การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองเด็กปฐมวัย

ตอนที่ 1 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

เรื่องที่ 1 การเคลื่อนไหวและจังหวะ

ดนตรีและการเคลื่อนไหว มีผลต่ออารมณ์และความรู้สึก รวมทั้งพัฒนาการทางสมองของเด็กปฐมวัยเมื่อเริ่มใช้ดนตรีต้องเริ่มจากพื้นฐานง่ายๆ และปฏิบัติด้วย ความระมัดระวัง โดยใช้เครื่องเสียงเท่าที่มีความสามารถหาได้ แล้วเปิดเพลงคลอเบาๆ ในขณะที่ทํากิจกรรมโดยผู้เลี้ยงดูเด็กต้องไม่ให้ความสําคัญกับการเตรียมอุปกรณ์ เพลง จนเป็นที่ดึงดูดความสนใจของเด็กมากกว่าสนใจกิจกรรมที่จัดให้

การเลือกเพลงควรเลือกให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น

• ใช้เพลงบรรเลง ที่มีจังหวะดนตรีที่สอดคล้องกับการเต้นของหัวใจ (จังหวะ เคาะหนึ่งครั้งต่อหนึ่งวินาทีหรือต่อการเดินจังหวะช้าๆ) เวลาประมาณสองสามนาที สําหรับกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายร่างกายควรใช้เพลงลักษณะนี้เป็นเพลงก่อนหมดชั่วโมงเรียน

• ใช้เพลงบรรเลงจังหวะที่หนักแน่นแต่ไม่เร็วเกินไปเช่นเพลงจังหวะมาร์ชแบบช้าสําหรับการเริ่มต้น ทํากิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว

• ใช้เพลงบรรเลงดนตรีที่คลาสสิก มีระดับเสียงสูงต่ำของเสียงดนตรีที่ค่อนข้างมีความซับซ้อนประณีต ใช้สําหรับกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิดอย่างสงบ และใช้สมาธิ

• ใช้เพลงที่นุ่มนวลในแนวเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงน้ำไหล นกร้อง โดยไม่เป็นจังหวะ ในช่วงเวลาที่ผ่อนคลาย ใช้ความคิดสร้างสรรค์

กล่าวโดยสรุปคือ ดนตรีที่ส่งเสริมความคิดที่ดี ต้องเป็นดนตรีที่กลั่นกรองมาดี เช่น ดนตรีคลาสสิก หรือดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีไทย ดนตรีที่ไม่ได้มีการปรุง แต่งด้วยเทคโนโลยีจนผิดธรรมชาติ เนื่องจากมีงาน วิจัยทางดนตรีหลายชิ้นในต่างประเทศ พบว่า ถ้าเด็ก ทารก ได้ฟังเพลงคลาสสิกที่คัดสรรแล้ว เมื่อเด็กโตขึ้น จะมีพัฒนาการทั้งร่างกายและสมองเร็วกว่าเด็กปกติ คือ ความสามารถทางการได้ยิน การใช้กล้ามเนื้อ การพูด การอ่าน ความมีสมาธิการตอบสนองโดยทั่วไป ดีกว่าเด็กปกติ กิจกรรมการเคลื่อนไหวมีความสําคัญกับการเรียนรู้ เพราะขณะที่กําลังเรียนรู้เด็กจะใช้ความพยายามในการปฏิบัติกิจกรรมส่งผลให้มีระบบการหายใจช้าลงสมองได้รับออกซิเจนน้อยลง การเปลี่ยนแปลงอิริยาบถให้มีการเคลื่อนไหวบ้างจะทําให้หายใจได้ลึกขึ้น

กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ จะมีอยู่ 3 ลักษณะคือ

1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่

2. การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่

3. การเคลื่อนไหวพร้อมอุปกรณ์

1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ เช่น การปรบมือ การผงกศีรษะ การเตะเท้า การแกว่งแขนขา หรือการย่ำเท้าอยู่กับที่ จะใช้เป็นการเริ่มต้นการฝึกการเคลื่อนไหว ของเด็กเพื่อให้เข้าใจเรื่องกฎ กติกา การให้สัญญาณเริ่มต้น จังหวะง่ายๆ ไม่ซับซ้อน

2. การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ เช่น การคืบ การคลาน การเดินลักษณะย่อง กระโดดไปข้างหน้าและข้างหลัง การกระโดดไปข้างๆ ทั้งซ้ายและขวา การเลียนแบบ ท่าสัตว์ เลียนแบบเครื่องยนต์กลไก การเลียนแบบปรากฏการณ์ธรรมชาติ

3. การเคลื่อนไหวพร้อมอุปกรณ์ เช่นการใช้ริบบิ้น หรือไม้เป็นส่วนประกอบ ในการเคลื่อนไหวร่างกายโดยการพัฒนาทั้ง 3 ลักษณะนี้ เมื่อเด็กได้รับการพัฒนาในระยะหนึ่งแล้ว จะสามารถพัฒนาการเคลื่อนไหวได้อีกในระดับที่สูงขึ้นไปคือ

1. การเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์ ได้แก่ การสร้างสรรค์ทักษะในเรื่องของ
รูปทรง คือ จัดร่างกายให้สามารถเคลื่อนไหวสร้างสรรค์ได้ชัดเจน
ทิศทาง คือ การเคลื่อนไหวไปในทุกทิศทาง
จังหวะ คือ การเคลื่อนไหวตามจังหวะเพลง คือ จังหวะช้า จังหวะเร็ว และการหยุดโดยฉับพลัน

ระดับ คือ การจัดระดับของการเคลื่อนไหวตามระดับของร่างกาย คือระดับต่ำ ระดับกลาง ระดับสูง

อารมณ์ คือ การพัฒนาแสดงความรู้สึก ท่าทาง การเคลื่อนไหวไปตามท่วงทำนองเพลง

2. การเคลื่อนไหวเพื่อพัฒนาระบบสร้างสมดุลของร่างกายเป็นการบริหาร อวัยวะส่วนต่างๆ โดยใช้กิจกรรมยืดเส้นยืดสายจะช่วยพัฒนาและเสริมสร้างระบบทางเดินระบบประสาทให้แข็งแรงขึ้นจะกระตุ้นอวัยวะรับความรู้สึกเคลื่อนไหวและการเตรียมตัวของร่างกาย กิจกรรมยืดเส้นยืดสายอาจคล้ายคลึงกับการออกกําลังกายเพื่อการฝึกและยืดหยุ่นกล้ามเนื้อที่นักกีฬาใช้ในการอบอุ่นร่างกาย

3. การเคลื่อนไหวเพื่อพัฒนาระบบข้อต่อของร่างกายเป็นการบริหาร อวัยวะต่างๆ ที่เป็นข้อต่อของร่างกาย เช่น ต้นคอ หัวไหล่ ข้อแขน ข้อมือ กระดูกสันหลัง ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อนิ้วเท้า โดยอาจใช้วิธีนวดหรือหมุนข้อต่อเหล่านั้น ให้ผ่อนคลาย

กิจกรรมที่ 9 ให้นักศึกษาคิดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะทั้ง 3 รูปแบบ คือ การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ และ การเคลื่อนไหวพร้อมอุปกรณ์ รูปแบบละ 2 กิจกรรม แล้ว นําไปทดลองใช้กับเด็กปฐมวัย โดยใช้เวลา 2 สัปดาห์ ตามความ เหมาะสมแล้วบันทึกผลการปฏิบัติกิจกรรม


เรื่องที่ 2 การออกกําลังกายบริหารสมอง (Brain Gym)

ความจําเป็นของการจัดกิจกรรมออกกําลังกายพัฒนาสมองให้แก่เด็กปฐมวัย เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาสมองของเด็ก นั่นคือ สมองของเด็กปฐมวัยจะมี การรับรู้เหมือนกับภาพ 3 มิติโดยได้รับการกระตุ้นประสาทสัมผัสหลายๆ ทาง ดังนั้น หลักการของการเคลื่อนไหวออกกําลังกายบริหารสมองคือ

1. กิจกรรมการเคลื่อนไหวข้ามเส้นศูนย์กลางของร่างกาย และด้านขวา ตามแนวดิ่ง เพื่อควบคุมทักษะด้านการแปลข้อมูล สัญลักษณ์ รหัส เส้น กระตุ้นการบูรณาการสมองทั้งสองด้านด้านซ้ายเกี่ยวกับการอ่าน

2. กิจกรรมการเคลื่อนไหวข้ามเส้นกลางของร่างกายด้านหน้าและด้านหลังเพื่อพัฒนาสมาธิหรือมีความสนใจ จดจ่อ ความสามารถในการแสดงออก

3. กิจกรรมการเคลื่อนไหวข้ามเส้นกลางของร่างกายระหว่างส่วนบนและ ส่วนล่าง เพื่อพัฒนาความรู้สึกด้านอารมณ์ กระตุ้นให้เกิดการตอบสนองและเพื่อให้ เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย เตรียมพร้อมที่จะเรียนรู้หรือรับข้อมูล

โดยให้มีการเคลื่อนไหว ตา มือ และร่างกาย ที่ประสานกัน สอดคล้องเป็น ระบบ เป็นจุดมุ่งหมายของเคลื่อนไหว และใช้ท่าบริหารการเคลื่อนไหวนี้อย่างประจำ ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์หรือเดือน หรืออาจกลายเป็นกิจวัตรของเด็ก เพื่อคลาย ความเครียดหรือเพื่อกระตุ้นให้เกิดความกระปรี้กระเปร่า ดังนั้น ผู้เลี้ยงดูเด็กควรให้ โอกาสให้เด็กได้มีการเคลื่อนไหวอย่างอิสระ ในแบบฉบับของตนเอง เพื่อวงจร การเรียนรู้ของเด็กเสร็จสมบูรณ์ตามศักยภาพ โดยพึงระวังไว้เสมอว่า เด็กอายุเท่ากัน ความสามารถของสมองไม่เท่ากัน

อธิบายกิจกรรมต่างๆ ได้ดังนี้

1. กิจกรรมการเคลื่อนไหวข้ามเส้นศูนย์กลางของร่างกายด้านซ้าย และขวาตามแนวดิ่งได้มีการนิยามเป็นครั้งแรกโดย ดร.พอล อี แดนนิสัน เป็นการเคลื่อนไหวที่ต้องใช้กล้ามเนื้อประสาทสัมผัสกับสายตาด้านซ้ายและขวาให้ทํางานร่วมกันอย่างเต็มที่ เพื่อพัฒนาการมองเห็นของในตาของเด็กให้เป็นหนึ่งเดียว ให้สามารถมองเห็นภาพที่อยู่ไกลเกินกว่าช่วงแขน และพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่และ กล้ามเนื้อมัดเล็ก มีกิจกรรมดังนี้ 

จะเคลื่อนไหวสลับกันไปมา การเคลื่อนไหวสลับข้าง จะเป็นการเดินย่ำเท้าอยู่กับที่ แต่แขนและขา ใช้ท่านี้สําหรับการเริ่มต้นและเพื่อเป็นการอบอุ่นร่างกาย ก่อนปฏิบัติกิจกรรมอื่น อาจใช้เพลงประกอบเพื่อความสนุกสนานโดยเริ่มต้นจาก เพลงจังหวะช้าแล้วค่อยๆ เร่งจังหวะเร็วขึ้น

- ให้ใช้มือแต่ละข้างแตะอวัยวะส่วนที่อยู่ตรงกันข้าม สลับกันไปมา

- ให้ยื่นแขนและขาออกไปและข้ามเส้นศูนย์กลางของร่างกายทั้งซ้ายและขวาสลับกัน

- หากเด็กมีปัญหาเรื่องด้านซ้ายหรือขวาให้ใช้สัญลักษณ์ เช่น ผูกเชือกหรือผูกริบบิ้น

- การวาดเลข 8 ตามแนวนอน เพื่อกระตุ้นการทํางานของสายตา ทั้งสองข้าง โดยให้เด็กยืนในท่าตรง แล้วเหยียดแขนไปข้างหน้าขนานกับพื้น และ ยกหัวแม่มือขึ้นตั้งตรงในระดับสายตา และสายตามองตรงไปที่หัวแม่มือ เริ่มวาดเลข 8โดยเริ่มจากจุดกึ่งกลางระดับสายตาตั้งหัวแม่มือขึ้นโดยใช้แขนซ้ายก่อนเพื่อกระตุ้น สมองซีกขวา หมุนหัวแม่มือ ไปทางขวาบิดหัวแม่มือลง แล้วตวง ให้เป็นเลข 8 แนวนอน ใช้สายตามองตามหัวแม่มือตลอดเวลาให้วาดซ้ำ ๆ กันข้างละ 3 ครั้ง แล้วใช้มือทั้ง 2 ข้างวาดพร้อมกัน อีก 3 ครั้ง แล้วพัฒนาเป็นการวาดไขว้กันโดยเริ่ม จากช้าๆ ก่อน

- ให้หันหน้าจากด้านขวาข้ามจุดกึ่งกลางของร่างกายไปยังด้านซ้ายแล้วหันหน้ากลับมาด้านขวาโดยให้คางอยู่ในระดับเดียวกัน ให้เหมือนลักษณะของนกฮูก ที่หันคอมองพร้อมกับกลอกตาตามไปด้วย เมื่อเคลื่อนศีรษะกลับมาอยู่ตรงกลางก้มศีรษะให้ปลายคางโน้มลงมาติดกับอกเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อคอด้านหลัง

2. กิจกรรมการเคลื่อนไหวข้ามเส้นกลางของร่างกายด้านหน้าและด้านหลังเช่น การส่งของหรือรับของเหนือศีรษะไปด้านหลังหรือด้านหลังไปด้านหน้าการยื่นแขนไปด้านหลังเพื่อแตะส้นเท้าข้างเดียวกัน หรือตรงกันข้าม หรือชูแขนขึ้นทั้ง 2 ข้างเหนือศีรษะ ใช้มือข้างหนึ่งงอเพื่อจับข้อศอกของแขนอีกข้างดึง เข้าหาศีรษะทําสลับกัน 

3. กิจกรรมการเคลื่อนไหวข้ามเส้นกลางของร่างกายระหว่างส่วนบนและ ส่วนล่างโดยใช้การก้มแตะแขนและขาหรือยกเข่า เท้า ขึ้นมาแตะมือข้างเดียวกันหรือ สลับข้างทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

ดังนั้น “การบริหารสมอง (Brain Gym) คือ การบริหารร่างกายในส่วนที่สมองควบคุมอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนของกล้ามเนื้อ Corpus Collosum ซึ่งเชื่อมสมอง 2 ซีกเข้าด้วยกันให้ แข็งแรงและทํางานคล่องแคล่วอันจะทําให้การ ถ่ายโยงการเรียนรู้ และข้อมูลของสมองทั้ง 2 ซีก เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ” (พัชรีวัลย์ เกตุแก่นจันทร์ 2541: 33)

นอกจากนี้ การออกกําลังกายบริหารสมองยังช่วยเชื่อมโยงสมองส่วนหน้าและหลังช่วยเสริมสร้างการเชื่อมต่อของระบบประสาท กระตุ้นกระแสประสาท ผ่อนคลายและสร้างความสมดุลให้สมอง กิจกรรมการออกกําลังกายบริหารสมองเป็นการทําท่าทางต่างๆง่ายๆ ที่จะ ช่วยกระตุ้นผ่อนคลายและสร้างความสมดุล ไม่เพียงแต่กับสมองเท่านั้น ยังส่งผลดี กับร่างกายและอารมณ์ของผู้บริหารร่างกายด้วย ซึ่งการทำท่าออกกําลังกายบริหาร อย่างเป็นประจำทําให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้มากขึ้น และเพิ่มศักยภาพ การทํางานของสมองและการเชื่อมโยงของสมองสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ท่าทางในการออกกําลังกายบริหารสมองมีมากมายหลายท่า บางท่าอาจจะยากเกินไปสําหรับเด็กปฐมวัย จึงได้คัดเลือกท่าที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยที่สามารถ ปฏิบัติได้อย่างง่ายๆ และเกิดประโยชน์โดยจัดแบ่งท่าต่างๆ ในการออกกําลังกาย บริหารสมองออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ

1. การเคลื่อนไหวสลับข้าง (Cross - over Movement)

2. การยืดส่วนต่างๆ ของร่างกาย (Lengthening Movement)

3. การเคลื่อนไหวเพื่อกระตุ้น (Energising Movement) 

ควรใช้การออกกําลังกายบริหารสมองเพื่อเป็นขั้นตอนการสร้างความพร้อมในการเรียนรู้ควรทาตอนเช้าก่อนเข้าห้อง และช่วงหยุดพักระหว่างคาบและหลังรับประทานอาหารกลางวันเพื่อให้เกิดความพร้อมเรียนรู้และดื่มน้ำก่อนทุกครั้ง

1. การเคลื่อนไหวสลับข้าง

การเคลื่อนไหวสลับข้าง คือ การใช้อวัยวะในร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือหลายส่วน เคลื่อนไหวข้ามเส้นกึ่งกลางของร่างกาย เช่น จากซ้ายไปขวา หรือ ขวามาซ้าย การเคลื่อนไหวสลับข้างนี้เป็นการบริหารที่จะช่วยให้สมองทั้ง 2 ซีกได้ ใช้งานและทํางานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สมองทั้งซีกซ้ายและขวาได้ทํางานประสานกัน เมื่อทำท่านี้ระบบประสาทจะสร้างเซลล์ใหม่เพิ่มขึ้น

วิธีการ : เด็กยืนตรงยกเท้าสูง เมื่อยกขาขวาขึ้นให้ใช้มือซ้ายแตะเข่าขวา เมื่อยกขาซ้ายขึ้น ใช้มือขวาแตะเข่าซ้าย ทําสลับกันไปสักระยะ

อาจปรับเปลี่ยนจากท่ายืนเป็นท่านั่งเก้าอี้ เคลื่อนไหวมือแตะเข่าข้างตรงกันข้ามสลับกันไป

สามารถใช้จังหวะหรือดนตรีต่างๆ ประกอบการทำท่าการบริหาร

ข้อดี : ร่างกายประสานการทํางานกันมากขึ้น มีการข้ามเส้นกลาง ประสาทสัมผัสรู้ตำแหน่งและทิศทาง

คำแนะนํา : ท่านี้ใช้ได้กับ เด็กเล็กตั้งแต่เริ่มเข้าเรียน (2 ปี หรือ 2 ปี) จนถึงเด็กโตหรือผู้ใหญ่ ในการเริ่มปฏิบัติกับเด็กเล็ก หากเด็กยังทรงตัวยืนได้ไม่ดีนัก 

ควรเริ่มจากท่านั่งก่อน หรือเริ่มจากการคลานเพราะการคลานเป็นการเคลื่อนไหวที่มีลักษณะไขว้ข้ามเส้นกลางลําตัวเด็กที่ไม่ผ่านขั้นตอนการคลานหรือมีระยะเวลาในการคลานสั้นกว่าปกติควรได้มีกิจกรรมการคลานเพื่อพัฒนาและฟื้นฟู และการเคลื่อนไหวสลับข้างจะได้ผลดีที่สุดเมื่อหาอย่างช้าๆ พร้อมควบคุมสมดุลและสภาพการเรียนรู้มากขึ้น

ท่าที่ 1.2 ท่าเลข 8 นอน

ท่าเลข 8 นอน นี้เป็นท่าที่สามารถพัฒนาการใช้นีโอคอร์เท็กซ์ทั้งสองซีก เพื่อการสร้างทางเดินในคอร์ฟัส โคลอสซัม แบ่งออกเป็นการเขียนเลข 8 นอน สําหรับพัฒนาการมองเห็น และเพื่อพัฒนาการเรียน

เลข 8 นอน สําหรับพัฒนาการมองเห็น โดยวาดเลข 8 นอนในอากาศ มีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การพัฒนาการเคลื่อนไหวดวงตาและการประสานงานระหว่างมือกับตาและตากับมือเป็นการฝึกดวงตาให้ประสานสัมพันธ์กับมือ

เลข 8 นอน สําหรับพัฒนาการเขียน โดยวาดเลข 8 นอนบนพื้นที่เป็น กิจกรรมสําหรับการพัฒนาการเขียนหนังสือ ควรเตรียมปากกาหรือกระดาษหรือ มือเปล่าๆ ลากไปบนพื้นทราย พื้นพรม หรือวัสดุที่นุ่มเรียบ ทําได้หลายรูปแบบ เช่น อาจวาดเลข 8 บนผนัง ใช้กระดาษขนาดใหญ่กว้าง 1 ฟุต ยาว 2 ฟุต หรือบนทราย


วิธีการ : เด็กนั่งหรือยืนตัวตรง ยื่นแขนซ้ายไปข้างหน้า กํามือชูนิ้วโป้งขึ้น ไว้ที่กึ่งกลางระดับสายตา เคลื่อนไหวหัวแม่มืออย่างช้าๆ เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อ ให้มากที่สุดขึ้นแล้วตีวงไปทางซ้ายวาดเป็นวงกลม และตีวงขึ้นไปทางขวา (ตามรูป) แล้วกลับมาบรรจบกันที่จุดเริ่มต้น ขณะที่ทำท่า ตามองนิ้วหัวแม่มือ ศีรษะตรงและผ่อนคลาย

ใช้มือแต่ละข้างวาดเลข 8 นอน ช้าๆ ข้างละ 3 ครั้ง

อาจลองใช้มือวาดเลข 8 นอนให้ใหญ่บ้างเล็กบ้างหรือเริ่มจากใหญ่และค่อยๆ เล็กลง แล้วพัฒนาเป็นการใช้มือทั้ง 2 ข้าง ให้หัวแม่มือไขว้กัน

ข้อดี : การบริหารท่านี้จะช่วยให้สมองทั้งสองซีกบูรณาการกันมากขึ้นและยังช่วยให้การประสานสัมพันธ์ระหว่างตาและกล้ามเนื้อดีขึ้น กล้ามเนื้อตาจะแข็งแรง

คำแนะนำ : ท่านี้สามารถใช้ได้กับเด็กเล็กตั้งแต่เริ่มเข้าเรียน (2 ปี หรือ 2 ปี) จนถึงเด็กโตหรือผู้ใหญ่ โดยในการเริ่มปฏิบัติกับเด็กเล็ก ผู้เลี้ยงดูเด็ก อาจเริ่มทําไปพร้อมๆ กันอย่างช้าๆ และสังเกตดูว่าเด็กๆ ทําได้ถูกต้องหรือไม่ ถ้ายังไม่ถูกต้องผู้เลี้ยงดูเด็กอาจจะต้องจับมือเด็กก่อน การเริ่มอาจบิดหัวแม่มือไป ทางซ้ายหรือขวาก็ได้ตามความสามารถของเด็ก ไม่ควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดจนเด็กรู้สึกกดดัน

2. การยืดส่วนต่างๆ ของร่างกาย

การยืดส่วนต่างๆ ของร่างกายคล้ายคลึงกับการออกกําลังกาย เพื่อการเหยียดและยืดหยุ่นกล้ามเนื้อก่อนออกกําลังกายนักกีฬาจะยึดส่วนต่างๆ ของร่างกายทําให้ผ่อนคลายความตึงเครียดเกิดการเชื่อมโยงของสมองส่วนหน้าและส่วนหลัง จะช่วยให้เด็กพัฒนาและเสริมสร้างทางเดินระบบประสาทให้แข็งแรงขึ้น

วิธีการ : เด็กยืนและวางฝ่ามือบนฝาผนังห้องหรือพนักเก้าอี้ งอขาขวาลง ขาซ้ายยืดเหยียดไปด้านหลัง ยกส้นเท้าซ้ายขึ้น เอนตัวไปข้างหน้าเล็กน้อยพร้อม กับหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ วางส้นเท้าซ้ายลง หายใจออกช้าๆ สลับเท้าข้างซ้ายมาไว้ ด้านหน้าและงอขาซ้ายเหมือนขาขวา ปฏิบัติซ้ำประมาณ 3 ครั้งหรือมากกว่า

ข้อดี : การบริหารท่านี้จะยืดหยุ่นกล้ามเนื้อต้นขา ยืดเส้นเอ็นน่อง เป็นการบูรณาการ การทํางานของสมองส่วนหลังและสมองส่วนหน้า จะช่วยให้มี ความกระตือรือร้นมากขึ้น มีระยะความสนใจยาวขึ้นและมีสมาธิดีขึ้น 

คำแนะนำ ท่านี้สามารถใช้ได้กับเด็กที่เริ่มทรงตัวได้ดี (ประมาณอายุ 3 ปีขึ้นไป) จนถึงเด็กโตและผู้ใหญ่ โดยในการปฏิบัติจะต้องจัดหาอุปกรณ์ในการ ยึดฝ่ามือให้อยู่กับที่ (เช่น เก้าอี้ที่หนักๆ กําแพงหรือฝาผนัง) ในการปฏิบัติผู้เลี้ยงดู ควรเป็นผู้บอกจังหวะให้เด็กหายใจเข้าออก เพื่อให้หายใจเข้าออกได้ถูกต้องตรงตามท่า


วิธีการ : เด็กนั่งบนเก้าอี้แบบสบายๆ วางเท้าไขว้กันที่ข้อเท้า ก้มตัวและ โน้มตัวลงไปข้างหน้า ก้มศีรษะลง เคลื่อนแขนพุ่งลงไปให้เต็มเหยียด หายใจออก ยาวๆ เมื่อเหยียดแขนออก และหายใจเข้ายาวๆ เมื่อยกตัวและยกแขนขึ้นมาขนาน กับพื้นทำซ้ำ 3 ครั้ง และสลับข้อเท้า

ข้อดี : ท่าโน้มตัวเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายที่จะช่วยสร้างความสมดุลและ ประสานงานกันของร่างกายทุกส่วน ช่วยในเรื่องการรับสัมผัสต่างๆ และการรับความ รู้สึกเกี่ยวกับการยืนอย่างมั่นคง เกิดความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กันของประสาทที่ เชื่อมโยงกับส่วนบน-ล่างของร่างกาย ช่วยในเรื่องการทรงตัว ช่วยคลายความ ตึงเครียดช่วงสะโพก และกระดูกเชิงกราน ช่วยยึดเส้นเอ็นทั้งช่วงใต้เข่า และหัวไหล่ ทั้งยังช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังจากนั่งมายาวนาน

คำแนะนำ : ท่านี้สามารถใช้กับเด็กตั้งแต่อายุ 2 ปีขึ้นไป จนถึงเด็กโต หรือผู้ใหญ่ แต่หากเด็กนั่งไขว้ขา และทรงตัวไม่ได้ ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจจะต้องให้ความ ช่วยเหลือในการช่วยจับหรือพยุงตัวเด็ก ในการทําครั้งแรก ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจจะค่อยๆ เริ่มจากการนั่งไขว้เท้าก่อน และค่อยๆ ให้เด็กๆ ก้มตัวลง ในระยะแรกอาจให้เด็ก 

ก้มตัวลงเล็กน้อย เมื่อเด็กเริ่มปฏิบัติจนทรงตัวได้แล้วค่อยๆ กระตุ้นให้เด็กก้มตัวและยืดตัวออกไปให้มากที่สุด

ท่าที่ 2.3 ท่าเกี่ยวตะขอ

การบริหารท่าเกี่ยวตะขอเริ่มจากยืนไขว้ขาซึ่งจะทําให้รู้สึกสบายขึ้นเหยียดแขนทั้งสองออกไปข้างหน้าให้หลังมือชนกัน โดยหัวแม่มือชี้ลงพื้น จากนั้นยกมือข้างหนึ่งข้ามมืออีกข้างหนึ่งให้ฝ่ามือชนกันแล้วให้นิ้วมือประสานขัดกันไว้ พลิกมือทั้งสองที่ประสานกันลงด้านล่างม้วนเข้าหากันมาพักที่หน้าอก ทิ้งศอกทั้งสองข้างลงบริเวณลิ้น ขณะที่ทำท่านี้ให้กระดกลิ้นแตะเพดานปาก จะช่วยกระตุ้นประสาทเส้นเอ็น

ข้อดี : การำาท่าที่จะช่วยกระตุ้นการรับรู้ของสมองส่วนหน้าที่รับสัมผัสสั่งการของสมองใหญ่แต่ละซีก

โดยเฉพาะส่วนที่รับสัมผัสจากมือที่มีพื้นที่มากที่สุด

คำแนะนำ : การทำท่านี้นอกจากจะเพื่อบริหารแล้ว ยังสามารถนําไป สําหรับเป็นการแยกเด็กหรือปรับสภาพจิตใจให้เด็กสงบ การปฏิบัติท่านี้จะช่วยทําให้เบนความสนใจไปสู่ระบบสั่งการในสมองกลีบหน้าของสมองทั้งสองซีกจะทําให้ปริมาณอะดรีนาลีนในตัวลดลง หรือใช้เมื่อเด็กเกิดความเครียดมากๆ

3. การเคลื่อนไหวเพื่อกระตุ้น

การเคลื่อนไหวเพื่อกระตุ้น ช่วยก่อให้เกิดการเชื่อมต่อของประสาทกระตุ้นการทํางานของกระแสประสาท ช่วยสร้างและเสริมความรู้สึกสัมผัสเกี่ยวกับ ทิศทาง อารมณ์ ก่อให้เกิดแรงจูงใจ ช่วยให้การเรียนรู้ดียิ่งขึ้นการเคลื่อนไหวเพื่อกระตุ้น มีลักษณะคล้ายกับการกดจุดสําคัญต่าง ๆ ของร่างกาย งแต่ละจุดจะกระตุ้นประสาทในส่วนที่แตกต่างกันไป

วิธีการ เด็กนั่งหรือยืนตามสะดวก ตัวตรง ศีรษะตรง ใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้จับใบหูตึงใบหูด้านหลังเบาๆ แล้วกางออก ใช้นิ้วทั้งสองค่อยๆ นวดใบหูต้านนอกทั้งสองข้างจากส่วนบนสุดลงมาตามขอบใบหูจนถึงติ่งหู นวดใบหูเช่นนี้ข้าๆ 3 ครั้ง หรือมากกว่าอาจลองให้เด็กๆ หลับตาขณะทํา และผู้เลี้ยงดูเด็กพูดทบทวนคำศัพท์ การสะกดคําหรือคําคล้องจองต่างๆ ไปด้วย

ข้อดี : ท่าหมวกความคิดนี้จะกระตุ้นการทํางานของอวัยวะรับเสียงสื่อสาร ซึ่งมีหน้าที่กรองเสียงรบกวนออกจากเสียงที่มีความหมายหรือความสําคัญ การบริหารท่านี้จะช่วยทําให้สามารถเข้าใจความหมายของถ้อยคําได้รวดเร็วขึ้น และยังสามารถเข้าใจจังหวะ เสียง และภาพได้ในเวลาเดียวกันจะปลุกกลไกการได้ยิน ให้ทํางานได้ด้วยความตื่นตัวช่วยให้ความจําดีขึ้น (พอลอี เดนนิสัน และเกลอีเดนนิสัน : 67)

คำแนะนำ : ท่านี้ใช้ได้ในเด็กทุกวัย ตั้งแต่เด็กเล็กจนโต ในเด็กเล็กที่อายุ น้อยกว่า 2 ปี หากเด็กยังไม่สามารถใช้นิ้วของเด็กนวดได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อมือ ยังไม่แข็งแรง ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถใช้นิ้วของตนเองนวดให้เด็กได้ โดยใช้นิ้ว คลึงเบาๆ การบริหารท่าแสนธรรมดานี้จะช่วยกระตุ้นตัวรับสัมผัสบริเวณหูภายนอกเพื่อปลุกเร้าอวัยวะทุกส่วนที่เกี่ยวกับการได้ยิน แพทย์ฝังเข็มของจีนระบุว่า ใบหูของ คนเรามีจุดมากกว่า 148 จุด ที่เกี่ยวเนื่องกับร่างกายส่วนต่างๆ

วิธีการ : ให้เด็กใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมือข้างหนึ่ง แตะอยู่เหนือริมฝีปาก บนตรงเส้นกลางของร่างกายด้านหน้า ส่วนมืออีกข้างหนึ่งอยู่เหนือกระดูกก้นกบตรง

เส้นกลางของร่างกายด้านหลังแตะที่จุดทั้งสองประมาณ 30 วินาที หรือนานกว่านั้น หายใจเข้าออกลึกๆประมาณ 4 - 6 ครั้ง ทำอีกครั้งโดยเปลี่ยนสลับมือ เพื่อกระตุ้นสมองทั้งสองเพื่อผ่อนคลายและเพื่อความยืดหยุ่นของสายตา ขณะทำท่านี้ผู้เลี้ยงดูเด็ก อาจจะบอกให้เด็กกวาดสายตาจากพื้นขึ้นบนเพดาน (ไปตามแนวตั้งขึ้นลง ()

ข้อดี : ท่าปุ่มฟ้าเป็นทั้งจุดต้นและจุดปลายของเส้น meridian ตามหลัก การรักษาโรคด้วยวิธีฝังเข็มที่เชื่อมโยงสมอง กระดูกสันหลังและระบบประสาทส่วนกลางเข้าด้วยกันเมื่อกระดูกถูกกระตุ้นจะช่วยให้เลือดและน้ำไขสันหลังผ่านขึ้นไป บํารุงเลี้ยงสมองได้มากขึ้นทําให้เกิดการผ่อนคลายและการทํางานได้อย่างเต็มที่ ปุ่มเหล่านี้สามารถกระตุ้นได้ในวัยทารก โดยเมื่อทารกนอนคว่ำสัมผัสจากหลังมาหน้า หรือถูกสัมผัสขณะให้กินนม ท่าปุ่มฟ้าจะกระตุ้นเส้นกลางของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับ มิติทั้งสามด้านของร่างกาย (พอลอี เดนนิสัน และเกลอี - เดนนิสัน : 36)

คำแนะนำ : ท่านี้ใช้ได้ตั้งแต่เด็กอายุ 2 ปี จนถึงเด็กโต ในเด็กเล็กอายุ 2 - 3 ปี ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยอาจจะต้องจับมือเด็กไปวางตามจุดตำแหน่งที่ถูกต้องเพราะเด็กอาจจะยังไม่สามารถวางมือได้ถูกจุดด้วยตัวเองได้

วิธีการ : ท่าปุ่มสมอง ทําโดยวางมือข้างหนึ่งไว้ตรงสะดือ เพื่อให้จิตมุ่งความสนใจไปที่จุดศูนย์กลางหรือจุดแห่งความสมดุลของร่างกายเพราะจุดนี้มีกล้ามเนื้อแกนสําหรับรักษาสมดุลของร่างกาย ส่วนมืออีกข้างให้นวดเบาๆ บริเวณร่องปุ่มที่อยู่ระหว่างกระดูกซี่โครงซี่แรกทับซี่ที่สองใต้กระดูกไหปลาร้าทั้งทางซ้ายและขวาของกระดูกอก

ข้อดี : การนวดบริเวณซี่โครงเป็นการกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิต โดย เฉพาะเส้นเลือดใหญ่ที่บริเวณลำคอซึ่งเป็นเส้นเลือดเส้นแรกที่มุ่งตรงออกจากหัวใจเพื่อส่งอาหารและออกซิเจนบริสุทธิ์ไปยังสมอง ปุ่มสมองที่ว่านี้ตั้งอยู่ส่วนบนเหนือ จุดที่เส้นเลือดที่คอเริ่มแตกออกเป็นสองสาย เมื่อนวดที่บริเวณนี้ปลายประสาทรับแรงดันที่ผนังหลอดเลือดบริเวณลำคอจะรับรู้ได้ถึงแรงนวดส่งผลให้ความดันเลือดเปลี่ยนแปลง และรักษาระดับเลือดให้เป็นปกติ

คำแนะนำ : การใช้ท่าปุ่มสมองจะช่วยให้ร่างกายตื่นตัวและมีสมาธิในการทํากิจกรรมต่างๆ ได้ดี

ท่าบริหารหรือท่ากดจุดต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นท่าทางที่ช่วยส่งเสริมการทํางานของสมอง สารเคมีในสมอง และการประสานการทํางานระหว่างสมอง และการทํางานต่างๆ ของร่างกาย ท่าเหล่านี้สามารถปฏิบัติได้ทุกวัน วันละ 5 - 10 นาที สามารถเลือกทําหลายๆ ท่า หรือทําติดต่อกัน โดยจะได้ผลดีเป็นอย่างยิ่งเมื่อ ทําในตอนเช้าหรือหลังเด็กตื่นนอนตอนบ่าย เพื่อเพิ่มความสดชื่นและปรับสมาธิให้แก่เด็กๆ สามารถนําท่าต่างๆ มาปฏิบัติได้บ่อยตามต้องการ แต่ต้องไม่หักโหมเกินไป ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยจเป็นต้องเข้าใจว่าตามหลักของ Brain - Based Learning นั้น กิจกรรมต่างๆ จะมีประโยชน์ต่อเมื่อเด็กๆ เต็มใจที่จะทํามิใช่ถูกบังคับขู่เข็ญ ดังนั้น หากเด็กๆ เริ่มแสดงอาการเหนื่อยขอให้ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัย พักกิจกรรมบริหารสมอง Brain Gym ไว้ก่อน และจึงนํามาปฏิบัติใหม่ในช่วงเวลาต่อๆ ไป

จากการนําไปทดลองปฏิบัติในโรงเรียนต่างๆ นั้นผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่พบว่าการทท่าบริหารสมอง เพื่อให้สมองของเด็กมีความพร้อมต่อการเรียนรู้ในช่วง เริ่มต้นชั่วโมงเรียนเพียงสองนาที สามารถทําให้ผลการเรียนดีขึ้นได้ เนื่องจากสมองมี ความพร้อมที่จะเรียนรู้โดย (Christine Ward 2001 : 54) ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่าหากเปิดเพลงที่มีจังหวะสอดคล้องกับการเต้นของหัวใจ คลอไปด้วย หรือหาก ผู้เลี้ยงดูเด็กพูดในสิ่งที่ดีที่ต้องการสื่อสารกับเด็กไปด้วยจะได้ผลดียิ่งขึ้น แต่ก่อนที่ ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัย จะเริ่มสอนเด็กๆ ท่าท่าต่างๆ นั้น ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัย จะต้อง ฝึกฝนมาก่อน เพื่อเพิ่มความชํานาญให้กับตนเองและเพื่อป้องกันความผิดพลาด ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น

ขอแนะนําให้นักศึกษาศึกษาความรู้เพิ่มเติมจากเอกสารที่เกี่ยวกับการพัฒนา สมองตามรายชื่อแนะนําหนังสือที่ปรากฏด้านหลังของเอกสารนี้เพื่อเสริมเติมเต็มความเข้าใจในเรื่องการพัฒนาสมองให้ดียิ่งขึ้น