การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองเด็กปฐมวัย

รายวิชาที่ 3 การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองเด็กปฐมวัย

คําอธิบายรายวิชา

ความรู้ความเข้าใจ วิเคราะห์เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะกิจกรรมเสริมประสบการณ์กิจกรรมสร้างสรรค์ และกิจกรรมเกมการศึกษาที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมอง นําไปสู่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาเด็กปฐมวัยได้เต็มตามศักยภาพ

เนื้อหา

ตอนที่ 1 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ (10 ช.ม.)
เรื่องที่ 1 การเคลื่อนไหวและจังหวะ
เรื่องที่ 2 การออกกําลังกายบริหารสมอง (Brain Gym)

ตอนที่ 2 กิจกรรมเสริมประสบการณ์ (10 ช.ม.)
เรื่องที่ 1 การพัฒนาสมาธิเด็กปฐมวัย
เรื่องที่ 2 การจัดกิจกรรมพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5
เรื่องที่ 3 การเล่าเรื่องไม่รู้จบ 

รายวิชาที่ 3 การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองเด็กปฐมวัย

แนวคิด

การจัดการเรียนรู้ โดยนําองค์ความรู้เกี่ยวกับการทํางานของสมอง จิตวิทยา พัฒนาการเรียนรู้ จิตวิทยาพัฒนาการตามวัยของมนุษย์ และการเรียนรู้ตามทฤษฎี การศึกษาต่างๆ มาผนวกเข้าด้วยกันโดยจัดให้มีการออกแบบ และจัดองค์ประกอบ ของการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับการทํางานของสมอง การเรียนรู้ที่ทรงประสิทธิภาพ และเต็มตามศักยภาพของเด็กจึงเกิดขึ้น

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมองของเด็กปฐมวัยได้ 72 ระยะเวลาการเรียนรู้ (70 ช.ม.)

กิจกรรม

1. ทําแบบทดสอบก่อนเรียน

2. ศึกษาเอกสารชุดการเรียนพร้อมปฏิบัติกิจกรรมเช่น ชม VCDบันทึกกิจกรรมลงในสมุดบันทึกกิจกรรม ฝึกปฏิบัติกิจกรรมตามที่กำหนด

3. ทําแบบทดสอบหลังการเรียน

สื่อการเรียน

1. ชุดการเรียนทางไกล

2. สมุดบันทึกกิจกรรม

3. VCD เรื่องการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองเด็กปฐมวัย

การประเมินผล

1. ประเมินผลจากแบบทดสอบตนเองก่อนและหลังเรียน

2. ประเมินผลจากการทํากิจกรรม ในสมุดบันทึกกิจกรรมและแนวคําตอบ 

รายวิชาที่ 3 การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองเด็กปฐมวัย

การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองของเด็กปฐมวัย ควรดำเนินการโดยยึดหลัก ที่นักวิจัยการศึกษาทั่วโลกค้นพบว่า สมองของมนุษย์ทํางานประสานเชื่อมโยง ในเวลา เดียวกันได้ถึง 9 ด้าน และสมองของเด็กปฐมวัยพร้อมที่จะเรียนรู้ ศักยภาพของ การเรียนรู้จะพัฒนาดีขึ้นเพียงใดขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมและการจัดการเรียนรู้ของผู้ที่อยู่รอบๆ ตัวเด็ก

จึงมีความจำเป็นต้องใช้กระบวนการและกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถทําให้สมองทํางานพร้อมกันทุกระบบและกระตุ้นให้เกิดการเชื่อมโยงของทุกระบบในสมอง ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ที่สอดรับกับการเรียนรู้ของสมอง ใน ปัจจุบันประเทศไทยมีหน่วยงาน เช่น “สถาบันวิทยาการเรียนรู้” ที่ดำเนินการจัดการ เรียนรู้ซึ่งอิงฐานเรื่องกระบวนการเรียนรู้ของสมองมนุษย์โดยใช้วิธีการ เครื่องมือ และ เทคโนโลยีต่างๆ ที่หลากหลายและทันสมัย ประกอบกับหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ การจัดการศึกษาเด็กปฐมวัยภาครัฐ คือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหน่วยงานภาคเอกชน ผู้รู้ต่างๆ ได้ให้ความสําคัญกับการเรียนรู้ดังกล่าว จําเป็น ที่ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องมีความรู้ในเรื่องของการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัย ไปในแนวทางเดียวกัน

หลักการจัดการเรียนรู้ที่สอดรับกับสมอง (Brain-based Learning : BBL.) อยู่บนพื้นฐานที่ว่าสมองเป็นอวัยวะสําคัญของมนุษย์ ประกอบด้วยเซลล์ประสาท (Neuron) จํานวนมากถึง 1 แสนล้านเซลล์ แต่ละเซลล์จะทํางานเป็นวงจรเชื่อมโยง กันไม่อยู่นิ่ง มีการส่งผ่านข้อมูลไปยังเซลล์อื่นๆ ทางแขนงประสาท ส่วนที่ส่งข้อมูล หรือแอกซอน (axon) โดยสัมผัสกับแขนงประสาทส่วนที่รับข้อมูลที่เรียกว่า เดนไดรท์ (dendrite) ของอีกเซลล์หนึ่ง สัมผัสสื่อสารกันเป็นวงจร ถ่ายทอดข้อมูลจากเซลล์หนึ่ง ไปอีกเซลล์หนึ่ง ณ จุดที่แอกซอนสัมผัสกับเดนไดรท์ที่เรียกว่า ไซแนปส์ (Synapse) เมื่อมีไซแนปส์เกิดขึ้น ย่อมหมายถึงการส่งผ่านข้อมูลจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการเรียนรู้ของสมอง


ดังนั้น การเรียนรู้ของสมองจะเกี่ยวข้องกับความซับซ้อนของร่างแห่แขนง ประสาทที่เชื่อมโยงสอดประสานกัน เมื่อเซลล์ประสาทแต่ละเซลล์ ต้องการส่งข้อมูลแอกซอนของเซลล์นั้นจะยื่นยาวออกไปสัมผัสกับเดนไดรท์ของเซลล์ประสาทตัวอื่นแม้จะมีแอกซอนเพียงแขนงเดียว แต่ปลายแขนงจะแตกออกเป็นหลายสาขาไปสัมผัสกับเดนไดรท์ของเซลล์ประสาทหลายเซลล์ ส่งผ่านข้อมูลไปยังเซลล์นั้นๆ ในขณะเดียวกันเซลล์ประสาทแต่ละเซลล์ก็สามารถรับข้อมูลจากเซลล์อื่นๆผ่านทางเดนไดรท์ของเซลล์ที่มีอยู่มากมายหลายแบบ ไซแนปส์จึงเกิดขึ้นมากมาย นั่นคือ เกิดการเรียนรู้นั่นเอง การส่งผ่านข้อมูลจะทําได้เร็วขึ้น ถ้ามีปลอกหุ้มใยประสาทมีส่วน ห่อหุ้มใยประสาท (myelin sheath) ที่แข็งแรง เกิดเป็นวงจรที่ยั่งยืนแข็งแรง แขนง ประสาทที่ไม่ได้ใช้งานจะถูกแต่งเล็ม (Prunning) ทิ้งไป การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ประสาท ทําให้เชื่อว่าสมองสามารถเปลี่ยนแปลงและเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น โอกาสในการเชื่อมต่อพัฒนาการของสมองจึงมิได้สิ้นสุดอยู่เฉพาะวัยเด็กเล็ก เท่านั้น แต่จะยังมีการพัฒนาต่อเนื่องไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ด้วย ขึ้นอยู่กับการจัดสภาพการเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของสมอง และยังต้องคำนึงถึงแต่ละ ช่วงอายุที่เปิดรับการเรียนรู้ได้สูงสุดในแต่ละช่วงวัยด้วย

มีข้อสําคัญอย่างยิ่งที่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยต้องทําความเข้าใจคือ การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทํางานของสมอง ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของสมองที่แตกต่างกัน ดังนั้น การจัดการเรียนรู้แบบ BBL จึงไม่ใช่วิธีการที่เหมาะสมถูกต้องสําหรับทุกคน และทุกโอกาสเพราะ BBL เป็นเพียงหลักการบนพื้นฐานของความรู้และทักษะต่าง ๆ ที่ให้ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยนําไปพิจารณาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเรียนรู้ให้ดีขึ้น

นักการศึกษาที่ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับสมองได้เสนอ หลักการพื้นฐาน 12 ข้อ ของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน BBL. (Caine & Caine) ดังนี้

1. สมองเป็นเครื่องประมวลผลในเชิงขนานทํางานหลายๆ อย่างได้พร้อมๆ กัน

2. สมองอาศัยการเรียนรู้ด้วยการทํางานทั้งร่างกายร่วมกัน

3. มนุษย์มีความอยากที่จะหาความหมายมาตั้งแต่กำเนิด

4. การหาความหมายเป็นกิจกรรมที่ต้องมีการจัดระบบ

5. อารมณ์มีความสําคัญต่อการทํางานแบบมีรูปแบบ

6. สมองประมวลข้อมูลแบบเป็นส่วนย่อยและใหญ่ไปด้วยกัน

7. สมองสามารถมองแบบเฉพาะและมองบริบทไปพร้อมๆ กัน

8. การเรียนรู้เกิดขึ้นทั้งขณะรู้ตัวและไม่รู้ตัว

9. มนุษย์มีวิธีเก็บ-จำอย่างน้อยสองวิธี คือหาความสัมพันธ์และชุดระบบ การเรียนรู้แบบท่องจำ

10. สมองทําความเข้าใจและจดจําได้ดีที่สุดเมื่อมนุษย์เรียนรู้อย่างสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อม

11. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ด้วยการท้าทายที่ปราศจากการคุกคาม

12. สมองของแต่ละบุคคลมีความเป็นเอกลักษณ์

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรยอมรับและส่งเสริมการเรียนรู้ที่แตกต่างกันของเด็กปฐมวัย ให้ความสําคัญกับรูปแบบการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล (Learning Style) ของเด็กแต่ละคนโดยการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยและให้เด็กได้เลือกเรียนด้วยวิธีที่หลากหลาย โดยการวางแผนไว้ล่วงหน้าในการทําแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านการเคลื่อนไหว การขยายช่วยความสนใจ ภาษา ความมีเหตุมีผล ความสามารถในการจำและจินตนาการแต่ต้อง คำนึงถึงวิธีการและปริมาณการกระตุ้นที่จัดให้เด็ก ไม่ให้มากเกินไปหรือเน้นอุปกรณ์ มากเกินควร หรือเป็นวิชาการมากเกินความจําเป็น

ข้อควรคํานึงในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองของเด็กปฐมวัยคือ age

• ช่วงปฏิสนธิ-15 เดือน จะพัฒนาการสมองเรพทีเลียน ในเรื่องของความจํา เป็นพื้นฐานสําหรับมีชีวิตรอด การสัมผัส อาหาร ที่อยู่ที่ปลอดภัยมั่นคง ระบบสัมผัสพัฒนาการได้ยิน สัมผัสแตะต้อง กลิ่นรส การมองเห็น การกระตุ้น การสัมผัสทางร่างกายอย่างต่อเนื่องจริงจัง เริ่มระบบการสั่งการ พัฒนาการตอบสนองตามธรรมชาติไปสู่การพัฒนากล้ามเนื้อแกน กล้ามเนื้อคอ แขนและขา เริ่มพลิกตัว นั่ง คลาน และเดินได้ตามลําดับ ทําความรู้จักกับระบบการเคลื่อนไหวของตัวเอง

• ช่วง 15 เดือน - 5 ปี เริ่มพัฒนาเรื่องของความสัมพันธ์ เด็กจะเริ่มเข้าใจ ในความเป็นตัวเองและผู้อื่น เข้าใจอารมณ์ของตัวเอง และผู้อื่น เข้าใจ ภาษาของตัวเองและผู้อื่น การสื่อสาร การสร้างจินตนาการ พัฒนาความจําการเข้าสังคม

• ภายในระยะอายุ 5 ขวบแรกของเด็ก สมองของเด็กจะมีขนาด 9 ใน 10 ของขนาดสมองผู้ใหญ่ช่วงระยะอายุ 3 ขวบ เด็กจะสามารถเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว การเคลื่อนไหวเป็นทั้งผลลัพธ์จากการพัฒนาของสมองและเป็นตัวกระตุ้นการพัฒนาสมอง

• กิจกรรมด้านศิลปะจะเป็นการพัฒนาการสร้างรูปแบบหรือวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองของเด็กการเล่นของเด็กคือการซักซ้อม และพัฒนาทักษะเพื่อเพิ่มวงจรการเรียนรู้ ของสมองให้หนาแน่นขึ้น

• วิธีการอธิบายความซับซ้อน จะส่งผ่านได้โดยนิทาน บทเพลงให้เด็กฟังอย่างสม่ำเสมอ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้บางครั้งเป็นการใช้สมองซีกซ้ายแต่เพียงด้านเดียว หรือเป็นกิจกรรมที่ไม่มีการเคลื่อนไหว การสัมผัส การทรงตัว ทําให้เกิดความเครียด เนื่องจากไม่ได้ใช้สมองทั้งซีกซ้ายและขวาไปพร้อมกัน ควรใช้การบริหารสมอง (Brain Gym) ช่วยผ่อนคลาย โดยมีหลักการคือเมื่อบริหารไปแล้ว จะช่วยเพิ่มความแข็งแรง ในการทํางานของกล้ามเนื้อเชื่อมตรงกลางสมองที่เรียกว่า Corpus Collosum ให้ ทํางานได้อย่างคล่องแคล่ว สามารถควบคุมความเครียด ขจัดความเครียดลงได้ ก่อให้เกิดสภาวะจิตใจที่มีความพร้อมที่จะเรียนรู้ เกิดความจําทั้งระยะสั้นระยะยาวและมีอารมณ์ขัน คลื่นสมองจะลดความเร็วลงจากคลื่นเบต้าเป็นคลื่นแอลฟา เพื่อให้เกิดสภาวะที่สมองสามารถทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

การบริหารสมองอย่างถูกต้องและเหมาะสม จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการ เรียนรู้และอาจช่วยแก้ไขปัญหาเด็กเกี่ยวกับการเรียน เช่น สมาธิสั้น พฤติกรรมอยู่ ไม่สุข มีปัญหาด้านการควบคุมอารมณ์ และมีปัญหาด้านการเรียนรู้ เช่น การอ่าน การเขียน ได้บ้าง