การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองเด็กปฐมวัย

ตอนที่ 2 กิจกรรมเสริมประสบการณ์

เรื่องที่ 1 การพัฒนาสมาธิเด็กปฐมวัย

การพัฒนาสมาธิในเด็กปฐมวัยจะช่วยให้เด็กเกิดความรู้สึกสงบสบายสามารถปฏิบัติได้ดังนี้

1. การฝึกสมาธิก่อนนอนทุกวันเป็นวิธีที่ช่วยให้เด็ก นอนกลางวันอย่างมีความสุข การนอนของเด็กมีความ สําคัญอย่างยิ่งยวด เพราะขณะที่เด็กนอนจะมีการเชื่อม โยงเส้นใยประสาทสมองได้ดียิ่งขึ้น กิจกรรมที่ให้ทําไม่ควร ซ้ำซากจำเจ ควรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผู้เลี้ยงดูเด็ก ควรให้เด็กล้างมือ ล้างเท้า แปรงฟัน ปัสสาวะให้เสร็จ เรียบร้อยแล้วเริ่มกิจกรรมดังนี้

ให้เด็กนั่งบนที่นอนของตนเองตามอิริยาบถ ในท่าที่เด็กชอบ เช่น ขัดสมาธิ พับเพียบ หรือทอดขายาว ให้เด็กเอามือวางไว้บนตักหรือขา หลับตา แล้วสูดลมหายใจเข้าและออกช้าๆ ผู้เลี้ยงดูเด็กคอยพูดชักจูงโดยใช้ าเสียงนุ่มนวล พร้อมเปิดเพลงประกอบใช้เวลาไม่เกิน 1-5 นาที แล้วค่อยๆ ให้เด็กล้มตัวลงนอน เมื่อเด็กเคยชินแล้วให้ผู้เลี้ยงดูเด็กเพิ่มเติมให้เด็กคิดตามในบรรยากาศที่สมมุติว่าอยู่ ในสวน อยู่ในบริเวณน้ําตก เสียงนกร้อง โดยเปิดเพลงที่มีจังหวะนุ่มนวล แล้วให้ เด็กล้มตัวลงนอน

2. การฝึกโยคะก่อนนอนกลางวัน เมื่อเด็กได้ฝึกสมาธิแล้วให้พัฒนาเป็นฝึกโยคะ ง่ายๆ จุดประสงค์คือ ให้เด็กได้รู้จักควบคุมกล้ามเนื้อตนเองผ่อนคลายความเครียด ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องเข้าใจในหลักการคือ ฝึกด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่เร่งรัดหรือ ไม่ฝืนแรงของเด็ก และต้องเคลื่อนไหวช้าๆ โดยเมื่อเด็กสูดลมหายใจเข้าปอดแล้ว 1 นาที ให้ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ ประสานมือกันแล้วบิดไปทางซ้ายและขวาช้าๆ

กางขาออกแล้วใช้ปลายนิ้วแตะบริเวณส่วนปลายเท้า ได้แค่ไหนพอแค่นั้น โดยมือซ้าย แตะเท้าขวา มือขวาแตะเท้าซ้าย เป็นการยืดเส้นยืดสายให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย พร้อม ทั้งฝึกลมหายใจที่ถูกต้อง

3. การฝึกสมาธิเพื่อสร้างจินตนาการ เป็นวิธีการที่ต่อเนื่องจากการทําสมาธิ ก่อนนอน อาจใช้กิจกรรมนี้ก่อนปฏิบัติกิจกรรมศิลปะ หรือในเวลาที่ผู้เลี้ยงดูเด็ก ต เริ่มต้นโดยผู้เลี้ยงดูเด็กต้องท่าสถานที่ให้มีบรรยากาศสงบ โปร่งว่าเหมาะสมอากาศถ่ายเทได้ดี ไม่มีเสียงรบกวน เตรียมเครื่องมือและแผ่นซีดีเพลงบรรเลงคลาสสิก เช่น เพลงบรรเลงไทยเดิมด้วยเครื่องดนตรีที่เป็นเครื่องสาย เช่น ขิม หรือเครื่องเป่า เช่น ขลุ่ย เพลงบรรเลงที่มีเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงน้ำไหล เสียงนกร้อง เพลงคลาสสิก ของคีตกวีเอกของโลก เช่น โมซาร์ท เช่นเพลง Divertomento K 136, Sonata for 2 pianos D major K 448-2nd Movement ฯลฯ จัดเด็กให้นั่งในท่าสบายบนเก้าอี้ วางมือไว้บนหน้าตัก สูดลมหายใจเข้าลึกๆ แล้วค่อยๆ ผ่อนออก ตัวจะตรงโดย อัตโนมัติแล้วหลับตาลง ผู้เลี้ยงดูเด็กพูดด้วย เสียงที่นุ่มนวล เชิญชวนให้เด็กคล้อยตาม เช่น หากต้องการให้เด็กเกิดจินตนาการเกี่ยวกับ ธรรมชาติ เช่น น้ำตก จะได้ยินเสียงของ น้ำตกแว่วมาไกลๆ ค่อยๆ เดินไปตามทางจะ มีเสียงนกร้องเสียงผึ้งบิน ยิ่งใกล้ตัวได้ยิน เสียงน้ำตก นั่นไงเห็นแล้วน้ำตกไหลมาจาก หน้าผาที่สูง น้ำตกไหลลงมาเย็นฉ่ำ ได้รับ ไอน้ำที่สดชื่น รู้สึกสดชื่นสบาย สบายอย่างไม่ เคยรู้สึกมาก่อน ได้ยินเสียงนกร้องที่หน้าต่างห้องเรียนแล้วเราจะลืมตาขึ้นมองเห็นห้องเรียนของเรา

เมื่อเด็กตื่นจากจินตนาการแล้วอาจให้เด็กถ่ายทอดประสบการณ์ เช่น การวาดงานศิลปะต่างๆ หรือเล่าเรื่องจากจินตนาการของตนให้เพื่อนฟังก็ได้

ในกรณีนี้หากเป็นเด็กเล็กอาจยังไม่เคยมีประสบการณ์ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจให้รับชม VCD ภาพน้ำตกสวยๆ นกต่างๆ หรือธรรมชาติที่ต้องการให้เด็กจินตนาการ ให้เด็กได้ดูก่อนหรืออาจพาไปที่สวนสาธารณะแหล่งท่องเที่ยวใกล้ๆ เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงก่อน 

4. การฝึกโยคะเป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากการฝึกโยคะก่อนนอนเพื่อพัฒนาร่างกายควบคู่ไปกับจิตใจ ท่าฝึกโยคะที่เหมาะสมกับเด็ก คือท่าเลียนแบบธรรมชาติ และท่าสัตว์ต่างๆ เป็นการฝึกการเคลื่อนไหว ที่ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพสร้างเสริมจินตนาการผ่อนคลายความเครียด ทําให้เด็กได้มีโอกาสอยู่นิ่งๆ กับตัวเอง ได้ฟังเสียงลมหายใจ สัมผัส เสียงธรรมชาติรอบตัว เท่ากับเป็นการปูพื้นฐานในการคิดให้เด็กได้ สำรวจตัวเอง เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่จะนําาไปสู่การทบทวนตนเองรู้จักวิธีการดำเนินชีวิตของตนเองร่วมกับผู้อื่น ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกโยคะคือเด็กจะได้มีโอกาสควบคุมตนเองได้ทั้งกล้ามเนื้อและร่างกาย ช่วยเติมเต็มในด้านจิตใจเด็ก เมื่อเด็กทําได้ผู้ใหญ่ควร จะยกย่องชมเชย เมื่อเด็กเลียนแบบธรรมชาติและท่าสัตว์ทําให้เด็กเข้าใจในธรรมชาติ ของตัวสัตว์ เกิดจิตใจที่ละเอียดอ่อนเข้าใจในธรรมชาติ รักและผูกพันกับสิ่งรอบตัว - ขณะเดียวกันเป็นการฝึกสมองสองซีกให้สมดุล โดยการฝึกให้เคลื่อนไหว สัมผัสกับธรรมชาติ ท่าทางการทรงตัว จะช่วยบริหารสมองทําให้สมองสองซีกทํางานกันอย่าง สมดุลสร้างก้าลังใจในการฝ่าฟันอุปสรรค การฝึกฝนให้ทาท่าอย่างถูกต้อง เด็กต้องใช้ ความพยายาม อดทน เป็นการพัฒนาบุคลิกภาพและควบคุมตนเองได้

เวลาที่ใช้ในการฝึกโยคะเป็นเวลาใดก็ได้ แต่ไม่ควรฝึกหลังจากรับประทาน อาหารใหม่ๆ ควรทิ้งช่วง 2 ชั่วโมงขึ้นไป เตรียมผ้าปูหรือเบาะรองที่ไม่นุ่มไม่แข็ง เกินไป ไม่ลื่น เริ่มต้นโดยให้เด็กนอนหรือหลับตานั่งลงฟังเสียงหัวใจเต้นแล้วสูดลม หายใจเข้าปอดให้หน้าท้องป่องแล้วค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกจนพุงแฟบ ประมาณ 5-10 ครั้ง แล้วเริ่มฝึกโยคะจากท่าง่ายๆ เช่น ท่าไหว้พระอาทิตย์ ท่าต้นไม้ ท่าภูเขา ท่าเลียนแบบสัตว์ เช่น ท่าสุนัข ท่าแมว ท่ากระต่าย ท่าลิง ท่าสิงโต ท่าผีเสื้อในอิริยาบถต่างๆ 

สิ่งที่ควรคํานึงคือ เด็กจะมีความสามารถไม่เท่ากัน ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ควร เร่งรัดและการฝึกต้องเคลื่อนไหวช้าๆ หากเด็กเกิดความคับข้องใจควรหยุดไม่บังคับและควรให้คําชมเชยเป็นระยะเพื่อเสริมกําลังใจให้แก่เด็ก

กิจกรรมที่ 12 ให้นักศึกษาทดลองฝึกโยคะตามขั้นตอนที่กำหนดจนมีความเข้าใจแล้วนําไปทดลองกับเด็กปฐมวัย โดยจัดทําแบบ การฝึกกิจกรรมกำหนด 2 สัปดาห์ เริ่มจากง่ายไปตามลําดับ แล้วบันทึกลงในแบบประเมินที่สร้างขึ้นพร้อมความคิดเห็นของนักศึกษา

เรื่องที่ 2 การจัดกิจกรรมพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5

การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การมอง การฟัง การเคลื่อนไหว การสัมผัส การลิ้มรส และการดมกลิ่นให้แก่เด็กปฐมวัย สามารถ สร้างความจําที่แม่นยําและเพื่อฝึกใช้ประสาทสัมผัสหลายด้านมากขึ้น ทางเดินเส้น ประสาทของสมองจะถูกใช้มากขึ้นก่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์ประสาท มากขึ้น ส่งผลให้มีการจัดระบบความจําได้ชัดเจนและคงทน โดยอาจใช้กิจกรรม ดังนี้

การฟัง โดยการฟังเพลง จังหวะ เสียงธรรมชาติ เช่น เสียงนกร้อง น้ำไหล การถามคําถาม การออกเสียงตาม

การเคลื่อนไหวและการสัมผัส โดยออกท่าทางการบริหารสมองแบบแบรนยิม การเต้นตามจังหวะ การยืน การสัมผัสของด้วยมือ นิ้ว

การลิ้มรส โดยการทดสอบความหวาน ขม เปรี้ยว เค็ม เผ็ด และรสชาติ ของอาหารทั้งคาว คาวและหวาน น้ำหอม

การดมกลิ่น โดยใช้ดอกไม้ ใบไม้ เครื่องเทศ อาหาร เครื่องดื่ม ผลไม้

ผู้เลี้ยงดูเด็กควรเริ่มกิจกรรมเพื่อพัฒนาประสาทสัมผัสทีละด้าน แล้วค่อยๆ เพิ่มกิจกรรม เช่น เริ่มกิจกรรมด้วยการมองก่อน ต่อด้วยการฟัง แล้วฝึกการมอง และการฟังพร้อมๆ กัน แล้วจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและสัมผัสแล้วนําเอา การมอง การฟัง และเคลื่อนไหวพร้อมๆ กัน พัฒนาไปทีละด้านจนสามารถนําการพัฒนา ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้านไปสู่การสร้างจินตนาการซึ่งเป็นกระบวนการคิดที่ใช้ ประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ที่ต้องจัดเก็บระบบไว้ สามารถสร้างข้อมูล ใหม่ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพขึ้น เช่น ให้มองภาพสีเขียวมะนาวในวงกลมแล้วให้เด็กจินตนาการว่าควรเป็นอะไร ผู้เลี้ยงดูเด็กนํามะนาวจริงมาใส่กล่องให้เด็กคลำแล้วทาย และให้เด็กทดลองบีบผลมะนาวแล้วดม ผ่าซีกมะนาวแล้วให้ปิดตานํามา แตะที่ลิ้น แล้วให้เด็กทาย หลังจากนั้นให้ผู้เลี้ยงดูเด็กบรรยายถึงผลของมะนาวที่มีลักษณะสมบูรณ์สวยงามถูกคลึงจนนิ่มมีกลิ่นหอมของผิวมะนาวแล้วผ่าออกบีบ น้ำมะนาวให้หยดลงบนลิ้น เด็กจะใช้จินตนาการตาม จะมีน้ำลายออกมาเหมือนได้ รับรสมะนาวจริงๆ เป็นต้น

เมื่อผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยฝึกให้เด็กปฐมวัยได้ใช้จินตนาการในเรื่องต่างๆ เด็กจะสามารถสร้างความจําได้แม่นยํากว่าการท่องจำ เพราะการใช้สมองจินตนาการ ต้องใช้ระบบสมองหลายๆ ด้านมาร่วมด้วย จินตนาการไม่ได้ถูกจํากัดด้วยความ เป็นจริง ดังนั้นเด็กที่เรียนรู้สัมผัสด้วยจิตใจจะน่าตื่นตาตื่นใจกว่าได้อ่านหรือได้ยินเพียงอย่างเดียว

ขั้นตอนการใช้จินตนาการในการเรียนรู้

1. ให้เด็กมีความผ่อนคลายโดยอาจใช้การเคลื่อนไหวสลับข้าง หรือทําท่าทางให้สมองผ่อนคลายพร้อมสําหรับการเรียนรู้

2. ใช้เสียงดนตรีประกอบท่าทางการผ่อนคลายสอดคล้องกับจังหวะการเต้นของหัวใจ

3. ให้เด็กเลือกทำท่าที่คิดว่าผ่อนคลายของตนเองเลือกใช้จังหวะที่มีความ

4. ให้เด็กหลับตาปล่อยร่างกายตามสบาย พร้อมกับหายใจเข้าและหายใจออกอย่างช้าๆ และสม่ำเสมอ 

5. ผู้เลี้ยงดูเด็กพูดคลอไปในระดับเสียงที่นุ่มนวลไปกับเสียงดนตรีที่มีท่วงทำนองผ่อนคลายเป็นหรือพูดเป็นจังหวะเนิบช้าโดยไม่มีดนตรีประกอบ

6. ชักจูงเด็กให้มีความรู้สึกคล้อยตาม เช่น สมมติให้อยู่ในสถานที่ รู้สึกว่าเป็น_____ไหม เกิดอะไรขึ้นบ้าง ได้ยินเสียงอะไร รู้สึกอย่างไร

7. เพื่อให้เด็กเกิดจินตนาการแล้วชวนเด็กออกมาจากจินตนาการกลับ สู่ห้องเรียน โดยหายใจเข้าลึกๆ หายใจออกโดยไล่ลมออกในลักษณะการหายใจ เฮือกใหญ่ บิดตัวเล็กน้อยแล้วลืมตา

8. อาจมีการชวนพูดคุยถึงประสบการณ์ในจินตนาการเด็ก โดยให้เล่าตามความสมัครใจหรือวาดภาพตามความคิดของเด็ก

กิจกรรมที่ 13

ให้นักศึกษาจัดกิจกรรมพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยใช้ ผลไม้หรืออาหารที่เหมาะสมเขียนแผนการจัดประสบการณ์ โดยเรียงตามลําดับตั้งแต่ การมอง การฟัง การเคลื่อนไหว และการสัมผัส การลิ้มรสและการดมกลิ่น พร้อมกับบันทึกลง ในแบบประเมินที่สร้างขึ้น

เรื่องที่ 3 การเล่าเรื่องไม่รู้จบ

การเล่าเรื่อง คือการนําเอาเรื่องราวต่างๆ ในอดีต เช่น เรื่องในประวัติศาสตร์ นิทาน พงศาวดาร ประสบการณ์ หรือเรื่องสั้น ฯลฯ ที่มีคติมาเล่าให้ฟังได้เข้าใจ และได้รับประโยชน์ตามชนิดของเรื่อง การเล่าเรื่องให้แก่เด็กปฐมวัยมีคุณค่าและ ประโยชน์มาก คือ

1. ช่วยชดเชยประสบการณ์ด้านภาษาแก่เด็กในชนบทให้เท่าเทียมกับเด็ก ในเมือง เพราะพ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กอาจไม่มีเวลาหรือไม่เห็นคุณค่าในการเล่า เรื่องต่างๆ ให้เด็กฟัง

2. ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางภาษา ความคิด และจินตนาการที่ดีให้แก่เด็ก 

3. ช่วยฝึกให้เด็กเป็นนักฟังที่ดี เข้าใจการปฏิบัติตัวขณะเป็นผู้รับฟัง สามารถ เก็บใจความจากเรื่องเล่าตามควรแก่วัยของเด็ก 

5. ช่วยให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน มีจินตนาการ เกิดความรู้สึก อบอุ่นและใกล้ชิดกับผู้เล่า

5. ช่วยให้ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยได้ทราบถึงความรู้สึกที่มีอยู่ในใจเด็กจากการพูด คุยซักถาม

การเล่าเรื่องเป็นการโน้มน้าวจิตใจของเด็กปฐมวัยที่เป็นผู้ฟัง ผู้เลี้ยงดูเด็กควรปฏิบัติตัวดังนี้

1. การใช้ท่าทางประกอบการเล่า เพื่อให้เด็กสนใจฟัง ทั้งตัวผู้เล่าที่ใช้ท่าทาง การเคลื่อนไหวร่างกายและเรื่องที่เล่า

2. การใช้ภาษาและน้ำเสียง ให้เหมาะกับระดับของเด็ก ไม่ควรบีบเสียงจนผิด ธรรมชาติ ควรมีการเน้นน้ำเสียง หนัก - เบา ให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง

3. ใช้การแสดงออกทางสีหน้าและอารมณ์ เช่น การส่ายหน้า พยักหน้า ยิ้ม บึ้งตึง โกรธ ควรต้องใช้ในขณะที่เล่าเรื่องถึงอารมณ์นั้นๆ จะช่วยให้เด็กเกิด จินตนาการที่ชัดเจน

4. ใช้อุปกรณ์ประกอบในการเล่าเรื่อง เพื่อให้เด็กเข้าใจในเนื้อเรื่อง สนใจ เรื่องที่เล่า เช่น ใช้ภาพ รูปภาพ สัญลักษณ์ ตัวสัตว์ในรูปแบบต่างๆ เครื่องบันทึก เสียงที่เหมาะสมกับเรื่องราว

5. ชักจูงให้เด็กได้ใช้ความคิด จินตนาการ โดยการเล่าเรื่องให้ค้างไว้ในตอน ที่เหมาะสม เพื่อให้เด็กเกิดจินตนาการหรือตอบคําถาม แล้วผู้เลี้ยงดูเด็กควรสรุปเรื่องที่เล่าทุกครั้งเพื่อให้เด็กเข้าใจดีขึ้นโดยมีรูปแบบการเล่าเรื่องที่ผู้เลี้ยงดูเด็กสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม

1. การเล่าเรื่องปากเปล่า เป็นการเล่าเรื่องที่อาศัยเพียงคําพูดและน้ำเสียง ของผู้เล่าไม่มีสื่อประกอบ ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องเป็นผู้มีศิลปะในการเล่าและมีการเล่าที่ จูงใจมาก ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเล่าเองหรือให้เด็กเล่า ไม่ควรเล่านานเกิน 10 นาที

2. การเล่าเรื่องประกอบท่าทาง เป็นการเล่าเรื่องที่มีชีวิตชีวา เด็กจะติดตาม เรื่องและจินตนาการตามได้ ทําให้เห็นภาพพจน์ของเรื่องที่เล่าจากท่าทาง โดย ท่าทางที่ประกอบการเล่าเรื่อง อาจเป็นท่าทางของผู้เล่าหรือท่าทางของเด็ก ได้แก่ การทําหน้าตา การแสดงท่าทางกาย หรือการใช้นิ้วมือประกอบการเล่า

3. การเล่าเรื่องประกอบภาพ โดยภาพที่ใช้ประกอบอาจใช้ภาพถ่าย ภาพ โปสเตอร์ ภาพจากหนังสือ ภาพวาด การให้เด็กได้ดูภาพประกอบการเล่าเรื่อง จะจูงใจเด็กและสร้างสรรค์จินตนาการที่กว้างไกลให้เกิดแก่เด็กมาก หากเป็นภาพที่ เคลื่อนที่ไปตามลําดับเรื่อง จะเป็นสิ่งจูงใจให้เด็กติดตามเรื่อง และมีความอยากรู้ อยากเห็นมากขึ้น เกิดความสนุกสนานมากขึ้น

4. การเล่าเรื่องประกอบเสียง อาจใช้เสียงเพลง เสียงดนตรี เสียงร้องของ สัตว์ต่างๆ เสียงรถไฟ มาประกอบการเล่าเรื่องได้ โดยมีจุดประสงค์ คือ เพื่อสร้าง บรรยากาศเร้าใจให้เกิดความตื่นเต้น ชวนติดตาม

5. การเล่าเรื่องประกอบอุปกรณ์หรือสิ่งประดิษฐ์ เช่น หน้าตา ตัวแสดงใน เรื่อง ดาบ หรือสิ่งของที่มีอยู่ในเรื่อง ทําให้เด็กเกิดความตื่นตาตื่นใจ สร้างความสนใจ ในการฟังเรื่องได้ดี 

เมื่อเด็กได้รับประสบการณ์ในการฟังนิทานแล้วให้ผู้เลี้ยงดูเด็กพัฒนาการเล่าเป็นเรื่องที่ไม่รู้จบ โดยทุกเรื่องจะไม่มีบทสุดท้ายแต่จะทิ้งประเด็นให้เด็กได้คิดว่า เหตุการณ์อะไรจะเกิดขึ้นต่อไป โดยผู้เลี้ยงดูเด็กอาจซักถามแล้วให้เด็กตอบ เมื่อตอบ แล้วให้เพื่อนๆ ช่วยต่อเรื่องที่เด็กเล่าไปเรื่อย ๆ เมื่อสมควรแก่เวลาให้ผู้เลี้ยงดูเด็กสรุป เล่าสิ่งที่เด็กช่วยกันเล่าและเสริมแต่งให้สมบูรณ์ แล้วทิ้งท้ายว่าพรุ่งนี้เราจะมาเล่า กันต่อว่าตัวละครในเรื่องที่เล่าจะมีเรื่องอะไรเพิ่มเติมบ้าง

ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจใช้วิธีการใดก็ได้แต่จุดประสงค์สําคัญคือ กระตุ้นความสนใจให้แก่เด็กและส่งเสริมจินตนาการให้แก่เด็กเป็นสําคัญ

กิจกรรมที่ 14

ให้นักศึกษาเลือกเรื่องที่จะนํามาเล่านิทานให้เหมาะสมกับรูปแบบการเล่านิทาน โดยเลือกมา 3 รูปแบบ บันทึกลงใน แผนการจัดกิจกรรม ทุกเรื่องต้องเป็นเรื่องเล่าไม่รู้จบ เพื่อนํา ไปเล่าและให้บันทึกผลการปฏิบัติกิจกรรมลงในแบบประเมิน