๊กตาขนนุ่ม

       ผ้าขนหนูมัดเป็นตุ๊กตา ถุงเท้ายัดนุ่นเย็บปีดปลายถุง

       ผ้าปิดตา ถุงดำ

การดำเนินกิจกรรม

       ครูนำของเล่นมาให้เด็กสัมผัส สังเกต แล้วนำของเล่นทั้งหมดใสถุงดำ

       เด็กๆ เล่นเกม "ควานให้เจอ" โดยอาสาสมัคร 1 คนออกมายืนข้างถุงดำใช้ผ้าปิดตาเด็กอีกคนหยิบของเล่นในถุงดำ 1  อย่างออกมาให้คนปิดตาสัมผัส แล้วเก็บใส่ถุงดำ จากนั้นคนที่ปิดตาพยายามควานหาของเล่นชิ้นเดิมให้พบ แล้วชูให้เพื่อนๆ ดูแล้ว ปิดผ้าปิดตาออก เพื่อนๆ ช่วยกันเฉลยว่าถูกหรือไม่ ผลัดกันเล่นจนทั่วทุกคน

       เด็กๆ ร่วมสนทนากันโดยครูใช้คำถามนำ ดังนี้

             เด็กๆ หยิบของเล่นได้ถูกอย่างไร

                ทำไมเด็กบางคนหยิบของเล่นไม่ถูก

                การหยิบของโดยไม่ต้องดู ที่เด็กๆ ทำได้มีอะไรบ้าง

                การใช้มือหยิบของโดยไม่ต้องดูช่วยเด็กๆ ได้อย่างไร

การประเมินผล

       สังเกตจากการร่วมกิจกรรม

       สังเกตจากการแสดงความเห็น

กิจกรรมเสนอแนะ

       เมื่อเต็กเล่นเกมได้แล้วให้เพิ่มความชับช้อนของเกมโดยเลือกของเล่นที่มีสัมผัสผิวและรูปทรงใกล้เคียงกันมาให้เด็กเล่นทาย

        เติมให้ต่าง

แนวคิด

       การสัมผัสทำให้รับรู้ถึงพื้นผิวของวัตถุ

วัตถุประสงค์

       ฝึกทักษะการสังเกตและเปรียบเทียบการใช้ประสาทสัมผัส

       ฝึกทักษะการคิดและตัดสินใจ

       ฝึกการทำกิจกรรมอย่างมีระบบ

สื่อ

       แป้งผสมสีและน้ำ

       เศษวัสดุ เช่น เม็ดทรายหยาบ เมล็ตข้าวเปลือก งาดำ เมล็ดถั่วเขียว เม็ดโฟม เศษ ขี้เลื่อย เม็ดมะกล่ำ หรือเมล็ดพืชแห้งที่มีในท้องถิ่น

       กระดาษ

การดำเนินกิจกรรม

       ครูนำเศษวัลดุ สำหรับทำพื้นผิวแตกต่างกันมาให้เด็กๆ สังเกตความแตกต่าง

       เด็กทำกิจกรรมละเลงสีด้วยแป้งผสมสี โดยออกแบบภาพให้มีส่วนหนึ่งเป็นภาพแป้งสี อีกส่วนหนึ่งเด็กๆ เลือกวัสดุตามต้องการตกแต่งลงไปในภาพตามที่ออกแบบไว้

       นำภาพไปผึ่งให้แห้ง เมื่อภาพแห้งแล้วนำผลงานมาแสดงและสังเกตจากการสัมผัส โดยครูใช้คำถามนำดังนี้

                ภาพที่แห้งแล้วต่างไปจากเดิมขณะที่ทำอย่างไร

                ภาพของแต่ละคนเหมือนกันหรือไม่

                อะไรทำให้ภาพแต่ละภาพมีความแตกต่างกัน

                พื้นผิวของภาพเป็นอย่างไรบ้าง

                เมื่อเด็กสัมผัสพื้นผิวต่างๆ ของภาพ เด็กๆ ทราบอะไรบ้าง

การประเมินผล

       สังเกตจากการร่วมกิจกรรม

       สังเกตจากการตอบคำถาม

        มีกลิ่นไหม

แนวคิด

       การดมทำให้รับรู้เรื่องกลิ่น

วัตถุประสงค์

       ฝึกทักษะการสังเกตและเปรียบเทียบจากการดม

       ฝึกทักษะการใช้ประสาทสัมผัสในการแสวงหาข้อมูลของเล่นต่างๆ

 

สื่อ

       ยาดม

การดำเนินกิจกรรม

       ครูนำยาดมมาให้เด็กดม และถามว่า ใครเคยดมยาดมบ้าง ดมทำไม เด็กๆ รู้จักใครบ้างที่ชอบดมยาดม เวลาดมยาเด็กๆ รู้สึกอย่างไร เราดมยาดม ตอนไหนบ้าง อะไรอีกบ้างที่มีกลิ่น เด็กๆ ใช้อะไรดมยา ถ้าไม่ใช้จมูกดมเด็กๆ จะได้กลิ่นหรือไม่

       เด็กๆ สำรวจว่าสิ่งของในห้องมีอะไรบ้างที่มีกลิ่น และอะไรที่ไม่มีกลิ่น จากนั้นช่วยกันสรุป

       เด็กๆ ออกไปกลางแจ้ง แล้วสูดหายใจแรงๆ พร้อมกับบอกว่าได้กลิ่นอะไรบ้าง ใครชอบกลิ่นอะไรและไม่ชอบกลิ่นอะไร

       เด็กๆ กลับไปที่ห้องเรียน แล้ววาดภาพสิ่งของที่มีกลิ่นกับไม่มีกลิ่นลงบนกระดาษแผ่นใหญ่คนละภาพแล้วนำแผ่นกระดาษติดแสดงไว้บนป้ายนิเทศ

การประเมินผล

       สังเกตจากการทำกิจกรรม

       สังเกตจากการตอบคำถาม

        หยดสีสร้างภาพ

แนวคิด

       สีเปลี่ยนแปลงได้ด้วยการผสม

วัตถุประสงค์

       ฝึกทักษะการสังเกต

       ฝึกทักษะการใช้ภาษา

       ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม

สื่อ

       แผ่นใสหรือพลาสติกผิวเรียบ

       สีน้ำ

       กระดาษขาว

การดำเนินกิจกรรม

       ครูหยดสีลงบนแผ่นใสหรือพลาสติกแข็งผิวเรียบ โดยหยดลงไปหลายๆ สี และพยายามไม่ให้สีที่หยดลงไปนั้นกลิ้งไปผสมกัน

       นำกระดาษขาววางทับลงบนสีที่หยดใช้มือกดเบาๆ ให้เรียบ วางไว้สักครู่ จึงดึงกระดาษออกจะได้กระดาษที่มีลวดลายสีต่างๆ

       สนทนากับเด็กเกี่ยวกับสีที่เกิดขึ้นใหม่ โดยบอกว่าเป็นสีอะไร เกิดจากสีอะไร ผสมกับสีอะไร

       นำผลงานเมื่อสีแห้งแล้วนำไปจัดที่ป้ายนิเทศ

การประเมินผล

       สังเกตจากการร่วมกิจกรรม

       สังเกตจากการตอบคำถาม

กิจกรรมเสนอแนะ

       นอกจากจะใช้แผ่นใสหรือพลาสติก อาจทดลองกับพื้นชนิดอื่น เชน ใบไม้ชนิดต่างๆ ทั้งสดและแห้ง และสังเกตผลที่เกิดขึ้น

        ตีกลอง ลองทำ

แนวคิด

       เราใช้สีเป็นสัญลักษณ์ของบางอย่าง

วัตถุประสงค์

       ฝึกทักษะการเคลื่อนไหว

       ฝึกทักษะการฟัง

       ฝึกทักษะการเปรียบเทียบ จำแนกเสียงที่ได้ยิน

       ฝึกการปฏิบัติตามกฎกติกา

สื่อ

    กลอง 3 โทน

การดำเนินกิจกรรม

       ครูเคาะจังหวะกลอง 3 โทนแต่ละสีให้เด็กสังเกตความแตกต่างของเสียง

       เด็กๆ ทดลองเคาะกลองและฟังเสียง

       กำหนดการเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเสียงตึกลอง โตยให้เด็กปฏิบัติตามข้อตกลง ดังนี้

                ถ้าครูตึกลองสีแดง ให้เด็กคลาน

                ถ้าครูตึกลองสีเหลือง ให้เด็กกระโดด

                ถ้าครูตึกลองสีน้ำเงิน ให้เต็กเดินถอยหลัง

       ครูดีกลองแต่ละสีให้เต็กปฏิบัติตามที่กำหนด

       ปรับเปลี่ยนข้อตกลงตามข้อเสนอของเด็ก

 การประเมินผล

       สังเกตการเคลื่อนไหวร่างกาย

       สังเกตการปฏิบัติตามข้อตกลง

        ชื่อสีมีต่อ

แนวคิด

       วัตถุมีสีที่เหมือนและแตกต่างกัน

วัตถุประสงค์

       เรียนรู้ชื่อสีต่างๆ

       ฝึกทักษะการสังเกตและเปรียบเทียบ

       ฝึกการปฏิบัติตามข้อตกลง

สื่อ

       บล็อกกรุ๋งกริ่งคละแบบ

       รถไฟมีเสียง

       รถไฟหรรษา

       ถาดหลักทรงกระบอก

       แผ่นป้ายสี

การดำเนินกิจกรรม

       เด็กๆ สังเกตของเล่นประเภทบล็อก รถไฟ และรูปทรงที่มีสีต่างๆ ที่มีอยู่ในห้องและช่วยกันบอกชื่อสีของของเล่นที่มี

       เริ่มกิจกรรมโดยครูหยิบบล็อก 2 ชิ้นที่มีสีต่างกัน บอกชื่อสีของบล็อกแต่ละชิ้น แล้ววางลงเรียงกับพื้น เด็กที่เป็นอาสาสมัครคนถัดไป หาของเล่น 2 ชิ้นที่มีสีเหมือนบล็อกของครู 1 ชิ้น และอีกชิ้นหนึ่งเป็นสีอะไรก็ได้นำมาเรียงต่อ โดยให้วางบล็อกชิ้นที่สีเหมือนต่อกับของเดิมและวางอีกชิ้นลงไปคู่กัน คนต่อไปต้องหาของสีที่เหมือน มาเรียงต่อและวางของสีอื่นลงไป ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ และต่อจนทุกคนพอใจ

       เมื่อเรียงจบแล้วให้นับจำนวนสีจากของทีละคู่ว่าสีแต่ละสีมีจำนวนของเท่าใดแล้ว เขียนลงบนแผ่นป้ายสี ไปติดแสดงที่ป้ายนิเทศ

การประเมินผล

       สังเกตจากการต่อสี

       สังเกตจากการปฏิบัติตามข้อตกลง

กิจกรรมเสนอแนะ

       นอกจากการทำกิจกรรมโดยใช้บอกสีในห้องแล้ว อาจพาเด็กไปจัดกิจกรรมกลางแจ้ง แล้วใช้วัสดุตามธรรมชาติแทน เช่น ใบไม้แห้ง ก้อนหิน เศษเปลือกไม้หรือเปลือกหอย ซึ่งจะเป็นการเพิ่มทักษะการสังเกตในรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น

        มีเส้น...มีสี

แนวคิด

       วัตถุรูปทรงเดียวกันอาจมีสีต่างกันหรือเหมือนกันได้

วัตถุประสงค์

       ฝึกทักษะการสังเกตและเปรียบเทียบ

       ฝึกทักษะการใช้กล้ามเนื้อเล็ก

       ฝึกทักษะการจำโดยการลอกแบบ

       ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์และการกำหนดเกณฑ์ด้วยตนเอง

 สื่อ

       ถาดหลักทรงกระบอก

       แผ่นภาพแสดงเส้นตรงในทิศทางต่างๆ

การดำเนินกิจกรรม

       ครูสาธิตการเล่นถาดหลักทรงกระบอกและให้เด็กๆ ทดลองเล่นถาดหลักทรงกระบอกจนคุ้นเคย

       นำแผ่นภาพที่มีเส้นลักษณะต่างๆ ให้เด็กสังเกต และหดลองเรียงแห่งไม้รูปทรงกระบอกลงในถาดตามแบบเส้น

       เล่นเกม "มีเส้น มีสี" โดยขอให้เด็กออกมาเรียงแท่งไม้ตามรูปแบบเส้นที่กำหนด โดยใช้เกณฑ์ต่างๆ เช่น

       - เรียงโดยใช้สีเดียวกัน

       - เรียงสลับสี

       - เรียงสลับสี 2 ชิ้น

       อาจผลัดเปลี่ยนโดยเด็กๆ อาจเป็นผู้สร้างภาพตามเส้นเองและกำหนดเกณฑ์เอง และอธิบายให้เพื่อนๆ ฟังถึงวิธีคิดของตน

การประเมินผล

       สังเกตจากการร่วมกิจกรรม

       สังเกตการเสนอเกณฑ์ด้วยตนเอง

กิจกรรมเสนอแนะ

       สามารถเล่นโดยใช้วัตถุอื่นเรียงตามแบบที่กำหนดแทนถาดหลักทรงกระบอกก็ได้ เช่น ไบไม้ ก้อนหิน หรือเปลือกหอย ซึ่งอาจตัดแปลงให้เป็นกิจกรรมศิลปะ โดยให้เด็กเรียงวัสดุสีเดียวกัน เป็นเส้นและทากาวแปะติดบนกระดาษก็ได้

7.4 กิจกรรมความคิดสร้างสรรค์

             รูปทรงแปลงร่าง

แนวคิด

       วัตถุต่างชนิดกันอาจมีรูปทรงเดียวกัน

วัตถุประสงค์

       ฝึกทักษะการสังเกตรูปร่าง

       ฝึกทักษะการจำแนก การเปรียบเทียบรูปร่าง

       ฝึกการบังคับกล้ามเนื้อมือ

       ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

สื่อ

       บล็อกกรุงกริ๋งคละแบบ

       กระดาษ

       ถาดหลักทรงเรขาคณิต

       สีเทียน

การดำเนินกิจกรรม

       ครูแนะนำให้เด็กรู้จักรูปทรงกลม โดยใช้คำถามนำ ดังนี้

       - เด็กรู้จักอะไรบ้างที่เป็นรูปทรงกลม

       - ในห้องเรียนมีอะไรบ้างที่เป็นทรงกลม

       แนะนำให้เด็กรู้จักสี่เหลี่ยม และสามเหลี่ยมโดยใช้คำถามลักษณะเดียวกัน

       เด็กเลือกบล็อกคนละ 1 ชิ้น แล้วบอกชื่อรูปทรงบล็อกของตน

       เด็กวางบล็อกบนกระดาษใช้ดินสอลากตามแนวของบล็อก

       ต่อเดิมภาพเป็นรูปต่างๆ ตามจินตนาการอย่างอิสระ

การประเมินผล

       สังเกตจากการตอบคำถาม

       สังเกตจากการร่วมกิจกรรม

       สังเกตการต่อเติมภาพ

        สิ่งของต้องมีหลายขนาด

แนวคิด

       วัตถุชนิดเดียวกันอาจมีหลายขนาด

วัตถุประสงค์

       ฝึกทักษะการสังเกตและเปรียบเทียบ

       ฝึกทักษะการใช้ภาษา

       ฝึกการทำงานประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมือกับตา

       ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ

สื่อ

       กล่องเรขาแสนกล

       สีเทียน

       กระดาษ

       ดินสอ

การดำเนินกิจกรรม

       ครูวางกล่องเรขาแสนกลบนโต๊ะและสนทนากับเด็กโดยใช้คำถามนำ เช่น

       - กล่องเป็นรูปทรงอะไร

       - รูปทรงของกล่องเหมือนกับอะไรบ้างในห้องเรียน

       ถอดกล่องแต่ละขึ้นวางเรียงกันให้เด็กออกมาเรียงลำตับกล่องจากขนาดเล็กไปใหญ่ หรือเรียงจากขนาดใหญ่ไปเล็ก หรือเรียงจากสีที่เพื่อนๆ ช่วยกันบอก

       แล้วร่วมสนทนากับเด็กโดยใช้คำถามนำ ดังนี้

       - กล่องทั้งสี่ใบแตกต่างกันอย่างไรหรือเหมือนกันอย่างไร

       - ของใช้เด็กมีอะไรบ้างที่มีหลายๆ ขนาด

       - ถ้าของใช้ของเด็กๆ มีขนาดเดียวกันหมดกับของผู้ใหญ่จะเป็นอย่างไร

       เด็กวาดภาพระบายสีโดยมีเงื่อนไขว่า ทุกๆ สิ่งที่วาดจะต้องมีขนาดเท่ากันหมด

       เมื่อวาดภาพเสร็จสนทนากับเด็กเกี่ยวกับภาพที่ได้

การประเมินผล

       สังเกตจากการร่วมกิจกรรม

       สังเกตจากการตอบคำถาม

       สังเกตการวาดภาพ

       รูปร่างหรรษา

แนวคิด

       วัตถุเดียวกันอาจมีหลายขนาด

วัตถุประสงค์

       ฝึกทักษะการเรียงลำดับ

       ฝึกทักษะการฟัง

       ฝึกทักษะการเคลื่อนไหว

       ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

สื่อ

       กลอง 3 โทน

       กระดาษหนังสือพิมพ์

การดำเนินกิจกรรม

       ครูตัดกระดาษหนังสือพิมพ์เป็นรูปวงกลม สี่เหลี่ยม และสามเหลี่ยม หลายๆ ขนาดวางบนพื้นห้อง

       เด็กแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม สมาชิกแต่ละกลุ่มยืนเป็นวงกลมรอบกระดาษหนังสือพิมพ์

       เมื่อได้ยินเสียงกลองให้เด็กเคลื่อนไหวตามจังหวะพร้อมกับทำท่าทางต่างๆ ไปรอบกระดาษ

       เมื่อเสียงกลองหยุดให้ทุกคนฟังคำสั่งและปฏิบัติตาม เช่น

       - เรียงกระดาษจากเล็กไปใหญ่ แล้วยืนบนกระดาษ

       - วางกระดาษซ้อนทับกัน แล้วยกกระดาษขึ้นเหนือศีรษะ

       - พับครึ่งกระดาษ แล้วให้ข้อศอกทุกคนแตะกระดาษไว้

       กลุ่มใดทำเสร็จก่อนเป็นผู้ชนะ

การประเมินผล

       สังเกตจากการร่วมกิจกรรม

       สังเกตการปฏิบัติตามข้อตกลง