การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองเด็กปฐมวัย

ตอนที่ 4 การปรับสภาวะของร่างกายและสมอง


เด็กทุกคนจะมีความสามารถในการเรียนรู้ตามธรรมชาติอยู่แล้ว แม้ในอดีต จะมีความเชื่อว่าเด็กที่เกิดมาจะถูกกำหนดว่าจะเป็นเด็กฉลาด หรือโง่ หรือเด็ก ปานกลาง โดยการสืบทอดทางพันธุกรรม แต่ปัจจุบันความรู้เรื่องสมองทําให้เรารู้ว่า การถ่ายทอดทางพันธุกรรมเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ หากได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ ในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมองจะมีวิธีการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งภายนอกคือสภาพแวดล้อมและจากภายในคือสภาพร่างกายและสมองของเด็ก

เด็กจะเกิดการเรียนรู้ที่ดีเมื่อไม่เกิดความเครียดและสนุกที่จะเรียนรู้ ดังนั้น

ก่อนที่จะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยควรมีการปรับสภาวะร่างกาย และสมองของเด็กก่อน โดยวิธีทําให้ร่างกายผลิตสารเคมีที่เป็นประโยชน์ต่อสมองเพื่อ ให้สมองได้ทํางานอย่างสร้างสรรค์ ลดความเครียด โดยใช้ได้หลากหลายวิธีดังนี้

1. สร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้โดยจัดสถานที่ให้สว่าง สะอาด สงบ โปร่ง สบาย อากาศถ่ายเทสะดวกหลีกเลี่ยงน้ำหวาน

2. ดื่มน้ำเปล่าเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำให้ร่างกายและสมอง หลีกเลี่ยง

3. ให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวเพื่อรักษาสมดุลของสมองและร่างกาย

4. จัดท่านั่งเพื่อฝึกการหายใจที่ถูกต้อง เพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนในร่างกาย

5. จัดกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายยืดเส้นยืดสาย

6. เปิดเพลงที่มีจังหวะช้าๆ ควรเป็นเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงน้ำไหล นกร้อง

7. ใช้กลิ่นหอมของผลไม้หรือดอกไม้เพื่อช่วยปรับสภาพร่างกายและสมองให้ ผ่อนคลาย

จุดมุ่งหมายของการปรับสภาวะของร่างกายและสมองเพื่อเป็นการเตรียม

ความพร้อมให้แก่เด็กให้ปฏิบัติกิจกรรม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยต้องจัดอย่างค่อยเป็น ค่อยไป ไม่หักโหมหรือขู่เข็ญบังคับเด็ก ให้เกิดความเครียด 

ตัวอย่างของการใช้ท่าทางที่ช่วยให้สบายผ่อนคลายและพร้อมสําหรับการเรียนรู้

- เปิดเพลงที่มีจังหวะช้าๆ

- ค่อยๆ เคลื่อนไหวร่างกายอย่างนุ่มนวลไปตามจังหวะเพลงช้าๆ เพื่อให้ สมองและร่างกายประสานสัมพันธ์กัน

- ย่ำเท้าอยู่กับที่หายใจเป็นจังหวะตามเสียงดนตรี แกว่งแขนตามสบาย

- ย่ำเท้าอยู่กับที่ใช้มือจับหัวไหล่ตรงกันข้ามสลับกันไปมาทีละข้างเป็นจังหวะ

- เคลื่อนไหวโดยใช้แขนไขว้กัน พร้อมผ่อนลมหายใจ โน้มตัวลงไปที่ขา ผ่อน ลมหายใจออกพร้อมเปล่ง

เสียง อา- ดึงตัวกลับแล้วสูดลมหายใจเข้าเต็มปอด

- ประสานมือไว้กึ่งกลางลําตัวด้านหน้า ยกข้อมือขึ้นสูงอย่างช้าๆ ตามแนว กลางลําตัว โดยใช้สายตามองตามมือไปจนอยู่เหนือศีรษะ ผ่อนคลายโดยยิ้มให้กับ เพดาน หายใจออกเบาๆ พร้อมพักมือไว้บนศีรษะช้าๆ และค้างมือไว้

- ยกนิ้วชี้ขึ้นระดับสายตาค่อยๆ เลื่อนไปทางขวากรอกตาตามช้าๆ จนสุด แล้ว เคลื่อนนิ้วไปทางซ้ายกรอกตาตามไปจนสุด ทําสลับกัน

เด็กปฐมวัยที่ได้รับการปลูกฝังให้รู้จักใช้ท่าทางผ่อนคลายจากผู้เลี้ยง ดูเด็กที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถใช้วิธีการที่ถูกต้องจะเป็นผู้โชคดีที่สามารถใช้สมองสร้างความสำเร็จในการเรียนรู้ไปได้ตลอดชีวิต

วิธีการเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กที่เอื้ออาทรต่อสมองจะทําให้พัฒนาการของเด็กดีขึ้น เด็กเติบโตพร้อมกับสมองที่ชาญฉลาดแต่มีความแตกต่างกัน ซึ่งความแตกต่างนั้นขึ้นอยู่กับ

- ลักษณะที่สืบทอดทางพันธุกรรมที่ติดตัวมาแต่กำเนิด

- ประสบการณ์ที่ได้รับซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโต

- สภาพร่างกายและสมองในปัจจุบัน

ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยต้องมีความเข้าใจถึงความสําคัญของความพร้อมของเด็ก

และยอมรับความแตกต่างของเด็กปฐมวัยโดยต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

1. การได้รับผลกระทบตั้งแต่อยู่ในครรภ์ การที่แม่มีภาวะความไม่พร้อมใน การมีบุตร การกินอาหารไม่ถูกส่วน การได้รับยาสารเคมีที่อันตรายระหว่างตั้งครรภ์ การได้รับอุบัติเหตุ การได้รับความกระทบกระเทือนทั้งร่างกาย และจิตใจจะส่งผล ให้แก่เด็กในครรภ์ได้ทั้งสิ้น เช่น การได้รับสารเคมีจากยาแก้สิวที่มีผลตกค้างเป็นปีจะ ทําให้เด็กเกิดภาวะสมองบกพร่อง เป็นต้น

2. การได้รับผลกระทบหลังจากคลอด เด็กเกิดความกลัว อาจเกิดจากสภาพ ปัญหาของบ้าน พ่อแม่ที่ไม่เข้าใจในเด็กใช้วิธีเลี้ยงดูเด็กอย่างเข้มงวด ดุด่า เฆี่ยนตี ลงโทษอย่างรุนแรง เมื่อเด็กเกิดความกลัวร่างกายของเด็กจะเกิดปฏิกิริยาโดยการ

หลั่งสารเคมีชื่ออะดรีนาลีนเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้แก่แขนขาในการใช้ป้องกันตัว ในขณะเดียวกันร่างกายจะถูกควบคุมด้วยสัญชาตญาณในการเอาตัวรอดมากกว่า

การใช้เหตุผลหรือความคิดสร้างสรรค์ สารเคมีอะดรีนาลีนเหล่านี้จะกีดขวางการคิด อย่างเป็นระบบ และหากเกิดขึ้นบ่อยๆ จะถึงขั้นทำลายสมองได้ หากเด็กได้รับ สิ่งกระตุ้นเหล่านี้บ่อยๆ

ในส่วนของพื้นผิวสมอง (คอร์เทกซ์) จะมีสารสื่อประสาทที่มีส่วนผสมของ สารเคมีที่เหมาะสมสําหรับกระบวนการไฟฟ้า เคมี ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคิด การทํางานและการเรียนรู้ ซึ่งสารสื่อประสาทนี้จะช่วยสร้างทางเดินเส้นประสาท รอการเรียนทางโทรสําหรับการคิดที่ชัดเจน พร้อมจะมีฮอร์โมนอีกหลายชนิดที่ช่วยในการจัดเก็บความจําแต่หากร่างกายและสมองอยู่ในความเครียดจะทําให้สัดส่วนของสารเคมีที่เป็นประโยชน์ลดลง สารความเครียดจะเข้ามาแทนที่ ซึ่งสาเหตุของความเครียดที่เด็ก ปฐมวัยได้รับอาจเกิดขึ้นดังนี้

1. ความกังวลและความกลัวที่จะล้มเหลวอาจเกิดจากอดีตที่ผ่านมา

2. ได้รับน้ำและสารอาหารไม่เพียงพอ มีระบบหายใจไม่ดี มีท่าทางการเดิน นั่ง ยืน ผิดปกติจากธรรมชาติ

3. ถูกจํากัดความเคลื่อนไหว และไม่มีการกระตุ้นประสาทสัมผัสที่ดี

4. มีความไม่สบาย เจ็บปวด เกิดการเจ็บป่วย ได้รับสารเคมีจากยารักษาอาการ

5. อยู่ในที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ อุณหภูมิไม่เหมาะสม

6. เกิดความเบื่อหน่าย เหนื่อยล้า ขาดความสนใจในสิ่งรอบข้าง

7. มองโลกในแง่ร้าย มีพฤติกรรมในแง่ลบ

8. รู้สึกตนเองด้อยค่า ไม่มีโอกาสเลือกสิ่งที่ดีกว่า

9. มีความผิดปกติในการสื่อสารสลับข้าง ไม่สามารถประสานสัมพันธ์กันทั้ง ทางร่างกายและสมอง

สิ่งที่เด็กปฐมวัยได้รับจะส่งผลทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยเด็กและผู้ปกครอง ไม่รู้ตัว แต่จะเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ที่สําคัญ ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยจะต้องมีวิธี การพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยเน้นวิธีการจัดกิจกรรมที่เอื้ออาทรต่อสมอง เพื่อช่วยลด ความเครียดที่เป็นสิ่งที่เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ เพราะผู้เลี้ยงดูเด็กไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงอดีตหรือแก้ไขปัญหาจากครอบครัวของเด็กปฐมวัยได้ แต่ผู้เลี้ยงดูเด็ก ปฐมวัยสามารถช่วยเหลือเด็กปฐมวัยให้อยู่ในสภาวะที่พร้อมที่จะได้รับการพัฒนาได้ โดยการสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมต่อการพัฒนาสมองเพื่อให้สมองทํางานได้ดียิ่งขึ้นและพร้อมสําหรับการพัฒนาต่อไป อาจแก้ไขโดยการเคลื่อนไหวเพื่อเป็นการช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในสมองโดยเฉพาะการเคลื่อนไหวที่สามารถปลดปล่อยความตึงเครียดของร่างกายส่งเสริมให้มีการเคลื่อนไหวแบบสลับข้าง ให้ประสาทสัมผัสกันได้ดีและสร้างสมาธิ 

วิธีการจัดกิจกรรมที่ให้ความสําคัญต่อสมองอาจทําได้โดย

1. กิจกรรมที่จัดไม่ก่อให้เกิดความเครียด

2. กิจกรรมที่ก่อให้เกิดความสุข ความพึงพอใจเพื่อเพิ่มสารเคมีหรือสารสื่อ ประสาท เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของสมอง

3. กิจกรรมที่เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับทางเดินเส้นประสาทในสมองที่ เชื่อมโยงสมองทั้งสองซีก

กลางวัน

4. ใช้กิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวเพื่อรักษาสมดุลของร่างกายและสมอง

5. ฝึกการหายใจและท่วงท่าเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจน พร้อมทั้งฝึกสมาธิ

6. ใช้กิจกรรมผ่อนคลาย

7. ให้จิบน้ำเปล่าเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำให้แก่ร่างกายและสมอง

8. ให้ฟังเพลงที่มีจังหวะช้าๆ เพื่อปรับปฏิกิริยาตอบสนองภายในร่างกาย

9. ใช้วิธีสุคนธบําบัดเพื่อปรับสภาพร่างกายและสมองโดยจะใช้ในขณะนอน

การจัดกิจกรรมที่เหมาะสมต้องดำเนินการควบคู่ไปกับวิธีการเสริมสร้างสมองให้สมบูรณ์โดยจัดอาหารกายให้เหมาะสมดังนี้

1. ไม่ดื่มน้ำที่มีคาเฟอีนหรือน้ำตาลมากเกินไป ควรให้เด็กได้รับน้ำเปล่าบริสุทธิ์จํานวนที่เหมาะสมบ่อยๆ เนื่องจากน้ำจะช่วยให้สมองทํางานได้อย่างราบรื่นเพราะเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายต้องการน้ำเพื่อให้ทํางานได้ดีขึ้น หากร่างกายขาดน้ำอวัยวะส่วนแรกได้รับผลกระทบคือสมอง ความพร้อมสมบูรณ์ของสมองจะลดลงภาวะการขาดน้ำจะส่งผลให้ความสามารถในการคิดและการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ลดลง การได้รับน้ำเปล่าจะทําให้ช่วยปรับสมดุลการทํางานของเซลล์ได้ทันที

2. จัดอาหารจําพวกเมล็ดธัญพืช ผักและผลไม้ โดยเฉพาะตอนเช้าให้ รับประทานอาหารประเภทโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสม

3. จัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนให้มีแสงสว่างจากธรรมชาติให้มาก ที่สุด หลีกเลี่ยงแสงสว่างจากหลอดไฟหน 

จัดกิจกรรมพัฒนาให้แก่เด็กได้ฝึกฝนการรับรู้ในด้านต่างๆ ดังนี้

1. จัดกิจกรรมให้เรียนรู้โดยใช้สมอง เพื่อเป็นการฝึกประสบการณ์ผ่านทาง สายตา เช่น ให้ดูรูปภาพ แผนผัง กราฟลําดับเหตุการณ์

2. จัดกิจกรรมให้เรียนรู้โดยใช้การฟังเพื่อเป็นการฝึกประสบการณ์ผ่านทางหู ให้เด็กได้ยิน โดยให้ตอบข้อซักถามและตอบคําตอบที่ชัดเจน โดยอาจให้ฟังเรื่องราว คําถาม ฟังเทปบันทึกเสียง พูดคุย

3. จัดกิจกรรมให้เรียนรู้โดยใช้การเคลื่อนที่ไปมาหรือจับสัมผัสเพื่อฝึกให้เด็ก ได้รับประสบการณ์ทางกายภาพ

4. จัดกิจกรรมให้เรียนรู้โดยใช้การลิ้มรส เพื่อเป็นการเชื่อมโยงประสบการณ์ ในเรื่องรสชาติ เข้ากับสิ่งที่เรียนรู้เพื่อแยกแยะ

5. จัดกิจกรรมให้เรียนรู้โดยใช้การดมกลิ่น เพื่อเป็นการฝึกประสบการณ์ การจำ หรือใช้เป็นเทคนิคในการกระตุ้น ให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่า เช่น กลิ่นส้มหรือทําให้เด็กสงบจากกลิ่นดอกไม้

6. จัดกิจกรรมให้เรียนรู้โดยให้เห็นภาพรวมของสิ่งนั้นๆ ก่อนแล้วค่อยแยกแยะ รายละเอียด เช่น กิจกรรมภาพจิกซอร์ การปะติดรูปภาพ

7. จัดกิจกรรมให้เรียนรู้โดยใช้จินตนาการเพื่อฝึกประสบการณ์ในเรื่อง ประสาทที่หก อันทรงพลัง เนื่องจากสมองจะรวบรวมประสบการณ์ที่ได้รับฝึกฝนโดย ประสาททั้งห้า และสมองจะจัดระบบเข้าสู่ความจําและกลายเป็นจินตนาการ

ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยต้องกระตุ้นประสาทสัมผัสในทุกด้านของเด็กปฐมวัยโดยต้องคํานึงว่าผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยจะสอนให้เด็กมีความสุขได้ ต้องมีความสุขเสียก่อน การทําให้เด็กเก่งและมีความสุข ไม่สามารถสอนด้วยวิธีบอกจดหรือท่องจำ แต่ต้องเกิดจากความสามารถ ในการใช้สมองทั้งซีกเหตุผลและซีกความรู้สึกอย่าง สมดุล ต้องเป็นคนรู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเอง มีความภาคภูมิใจในตัวเอง รู้จังหวะ เวลา กาลเทศะ รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา มีความรักความเมตตา ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยต้องทําหน้าที่ตามบทบาทหลักของการพัฒนา เด็กปฐมวัยที่มีอยู่ 2 มิติร่วมกันระหว่างการดูแลและการให้การศึกษา เรียกว่าการจัดการศึกษาแบบการศึกษาและเลี้ยงดู (Educare) 

กิจกรรมที่ 6

1. ให้นักศึกษาทดลองใช้ท่าทางที่สบายผ่อนคลายก่อนจัดกิจกรรม การเรียนรู้ โดยใช้เวลา 3-5 นาที ติดกัน 3 วัน แล้วบันทึกผลการจัดกิจกรรม