การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองเด็กปฐมวัย

ตอนที่ 1 ความสําคัญและการทํางานของสมองของเด็กปฐมวัย


 เรื่องที่ 1 ความสําคัญของสมอง

สมองเป็นอวัยวะสําคัญของมนุษย์ การที่มนุษย์จะสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ นั้น ต้องอาศัยสมองและระบบประสาทเป็นพื้นฐานของการรับรู้ (Perception) รับความรู้สึก จากอวัยวะรับความรู้สึก คือ การเห็น การได้ยิน การสัมผัส การรับรสและการได้กลิ่น การพัฒนาการสมองเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับเด็กปฐมวัย เพราะในวัยนี้เป็นวัยของการพัฒนาสมองอย่างรวดเร็ว สมองของแต่ละคนประกอบไปด้วยเซลล์สมองประมาณ 1 แสนล้านเซลล์ สมองจึงมีความสําคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนาการแบบบูรณา การของเด็กปฐมวัยทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ พัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เป็นการพัฒนาระบบประสาทแห่งการเรียนให้มีประสิทธิ ภาพสูงสุดตามศักยภาพของเด็กแต่ละคน นั่นคือการเสริมสร้างสมองโดยดูความ

พร้อมของเด็กเป็นหลัก ศักยภาพของเด็กเป็นลักษณะความสามารถซึ่งฝังตัวอย่าง เงียบๆ เพื่อรอโอกาสในการพัฒนา เน้นความสามารถในด้านนั้นๆ โดยต้องมีโอกาส ที่เหมาะสมในการเรียนรู้เพื่อแสดงพัฒนาการด้านนั้นออกมา มิฉะนั้นจะสลายไปเหมือนไม่มีอะไรเลย

สมองมีวิวัฒนาการโดยมีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของโครงสร้างทางกายภาพของสมองกับการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยการศึกษาของแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและนักจิตวิทยาพัฒนาการของเด็ก ได้ทําการวิจัยครั้งแล้ว ครั้งเล่า และเชื่อว่าสมองของมนุษย์มีวิวัฒนาการในการเจริญเติบโต สอดคล้องกับ พอล มาคลีน ได้แบ่งสมองตามระดับความคิดได้เป็น 3 ส่วน คือ


1. สมองส่วนหลัง Hindbrain หรือสมองส่วนพื้นฐาน ที่เรียกว่าก้านสมอง (The Brain Stem)

หรือสมองส่วนดึกดําบรรพ์ จะมีลักษณะเช่นเดียวกับสัตว์มี กระดูกสันหลังขั้นต้นทั้งหลาย โดยจะควบคุมสัญชาตญาณการอยู่รอดของชีวิต เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ก้านสมองหรือสมองเพื่อความอยู่รอด เป็นสมองส่วนแรกที่จะ พัฒนาการในช่วงชีวิตของการปฏิสนธิ เป็นสมองสําหรับคิดเพื่อการอยู่รอดเท่านั้น มิได้มีไว้เพื่อคิดเรื่องที่ซับซ้อน โดยจะควบคุมการหายใจ การไหลเวียนของโลหิต การย่อยอาหาร เป็นต้น ซึ่งจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ การทํางานของสมองส่วนนี้จะเพื่อ ความอยู่รอดไม่อาศัยความคิด สมองด้านนี้จะพบอยู่ในปลาและสัตว์เลื้อยคลาน ต่างๆ แต่ในคนสมองส่วนนี้ ได้แก่ ก้านสมองและไขสันหลัง ซึ่งมีวิวัฒนาการมา ตั้งแต่ 300 ล้านปีที่แล้ว เป็นปฏิกิริยาของก้านสมองกับไขสันหลัง เรียกว่า ปฏิกิริยา สะท้อนกลับ (Reflex) ประสาทส่วนนี้จะควบคุมการทํางานขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับประสาทสัมผัสการสั่งงานในกล้ามเนื้อตั้งแต่เด็กแรกเกิดแล้วค่อยๆ มีพัฒนาการสลับ ซับซ้อนขึ้นตามลําดับอายุของเด็ก สามารถอธิบายได้ง่ายๆ คือ ก้านสมองเป็นนาย ของสมองนั่นเอง ทําหน้าที่ประสานการเคลื่อนไหว และสนับสนุนการทรงตัวระหว่าง เคลื่อนที่ จะควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจ ตัวอย่าง เช่น เมื่อเรา กําลังข้ามถนน ขณะนั้นเราเห็นรถบรรทุกคันใหญ่กําลังแล่นอย่างรวดเร็วในทิศทางที่ จะพุ่งเข้าชนเรา แทนที่สมองจะใช้สมองส่วนความคิดที่มีระดับความคิดซับซ้อน เช่น ความคิดเกี่ยวกับขนาด รูปร่าง สีสัน ของรถคันนั้น ก้านสมองจะใช้ความคิดถึง ความอยู่รอด จึงสั่งให้เราวิ่งหนีทันทีเพื่อความปลอดภัย

2. สมองส่วนกลาง (Midbrain) เป็นส่วนของสมองชั้นใน (The Limbic Brain) คือ สมองชั้นในอยู่ระหว่างสมองชั้นนอกและก้านสมอง เป็นสมองส่วนที่เกี่ยวกับ อารมณ์ ความรู้สึก จะพบในสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมชั้นสูงเท่านั้น เป็นสมองส่วนที่ สลับซับซ้อนมากขึ้น เป็นส่วนที่ก่อให้เกิดความจําทั้งระยะสั้นและ งั้นและระยะยาว ซึ่งเป็น ความสําคัญของการอยู่รอดที่เรียกว่าสัญชาตญาณ (Instinct) เป็นส่วนที่มีการทํางาน

สําหรับคําสั่งที่ซับซ้อนขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง เป็นส่วนของสมองที่พัฒนา เมื่อประมาณ 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคสิ้นสุดยุคไดโนเสาร์ สมองชั้นในนี้จะทําหน้าที่รักษาสมดุล ของร่างกายควบคุมระบบการรับฟังการมองเห็นและการเดิน ควบคุมการรับประทาน การนอนหลับ ระดับฮอร์โมนในร่างกายและอารมณ์ ความรู้สึก ดังนั้น สมองชั้นใน เช่น การเป็นเหตุเป็นผลหรือ ตรรกศาสตร์ สมองส่วนนี้จะมีส่วนควบคุมคุณธรรมจริยธรรมและอารมณ์ (EQ) ของ บุคคลซึ่งเป็นส่วนสําคัญของการพัฒนาสมองของเด็กปฐมวัย (ความละเอียดในบทจะรับคําสั่งเฉพาะระดับที่มีความซับซ้อนมากขึ้นส่งท้าย) แต่ต้องทํางานร่วมกับสมองทั้ง

3. สมองส่วนหน้า (Forebrain) หรือสมองชั้นนอก (The Neocortex) เป็น สมองส่วนที่ทําหน้าที่สูงสุดในบรรดาสมองทั้งหมด มีขนาดใหญ่กว่าสมองทั้ง 2 ส่วน ถึง 5 เท่า เป็นศูนย์รวมเกี่ยวกับความฉลาดความคิดสร้างสรรค์ การคํานวณ ความคิดที่ลึกซึ้ง ด้านปรัชญา และศาสนา 2 ส่วนด้วย ลักษณะของสมองส่วนนี้จะมีความหนามีรอยจีบพับปูนจีบย่นลึกๆ เพื่อ เพิ่มพูนปริมาณและเนื้อที่ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสายใยรับข้อมูล (เดนไดรท์ Dendrites) การประสานเชื่อมใยสมอง (Brain connection) จะเกิดจุดเชื่อม (ไซแนปส์ Synapses) เพิ่มขึ้น ความสามารถของสมองระดับนี้เพิ่งจะมีวิวัฒนาการเมื่อไม่ถึง ห้าแสนปีมานี้เอง ทําให้มนุษย์สามารถอยู่รอดได้ด้วยการเรียนรู้ ต่างจากสัตว์ที่มีชีวิต อยู่ได้ด้วยสมองระดับที่ 1 และที่ 2 เท่านั้น

จากการพัฒนาของสมองที่มีวิวัฒนาการตามลําดับที่กล่าวมานี่เองที่ทําให้มนุษย์มีขีดความสามารถของสมองสูงกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในโลกนี้ และสมองระดับนี้จะเป็นส่วนทําให้มนุษย์เกิดอารยธรรม

สมองส่วนนี้จะเป็นสมองระดับสูงสุดในการจัดลําดับความซับซ้อนของสมองเกี่ยวกับการอ่าน การวางแผน การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการตัดสินใจ เป็น สมองส่วนที่ใช้ในการศึกษาหาความรู้ เปรียบเสมือนกับคลังเก็บข้อมูลที่เราสามารถนํา ความรู้มาใช้ในการคิดสิ่งต่างๆ 


เรื่องที่ 2 สมองและการทํางานของสมอง

  จากที่ได้กล่าวมาแล้ว สมองเป็นส่วนสําคัญ เราจึงควรรู้จักสมองและการ ทํางานของสมองดังนี้

สมองมีโครงสร้างที่ซับซ้อนที่สุดในโลก สมองแต่ละคนจะมีเซลล์สมองถึงแสนล้านเซลส์ สมองของเด็กจะถูกสร้างและพัฒนาขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยผ่าน ทางการรับประทานอาหารของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ ดังนั้น อาหารในช่วงเวลา ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องสําคัญ สมองต้องการสารอาหารที่หลากหลายครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อช่วยในการพัฒนาสมอง เช่น แคลเซียมช่วยทําให้ระบบประสาทดีมีการทํางานปกติ มีมากใน ผลิตภัณฑ์จากนม ปลาซาร์ดีน ปลาเล็กปลาน้อย ผักใบเขียว 

โฟเลท

ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการแบ่งตัวของเซลล์สมอง และช่วยจัดโครงสร้างของเซลล์สมอง มีมากในผักใบเขียวทุกชนิด เห็ด ตับ ข้าวซ้อมมือ กล้วยน้ําว้า ขนมปังโฮลวีท

เหล็ก

มีความสําคัญกับเชาวน์ปัญญา เพราะเป็นส่วนประกอบสําคัญของเอนไซม์หลายชนิดในสมอง มีมากในเนื้อสัตว์ ตับ เครื่องใน และเลือดสัตว์

ไอโอดีน

จะช่วยพัฒนาระบบประสาท พบมากในกุ้ง หอย ปลา ปลาหมึก สาหร่ายทะเล ผลิตภัณฑ์ที่มาจาก ทะเลทุกชนิด

กรดไขมันโอเมก้า 3

ช่วยพัฒนาเซลล์สมอง มีมากในปลาทะเล เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาจะละเม็ด ปลาสําลี และปลาน้ําจืด เช่น ปลาช่อน และในน้ํามัน ดอกทานตะวัน น้ํามันจากถั่วเหลือง

สมองของเด็กแรกเกิดมีระบบประสาทที่พัฒนามากเซลล์ประสาทเกือบทั้งหมดรวมกันอยู่ที่ส่วนหัว มีขนาดใหญ่และเจริญมาก พัฒนาไปเป็นสมอง (brain) และไขสันหลัง (nerve cord) เป็นศูนย์กลางของระบบแล้วมีเส้นประสาทแยกออก จากสมองและไขสันหลัง

ในระยะเป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์มารดา สมองจะมีลักษณะเป็นหลอดกลวง เรียกว่า นิวรัลทิวบ์ ที่โป่งออก แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง และสมองส่วนหลัง เพื่อพัฒนาไปเป็นสมองส่วนต่างๆ



เมื่อแรกเกิด สมองมีน้ําหนักประมาณ 1 ปอนด์ จะมีจํานวนเซลล์สมอง ประมาณหนึ่งแสนล้านเซลล์

สมอง อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ ทําหน้าที่ห่อหุ้มป้องกันสมองจากสิ่งแวดล้อม ภายนอกโดยเฉลี่ยสมองของคนหนักประมาณ 1.4 กิโลกรัม เซลล์ประสาทมากกว่า ร้อยละ 90 ของเซลล์ประสาททั้งหมดอยู่ภายในสมอง ถ้าสมองขาดออกซิเจนติดต่อ กันนาน 3-5 นาที เซลล์ประสาทในสมองจะตาย

สมองของคนและสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูง มีส่วนนอกเป็นเนื้อสีเทา (grey matter) ส่วนนี้มีตัวเซลล์ประสาทและแอกซอนที่ไม่มีเยื่อไมอีลิน ส่วนในของสมอง หลายแห่งมีเนื้อสีขาว (white matter) เนื่องจากมีแอกซอนที่มีเยื่อไมอีลินซึ่งเป็นสาร พวกลิพิดเป็นองค์ประกอบอยู่จํานวนมาก

สัตว์ที่มีพัฒนาการดีจะมีการเพิ่มรอยหยักบนสมอง พบว่าสัตว์ที่มีรอยหยักมากจะมีความสามารถในการเรียนรู้สูง และยังพบว่าสัตว์ที่มีอัตราส่วนระหว่างน้ําหนัก สมองต่อน้ําหนักตัวมากจะเรียนรู้ได้ดี สมองของคนนับว่ามีพัฒนาการสูงสุด เพราะ มีขนาดใหญ่มีอัตราส่วนระหว่างน้ําหนักสมองต่อน้ําหนักตัวสูง และมีรอยหยักบน สมองมากกว่าสัตว์อื่นๆ ในสมองจะมีเยื่อหุ้ม 3 ชั้น คือชั้นนอกสุด มีลักษณะหนา เหนียว และแข็งแรง อยู่ติดกับกะโหลกศีรษะ ทําหน้าที่ห่อหุ้มป้องกันการกระทบ กระเทือนแก่สมองและไขสันหลัง ชั้นกลางเป็นเยื่อบางๆ ชั้นในสุด เป็นชั้นที่มีหลอดเลือดมาหล่อเลี้ยง เยื่อชั้นนี้จะแนบสนิทไปตามรอยโค้งเว้าของสมองและไขสันหลังทําหน้าที่นําอาหารและออกซิเจนมาเลี้ยงสมองและไขสันหลัง

ระหว่างเยื่อหุ้มสมองชั้นกลางและชั้นใน มีช่องค่อนข้างใหญ่ ภายในเป็นที่อยู่ ของน้ําเลี้ยงสมองและไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) ซึ่งช่องนี้มีทางติดต่อกับช่อง

ภายในไขสันหลังและโพรงภายในสมอง น้ําเลี้ยงสมองและไขสันหลังทําหน้าที่นําอาหารและออกซิเจนมาหล่อเลี้ยงเซลล์ประสาทและนําของเสียออกจากเซลล์

สมองของคนแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ

1. สมองส่วนหลัง คือ ซีรีเบลลัม พอนส์ เมดัลลาออบลองกาดา และเรติคิวลา รวมเรียกว่า ก้านสมอง

2. สมองส่วนกลาง ยาวประมาณ 1 นิ้ว มีรอยหยักมากมาย ควบคุมการ เคลื่อนไหวของตาและขนาดรูม่านตาควบคุมกิริยาสะท้อน (reflex)

3. สมองส่วนหน้า ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่สําคัญ 3 ส่วน ได้แก่ ทาลามัส อยู่เหนือสมองส่วนกลางเป็นสถานีศูนย์รวมกระแสประสาทเพื่อให้ได้ยิน ตีความ ระบบลิมบิก ซึ่งมีส่วนประกอบคือ ไฮโปทาลามัส อามิกดาลา ส่วนสุดท้าย คือ ซีรีบรัม เป็นส่วนที่ควบคุมพฤติกรรมต่างๆ เป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดอยู่บนสุดของ สมองขนาดประมาณ 2 ใน 3 ของสมองทั้งหมดแบ่งออกเป็นซีกซ้าย และขวาเชื่อมโยง ด้วยใยเหนียวและเส้นประสาท เรียกว่า คอร์พัส โคลอสซัม ผิวซีรีเบลลัมรอบนอกมี สีเทาเรียกว่า คอร์เทกซ์ (Cortex) มีลักษณะจีบย่นเป็นร่องลึก


สมองส่วนหลังแผนภาพแสดงสมองส่วนต่างๆ ของคนจากด้านต่างๆสมองส่วนหลังและสมองส่วนกลางทําหน้าที่ควบคุมระบบที่เกิดขึ้นกับร่างกาย โดยไม่รู้ตัว ข่าวสารทั้งหมดจะเข้ามาที่สมองส่วนหลังโดยผ่านทางก้านสมองถ่ายทอดไปยังทาลามัสที่อยู่ในโครงสร้างสมองส่วนหน้าขึ้นไป ก้านสมองจะควบคุมดูแล ภายในและการตื่นตัวอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจและการหายใจ ในส่วนล่างสุดที่เรียกว่าซีรีเบลลัมจะควบคุมการเคลื่อนไหว การทรงตัว และการ รักษาสมดุล เก็บความจําที่เป็นกระบวนการขั้นตอนการทํางานต่างๆ รวมทั้งทํา หน้าที่เกี่ยวกับความจําอัตโนมัติ เช่น วิธีการกระโดดเชือก วิธีการว่ายน้ำ ซึ่งจะถูกบันทึก เก็บไว้เป็นความจํา และยังบันทึกความทรงจำของการเรียนรู้ในแบบต่างๆ ที่กลาย เป็นอัตโนมัติในเวลาต่อมา เช่น คําตรงกันข้ามกับคําว่าขาวคือดำ ในทันทีโดยไม่ต้องคิดสมองส่วนหน้าเป็นส่วนสําคัญที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำและการเรียนรู้ โดย การเกิดจะขึ้นอยู่กับอารมณ์ ความรู้สึก สภาพร่างกาย และสภาพสติปัญญาในขณะนั้น

เมื่อแรกเกิดสมองมีน้ําหนักประมาณ 1 ปอนด์ จะมีจํานวนเซลล์สมองประมาณหนึ่งแสนล้านเซลล์

มีสายใยประสาทเชื่อมโยงถึงกันบ้างแต่ไม่มากมายนักประมาณ 20% เมื่อหลังคลอดโครงสร้างพื้นฐานของสมองที่จําเป็นกับชีวิตเกิดขึ้นเรียบร้อยแล้ว เช่น การควบคุมการหายใจ การเต้นของหัวใจ ปฏิกิริยาโต้ตอบ อัตโนมัติ (Reflex) การควบคุมการร้องไห้ 


ในวัยเด็กที่กําลังเจริญเติบโต จํานวนเซลล์สมองไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่จะขยายตัว และเพิ่มสายใยประสาทเพื่อเชื่อมระหว่างเซลล์ ทําให้เกิดการเรียนรู้และส่งผ่านข้อมูล เกิดการสั่งสมถึงกันได้สามารถสร้างใยประสาทได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ การเกิดใยประสาทจะเกิดขึ้นมากน้อยหรือไม่เกิดขึ้นเลยขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ได้รับโดยการกระตุ้น จากสิ่งแวดล้อม อาหารที่เหมาะสม ยิ่งถูกกระตุ้นใช้บ่อยๆ ใยประสาทก็จะยิ่งแข็งแรง และเพิ่มจํานวนมากยิ่งขึ้น นี่เองเป็นสิ่งสําคัญที่พ่อแม่ และผู้เลี้ยงดูเด็ก ต้องเข้าใจและส่งเสริมให้เด็กเกิดการพัฒนาสมองให้มากที่สุด

โดยสมองจะเกิดการเรียนรู้ได้เมื่อเซลล์สมอง 2 ตัว ส่งผ่านข้อมูลติดต่อ ซึ่งกันและกัน โดยข้อมูลจะส่งจากเซลล์สมองตัวส่งผ่านทางสายใยส่งข้อมูลแอกซอน (Axon) ไปยังสายใยรับข้อมูลเดนไดรท์ (dendrites) ของเซลล์ประสาทตัวรับ โดยจะ มีจุดเชื่อมไซแนปส์ (Synapes) ระหว่างกัน เมื่อมีข้อมูลผ่านบ่อยๆ ก็จะทําให้จุดเชื่อม นี้แข็งแรง

เซลล์สมองมีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ

1. ตัวเซลล์สมอง (Cell body)

2. ใยประสาท (nerve fiber) แบ่งออกเป็น

- สายใยประสาทรับข้อมูล (dendrite)

- สายใยประสาทส่งข้อมูล (Axon) และ Myelin

ตัวเซลล์สมองจะมีส่วนสําคัญ คือ ไซโตพลาสซึม และนิวเคลียส มีเส้น ผ่าศูนย์กลางประมาณ 4-25 ไมโครเมตร และส่วนที่ยื่นออกจากตัวเซลล์ เรียกว่า ใยประสาท จะเป็นลักษณะเป็นแขนงเล็กๆ

แบ่งออกเป็น 2 พวก คือ

-. สายใยประสาทรับข้อมูล จะนำกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์

-. สายใยประสาทส่งข้อมูล จะนำกระแสประสาทออกจากตัวเซลล์

ในเซลล์ประสาทนี้จะมีสายประสาทส่งข้อมูลเพียงใยเดียว แต่สายใยประสาทรับข้อมูลได้หลายใย

ในเส้นใยประสาทแอกซอนที่มีความยาวมากๆ จะมีเยื่อไมอีลิน (Myelin sheath) ทําหน้าที่เป็นฉนวนไฟฟ้าหุ้ม มีลักษณะเป็นปล้องๆ ต่อกัน เพื่อให้ข้อมูล สามารถส่งผ่านได้อย่างรวดเร็ว เยื่อไมอีลินประกอบด้วยไขมันที่จําเป็น 75% โปรตีน 25% ซึ่งหากมาจากส่วนประกอบของนมแม่จะมีความเหมาะสมที่สุด โดยเยื่อหุ้มไมอีลินนี้ จะเกิดขึ้นหลังคลอด โดยเริ่มเกิดที่สมองส่วนล่างที่เรียกว่าก้านสมองก่อน แล้วค่อย ต่อไปที่สมองส่วนหน้า ขึ้นอยู่กับช่วงอายุใด ส่วนใดเจริญเติบโตก่อนก็จะเกิดการ ทํางานของสมองส่วนนั้น ส่วนใหญ่จะเจริญเต็มที่ในช่วงวัยรุ่น จะช่วยให้วัยรุ่นสามารถ ใช้สมองคิดในการวางแผน แก้ปัญหาเป็น มีการตัดสินใจโดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปประเมินค่าต่างๆ ได้ จะเกิดวิจารณญาณขึ้นได้ การได้รับข้อมูลของ เซลล์ประสาทมากนั้นจะทําให้ ไมอีลิน มีมากขึ้น จะทําให้เกิดการเรียนรู้เร็วมากขึ้น

 การทํางานของสมอง

การทํางานของสมองจะเป็นขบวนการรับส่งข้อมูลในสมอง แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ

- ถ้าเป็นการรับส่งข้อมูลภายในของเซลล์ประสาทเองจะเป็นกระแสไฟฟ้า

- ถ้าเป็นการรับส่งข้อมูลระหว่างเซลล์ประสาทจะเป็นสารเคมี

ในเซลล์สมองของคนจะมีกระแสไฟฟ้าที่สามารถทําให้หลอดไฟติดได้ 25 วัตต์ (เท่ากับเปิดไฟสว่างทั้งห้อง) โดยประจุบวกจะอยู่ภายนอกเซลล์ ส่วนประจุลบจะอยู่ ภายในเซลล์ ประจุทั้งสองสมดุลกันก็จะอยู่ในระยะพัก แต่หากมีการกระตุ้นโดยมี ข้อมูลผ่านเข้ามาก็จะทําให้ประจุไฟฟ้าไม่สมดุลกัน เกิดกระแสไฟฟ้าส่งพลังงานออก มากระตุ้นใยประสาทส่งต่อไปยังจุดเชื่อม ซึ่งจะมีสารเคมีหลั่งออกมาเมื่อนําข้อมูลไป สู่เซลล์สมองอีกอันหนึ่ง

กล่าวคือ กระแสไฟฟ้าจากเซลล์สมองจะทําให้ใยประสาทตัวส่ง (Axon) หลั่งสารเคมีผ่านจุดเชื่อม (Synapse) ไปสู่ใยประสาทของสมองตัวรับ (dendrite) ที่จุดรับเฉพาะ (Special recepter) ที่แตกต่างกัน และไม่สามารถรับกับจุดรับส่งอื่นๆ ได้ เมื่อนําข้อมูลจากเซลล์สมองเซลล์หนึ่งส่งจ่ายไปยังเซลล์สมองอีกเซลล์หนึ่ง


สารที่ส่งสัญญาณสมองจะมี 2 ชุด แบ่งตามการทํางาน คือ

1. สารกระตุ้น ท่าให้เซลล์สมองส่งสัญญาณไป

2. สารยับยั้ง ท่าให้เซลล์สมองหยุดทํางาน

ในเซลล์สมอง 1 ตัว สามารถเป็นทั้งถูกกระตุ้นหรือถูกกดการทำางาน แต่จะ อยู่คนละจุดภายในหนึ่งเซลล์ กลุ่มกระตุ้นจะมีจุดรับมากกว่ากลุ่มกดยับยั้ง เมื่อ เซลล์ได้รับข่าวสารข้อมูลซ้ำๆ จะมีผลให้จุดเชื่อมแข็งแรงและจะเพิ่มจุดรับมากขึ้น ทําให้การส่งสัญญาณผ่านข้อมูลเร็วขึ้นและง่ายขึ้นเช่นเดียวกัน

สารเคมีทั้ง 2 กลุ่มนี้ จะช่วยทําให้เด็กมีความตั้งใจและสนใจเรียน สามารถมี สมาธิจดจ่อได้ดี

กระบวนการสร้างและการทํางานของสารส่งสัญญาณในสมอง มีดังนี้

1. เซลล์สมองถูกกระตุ้นจากสัมผัสต่างๆ (ผ่านทางหู ตา จมูก ลิ้น ผิวหนัง) ทําให้เกิดการหลั่งสารนี้ที่บริเวณสายใยประสาทส่งข้อมูล

2. สารนี้จะนําข่าวสารจากเซลล์สมองตัวหนึ่งไปที่เซลล์อีกตัวหนึ่งโดยผ่าน

จุดเชื่อมไปจับกับใยประสาทตัวรับข้อมูลที่จุดรับเฉพาะ

3. เซลล์สมองตัวรับเมื่อถูกกระตุ้นจากข้อมูลต่างๆ ก็จะทําให้เซลล์สมองส่ง สัญญาณต่อไปกระตุ้นให้เกิดการทํางานหรือกดการส่งสัญญาณ

สารเคมีที่หลั่งออกมาจะถูกทำลายที่จุดเชื่อมหรือถูกดูดกลับหมดโดยเซลล์สมองตัวส่ง 

เราอาจเปรียบเทียบระบบความจําของเซลล์สมองเหมือนกับคอมพิวเตอร์ คือ เซลล์ประสาทในสมองจะมีความสามารถเก็บข้อมูล และแปลงข้อมูลที่เข้ามาให้อยู่ ในรูปคลื่นกระแสไฟฟ้า เพื่อเก็บไว้เป็นประสบการณ์ ใยสมองสามารถจะเรียกมาเมื่อ ไหร่ก็ได้ แต่จะมีความพิเศษกว่าคอมพิวเตอร์คือ สมองจะมีการพัฒนาทุกครั้งที่เรียก ข้อมูลมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นโดยการใช้ประสาทสัมผัสส่วนใด เช่น การมอง การชิมรส การการสัมผัส การฟังและการดมกลิ่น หากประสบการณ์เหล่านี้เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก การเชื่อมโยงของเซลล์ใยสมองจะมีมากยิ่งขึ้น และที่สําคัญการเชื่อมโยงเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ทําให้เกิดความสามารถในการคิด การเกิดความรู้สึกการเรียนรู้ ซึ่งความฉลาดของมนุษย์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจํานวนเซลล์ในสมองแต่ขึ้นอยู่กับการเชื่อมโยงของเซลล์ประสาทที่จะงอกเงยออกมาเป็นวงจรสมอง ซึ่งหากได้รับการกระตุ้นมาก วงจรของสมองก็จะยิ่งมากขึ้น ฉลาดมากขึ้น แต่หากได้รับการกระตุ้นน้อย การเชื่อมโยง ของสมองก็จะน้อยตามไปด้วย

การทํางานของสมองสองซีก

สมองคนเรามีหน้าที่ในการรับความรู้สึกและการเรียนรู้ ควบคุมการทํางาน ของกล้ามเนื้อโดยแบ่งออกเป็น 2 ซีก คือซีกซ้ายและซีกขวา มีกล้ามเนื้อเชื่อม ตรงกลางเรียกว่า Corpus Collosum เป็นเหมือนเส้นทางจราจรส่งผ่านการทํางาน ด้านใดด้านหนึ่งของสมองให้เชื่อมโยงระหว่างซีกซ้ายและซีกขวาได้ ทําให้เกิดการ ประสานงานกันอย่างสอดคล้อง หาก Corpus Collosum มีความแข็งแรงจะช่วย ให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ และหากมีการบริหารสมอง (Brain Gym) อย่างสม่ำเสมอ จะทําให้กล้ามเนื้อดังกล่าวแข็งแรงยิ่งขึ้น

เด็กจะเรียนรู้ได้ดีจากประสบการณ์ ควรให้เด็กทํากิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็น ประสบการณ์ ทําให้เด็กได้ใช้สมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวา คือการให้เด็กได้มีประสบการณ์ด้านเนื้อหาและสุนทรีย์ในขณะเดียวกัน สมองของเด็กก็เหมือนอวัยวะอื่นๆ ที่ต้องการออกกําาลังและต้องการฝึกฝนดังนั้นการใช้สมองที่ถูกต้องสม่ําเสมอจะทําให้เกิดความงอกงาม 

สมองซีกซ้ายและซีกขวาของมนุษย์นั้นมีลักษณะ Semihermishere คือมีสองซีกเท่ากันแต่จะมีการแบ่งหน้าที่เฉพาะของแต่ละบริเวณไม่เท่ากัน โดยธรรมชาติให้คนส่วนใหญ่ใช้สมองซีกซ้ายเป็นหลัก เห็นได้จากแม้แต่ทารกแรกเกิดก็ยังมีสมอง กลีบขมับซีกซ้ายในบริเวณศูนย์ภาษา มีขนาดใหญ่กว่าสมองซีกขวาในตำแหน่งของ สมองที่ตรงกัน นอกจากนั้นแล้ว ความสามารถของมือ หู ตา และอวัยวะส่วนอื่นๆ ในร่างกายยังถูกควบคุมโดยสมองซีกซ้าย กล่าวโดยสรุปได้ว่า

1. ความถนัดของสมองซีกใดซีกหนึ่งต้องการเวลาเพื่อฝึกฝนให้เกิดความถาวร

2. สมองทั้งสองซีกจะช่วยเหลือกันและกันเพื่อให้การทํางานมีสมรรถภาพสูงสุด

3. กล้ามเนื้อที่ควบคุมการส่งผ่านสัญญาณระหว่างสมองสองซีกจะค่อยๆ พัฒนาจนสมบูรณ์เต็มที่ ในระหว่างนั้นสมองทั้งสองซีกจะมีความสามารถพอๆ กัน ไม่แบ่งแยกเรื่องใดเป็นพิเศษ

4. สมองที่กําลังเจริญเติบโตจะมีความยืดหยุ่น เหมาะแก่การเรียนรู้

 คลื่นสมองและการเรียนรู้ ในขณะที่เซลล์ประสาทของเด็กกําลังรับประสบการณ์ การเรียนรู้ใหม่ๆ จะเกิดกระแสคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เรียกว่าคลื่นสมองสามารถวัด ได้โดยเครื่องมือ Electro encephalograph (EEG) มาต่อวงจรกับศีรษะของมนุษย์ จะแสดงให้เห็นความถี่ของกระแสคลื่นในสมองในขณะที่ทํากิจกรรมแบ่งเป็น 4 ลักษณะ คือ

1. คลื่นเบต้า (Beta waves) มีคลื่นความถี่ของคลื่นสมองอยู่ระหว่าง 13-25 รอบต่อวินาที เป็นคลื่นที่เร็วและมีความยาวคลื่นสั้นที่สุดจะเกิดคลื่นนี้เมื่อใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการรวบรวมข้อมูลที่อยู่รอบตัว เมื่อตื่นเต้นมีสติสัมปชัญญะ มีความสัมผัสกับความจําระยะสั้น 

2. คลื่นแอลฟา (Alpha waves) มีคลื่นความถี่ของสมองอยู่ระหว่าง 8-12 รอบต่อวินาที จะเกิดคลื่นลักษณะนี้เมื่อ มีความสงบผ่อนคลาย แต่มีความตื่นตัว (Released Alertness) สภาพสมอง เหมาะสมต่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ รับรู้ข้อมูลได้มากที่สุด จำสิ่งต่างๆ ได้ดี โดยใช้ความจําระยะยาว สามารถฝึกหรือคิดในสิ่งที่ผ่านมาได้อย่างง่ายดาย และรวดเร็ว

3. คลื่นกีต้า (Theta waves) มีความถี่ของคลื่นสมองระหว่าง 4-7 รอบต่อวินาที จะเกิดขึ้นเมื่อรู้สึกผ่อนคลายอย่างเต็มที่ สมองจะสามารถจัดระเบียบของข้อมูลที่ได้รับ เกิดความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ มีความสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น สามารถย้อนรําลึกถึงข้อมูลหรือ ประสบการณ์เดิมได้ดี ทําสมาธิได้

4. คลื่นเดลต้า (Delta waves) มีความถี่ของคลื่นสมอง ระหว่าง 0.5-3 รอบต่อวินาที เป็นคลื่นที่ช้าที่สุด จะเกิดในช่วงนอนหลับ สมองจะทํางาน และใช้พลังงานน้อยที่สุด จะใช้เวลาช่วงนี้ในการจัดระเบียบข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับมาตลอดวัน 

คลื่นต่างๆ ที่เกิดขึ้นมีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้และกิจกรรมของเด็ก หาก เด็กอยู่ในสภาวะที่มีความเร่งรัด ก่อให้เกิดความเครียด จะเกิดคลื่นเบต้าในสมอง ของเด็ก การเรียนรู้ของเด็กจะเกิดได้น้อยมาก เนื่องจากเกิดฮอร์โมน “คอร์ติโซล” หลั่งออกมาเมื่อเกิดความเครียด จะไปทำลายผิวสมองและความจํา หากเกิดความเครียดติดต่อกันเป็นเวลานานและมีระดับฮอร์โมนสูงจะมีผลคือทำลายเซลล์ประสาท และลดจํานวนเครือข่ายของเซลล์ประสาทลงหากเด็กเกิดภาวะเช่นนี้ ผู้เลี้ยงดูเด็ก ปฐมวัยก็ต้องให้เด็กได้รับการพักผ่อน ผ่อนคลาย เช่น ออกกําลังกาย ร้องเพลง หรือเสียงดนตรีที่เหมาะสม การสัมผัสกอดรัด การยกย่องชมเชย การจัดอาหารที่ลด ความเครียด หรือการทําสมาธิ

กิจกรรมที่สามารถทําให้เด็กเกิดคลื่นแอลฟาได้ เช่น การบริหารสมอง การ ทําสมาธิแบบไดนามิก เพื่อให้เด็กเกิดความรู้สึกผ่อนคลาย โดยต้องคำนึงถึงความ แตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Differences) และระยะเวลาในการเรียนรู้ที่ แตกต่างกัน ส่งผลให้วุฒิภาวะสมองของเด็กแต่ละคนมีช่วงเวลาที่แตกต่างกันด้วย ในเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) กิจกรรมที่จัดให้ต้องอยู่ในลักษณะบูรณาการ ไม่เน้นด้านใด ด้านหนึ่งเป็นสําคัญ ในเด็กบางคนที่มีปัญหาในการทํางานประสานกันของกล้ามเนื้อ และอวัยวะต่างๆ แตกต่างจากเพื่อน ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ต้องช่วยเหลือส่งเสริม บูรณาการพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ตามลําดับขั้นตอนต่างๆ ของแต่ละบุคคล โดยใช้ระยะเวลาไม่เท่ากัน

 กิจกรรมที่ 1 จงตอบคําถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกกิจกรรม

1. ให้นักศึกษาสรุปความสําคัญของสมองว่ามีอะไรบ้างมาพอเข้าใจ

2. ให้นักศึกษาวาดภาพจําลองโครงสร้างเซลล์ประสาทลงในกรอบที่ กําหนดให้พร้อมคำอธิบายหน้าที่

3. นักศึกษาคิดว่านักศึกษามีการพัฒนาสมองในซีกใดมากที่สุด และความถนัดของนักศึกษาในด้านใด จงบรรยายมาพอเข้าใจ