การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองเด็กปฐมวัย

ตอนที่ 2 วิธีการเครื่องมือและขั้นตอนการประเมินพัฒนาการตามกิจกรรมการเรียนรู้

การประเมินพัฒนาการ หมายถึง กระบวนการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก ในขณะทํากิจกรรมแล้วจดบันทึกลงในแบบประเมินพฤติกรรมที่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ได้จัดทําขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกในแต่ละครั้งเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนากิจกรรมให้แก่เด็กได้เต็มศักยภาพ

ผู้ประเมินพัฒนาการต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของพัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นอย่างดี และต้องเข้าใจถึงวิธีการประเมินอย่างละเอียดว่า จะประเมินอะไรเมื่อไร และอย่างไรต้องมีความสามารถในการเลือกเครื่องมือและวิธีการที่เหมาะสมถูกต้อง ซึ่งมีหลายวิธีแต่วิธีที่ง่ายต่อการนําไปใช้และนิยมใช้กันมากคือ

วิธีการประเมินโดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้สังเกตแล้วจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานโดยต้องทําสม่ำเสมอ ดังนี้

หลักการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย

1. ประเมินพัฒนาการของเด็กเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอ

2. ประเมินอย่างเป็นระบบมีการวางแผน เลือกใช้เครื่องมือ และจดบันทึก ไว้เป็นหลักฐาน

3. ประเมินตามสภาพจริงอย่างหลากหลายและทุกด้านแล้วนําผลการประเมิน มาพัฒนาเด็กต่อไป

ขั้นตอนการประเมินพัฒนาการ

1. ศึกษาและทําความเข้าใจกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองเด็กปฐมวัย ละเอียดเพื่อกำหนดกิจกรรมพื้นฐานและกิจกรรมต่อเนื่องได้อย่างถูกต้องอย่าง

2. วางแผนเลือกใช้กิจกรรมพัฒนาการสมองเด็กปฐมวัยพร้อมวิธีการ และเครื่องมือที่เหมาะสมสําหรับใช้บันทึกและประเมินพัฒนาการ

3. ดำเนินการจัดกิจกรรมพร้อมประเมิน และบันทึกพัฒนาการ

4. ประเมินและสรุป โดยใช้เวลาในการดำเนินกิจกรรมและผลการประเมิน

หลายครั้งๆ เพื่อนําผลการประเมินมาจัดกิจกรรมพัฒนาเด็กแต่ละคนต่อไป 

5. จัดทํารายงานผล เป็นการสรุปจากการดําเนินงานอาจเป็นรายเดือน ราย 2 เดือน หรือรายภาคเรียน เพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลสําหรับผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง เพื่อรับทราบและร่วมกันช่วยเหลือเด็กในกรณีมีพัฒนาการพ่อแม่ไม่สมวัยหรือไม่เหมาะสมโดยใช้ภาษาในทางสร้างสรรค์มากกว่าใช้ภาษาในทางลบ

6. การรายงานพ่อแม่ ผู้ปกครองอาจได้รับข้อมูลที่สําคัญในการติดตามผล ในการพัฒนาของเด็กได้ จึงควรมีการติดต่อประสานสัมพันธ์กับผู้ปกครองของ เด็กปฐมวัยวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย

วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย

การจัดกิจกรรมต่างๆ ให้กับเด็กจะบรรลุผลสำเร็จหรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ ความหลากหลายของกิจกรรม หรือความยากง่ายของกิจกรรม หากแต่ขึ้นอยู่กับ พัฒนาการของเด็กที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างเป็นลําดับ และสามารถบรรลุถึง ศักยภาพของเด็กเป็นรายบุคคล ปัจจุบันมีความเข้าใจกันว่า การให้เด็กทําแบบทดสอบ ข้อสอบต่างๆ นั้นเป็นการวัดและเป็นตัวชี้ว่าเด็กคนนั้นมีความสามารถหรือเก่งด้วยการนําเอาค่าของคะแนนจากแบบทดสอบหรือข้อสอบนั้นมาเป็นตัวชี้วัดวัดความสำเร็จของเด็ก ซึ่งเป็นเพียงการวัดพัฒนาการทางด้านสติปัญญาเพียงด้านเดียวในฐานะที่เป็นผู้เลี้ยงดูเด็กจะต้องไม่ลืมว่า ในการพัฒนาเด็กต้องให้เด็กได้รับการ พัฒนาไปพร้อมๆ กันทั้ง 4 ด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา

ดังนั้น การประเมินพัฒนาการเด็กจึงเป็นเรื่องที่มีความสําคัญ ผู้เลี้ยงดูเด็กจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีเพื่อจะได้น่าข้อมูลและผลของการประเมินมาพิจารณาเลือกกิจกรรมในการพัฒนาเด็กคนนั้นให้มีพัฒนาการตามวัยที่ดี

การประเมินพัฒนาการที่ดี ผู้เลี้ยงดูเด็กควรใช้วิธีสังเกตและจดบันทึก ซึ่งวิธีการที่เหมาะสม และสะดวกต่อการนำมาใช้เป็นข้อมูลในการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย โดยผู้เลี้ยงดูเด็กอาจจะเลือกใช้วิธีการต่างๆ ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ดังนี้ 

1. การสังเกต เป็นการสังเกตพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมา การสังเกต แบ่งได้เป็น

    1.1 การสังเกตอย่างมีระบบ หมายถึง การสังเกตเด็กโดยตั้งจุดมุ่งหมาย ไว้ก่อนทําการสังเกต โดยการสร้างแบบประเมินพัฒนาการที่ครอบคลุมพัฒนาการ ทั้ง 4 ด้านของเด็ก

    1.2 การสังเกตอย่างไม่เป็นทางการ หมายถึง การสังเกตเด็กในขณะที่ เด็กทํากิจกรรมต่างๆ ว่าแสดงพฤติกรรมใดในขณะที่เด็กปฏิบัติกิจกรรมประจำวัน โดยที่เด็กไม่รู้ตัวว่ากําลังถูกสังเกตอยู่

2. การบันทึกพฤติกรรม คือ การบันทึกพฤติกรรมที่แท้จริงของเด็กที่ แสดงออกมาในการทํากิจกรรมต่างๆ

ในการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย ผู้เลี้ยงดูเด็กจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักการ ในการประเมินพัฒนาการเด็ก ซึ่งในการประเมินพัฒนาการเด็กนั้นดังที่ได้กล่าว แล้วว่าต้องประเมินพัฒนาการในทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา จะประเมินเพียงด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้ การประเมินพัฒนาการจะ ต้องเป็นกระบวนการต่อเนื่อง และทําตลอดทั้งปีอย่างสม่ำเสมอ มีการวางแผน การประเมินที่ชัดเจนว่าจะประเมินในช่วงใด เมื่อใด นอกจากนี้การประเมินพัฒนาการเด็ก ต้องเน้นการประเมินเป็นรายบุคคล และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการประเมินพัฒนาการ เด็กนั้นควรเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในแต่ละวัน ไม่ใช่จัดขึ้นเพื่อการประเมินโดยเฉพาะหากจัดขึ้นเพื่อการประเมินโดยเฉพาะแล้วจะเป็นการทดสอบมิใช่การประเมินพัฒนาการ นั่นหมายความว่า การประเมินในลักษณะนี้จะต้องประเมินตามสภาพจริง เช่น ประเมินในช่วงของกิจกรรมที่เด็กทํากิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งในขณะที่เด็กไม่รู้ตัว ว่ากําลังถูกประเมินอยู่ รวมทั้งการประเมินจากผลงานของเด็ก เพื่อดูพัฒนาการของ เด็กว่ามีการพัฒนาขึ้นจากเดิมหรือไม่ อย่างไร และการประเมินนั้นผู้เลี้ยงดูเด็ก จำเป็นต้องประเมินหลายๆ ครั้งก่อนที่จะสรุปเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพัฒนาของ เด็กเป็นรายบุคคล และไม่นําเอามาเปรียบเทียบกับเด็กอื่น ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความ แตกต่างกันของเด็กเป็นสําคัญ 

การสร้างแบบประเมินพัฒนาการเด็ก ผู้เลี้ยงดูเด็กจำเป็นต้องศึกษาคู่มือการ ประเมินพัฒนาการเด็กที่เป็นมาตรฐาน อาทิ เกณฑ์การประเมินพัฒนาการของ กระทรวงสาธารณสุข หรือคู่มือการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยของสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือเกณฑ์การประเมินที่หน่วยงานต้นสังกัดได้กำหนดไว้ จากนั้นจึงสังเกตพฤติกรรมของเด็กที่แสดงออกมา โดยทําการสังเกต หลายๆ ครั้งก่อนที่จะบันทึก และจะต้องบันทึกพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล รวมทั้ง ระบุวันเดือนปีที่ท่าการบันทึก การประเมินพัฒนาการเด็กจากข้อมูลที่บันทึกไว้ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องไม่รีบด่วนสรุปว่าเด็กคนนั้นมีพัฒนาการตามวัยที่พึงประสงค์หรือไม่ จำเป็นต้องทําการสังเกตหลายๆ ครั้ง หากเด็กคนใดที่คิดว่ามีพัฒนาการที่ไม่เป็นไป ตามประสงค์ ผู้เลี้ยงดูเด็กควรให้ความสนใจต่อเด็กคนนั้นอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะได้หา ทางให้การช่วยเหลือต่อไป

ข้อที่พึงระวัง คือ การประเมินพัฒนาการนั้นไม่ใช่การทดสอบเพื่อให้เด็กทุกคนสามารถทําข้อสอบหรือแบบทดสอบนั้นผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เพราะการ สร้างข้อสอบหรือแบบทดสอบเป็นเพียงการวัดพัฒนาการเพียงด้านเดียว คือ ด้านสติปัญญา หรือเพียงต้องการประเมินว่าเด็กคนนั้นมีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถตามที่ได้รับความรู้ไปหรือไม่เท่านั้น

การประเมินพัฒนาการที่ดีต้องมีการบันทึกอย่างสม่ำเสมอ ข้อมูลที่ทําการ บันทึกต้องเป็นข้อมูลที่ผู้เลี้ยงดูเด็กใต้สังเกตเด็กจริง และบันทึกพฤติกรรมที่เด็ก ได้แสดงหรือกระทำออกมา ดังนั้น หากผู้เลี้ยงดูเด็กต้องการจะให้ข้อคิดเห็นกับ พฤติกรรมนั้นๆ ของเด็ก ในแบบบันทึกพัฒนาการเด็กก็ควรจะมีช่องว่างไว้สําหรับ ใส่ข้อคิดเห็นนั้นๆ โดยไม่มีการปรุงแต่งข้อมูลเกินความเป็นจริงหรือมาต่อเติมภายหลังจนทําให้ข้อมูลคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง หากข้อมูลถูกปรุงแต่งจนไม่รู้ว่าข้อมูลที่แท้จริงนั้นเป็นอย่างไร ก็จะทําให้ไม่ทราบว่าเด็กมีความต้องการอะไร หรือมี พัฒนาการที่แท้จริงอย่างไร การได้ข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริงจะช่วยให้ผู้เลี้ยงดูเด็ก สามารถหาแนวทางที่ถูกต้อง และเหมาะสมในการพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการตามวัย ที่เหมาะสมต่อไป 

ขั้นตอนการประเมินพัฒนาการ

ผู้เลี้ยงดูเด็กจำเป็นต้องรู้และเข้าใจถึงขั้นตอนของการประเมินพัฒนาการเด็ก เพื่อที่จะได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งมีขั้นตอนการประเมินพัฒนาการดังนี้

1. ขั้นศึกษาและทําความเข้าใจพัฒนาการของเด็กในทุกด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยผู้เลี้ยงดูเด็กต้องศึกษาเรื่องเกี่ยวกับทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการเด็กให้เข้าใจ

2. ขั้นวางแผนเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมในการบันทึกและ ประเมินพัฒนาการ การเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือเป็นสิ่งที่สําคัญหากวิธีการและเครื่องมือประเมินพัฒนาการที่เหมาะสม จะทําให้ได้ผลของพัฒนาการเด็กที่ถูกต้องตรงตามความต้องการ

3. ขั้นดำเนินการประเมินและบันทึกพัฒนาการ หลังจากวางแผนเลือกใช้วิธี การและเครื่องมือประเมินพัฒนาการที่เหมาะสมแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กควรจะศึกษาคู่มือ และขั้นตอนในการบันทึกพัฒนาการให้เข้าใจอย่างละเอียด จากนั้นจึงทําการสังเกต 63 เด็กเพื่อทําการบันทึกพัฒนาการ

4. ขั้นประเมินและสรุป การประเมินพัฒนาการเด็กมีองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ ผลบันทึกการประเมิน การตีความหมายและการตัดสินคุณค่า

5. ขั้นรายงานผล เมื่อได้ผลสรุปการประเมินพัฒนาการแล้ว การรายงานผล ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องพิจารณาว่าจะรายงานต่อใครและเพื่อจุดประสงค์ใด หรือการ รายงานต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง อาจจะรายงานต่อผู้ปกครองเด็ก ผู้บริหาร เพื่อที่จะหาวิธีการที่เหมาะสมในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กต่อไป

ตัวอย่างของแบบประเมินพัฒนาการ

ในที่นี้นําเสนอตัวอย่างของแบบประเมินพฤติกรรมไว้ 3 แบบ ผู้เลี้ยงดูเด็ก สามารถปรับแบบประเมินพัฒนาการให้เหมาะสมกับเด็กและสถานศึกษาได้ดังนี้

กิจกรรมที่ 8 ให้นักศึกษาจัดทําแบบประเมินกิจกรรมที่นักศึกษากำหนดไว้พร้อมอธิบายเหตุผลที่จัดทําแบบบันทึก วิธีการ ระยะเวลาที่ ดำเนินการประเมิน แล้วจัดทําเป็นแฟ้มสะสมประสบการณ์แล้วจัดส่งพร้อมสมุดบันทึกกิจกรรมตามกําหนดเวลา