การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองเด็กปฐมวัย

ตอนที่ 1 จิตวิทยาพัฒนาการและพัฒนาการทางสมองของเด็กปฐมวัย


การศึกษาลักษณะและพัฒนาการของเด็กปฐมวัยโดยนักจิตวิทยา ได้เริ่มสนใจศึกษาอย่างเป็นระบบมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 โดยใช้วิธีการสังเกตและบันทึก พฤติกรรมของเด็กไว้เป็นระยะๆ นักจิตวิทยาที่ได้ชื่อว่า ศึกษาเด็กโดยใช้การสังเกต และมีการบันทึกอย่างเป็นระบบดีที่สุดเป็นคนแรกคือ นักจิตวิทยาที่ชื่อว่า ฌอง เพียเจท์ เพราะไม่ได้ใช้แต่การสังเกตเท่านั้น เพียเจท์ ยังได้สร้างสถานการณ์ต่างๆประกอบ พร้อมทั้งตั้งแบบค่าถามให้เด็กตอบและนําผลจากการสังเกตไปสู่การตั้งทฤษฎี พัฒนาการทางสติปัญญา ที่ได้รับความเชื่อถือ และเป็นแนวทางให้นักจิตวิทยาอื่นๆ ได้นําไปขยายผลอย่างกว้างขวางต่อไป 

พัฒนาการของเด็กแบ่งออกได้เป็น 4 ด้านคือ

1. พัฒนาการด้านร่างกาย หมายถึงความเจริญเติบโตเกี่ยวกับร่างกาย ทั้งหมด เช่น ส่วนสูง น้ำหนัก หรือความสามารถในการใช้การควบคุมอวัยวะส่วน ต่างๆ ของร่างกาย ฯลฯ

2. พัฒนาการด้านอารมณ์ หมายถึงการเจริญงอกงามของอารมณ์หรือ ความรู้สึกความสามารถในการควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมที่แสดงออก

3. พัฒนาการด้านสังคม หมายถึงความเจริญงอกงามเกี่ยวกับความสามารถ ในการปรับตัวให้เข้ากับบุคคลอื่น สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวและสังคม

4. พัฒนาการด้านสติปัญญา หมายถึงความเจริญงอกงามที่เกี่ยวกับความ สามารถในการเข้าใจในสิ่งที่เป็นรูปธรรม นามธรรม การคิด แก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ และมีความสามารถในการตัดสินใจด้วยตนเอง

พัฒนาการของเด็กในด้านต่างๆ เชื่อว่าส่วนหนึ่งมีพันธุกรรมเป็นตัว กําหนดให้เด็กมีลักษณะเฉพาะที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลเนื่องมาจากสิ่งแวดล้อม และหากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมมีความเหมาะสมเกื้อกูลกันจะส่งเสริมให้เด็กมีลักษณะและพฤติกรรมพัฒนาการไปในแนวทางที่ดี 

สามารถพัฒนาการเป็นมนุษย์ที่เต็มพร้อมมีลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคม แต่หาก พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมไม่ได้ถูกจัดให้ถูกต้องพร้อมสําหรับพัฒนาการของเด็กก็จะทําให้เด็กมีพฤติกรรมพัฒนาการแตกแยกออกไปไม่เหมาะสม เช่น หากเด็กได้รับ ความฉลาดที่ได้รับถ่ายทอดจากพ่อแม่ และอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีเสริมพัฒนาในทุกด้านให้เด็ก เด็กก็จะสามารถแสดงความฉลาดของเขาออกมาให้เห็นได้ แต่ถ้าเด็กมี ความฉลาดแต่อยู่ในที่แวดล้อมที่ไม่เหมาะสมไม่เอื้ออํานวยแก่พัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย เด็กก็ไม่อาจแสดงความฉลาดออกมาได้ นานวันเข้าก็จะลดน้อยถดถอยหรือ หดหายไปเลย

ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก เป็นสิ่งจําเป็นของผู้เลี้ยงดูเด็กต้องมีความเข้าใจ เพื่อจัดเตรียมปัจจัยและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาการที่สมบูรณ์ ของเด็ก ซึ่งจากการศึกษาในระยะยาวของนักจิตวิทยาพัฒนาการเกี่ยวกับเด็กพบว่าการเจริญเติบโตและพัฒนาการเป็นกระบวนการต่อเนื่อง ผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพส่วนใหญ่ จะมีประวัติพัฒนาการที่สมบูรณ์ในวัยเด็กด้วย

พัฒนาการของเด็กปฐมวัย จะมีความสําคัญต่อเด็กในอนาคตเป็นอย่างมากโดยเป็นวัยที่มีถือเป็นรากฐานของชีวิต ในการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ พัฒนาการแทบทุกด้านเกือบจะสูงสุด โดยเฉพาะทางสมองและการพัฒนานั้นต้อง กระทำทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์ สังคม บุคลิกภาพ และจริยธรรม เด็กในวัยนี้จะมีความเด่นในด้านพัฒนาการทางภาษาและความคิด การตระหนักรู้ในตน ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ เริ่มเรียนรู้ พฤติกรรมที่ถูกต้องและ ไม่ถูกต้อง มีความรับผิดชอบ

การจัดประสบการณ์และสิ่งแวดล้อม ต้องเหมาะสมกับความพร้อม วุฒิ ภาวะ ความสนใจ ความต้องการและความสามารถของเด็ก เช่น การเล่น การฝึก การทํากิจกรรมกับเพื่อน พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เสริมสร้างจินตนาการ และเจตคติ ที่ดีให้แก่เด็ก เพื่อพัฒนาให้เด็กมีร่างกายแข็งแรง เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว สามารถ ช่วยเหลือตนเองได้ เข้ากับบุคคลอื่นได้ รู้จักควบคุมอารมณ์ มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความพร้อมที่จะก้าวไปสู่วัยต่อไปได้อย่างมั่นคงมีความสุข 

หากเด็กไม่ได้รับการพัฒนาที่เหมาะสมกับพัฒนาการด้านร่างกาย ด้าน การปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม เด็กจะเกิดความเครียดและกังวล โดยจะเกิดปฏิกิริยาทางอารมณ์และพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้จะเป็นปัญหาที่เข้าใจได้ง่าย ตรงไปตรงมา ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยหากมีความเข้าใจ ก็จะสามารถ แก้ปัญหาพฤติกรรมเหล่านี้ได้โดยไม่ยาก

กิจกรรมที่ 7 ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่การจัดกิจกรรมพัฒนาสมองเด็กปฐมวัยควรใช้หลักจิตวิทยาพัฒนาการ เพราะเหตุใด จงอธิบายพอเข้าใจ