การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองเด็กปฐมวัย

บทส่งท้าย

เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาในเรื่องของกิจกรรมพัฒนาสมองและได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมให้แก่เด็กปฐมวัยแล้ว

สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสําคัญที่จะปลูกฝังให้เด็กได้มีการพัฒนาสมองทั้ง 2 ด้าน และสมองทั้ง 2 ด้านนี้เอง แยกออกเป็นความฉลาดของ สติปัญญากับความฉลาดทางอารมณ์ เมื่อเด็กได้รับการพัฒนาสมองด้วยกิจกรรมต่างๆ จะส่งผลอย่างถาวรเมื่อเด็กโตขึ้น

ปัจจุบันเราจะเห็นคนที่มีบุคลิกปรับตัวยากไม่มีความสุขแม้จะเป็นคนเก่งมี IQ สูง แต่มี EQ. ต่ำ จะอยู่ในสังคมอย่างไม่มีความสุขเท่าที่ควร หากพ่อแม่ และผู้เลี้ยงดูเด็กมุ่งหวังให้เด็กได้พัฒนาในเรื่องของการเรียน ให้เรียนเก่งเรียนดี แต่ไม่ได้พัฒนาในเรื่องของการอยู่ร่วมกับคนอื่น ความก้าวร้าว ความเข้าใจผู้คน รอบข้าง เด็กก็จะเติบโตขึ้นอย่างโดดเดี่ยว ไม่มีความสามารถยืดหยุ่นทางอารมณ์ ปรับตัวเข้ากับสภาพที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ไม่รู้จักแก้ปัญหาในชีวิตแม้เรื่องง่าย ๆ ก่อนอื่นมาทําความรู้จักกันว่า IQ และ EQ. คืออะไร

I.Q. เป็นชื่อย่อมาจากคําว่า Intaligian Quotiant คือความฉลาดทางสติปัญญา ซึ่งสามารถวัดได้จากแบบทดสอบต่างๆ แต่การวัดเช่นนี้ต่อมาพบว่าไม่สามารถวัด ได้ครอบคลุมถึงพัฒนาการในแต่ละด้านของเด็กปฐมวัย และไม่เป็นตัวบ่งชี้ที่ชัดเจน ได้ว่าเด็กนั้นมีความสามารถทางสมองจริงหรือไม่ ตัวอย่างเช่น อัลเบิร์ต ไอสไตน์ ที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้แต่เยาว์วัย โดยสามารถเรียนรู้ได้ โดยใช้ระบบความคิดเป็น รูปธรรมก่อนแล้วค่อยๆ หาคำอธิบายหรือวิเคราะห์รายละเอียดภายหลัง อ่านหนังสือไม่ออกจนอายุเก้าขวบ หรือเซอร์ ไอแซก นิวตันจะมีปัญหาเรื่องการเรียน ที่สอบกี่ครั้งก็ไม่เคยมีผลการเรียนดีเด่นจนจบมหาวิทยาลัย โธมัส เอลวา เอดิสันและที่ถูกครูตราหน้าว่าหัวทึบที่สุดและครูบอกเลิกสอนแต่เขามีแม่ที่เข้าใจและเป็นผู้ที่ อยู่เบื้องหลังความสำเร็จที่ได้มาด้วยความยากลําบากและความเข้าใจ 

EQ. เป็นชื่อย่อมาจากคําเต็มว่า Emotional Quotient ปัจจุบันมักเรียกว่า Emotion Intelligence เรียกว่า ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง ความสามารถที่จะ รู้จักและเข้าใจอารมณ์ของตนเองและผู้อื่นได้ แยกแยะอารมณ์ได้ว่า โกรธ เกลียด ไม่พอใจ รวมทั้งมีความสามารถควบคุมอารมณ์ ใช้ความสามารถทางอารมณ์ สามารถปรับตัว ปรับอารมณ์ ให้เข้ากับสถานการณ์และสังคมได้เป็นอย่างดีเหมาะสมกับกาลเทศะ

ซึ่งสมองส่วนที่ประสานกับอารมณ์ได้แก่สมองที่เรียกว่า ลิมบิกที่มีรากศัพท์ จากภาษาลาตินว่า ring แปลว่า วงแหวน โดยเฉพาะในส่วนที่เรียกว่า อมิดาลา (Amydala) เป็นตัวรับรู้ และสร้างอารมณ์ให้มนุษย์แปลผลทางอารมณ์ไปสู่สมอง เพื่อให้ทํางานได้



โดยมีระบบการทํางานคือเมื่อได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น หรือสัมผัสใดๆ จะมีการ ส่งข้อมูลมาที่ อมิดาลานี้ก่อนแล้วจึงจะไปยังสมองส่วนหน้าเพื่อสร้างความคิดว่า จะตอบสนองอย่างไร โดยใช้ข้อมูลสะสมที่ได้เรียนรู้มาเช่น เหตุผล กฎเกณฑ์ แต่หากเด็กไม่เคยได้รับหากคิดว่าไม่ควรทําก็จะมีคำสั่งว่าควรยับยั้งชั่งใจไม่กระทำการฝึกหัดให้ใช้ความคิดอย่างเป็นระบบเช่นนี้มาก่อนเลยก็จะส่งผลให้ไม่มีการส่งข้อมูล ทําให้ไม่มีการยับยั้งชั่งใจ ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ ดังนั้นคนที่มี E.Q. ต่ำ คือ ไม่มีระบบการส่งข้อมูลเพื่อกลั่นกรองยั้งคิดก่อน ควรใช้วิธีฝึกฝนให้เด็ก ควบคุมตนเองเป็น โดยจัดเป็นกิจกรรมต่อเนื่องฝึกสมองให้ทํางานอย่างเป็นระบบเพื่อให้ใช้ข้อมูลอย่างมีศักยภาพในการสั่งพฤติกรรมโต้ตอบ

หัวใจสําคัญของการพัฒนาศักยภาพทางสมองของเด็กปฐมวัย คือ การ ให้โอกาสในการพัฒนาของเด็กตามศักยภาพของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกัน ให้เด็กได้แสดงออกอย่างหลากหลายและสร้างสรรค์

ตัวอย่างกิจกรรม กิจกรรมการสกรณ์จากธรรมชาติ

จัดมุมธรรมชาติให้เด็กโดยมีทราย ก้อนกรวด ก้อนหิน ที่มีลักษณะกลม มน ขนาดต่างๆ อ่างน้ำ ช้อน ขวด กิ่งไม้ ใบไม้ ปล่อยให้เด็กได้เล่นสร้างสรรค์กับธรรมชาติเป็นชิ้นงาน



- เตรียมผลไม้ เช่น แตงโม สับปะรด มะเขือสีต่างๆ ฟักทอง แครอท แตงกวา พร้อมไม้จิ้มฟันแบบปลายไม่แหลมมาก ตัดผ่าผลไม้เป็นชิ้นขนาดต่างๆ เตรียมผ้าพลาสติกปูพื้นโต๊ะ ผ้าเช็ดมือ อ่างน้ำล้างมือ ให้เด็กสร้างจินตนาการ

- แป้งละเลงสีใช้วัตถุดิบ คือ ดินสอพอง 2 ส่วน น้ำเปล่า 1 ส่วน กาวน้ำ 1-2 ส่วน สีผสมอาหาร ละลาย ดินสอพองกับน้ำให้เป็นเนื้อเดียวกันมีความข้นปานกลาง เติมกาวลงไป เติมสีผสมอาหาร แล้วกวนให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน มีความหนืดปานกลาง

เตรียมผ้ากันเปื้อน ผ้าพลาสติกสีขาว สําหรับละเลงสี ขนาด 1 แบ่งแป้งให้เด็กได้ละเลงสีแล้ววาดภาพตามจินตนาการ (แป้งที่เล่นแล้วเก็บในภาชนะที่มิดชิดเก็บไว้ใช้ได้อีก)

เกมกระจกเราเรากับเพื่อน

ให้เด็กยืนหรือนั่งล้อมเป็นวงกลม หันหน้าเข้าหากัน เตรียมกระจกเงาทํา จากกระดาษแข็งเจาะเป็นรูป ให้สมมติเป็นกระจกเงา เริ่มโดยให้ 1 คน ออกมากลางวงถือกระจกเงาสมมติ ตรงหน้าเพื่อนอีกคน ยกกระจกขึ้นมาส่องแล้ว ทําหน้าตาตามจินตนาการต่างๆ เพื่อนคนนั้นต้องทําหน้าให้เหมือนกับเพื่อน แล้ว เป็นคนถือกระจกต่อไป

ลิงใต้สะพาน

ใช้เชือกฟางความยาว 5-6 เมตร วางบนพื้น โดยสมมติเป็นสะพาน ให้เด็ก เข้าแถว คลานรอที่ปลายสะพานเป็นแถว เริ่มคลานโดยต้องให้มือและเท้าอยู่บนเชือกห้ามพลาดออกจากเชือกถือว่าตกสะพานแล้วปรับเป็นการเดินและการวิ่งบนสะพานนั้น