เพลงและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

ตอนที่ 2 ของเล่น

เรื่องที่ 1 ของเล่นตามวัย

       ของเล่นที่ผู้เลี้ยงดูเต็กจะนำมาให้เด็กๆ เล่น ต้องเป็นของเล่นที่ปลอดภัย และเป็นของเล่นที่มีส่วนช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก รวมทั้งควรจะจัดของเล่นให้สมกับวัยของเด็ก

       เด็กปฐมวัย อายุ 0-2 ขวบ เป็นวัยที่ได้แค่มอง จะเริ่มมองสิ่งรอบๆ ตัว เพราะฉะนั้นอุปกรณ์ของเล่นต้องเป็นสีสัน เพื่อช่วยให้มองเห็น

       เด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไป จะเป็นวัยที่เริ่มเรียนรู้ จับประเด็นแยกแยะสิ่งของสีต่างๆ หรือสิ่งที่ตนชอบ สามารถคิดอะไรได้ไม่เกินสองเรื่อง และเปรียบเทียบของต่างๆ ใน หลายมิติไม่ได้ เช่น เด็กจะจัดกลุ่มสิ่งของโดยดูจากสีหรือรูปทรงได้ แต่จัดจากสีและรูปทรงพร้อมกันไม่ได้

เด็กจะสามารถบอกได้ว่าชอบหรือไม่ชอบอะไร

       เด็กอายุ 3 ขวบขึ้นไป จะเป็นวัยที่มีจินตนาการ ชอบสร้างจินตนาการ สามารถแยกแยะเรื่องจริงกับเรื่องแต่ง สามารถบอกลักษณะและปฏิบัติตามคำสั่งได้

       เด็กอายุ 4 ขวบขึ้นไป เป็นช่วงวัยที่ควรเสริมสร้างทักษะการทำงานประสานกันของตากับมือ และการจดจำรูปทรงต่างๆ สามารถพูดเป็นประโยคง่ายๆ เข้าใจความหมายของคำพูดที่ยากขึ้น

       เด็กอายุ 5 ขวบขึ้น เป็นช่วงวัยที่เริ่มสังเกต ชอบทดลอง ชอบกระโดดโลดเต้น และเริ่มที่จะลอกเลียนแบบสิ่งต่างๆ ได้ดี

ของเล่นที่ปลอดภัยสำหรับเด็กปฐมวัย

       1. วัสดุที่ใช้ทำของเล่นต้องไม่มีพิษ เช่น สีเป็นสีธรรมชาติหรือเป็นสีที่ปลอดสารพิษ ไม่ใช้สีย้อมผ้า หรือสีทาบ้าน ซึ่งมีโลหะหนักพวกสารตะกั่ว แคดเมียม ฯลฯ อยู่ในส่วนผสม ซึ่งสีนั้นเมื่อหลุดลอกอาจเป็นอันตรายกับเด็กได้

       2. ต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดที่แหลมคม โผล่ออกมาจากของเล่น ทำให้บาดมือเด็ก หรือทิ่มแทงมือเด็กจนเกิดบาดเจ็บได้

       3. ชิ้นส่วนต้องไม่หลุดออกจากของเล่นได้ง่าย เพราะถ้าเป็นเด็กเล็กมากอาจจะนำชิ้นส่วนนั้นกลืนเข้าปาก และคาอยู่ในหลอดลมเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น เม็ดกระดุมจากตัวตุ๊กตาหลุดออกหรือล้อรถหลุด เป็นต้น

       4. ต้องไม่มีกลิ่นเหม็น หรือคลื่นของสารเคมี ที่จะระคายเคืองต่อเยื่อบุหลอดลม หรือเยื่อบุจมูกได้ เช่น กลิ่นควันของปืนแก๊ป

       5. ต้องไม่เป็นของเล่นที่เกิดเสียงตังมาก เพราะเสียงที่ดังมาก และเด็กต้องฟังซ้ำๆ อยู่เป็นเวลานาน จะทำให้กระทบกระเทือนต่อเยื่อแก้วหู ทำให้เต็กหูตึงในเวลาต่อมาได้

       6. ไม่เป็นของเล่นที่จะเป็นอันตรายต่อเด็กได้ เช่น ลูกดอกที่แหลมคมสำหรับปาเป้า ลูกดอกที่แหลมนี้ถ้าปาพลาดเป้าปาถูกเต็กที่ยืนอยู่ใกล้ๆ หรือเด็กโกรธกัน แล้วนำลูกดอกมาปาใส่กันก็จะทำให้เด็กได้รับบาดเจ็บ ถ้าปาเข้าตา ตาอาจบอดได้

       7. ถ้าเป็นเด็กเล็กมากของเล่นนั้นต้องมีขนาดที่ไม่เล็กมาก จนเด็กสามารถนำเข้าปากได้

 มนตร์สายรุ้ง

จุดประสงค์

       เพื่อเป็นการสร้างจินตนาการให้แก่เด็กปฐมวัย

วัสดุอุปกรณ์

       กระดาษใหญ่

       สี

กิจกรรม

       นำกระดาษแผ่นใหญ่มาวาดรูปสายวุ้งสดสวยลงไป เว้นที่ว่างทั้งสองข้างไว้

       ให้เด็กปฐมวัยวาดภาพปลายสายรุ้งอีกข้างหนึ่ง

       สุดปลายสายรุ้งอีกข้างหนึ่ง ให้เต็กปฐมวัยวาด "สิ่งพิเศษ" ที่อยากเห็นลงไป เช่น ตุ๊กตา หมี เค้ก เป็นต้น

       ในขณะที่เด็กปฐมวัยวาด ให้ผู้เลี้ยงดูเต็กเปิดเพลงเบาๆ ไปด้วย

 ตัวอย่างการประดิษฐ์ของเล่น

ลิงไต่เขา

วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมให้เด็ก

       1. กระดาษโปสเตอร์สีน้ำตาลอ่อนสำหรับทำตัวสิง

       2. กระดาษสีชมพู หรือม่วงอ่อน สำหรับทำหน้า

       3. กระดาษสีขาวและน้ำเงินอ่อน สำหรับทำตา

       4. กระดาษสีเหลือง สำหรับทำจมูก

       5. กระดาษสีแดง สำหรับทำปาก

       6. สายไฟเส้นเล็ก หรือลวดเส้นเล็ก 1 เส้น ยาวประมาณ 3 ฟุต

       7. ตะขอเกี่ยวตัวเล็ก 1 ตัว

       8. สก็อตเทปเหนียวๆ

       9. กาว

       10. กรรไกร

       11. ดินสอ

วิธีทำ

1. สร้างแบบลิงลงในกระดาษสีน้ำตาลอ่อนให้เด็กๆ (ดังรูป)

 2. ให้เด็กตัดรูปลิงออกมาตามแบบ

3. ใช้กระดาษสีชมพูตัดเป็นวงกลมเพื่อทำเป็นหน้าลิง ให้ขนาดของวงกลมเล็กกว่าหน้าบนแบบกระดาษสีน้ำตาลเล็กน้อย 

4. ตัดวงกลมสีน้ำเงินให้เล็กกว่าวงสีขาว ทากาวด้านหลังแล้วซ้อนบนสีขาว เพื่อทำเป็นตาของลิง 

5. ใช้กระดาษสีเหลืองตัดเป็นวงกลมเล็กๆ เล็กกว่าตาเล็กน้อย ติดในตำแหน่งต่ำกว่าตา แต่ต้องให้อยู่ในระหว่างหางตา เป็นจมูกให้เด็กๆ เป็นผู้ทากาวติด 

6. วาดรูปปากลงบนกระดาษสีแดงที่ตัดออกมาตามรูปหน้าลิง (ดังรูป) ให้เด็กตัดตามรอยแล้วทากาวด้านหลังติดลงไปบนวงกลมที่ทำเป็นหน้าสิงในตอนแรกพร้อมทั้งนำตาและจมูกที่ทำสำเร็จแล้วติดลงไป (ดังรูป)


7. นำหน้าลิงที่มีปาก จมูก และตา ติดบนกระดาษสีน้ำตาลตรงตำแหน่งของหน้า ให้ต่ำจากหน้าของแบบสีน้ำตาลเล็กน้อย 

8. นำตะขอเล็กๆ ติดด้านหลังแขนลิงที่ชูขึ้น 

9. นำลวดมาตัดให้หยักไปมาเหมือนภูเขาโค้งขึ้นโค้งลงเพื่อให้เด็กเล่น

พัฒนาการที่เด็กจะได้รับ

       1. เด็กๆ จะสนุกสนานกับการเล่นขยับลิงขึ้นๆ ลงๆ บนราว ... ได้พัฒนาการทางด้านอารมณ์

       2. เด็กๆ ได้พัฒนากล้ามเนื้อแขน และมือขณะเล่นยกลิงเอียงขึ้นๆ ลงๆ อยู่บนราว เด็กบางคนชอบวิ่งไปมาขณะที่ขยับแขนขึ้นๆ ลงๆ ไปพร้อมกัน ทำให้ได้พัฒนากล้ามเนื้อด้วย ... ได้พัฒนาการทางด้านร่างกาย

       3. ขณะที่เด็กเล่น เด็กต้องคิดว่า จะขยับแขนขึ้นลงระดับใดจึงทำให้ลิงขยับตัว ขึ้นลงตามต้องการได้ ... ได้พัฒนาการทางด้านสติปัญญา

       4. ถ้ามีลิงเพียงตัวเดียว แต่มีเพื่อนๆ ขอเล่นด้วย เด็กก็จะรู้จักการปรับตัวเล่นกับคนอื่นได้ รู้จักการเสียสละให้เพื่อนเล่น รู้จักรอคอยเพื่อนเล่น ...

ได้พัฒนาการทางสังคม

ข้อเสนอแนะ

       1. สามารถเปลี่ยนสีตัวลิงได้ตามต้องการ

       2. สามารถเปลี่ยนรูปแบบจากตัวลิงเป็นคน

       3. ลวดอาจจะเปลี่ยนรูปแบบที่หยักมากๆ เป็นแนวตรงมีเพียงหยักเดียว หรือไม่มีรอยหยักเลย แล้วเปลี่ยนชื่อจากลิงไต่เขาเป็นลิงไต่ราว

 รถเปิดประทุน

วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมให้เด็ก

       1. แก้วน้ำกระดาษ หรือพลาสติกสีสวยๆ 2 ใบ

       2. เศษกระดาษสี

       3. ฝาตลับยา 4 ฝา

       4. หลอดกาแฟ 2 หลอด

       5. ไม้เสียบลูกชิ้น

       6. กระดาษกาวย่น

       7. กาว

       8. กรรไกร

วิธีทำ

1. ล้างแก้วให้สะอาด ผึ่งให้แห้ง

2. นำแก้วที่แห้งแล้วมาให้เด็กตัดตามรอยที่ผู้ใหญ่วาดไว้ โดยขีดจากปากแก้วไปทางด้านกันแก้วเป็นรูปเฉียงเข้าทั้ง 2 ด้าน

3. พับส่วนที่กรีดให้เป็นรอยหักรูปกระจังหน้ารถเปิดประทุน

4. ให้สวนที่เป็นสี่เหลี่ยมยกขึ้นได้โดยใช้ไม้ค้ำไว้ด้านใน 

       5. ตัดกระดาษสีเป็นรูปวงกลม เพื่อที่จะใช้ตกแต่งเป็นไฟหน้ารถเปิดประทุนที่ผ้านก้นแก้วน้ำ

       6. นำฝาตลับยามาเจาะรูตรงกลางทั้ง 4 ตลับ ให้รูใหญ่พอที่ไม้เสียบลูกชิ้นจะเข้าได้ เป็นล้อ 4 ล้อ (ดังรูป)

7. ตัดไม้เสียบลูกชิ้น 2 อัน อันแรกเป็นแกนของล้อหน้าให้ตัดยาวกว่า เส้นผ่าศูนย์กลางของก้นแก้ว เพื่อใช้สำหรับใส่ล้อ 2 ล้อหน้า และอีกอันให้ยาวกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของปากแก้ว เพื่อใช้สำหรับใส่ล้อหลัง (ดังรูป)

8. นำไม้ทั้ง 2 อันมาสวมหลอดกาแฟ และปิดหัวท้ายด้วยล้อที่ทำเตรียมไว้ (ดังรูป)

9. นำแกนล้อที่ติดล้อเรียบร้อยแล้วติดกับกันแก้ว โดยใช้กระดาษกาวย่นติด (ดังรูป)

10. ที่ปลายล้อรถ ซึ่งมีไม้เสียบลูกชิ้นโผล่ออกมา อาจนำโฟมตัดเป็นชิ้นเล็กๆ เสียบปิดไว้ก็ได้

พัฒนาการที่เด็กจะได้รับ

       1. เด็กได้รับความสนุกสนานในการเล่นรถ ...ได้พัฒนาการทางด้านอารมณ์

       2. ได้ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ คือ กล้ามเนื้อมือในการขึ้นรถเล่นไปมา ... ได้พัฒนาการทางด้านร่างกาย

       3. เวลาที่เด็กเข็นรถเล่น เด็กจะคิดว่าเห็นอย่างไรรถจะไปเร็ว รถไปข้างหน้าได้เพราะล้อรถหมุน ถ้าล้อไม่หมุนจะแก้ปัญหาอย่างไร ฯลฯ ... ได้พัฒนาการทางด้านสติปัญญา

       4. ช่วยความคิดสร้างสรรค์ โดยให้เด็กหัดทำรถรูปแบบใหม่ของตนเอง และได้เรียนรู้เรื่องมี ...ได้พัฒนาการทางด้านสติปัญญา

       5. เด็กเล่นรถกับเพื่อนๆ ... ได้พัฒนกการทางด้านสังคม

 ข้อเสนอแนะ

       1. ล้อรถสามารถใช้กระดุมเม็ดใหญ่ หรือแป้นกลมๆ ชนิดอื่นแทนได้

       2. สามารถใช้กระป้อง เรือกล่องกระดาษอื่นๆ แทนแก้วน้ำได้

       3. สามารถตกแต่งสี และรูปแบบให้แปลกไปจากตัวอย่างนี้ได้

 รถลาก...

วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมให้เด็ก

       1. แก้วน้ำเครื่องดื่มขนาดใหญ่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางปากแก้วยาวประมาณ 4 นิ้ว (เป็นพลาสติก หรือกระดาษเคลือบพลาสติก)

       2. กระดาษตกแต่งหน้าสัตว์

       3. กระดาษลัง หรือกระดาษลูกฟูกชนิดหนา (สำหรับทำล้อรถ)

       4. ไม้เสียบลูกชิ้น 2 อัน (ต่อรถ 1 คัน)

       5. กระดาษกาวย่น

       6. คัทเตอร์/กรรไกร คมๆ

       7. กาว

วิธีทำ

1. ให้เด็กๆ มีส่วนร่วมโดยการนำแก้วน้ำมาวางลงบนโต๊ะในแนวนอน โดยมีคุณพ่อ หรือคุณครูช่วย

2. เจาะรูที่ส่วนฐาน ทางด้านหน้า 1 รู และทางท้าย 1 รู ให้ใหญ่พอที่ไม้เสียบลูกชิ้นเข้าได้ (ดังรูป)

รูปแก้วน้ำที่เจาะรูด้านก้นแก้ว


3. ใช้วงเวียนวาดวงกลมลงบนกระดาษลัง ให้เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 นิ้ว 4 วง (ดังรูป)

รูปวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 นิ้ว


4. ให้เด็กๆ ช่วยกัน/ใช้คัทเตอร์/กรรไกรตัดออกเป็นวงกลม

5. ตกแต่งล้อรถให้สวยงามตามใจชอบ เช่น ติดสติ๊กเกอร์หรือติดแถบสี ฯลฯ

รูปวงกลมที่ตกแต่งเรียบร้อยแล้ว


6. เจาะรูที่กลางล้อรถใหญ่เท่ารูที่ฐานแก้ว

7. เสียบไม้ลูกขึ้นทะลุแก้วทั้ง 2 ข้าง ด้านหัวและท้าย ให้ไม้โผล่ออกมาทั้ง 2 ด้าน

8. นำเทปมาพันไม้ส่วนที่พันออกมาจากแก้ว 3-4 ชั้น เหลือปลายไม้ไว้พันประมาณด้านละ 1 นิ้วทั้ง 4 ล้อ (ดังรูป)

9. นำล้อที่ตกแต่งเตรียมไว้สวมเข้าไปในไม้ทั้ง 4 ด้าน (ดังรูป)

เมื่อติดล้อแล้วให้พันเทปที่ไม้อีกครั้ง


10. พันเทปปลายไม้ ส่วนที่เหลือจากสวมล้อแล้ว 3-4 ขั้น ทำเช่นเดียวกันทั้ง 4 ล้อ เพื่อไม่ให้ล้อหลุดออกมา การพันเทปทั้งหัวท้ายแบบนี้เป็นการล็อกล้อให้อยู่กับที่ เวลาวิ่งจะได้ไม่โคลงเคลง

11. ให้เด็กๆ ช่วยกันตกแต่งหน้าสัตว์ติดไว้หน้าปากแก้วเพื่อความสวยงาม หรือจะตกแต่งรูปอื่นๆ ก็ได้ตามชอบ เช่น ตกแต่งเป็นไฟรถ กันชนรถ เป็นต้น

12. ผูกเชือกติดที่ส่วนฐานของแก้ว เพื่อให้เด็กๆ ลากวิ่งเล่นได้ (ดังรูป)


พัฒนาการที่เด็กจะได้รับ

       1. เด็กได้สนุกกับการช่วยประดิษฐ์ และสนุกกับการวิ่งลากรถเล่น ... ได้พัฒนาการทางด้านอารมณ์

       2 ขณะที่เด็กวิ่งลากรถเล่น จะช่วยส่งเสริมกล้ามเนื้อแขนและขา ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่ให้แข็งแรงขึ้น ... ได้พัฒนาการทางด้านร่างกาย

       3. เด็กเกิดการเรียนรู้ว่าจะวิ่งลากรถในลักษณะใด รถจะไปได้เร็ว ไม่ติดขัดและได้จินตนาการความคิดสร้างสรรค์ ขณะที่ช่วยตกแต่งหน้ารถ ... ได้พัฒนาการทางด้านสติปัญญา

       4. ถ้าเด็กๆ ได้ผลัดกันลากรถ หรือลากรถเล่นด้วยกัน ... ได้พัฒนาการทางด้านสังคม

ข้อเสนอแนะ

       1. สามารถเปลี่ยนรูปทรงของรถลาก จากใช้แก้วเป็นขวดนมพลาสติกขนาดใหญ่ หรือกล่องนมกระดาษขนาดใหญ่ได้

       2. ใช้วัสดุอื่นทำล้อและลังกระดาษได้

       3. สามารถทำรถชนิดนี้หลายๆ คัน มาต่อๆ กันเป็นขบวนรถไฟได้

       4. ถ้าเป็นคุณครูสอนทำ อาจให้เด็กๆ นำแก้วน้ำมาจากบ้านคนละ 1 ใบ ขนาดใหญ่เล็กตามที่เด็กมี

 

งูกระดาษ

วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมให้เด็ก

       1. กระดาษโปสเตอร์สีสดๆ 1 ชิ้น (ขนาด 20x20 ชม)

       2. เศษกระดาษสีขาวและดำ สำหรับทำลาย

       3. กาว

       4. กรรไกร

       5. ดินสอ

 วิธีทำ

1. นำกระดาษสีขนาด 20 X 20 ซม. มาวาดวนเป็นวงจากด้านในออกมาด้านนอก ให้ห่างกันประมาณ 3 ชม. (ดัง รูป)

2. ให้เด็กตัดตามเส้นที่วาดไว้ จากด้านนอกไปหาด้านใน (ดังรูป)

ตัดกระดาษตามรอยเส้นประ


3. นำเศษกระดาษขาวมาวาดวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 ชม. ให้เด็กติดตามรอยที่วาดไว้

4. ซ้อนวงกลมสีดำบนวงกลมสีขาว ให้เด็กทากาวเฉพาะด้านหลังของวงกลมสีดำ บอกเด็กให้วางวงกลมสีดำลงบนวงกลมสีขาว ให้อยู่ตรงกลางพอดี

5. นำวงกลมที่ซ้อนกันแล้วนี้ ไปติดตามตัวงูเป็นเหมือนลายงู ควรให้เด็กวางลายงูเอาเอง ตามจินตนาการของเด็กว่าอยากให้งูของเด็กๆ มีลายติดๆ กัน หรืออยู่ห่างกัน

6. ที่ส่วนของหัว คือ ส่วนในสุดของวงกลมนั้น ให้เด็กนำวงกลมที่ติดขนตัวงูมาติดที่หัวงูด้วย แต่ที่หัวนี้ต้องบอกเด็กให้ติดวงกลม 2 วง อยู่ใกล้กัน เพื่อให้เหมือนลูกตาของงู เพียงเท่านี้ก็จะได้งูน่ารักๆ ให้เด็กๆ ได้เล่นสนุก


พัฒนาการที่เด็กจะได้รับ

       1 . เด็กได้รับความสนุกสนานขณะทำตัวงูและเวลาเล่น .... ได้พัฒนาการทางด้านอารมณ์

       2. ขณะทำตัวงู เด็กๆ ได้หยิบจับกรรไกรตัด เป็นการได้ออกกำลังกล้ามเนื้อใหญ่ที่มือ และกล้ามเนื้อเล็กคือที่นิ้วมือ .. ได้พัฒนาการทางด้านร่างกาย

       3. เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องสีจากตัวงู ลายบนตัวงู ได้พัฒนาการทางด้านสติปัญญา

       4. ขณะที่เด็กๆ คิดทำลวดลายบนตัวงู เด็กๆ ต้องคิดว่าควรติดอย่างไรจึงสวย ทำให้เด็กเกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ... ได้พัฒนาการทางด้านสติปัญญา

       5. ถ้าเด็กๆ ได้ทำตัวงูร่วมกับเพื่อนๆ ได้แบ่งกระดายสีร่วมกัน ใช้กาวร่วมกัน เด็กๆ จะเรียนรู้เรื่องการรอคอย และแบ่งปัน .... ได้พัฒนาการทางด้านสังคม

ข้อเสนอแนะ

       1. สามารถเปลี่ยนแบบให้ยาวกว่า สั้นกว่า หรือผอม-อ้วนกว่านี้ได้

       2. สามารถเปลี่ยนสีของตัวง และลายที่ให้ไว้ตามใจเด็กๆ

       3. ให้เด็กๆ ลองคิดลายของงูเอง เด็กๆ จะชอบมากกว่าที่ผู้ใหญ่คิดให้

  

งูกระดาษ

วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมให้เด็ก

       1. กระดาษโปสเตอร์สำหรับทำตัวงู (สีแดง)

       2. กระดาษโปสเตอร์สำหรับทำลาย (สีขาวและดำ)

       3. กาว

       4. กรรไกร

       5. ไม้บรรทัด

       6. ดินสอ

วิธีทำ

1. สร้างแบบตัวงูให้เด็ก โดยสร้างรูปสี่เหลี่ยมขนาดยาว 30-34 ชม. และกว้าง 1-2 ซม. ใช้ดินสอขีดเว้นช่องๆ แต่ละช่องกว้าง 2 ชม.

2. โค้งมนที่ปลายด้านหนึ่ง และทำมุมแหลมอีกปลายด้านหนึ่งของสี่เหลี่ยม ให้เด็กติดลูกนัยน์ตางูด้วยกระดาษวงกลมช้อนกัน 2 วง (ดังรูป)

3. ทำลวดลายบนตัวงูตามที่เด็กชอบ เช่น ตัดกระดาษเป็นเส้นเล็กๆ ติดตามยาวของตัวงู หรืออื่นๆ

4. เมื่อทำลวดลายแบบตัวงูเสร็จแล้วให้เด็กๆ ตัดตัวงูออกมาจากแบบ

5. สอนให้เต็กๆ พับกระดาษกลับไปมาตามช่องที่ขีดไว้จะได้ตัวงูมีลักษณะหยักขึ้นลง (ดังรูป)

ข้อเสนอแนะ

       1. สามารถเปลี่ยนแบบตัวงูให้ยาวกว่าแบบที่ให้

       2. สามารถเปลี่ยนแบบตัวงูให้กว้างกว่าแบบที่ให้

       3. สามารถเปลี่ยนสีและลายของตัวงูได้ โดยการเลียนแบบจากลายงูตามธรรมชาติ โดยนำลวดลายจากกาพมาให้เด็กคิดประดิษฐ์ตกแต่งเองใหม่

       4. การตกแต่งหน้าตาของงูควรตกแต่งให้ดูน่ารักมากกว่าน่ากลัว

 

หน้าหมูแสนกล

วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมให้เด็ก

       1. ผ้าสำหรับทำหน้าหมู

       2. เศษผ้าสำหรับทำตาและจมูก ควรใช้ผ้ากำมะหยี่หนังเพื่อไม่ให้ผ้าลุ่ย

       3. ซิปขนาดสั้นที่สุด

       4. ตีนตุ๊กแก

       5. กระดุม

       6. ใยสังเคราะห์หรือนุ่น (เด็กๆ ที่แพ้ฝุ่นไม่ควรใช้นุ่นเพราะจะฟุ้งเข้าจมูก)

       7. เข็มเย็บผ้า

       8. ลูกกลิ้ง

วิธีทำ

วิธีทำในข้อที่ 1-7 คุณแม่หรือคุณครูจะต้องเป็นผู้ทำไว้ก่อน 

รูปหน้าหมูซึ่งวาดตามแบบต่างๆ ลงบนกระดาษ 1

1. วาดแบบหมูลงในกระดาษ (ตังรูป) อาจเปลี่ยนแปลงหน้าหมูตามที่ชอบ

2. นำแบบหมูมาวางลงบนผ้า 2 ชิ้น แล้วกลิ้งตามรอบขอบนอกของหน้าหมู

3. ตัดผ้าให้ห่างจากรอยกลิ้งครึ่งนิ้ว จะได้หน้าหมู 2 ชิ้น เป็นชิ้นหน้า 1 ชิ้น และชิ้นหลัง 1 ชิ้น (ดังรูป)

4. ตัดตีนตุ๊กแก 2 ชิ้น เพื่อเย็บติดในตำแหน่งตาเย็บตีนตุ๊กแกบนผ้าชั้นที่ 1 (ขึ้นหน้า) ที่จะไว้ทำหน้า นำกระดุม 2 เม็ด มาเย็บติดที่ผ้าเป็นจมูก และติดชิปไว้ที่ตำแหน่งปาก (ดังรูป)

รูปผ้าชิ้นหน้าของหมูซึ่งติดตีนตุ๊กแก กระดุมและชิป

5. นำผ้าหน้าหมูทั้ง 2  ชิ้น (ผ้าชิ้นหน้าและชิ้นหลัง) มาประกบเข้าหากัน เอาด้านที่เราติดตา จมูก และปากอยู่ด้านในแล้วเย็บติดกัน โดยเหลือช่องไว้ประมาณ 3-4 นิ้วเพื่อที่จะได้กลับเอาต้านหน้าตาหมูออกไว้ด้านนอกเพื่อความเรียบร้อยและเพื่อเอาไว้ใส่ใยสังเคราะห์ (ดังรูป)

รูปผ้าทั้งสองชิ้นเย็บติดเข้าหากันโดยมีตา จมูก ปาก อยู่ด้านในและเหลือช่องว่างไว้ประมาณ 3 - 4 นิ้ว

6. พลิกหน้าหมูที่เย็บแล้วกลับด้าน ใส่ใยสังเคราะห์ลงในช่องกว้างที่เว้นไว้ 3-4 นิ้ว ให้เด็กช่วยใส่ใยสังเคราะห์จนเต็มหน้าหมู ควรช่วยเต็กใช้ตะเกียบยัดใยสังเคราะห์ให้อยู่ทั่วทุกส่วนของหน้า รวมทั้งที่หูด้วยไม่ต้องยัดใยให้พองมาก ดูให้ค่อนข้างแบน (เพื่อให้เด็กเล่นได้สะดวก) (ดังรูป)

รูปหน้าหมูที่พลิกกลับด้านหน้ามาแล้วและใส่ใยสังเคราะห์ในช่องที่ว่างไว้

7. เมื่อยัดนุ่นเรียบร้อยแล้ว สอยส่วนที่เว้นไว้ 3-4 นิ้วให้เรียบร้อย ให้ดูเสมือนกับการเย็บบริเวณรอบๆ อย่าให้มองดูว่าเป็นรอยเย็บที่ไม่เรียบร้อย

8. วาดรูปตา ให้เด็กช่วยตัดลูกตาตามรอยบนผ้าโดยใช้เศษผ้าวาดเป็นวงกลม 2 วงเป็นรูปตา (ดังรูป) วงนอกเป็นสีขาว วงในสีดำ

9. ให้เด็กทากาวที่ตาดำ แล้วนำมาติดซ้อนบนตาขาว

10. นำเศษผ้ามาตัดเป็นจมูกหมูแล้วเจาะรู 2 รูเป็นเหมือนจมูกหมู ส่วนนี้เด็กๆ อาจช่วยได้ โดยผู้ใหญ่วาดเป็นรอยไว้ให้ แล้วให้เด็กตัดตามรอย สำหรับรูจมูก 2 รู ตรงกลาง ผู้ใหญ่ควรเป็นผู้เจาะให้ เพราะจะต้องกะขนาดให้กระดุมผ่านได้ทำเป็นรังกระดุม (ผ้าที่ใช้เจาะรูจมูกหมูควรเป็นผ้าที่ไม่ลุ่ย) (ดังรูป)

11. นำผ้าที่เจาะจมูกแล้วไปวางบนตำแหน่งของจมูกหน้าหมู ใช้ดินสอจุดไว้ (จุดผ่านรูจมูกของหมู 2 รู)

12. เมื่อนำแผ่นจมูกออกจะเห็นรอยจุดดินสอ 2 จุดบนหน้าหมู นำกระดุม 2 เม็ด มาติดที่หน้าหมูจุดละเม็ด ควรเย็บให้แน่นหนา เผื่อเด็กเล่นจะได้ไม่หลุดง่าย เด็กจะนำแผ่นจมูกหมูมาเล่นติดกับกระดุมบนหน้าหมู (ดังรูป)

รูปหน้าหมูที่ติดขึ้นส่วนเสร็จแล้วทั้ง ตา จมูกและปากเพื่อให้เด็กดึงเล่นได้

ข้อเสนอแนะ

       1. หน้าหมูอาจะเปลี่ยนเป็นหน้าสัตว์อื่นๆ ที่เด็กๆ ชอบ

       2. สีแต่ละสีบนหน้าตัวสัตว์ ใช้สีที่ต้องการสอนให้เด็กเรียนรู้

       3. การสอนเรื่องรูปทรงเปลี่ยนแปลงได้ตามรูปทรงที่ต้องการสอน เช่น ตา

แทนที่จะเป็นวงกลมอาจเป็นสามเหลี่ยม (ดังรูป)

       4. การติดชิ้นส่วนบนใบหน้าอาจจะเปลี่ยนแปลง เช่น ใช้ตีนตุ๊กแกติดทุกส่วน ทั้งตา จมูก และปาก แทนที่จะเป็นการติดกระดุมที่จมูก และติดซิปที่ปาก