การร้องเพลงเบื่องต้น

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3เทคนิคการร้องเพลงเบื้องต้น

ปฐมบทแห่งเสียงเพลง

       เทคนิคในการร้องเพลง คือการสร้างสีสันให้กับบทเพลงที่ขับร้อง บางครั้งเราจะพบว่าเพลงหนึ่งเพลงที่ถูกนํามาร้องโดย นักร้องแต่ละคนที่แตกต่างกัน ก็จะทําให้ความรู้สึกเมื่อเรารับฟังแตกต่างกันนั่นก็เพราะว่านักร้องแต่ละคนมีวิธีการร้อง หรือเทคนิคการร้องที่แตกต่างกันไป นอกจากนั้นการตีความหรือการถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกเกี่ยวกับเพลง ของนักร้องแต่ละคนก็แตกต่างกันอีกด้วย

       ดังนั้น ถ้าเราต้องการมีเอกลักษณ์ของตัวเองในการร้องเพลง อย่างชัดเจน ก็จะต้องหาเทคนิคในการร้องเพลงสําหรับตัวให้ชัดเจน

กิจกรรมที่ 3.1  ให้ผู้เรียนฟังเพลงที่ถูกนําไปร้องโดยนักร้องหลายคน แล้วเปรียบเทียบลักษณะ และวิธีการร้อง รวมทั้งความรู้สึกที่ผู้เรียนได้รับ เช่น เพลง “หนึ่งในร้อย” ขับร้องโดย นันทิดา แก้วบัวสาย ขับร้อง ธงไชยแมคอินไตย  ขับร้องโดย ยุรนันท์ ภมรมนตรี ขับร้องโดย สวลี ผกาพันธ์

       คําอธิบาย - ข้อเสนอแนะ

       ให้ผู้เรียนเลือกเพลงอะไรก็ได้ ที่ถูกนํามาร้องโดยนักร้อง 2-3 คนแล้วเปรียบเทียบตาม ความรู้สึกที่ได้จากการฟัง ซึ่งจะพบว่าเพลงเพลงเดียวกัน เมื่อถูกนํามาร้องโดยนักร้องที่ต่างกัน ก็จะให้อารมณ์ ความรู้สึกแตกต่างกัน รวมไปถึงลักษณะของดนตรีที่ได้ยินก็แตกต่างกันด้วย เช่นกัน สาเหตุก็เป็นเพราะว่า นักร้องแต่ละคนก็จะมีวิธีการร้อง การถ่ายทอดอารมณ์ที่แตกต่าง กันออกไป ซึ่งนั่นก็คือ “เทคนิคในการร้องเพลง” นั่นเอง

       ก่อนที่จะเรียนเรื่องเทคนิคในการร้องเพลงให้ละเอียดยิ่งขึ้น เราจะกลับไปทบทวนความหมาย ของการร้องเพลงกันอีกครั้ง เพื่อทําความเข้าใจให้ตรงกัน ซึ่งการร้องเพลง ก็คือการสื่อสารชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเดียวกับการพูดคุย เพียงแต่เป็นการพูดคุยตามลักษณะท่วงทํานองและจังหวะที่ถูกต้อง หรือเรียกง่ายๆ ว่า “การร้องเพลง คือการพูดเป็นทํานองและจังหวะที่ถูกต้อง” ถ้าเราแยกให้ละเอียด การร้องเพลงก็จะประกอบด้วยองค์ประกอบสําคัญ 3 ส่วน คือ การพูด ทํานอง จังหวะ

       การพูดก็คือการสื่อสารชนิดหนึ่ง ซึ่งมนุษย์เราทํากันอยู่เป็นประจําในชีวิตประจําวัน ประกอบด้วย

       1. การพูดคุยตามธรรมชาติ คือ การพูดคุยแบบอัตโนมัติที่เราทํากันในชีวิตประจําวัน นั่นคือ การ ถาม ตอบ การแสดงความคิดเห็น การเล่าเรื่องราวสนุกสนานระหว่างเพื่อนฝูง การปรับทุกข์ ฯลฯ

       2. การรายงานข่าว หรือการพูดแบบเป็นทางการที่ถูกเตรียมการไว้ล่วงหน้า เป็นการพูดตามบท หรือสคริปต์ (Script) ที่ถูกจัดเตรียมไว้แล้ว วิธีการพูดแบบนี้ ผู้พูดจะต้องมีการอ่านและเตรียมตัวมาก่อน ล่วงหน้า และให้การพูดนั้นเป็นธรรมชาติมากที่สุด

       3. การอ่าน เป็นการออกเสียงให้ชัดเจน จะเน้นความถูกต้องของอักขระ โดยไม่เน้นการใช้ อารมณ์ไปกับการออกเสียงนั้นๆ

       สําหรับการร้องเพลง มีลักษณะคล้ายคลึงกับการพูดแบบที่ 2 และ 3 คือ คล้ายกับการอ่าน สคริปต์ให้เป็นธรรมชาติ แต่จะต้องมีความชัดเจนในการออกเสียงอักขระ (สระ พยัญชนะ และตัวสะกด) แต่ส่วนที่ยากกว่าก็คือในขณะที่ออกเสียงคําแต่ละคําให้ชัดเจน แต่เป็นธรรมชาตินั้น เรายังจะต้องร้อง ออกไปในทํานองที่ถูกต้อง และจังหวะที่ถูกต้องด้วย ดังนั้น ถ้าเราจะแบ่ง เพลงออกเป็นองค์ประกอบย่อยๆ เราจะสามารถแบ่งเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ คําร้องหรือเนื้อร้อง ทํานองและจังหวะการเรียบเรียงเสียงประสาน

องค์ประกอบของเพลง

       การเรียนรู้เทคนิคในการร้องเพลงในเบื้องต้น เราต้องทําความเข้าใจในองค์ประกอบของเพลง เนื่อง จากองค์ประกอบแต่ละส่วนนี้ จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับเทคนิคที่จะร้องเพลงให้ถูกต้องและไพเราะ ซึ่งมี สาระสําคัญดังนี้

·       คําร้อง หรือเนื้อร้อง (Lyrics)

       คําร้อง หรือ เนื้อร้อง เป็นองค์ประกอบหลักในการสื่อสาร มีคนจํานวนมากที่ฟังเพลงและชอบ เพลงๆ หนึ่ง เพราะชอบเนื้อหาของเพลง ดังนั้น “คําร้อง” จึงมีอิทธิพลกับวิธีการร้อง การสร้างสรรค์ อารมณ์เพลง และเทคนิคของการร้องมาก เพลงบางเพลง เมื่อเราเปลี่ยนวิธีการร้อง หรือเปลี่ยนเทคนิค การร้องก็จะทําอารมณ์เพลงเปลี่ยนแปลงไป นอกจากนั้น คําแต่ละคนที่เรียงร้อยเป็นคําร้อง ก็จะมี อารมณ์ของคําที่แตกต่างกันไป เช่น คําว่า “เบา” หรือ “แผ่ว” ให้ความรู้สึกเบาและล่องลอยด้วย ความหมายของคําอยู่แล้วด้วยเช่นกัน เมื่อเราพูดหรือร้องคําคํานั้น ตามอารมณ์ของคําก็จะช่วยให้เกิด อารมณ์ของเพลงที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

·       ทํานองและจังหวะ (Melody and rhythm)

       โดยส่วนใหญ่แล้วเมื่อนักแต่งเพลงแต่งเพลงๆ หนึ่ง ก็จะแต่งทํานองและจังหวะไปพร้อมๆ กัน ทํานองก็คือ เสียงสูงต่ำของตัวโน้ตที่ประกอบเป็นบทเพลง ส่วนจังหวะก็คือสัดส่วนของโน้ตแต่ละตัว เมื่อ นํามาประกอบกันก็จะได้ท่วงทํานองของเพลงนั้นๆ การจะร้องเพลงให้ไพเราะจําเป็นต้องจดจําท่วง ทํานองของเพลงให้ได้อย่างแม่นยํา

       นักร้องที่ร้องผิดทํานองหรือเพี้ยน และนักร้องที่ร้องไม่ตรงจังหวะจะทําให้เพลงที่ร้องนั้นฟังดู แปลกๆ และเป็นการร้องเพลงที่ไม่มีคุณภาพ

·       การเรียบเรียงเสียงประสาน

       การเรียบเรียงเสียงประสาน คือการสร้างสรรค์ดนตรีที่ประกอบเป็นเพลงๆนั้น ซึ่งการเรียบเรียง เสียงประสานจะทําให้เกิดอารมณ์เพลงที่แตกต่างกันออกไป เช่น เพลงที่เป็นร้องกับเปียโนก็จะทําให้ รู้สึกอ่อนโยน อ่อนหวาน แตกต่างกับเพลงที่ประกอบด้วย กลอง เบส กีตาร์ จะให้อารมณ์ที่หนักแน่น รุนแรง กว่าเพลงที่มีท่วงทํานองเดียวกัน จะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน ถ้าได้รับการเรียบเรียงเสียงประสานที่แตกต่างกันไป

โครงสร้างของเพลง

       นอกจากจะต้องทําความเข้าใจกับองค์ประกอบของเพลงอย่างดีแล้ว การเรียนรู้เทคนิคการร้อง เพลงเรายังต้องมีความเข้าใจในเรื่องโครงสร้างของเพลงอีกด้วย โครงสร้างของเพลงก็จะประกอบด้วย ท่อนของเพลง (Verse) ที่มีความเหมือนและต่างกันออกไป ในท่อนของเพลง (Verse) ก็เป็นการเรียงร้อย ท่วงทํานองเพลง (Melody) เข้าด้วยกัน ประกอบกันเป็นท่อนของเพลง (verse)

       เพื่อให้เข้าใจโครงสร้างของเพลงมากขึ้น ให้เราลองวิเคราะห์บทเพลงข้างล่างเพื่อหาโครงสร้างของเพลง

       1. เพลงสิ่งสําคัญ (ศิลปิน : เอ็นโดฟิน)

                ฉันไม่รู้ว่าหลังจากนี้ มันจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง ฉันไม่กล้าจะสัญญาด้วยคําใด

                รักเรานั้นจะไปอีกไกล หรือวันไหนจะต้องร้างลา ฉันไม่รู้ไม่เคยแน่ใจอะไร

                ฉันพูดได้เพียงว่าตอนนี้รักเธอ เทให้ทั้งหัวใจ

                นี่คือสิ่งสําคัญ ที่เรายังอยู่ด้วยกัน สิ่งอื่นใดนั้นมันยังไม่มาถึง

                บอกได้แค่นี้ จะรักหมดทั้งใจที่มี ให้มันตราตรึง อยู่ในใจเพื่อไปถึงวันลาจาก

                เรื่องที่รู้วันนี้ตอนนี้ ฉันก็มีแต่ความอุ่นใจ รักที่เราให้กันคือสิ่งดีงาม

                แม้สุดท้ายจะเหลือเพียงฝัน หรือจะเป็นอย่างไรก็ตาม ฉันจะทําวันนี้ให้ดีดังใจ

จากเนื้อเพลงข้างต้น ถ้าให้เราวิเคราะห์โครงสร้างของเพลง จะพบว่า จะมีท่อนเพลงที่ มีท่วงทํานอง (Melody) เหมือนกัน เช่น

       - ฉันไม่รู้ว่าหลังจากนี้ มันจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง ฉันไม่กล้าจะสัญญาด้วยคําใด

       - รักเรานั้นจะไปอีกไกล หรือวันไหนจะต้องร้างลา ฉันไม่รู้ไม่เคยแน่ใจอะไร

       ท่วงทํานองของ 2 ท่อนที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น จะเป็นท่วงทํานองเดียวกัน เราจะเรียก เป็นท่อนเพลง (verse) ประเภทเดียวกัน คือ A โดยที่จะแบ่งเป็นส่วนย่อยตามลักษณะเนื้อ เพลงที่แตกต่างกันเป็น A1, A2 เป็นต้น

       สําหรับท่อนเพลง “ฉันพูดได้เพียงว่าตอนนี้รักเธอ เขาให้ทั้งหัวใจ” เป็นท่อนเพลงที่มีท่วง

ทํานองต่างจาก ท่อน A เราจึงเรียกว่า ท่อน “B”

สําหรับท่อนเพลง

       - นี่คือสิ่งสําคัญ ที่เรายังอยู่ด้วยกัน สิ่งอื่นใดนั้นมันยังไม่มาถึง

       - บอกได้แค่นี้ จะรักหมดทั้งใจที่มี ให้มันตราตรึง อยู่ในใจเพื่อไปถึงวันลาจาก

       ท่อนนี้เราจะเรียกว่าท่อนแยก หรือ ท่อนสร้อย หรือ ท่อน “Chorus” ซึ่งจะมีการร้อง อีกหลายครั้ง ถือเป็นท่อนสําคัญของเพลงหรือ “Hook” นั่นเอง ดังนั้นถ้าเราจะวิเคราะห์ โครงสร้างของเพลง “สิ่งสําคัญ” อีกครั้ง จะได้ดังนี้ คือ

A1  ฉันไม่รู้ว่าหลังจากนี้ มันจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง ฉันไม่กล้าจะสัญญาด้วยคําใด

A2   รักเรานั้นจะไปอีกไกล หรือวันไหนจะต้องร้างลา ฉันไม่รู้ไม่เคยแน่ใจอะไร

  ฉันพูดได้เพียงว่าตอนนี้รักเธอ เทให้ทั้งหัวใจ

Hook  นี่คือสิ่งสําคัญ ที่เรายังอยู่ด้วยกัน สิ่งอื่นใดนั้นมันยังไม่มาถึง

         บอกได้แค่นี้ จะรักหมดทั้งใจที่มี ให้มันตราตรึง อยู่ในใจเพื่อไปถึงวันลาจาก

A3      เรื่องที่รู้วันนี้ตอนนี้ ฉันก็มีแต่ความอุ่นใจ รักที่เราให้กันคือสิ่งดีงาม

A4  แม้สุดท้ายจะเหลือเพียงฝัน หรือจะเป็นอย่างไรก็ตาม ฉันจะทําวันนี้ให้ดีดังใจ

B    ฉันพูดได้เพียงว่าตอนนี้รักเธอ เทให้ทั้งหัวใจ

Hook  นี่คือสิ่งสําคัญ ที่เรายังอยู่ด้วยกัน สิ่งอื่นใดนั้นมันยังไม่มาถึง

         บอกได้แค่นี้ จะรักหมดทั้งใจที่มี ให้มันตราตรึง อยู่ในใจเพื่อไปถึงวันลาจาก

 Hook  นี่คือสิ่งสําคัญ ที่เรายังอยู่ด้วยกัน สิ่งอื่นใดนั้นมันยังไม่มาถึง

       บอกได้แค่นี้ จะรักหมดทั้งใจที่มี ให้มันตราตรึง อยู่ในใจเพื่อไปถึงวันลาจาก

กิจกรรมที่ 3.2  ให้ผู้เรียนฝึกวิเคราะห์โครงสร้างของเพลงที่กําหนดไว้จากบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ใน คู่มือการเรียน โดยเติม                         

                ให้ถูกต้องว่าท่อนดังกล่าวคือท่อนอะไร

เฉลย

เพลงนาทีที่ยิ่งใหญ่ (ศิลปิน : คริสติน่า อากีล่า)

A1  บนทางเดิน อาจไม่มีทางไหน มุ่งไปดวงดาว ที่ส่องสกาว บนนภา

B2  และคนที่เดินดิน ทุกทุกคน ก็รู้ว่า มันไกลเกิน ที่คนจะก้าวไป

A2  ในความ เป็นจริง เส้นทางบนดินนั้น ก็มีดวงดาวที่ส่องสกาว อยู่ไม่ไกล

B2   และตัวฉันคนนึง ที่ต้องการ จะก้าวไป ฉันมั่นใจ ว่าคงไม่ยากเกิน

Hook   เพราะฉันนั้น ต้องการมี เสี้ยวนาที ที่ยิ่งใหญ่ ให้ใจจดไว้ นานเท่านาน อยากจะได้ภูมิใจ ที่มือฉันเคยได้เอื้อมผ่าน     

       ได้เก็บดาว ที่แสนไกล ด้วยตัวฉันเอง

A3   คนบางคน อาจจะมีใจท้อ แค่ตรงกลางทาง หมดความหวัง ในหัวใจ

B3   แต่มีฉันคนนึง ที่ยังคง จะก้าวไป ฉันมั่นใจ กับทางที่เลือกเดิน

Hook เพราะฉันนั้น ต้องการมี เสี้ยวนาที ที่ยิ่งใหญ่ ให้ใจจดไว้ นานเท่านาน อยากจะได้ภูมิใจ ที่มือฉันเคยได้เอื้อมผ่าน

        ได้เก็บดาว ที่แสนไกล ด้วยตัวฉันเอง

Hook   ฉันนั้น ต้องการ เขียนตํานาน ให้หัวใจ เพื่อจําจดไว้ นานเท่านาน สิ่งที่ฉันทําไป จะเป็นเส้นทางให้ข้ามผ่าน

          สู่จุดหมาย ที่ตั้งใจ ด้วยตัวฉันเอง

เพลงช่างไม่รู้เลย (ศิลปิน : พีซ เมกเกอร์)

A1  ในแววตาทั้งคู่ ไม่รับรู้อะไร เธอคงยังไม่เข้าใจ ว่าฉันไม่ใช่คนเก่า

B1  เราคงยังเหมือนเพื่อน หยอกล้อเหมือนวันวาน

       แต่ฉันคือคนใจสั่น แต่ฉันคือคนหวั่นไหว

Hook  ช่างไม่รู้อะไรบ้างเลย ในความคุ้นเคยกันอยู่ มันแฝงอะไรบางอย่างที่มากกว่านั้น

         ช่างไม่รู้อะไรบ้างเลย ว่าเพื่อนคนหนึ่ง มันแอบมันคิดอะไรไปไกล กว่าเป็นเพื่อนกัน

A1 กลายเป็นคนฝันใฝ่อยู่ใกล้ใกล้เธอ กลายเป็นคนที่รอเก้อ เหมือนหนังสือที่เธอไม่อ่าน

B1  ตาคอยมองจ้องอยู่ อยากให้รู้ใจกัน แต่แล้วเธอยังมองผ่าน และฉันก็ยังหวั่นไหว

Hook  ช่างไม่รู้อะไรบ้างเลย ในความคุ้นเคยกันอยู่ มันแฝงอะไรบางอย่างที่มากกว่านั้น

         ช่างไม่รู้อะไรบ้างเลย ว่าเพื่อนคนหนึ่ง มันแอบมันคิดอะไรไปไกล กว่าเป็นเพื่อนกัน

Hook  ช่างไม่รู้อะไรบ้างเลย ในความคุ้นเคยกันอยู่ มันแฝงอะไรบางอย่างที่มากกว่านั้น

         ช่างไม่รู้อะไรบ้างเลย ว่าเพื่อนคนหนึ่ง มันแอบมันคิดอะไรไปไกล กว่าเป็นเพื่อนกัน

         มันคิดอะไรไปไกล กว่าเป็นเพื่อนกัน

เพลงรักแท้ดูแลไม่ได้ (ศิลปิน : โปเตโต้)

A1  ความรักของเธอ เสียงที่บอกฉันว่าเธอห่วงใย

A2      มือนั้นของเธอ ที่แตะหน้าผากฉัน วันที่ฉันไม่สบาย

B    (เพราะทุกฉาก) ทุกๆ ฉากทุกตอนไม่เคยจางหาย แม้จะผ่านเนิ่นนานเท่าไร

       และทุกฉากทุกตอน นั้นคอยตอกย้ำสิ่งที่ฉันเป็น ตั้งแต่เสียเธอไป

Hook  ว่าฉันเป็น(มัน)คนโง่เหนือใครๆ มีรักแท้อยู่ดูแลไม่ได้

       จะรู้ค่ามันก็สายเกินไป ปวดร้าวคิดอยากย้อนเรื่องราวแค่ไหน ได้แต่ฝัน

A3  ต่อจนเหมือนเดิม รูปเมื่อก่อนนั้นที่มันขาดไป

A4  แต่ทางของเราจะต่อดีอีกไหม หรือว่าฉันต้องทําใจ

B   เพราะทุกฉากทุกตอนไม่เคยจางหาย แม้จะผ่านเนิ่นนานเท่าไร และทุกฉากทุกตอน

         นั้นคอยตอกย้ำสิ่งที่ฉันเป็น ตั้งแต่เสียเธอไป

Hook ว่าฉันเป็นคนโง่เหนือใครๆ มีรักแท้อยู่ดูแลไม่ได้

        จะรู้ค่ามันก็สายเกินไป ปวดร้าวคิดอยากย้อนเรื่องราวแค่ไหน ได้แต่ฝัน

Bridge บอกหน่อยที่ไหนพอจะมีประตูให้ฉันย้อนไปคืนวันที่ฉันมีเธออยู่ จะขอดูแลอีกครั้ง

Hook ฉันเป็นคนโง่เหนือใครๆ มีรักแท้อยู่ดูแลไม่ได้

      จะรู้ค่ามันก็สายเกินไป ปวดร้าวคิดอยากย้อนเรื่องราวแค่ไหน ได้แต่ฝัน

       สรุป-ข้อสังเกต

       ถ้าผู้เรียนสังเกตเพลง “รักแท้ดูแลไม่ได้” จะพบว่า ในเพลงจะมีท่อนเพลง ท่อนหนึ่งซึ่งไม่ ซ้ำกับท่อนอื่นใดในเพลงเลย และมักจะเป็นท่อนที่ส่งก่อนจะเข้าท่อน หรือท่อน Hook อีกครั้งหนึ่ง นั่นคือ

       “บอกหน่อยที่ไหนพอจะมีประตูให้ฉันย้อนไปคืนวันที่ฉันมีเธออยู่ จะขอดูแลอีกครั้ง...” ท่อนเพลงนี้เราเรียกว่าเป็นท่อนพิเศษของเพลง ซึ่งใช้เป็นท่อนที่เชื่อมระหว่างท่อนอื่นๆ ใน ซึ่งท่อนนี้จะทําให้เพลงเกิดสีสัน และมีจุดเด่นที่น่าสนใจมากขึ้น ซึ่งท่อนเพลงประเภทนี้เรา เรียกว่า “Bridge” หรือ “สะพาน” หรือ “ท่อนเชื่อมของเพลง”

       จากกิจกรรมการวิเคราะห์เพลงตัวอย่างข้างต้น เราอาจสรุปโครงสร้างของเพลงที่พบเห็นบ่อยๆ สําหรับเพลงทั่วๆ ไปในปัจจุบันได้ดังนี้

ตาราง แสดงโครงสร้างของเพลงที่พบเห็นบ่อยๆ

ประเภทของเพลง

       เมื่อเราได้เรียนรู้องค์ประกอบของเพลง โครงสร้างของเพลงแล้ว อีกส่วนหนึ่งที่เป็นสิ่งสําคัญที่เรา จําเป็นจะต้องทําความเข้าใจ ก่อนที่จะร้องเพลงใดๆ ก็คือการทําความเข้าใจเกี่ยวกับ “ประเภทของเพลง” หรือ “ลักษณะของเพลง” เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เราจะแบ่งประเภทของเพลงหรือลักษณะของเพลงออกเป็น 2 ประเภท นั่นคือ

                      - แบ่งประเภทของเพลงตามอารมณ์ของเพลง

                      - แบ่งประเภทของเพลงตามลักษณะเฉพาะของเพลง หรือสไตล์ (Style) ของเพลง

·   ประเภทของเพลงตามอารมณ์ของเพลง

        การแบ่งประเภทของเพลงตามอารมณ์เพลงเราต้องศึกษาเนื้อหาของเพลงนั้นๆ แล้วมองที่ภาพ รวมของเพลงว่าเป็นเพลงที่ให้อารมณ์เป็น บวก หรือ ลบ เพลงที่ให้อารมณ์เป็นบวก คือ เพลงที่มีเนื้อหา หรือภาพรวมเมื่อได้ยินเพลงนั้นๆ แล้วให้ความรู้สึกสดชื่น สมหวัง มีความสุข มีความหวัง หรือสนุกสนาน เช่น เพลง คนมันรัก สิ่งสําคัญ เป็นต้น

        ส่วนเพลงประเภทที่ให้อารมณ์เป็นลบ คือ เพลงที่มีเนื้อหา หรือภาพรวม เมื่อได้ยินเพลงนั้นๆ แล้ว ให้ความรู้สึก เศร้า เหงา เจ็บปวด เป็นต้น เช่นเพลง ไม่อาจเปลี่ยนใจ ฯลฯ

กิจกรรมที่ 3.3  ให้ผู้เรียนวิเคราะห์เนื้อหาเรื่องราวจากเพลงดังต่อไปนี้ แล้วบันทึกลงในบันทึกกิจกรรมการเรียนในคู่มือการเรียน

1. เพลงคนมันรัก (ศิลปิน : ไอซ์ ศรันยู )

เธอไม่รัก ฉันไม่รู้ ที่เธอไม่รัก ฉันไม่รู้ แต่ที่รู้ ฉันนั้นรักเธอมาตั้งนาน

เธอไม่คิด ฉันจะคิด ว่าเธอคนนี้ ใช่ที่ฝัน เข้ากันไม่ยากเท่าไหร่

เธอจะร้อน ฉันก็รัก จะเย็นเป็นน้ำ ฉันก็รัก เธอจะงั้น ฉันจะมัดเธอไว้ด้วยใจ

ถ้าเธอหนี ฉันจะตาม จะดําลงน้ำ ข้ามไปไหน จะไปให้ถึงใจเธอ

ก็คนมันรอเธอมาตั้งนาน ข้างเดียว แค่อยากจะเกี่ยวเธอมาไว้กอด ทั้งตัวและใจ

ไม่ให้รัก ฉันจะรัก ไม่ให้สน ฉันจะสน ก็เป็นเหตุผลของใจ

ก็อย่าลําบากขัดใจฉันเลย นะเธอ แค่อยากให้เธอเผื่อใจให้ฉัน ได้ไหม

คนมันรัก ห้ามได้ไหม ใจมันรัก ห้ามไม่ไหว เปิดใจได้ใหม คนดี

ถ้าไม่รัก คงไม่ซื้อ ก็เธออย่าถือ ฉันเลยนะ เธอชนะ ฉันอยู่แล้ว หมดทั้งหัวใจ

ถ้าเธอพร้อม ฉันก็พร้อม จะยอมอ่อนใจ ให้วันไหน จะไปคล้องแขนเลยเธอ

2. เพลงไม่อาจเปลี่ยนใจ (ศิลปิน : เจมส์ เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์)

ไม่บอกก็รู้ว่าเธอ ไม่มีฉันเหลืออีกแล้วในใจ เจ็บมันเป็นอย่างไร เข้าใจลึกซึ้งก็วันนี้

อยากจะบอกเธอว่ารัก อยากจะฉุดรั้งเธอไว้ เพื่อทําทุกอย่าง ที่ตัวฉันทําได้

แต่มันก็สายไปแล้วใช่ไหม

ฉันคงไม่อาจทําให้เธอเปลี่ยนใจ ฉันคงไม่อาจทําให้เธอกลับมารักฉัน

เมื่อคนนั้นเข้ามาทําให้ใจเธอหวั่นไหว รักเขาช่างง่ายดาย

ไม่อาจจะลบภาพเธอจากความทรงจําที่ฝังในใจ

อยากหยุดเวลาไว้ ไม่อยากให้เธอต้องเจอเขา

อยากจะบอกเธอว่ารัก อยากจะฉุดรั้งเธอไว้ เพื่อทําทุกอย่าง ที่ตัวฉันทําได้

แต่มันก็สายไปแล้วใช่ไหม     

ฉันคงไม่อาจทําให้เธอเปลี่ยนใจ ฉันคงไม่อาจทําให้เธอกลับมารักฉัน

ฉันจึงขอแค่เพียงยังรักเธอ จะได้ไหม นะเธอจะได้ไหม (รักเธอตลอดไป)

กิจกรรมที่ 3.4 ให้ผู้เรียนลองสังเกต และตีความหมายจากบทเพลงต่างๆที่เราเคยได้ยิน หรือได้ฟังในชีวิตประจําวัน แล้วลอง

                  สังเกตความแตกต่างของความหมาย และก็อารมณ์เพลงนั้นๆ ด้วย แล้วจดบันทึกเปรียบเทียบกัน

    สรุป-ข้อสังเกต

      เมื่อเราสามารถเข้าใจว่าเพลงที่ขับร้องนั้นอยู่ในประเภทใด เราจะสามารถให้อารมณ์และความรู้สึกในการร้องเพลงได้ถูกต้อง อีกทั้งเรายังสามารถเลือกเทคนิคหรือวิธีการร้องเพลงให้เหมาะกับเพลงนั้นๆ อีกด้วย

·   ประเภทของเพลงตามลักษณะเฉพาะของเพลงหรือตามสไตล์ของเพลง (Style)

        Style หรือสไตล์เพลง คือลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นของเพลงนั้นๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์ประกอบโดย รวมทั้งหมดของเพลง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรีที่ถูกเลือกนํามาใช้ในเพลง ลักษณะการเรียบเรียงเสียง ประสาน หรือลักษณะวิธีการร้องของนักร้อง ถ้าเราจะแบ่งสไตล์ (Style) ของเพลงตามลักษณะการร้อง ของนักร้องจะแบ่งได้ดังนี้

       1. Rhythm and Blues (ริทึ่มแอนด์บลู) หรือ R & B เป็นการร้องที่ใช้บันไดเสียงบลู มา ประกอบในการร้อง (Scale Blues) ทําให้เวลาที่นักร้องร้องเพลงจะมีโน้ต (Note) มากมายไหลลื่นไป เช่น คริสติน่า อากีเรล่า เป็นต้น

       2. Jazz (แจ๊ส) เป็นการร้องที่มีวิธีการใช้เสียงคล้ายคลึงกับ Rhythm and Blues จะแตกต่างกันที่ องค์ประกอบของเครื่องดนตรี ที่อยู่ด้านหลัง เช่น Norash Jones เป็นต้น

      3. Rock (ร็อค) เป็นการร้องที่มีพลัง มีความแข็งแรงในการใช้เสียง เช่น Queen เป็นต้น

      4. Folk Songs (โฟล์ค) เป็นการร้องลักษณะพื้นบ้านหรือท้องถิ่น ซึ่งแต่ละประเทศ แต่ละ ภูมิภาคก็มีเพลงหรือลักษณะการร้องเพลง Folk Songs ต่างๆ กันไป เช่น ในแถบตะวันตก อย่างสหรัฐอเมริกา ก็จะมีการใช้เสียงนาสิก (Nasal) หรือเสียงขึ้นจมูก เมื่อร้องเพลง Folk Song เป็นต้น

กิจกรรมที่ 3.5  ให้ผู้เรียนบอกชื่อนักร้องของไทยที่ร้องเพลงในแต่ละสไตล์ มาสไตล์ละ 3คน

        จากบทเรียนข้างต้นเราจะเห็นว่า กว่าจะเริ่มต้นร้องเพลง เพลงหนึ่งเราจะต้องทําการบ้านกับเพลงๆ นั้นมากมาย เพื่อจะได้สื่อสารอารมณ์ความรู้สึกของเพลงได้อย่างถูกต้อง และทําให้ผู้ที่รับฟังได้รับอรรถรสและความรู้สึกของเพลงนั้นอย่างเต็มที่

        ถ้าเราจะให้นิยามความหมายของเพลงอย่างสั้นๆ ชัดเจนและได้ใจความที่สุด การร้องเพลงคือ การพูดเป็นเพลง หรือการพูดเป็นทํานองและจังหวะที่ถูกต้องนั่นเอง อย่างที่เราได้เรียนไปแล้วว่า เพลง ประกอบด้วย ทํานอง + คําร้อง + การเรียบเรียงเสียงประสาน ถ้าจะให้เรียงลําดับความสําคัญของ เพลงๆ หนึ่งแล้ว สําหรับนักร้อง ทํานองเพลงเป็นสิ่งที่สําคัญที่สุด รองลงมาก็คือ คําร้องและตามด้วยการเรียบเรียงเสียงประสาน

        ดังนั้นก่อนที่ผู้เรียนจะเริ่มร้องเพลงๆ หนึ่ง เราต้องจําท่วงทํานองของเพลงนั้นให้ได้ก่อน นั่นหมาย ถึง เราต้อง ฮัม (Hum) หรือ ร้อง ลา..ลา (la.la) เป็นท่วงทํานองของเพลงนั้นได้ตั้งแต่ต้นจนจบเพลง ขั้น ตอนการฝึกร้องเพลงที่ถูกต้อง ให้ผู้เรียนปฏิบัติตามแบบฝึกหัดด้านล่าง

กิจกรรมที่ 3.6  ให้ผู้เรียนฝึกท่วงทํานองจากเพลง “สิ่งสําคัญ” โดยให้ปฏิบัติดังนี้

                1) ฝึก ฮัม (Hum) ทํานองเพลง สิ่งสําคัญ จนจบเพลง

                 2) ฝึก ร้องทํานองเพลงสิ่งสําคัญ โดยร้องเป็น “ลา...ลา” (la...la

                3) ฝึกอ่านเนื้อเพลง “สิ่งสําคัญ” โดยอ่านออกเสียงดังๆ ช้าๆ ชัดๆ

                 4) ฝึกร้องเพลง “สิ่งสําคัญ” โดยร้องให้ชัดเจน และถูกต้องทั้งจังหวะและทํานอง

      เพลง “สิ่งสําคัญ” (ศิลปิน : เอ็นโดฟิน)

ฉันไม่รู้ว่าหลังจากนี้ มันจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง ฉันไม่กล้าจะสัญญาด้วยคําใด

รักเรานั้นจะไปอีกไกล หรือวันไหนจะต้องร้างลา ฉันไม่รู้ไม่เคยแน่ใจอะไร

ฉันพูดได้เพียงว่าตอนนี้รักเธอ เทให้ทั้งหัวใจ

นี่คือสิ่งสําคัญ ที่เรายังอยู่ด้วยกัน สิ่งอื่นใดนั้นมันยังไม่มาถึง

บอกได้แค่นี้ จะรักหมดทั้งใจที่มี ให้มันตราตรึง อยู่ในใจเพื่อไปถึงวันลาจาก

เรื่องที่รู้วันนี้ตอนนี้ ฉันก็มีแต่ความอุ่นใจ รักที่เราให้กันคือสิ่งดีงาม

แม้สุดท้ายจะเหลือพียงฝัน หรือจะเป็นอย่างไรก็ตาม ฉันจะทําวันนี้ให้ดีดังใจ

    สรุป-ข้อสังเกต

   จากการทํากิจกรรม ผู้เรียนจะพบว่าเมื่อเราจําท่วงทํานอง (Melody) ของเพลงสิ่งสําคัญได้ แล้ว เราจะร้องเพลงๆ นี้ได้ง่ายขึ้น และมั่นใจมากขึ้น ยิ่งถ้าจําเนื้อเพลง (คําร้อง-lyrics) ของเพลงๆ นี้ได้ด้วย ก็จะยิ่งรู้สึกไปกับเพลงมากขึ้น เราสามารถตีความหมายของเพลง และสื่อสารอารมณ์ ของเพลงได้ดีกว่าตอนที่เรายังจําทํานองและเนื้อร้องของเพลงไม่ได้

    นักร้องแต่ละคนก็มีอุปสรรคหรือปัญหาในการร้องเพลงแตกต่างกัน บางคนมีปัญหาใน การจําทํานองเพลง ทําให้เวลาร้องเพลงมีโน้ต (Note) บางตัวที่เพี้ยน ทําให้เสียงที่ได้ยินแปลกๆ ไปวิธีแก้ไขอย่างง่ายๆ ก็คือ ผู้ที่มีปัญหาเช่นนี้ ควรจะใจเย็น ไม่ควรรีบร้องเนื้อเพลงของเพลงนั้นๆ เลย แต่ควรจะใช้วิธีฮัม (Hum) ทํานองเพลง (Melody) ให้คุ้นเคยเสียก่อน นั่นคือควรปฏิบัติในลักษณะ เดียวกับที่เราทํากิจกรรม แต่เน้นปฏิบัติ ข้อที่ 1, 2 และปฏิบัติซ้ำๆ จนมั่นใจ และเกิดความแน่ใจ ว่าจําทํานองเพลง (Melody) ได้แน่นอนแล้ว จึงเริ่มต้นร้องเนื้อร้องของเพลง

      สําหรับนักร้องบางคนที่มีปัญหาในการออกเสียง “คําร้อง” (Lyrics) ของเพลง เนื่องจากมี ความบกพร่องในการอ่านออกเสียง วิธีแก้ไขง่ายๆ คือ ปฏิบัติข้อ 3 ซ้ำๆ กันหลายๆ ครั้ง จากนั้น ให้จดบันทึกประโยค หรือคําที่มีปัญหาในการออกเสียง จากนั้นให้อ่านเฉพาะประโยคหรือคําที่มี ปัญหานั้น อ่านจากช้าๆ จนกระทั่งเร็วขึ้น จนกระทั่งอ่านในจังหวะเดียวกับจังหวะของเพลงนั้นๆ เมื่อสามารถสร้างความคุ้นเคยกับประโยคหรือคําที่มีปัญหาได้แล้ว จึงร้องเป็นทํานองและจังหวะที่ถูกต้อง

การออกเสียงสําหรับการร้องเพลง

      การออกเสียงเพื่อการร้องเพลงในเบื้องต้น เราจําเป็นต้องศึกษาและทําความเข้าใจวิธีการออกเสียงสระและพยัญชนะ ซึ่งเป็นส่วนที่จะนํามาประกอบเป็นคําและประโยคเพื่อรวมกันเป็นท่อนเพลงและ เนื้อเพลง ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบที่สําคัญที่สุดของเพลงดังแผนภาพ

แผนภาพ แสดงโครงสร้างของเพลง

        จะเห็นว่า คําหลายคํา รวมกันเป็นประโยค ประโยคหลายประโยครวมกันเป็นท่อนเพลง และ ท่อนเพลงหลายๆ ท่อนเพลงก็รวมกันเป็นเพลงๆ หนึ่ง ถ้าเราลองดูส่วนที่เล็กที่สุด ซึ่งเป็นองค์ประกอบ ของเนอเพลง นั่นคือ “คํา” คําประกอบด้วย 2 ลักษณะ คือ

1) พยัญชนะ + สระ เช่น ตา มา นะ เป็นต้น

2) พยัญชนะ + สระ + ตัวสะกด เช่น ฉัน กิน นาน เป็นต้น

           ในการร้องเพลง คําที่มีพยัญชนะต้นต่างกันก็ออกเสียงยากง่ายต่างกัน พยัญชนะต้นที่มักจะเป็น ปัญหาในการออกเสียงก็คือ “ส” “” “ช” “ดู” “ล” “อุ” “ด” จากที่เราได้เรียนรู้แล้วว่า รูปปากเป็นตัว กําหนดลักษณะการออกเสียงสระ นอกจากนี้รูปปากหรืออวัยวะในช่องปากยังเป็นตัวกําหนดการออก เสียงอีกด้วย ดังนี้

·       อวัยวะในการออกเสียงสระ

1. คาง

2. ขากรรไกร

3. ริมฝีปาก

·       อวัยวะในการออกเสียงพยัญชนะ

1. สิน

2. ฟันบน

3. ฟันล่าง

4. เพดานปาก

5. ริมฝีปากบน

6. ริมฝีปากล่าง

7. ขากรรไกร

       ถ้าเปรียบเทียบกัน ผู้เรียนจะพบว่าในการออกเสียงพยัญชนะ อวัยวะอีก 4 ส่วนที่มาเกี่ยวข้อง นอก เหนือจากอวัยวะเดิมที่ใช้ในการออกเสียงสระ คือ ลิ้น ฟันบน ฟันล่าง และเพดานปาก ให้สังเกตจาก การออกเสียงพยัญชนะต่อไปนี้

“ส”     - ฟันบน จะประกบกับฟันล่าง

           - ลิ้นจะอยู่ที่ตําแหน่งด้านหลังฟันระหว่างฟันบนกับฟันล่าง

          - ฝึกฝนโดยการออกเสียงเป็นตัว เอส “S” ก่อน


“ร” รูปปากจะเหมือนการออกเสียงสระอู คือห่อริมฝีปากเข้าหากัน

     - ลิ้นก็จะห่อเข้าหากันทางด้านข้าง ลักษณะเหมือนกําลังจะผิวปาก

      -จุดตกกระทบของเสียง จะอยู่บริเวณปลายลิ้นกับด้านในของริมฝีปาก

“ล”   - ปลายลิ้นแตะสัมผัสบริเวณเพดานปาก ถัดมาจากฟัน
          ลิ้นจะกระดกเล็กน้อย
  - จุดตกกระทบของเสียงอยู่บริเวณปลายลิ้นกระทบกับเพดานปาก 

กิจกรรมที่ 3.7 จากตัวอย่างที่แสดงให้เห็นข้างต้น ให้ผู้เรียนบอกว่า พยัญชนะดังต่อไปนี้ คือ ช 2 ด และ ม ใช้อวัยวะส่วนใด

               ในช่องปากเพื่อให้เกิดเสียง และจุดตกกระทบเสียงอยู่ บริเวณใด ให้วาดรูปประกอบ พร้อมอธิบายมาพอสังเขป

        สรุป-ข้อสังเกต

ช ฉ ใช้ลิ้น และมีจุดกระทบของเสียงที่บริเวณฟันหน้าด้านใน

ด ใช้ลิ้นแตะเพดานบนในช่องปาก มีจุดกระทบของเสียงที่บริเวณเพดานบนและปลายลิ้น

 ม ไม่ใช้อวัยวะในช่องปากแต่ใช้ริมฝีปากบนและล่างเม้มกันเล็กน้อย มีจุดกระทบเสียงที่ บริเวณริมฝีปาก

       เมื่อเอาพยัญชนะต้นมาผสมกับสระ ลักษณะการออกเสียงและลักษณะของรูปปากจะเป็นไป

ตามลําดับดังนี้

รูปปากกับการออกเสียงพยัญชนะ       รูปปากกับการออกเสียงสระ

ตัวอย่าง  การออกเสียงคําว่า “มา”

         เม้มริมฝีปากบนเข้าหาริมฝีปากล่าง เป็นการออกเสียงพยัญชนะ “ม”

ดึงคางลงพร้อมอ้าปาก เป็นการออกเสียงสระ “อา” 

เมื่อทํารวมกันจะได้คําว่า “มา” เป็นต้น

          เมื่อเอาพยัญชนะต้นมาผสมกับสระ และตัวสะกด ลักษณะการออกเสียงและลักษณะของรูป

ปากจะเป็นไปตามลําดับดังนี้คือ

       รูปปากกับการออกเสียงพยัญชนะ รูปปากกับการออกเสียงสระรูปปากกับการออกเสียงพยัญชนะ

ตัวอย่าง                         การออกเสียงคําว่า “รัก”

                              “ร” ห่อลิ้น ห่อริมฝีปาก เป็นพยัญชนะ “ร”

                              ไม้หันอากาศ คือสระอะ

                             ออกเสียงเหมือน “อา” แต่ปิดตัวสะกดเร็วกว่าสระ อา

                             “ก” พยัญชนะ “ก” จุดตกกระทบของเสียงอยู่บนบริเวณฟันกราม ทั้งล่าง-บน เมื่อทําตามขั้นตอน

                             ก็จะได้คําว่า “รัก”

       จากตัวอย่างข้างต้นเป็นวิธีการออกเสียงคําแต่ละคํา และเมื่อนําคํามารวมกัน ก็จะเป็นประโยค หลายๆ ประโยคก็เป็นท่อนเพลง หลายๆ ท่อนเพลงก็จะได้ “เพลง”

       ถ้าเราสามารถออกเสียงคําแต่ละคําได้อย่างชัดเจน ก็จะหมดปัญหาหรือหมดอุปสรรคในการร้องเพลงในเรื่อง “คํา” แต่ถ้ายังมีคําๆใดที่เรายังรู้สึกลําบากในการออกเสียงอยู่ให้แยกคํานั้นออกเป็นพยัญชนะ + สระ + ตัวสะกด (ถ้ามี) แล้วค่อยๆ ออกเสียงที่ละส่วนเพื่อค้นหาว่า เรามีปัญหาในการออกเสียงคําๆ นั้นที่ใด ใด พยัญชนะต้น สระ หรือ ตัวสะกด แล้วให้แก้ไขตรงจุดนั้น ซึ่งจะช่วยให้สามารถออกเสียงคําๆ นั้น ได้ถูกต้องในที่สุด

เทคนิคการร้องประตูเวลา

      คํา แต่ละคํา จะมีระยะของคํา หรือ “ความยาว” ของคําไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับท่วงทํานองของเพลง (Melody) ระยะความยาวของคําแต่ละคํา เราเรียกว่า “GATE TIME”

ตัวอย่าง            คําว่า “นาน” ถ้าเราต้องร้อง คําว่า “นาน” ยาว 4 จังหวะ นั่นคือ

                   นาน

                   1.....2......3......4

                  วิธีการร้อง

                 นา.......................น

                 - ออกเสียง นา..........

                 - ปิดตัวสะกดที่จังหวะที่ 3

                 - ลากเสียง “น” .......ต่อไปถึงจังหวะที่ 4

                 - GATE TIME ของคํา “นาน” ในการร้องครั้งนี้ยาว 4 จังหวะ

       GATE TIME ของคําแต่ละคํา ขึ้นอยู่กับสระ และตัวสะกดของคําๆนั้น ในคําที่มีสระเสียงสั้น กับสระเสียงยาวต่างกัน ใน GATE TIME ที่เท่ากัน จะมีวิธีการออกเสียงต่างกัน เพื่อความเข้าใจ เราจะ แบ่งสระและตัวสะกดออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้

สระ แบ่งเป็น          - สระเสียงสั้น  เช่น  ะ อี อุ  เป็นต้น

                    - สระเสียงยาว เช่น อา อี อู เป็นต้น

ตัวสะกด แบ่งเป็น     - ตัวสะกดคําเป็น  เช่น น ม ง ย ว เป็นต้น

                        - ตัวสะกดคําตาย เช่น ก ข ค เป็นต้น

หมายเหตุ  คําเป็น คือพยัญชนะที่สามารถลากเสียงต่อ ที่เรียกว่า เสียง SUSTAIN (เสียงต่อเนื่อง) ได้ ส่วนคําตาย คือพยัญชนะที่ไม่สามารถลากเสียงต่อเนื่องได้ คือ ไม่มี SUSTAIN

การออกเสียง

การออกเสียงคําสามารถแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะคือ

1. คําที่ประกอบด้วย พยัญชนะต้น + สระเสียงสั้น + ตัวสะกดคําเป็น เช่น ฉัน

        วิธีการออกเสียง เราจะต้องปิดสระให้เร็วขึ้น เพราะเป็นสระเสียงสั้น และปิดตัวสะกด

เร็วขึ้น

         ตัวอย่าง ถ้าเราออกเสียง “ฉัน” มีความยาว 4 จังหวะ จะเป็นดังนี้

                    ฉ ะ น SUSTAIN จะได้คําว่า ฉัน” ชัดเจน

                   ถ้าออกเสียง ฉ า น SUSTAIN เสียงที่เกิดขึ้นจะไม่เป็นคําว่า “ฉัน”

                   แต่จะกลายเป็น “ฉาน” ซึ่งผิดความหมาย

2. คําที่ประกอบด้วย พยัญชนะต้น + สระเสียงสั้น + ตัวสะกด คําตาย เช่น รัก

        ตัวอย่าง ถ้าเราออกเสียง “รัก” ในความยาว 4 จังหวะ จะเป็นดังนี้

        วิธีที่ 1  ระ  ก  หยุด หยุด ปิดสระเสียงสั้นและตัวสะกด “ก” และ ปล่อยจังหวะที่เหลือให้ว่างไว้

    วิธีที่ 2  ระ ก   หยุด เพิ่มความยาวในการออกเสียง พยัญชนะต้น ให้ยาวขึ้นและปิดสระสั้น และรีบปิดตัวสะกดคําตาย “ก”

      วิธีที่ 3  ระ ก ฮัมมม ปิดคําว่ารักเลยแล้ว “ฮัม” (HUM) ต่อให้ครบ จังหวะ หรือครบความยาวของ GATE TIME นั้น

    วิธีที่ 4 ระ  ก เมื่อร้องด้วยวิธีนี้ “รัก” จะกลายเป็น ร้าก....ซึ่งผิดความหมาย

3. คําที่ประกอบด้วย พยัญชนะต้น + สระเสียงยาว + ตัวสะกดคําเป็น เช่น นาน ตัวอย่าง การออกเสียงคําว่า “นาน” มีความยาว 4 จังหวะ

       ตัวอย่าง   การออกเสียงคําว่า “นาน” มีความยาว 4 จังหวะ

       วิธีการออกเสียงจะเป็นดังนี้ นา.../.../น SUSTAIN ออกเสียง นา....ยาว 3 จังหวะ

               - ปิดตัวสะกดที่จังหวะ 3

              - ตัวสะกด “น” ลากเสียงต่อเนื่อง SUSTAIN

 4. คําที่ประกอบด้วย พยัญชนะต้น + สระเสียงยาว + ตัวสะกดคําตาย เช่น มาก

         ตัวอย่าง การออกเสียงคําว่า “มาก” มีความยาว 4 จังหวะ

                 วิธีการออกเสียงจะเป็นดังนี้ มา..../../...ก

                  - ออกเสียงมา...ยาว 4 จังหวะ

                 - ปิดตัวสะกด “ก” ที่จังหวะที่ 4

                   - เมื่อปิดตัวสะกดแล้ว ไม่มีการลากเสียง SUSTAIN

เทคนิคสําหรับการร้องเปิดค่าและปิดค่า

       เราจะเห็นว่าในการออกเสียงคําแต่ละคํา เราจําเป็นต้องวิเคราะห์ การออกเสียงคําๆ นั้นก่อนและ ต้องดู GATE TIME ของคําๆ นั้นอีกด้วย โดย GATE TIME ของคําจะเป็นตัวกําหนดเทคนิค หรือวิธีการใน การร้องเพลง เทคนิคหรือวิธีการในการร้องเพลง เราจะใช้ได้ 2 ลักษณะ คือ เทคนิคของการเปิดคํา (Open gate) และเทคนิคของการปิดคํา (Close gate)

OPEN GATE  คือ การเปิดประตูเข้าสู่คํานั้น หรือ เรียกว่า เทคนิคของการเปิดคํา

CLOSE GATE คือ การปิดประตูคํานั้น หรือ เทคนิคการปิดคํา

        เพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของการเปิดคํา (Open gate) หรือการปิด (Close gate) ให้

ผู้เรียนทํากิจกรรมดังต่อไปนี้

    เทคนิคของการเปิดคํา (OPEN GATE)

การเปิดคําคือการใช้เทคนิคในการร้องเพลง เพื่อเข้าสู่คําที่เราต้องการใส่เทคนิคนั้นอย่างน่าสนใจ และเป็นการช่วยเพิ่มอารมณ์ในการร้องเพลงอีกด้วย เช่น เพลง “เหนื่อยไหม” ก่อนเข้าคําว่า “เหนื่อย” เราจะได้ยินเสียงลมหายใจก่อนคําว่า “เหนื่อย” นั่นคือการใช้เทคนิคของลมหายใจก่อนเปิดคํา หรือ เรียกอีกอย่างว่าการใช้ลมหายใจในการเปิดคํา

     ถ้าจะแบ่งแยกเทคนิคการเปิดคําที่ใช้บ่อยในการร้องเพลง จะแบ่งได้ดังนี้

    1. การเปิดคําด้วยลมหายใจ คือการใช้ลมหายใจก่อนเข้าสู่คําที่ต้องการร้องนั้น การเปิดคําลักษณะนี้จะช่วยให้เพลงหรือคําๆ นั้นดูอ่อนหวานขึ้น หรือดูเศร้ามากขึ้น มักใช้ในเพลงช้า

    2. การเปิดคําด้วยการเพิ่ม note ในคําๆ นั้น เป็นการทําให้คําร้องคํานั้นมี note เพิ่มขึ้น เป็นการร้องจาก note นําไปยังอีก note หนึ่ง เรียกว่าเป็นภาษาชาวบ้าน ว่า “การไถคํา” เป็นการเพิ่มความยาวของพยัญชนะต้นของคําๆ นั้นให้มากขึ้น วิธีนี้มักใช้กับ ช้กับคําที่มีตัวสะกดเป็น คําตาย ใช้เพื่อเพิ่มความยาวของพยัญชนะต้น

   3. การเน้น (Accent) คือการให้น้ําหนักในการร้องในคําๆ นั้นให้มากกว่าคําอื่นๆ มัก พบบ่อยในเพลงจังหวะเร็ว สนุกสนาน การเน้นทําให้เพลงกระชับขึ้น รู้สึกสนุกสนานมากขึ้น

  4. การใช้เสียงในลําคอ ทําให้เสียงที่ออกมา ให้อารมณ์ความรู้สึกเจ็บปวดมากขึ้น เช่น เจ็บ ถ้าใช้เสียงในลําคอช่วยจะรู้สึกเจ็บมากกว่า ออกเสียง “เจ็บ” ธรรมดา

5. การเพิ่ม note รวมกันกับการใช้เสียงในลําคอ การเพิ่ม note หรือ ไถ่คําและใช้ เสียงในลําคอไปด้วย จะให้ความรู้สึกที่เศร้าและเจ็บปวดมากขึ้น

   การเปิดคําด้วยเทคนิคดังกล่าวข้างต้น เป็นเทคนิคการเปิดคําที่เราพบเห็นบ่อย ในการร้องเพลงทั่วๆไป เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นในการเรียนรู้เรื่องนี้เราอาจจะแบ่งเทคนิคเหล่านี้ในรูปแบบสัญลักษณ์ดังตารางด้านล่าง

ตาราง แสดงสัญลักษณ์ของเทคนิคการเปิดคํา

กิจกรรมที่ 3.8  ให้ผู้เรียนบันทึกสัญลักษณ์และฝึกเทคนิคการร้องเปิดคําด้วยเพลง “ช่างไม่รู้เลย”

               โดยให้ปฏิบัติดังนี้

               1) ฟังเพลง “ช่างไม่รู้เลย” 1 รอบ

  2) ฟังเพลง “ช่างไม่รู้เลย” อีก 1 รอบ พร้อมบันทึกสัญลักษณ์การร้องในส่วนของ
      การเปิดคําด้วยสัญลักษณ์ตามตารางแสดงเทคนิคการเปิดคํา

  3) เมื่อบันทึกสัญลักษณ์การเปิดคําบนเพลงเรียบร้อยแล้วให้ฝึกปฏิบัติตาม

     สัญลักษณ์ที่บันทึกอย่างช้าโดยการพูด จากนั้นให้ลองร้องโดยให้ใช้เทคนิค
                  การร้องเพลงเปิดคําตามสัญลักษณ์ที่บันทึกให้ครบถ้วน

กิจกรรมที่ 3.9  ให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติเช่นเดียวกับกิจกรรมที่ 3.9 แต่ให้ใช้เพลง “สิ่งสําคัญ” เป็นเพลงสําหรับฝึกปฏิบัติ

กิจกรรมที่ 3.10 ให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติเช่นเดียวกับกิจกรรมที่ 3.9 และ 3.10 แต่ให้ใช้เพลง “คนมันรัก” เป็นเพลงสําหรับฝึกปฏิบัติ

ตัวอย่างการบันทึกสัญลักษณ์ของเทคนิคการเปิดคํา

เพลง “ช่างไม่รู้เลย” (ศิลปิน : บอย พีซเมคเกอร์)

เพลง “สิ่งสําคัญ” (ศิลปิน : เอ็นโดฟิน)

เพลง “คนมันรัก” (ศิลปิน : ไอซ์ ศรันยู)

    เทคนิคการปิดคํา (CLOSE GATE)

การปิดคําคือการใช้เทคนิคการร้องเพลงเพื่อปิดคําที่เราต้องการร้องให้คํานั้นน่าสนใจ และมี อารมณ์ของคํามากยิ่งขึ้น รวมทั้งช่วยเพิ่มอารมณ์ในการร้องเพลงอีกด้วย เช่น เพลง “เปล่าหรอกนะ” ในประโยคสุดท้ายของก่อนแยกของเพลง “ให้กับฟ้ากับใบไม้” สังเกตคําว่า “ไม้” จะมีการยึดคําด้วยลม และเสียงนาสิก (Nasal) ซึ่งได้ยินเป็นเสียง “อี้” นั่นก็คือตัวอย่างเทคนิคการปิดคํา การจะใช้เทคนิคการปิดคํา เราต้องวิเคราะห์ก่อนว่า คํา ๆ นั้นมีความยาวเท่าใด หรือ Gate Time ของคํา ๆ นั้นเท่าใด เพราะเทคนิคการปิดคํา เราจะใช้ในจังหวะสุดท้ายของคําๆ นั้นเสมอๆ

เช่น ให้กับฟ้ากับใบไม้

ดังนั้นเทคนิคการปิดคํา จึงใส่ในจังหวะที่ดอกจันนี้ด้วย

ถ้าจะแบ่งแยกเทคนิคการปิดคําที่ใช้บ่อยในการร้องเพลง จะแบ่งได้ดังนี้

1. การปิดคําด้วยลมหายใจ คือการใช้ลมหายใจในการปิดคํา โดยที่จะใช้ลมหายใจที่จังหวะ สุดท้ายของคําที่ผู้ฝึกต้องการใช้เทคนิคนั้น วิธีการนี้จะทําให้เพลงฟังอ่อนหวาน เศร้าและเหงามากขึ้น

 2. การปิดคําด้วยการโค้งเสียงลง หาก note ตัวที่ต่ำกว่า หรือเรียกอีกอย่างว่า Sweap down การใช้วิธีนี้จะทําให้การลากเสียงสูงๆให้ฟังง่ายขึ้นเพราะเมื่อเราลากเสียงไป เราสามารถโค้งเสียงลงใน จังหวะสุดท้ายของคําได้ ทําให้ช่วยผ่อนคลายเวลาร้องเพลงได้มาก

3. การปิดคําด้วยเสียงในลําคอ การใช้เสียงในลําคอจะทําให้เพลงเกิดอารมณ์เศร้า เจ็บปวด

4. การปิดคําด้วยการโค้งเสียงลง + และเสียงในลําคอ วิธีนี้จะช่วยให้เพลงฟังนุ่มนวลขึ้น และให้อารมณ์เศร้าและเจ็บปวดมาก

5. การปิดคําด้วยการใช้ลูกคอ หรือ Vibration การปิดคําด้วยวิธีนี้จะเป็นวิธีเดียวที่เราไม่จําเป็น ต้องปิดคําในจังหวะสุดท้ายของคํา เช่น

การใช้ Vibration หรือลูกคอจะช่วยในตอนที่เราลากเสียงใน note เดียวนาน ๆ เพราะการลาก เสียงให้นิ่งจะยาวมาก แต่เมื่อเราใช้ Vibration หรือลูกคอมาช่วยจะทําให้เราลากเสียงได้อย่างไพเราะ และ ลดการเสี่ยงของการเกิดเสียงเพี้ยนหรือเสียงแกว่งได้มากการปิดคําด้วยเทคนิคดังกล่าวข้างต้นเป็นเทคนิคการปิดคําที่เราพบเห็นบ่อยในการร้องเพลง ทั่วๆไป เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นสําหรับการเรียนรู้ในเรื่องนี้ เราอาจพบเทคนิคเหล่านี้ในรูปของสัญลักษณ์ดังตารางข้างล่างนี้

ตารางแสดงเทคนิคการปิดคําพร้อมสัญลักษณ์

กิจกรรมที่ 3.11  ให้ผู้เรียนบันทึกสัญลักษณ์พร้อมฝึกการร้องปิดคําด้วยเพลง “ช่างไม่รู้เลย” โดยให้ปฏิบัติดังนี้

                 1) ฟังเพลง “ช่างไม่รู้เลย” 1 รอบ

                 2) ฟังเพลง “ช่างไม่รู้เลย” อีก 1 รอบ พร้อมบันทึกเทคนิคการร้องในส่วนของ การปิดคําด้วยสัญลักษณ์ตามตารางแสดงเทคนิคการปิดคํา

                3) เมื่อบันทึกสัญลักษณ์การปิดคําบนเพลงเรียบร้อยแล้วให้ฝึกปฏิบัติตาม สัญลักษณ์ที่บันทึกอย่างช้าๆ โดยการพูด จากนั้นลองร้องโดยใช้เทคนิคการ ร้องปิดคําตามสัญลักษณ์ที่บันทึกให้ครบถ้วน

กิจกรรมที่ 3.12  ให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติเช่นเดียวกับกิจกรรมที่ 3.12 แต่ให้ใช้เพลง “สิ่งสําคัญ” เป็น เพลงสําหรับฝึกปฏิบัติ

กิจกรรมที่ 3.13  ให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติเช่นเดียวกับกิจกรรมที่ 3.12 และ 3.13 แต่ให้ใช้เพลง “คนมันรัก” เป็นเพลงสําหรับฝึกปฏิบัติ

ตัวอย่าง การบันทึกสัญลักษณ์เทคนิคการปิดคํา

เพลง “ช่างไม่รู้เลย” (ศิลปิน : บอย พีซเมคเกอร์)

เพลง “สิ่งสําคัญ” (ศิลปิน : เอ็นโดฟิน)

เพลง “คนมันรัก” (ศิลปิน : ไอซ์ ศรันยู)

         สรุป-ข้อสังเกต

         เมื่อผู้เรียนได้รู้จักการใช้เทคนิคในการร้องเพลงทั้งเทคนิคของการเปิดคํา และเทคนิค ของการปิดคําแล้ว ก็จะสามารถสร้างเทคนิคการร้องเพลงที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองได้ โดยสามารถลองใส่เทคนิคทั้งเทคนิคการเปิดคํา และเทคนิคการปิดคํา ตามแบบที่คิดว่า เหมาะสมกับเพลงที่ตนเองจะร้อง นั่นคือผู้เรียนได้สร้างเทคนิคเฉพาะตัวสําหรับตนเองที่ไม่ เหมือนนักร้องต้นฉบับ (Original) วิธีการนี้คือ วิธีการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวในการเป็นนักร้อง แต่พึงจดจําไว้ว่า การใช้เทคนิคใดๆ ก็ตามไม่ควรใช้เทคนิคแบบเดียวกันซ้ำ กันหรือติดๆกัน เพราะ จะทําให้ลักษณะเพลงที่ขับร้องน่าเบื่อและไม่น่าฟัง การใช้เทคนิคเดียวกันซ้ำๆกันในคําที่อยู่ติดกันจะทําให้อารมณ์ของเพลงเปลี่ยนไปมากและเป็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ไม่ดี

ตัวอย่าง    ถ้าผู้เรียนร้องเพลง

               “นี่ คือ สิ่งสําคัญ ที่ เรา ยัง อยู่ ด้วย กัน”

               แล้วให้ผู้เรียนใช้เทคนิคการไถคํา ซึ่งเป็นเทคนิคของการเปิดคํา ซ้ำ ๆ กันดังตัวอย่าง เมื่อนํามาขับร้องเพลง

             “สิ่งสําคัญ” จะพบว่าเพลงนี้กลายเป็นเพลงที่ยืดยาด ไม่น่า ฟัง และไร้อารมณ์อย่างสิ้นเชิง

    ดังนั้น จึงจําเป็นมากที่ผู้ฝึกต้องเลือกใช้เทคนิคการร้องเพลง ทั้งเทคนิคการเปิดคํา และเทคนิค การปิดคําให้เหมาะสมกับเพลง ซึ่งผู้เรียนจะได้ทักษะเพิ่มเติมจากการฝึกปฏิบัติในกิจกรรมต่อไปนี้

กิจกรรมที่ 3.14  เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น จที่มากขึ้น ให้ผู้เรียนลองฟังเพลงสิ่งสําคัญอีกครั้ง แล้วให้บันทึกการใช้เทคนิคการ

                  ร้องเพลงของนักร้องต้นฉบับ (original) คือ เอ็นโดรฟิน โดยให้ บันทึกสัญลักษณ์ทั้งเทคนิคการเปิดคําและ

                  เทคนิคการปิดคําอย่างละเอียด โดยให้ บันทึกสัญลักษณ์เทคนิคการเปิดคําด้วยปากกาสีน้ำเงินและบันทึก

                 สัญญลักษณ์เทคนิคการปิดคําด้วยปากกาสีแดง

                       เมื่อบันทึกสัญลักษณ์เรียบร้อยแล้ว ให้ผู้เรียนศึกษาวิธีการใช้เทคนิคของนัก ร้องต้นฉบับ ซึ่งจะพบว่า การ

               ใช้เทคนิคซ้ำกันในคําที่ติดกันนั้นเป็นไปได้ยากมาก จากนั้นให้นักศึกษาฝึกร้องตาม เทคนิคของนักร้องต้นฉบับ

               ดังนี้

1. ร้องโดยไม่มีนักร้องต้นฉบับ (ไม่มีดนตรี)

2. ร้องไปพร้อม ๆ กับนักร้องต้นฉบับ (พร้อมดนตรี)

3. ร้องโดยไม่มีนักร้องต้นฉบับ (ร้องกับดนตรี Backing Track)

ข้อเสนอแนะ

ผู้เรียนอาจฟังหลายๆรอบ โดยในช่วงแรกอาจค้นหาและบันทึกสัญลักษณ์ของเทคนิคการ เปิดคําก่อนจนคิดว่าครบแล้ว จึงค้นหาและบันทึกสัญลักษณ์ของเทคนิคการร้องปิดคํา

     จากเนื้อหาและกิจกรรมที่ผ่านมาทั้งหมดเราจะพบว่าการร้องเพลงไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าเราเข้าใจความหมาย และวิธีการร้องเพลงที่ถูกต้อง นั่นก็คือเราต้องเข้าใจว่าหลักการสําคัญของการร้องเพลง แบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

     1. ร้องให้ถูกต้องตามทํานอง การร้องให้ถูกต้องตามทํานอง คือการที่ผู้ร้องต้องมีโสตประสาท ในการรับฟังที่ดี การจะมีโสตประสาทในการรับฟังที่ดีนั้น เราต้องหมั่นฝึกฝน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การฝึกฝนกับเครื่องดนตรีที่ได้มาตรฐาน เช่น เปียโน (piano) หรือ คีย์บอร์ด (Key board) โดยการฝึกเรา จะต้องฝึกโดยการเทียบเสียงที่ได้ยินกับเสียงร้องของเรา ให้กลมกลืนกัน ไม่เพี้ยนและไม่ขัดแย้งกัน

ภาพ แสดงคีย์บอร์ดเพื่อเทียบเสียง 

      โดยฝึกกด noteนี้ แล้วให้ฝึกฮัม (Hum) เพื่อหาเสียงที่ตรงกันก่อน จากนั้นจึงเปล่งเสียง “ลา”ออกมาให้ตรงกับเสียงฮัม (Hum) ของตัวเราเอง

       2. ร้องให้ถูกจังหวะ เราได้เรียนรู้เรื่องจังหวะกับการร้องเพลงไปแล้วในหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 วิธี การง่ายๆ ที่เราจะมีจังหวะ ะมีจังหวะที่ดีคือ เมื่อเราได้ยินเพลงใดๆ ก็ตามให้ฝึกตบจังหวะให้ได้ โดยการตบมือเป็น จังหวะนั้นแบ่งเป็น 2 แบบ คือ

        - ตบมือให้ตรงจังหวะ ซึ่งเป็นจังหวะหลักของเพลง

        - ตบมือตามจังหวะของทํานองเพลง เหมือนกับการใช้เสียงตบมือแทนเสียงร้องนั่นเอง

      3. ออกเสียงคําร้องให้ถูกต้อง หากเราสามารถออกเสียงคําร้องให้ถูกต้องตามอักขระที่ชัดเจน ก็เป็นเรื่องง่ายที่จะสร้างอารมณ์กับคํา หรือใส่เทคนิคการร้องทั้งเทคนิคการเปิดคําและเทคนิคการปิดคํา ในคํา ๆ นั้น

     การจะเป็นนักร้องที่ดีจะต้องเป็นนักฟังที่ดีด้วย นั่นหมายความว่าเราจะต้องเปิดกว้างที่จะรับฟัง เพลงทุกประเภท รวมทั้งเปิดกว้างที่จะฟังวิธีการร้องทุกๆ รูปแบบ การเป็นนักฟังที่ดีจะช่วยให้เกิดการพัฒนาทักษะในการร้องเพลงอย่างดียิ่ง

      นอกจากการเป็น “นักฟัง” ที่ดีแล้ว นักร้องยังต้องเป็น “นักเลียนแบบ” ที่ดีอีกด้วย เราคงสงสัย ว่าทําไมต้องเลียนแบบ เพราะการเลียนแบบ คือช่องทางของการเรียนรู้เทคนิคการร้องเพลงในแบบต่าง ๆได้รวดเร็วและเข้าใจง่ายที่สุด เมื่อเกิดการเลียนแบบนั่นคือเรากําลังเรียนรู้ และเมื่อเราสามารถเรียนรู้ และปฏิบัติตามได้อย่างชํานาญ เมื่อนั้นเราก็จะสามารถใช้เทคนิคการร้องเพลงแบบต่าง ๆได้ตามใจ ปรารถนา เมื่อถึงตอนนั้น เราจะเป็นนักร้องที่มีเอกลักษณ์การร้องที่เฉพาะตัวและไม่เหมือนใคร ดังนั้น เคล็ดลับง่าย ๆ ของการเป็นนักร้องที่ดี คือการเป็นนักฟังที่ดีและการเป็นนักเลียนแบบที่ดี ซึ่งนั่นก็คือ หมั่นฝึกฝนและเปิดกว้างกับเพลงทุกประเภท และเมื่อเราเปิดกว้างในการรับฟังและการฝึกร้องเพลงทุก ประเภท เราก็จะพบว่าตัวเองมีความถนัด หรือความสนใจเพลงประเภทไหนเป็นพิเศษ และนั่นก็คือ การค้นพบตัวตนของตัวเราเอง

กิจกรรมที่ 3.15  ให้ผู้เรียนฝึกเทคนิคการหายใจ โดยให้ปฏิบัติดังนี้

                1) ฝึกถอนหายใจ ฮา...

                2) ฝึกถอนหายใจ ฮา... พร้อมออกเสียงคําว่า “เหนื่อย”

                โดยค่อยๆ ฝึกตามขั้นตอนดังนี้

       หมายเหตุ “ฮา” คือเสียงของการถอนหายใจ

กิจกรรมที่ 3.16  ให้ผู้เรียนฝึกเทคนิคการใช้เสียงในลําคอโดยให้กระแอม เมื่อกระแอม ผู้เรียนจะพบ ว่า ภายในลําคอเกิดการ

                   สั่นสะเทือนนั่นคือวิธีเดียวกับการออกเสียงในลําคอ โดย ฝึกตามขั้นตอนดังนี้

                  1) กระแอม 1 จังหวะ

                  2) กระแอม (แต่ลากเสียงยาว 2 จังหวะ)

                  3) กระแอม (แต่ลากเสียงยาว 3 จังหวะ)

                  4) ป เปลี่ยนจากการกระแอม มาเป็นคําว่า “ปวด” แล้วปฏิบัติข้อ 1-3 อีกครั้ง

กิจกรรมที่ 3.17  ให้ผู้เรียนฝึกเทคนิคการใช้ลูกคอ (Vibration) กับเปียโน (Piano) หรือ คีย์บอร์ด (Keyboard) โดยให้ฝึกออก

                 เสียง มี-ฟา สลับกันดังนี้ มี ฟา มี ฟา มี ฟา โดยมี ขั้นตอนการฝึกดังนี้

                 1) ให้เริ่มฝึกจากการออกเสียง โน้ต (Note) ทั้ง 2 ตัวอย่างช้าๆ

                 2) ให้ฝึกออกเสียง มี - ฟา เร็วขึ้น

                 3) ให้ฝึกออกเสียง มี - ฟา เร็วขึ้นอีก

                 หมายเหตุ

·       การออกเสียงให้ใช้ลมหายใจเดียว

·       การออกเสียงให้เปล่งเสีย “อา” แทนการร้อง เป็นโน้ตว่า มี – ฟา

·       เมื่อผู้ฝึกออกเสียงโน๊ต (Note) ทั้ง 2 ตัวเร็วขึ้นพยามให้ความถี่สม่ําเสมอ นั่น ก็คือ การ สร้างลูกคอ (Vibration) อย่างมีคุณภาพให้ผู้เรียนบันทึกผล การฝึกฝนเทคนิคการใช้ลูกคอในการร้องเพลง เป็น เวลา 10 วัน โดยให้ ผู้เรียนเปล่งเสียงยาว ไม่ต่ำกว่า 15 วินาที

ภาพ แสดงคีย์บอร์ดที่โน้ต มี และ ฟา 

กิจกรรมที่ 3.18  ให้ผู้เรียนเลือกเพลงอะไรก็ได้ที่ถนัดแต่ให้เป็นเพลงที่มีอารมณ์ความรู้สึกเป็นลบ แล้ว

                  ให้ใส่สัญลักษณ์เทคนิคการร้องเพลง ทั้งเทคนิคการเปิดคําและเทคนิคการปิดคํา ให้เป็นตัวของตัวเองให้มาก            

                 ที่สุด โดยให้ปฏิบัติดังนี้

                 1) เขียนเนื้อเพลง

                        2) ใส่สัญลักษณ์การใช้เทคนิคเปิดคําและเทคนิคการปิดคํา

                        3) ร้องตามเทคนิคที่ตัวเองบันทึก อัดเสียง แล้วลองฟังดูว่าใช้เทคนิคได้ครบ ตามที่ตั้งใจไว้หรือไม่ สําหรับ 1) และ 2) ให้ผู้เรียนบันทึกลงในบันทึก  
                            กิจกรรมการเรียนรู้ในคู่มือการเรียน

 กิจกรรมที่ 3.19  ให้ผู้เรียนเลือกเพลงอะไรก็ได้ที่ถนัด แต่ให้เป็นเพลงที่มีอารมณ์ความรู้สึก บวก แล้วให้ฝึกปฏิบัติเช่นเดียวกับ

                   กิจกรรมที่ 3.18

กิจกรรมที่ 3.20  ให้ผู้เรียนหาเพลงอะไรก็ได้ที่ถนัด แต่ให้เป็นเพลงที่มีอารมณ์ความรู้สึก เป็นเพลงช้า แล้วให้ฝึกปฏิบัติ

                 เช่นเดียวกับกิจกรรมที่ 3.18 และ 3.19

กิจกรรมที่ 3.21  ให้ผู้เรียนหาเพลงอะไรก็ได้ที่ถนัดแต่ให้เป็นเพลงที่มีอารมณ์ความรู้สึก เป็นเพลงเร็วแล้วให้ฝึกปฏิบัติ

                เช่นเดียวกับกิจกรรมที่ 3.19 - 3.20

        ข้อเสนอแนะ

        การเลือกเพลงที่ใช้ฝึกควรเลือกเพลงที่ชอบ ไม่ยากเกินความสามารถของตนเอง คือมี ความกว้างของเสียง (Range) ที่เหมาะสมกับตัวเอง และควรเลือกเพลงของนักร้องที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ผู้ฝึกอาจลองเปลี่ยนเทคการเปิด ปิดคําในเพลงเดียวกันเพื่อหาความหลากหลาย และควรวิเคราะห์ว่าเทคนิคใดเป็นเทคนิคที่ตัวเองถนัดเพื่อหาแนวการร้องเฉพาะของตนเอง