การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองเด็กปฐมวัย

ตอนที่ 3 ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาสมอง


 เรื่องที่ 1 ระดับสติปัญญาที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมและการเลี้ยงดู 


ในอดีต หลายคนเชื่อว่าเด็กทุกคนเกิดมาพร้อมกับถูกกำหนดไว้แล้วว่าเขาจะ เป็นเด็กฉลาด หรือ โง่ หรือ ปานกลาง แต่ปัจจุบันมีการวิจัยค้นคว้าหาความรู้ เรื่องสมอง ทําให้เรารู้ว่าการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของพ่อแม่มาสู่เด็ก เป็นเพียง ส่วนประกอบหนึ่งเท่านั้น เด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ หากจัดสภาพแวดล้อมที่ เหมาะสมต่อการเรียนรู้ ถูกระยะเวลาของสมองแต่ละช่วงอายุจะสามารถพัฒนาไปได้ ฉะนั้นปัจจุบันจึงเปลี่ยนความเชื่อว่า เด็กทุกคนล้วนมี พรสวรรค์ กันทุกคน สมอง ของเด็กถูกสร้างและพัฒนาขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์แม่ โดยผ่านทางการรับประทานอาหาร ซึ่งต้องการอาหารที่หลากหลายเพื่อใช้ในการพัฒนาสมอง

พันธุกรรมจะมีผลทั้งโครงสร้างทางกายภาพ ความรู้สึกนึกคิด และความ สามารถพิเศษ ความฉลาดและไม่ฉลาดที่จะเป็นลักษณะเด่นที่บันทึกไว้ใน DNA ของมนุษย์ มีการวิจัยค้นคว้าว่าเด็กที่มีความสามารถพิเศษมักจะมีแม่เป็นคนที่มีความสามารถพิเศษด้วย

การถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อแม่จะมีผลต่อการพัฒนาสมองของเด็ก เพียง 10% เท่านั้น สมองของเด็กถูกสร้างและพัฒนาขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ดังนั้น หากเด็กที่มีแม่ที่มีภาวะโภชนาการดีจะส่งผลให้สุขภาพของลูกมีความสมบูรณ์ แข็งแรง และหากได้รับสารอาหารที่เสริมสมองตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เช่น กรดโฟลิก หรือ วิตามินบี 9 หรือโฟเลท แคลเซียม ไอโอดีน โปรตีน ธาตุเหล็ก สังกะสี และไขมัน จะสร้างความสมบูรณ์ของสมองเด็กได้ดีขึ้น เด็กต้องมีการเจริญเติบโต การสร้างเซลล์ใหม่ หรือการขยายเซลล์ ในร่างกายจำเป็นต้องใช้สารอาหารที่เหมาะสม หากเด็กขาดสารอาหาร จะส่งผลต่อการพัฒนาสมองมาก

อาหารมีความสําคัญต่อการเจริญเติบโตของเซลล์สมอง (Neurons) ในช่วง ขวบปีแรกนมแม่เป็นอาหารสําคัญในการพัฒนาสมอง ทําให้ผนังของ axon มีความ หนาสามารถนําส่งข้อมูลไปเชื่อมต่อกับเซลล์สมองตัวอื่นได้อย่างคล่องแคล่ว ว่องไวหลังจากหย่านมแม่แล้ว โปรตีนจากอาหารแหล่งต่างๆ เช่น ปลา เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว ต่างๆ จะมีบทบาทร่วมกับ กรดไขมัน โอเมก้า 3 และ 6 ที่ได้จากปลา ควรให้บริโภค ในมื้อหลัก 3 เวลา และนมอีกวันละ 2 มื้อ มื้อละ 1 แก้ว แป้งจะได้จากข้าว ขนมปัง เผือก มัน ช่วยให้พลังงาน เด็กปฐมวัย 4-5 ปี ควรให้บริโภควันละ 5-6 มื้อ มื้อหลัก คือ เช้า กลางวัน เย็น และระหว่างมื้อ เป็นของว่างอีก 2-3 มื้อ แต่ละมื้อควรได้รับ ข้าวหรือก๋วยเตี๋ยว 1 ทัพพี ของว่างเป็นขนมปัง 1-2 แผ่น ตุ๊กกี้ 3-4 ชิ้น ขนมไทย 1 ชิ้น เด็กเล็กลดปริมาณลงแต่ไม่ลดจํานวนมื้อ ไขมันได้จากปลาและพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันงา ถั่ว ผลไม้เมล็ดแห้ง กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า บริโภคแต่ พอควร ผักและผลไม้ให้วิตามินและเกลือแร่ ใยอาหาร ผัก ควรบริโภคให้ครบทั้ง 3 มื้อหลัก ผลไม้บริโภคอย่างน้อย 2 มื้อหลัก วิตามินและเกลือแร่จะช่วยให้สมองและ ระบบประสาททําหน้าที่ได้อย่างดีตามปกติคือ วิตามิน บี1 บี2 บี3 บี5 บี6 วิตามินดี กรดโฟลิก แคลเซียม โครเมียม เหล็ก แมกเนเซียม ซีเรเนียม สังกะสี ซึ่งสําคัญในการเติบโตของสมอง และการทําหน้าที่ของสมองและระบบประสาท เด็กปฐมวัยต้องได้ดื่มน้ำทุก 45 นาที โดยการจิบน้ำพอประมาณ 2-3 อีก เพื่อส่งเสริมการทํางานของสมอง เนื่องจากน้ำเป็นส่วนประกอบของเลือด ฮอร์โมน ซึ่งสมองต้องการเลือดถึง 20% ของจํานวนเลือดทั้งหมดที่ร่างกายต้องการเพื่อไป เลี้ยงเซลล์สมองให้ทํางานได้อย่างปกติ และน้ำเป็นตัวช่วยในการทํางานของระบบ การส่งสารหรือข้อมูลของเซลล์ประสาท องค์ประกอบของเนื้อเยื่อสมองร้อยละ 85 คือน้ำ หากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะเกิดภาวะขาดน้ำ มีผลทําให้ระดับพลังงานในสมอง ลดลง และมีผลต่อการส่งข้อมูลจากเซลล์สมองไปสู่กันและกัน นอกจากนี้แล้ว ภาวะขาดน้ำยังก่อให้เกิดภาวะความเครียดมีผลทําให้การรับรู้เกิดขึ้นได้น้อย ปริมาณ ที่เหมาะสมที่ร่างกายควรได้รับน้ำคืออย่างน้อย 900 ซี.ซี. ยิ่งดื่มมากยิ่งดีต่อสมอง และร่างกาย นอกจากน้ำสะอาดแล้ว ยังอาจได้รับในรูปของนมและน้ำผลไม้สด ยกเว้นน้ำหวาน น้ำอัดลม

ความรักใคร่ผูกพันระหว่างครอบครัวของเด็กปฐมวัยที่มีความมั่นคง เป็นปัจจัยสําคัญต่อพัฒนาการสมองของเด็กทารกความรักใคร่ผูกพันจะขยายจาก ผู้เลี้ยงดูคนแรกคือแม่ไปสู่พ่อและสมาชิกในครอบครัว เมื่อเด็กเข้าสู่ระบบการพัฒนาจะสามารถขยายความรักผูกพันไปยังผู้เลี้ยงดูเด็ก และเพื่อนทําให้เด็กมีประสบการณ์ของความรักใคร่ผูกพันพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งเสริมพัฒนาการของสมองและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย หากเด็กเกิดความเครียดและความกลัวในระดับสูงจะเป็น อุปสรรคในการพัฒนาสมองของเด็ก

สิ่งสําคัญที่สุดสําหรับการพัฒนาการของเด็กคือ การสัมผัส กอดรัดอย่าง จริงใจจากคนรอบข้าง การลูบไล้ที่หลัง แขน มือ เท้าและใบหน้าของทารกจะช่วย กระตุ้นให้ระบบประสาทสัมผัสเจริญเติบโต ซึ่งการสัมผัสแรกเริ่มนี้จะส่งผลให้เกิด การเคลื่อนไหว การมองเห็น การกะระยะ และการตอบสนองต่อความเครียดได้ดี หากไม่ได้รับการกระตุ้นจะทําให้การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อได้รับความเสียหายไม่สามารถรับสัมผัสได้อย่างครบถ้วน ตอบสนองต่อความเครียดมากกว่าปกติ หงุดหงิดและอาจเกิดภาวะบกพร่องในการรับรู้ ระบบประสาทสัมผัสจะพัฒนาอย่าง เชื่องช้า อวัยวะต่างๆ ของร่างกายอาจหยุดทําหน้าที่และอาจเสียชีวิตได้ ในช่วงเวลา สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการศึกษาวิจัยในสถานเลี้ยงดูเด็กกําพร้าบางแห่ง ใน ประเทศฝรั่งเศสพบว่า เด็กกําพร้าที่ไม่ได้รับการสัมผัสมีอัตราการเสียชีวิตในวัยเด็กสูงมาก แต่หากได้รับการสัมผัสแม้จะเป็นในทางลบเช่นการทุบตีแต่เป็นการทํา ให้อัตราการตายของเด็กลดลงได้สอดคล้องกับวิธีการเลี้ยงดูเด็กแบบดั้งเดิมของ คนไทยที่นิยมดัดแขนดัดขามิให้โค้งงอหรือคลี่ใบหูของเด็กเล็กเวลาอาบน้ำจัดเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ให้สัมผัสกับเด็กเล็กได้ดีมาก ดังนั้นเป็นข้อที่ควรระลึกไว้ว่า การสัมผัสทางผิวหนังเท่านั้นที่สามารถกระตุ้นให้ระบบรับสัมผัสหรือระบบสั่งการเจริญเติบโตได้ ทําให้เกิดการพัฒนาเครือข่ายประสาทมากขึ้น และกระตุ้นให้ทารกมีโอกาสต่อสู้เพื่อการอยู่รอดมากขึ้น

ความสามารถทางสติปัญญาและความถนัดของเด็กเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะพัฒนาเด็กให้มีศักยภาพเต็มตามวัย ความสามารถทางปัญญาเป็นความสามารถที่ แสดงออกมาให้คนชื่นชมยอมรับ ส่วนความถนัดของเด็กแต่ละคนยังไม่เป็นที่เข้าใจ กันอย่างกว้างขวาง ทั้ง ๆ ที่เป็นส่วนที่สําคัญมาก เช่น เด็กบางคนมีความสามารถ ทางด้านศิลปะมากกว่าคณิตศาสตร์ หรือถนัดด้านดนตรีมากกว่างานศิลปะการเลี้ยงดูเด็กทั้งทีบ้านและสถานเลี้ยงดูเด็ก จะมีอิทธิพลอย่างสูงในการที่จะ ทําให้เด็กมีทักษะพื้นฐานทางความคิด อัจฉริยภาพ และสติปัญญาที่ดี

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี (2540) ได้กล่าวว่า สมองของ ประเทศชาตินั้นขึ้นกับสมองของคนทุกคนรวมกัน สมองทั้งหมดจะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่ กับปัจจัย 3 กรณี ดังนี้

1. มีเซลล์สมองที่สมบูรณ์ การขาดโปรตีน ขาดธาตุเหล็ก ขาดไอโอดีน การเป็นโรคติดเชื้อบางชนิด เช่น โรคไข้สมองอักเสบ เป็นหัด การโดนพิษบางชนิด เช่น โลหะหนักบางอย่าง เช่น สารตะกั่ว การได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง การได้รับมลพิษทุกรูปแบบ 

2. มีใยประสาทเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมอง ถ้ามีใยประสาทเชื่อมโยงระหว่าง เซลล์สมองมากก็จะฉลาด ถ้ามีน้อยก็โง่ ใยประสาทในสมองจะเกิดขึ้นมากหรือ น้อยขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมการเลี้ยงดูในวัย 0-6 ขวบ การเลี้ยงดูจึงเป็นสิ่งสําคัญที่สุดต่อสมอง

3. กระบวนการเรียนรู้ ถ้าสมองมีโครงสร้างดี แต่กระบวนการเรียนรู้ไม่ดีก็ ทําให้เด็กไม่พัฒนา ประเทศไทยมีโรงเรียนและสถานศึกษาจํานวนมาก แต่ไม่เข้าใจ กระบวนการเรียนรู้ของเด็ก ยึดถือแต่รูปแบบ ทําให้จัดการเรียนการสอนที่ทําให้เด็กมี ความทุกข์ และทำลายศักยภาพของเด็กในที่สุด 


กิจกรรมที่ 3

1. จากภาพที่แสดงความแตกต่างของสมองของเด็กปรกติและสมอง เด็กกําพร้าให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นถึงความแตกต่างในแต่ละจุดและส่งผลต่อพฤติกรรมอย่างไรบ้าง

2. ให้นักศึกษาเล่าประสบการณ์ที่ได้รับจากการเลี้ยงดูที่เป็นการ กระตุ้นประสาทสัมผัสและนักศึกษาคิดว่าน่าจะนําไปปรับใช้กับเด็กปฐมวัยอย่างไรบ้างยกตัวอย่างมาสัก 3 ข้อ 


เรื่องที่ 2 สถานภาพทางเพศและบทบาททางสังคม


ภาวะความแตกต่างทางเพศที่เป็นข้อกําหนดบทบาทของเด็ก อาจเป็นตัวปิดกั้นความสามารถของเด็กหญิงและเด็กชายบทบาทที่ตายตัวของพฤติกรรมแต่ละเพศเนื่องจากค่านิยมของสังคมได้กำหนด เช่น เด็กชายต้องเก่งงานเลื่อยไม้ เครื่องจักรยนต์กลไก ด้านคณิตศาสตร์ เด็กหญิงต้องเก่งในด้านการเย็บปักถักร้อย งานฝีมือ ด้านภาษา แต่หากเด็กมีความชอบในเรื่องที่ไม่ตรงกับบทบาททางสังคม ก็อาจถูกห้าม เช่น เด็กชายชอบทําครัวอนาคตอาจพัฒนาเป็นพ่อครัวฝีมือเยี่ยม ของโลก หรือเด็กหญิงชื่นชอบในเรื่องเครื่องยนต์กลไก ก็อาจเป็นวิศวกรหญิง ระดับโลกได้ ดังนั้นจึงไม่ควรปิดกั้นความสามารถของเด็กให้อยู่ในวงจํากัด 

ในเพศหญิงและเพศชายจะมีความแตกต่างของสมองทางกายภาพคือ จํานวนเซลล์สมอง เพศชายจะมีเซลล์สมองมากกว่าผู้หญิง 4% หรือมากกว่า ประมาณ 100 กรัม เซลล์สมองเชื่อมต่อ ในเพศชายจะมีเส้นใยประสาท (Dendrite) ที่เชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมองน้อยกว่าเพศหญิง คอร์พัส โคลอสซัม ใน เพศหญิงจะมีขนาดใหญ่กว่าเพศชาย ดังนั้นเพศหญิงจึงสามารถแปลข้อมูลระหว่าง สมองซีกขวาและสมองซีกซ้ายได้รวดเร็วกว่าผู้ชาย สมองส่วนลิมบิก สมองส่วนนี้ ของเพศหญิงจะมีลักษณะหยักลึกใหญ่กว่าของเพศชาย ซึ่งสมองส่วนนี้เป็นส่วนของ สัญชาตญาณความผูกพัน สร้างสัมพันธ์ ข้อดีของการมีลิมบิกขนาดใหญ่กว่าของ เพศหญิง คือ ทําให้เพศหญิงมีความรู้สึกที่ละเอียดกว่าเพศชาย สามารถจับอารมณ์ และความรู้สึกได้เร็วกว่า ทั้งยังแสดงอารมณ์ได้ละเอียดกว่าเพศชาย เพศหญิงจึงมี ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์หรือประสานความสัมพันธ์ได้ดีกว่าเพศชาย ด้วยเหตุนี้ ธรรมชาติจึงมอบหมายหน้าที่ในการเลี้ยงดูลูกให้แก่เพศหญิง ข้อเสีย ของการมีขนาดสมองลิมบิกมากกว่าเพศชายคือทําให้เพศหญิงมีภาวะซึมเศร้ามากกว่าเช่นกัน

กิจกรรมที่ 4

ให้นักศึกษาเขียนแผนการจัดกิจกรรมและวิธีจัดกิจกรรมที่จะส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยทั้งหญิงและชายได้แสดงความสามารถตามความถนัดมา 1 กิจกรรม ใช้เวลาประมาณ 20 นาที


เรื่องที่ 3 การจัดการศึกษาและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาสมอง


การจัดการศึกษาต้องให้ความสําคัญต่อความสามารถเฉพาะของเด็ก เน้นให้ เกิดทักษะกระบวนการคิด การจัดสภาพแวดล้อมนอกห้องเรียน ได้แก่ชุมชนที่อยู่ รอบตัวเด็ก การเรียนรู้ นอกห้องเรียน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ แหล่งเรียนรู้ในชุมชน สถานที่ทํากิจกรรมพิเศษ สถานที่ท่องเที่ยว บุคคลที่อยู่ในท้องถิ่น สิ่งสําคัญคือ สภาพแวดล้อมของชุมชนเป็นอย่างไร เด็กก็จะคล้อยตามสิ่งนั้น เช่น ถ้าเด็กอยู่ใน สภาพแวดล้อมที่มีแต่อบายมุข ก็จะมีความเสี่ยงสูงต่อการพัฒนาทางคุณธรรมจริยธรรม

การศึกษาที่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยจัดให้ ต้องสอดคล้องกับวัยของเด็ก การ เรียนรู้ของเด็กคือการเล่น เพราะการเล่นการทํากิจกรรม ทําให้เด็กได้รู้จัก ความสามารถของตนเอง พร้อมกับรู้จักโลกรอบตัวไปด้วย โดยกิจกรรมต้อง คำนึงถึงพัฒนาการในทุกด้านของเด็ก โดยมีหลักคือ ของเล่น ต้องหลากหลาย เหมาะกับวัยและพัฒนาการของลูก ให้โอกาสได้ลองผิดลองถูก ต้องจัดให้มีกิจกรรม โดยการวิ่งเล่นและเครื่องเล่นสนามเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ กลางแจ้งมีกิจกรรมดนตรี ลีลา เสียงเพลง เพื่อช่วยพัฒนาความเชื่อมต่อของเส้นใยประสาท เพิ่มความสามารถในการจำ เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

เหตุผลของการที่ต้องจัดบรรยากาศอันหลากหลายให้แก่เด็ก จะเป็นการสร้างเครือข่ายระบบประสาทที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการเรียนรู้ที่ซับซ้อนเช่นกัน แม้อัตราการเจริญเติบโตของสมองจะเริ่มช้าลงเมื่อเด็กเริ่มโตขึ้น แต่การเชื่อมโยงของเซลล์สมองที่เกิดขึ้นใหม่อยู่เรื่อย ๆ จะเสริมให้สมองมีการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ ในการจัดเก็บข้อมูลใหม่ๆ ที่ได้รับ แล้วนําไปพัฒนาลักษณะนิสัยและพัฒนาทักษะ ใหม่ๆ ต่อไป จึงนับได้ว่าประสบการณ์คือ ครูที่ดีของเด็กก็ว่าได้ เพราะทุกครั้งที่ได้ รับประสบการณ์ใหม่ การสร้างทางเดินของเส้นประสาทและการเชื่อมโยงระหว่าง เซลล์สมองของเด็ก จะพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อสมองต้องจัดการกับข้อมูลที่ผ่าน ประสาทสัมผัสทั้งห้า ส่งผลให้ทางเดินเส้นประสาทที่มีอยู่เดิมเปลี่ยนแปลงไปหรืออาจเกิดเส้นทางเดินประสาทใหม่เจริญเติบโตขึ้น เพื่อรองรับการจัดเก็บข้อมูลใหม่ๆ ในรูปแบบที่สมองเป็นผู้สั่งการเอง การสร้างเครือข่ายระบบประสาทตามที่กล่าวมาแล้ว ทําให้สมองของแต่ละคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในการควบคุมความคิดและการกระทำ เด็กทุกคนจึงมีวิธีการคิด ลักษณะของการเรียนรู้ การแสดงออกที่แตกต่างกันไปกับ

เมื่อเด็กได้รับประสบการณ์เดิมเดียวกันที่ผู้เลี้ยงดูเด็กจัดให้บ่อยครั้ง เสริมความเข้มแข็งให้กับทางเดิน

เส้นประสาทที่ใช้เก็บความจําส่วนนั้นสมองจะ ดังนั้น การเสริมแรงให้เด็กได้เรียนรู้ จึงเป็นการปลูกฝังลักษณะความคิดและการกระทำในส่วนของลักษณะนิสัยของเด็กไม่ว่าจะเป็นด้านใด เกิดจากทางเดินเส้นประสาทที่ ใช้ในการคิดที่แข็งแกร่ง ที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ หากเด็กได้รับประสบการณ์ใหม่ จะเกิดลักษณะนิสัยใหม่ขึ้นเช่นเดียวกัน สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก มีอิทธิพลต่อการทําให้สมองพัฒนาและเปลี่ยนแปลงได้ หากผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยจัดสิ่งแวดล้อมเหมาะสม จะส่งผลให้เด็กฉลาด เกิดพฤติกรรม ในด้านบวกและการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ๆ ใน สมองและเกิดการเชื่อมโยงมากขึ้น สิ่งแวดล้อมแรกที่ผู้เลี้ยงดูเด็กควรคำนึงถึงคือ แสงสว่างที่เหมาะสมต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ควรใช้แสงสว่างจากธรรมชาติ แสงจากธรรมชาติจะเป็นส่วนประกอบของสีรุ้ง ควรมีหน้าต่างให้แสงสว่างส่องผ่าน อย่างน้อยร้อยละ 20 ของฝาผนัง เปิดหน้าต่างให้แสงสว่างส่องเข้าถึงขณะเด็กอยู่ใน อาคาร การที่เด็กอยู่ในแสงสว่างที่ไม่เพียงพอหรือไม่ใช้แสงสว่างจากธรรมชาติ เช่น แสงไฟจากหลอดฟลูออเรสเซนส์สีขาว จะทําให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนซึ่งสัมพันธ์กับ การเกิดภาวะเครียด และยับยั้งการเจริญเติบโต ในสถานพยาบาลของบางประเทศ เช่น เยอรมันจะห้ามใช้หลอดไฟฟ้าที่มีเฉพาะแสงสีขาวที่ไม่มีส่วนประกอบของแสงสีแดง น้ำเงิน และม่วง ตามที่มีอยู่ตามธรรมชาติและต้องจัดให้เด็กมีกิจกรรมกลางแจ้ง อย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง 

นอกจากนี้แล้วห้องเรียนควรเป็นห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกมีพื้นที่ว่าง สําหรับกิจกรรม ที่ไม่ต้องใช้เก้าอี้หรือสามารถปรับใช้ได้ตามความต้องการ มีโต๊ะเก้าอี้ ที่นั่งสบาย เครื่องใช้หรือสีของห้องมีสีสันช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสส่วนการมองเห็น มีสิ่งมีชีวิตบางอย่าง เช่น ต้นไม้ประดับ แจกันดอกไม้ อ่างบัวที่มีปลา มีป้ายบอร์ด หรือผนังสําหรับจัดแสดงผลงานของเด็ก อุปกรณ์การศึกษาอยู่ในสภาพดีสวยงามน่าใช้ 

จัดเตรียมน้ำสะอาดสําหรับดื่มอยู่ใกล้มือเด็ก มีมุมสบายๆ มุมสําหรับเป็นทางเลือก ของเด็กในการทํากิจกรรมตามที่ตัวเองชอบ และที่สําคัญที่สุดคือ ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีลักษณะผ่อนคลายและพร้อมที่จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ อย่างง่ายๆ ตามธรรมชาติ เลือกใช้กิจกรรมที่หลากหลายในเวลาที่เหมาะสม

 

กิจกรรมที่ 5 ให้นักศึกษาเขียนแผนผังสถานที่ที่ใช้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มี ตำแหน่งของประตูหน้าต่างตามสภาพจริงพร้อมวิเคราะห์ว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด มีความสมบูรณ์หรือต้องมี การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขอะไรบ้าง