เพลงและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

ตอนที่ 1 นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย

       เรื่องที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนิทาน

       เรื่องที่ 2 เทคนิคการเลือกและการเล่านิทาน

       เรื่องที่ 3 สมุดเล่มเล็กสำหรับนักวาดฝัน

       เรื่องที่ 4 ตัวอย่างนิทานสำหรับเด็กปฐมวัย

       นิทานเป็นเรื่องเล่าที่ถ่ายทอดโดยการผ่านถ้อยคำที่มีความสำคัญในการสร้างความคิดเชื่อมโยงภายในสมอง โดยเด็กจะได้รับประสบการณ์ทางภาษาผ่านตัวหนังสือ ผ่านการพูดคุยและน้ำเสียง เป็นการสื่อสารสองทาง ซึ่งช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทั้งทางสังคม บุคลิกภาพ การศึกษา อารมณ์และจิตใจหรือทุกๆ ทางที่เด็กจะสามารถพัฒนาได้

       นิทานสำหรับเด็กปฐมวัยเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยต้องศึกษาและสร้างความเข้าใจ

เรื่องที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนิทาน

       การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัยจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางภาษา ความคิดและจินตนาการ ครู/ผู้เลี้ยงดูเด็กสามารถนำนิทานมาสอน เพื่อเป็นการฝึกทักษะการอ่าน และส่งเสริมรักการอ่านได้ด้วย (สรรชัย ศรีสุข. 2530:26) การเล่านิทาน เป็นการพัฒนาภาษาพูด แต่การใช้หนังสือเป็นการพัฒนาการเขียน พัฒนาความสามารถในการคิด การใช้จินตนาการการสังเกตและเพิ่มพูนการรับรู้ที่มีต่อตนเองและผู้อื่น

ความหมายของนิทาน

       นิทานเป็นการเล่าเรื่องราวจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง ซึ่งในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ การเล่าเรื่องราวเป็นการวาดภาพต่างๆ ตามผนังถ้ำ หน้าผา ภูเขา ฯลฯ ซึ่งภาพต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นภาพที่เขียนตามความเชื่อเพื่อบูชาพระเจ้า ความเชื่อทางไสยศาสตร์ การล่าสัตว์ หรือการวาดภาพเครื่องมือ เครื่องใช้เพื่อล่าสัตว์ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาการทางด้านภาษา ซึ่งมีการสื่อความหมายจากภาพเป็นภาษาพูดและภาษาเขียน

       การเล่านิทานในสมัยโบราณ ไม่สามารถบอกได้ว่าใครเป็นเจ้าของเรื่อง แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องเล่าเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน แล้วสอดแทรกความรู้และคติสอนใจไปด้วย เป็นเรื่องที่ใช้เล่าระหว่างผู้ใหญ่กับผู้ใหญ่ ยังไม่มีนิทานที่แบ่งเฉพาะสำหรับเด็ก บางครั้งก็จะเป็นเรื่องจักรๆ วงศ์ๆ เป็นนิยายพื้นบ้าน  ส่วนใหญ่เราจะเรียกว่านิทานชาวบ้าน ซึ่งแฝงไปด้วยความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ ค่านิยมและคุณธรรมที่คนในสังคมนั้นยึดถือ

       นักวิชาการและหน่วยงานต่างๆ ได้กล่าวถึงความหมายและลักษณะของนิทานชาวบ้านไว้ ดังนี้

       กุหลาบ มัลลิกะมาส (กุหลาบ มัลลิกะมาส, 2516 : 99-100) ได้กล่าวถึงลักษณะของนิทานชาวบ้านไว้ว่า

       1. เป็นเรื่องเล่าด้วยถ้อยคำธรรมดาเป็นภาษาร้อยแก้วไม่ใช่ร้อยกรอง

       2. เล่ากันด้วยปากสืบกันมาเป็นเวลาช้านาน ต่อมาเมื่อการเขียนเจริญขึ้นก็อาจเขียนขึ้นตามเค้าเดิมที่เคยเล่ากันมา

       3. ไม่ปรากฏว่าผู้เล่าดั้งเดิมเป็นของใคร อ้างแต่ว่าเป็นของเก่าฟังมาจากผู้เล่าซ้ำเป็นบุคคลสำคัญในอดีตอีกต่อหนึ่ง

       กรมศิลปากร (กรมศิลปากร, 2514:คำนำ) ได้อธิบายความหมายของนิทานชาวบ้าน คือ เรื่องราวที่บุคคลในท้องถิ่นต่างๆ แต่งขึ้นและเล่าสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน มีความมุ่งหมายเพื่อเป็นเครื่องบันเทิงใจ และสั่งสอนให้บุคคลกระทำความดี เช่น มีความกตัญญู ชื่อสัตย์สุจริตและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ บางเรื่องแต่งขึ้นเพื่ออธิบายคำพังเพยเก่าๆ ของไทย บางเรื่องแต่งขึ้นเพื่ออธิบายความเป็นมาของชื่อภูมิประเทศบางแห่ง นอกจากนิทานให้ความสนุกสนานแล้ว นิทานชาวบ้านยังเปรียบเสมือนกระจกสะท้อนให้เห็นถึงตัวสภาพความเป็นอยู่ ความนึกคิด ความเชื่อถือ ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของบุคคลในท้องถิ่นต่างๆ นับว่าเป็นเรื่องที่มีคุณค่าแก่ผู้สนใจทั่วไป

ประเภทของนิทาน

       นิทานสามารถแบ่งได้หลายแบบและหลายประเภทไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว แล้วแต่ผู้รู้หรือผู้เขียนจะรวบรวมและแยกประเภทว่าเป็นประเภทใด เช่น

       กุหลาบ มัลลิกะมาส (กุหลาบ มัลลิกะมาส, 2516:110-113) ได้กล่าวถึงการแบ่งนิทานของแอนติ อาร์เน (Anl:i Aarne) ว่ามีการแบ่งนิทานตามชนิด (Type) ของนิทานออกเป็น 3 หมวด คือ

       1. นิทานที่เกี่ยวกับสัตว์ โดยจะแยกออกเป็นสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า

       2. นิทานชาวบ้านทั่วไป แบ่งย่อยเป็น

                - นิทานที่เกี่ยวกับเวทมนตร์คาถา เช่น แม่มดแสนกล

                - นิทานทางศาสนา เช่น นิทานชาดกต่างๆ

            - นิทานแบบโรแมนติก เช่น สโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด

                - นิทานเกี่ยวกับยักษ์และรากษส เช่น อาละดินกับตะเกียงวิเศษ

       3. นิทานตลกขบขัน แยกเป็น

                - นิทานเกี่ยวกับคนโง่

                - นิทานเกี่ยวกับสามีและภรรยา

                - นิทานโกหก

                - นิทานที่มีการวาดรูปการเล่าเป็นแบบจำเพาะ

       คูเบอร์ (Cuber. 1960: 282-285) ได้แบ่งนิทานออกเป็น 5 รูปแบบ (Form) คือ

       1. ตำนานเป็นเรื่องเก่าแก่ที่อธิบายชีวิต ปรากฏการณ์ธรรมชาติ และสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในโลก

       2. นิทานคติ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับสัตว์ จบลงด้วยคติสอนใจ สอนแนวทางดำรงชีวิตของคน

       3. นิทานท้องถิ่น เป็นเรื่องสอนใจเช่นเดียวกัน แต่ให้ความรู้สึกว่าเป็นเรื่องจริงมากกว่านิทานคติ นิทานท้องถิ่นเป็นเรื่องที่มีเค้าเรื่องจริงและเหตุการณ์ที่เกินจริงผสมอยู่

       4. นิทานปรัมปรา เป็นเรื่องเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน จะกล่าวถึงดินแดนมหัศจรรย์ และเรื่องราวของการใช้อภินิหารทั้งหลาย

       5. รูปแบบอื่นๆ เช่น เพลงชาวบ้าน สุภาษิต คำพังเพย ปริศนา มุกตลก กลอนชาวบ้าน กลอนและบทร้องสำหรับเด็ก

       กิ่งแก้ว อัตถากร (กิ่งแก้ว อัตถากร, 2513: 9-17) ได้แบ่งนิทานออกเป็น 6 ชนิด คือ

       1. นิทานไม่รู้จบ เป็นนิทานที่มีลักษณะพิเศษอยู่ในโครงสร้าง คือมีการเล่าเรื่องช้ำรอยเดิมเป็นช่วงๆ เปลี่ยนเฉพาะบางคำเท่านั้น

       2. นิทานเรื่องสัตว์ เป็นเรื่องที่สัตว์เป็นตัวละครยืนโรง มีแนวปรัชญาน่าคิด

       3. นิทานคติสอนใจ มีเนื้อหาในเชิงสอนใจ โครงสร้างของเรื่องแสดงถึงกฎแห่งกรรม ผลดีย่อมเกิดจากการกระทำที่ดี ส่วนผลร้ายเกิดจากการกระทำที่ประมาท เห็นแก่ได้

       4. มุกตลก เป็นเรื่องสั้นที่ขบขัน แสดงถึงความโง่ หรือไหวพริบปฏิภาณของบุคคล

       5. เรื่องโม้ เป็นเรื่องเหลือเชื่อที่ไม่น่าเป็นไปได้

       6. นิทานทรงเครื่อง มักเล่าในงานรื่นเริงเนื้อเรื่องเกี่ยวกับบุคคล เหตุการณ์และบรรยากาศที่วิจิตรพิสดาร

       จะเห็นได้ว่าผู้รู้หลายท่านจะมีการแบ่งนิทานไปตามความคิดของตนเอง โดยยึดแนวของนิทาน ลักษณะของนิทาน เป็นตัวแบ่งประเภท แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นไม่แตกต่างกันมากนัก

       ในช่วงต่อไป ขอยกตัวอย่างและความหมายของนิทานแต่ละประเภท

       1. นิทานปรัมปรา (Fairy tales)

       2. นิทานท้องถิ่น (Legends)

       3. เทพนิยาย (Myths)

       4. นิทานเกี่ยวกับสัตว์ (Animal tales)

       5. นิทานตลกขบขัน (Merry tales)

       ความหมายและรายละเอียดของนิทานแต่ละประเภท มีดังต่อไปนี้

       1. นิทานปรัมปรา (Fairy tales) หมายถึง นิทานที่มีเรื่องราวสลับขับซ้อน เป็นเรื่องสมมุติทั้งตัวบุคคล เวลา และสถานที่ เนื้อเรื่องประกอบด้วยอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ตัวเอกมักมีคุณสมบัติพิเศษ เช่น มีเวทมนตร์ กล้าหาญ มีไหวพริบ ซื่อสัตย์ มีอำนาจ และจะกล่าวถึงดินแดนมหัศจรรย์และเรื่องราวของการใช้อภินิหารทั้งหลาย และตัวละครจะมีทั้งคนดี คนเลว รวมทั้งเทพยดา นางฟ้า ภูติฝีปีศาจ และลักษณะเนื้อหานิทานจะมีกฎเกณฑ์ ข้อห้าม หรือคำสั่งต่างๆ ถ้าขัดขืนจะเกิดเหตุร้าย โครงสร้างของนิทานปรัมปรามีลักษณะคล้ายคลึงกันแทบทุกเรื่อง ไม่สลับชับซ้อน ตัวละครจะต้องผจญภัย แก้ปัญหาได้ และจะจบลงด้วยความสุข ซึ่งส่วนมากจะขึ้นต้นเนื้อหาของนิทานว่า "ในกาลครั้งหนึ่ง...มีกษัตริย์องค์หนึ่ง....ครองเมือง...." นิทานปรัมปรา ส่วนมากจะมาจากแนวการแต่งนิทานของกริมม์ ซึ่งได้แก่ เทพนิยายของกริมม์ และเทพนิยายของแอนเดอร์สัน นิทานปรัมปราที่แปลมาสนุกสนานเด็กชอบและติดใจฟังกันมาก ได้แก่ เรื่องหนูน้อยหมวกแดง ชินเดอเรลลา เจ้าชายกบ เจ้าหญิงนิทรา ส่วนเรื่องของไทยก็ได้แก่ เรื่อง นางสิบสอง ปลาบู่ทอง สังข์ทอง เป็นต้น

       2. นิทานท้องถิ่น  (Legends) สั้นกว่านิทานปรัมปรา มักเป็นเรื่องเหตุการณ์เดียวและมีเรื่องความเชื่อ ขนบธรรมนียมประเพณี โชคลาง ความเชื่อในผีสาง เทวดาของคนในแต่ละท้องถิ่น เค้าโครงเรื่องของนิทานจะอาศัยเรื่องจริงเป็นหลัก ตัวละครสำคัญและสถานที่ที่กล่าวถึงเป็นเรื่องจริง หรือเป็นเรื่องเล่าแฝงความเชื่อเกี่ยวกับกำเนิดของสัตว์ ธรรมชาติ สถานที่ และวีรบุรุษ มักจะเป็นนิทานที่อธิบายคำว่า "ทำไม" นิทานท้องถิ่นแบ่งย่อยเป็น 2 ประเภท คือ

       2.1 นิทานอธิบายเหตุ เป็นนิทานที่อธิบายปรากฎการณ์ธรรมชาติ เช่น ทำไมราหูกับพระจันทร์จึงเป็นอริกัน ทำไมจระเข้ไม่มีลิ้น ทำไมเสือจึงมีลาย ทำไมกระต่ายจึงมีหางสั้น หรืออาจเป็นนิทานอธิบายสาเหตุของความเชื่อบางประการ เชน เรื่องเขาตาม่องล่าย นางพันธุรัด เกาะหนูเกาะแมว แม่นาคพระโขนง ฯลฯ

       2.2 นิทานวีรบุรุษ เป็นนิทานที่กล่าวถึงคุณธรรม ความฉลาด ความกล้าหาญของบุคคล ส่วนมากเป็นวีรบุรุษของบ้านเมือง กำหนดตัวบุคคล เวลา และสถานที่แน่นอนลงไปพอที่จะให้ผู้ฟังเชื่อว่าอาจจะมีความจริงแต่ตกแต่งเพิ่มเติมจนพิสดารกลายเป็นนิทานไป เช่น ท้าวแสนปม พระยากงพระยาพาน พระร่วงวาจาสิทธิ์ ไกรทอง ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ ฯลฯ  ส่วนของต่างประเทศ นิทานประเภทนี้ได้แก่ เรื่องพระรามพระลักษมณ์ เฮอร์คิวลิส โรบินฮูด อัศวินโต๊ะกลม ฯลฯ

       3. เทพนิยาย (Myths) เป็นนิทานที่มีตัวละครเป็นพวกเทวดา นางฟ้า เทพเจ้า เทพนิยาย ส่วนมากจะมีเรื่องที่สัมพันธ์กับความเชื่อทางศาสนา พิธีกรรมต่างๆ ข้อสงสัยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ เจ้าป่า เจ้าเขา เจ้าที่เจ้าทาง และเจ้าแม่ต่างๆ นิทานประเภทเทพนิยาย ได้แก่ เรื่องทำไมพระอาทิตย์จึงขึ้นตอนเช้าและตกตอนเย็น เจ้าที่เข้าฝัน กำเนิดมนุษย์ กำเนิดจักรวาล กำเนิดโลก เมขลา-รามสูร นารายณ์สิบปาง และเรื่องเกี่ยวกับพระอินทร์ ฯลฯ

       4. นิทานเกี่ยวกับเรื่องสัตว์ (Animal tales) เป็นนิทานที่มีสัตว์พูดได้ มีสัตว์เป็นตัวเอก แต่ความคิดหรือการกระทำต่างๆ  อย่างมนุษย์ บางเรื่องอาจมีคนเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ทั้งคนและสัตว์ จะพูดจาโต้ตอบและปฏิบัติกันเหมือนมนุษย์ธรรมดา นิทานชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางเพราะเนื้อหาน่าติดตาม สนุกสนาน และได้รับความเพลิดเพลิน ตลอดจนมีคติธรรมสอนใจด้วย จึงสามารถแยกย่อยได้เป็น 2 ประเภท คือ

                4.1 นิทานคติธรรม  เป็นเรื่องที่กล่าวถึงพฤติกรรมของสัตว์ เล่าเชิงเปรียบเทียบกับชีวิตมนุษย์ เป็นเรื่องสั้นๆ ที่แฝงคติสอนใจ เชน นิทานชาดกต่างๆ ได้แก่ เรื่องพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นสัตว์ พระรถเมรี พะสุธนมโนราห์ และนิทานคติธรรมที่ของไทยได้นำมาเล่ากันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ นิทานอีสป ซึ่งนิทานอีสปนี้ซึ่งเนื้อหาสาระส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวของสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งมีพฤติกรรมทั้งทางดีและชั่ว ให้อุทาหรณ์สอนใจในเรื่องความสามัคคี การใช้ความคิดไตร่ตรองหาเหตุผล ความมีใจเมตตากรุณา การมีความเพียร และการเชื่อฟังผู้ใหญ่นิทานอีสปจึงจัดว่าเป็นนิทานคติธรรมที่ถูกนำมาใช้เล่าโดยตรงหรือเป็นแนวทางในการที่จะแต่งเรื่องขึ้นมาใหม่มากที่สุด

                4.2 นิทานไม่รู้จบเป็นเรื่องที่มีการเล่าซ้ำเป็นช่วงๆ  เปลี่ยนเฉพาะบางคำเท่านั้นเหตุการณ์จะดำเนินไปอย่างช้าๆ เนื้อเรื่องและวิธีการเล่าเป็นแบบเฉพาะ ณรงค์ ทองปาน (ณรงค์ ทองปาน 2526 : 36) ได้เรียกชื่อนิทานไม่รู้จบว่า นิทานเข้าแบบ (Formula tale) นิทานไม่รู้จบ เช่น เรื่องยายกับตา (The House That Jack Built)

       5. นิทานตลกขบขัน (Merry Tales) เป็นเรื่องสั้นๆ เนื้อเรื่องชวนให้ขบขันอย่างไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ขึ้นเพียงเพื่อสร้างอารมณ์ขันให้แก่ผู้ฟังหรือผู้อ่าน อาจเป็นเรื่องแสดงถึงความโง่ไหวพริบ ปฏิภาณ การผจญภัยที่ผิดธรรมดา การพนันขันต่อ การแก้เผ็ดแก้ลำ นิทานพวกนี้ได้แก่ เรื่องหัวล้านนอกครู ศรีธนญชัย สามสหาย ฯลฯ

       สรุปจากการที่ได้ทราบเกี่ยวกับลักษณะนิทานต่างๆ ที่ผ่านมาแล้ว จะเห็นว่านิทานจะเป็นตัวสร้างทัศนคติและบุคลิกภาพของบุคคล ตลอดจนเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนในสังคม บางรูปแบบของนิทานก็จะสะท้อนให้เห็นถึงขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชาตินั้นๆ ได้เป็นอย่างดี บางรูปแบบมุ่งให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน และคติสอนใจ "นิทานส่วนใหญ่มีจุดมุ่งหมายในการเล่าเพื่อความเพลิดเพลิน แต่จะแฝงคติสอนใจให้แก่ผู้ฟังด้วย" เมื่อเด็กได้ฟังเรื่องราวจากนิทาน เด็กจะประเมินค่าตัวละครแต่ละตัว เมื่อตัวละครแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาแล้วได้รับผลน่าพอใจ เด็กย่อมอยากเลียนแบบพฤติกรรมและความคิดนั้น ตรงกันข้าม ถ้าละครได้รับผลเสียหายจากการกระทำ เด็กจะพยายามหลีกเลี่ยงพฤติกรรมนั้นๆ

       ตังนั้น การใช้ตัวละครในการเล่านิทาน ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยควรจะมีวิจารณญาณในการเลือกใช้ตัวละครหรือเลือกนิทานในการเล่าเรื่อง เนื่องจากจะเป็นต้นแบบหรือวิธีการหนึ่งที่จะกล่อมเกลานิสัยหรือบุคลิกภาพของเด็กได้เป็นอย่างดี

       ประโยชน์ของนิทาน

       ในปัจจุบันนี้มีการแต่งนิทานสำหรับเด็กเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีผู้รู้ นักจิตวิทยาเด็กได้ให้ความสำคัญของการเล่านิทาน เด็กๆ จะมีความสุขในการได้ฟังนิทาน เพราะนิทานมีประโยชน์ช่วยให้เด็กได้พักผ่อน คลายความเครียด ได้รับความเพลิดเพลิน ความสดชื่น

       ศิริกาญจน์ ใกสุมภ์ (2520.37-39) พูดถึงประโยชน์ของนิทาน คือ นิทานจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ด้านต่างๆ เช่น อารมณ์รัก โกรธ เกลียด ตามวิสัยมนุษย์ที่ปกติและสมบูรณ์

       เฉลิม มากนวล (2517:160-161) ประโยชน์ของการเล่านิทานคือ นิทานช่วยส่งเสริมความคิด คือ ให้เด็กได้คิดอย่างจินตนาการ ซึ่งจะนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ เป็นเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้สอนจริยศึกษา การค้นหาจิตวิทยาและสังคมวิทยา

       รวิวาล โฉมเฉลา (2549:84) พูดถึงประโยชน์ของการเล่านิทานคือ ส่งเสริมให้เด็กเข้าใจหนังสือ  เข้าใจภาษา และเข้าใจโลก  เมื่อเคล็ตลับสามข้อนี้มารวมกัน ความตื่นเต้นของชีวิตจะเริ่มขึ้นอย่างแท้จริง

       ขวัญฟ้า รังสิยานนท์ (2531: ) นิทาน เกม เพลง เนื้อเรื่องนิทาน และเนื้อเพลง จะพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม ช่วยพัฒนาผู้เรียนทั้งต้านอารมณ์ บุคลิกภาพ ความคิด และจินตนาการไปพร้อมๆ กัน

       สรุปได้ว่า นิทานมีประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัย ดังนี้

       1. ช่วยให้เด็กมีความสุข ได้พักผ่อน คลายเครียด ได้รับความเพลิดเพลิน ความสดชื่น

       2. ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ต้านต่างๆ  เช่น อารมณ์รัก โกรธ เกลียด ตามวิสัยมนุษย์ที่ปกติและสมบูรณ์แบบ

       3. ช่วยส่งเสริมความคิด ให้เกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้สอนจริยศึกษา การศึกษาจินตนาการและสังคมวิทยา

       5. ช่วยส่งเสริมให้เด็กเข้าใจหนังสือเข้าใจภาษาและเข้าใจโลก ซึ่งจะทำให้เป็นการเริ่มต้นชีวิตที่ดี

       6. ช่วยส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม

       7. ช่วยพัฒนาเด็กทั้งทางด้านอารมณ์ บุคลิกภาพและความคิด

       8. เป็นตัวเชื่อมโยงสานสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว โรงเรียนและชุมชน

 

กิจกรรมท้ายตอนที่ 1

เรื่อง ความรู้เบื้องตันเกี่ยวกับนิทาน

       ให้นักศึกษายกตัวอย่างนิทานที่นอกเหนือจากเอกสารชุดการเรียนมา 5 เรื่อง แล้วอธิบายว่าในแต่ละเรื่องมีแนวคิดในการสอนเด็กปฐมวัยในเรื่องใดบ้าง

เรื่องที่ 2 เทคนิคการเลือกและการเล่านิทาน

       การเล่านิทาน ถือว่าเป็นเทคนิคที่ต้องฝึกฝนและเข้าใจธรรมชาติของเด็กปฐมวัยในแต่ละช่วงอายุ รวมทั้งการเลือกนิทานและการใช้ตัวละครก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ฝึกฝนและหาประสบการณ์จากเอกสาร หนังสือ งานวิจัย หรือจากประสบการณ์ของตัวครูผู้สอนเอง

       1. เทคนิคการเลือกนิทาน นักวิจัยและนักวิชาการทั้งไทยและต่างประเทศได้มีประสบการณ์ในการเลือกนิทาน ดังนี้

       ดิกสัน จอห์นลินและซอลซ์ (Dixon., Johnson and Salts. 1977 : 367 - 379) ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการเล่านิทานกับเด็กอนุบาลอายุระหว่าง 34 ปี ณ โรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองทรอยด์ เด็กในกลุ่มนี้มีทั้งหมด 146 คน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

       กลุ่มแรก เล่านิทานให้เด็กฟังแล้วให้เด็กแสดงบทบาทประกอบตามเนื้อเรื่อง

       กลุ่มที่สอง เล่านิทานให้ฟังพร้อมกับพาไปดูของจริงนอกสถานที่ เช่น ไปเยี่ยมหมอไปซื้อของ ไปสวนสัตว์ฯลฯ

       กลุ่มที่สาม สนทนากับเด็กเกี่ยวกับนิทานที่ได้เล่าให้ฟัง

       กลุ่มที่สี่ เป็นกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการฝึก ก่อนการฝึกและหลังฝึกได้ทำการทดสอบพัฒนาการทางการเรียนรู้และความสามารถในการควบคุมความต้องการ

ผลพบว่า ในการฟังนิทานนั้นถ้าเด็กได้แสดงบทบาทเลียนแบบตัวละครในเรื่องไปด้วยจะพัฒนาจิตในลักษณะต่างๆ ได้ดีที่สุด แสดงให้เห็นว่าเมื่อเด็กได้ฟังนิทานแล้วเด็กย่อมมีความต้องการที่จะเลียนแบบตัวละครที่ตนชอบ หรือตัวละครที่ได้รับความสำเร็จจากการกระทำพฤติกรรมนี้ นอกจากนี้ยังพบว่า เนื้อหาในนิทานถ้าไกลความจริง เช่น เทพนิยาย จะให้ผลดีต่อจิตลักษณะของเด็กได้ดีกว่านิทานที่มีเนื้อหาใกล้ชีวิตจริงของเด็ก

Wright (15) ยังให้แนวคิดเกี่ยวกับการเล่านิทานว่า

       1. เลือกเรื่องที่ดึงความสนใจของผู้เรียนตั้งแต่เริ่มเล่า

       2. เลือกเรื่องที่ควรเหมาะสม กับวัยและความสามารถทางภาษา

       3. ไม่สั้นและไม่ยาวจนเกินไป

       4. ควรเป็นเรื่องที่ผู้เล่าชอบและรู้สึกว่าสามารถถ่ายทอดได้ดี

Sala berri (1995:59 - 60) ให้ข้อคิดคล้ายคลึงกันในการเลือกนิทาน

       1. ให้คำนึงถึงวัย

       2. ระดับความสามารถทางภาษา วัฒนธรรม รสนิยมของเด็ก

       3. ความสนใจ

       สรุปได้ว่า การเลือกนิทานนั้นควรจะเลือกเรื่องที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถ และสอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียนมากที่สุด โดยเน้นการให้ผู้เรียนได้แสดงบทบาทลอกเลียนแบบตัวละครในเรื่องนั้น โดยวิธีการเลือกนิทานมีส่วนสำคัญมาก ถ้าเป็น

       - นิทานรูปแบบเดิม ๆ เช่น นิทานปรัมปรา นิทานท้องถิ่น นิทานคติธรรม ก็จะมีเนื้อเรื่องที่มีการถ่ายทอดหรือแฝงไปด้วยคติสอนใจ ครูผู้สอนสามารถถ่ายทอดด้วยการเล่า พร้อมกับลายลักษณ์อักษรในรูปแบบของตัวหนังสือหรือรูปภาพ

       - แต่ถ้าเป็นนิทานที่ต้องการจะแต่งขึ้นมาใหม่ หรือนิทานที่แต่งขึ้นมาในยุคปัจจุบัน ควรจะเลือกหรือกำหนดเรื่องให้สัมพันธ์กับบทเรียนหรือมีความมุ่งหมายเพื่อแก้ไซพฤติกรรมของผู้เรียน ควรมีการสอดแทรกความรู้และคุณธรรมจริยธรรม มีบทสนทนาโต้ตอบ มีการบรรยายกิริยาอาการหรือลักษณะของตัวละคร เนื้อเรื่องมักเน้นสภาพความเป็นจริงมากกว่ารูปแบบเต็มๆ เช่น เรื่องหมูสามตัว ไก่แจ้ พกฮูกเจ้าปัญญา เป็นต้น

       ดังนั้นการจัดกิจกรรมการเล่านิทานให้กับเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นเรื่องอายุตั้งแต่ 0-5 ปี ที่มีพัฒนาการในต้านต่างๆ  แตกต่างกัน ซึ่งต้องให้สอดคล้องและมีความเหมาะสมกับวัยเด็กนั้นๆ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

       สรุปว่า การเลือกนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น มีความจำเป็นมาก ซึ่งการเลือกนิทานสามารถทำได้หลายแบบอย่าง โดยดูได้จากกฎเกณฑ์อายุ และนำพัฒนาการของเด็กมาประกอบกัน

       2. เทคนิคการเล่านิทาน

       การเล่านิทานที่จะประสบผลสำเร็จด้วยดีนั้น ผู้เล่าจะต้องพยายามทำให้เด็กสุขสบายและสะดวกใจ ผู้เล่าจะต้องใส่ความรู้สึกที่เป็นมิตรและความเห็นอกเห็นใจต่อเด็กผู้ฟังด้วย ทั้งนี้ เพราะเด็กมีความรู้สึกไวและแสดงออกทันทีที่รู้สึก อาจเป็นความรู้สึกกลัว ความรู้สึกไม่ปลอดภัย หน้าที่ของผู้เล่าที่จะต้องใช้ความสามารถในการจูงใจ ตลอดจนการให้ความอบอุ่นและความเห็นอกเห็นใจตั้งแต่เริ่มต้นเล่า

       การเล่านิทานถือว่าเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้เล่าจะต้องมีเทคนิคและวิธีการเล่า ซึ่งจะทำให้ผู้ฟังเกิดมโนภาพ และอารมณ์ความรู้สึกที่คล้อยตามกัน ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ดีใจ สะเทือนใจ ตื่นเต้นหรือตกใจ สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับศิลปะและเทคนิคในการเล่านิทาน รวมทั้งประสบการณ์ของผู้เล่าเอง ขั้นตอนของการเล่านิทาน มีเพียง 3 ขั้นตอนคือ

       ขั้นตอนที่ 1 ขั้นเตรียมตัวก่อนการเล่านิทาน

       ขั้นตอนที่ 2 ขั้นการเล่านิทาน

       ขั้นตอนที่ 3 ขั้นหลังการเล่านิทาน

       ขั้นตอนที่ 1 ขั้นเตรียมตัวก่อนการเล่านิทาน คล้ายๆ กับการเตรียมแผนการเรียนการสอน ผู้เล่านิทานควรจะกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่าจะใช้นิทานในการสอนเพื่อเป้าหมายอะไร (Wright, 1995 : 21) รวมทั้ง พรทิพย์ วินโกมินทร์ (2530 : 36 - 38) ได้เสนอแนวปฏิบัติก่อนการเล่านิทาน คือ

       1. อ่านเรื่องนั้นโดยตลอดอย่างช้าๆ แล้วลองคิดสร้างภาพในจินตนาการเกี่ยวกับตัวละครและเหตุการณ์ในเรื่องเป็นลำดับ ปีดหนังสือ ลองคิดทบทวนภาพที่คิดสร้างไว้

       2. อ่านเรื่องอีกครั้ง แล้วพิจารณาว่าจะเล่าให้เหมือนต้นฉบับเดิมทุกอย่างหรือจะเรียบเรียงคำพูดใหม่โดยไม่ให้เสียเค้าโครงเดิม

       3. เขียนสังเขปเรื่องเป็นข้อๆ เพื่อให้เรื่องดำเนินไปตามลำดับไม่สับสน และเพื่อกันลืมควรบันทึกข้อความหรือสำนวนดีๆ ไว้ พยายามให้คำพูดของตัวละคร

       4. วางแผนที่จะหาวิธีการเริ่มต้นเล่านิทานที่น่าสนใจ หลีกเลี่ยงการบรรยายที่ไม่จำเป็น

       5. หาความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ เพิ่มเดิม เช่น ความรู้เกี่ยวกับตัวละคร ขนบธรรมเนียม ประเพณี และสภาพแวดล้อมอื่นๆ

       6. เลือกวิธีการเล่านิทานที่เห็นว่าเหมาะสม การเล่านิทานอาจทำได้หลายแบบ ตั้งแต่วิธีการอย่างง่ายๆ คือ เล่าด้วยปากเปล่าโดยไม่ใช้อุปกรณ์เลย หรืออาจมีอุปกรณ์ประกอบด้วยก็ได้

       7. ผู้เลี้ยงดูเด็กควรเตรียมวิธีการบางอย่างที่จะนำมาใช้เพื่อให้เด็กเงียบเสียงและพร้อมที่จะฟังนิทาน เช่น การเล่นกับนิ้ว หรือเพลงสั้นๆ ที่เด็กสนใจ ฯลฯ วิธีการเหล่านี้จะช่วยให้เด็กคลายความกระวนกระวายหรือความอยู่ไม่สุขลงได้ เมื่อผู้เลี้ยงดูเด็กใช้วิธีการให้เด็กสงบนิ่ง พร้อมที่จะฟังแล้วผู้เลี้ยงดูเริ่มเล่านิทาน

       8. การทดลองเล่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้เริ่มเล่านิทานใหม่ๆ ควรทดลองเล่าเรื่องนั้นๆ ให้ขึ้นใจโดยหัดเล่าดังๆ เพื่อทดสอบน้ำเสียง หรือฝึกเล่าหน้ากระจกเพื่อสังเกตท่าทางของตนเอง

       สามารถกล่าวสรุปย่อๆ ถึงขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนการเล่านิทานได้ดังนี้

       1. การเลือกเรื่อง จะต้องเลือกเนื้อเรื่องให้มีความยาก-ง่าย หรือสั้น-ยาว ให้เหมาะสมกับความสนใจและวัยของ โดยการคำนึงถึงประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากเนื้อเรื่อง ต้องมีความสนุกสนาน ตัวละครไม่มากนักและจบเรื่องราวด้วยความสุข สมหวัง หรือความสำเร็จของตัวละคร

       2. ควรปรับปรุงเนื้อเรื่อง เมื่อเลือกนิทานได้แล้วต้องพิจารณาว่า เนื้อเรื่องควรจะมีการตัดทอนหรือเพิ่มเติมอะไรบ้าง เพื่อให้เหมาะสมอีกทั้งต้องแทรกข้อคิด ติเตือนใจ หรือคุณลักษณะนิสัยที่ต้องการ

       3. การทำเครื่องมือ ช่วยความจำ ผู้เลี้ยงดูเด็กควรจดประเตีนสำคัญของนิทานในเรื่องของโครงเรื่อง ข้อคิด จุดเน้นของนิทาน เพื่อให้การเล่านิทานสามารถบรรลุจุดประสงค์ตามที่ตั้งไว้ด้วยการบันทึกสั้นหรือทำเป็นบัตรนิทานแบ่งเป็นแต่ละเรื่องเพื่อว่าในการนำนิทานมาเล่าซ้ำ หรือเติมเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อเด็กและสร้างความมั่นใจในการเล่านิทานของตัวเองมากยิ่งขึ้น

       4. การเตรียมสื่อประกอบการเล่านิทาน เช่น หนังสือ หุ่น ภาพ ภาพปะ ภาพประดิษฐ์ ภาพพลิก เป็นต้น ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ เช่น กระดาน ป้ายผ้าสำลี  เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เป็นต้น

       อุปกรณ์ใช้ประกอบการเล่านิทานนั้นมีมากมาย ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยต้องรู้จักเป็นผู้เลือกใช้อุปกรณ์ โดยพิจารณาถึงสถานการณ์/ ความชำนาญ ของการนำไปใช้เป็นสิ่งสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น

       4.1 การใช้วาดภาพประกอบการเล่านิทาน วิธีนี้ผู้เลี้ยงดูปฐมวัยจะต้องวาดภาพการ์ตูนประกอบไปด้วยคือ เล่าไป วาดไป จนจบเรื่อง ซึ่งจะทำให้สนใจ ตื่นเต้น น่าติดตาม และเกิดศรัทธาในตัวผู้เล่า ดังนั้นในประเด็นการวาดภาพนี้ผู้เลี้ยงดูปฐมวัยจะต้องมีความสามารถในการวาดภาพด้วย ไม่ต้องถึงขนาดเป็นนักวาดรูปที่เก่ง เพียงแต่วาดลายเส้น หรือใช้สัญลักษณ์อย่างง่ายๆ ด้วยอวัยวะต่างๆ แทนก็ได้ เช่น


       4.2 การใช้หนังสือนิทานที่มีภาพประกอบ หนังสือที่จะนำมาประกอบการเล่านิทาน ควรจะเป็นภาพใหญ่พอสมควรและชัดเจน ทำเป็นภาพสีด้วยยิ่งตึ ผู้เลี้ยงดูจะต้องเป็นผู้เลือกนิทานให้เหมาะสมทั้งเรื่อง ภาพและความสดใสของสี เพราะในปัจจุบันหนังสือนิทานมีให้เลือกมากมายตามจุดประสงค์ที่จะเน้นให้เด็กนั้นรับเรื่องอะไร

       4.3 การใช้ภาพประกอบ ดยการสะสมภาพจากหนังสือ วารสาร หนังสือ แม้แต่ ส.ค.ส. ก็ใช้ได้ โดยการตัดภาพที่ต้องการ ผนึกกับกระดาษแข็งแล้วแยกแบ่งไว้เป็นหมวดหมู่ เมื่อจะเล่าก็นำมาใช้ประกอบ วิธีการคือ ใช้กระดาษทรายติดที่หลังภาพหรือแม่เหล็กและใช้นำไปติดที่แผ่นป้ายลำจึ ซึ่งผู้เลี้ยงดูปฐมวัยอาจจะให้เป็นผู้เลือกภาพนำไปติดเอง

       4.4 การใช้เพลงประกอบการเล่านิทาน หรืออาจเล่านิทานที่ประพันธ์เป็นบทเพลง เช่น เพลง เพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนาน มีท่วงทำนองที่ไพเราะจนทำให้เด็กประทับใจและจำเรื่องราวได้ แต่การเล่านิทานด้วยเพลงนี้ ต้องเริ่มต้นจากการเล่านิทานด้วยคุณครูก่อนหนึ่งจบ เพื่อให้เด็กยังพอรู้เรื่องก่อน แล้วค่อยเปิดเพลงให้เด็กฟัง

       4.5 การใช้นิ้วมือประกอบการเล่า โดยผู้เลี้ยงดูกำหนดให้แต่ละนิ้วเป็นบทบาทของตัวละครแต่ละตัว มีบทสนทนาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของนิ้วมีอ ผู้เลี้ยงดูอาจใช้อุปกรณ์ต่างๆ สวมไปบนนิ้ว เช่น ปากกาหรือสีเมจิกวาดหน้าคน สัตว์ หมวก เพื่อทำให้การเล่านิทานน่าดูยิ่งขึ้น โดยผู้เลี้ยงดูอาจจะสอนให้ทำท่าทางยกนิ้วประกอบไปด้วย (รายละเอียดอยู่ในวีซีดีประกอบบทเรียน ตอนที่ 2)

       4.6 การใช้หุ่นนิ้วมือ โดยประดิษฐ์จากกระดาษหรือเศษผ้าแล้วนำมาสวมที่นิ้วๆ จะชอบมาก เพราะหุ่นนิ้วเป็นเป็นสิ่งเล็กๆ  เหมาะกับตัวเขามาก หรือเป็นตัวของเขาเอง ซึ่งเขาจะสนใจมากเป็นพิเศษ (รายละเอียดอยู่ตอนที่ 2 เรื่องหุ่น)

       4.7 การใช้หุ่นมือ หุ่นชัก หุ่นถุง ประกอบเรื่องราว ซึ่งจะทำให้เกิดสีสันของการเล่านิทาน หรือความเพลิดเพลินเป็นอย่างมาก (รายละเอียดอยู่ในตอนที่ 2 เรื่องหุ่น)

       4.8 การใช้กระดาษสีหรือวัสดุตามธรรมชาติ เช่น  ใบตอง หรือก้านมะพร้าว กระดาษ กระดาษทิชชู หรือวัสดุเหลือใช้ เป็นต้น หรือเป็นรูปต่างๆ เช่น นก กระต่าย ปลา

       4.9 การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ภาพจากสไลด์ แผ่นใส หรือวิดีโอ

       4.10 การใช้คนจริงประกอบการเล่านิทาน สามารถให้เด็กๆ เป็นตัวละครในเรื่อง โดยการใส่หน้ากากหรือคาดผ้า เขียนชื่อเป็นตัวละครนั้นๆ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมได้อย่างดีมาก

       5. การเตรียมสถานที่สำหรับการเล่านิทาน สามารถจัดได้ทุกที่ และทุกโอกาส เพียงแต่ควรเลือกสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น ไม่มีเสียงรบกวนขณะเล่านิทาน ถ้าเป็นสถานที่นอกห้องเรียน ก็ควรเป็นที่ร่มและปราศจากเสียงรบกวน

       6. การฝึกซ้อมการเล่านิทาน นี่เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ผู้เลี้ยงดูปฐมวัยไม่ต้องอาย ควรมีการฝึกซ้อมเสียก่อน โดยการเตรียมเทป กระจกเงา สื่อ ให้พร้อม การเตรียมตั้งคำถาม ซึ่งจะใช้ในการถามนักเรียนในระหว่างการเล่านิทานหรือจบการเล่านิทาน สิ่งที่ควรคำนึงระหว่างการช้อมควรจับเวลาที่ใช้ในการเล่าเพื่อจะได้นย่อหรือเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก

       ขั้นตอนที่ 2 ขั้นการเล่านิทาน

       1. การเริ่มต้นเล่านิทาน ควรจะกล่าวแนะนำสั้นๆ  เกี่ยวกับเรื่องที่จะเล่าให้เด็กฟัง เช่น เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ได้มาจากไหน ใครเป็นผู้เขียน เป็นต้น เพื่อกระตุ้นให้เด็กสนใจ

       2. การจำเนื้อเรื่องให้แม่นยำ เป็นสิ่งสำคัญมากเพราะถ้าเว้นระยะ ช่องว่าง ในการเล่าเรื่องจะทำให้เด็กรำคาญและขาดความสนใจ เนื่องจากช่วงสมาธิของปฐมวัยค่อนข้างสั้น

       3. การทำเสียงให้สอดคล้อง ต้องทำเสียงให้สอดคล้องกับตัวละครของเรื่อง หรือเนื้อเรื่อง เพื่อจะได้ถ่ายทอดความรู้สึกได้ดี เช่น

       อารมณ์เศร้าโศก เสียงต้องเบา สั่นเครือ กิริยาท่าทางของตัวละครอยู่ในสภาพสิ้นหวัง หมดแรง

       อารมณ์ตื่นเต้น : เสียงควรดัง ชัดเจน สั่นรัวและหนักแน่น

       เสียงตัวละครผู้ชายห้าวและเสียงใหญ่ ถ้าเป็นชายแก่ก็สั่นเครือ

       เสียงตัวละครผู้หญิง : นุ่มแหลมและหวาน ถ้าเป็นหญิงแก่ก็สั่นเครือ

       เสียงตัวละครเด็กผู้ชายหรือเด็กผู้หญิง: ควรทำน้ำเสียงให้ใกล้เคียงกันสำเนียงเสียงให้ใสอ่อนหวาน น่ารัก

       เสียงสัตว์ ทำน้ำเสียงให้ใกล้เคียงกับเสียงสัตว์นั้นๆ

       การทำเสียงต่างๆ ของตัวละครต้องอาศัยการฝึกหัด และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือควรมีการเว้นจังหวะการพูด มีจังหวะช้า เร็ว เบาและดัง เพื่อให้เกิดความตื่นเต้น เร้าใจ

       4. การใช้สีหน้าท่าทาง เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่จะต้องสัมพันธ์กับน้ำเสียง ผู้เล่าไม่จำเป็นต้องใส่สีหน้า ท่าทาง มากนัก เพราะจะทำให้ผู้ฟัง/เด็กปฐมวัยเหนื่อย แต่ควรจะมีความสัมพันธ์กับอารมณ์ อาจจะใช้การขยับแขน พยักหน้า หันช้ายขวา กัมหน้า โยกลำตัว ทำมือ และหน้าตาประกอบเล็กน้อย

       5. การใช้คำ ภาษา และประโยค ควรใช้คำพูดที่เด็กคุ้นเคยง่ายๆ และสั้นๆ แต่ถ้าเป็นเป็นคำใหม่ ควรพูดซ้ำๆ  บ่อยๆ เพื่อเป็นการฟังหลายๆ รอบ ผู้เล่าต้องออกเสียงให้ชัดเจน หลีกเลี่ยงคำพูดที่หยาบคายหรือก้าวร้าว ถ้าจำเป็นควรใช้เสียงกระแทก หรือเน้นเสียง

       6. การกวาดสายตา ขณะที่เล่าต้องกวาดสายตาไปยังให้ทั่วถึง พยายามสบตาเพื่อเป็นการสื่อความหมายให้แก่เด็กได้เข้าใจในเนื้อเรื่องของนิทานมากขึ้น

       7. การใช้คำถามหรือคำสอนสอดแทรก ในขณะที่เล่าเรื่องไม่ควรนำคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เล่ามาถามหรือแทรกคำสอนในระหว่างการเล่า เพราะจะทำให้จินตนาการของเด็กไม่ต่อเนื่องจะทำให้เด็กเบื่อได้

       8. การให้เด็กมีส่วนร่วม ในการเล่านิทานควรให้เข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด เช่น ในขณะเล่านิทานผู้เลี้ยงดูเด็กอาจจะให้เล่นเป็นตัวละครต่างๆ หรือหยิบภาพตามเรื่องที่ผู้เลี้ยงดูเล่า

       ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนหลังการเล่านิทาน จบการเล่านิทานไม่จำเป็นต้องจบด้วยประโยคว่า "นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า....."  อาจจะเป็นการประเมินความคิดรวบยอดของ ด้วยการพูดคุยในเชิงวิจารณ์ เช่น สนุกหรือไม่ เรื่องนี้ควรชื่อเรื่องอะไร ตัวละครตัวไหนที่ชอบ เป็นต้น

       จากผลของงานวิจัยและการศึกษาได้แนะนำเรื่องของการเล่านิทานว่า

       1. ผู้สอนควรพยายามทำให้นักเรียนเกิดอารมณ์ร่วมไปกับการฟังนิทานให้มากที่สุด

       2. ควรใช้น้ำเสียงให้สมกับท่าทางและใช้อุปกรณ์ประกอบการเล่าให้หลากหลาย

       3. ผู้สอนควรเป็นแบบอย่างทางภาษาที่ดีในการเล่านิทานให้แก่ผู้เรียน

       4. ผู้สอนควรมีความรู้เกี่ยวกับการแต่งนิทานนอกเหนือจากความรู้เกี่ยวกับนิทานและการเล่านิทาน

       5. ผู้สอนควรให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเล่านิทานให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ไม่ว่าจะเป็นการคัดเลือกนิทาน การจัดอุปกรณ์สำหรับการเล่า และการมีส่วนร่วมในรูปแบบต่างๆ ในระหว่างการเล่านิทาน

       6. สำหรับผู้สอนที่ไม่มีความถนัดในการเล่านิทาน แต่ประสงค์ที่จะใช้กิจกรรมการเล่านิทานในการเรียนการสอน สามารถให้นักเรียนฟังการเล่านิทานจากแถบวีดีทัศน์

       7. ในขั้นหลังการเล่านิทาน ผู้สอนควรเปิดโอกาลให้นักเรียนดูภาพและพูดหรือเล่านิทานช้ำ โดยใช้คำพูดของนักเรียนเองเพื่อช่วยให้เกิดโอกาสพูด และมีความคล่องแคล่วในการพูดภาษาอังกฤษมากขึ้น

เคล็ดลับในการเล่านิทาน

       การเล่านิทานมีขั้นตอนการดำเนินการเป็นลำดับ  แต่ละขั้นตอนของการเล่า ต้องมีการจัดเตรียมให้เหมาะสม จึงจะทำให้การเล่านิทานมีความหมายประทับใจผู้ฟัง แม้ว่านิทานจะเป็นสิ่งที่ชอบ และพร้อมที่จะฟังอยู่เสมอก็ตาม นิทานทุกเรื่องกับการเล่าทุกครั้งไม่สามารถตรึงให้เด็กอยู่กับที่ได้ตั้งแต่ต้นจนจบ เว้นแต่กระบวนการเล่านั้นจะมีขั้นตอนการเตรียมการที่นอกจากจะทำให้นิทานดำเนินไปสู่จุดประสงค์ของผู้เล่าที่ต้องการแล้ว ต้องทำให้เพลิตเพลินกับการฟังนิทานด้วย ในการเตรียมการเพื่อการเล่านิทาน ถ้าผู้เลี้ยงดูเป็นผู้เล่า ผู้เลี้ยงดูควรจัดเตรียมเนื้อหาในนิทานก่อน ถ้าเป็นนิทานที่มาจากในหนังสือนิทาน ผู้เลี้ยงดูต้องอ่านให้เข้าใจจำเนื้อเรื่องให้ได้ เมื่อนำไปเล่าประกอบภาพในหนังสือจะได้พูดความต่อเนื่องเป็นเรื่องราว มีหยุดพัก การถาม-ตอบจะทำให้เข้าใจง่ายไม่ลืม

       การเตรียมเด็กสำหรับฟังนิทาน ที่นั่งของเด็กกับผู้เลี้ยงดูต้องใกล้ยิดกัน ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจนั่งสูงกว่าเล็กน้อย เพื่อให้แสดงภาพในหนังสือ หรือภาพอื่นๆ บนตักในระดับสายตาเด็ก ขณะเล่าควรจัดเด็กเป็นกลุ่มเล็กๆ ถ้าเป็นกลุ่มใหญ่ให้นั่งล้อมวงผู้เลี้ยงดู แล้วผู้เลี้ยงดูเริ่มกิจกรรมเตรียมเด็กด้วยการให้เด็กร้องเพลง ดูภาพ หรือกล่าวคำจูงใจเพื่อให้เด็กมีอารมณ์พร้อมที่จะฟัง เมื่อพร้อมแล้วจึงเริ่มต้นด้วยการเล่านิทาน หากมีจุดประสงค์ของการฟังต้องสอนเด็กด้วย

กิจกรรมท้ายตอนที่ 1

เรื่อง เทคนิคการเลือกและการเล่านิทาน

ให้นักศึกษา

1. ประดิษฐ์สื่อ 1 ชิ้น ที่สามารถใช้สำหรับการเล่านิทาน

2. วาดภาพสัญลักษณ์ต่างๆ มา 5 ชนิด (นอกเหนือจากที่ให้ไว้ในเอกสาร) แล้วบอกด้วยว่าแทนความหมายอะไร

เรื่องที่ 3 สมุดเล่มเล็กสำหรับนักวาดฝัน

1. ความหมายและความสำคัญของสมุดเล่มเล็ก

       การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ไม่ว่าจะเป็นทางด้านพัฒนาการร่างกายสติปัญญาหรือภาษา ถือว่าเป็นการจัดประสบการณ์ให้ควบคู่กัน การจัดประสบการณ์ทางด้านภาษาเป็นการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้พัฒนาทักษะการฟัง การพูด การอ่านและการเขียนอย่างมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน ผู้เลี้ยงดูไม่ควรจัดแยกเป็นส่วนๆ สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงสำหรับเด็กปฐมวัย คือ การสร้างเจตคติที่ดีต่อการใช้ภาษา (กระทรวงศึกษาธิการ, 2540:123) เด็กในวัยนี้จะเริ่มเข้าใจสัญลักษณ์ เริ่มมีจินตนาการ มีการเลียนแบบ มีการสมมติสิ่งต่างๆ ในการเล่า เป็นวัยที่เรียนรู้ ภาษาและตัวเลขซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กปฐมวัยต้องเน้นให้มีการพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้มากที่สุด ควรเน้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำหรือลงมือปฏิบัติ

       หนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย มี 2 แบบ คือ

       1. สมุดเล่มใหญ่ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ส่งเสริมให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงในการใช้ภาษา ได้สนทนาพูดคุย เล่าประสบการณ์หรือเรื่องราว การเขียนเรื่องบนกระดาษแผ่นใหญ่ ตลอดจนการใช้กล้ามเนื้อและสายตาให้ประสานสัมพันธ์ โดยการฉีก ตัด ปะ ลอกรูปภาพเพื่อนำไปสู่การค้นพบด้วยตนเอง ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่า การสรุปกิจกรรมในวงกลม โดยใช้เทคนิคการสร้างสมุดเล่มใหญ่เป็นการเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติและได้ลงมือจัดกระทำกับสื่อวัสดุด้วยตนเอง (Learning by doing) เป็นการสงเสริมให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงทางภาษา และมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน (สถิรนันท์ อยู่คงแก้ว. 2541 : 41-46) ซึ่งไม่เฉพาะแต่หนังสือเล่มใหญ่ที่ต้องใช้กระตาษขนาดใหญ่ ถ้าหากผู้เลี้ยงดูเด็กปรับใช้เป็นหนังสือเล่มเล็กโอกาสที่เด็กจะเรียนรู้การอ่านเขียนดีได้เช่นเดียวกัน

       2. สมุดเล่มเล็ก

       ความหมายของสมุดเล่มเล็ก/หนังสือเรียนเล่มเล็ก หรือ Minitext กับ text หมายถึงหนังสือเรียนที่ย่อส่วนเรื่องลงให้เป็นเรื่องสมบูรณ์สั้นๆ หยิบฉวยง่าย เบา เหมาะสมกับมือ ให้เวลาสั้นๆ อ่านจบภายในเล่ม เน้นความคิดรวบยอดเพียงความคิดเดียว ไม่ชับซ้อน โดยยังคงรักษาโครงสร้างที่สมบูรณ์แบบของหนังสืออย่างครบถ้วน (หทัย ตันหยง. 2532 : 66-67 ซึ่ง หทัย ตันหยง (2529 : 12) ได้แบ่งประเภทของหนังสือสำหรับในโลกปัจจุบันไว้เป็น 3 ประเภท คือ

       2.1 หนังสือที่เขียนขึ้นมาเอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลงานของกิจกรรมสร้างสรรค์

       2.2 หนังสือที่ผู้ใหญ่เขียนขึ้นมาสำหรับเด็ก ได้แก่ หนังสือที่มีปริมาณมากที่สุด

       2.3 หนังสือสำหรับเด็กที่มีมาแต่ดั้งเดิม ซึ่งไม่ปรากฎผู้แต่ง บางเรื่องก็เป็นเรื่องอิสระ บางเรื่องก็แฝงอยู่ในวรรณกรรมทั่วไป

       การใช้หนังสือเล่มเล็กมี 2 กรณี คือ (1) ใช้เลียนแบบวรรณกรรม (2) ใช้สร้างเป็นเรื่องแบบหนังสือเล่มใหญ่ การทำหนังสือเล่มเล็กเพื่อให้เด็กจะได้คุ้นเคยกับคำและเสียง และสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างเสียง ความหมายและภาพ การขีดเขียนหนังสือเล่มเล็กเป็นการเล่าเรื่องราวจากนิทานที่ครูเล่า ได้สนทนา พูดคุยเกี่ยวกับเนื้อหาในนิทาน เป็นการฝึกทักษะทางภาษา โดยสามารถทำเป็น 1 กลุ่ม (34 คน)/1 เล่ม หรือ 2 คน/1 เล่ม หรือ 1 คน/1 เล่ม ก็ได้ซึ่งถือว่าเป็นการฝึกทักษะทางภาษา การทำงานร่วมกลุ่มกับเพื่อน ฝึกการปรับตัวและความพร้อมในการเรียนต่อไป

2. โครงสร้างของสมุดเล่มเล็ก/หนังสือเรียนเล่มเล็ก

ภาพประกอบ: แผนภูมิโครงสร้างของแบบเรียนเล่มเล็กเชิงวรรณกรรม (หทัย ตันหยง, 2532:67)

คุณลักษณะเด่นของสมุดเล่มเล็ก

ด้วยคุณลักษณะของสมุดเล่มเล็กจะมีองค์ประกอบที่แสดงให้เห็นความสำคัญ คือ

1. ปัจจัยสนองการเรียนในความคิดรวบยอดรายย่อย

2. ปัจจัยสนองการเรียนตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

3. สร้างสรรค์ขึ้นด้วยตนเอง ผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นบทเรียน ส่งความคิดสร้างสรรค์ต่อให้กับเด็ก/ผู้เรียน

4. คุณลักษณะอเนกประสงค์ และเป็นสากล ให้ได้กับทุกโรงเรียน เสริมความสมบูรณ์ให้กับสื่อใหญ่ ซึ่งครอบคลุมไม่ทั่วถึง

5. อยู่ในขีดความสามารถในการผลิตได้ด้วยตนเองในกิจกรรมการเรียนการสอน

6. ประหยัด เวลา ทรัพยากร วัสดุ แรงงานและสถานที่

7 . เกิดขึ้นจากวัสดุและวัฒนธรรมท้องถิ่น

8. สอดคล้องกับการรับรู้ทางภาษา

9. เป็นนวัตกรรมทางการสอน

3. รูปแบบและวิธีการจัดทำสมุดเล่มเล็ก

       หทัย ตันหยง (2532 : 33-34) ได้พูดถึงรูปแบบของสมุดเล่มเล็ก (Minibook) ว่ามีเนื้อหาสั้นๆ  ความคิดรวบยอดเดียวและเป็นความคิดรายย่อย เน้นแก่นสารเพียงอย่างเดียว มีขนาดประมาณ 3 x 5 นิ้ว

วิธีการจัดทำสมุดเล่มเล็ก

       ในการจัดทำสมุดเล่มเล็กของเด็กปฐมวัยนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่า หนังสือสำหรับเด็กจะแตกต่างกับหนังสือผู้ใหญ่หลายอย่าง เนื่องมาจากความสนใจ วุฒิภาวะของเด็กแต่ละวัยที่แตกต่างกัน ดังนั้นสมุดเล่มเล็กจึงมีขั้นตอนและยึดหลักในการผลิตตามหลักการตามหัวข้อ ดังนี้

       1. เป้าหมาย

       2. วิเคราะห์ความคิดรวบยอดและจุดประสงค์จากหลักสูตรระดับเป้าหมาย

       3. สร้างแผนการสอน แผนรวม-แผนระยะยาว-แผนรายคาบ

       4. นำความคิดรวบยอด และจุดประสงค์มาสร้างเป็นแก่นสาระของเนื้อหาในหนังสือเรียน

       5. โครงร่างต้น

       6. โครงร่างต้นฉบับ

       7. โครงร่างลำดับเรื่อง

       8. โครงร่างหนังสือ

       9. บรรณาธิการกิจ

       10. การทดลอง

4. กิจกรรมการเล่านิทานประกอบสมุดเล่มเล็ก

       การเล่านิทานที่เหมาะสมกับปฐมวัย ควรจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสัตว์ เทพนิยายหรือนิทานที่สอนคติธรรม โดยกำหนดความยาวของนิทานเรื่องละ 5-7 นาที โดยใช้หนังสือที่มีขนาดโตเห็นได้ชัด ซึ่งจะเล่าในช่วงของกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เมื่อสิ้นสุดการเล่าแต่ละครั้งผู้เลี้ยงดูเด็กจะสนทนากับเด็กเกี่ยวกับเนื้อหาของนิทาน  เป็นการทบทวนคำและภาษา โดยสามารถจำแนกกิจกรรมนี้ได้ 3 ลักษณะ คือ

       1. การเล่านิทานประกอบการใช้สมุดเล่มเล็กรายบุคคล หมายถึง การจัดกิจกรรมที่ให้เด็กวาดหรือเขียนสิ่งที่สนใจจากเรื่องในนิทานที่ผู้เลี้ยงดูเล่าลงในสมุดเล่มเล็กคนเดียว หลังจากที่ฟังนิทานจนจบ

       2. การเล่านิทานประกอบการใช้สมุดเล่มเล็กรายกลุ่ม หมายถึง การจัดกิจกรรมที่ให้เด็กวาด และเขียนสิ่งที่เด็กสนใจจากเรื่องที่ครูเล่าลงในสมุดเล่มเล็ก 1 เล่มต่อ 2 คน หลังจากที่ฟังนิทานจบ

       3. การเล่านิทานปกติ หมายถึง การจัดกิจกรรมการเล่านิทาน เมื่อฟังนิทานจบ ผู้เลี้ยงดูเด็กและเด็กร่วมกันสนทนาถึงเนื้อหาในนิทานและทบทวนคำตามจุดประสงค์

                ขั้นตอนของกิจกรรมการแสดงออกทางการเขียนของเด็กปฐมวัยในสมุดเล่มเล็ก คือ

                ขั้นที่ 1 ขีดเขียแทนเยน หมายถึง การขีดเขียนเป็นเส้นประกอบภาพที่แตกต่างกัน บอกความหมายของเส้นที่ขีดเขียนและเชื่อมโยงเรื่องราวได้สัมพันธ์กัน

                ขั้นที่ 2 ตั้งชื่อผลงานด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ หมายถึง การขีดเขี่ยเส้นประกอบเป็นภาพที่แตกต่างกันบอกความหมายของเส้นที่ขีดเขียนและเล่าเรื่องราวได้สัมพันธ์กัน

                ขั้นที่ 3 เขียนโดยไม่มีแบบ หมายถึง การเขียนโดยคิดขึ้นเอง และไม่รู้ว่าถูกหรือผิด บอกความหมายของสิ่งที่เขียนและเชื่อมโยงเรื่องราวได้สัมพันธ์กัน

                ชั้นที่ 4 เขียนโดยลอกเลียนแบบตัวอักษร หมายถึง การเขียนด้วยการคัดลอกจากต้นแบบ บอกความหมายของตัวอักษรที่คัดลอกเชื่อมโยงเป็นเรื่องราวได้สัมพันธ์กัน

                ชั้นที่ 5 เขียนในรูปคล้ายตัวอักษรและภาพวาด หมายถึง การเขียนออกมาเป็นภาพและสัญลักษณ์ที่ไม่สัมพันธ์กับเสียงของคำที่ต้องการบันทีก บอกความหมายของเรื่องราวได้สัมพันธ์กัน

                ขั้นที่ 6 เขียนโดยสะกดขึ้นเองตามหลักไวยากรณ์ หมายถึง การเขียนที่ไม่เป็นคำหรือวลี แต่เป็นเสียงสัญลักษณ์การเขียนหรือแทนคำพูดบอกความหมายของสัญลักษณ์ที่เขียนเชื่อมโยงเป็นเรื่องราวได้สัมพันธ์กัน

คู่มือการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบการจัดทำสมุดเล่มเล็ก

หลักการและเหตุผล

       การจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบการจัดทำสมุดเล่มเล็กเป็นการส่งเสริมความสามารถทางด้านการอ่านเขียน ของเด็กปฐมวัยซึ่งเป็นกิจกรรมที่เปิดให้ได้สะท้อนความคิดเห็น ด้วยการขีดเขียนสัญลักษณ์ต่างๆ ให้เด็กได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง เป็นการจัดกิจกรรมที่เน้นเป็นศูนย์กลาง ซึ่งจะช่วยให้สามารถเขียนเป็นตัวอักษรและอ่านเป็นคำและประโยคได้

จุดมุ่งหมาย

       เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน การเขียน จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

เนื้อหา

       กิจกรรมเสริมการเล่านิทานประกอบภาพ

หลักการจัดกิจกรรม

       1. กิจกรรมนี้จัดสัปดาห์ละ 3 วัน ได้แก่ วันจันทร์ พุธ ศุกร์ วันละ 20 นาที

       2. ผู้เลี้ยงดูเด็กเล่านิทานประกอบหนังสือให้เด็กฟังประมาณ 5-7 นาที

       3. หลังจากที่เด็กฟังนิทานจบผู้เลี้ยงดูและเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับเนื้อหาตัวละครในนิทานเพื่อเป็นการทบทวน

       4. ให้เด็กถ่ายทอดความคิดจินตนาการสู่หนังสือเล่มเล็ก

       5. สร้างบรรยากาศในการทำกิจกรรมที่เป็นกันเองเพื่อส่งเสริมให้เด็กรู้สึกสนุกสนานกับการทำกิจกรรม

       6. ระยะเวลาในการดำเนินการ

          สัปดาห์ที่ 1 สร้างความคุ้นเคย

          สัปดาห์ที่ 2 ทดสอบความสามารถทางภาษาด้านการอ่าน โดยใช้เกณฑ์ที่สร้างขึ้น

         สัปดาห์ที่ 3 ดำเนินการทดลอง ในวันจันทร์ พุธ ศุกร์ เก็บนงานทุกวันที่ทดลอง แล้วนำมาตรวจให้คะแนนในสัปดาห์ที่ 6 และที่ 8 โดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนที่สร้างขึ้น

บทบาทเด็ก

       1. ขีดเขียนเป็นภาพด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ ลงในหนังสือเล่มเล็กตามที่ได้ฟังจากนิทาน

       2. เด็กๆ เล่าถึงผลงานของตนเพื่อให้ครูจดบันทึกลงในแผ่นงาน

บทบาทผู้เลี้ยงดูเด็ก

       ผู้เลี้ยงดูเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์ ดังนี้

       1. ศึกษาแผนการจัดประสบการณ์การเล่านิทาน อ่านให้เข้าใจชัดเจน ก่อนลงมือปฏิบัติกิจกรรม

       2. เกณฑ์การเลือกหนังสือนิทานประกอบภาพสำหรับปฐมวัย ได้คำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

                2.1 เป็นหนังสือนิทานภาพที่จัดทำสำหรับเด็กปฐมวัย

                2.2 รูปเล่มมีขนาดกะทัดรัด 2 นิ้ว - 10 นิ้ว โดยประมาณ หยิบจับง่าย เหมาะสำหรับมือเด็ก ภาพขนาดเหมาะสม สีสวย มองเห็นชัดเจน เป็นกระดาษอย่างดี หนาและแข็งแรงพอควร

                2.3 ตัวหนังสือมีขนาดตัวโต มองเห็นชัดเจน ไม่มาก

                2.4 ภาษาที่ใช้ เข้าใจง่าย และใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ขับซ้อนมากนัก

                2.5 เนื้อเรื่องสั้น ครอบคลุมเนื้อหา สอดแทรกข้อคิดคุณธรรม

             2.6 ตัวละครน้อย มีลักษณะเด่น จำได้ง่าย เหมาะสมกับวัยของเด็ก

                2.7 จำนวนหน้าประมาณ 10-20 หน้า

       3. สร้างข้อตกลงและอธิบายขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรมกับเด็กให้เข้าใจชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องราวและขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม

       4. ผู้เลี้ยงดูเด็กควรเปิดโอกาสให้เด็กปฏิบัติกิจกรรมอย่างอิสระได้ใช้ภาษาในการสื่อสารระหว่างเด็กด้วยกันเองให้มากที่สุด ไม่ควรควบคุมเด็กตลอดเวลาคอยให้ความช่วยเหลือเมื่อเด็กต้องการเท่านั้น

       5. จัดเตรียมสื่ออุปกรณ์ สถานประกอบกิจกรรมให้พร้อม

       6. สังเกตและชักชวนให้เด็กร่วมกิจกรรมอย่างทั่วถึง ให้ความสำคัญและความสนใจกับทุกๆ คน ถ้าพบว่าส่วนหนึ่งไม่สนใจในกิจกรรม ผู้เลี้ยงดูควรใช้วิธีการพูดชักชวนให้เข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนต่อไป

 

แผนการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบการจัดทำสมุดเล่มเล็ก

ขั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาดเรียนที่ 1 ครั้งที่ 1

นิทานเรื่อง ช้างน้อยแสนซน

ผู้แต่ง เกริก ยุ้นพันธ์ สำนักพิมพ์ เกริกยุ้นพันธ์

วันที่....................เดือน..................พ.ศ............................... เวลา..........................

จุดประสงค์

       1. เพื่อให้เด็กแต่งนิทานโดยการสะท้อนความคิดด้วยการขีดเขียน

       2. เพื่อให้เด็กมีความสามารถด้านการอ่าน ดังนี้

                - การรู้คำศัพท์

                - การอ่านคำ

                - การแต่งประโยคอย่างง่าย

       3. เพื่อให้เด็กมีความสามารถด้านการเขียน ดังนี้

                - ขีดเขี่ยแทนเขียน

                - ตั้งชื่อผลงานด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ

                - เขียนโดยไม่มีแบบ

                - เขียนโดยลอกเลียนแบบตัวอักษร

                - เขียนในรูปตัวคล้ายอักษรและภาพวาด

                - เขียนโดยสะกดขึ้นเองตามหลักไวยากรณ์

การดำเนินกิจกรรม

ขั้นนำ

       ผู้เลี้ยงดูเด็กนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการร้องเพลง ช้าง (สุกรี ไกรเลิศ)

เพลงช้าง

       ช้าง ช้าง ช้าง   หนูเคยเห็นช้างหรือเปล่า

ช้างมันตัวโตไม่เบา จมูกยาวๆ เรียกว่างวง

มีเขี้ยวใต้งวงเรียกว่างา     มีหูมีตาหางยาว

ขั้นกิจกรรม

       1. ผู้เลี้ยงดูเริ่มเล่านิทานเรื่อง ข้างน้อยแสนชน โดยใช้หนังสือประกอบการเล่า รายละเอียดดังนี้

                ช้างพลาย ช้างพังคู่หนึ่ง แยกตัวออกมาจากโขลง พากันไปหากินตามลำพัง 2 ปี ต่อมาข้างพังมีลูก           

เชือกหนึ่ง พ่อช้างและแม่ช้าง ตั้งชื่อให้ลูกว่า "ช้างน้อย" ช้างน้อยกินจุและซนมาก จนพ่อข้างและ                

แม่ช้าง ต้องพร่ำสอนตลอดเวลา "อย่าขี้โมโหซิลูก" "อย่าทำเปื้อนนะลูก" "อย่าไปเล่นไกลๆ นะลูก"        

"อย่าแกล้งเพื่อนชิลูก" "อย่าดื้อชิลูก" ช้างน้อยเพื่อคำว่าอย่า อย่า. .ของพ่อแม่มันมาก จึงแอบหนี                      

พ่อแม่ไป ช้างน้อยเดินไปพบกวาง มันอยากเล่นกับกวางมากจึงตะโกนบอกกวางว่า "กวาง มาเล่น                 

กันไหม" กวางไม่ตอบอะไร มันเล็มหญ้าง่วนอยู่ ช้างน้อยจึงเดินเลยไป ข้างน้อยเดินไปพบฝูง                

กระต่าย มันอยากเล่นกับกระต่าย จึงร้องบอกกระต่ายว่า "กระต่าย มาเล่นกันไหม" กระต่ายไม่                      

ตอบอะไร มันกำลังกินผักง่วนอยู่ ข้างน้อยจึงเดินเลยไป เดินต่อมาพักหนึ่ง ช้างน้อยพบหมี มัน                      

ตะโกนบอกหมีว่า "หมี มาเล่นกันไหม" หมีไม่สนใจ มันกำลังกินน้ำผึ้งง่วนอยู่ ช้างน้อยจึงต้องเดิน                      

ต่อไป เดินมา เดินมา พบเสีอลายพาดกลอนเข้า ด้วยความกลัว ช้างน้อยยืนนิ่ง เสือ                                 

ลายพาดกลอนต้องช้างน้อย ข้างน้อยตกใจ มันครางเบาๆ ออกมา "แม่จำหนูกลัว หนูจะไม่หนีมา                     

เที่ยวไกลๆ อีกแล้ว" ช้างน้อยตัดสินใจหันหลังวิ่ง ฮูม....แปร้น พ่อจ๋า...... แม่จ๋า...... ช่วยลูกด้วย

       2. เด็กและผู้เลี้ยงดูเด็กสนทนาชักถามถึงเรื่องราวจากนิทานพร้อมกับผู้เลี้ยงดูเด็กชี้ให้ดูคำศัพท์ให้คุ้นกับภาษาอ่านเขียน

       3. เด็กถ่ายทอดความคิดจากนิทานที่ฟังโดยการวาดหรือเขียนคำศัพท์ที่สนใจลงในสมุดเล่มเล็ก

ขั้นสรุป

       1. ๆ เล่าถึงผลงานของตนเองพร้อมกับผู้เลี้ยงดูจดบันทึกคำพูดเด็ก

สื่อ

       1. หนังสือนิทานเรื่อง ช้างน้อยแสนซน

       2. ดินสอ กระดาษ สีเทียน สีไม้

ประเมินผล

จากชิ้นงานของเด็ก โดยใช้กฎเกณฑ์การให้คะแนนความสามารถด้านการเขียน

 

เรื่องที่ 4 ตัวอย่างนิทานสำหรับเด็กปฐมวัย

ตัวอย่างนิทาน

Androcles

แอนโดรเคิลส์

       กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ทาสคนหนึ่งชื่อว่าแอนโตรเคิลส์ได้หนีเจ้านายเข้าไปหลบอยู่ในป่า ที่นั่นเขาได้พบสิงโตตัวหนึ่งกำลังนอนร้องครวญครางด้วยความเจ็บปวด เมื่อเห็นว่าสิงโตไม่คิดทำร้ายแอนโดรเคิลล์จึงเดินเข้าไปใกล้ๆ เพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับสิงโต

       แอนโดรเคิลส์ถามสิงโตถึงสาเหตุของเสียงร้องด้วยความเมตตาและไม่คิดหวาดกลัว แต่สิงโตไม่ได้ตอบนใด มันกางอุ้งเท้าที่บวมเป้งและเต็มไปด้วยเลือดให้แอนโดรเคิลส์ดู เขาจึงมองเห็นหนามอันใหญ่ตำอุ้งเท้าของมันอยู่ โดยไม่รอช้าแอนโดรเคิลส์รีบดึงหนามนั้นอย่างแรง จนมันหลุดออกมา ในที่สุดสิงโตก็คลายความเจ็บปวดและสามารถลุกขึ้นยืนได้อีกครั้ง มันเดินเข้าไปหาแอนโดรเคิลส์แล้วเลียมือของเขาอย่างสำนึกในบุญคุณ จากนั้นมันก็พาแอนโดรเคิลส์กลับไปยังถ้ำของมันและหาอาหารมาให้เขากินทุกวันมิได้ขาด

       แต่แล้ววันหนึ่ง แอนโดรเคิลส์และสิงโตเกิดพลาดท่าเหล่านายพรานจนถูกจับตัวไป แอนโดรเคิลส์ถูกบังคับให้ต่อสู้กับสิงโต ถ้าแพ้จะต้องกลายเป็นอาหารของมันโดยที่ไม่มีใครรู้เลยว่าทั้งสองเป็นเพื่อนกัน

       เมื่อวันประลองมาถึงพระราชาได้เดินทางมาดูการแข่งขันครั้งนี้ด้วย แอนโดนเคิลส์ยืนอยู่กลางสังเวียนท่ามกลางเสียงเชียร์อย่างลุ้นระทึก ไม่นานสิงโตก็ถูกปล่อยออกมาจากกรง แต่ทันทีที่มันเห็นแอนโดรเคิลส์มันกลับตรงรี่เข้าไปหมอบอยู่แทบเท้าแอนโดรเศิลส์และเลียมือของเบาอย่างดีใจ เหตุการณ์นี้สร้างความประหลาดใจให้แก่ผู้ชมและพระราชาเป็นอย่างยิ่ง พระราชาจึงเรียกแอนโดรเคิลส์เข้าไปพบแล้วถามว่าเขารอดพ้นจากกรงเล็บของสิงโตมาได้อย่างไร แอนโดรเคิลส์จึงเล่าเหตุการณ์ทั้งหมดให้พระราชาฟัง พระรายารู้สึกประทับใจในความเมตตาของแอนโดรเคิลส์ และความกตัญญูของสิงโตมาก  พระองค์จึงมีคำสั่งให้ปล่อยแอนโดรเคิลส์เป็นอิสระและปล่อยสิงโตกลับเข้าป่าตามเดิม

จำไว้เสมอว่า : ความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์และความกตัญญูรู้คุณเป็นเครื่องหมายของคนดี

The Ant and The Dove

มดกับนกเขา

       วันหนึ่งในฤดูร้อน มดตัวหนึ่งเดินไปยังหนองน้ำเพื่อหาน้ำกิน แต่ด้วยความหิวน้ำมันจึงรีบกินน้ำอย่างไม่ทันระวังตัวจนพลาดตกลงไปในหนองน้ำ  ขณะที่มันกำลังจะจมน้ำอยู่แล้วนั้น นกเขาซึ่งเกาะอยู่บนกิ่งไม้เหนือหนองน้ำบังเอิญเห็นเข้าจึงรีบใช้จะงอยปากจิกขั้วใบไม้ให้ร่วงหล่นลงไปใกล้ๆ ตัวมด  เมื่อเห็นดังนั้นมดก็รีบตะเกียกตะกายปีนขึ้นไปบนใบไม้ได้อย่างปลอดภัย และทันทีที่ใบไม้ลอยมาถึงริมตลิ่งมดก็รีบปีนขึ้นฝั่งอย่างทุลักทุเล แต่ยังไม่ทันที่มดจะเอ่ยปากขอบคุณนกเขามันเหลือบไปเห็นนายพรานกำลังเล็ง5นูมายังผู้มีพระคุณของมัน มดจึงกัดเท้าของนายพรานสุดแรงจนนายพรานต้องร้องตะโกนด้วยความเจ็บปวด ทำให้นกเขารู้ตัวจึงบินหนีไปได้ทัน

จำไว้เสมอว่า : ทำดีกับผู้อื่นเช่นไรย่อมได้ผลดีนั้นตอบแทน

The Ass and the Frogs

ลากับฝูงกบ

       วันหนึ่ง ลาต้องขนฟืนไปส่งยังหมูบ้านแห่งหนึ่งที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำ ขณะที่กำลังข้ามแม่น้ำไปยังอีกฝั่งนั้นลาเกิดเสียหลักล้มลงและไม่สามารถลุกขึ้นมาได้เพราะฟินที่มันขนมานั้นหนักและถ่วงตัวมัน ลาจึงตะโกนร้องขอความช่วยเหลือ "ช่วยด้วย ใครอยู่แถวนี้ช่วยข้าที" มันบ่นกับตัวเองว่า "ข้าช่างโชคร้ายเสียจริงๆ" ไม่มีใครอยู่แถวนั้นนอกจากกบฝูงหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในแม่น้ำสายนั้น เมื่อพวกมันได้ยินเสียงร้องของลาจึงออกมาดูและพูดกับลาว่า "เจ้าจะทำเช่นไรหากต้องอาศัยอยู่ที่นี่ตลอดไปอย่างพวกเรา ในเมื่อเจ้ามัวแต่บ่นเรื่องตกน้ำอยู่อย่างนั้น"

จำไว้เสมอว่า : อย่ามัวแต่บ่นท้อแท้และสิ้นหวังเมื่อเจอปัญหา จงลุกขึ้นสู้อย่างเข้มแข็ง

The Doe and the Lion

แม่กวางกับสิงโต

       แม่กวางตัวหนึ่งหนีการไล่ล่าของนายพรานอย่างหัวซุกหัวชุนมาหลบภัยยังถ้ำแห่งหนึ่ง โดยที่ไม่รู้ว่ามันเป็นถ้ำของสิงโต สิงโตเห็นดังนั้นก็ชอนตัวเพราะไม่อยากให้แม่กวางตื่นตระหนก จนกระทั่งแม่กวางเข้ามาใกล้ สิงโตจึงตะครุบและฉีกเนื้อออกเป็นชิ้นๆ แม่กวางร้องด้วยความเจ็บปวดและรำพันกับตัวเองว่า "ข้าช่างน่าสงสารเหลือเกิน อุตสาห์หนีพ้นจากเงื้อมมือมนุษย์ แต่กลับต้องมาตกเป็นเหยื่อของสิงโตอีกหรือนี่"

จำไว้เสมอว่า : เมื่อหลีกหนีศัตรูจงดูให้แน่ใจท่อนว่าจะไม่เป็นเหยื่อของผู้อื่นอีก

The Dog and the Shadow

สุนัขกับเงา

       กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว สุนัขตัวหนึ่งพบเนื้อนหนึ่งโดยมิได้คาดฝัน มันจึงคาบเนื้อชิ้นนั้นไว้ในปากและตรงรี่กลับบ้าน ขณะที่มันกำลังข้ามสะพานเหนือลำธารสายเล็กๆ สายหนึ่ง มันก็เห็นเงาของมันเองสะท้อนอยู่ในน้ำเบื้องล่าง มันเข้าใจผิดว่าเป็นสุนัขอีกตัวหนึ่งที่มีเนื้ออีกชิ้นหนึ่งซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าของมันอยู่ในปาก ด้วยความโลภ มันอยากได้เนื้อชิ้นนั้นเช่นกัน ตังนั้นมันจึงเห่าสุนัขที่อยู่ในน้ำอย่างกราดเกรี้ยว เพื่อจะได้เนื้อที่ใหญ่กว่า แต่เมื่อมันอ้าปากเนื้อก็ร่วงหล่นลงไปในน้ำทันที นอกจากจะไม่ได้เนื้อเพิ่มอีกชิ้นแล้ว มันยังสูญเสียเนื้อในปากไปอีกด้วย

จำไว้เสมอว่า : ถ้าเราไขว่คว้าเงาอย่างลุ่มหลง เราจะสูญเสียสาระสำคัญไป

The Farmer and His Sons

ชาวไร่กับลูกชาย

       ชาวไร่คนหนึ่งกำลังนอนรอความตายอย่างหมดหวัง แต่เขาต้องการให้ลูกชายของเขาเป็นชาวไร่องุ่นที่ดีอย่างที่ตั้งใจไว้ ตังนั้นเขาจึงเรียกลูกๆ มาเพื่อสั่งเสียเป็นครั้งสุดท้าย "ลูกรัก พ่อได้ชอนสมบัติไว้ที่ไร่องุ่น พวกเจ้าจงไปยุดหากันเอาเอง" หลังจากที่ชาวไร่ตาย บรรดาลูกๆ ของเขาต่างพากันถือจอบถือเสียมไปยุดหาสมบัติในไร่องุ่น พวกเขายุดหาสมบัติกันหามรุ่งหามค่ำ แต่หาเท่าไรก็หาไม่เจอจนพากันท้อถอยและคิดล้มเลิก เมื่อพวกเขานั่งพักใต้ต้นไม้และมองไปที่ไร่ ก็พบว่าผืนดินที่เคยแห้งแข็งกลับร่วนซุยพร้อมสำหรับการเพาะปลูก พวกเขาจึงเข้าใจแล้วว่า

ทรัพย์สมบัติที่พ่อบอกนั้นหมายถึงอะไร

จำไว้เสมอว่า : ทรัพย์สมบัติคือผลที่ได้จากการลงมือทำ

The Farmer and the Snake

ชาวนากับงูเห่า

       วันหนึ่งในฤดูหนาว ชาวนาผู้หนึ่งบังเอิญเดินไปพบงูตัวหนึ่งนอนขดอยู่บนหิมะด้วยความหนาวเย็นจึงเกิดความสงสารและเห็นใจ เขาอุ้มมันขึ้นมาซุกไว้ที่อกเสื้อเพื่อให้ความอบอุ่นแก่มัน เมื่องูได้รับความอบอุ่นจากชาวนาจึงทำให้มันมีกำลังกลับคืน แต่ทันทีที่มันฟื้นมันกลับหันหัวฉกชาวนาทันที ก่อนที่ชาวนาจะสิ้นใจตาย เขาได้พูดกับงูตัวนั้นว่า  "ข้าอุตสาห์มีความเมตตาเพื่อช่วยเหลือเจ้าแท้ๆ แต่ตัวเองกลับไม่ได้รับผลดีตอบแทน" และชาวนาก็สิ้นใจตายในที่สุด

จำไว้เสมอว่า : ไม่มีความกตัญญูในหมู่คนเลว

The Frogs Complaint Against the Sun

กบคัดค้านพระอาทิตย์

       กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระอาทิตย์ป่าวประกาศว่าเขาจะแต่งงาน บรรดาฝูงกบได้ยินต่างตกใจจึงโผล่หัวขึ้นมาจากหนองน้ำและส่งเสียงร้องคัดค้านกันระงม เมื่อเทพจูปีเตอร์ได้ยินเสียงร้องของกบก็เกิดความรำคาญจึงถามบรรดากบว่า "ทำไมพวกเจ้าจะต้องคัดค้านเรื่องพระอาทิตย์จะแต่งงานด้วย ไม่เห็นจะเกี่ยวกับพวกเจ้าเสียหน่อย" กบตัวหนึ่งพูดว่า "เกี่ยวสิ นี่ ขนาดพระอาทิตย์เป็นโสดยังทำให้หนองน้ำแห้งจนทำให้พวกข้าตายไปหลายตัว ถ้าพวกข้ายอมให้พระอาทิตย์แต่งงาน คราวนี้ไม่ต้องมีพระอาทิตย์ถึง 2 ดวงหรอกหรือ"

จำไว้เสมอว่า : การกระทำของผู้มีอำนาจย่อมส่งผลกระทบต่อผู้น้อยเสมอ

The Hare and the Tortoise

กระต่ายป่ากับเต่า

       วันหนึ่ง ณ ป่าใหญ่ กระต่ายป่าตัวหนึ่งเยาะเย้ยถากถางเต่าว่าขาสั้นและเดินเชื่องช้า เมื่อเต่าได้ยินก็หัวเราะและตอบกลับไปว่า "ข้าจะเอาชนะเจ้าในการแข่งวิ่งให้ได้ แม้ว่าเจ้าจะวิ่งเร็วพอๆ กับลมก็ตาม" กระต่ายป่าเชื่อมั่นในความเร็วของตนเองและคิดว่าเต่าเอาชนะไม่ได้อย่างแน่นอน ตังนั้นมันจึงยอมรับข้อเสนอนั้น พวกมันตกลงกันว่าจะให้สุนัขจิ้งจอกเป็นคนเลือกเส้นทางและกำหนดเส้นชัย เมื่อถึงวันนัดหมาย กระต่ายป่ากับเต่าก็เริ่มต้นพร้อมกันบนเส้นทางที่สุนัขจิ้งจอกกำหนดไว้ เต่าไม่เคยหยุดแม้ชั่วขณะเดียว มันเดินอย่างเชื่องช้าแต่สม่ำเสมอตรงไปยัง

จุดหมาย แม้กระต่ายป่านั้นจะวิ่งเร็วกว่าเต่าแต่เมื่อใกล้ถึงปลายทางมันกลับนอนพักที่ข้างทางอย่างชะล่าใจและผล็อยหลับไปอย่างรวดเร็ว ในที่สุดกระต่ายป่าก็สะดุ้งตื่นขึ้นมาและรีบวิ่งให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ก็สายไปเสียแล้วเมื่อมันมาถึงเส้นชัยก็พบว่าเต่ากำลังหลับอย่างสบาย หลังจากที่เพียรพยายามจนประสบชัยชนะ

จำไว้เสมอว่า : ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น

The Hares and the Frogs

กระต่ายป่ากับกบ

       นานมาแล้ว กระต่ายป้าฝูงหนึ่งไม่มีความสุขกับชีวิตของพวกมันเลยเพราะพวกมันมักจะถูกสัตว์ตัวอื่นๆ รังแกเสมอ พวกมันไม่สามารถทนความหวาดกลัวที่ไม่มีวันสิ้นสุดนี้ได้อีกต่อไป ดังนั้นพวกมันจึงเห็นพ้องต้องกันว่าจะแก้ปัญหาโดยการกระโดดลงสู่ทะเลสาบเพื่อที่จะยุติความหวาดกลัวและความเศร้าทั้งมวลด้วยความตาย  เมื่อพวกมันวิ่งไปจนใกล้ถึงฝั่งทะเลสาบ บรรดากบที่อาศัยอยู่ที่นั่นได้ยินเสียงฝีเท้าจึงพากันกระโดดลงไปในน้ำอย่างตกใจ เมื่อกระต่ายป่าตัวหนึ่งเห็นดังนั้นมันจึงตะโกนบอกเพื่อนๆ ของมันว่า "หยุดก่อนเพื่อนทั้งหลายของข้า อย่าได้ฆ่าตัวตายอย่างโง่เขลาเช่นนี้เลย เจ้าเห็นไหมว่ายังมีสัตว์ที่อ่อนแอกว่าพวกเราอีก"

จำไว้เสมอว่า : ยังมีผู้ที่เป็นทุกข์กว่าเราเสมอ

 

กิจกรรมท้ายตอนที่ 1

เรื่อง สมุดเล่มเล็กสำหรับนักวาดฝัน

       ให้นักศึกษา

       1. ทำแผนการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบการจัดทำสมุดเล่มเล็ก 1 แผน แล้วนำไปใช้ในการเล่านิทาน

       2. ให้เด็กปฐมวัยทำสมุดเล่มเล็กตามแผนการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน