เพลงและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

ตอนที่ 3 การพัฒนาชีวิตตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสสำหรับครูปฐมวัย

คำอธิบายรายวิชา

       จินตนาการ เกิดจากการสะสมคำสั่ง/ภาพพจน์จากจิตใต้สำนึก ซึ่งถือว่าเป็นอิทธิพลที่ยิ่งใหญ่ต่อจิตใจของมนุษย์ คำกล่าวของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวไว้ว่า "จินตนาการมีคุณค่ากว่าความรู้มากมายนัก" จินตนาการของคนเราจึงมีความสัมพันธ์เป็นอย่างยิ่งกับการเปลี่ยนแปลงภาพพจน์ของตัวเอง นักวิทยาศาสตร์ได้ประมาณเอาไว้ว่า คนทั่วไปมักมีการเรียนรู้สิ่งต่างๆ มากถึง 70% ของการเรียนรู้ทั้งหมดของชีวิตในช่วงปีแรกที่เกิดขึ้นมาในโลก ซึ่งในช่วงแรกของชีวิตนี้คนเราจะมีจินตนาการสูงที่สุด ดังนั้น เด็กปฐมวัยจึงเป็นวัยที่สามารถเริ่มต้นเก็บสะสมภาพพจน์/คำพูดที่ดีและจะเปลี่ยนแปลงได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว และจะนำไปสู่จินตนาการที่มีอยู่ตลอดชีวิต จึงมีผู้กล่าวว่า "จงฝึกออกกำลังสมองด้วยการจินตนาการให้มากพอๆ กับการออกกำลังกายทุกวัน"

วัตถุประสงค์

เมื่อศึกษารายวิชานี้จบแล้ว นักศึกษาสามารถ

       1. บอกความสำคัญของการพัฒนาชีวิตได้

       2. อธิบายถึงความหมายและประโยชน์ของพลังแห่งจินตนาการ

       3. บอกลักษณะของคลื่นสมองที่มีประสิทธิภาพสูงในการทำงาน

       4. บอกประโยชน์ของการบริหารจิต

       5. เข้าใจและบอกถึงลักษณะของคำพูดแบบนีโอได้

       6. บอกขั้นตอนของการพัฒนาการเรียนรู้

       7. บริหารจิตและบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเองและกับเด็กปฐมวัยได้

เนื้อหา

       รายวิชาที่ 3 นี้ แบ่งออกเป็น 4 ตอน

       เรื่องที่ 1 ความสำคัญของการพัฒนาชีวิต

       เรื่องที่ 2 นีโอฮิวแมนนิสคืออะไร

       เรื่องที่ 3 คำแนะนำและขั้นตอนการใช้สื่อประสมเพื่อสร้างจินตนาการสำหรับผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

       เรื่องที่ 4 คำแนะนำและขั้นตอนการใช้สื่อประสม เพื่อสร้างจินตนาการสำหรับเด็กปฐมวัย

กิจกรรมการเรียนการสอน

       1. ศึกษาตอนที่ 2 ตั้งแต่เรื่องที่ 1 ถึงเรื่องที่ 7 พร้อมฝึกทำกิจกรรมในแต่ละตอนให้สมบูรณ์ตามลำดับ

       2. ฝึกสมาธิโดยการใช้แถบเสียงกับตนเองวันละ 30 นาทีทุกวันติดต่อกันเป็นเวลา 1 เดือน และบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขั้นในแต่วัน

       3. ฝึกสมาธิโดยการใช้แถบเสียงกับเด็กปฐมวัยวันละ 30 นาทีทุกวันติดต่อกันเป็นเวลา 1 เดือน และบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่วัน

       4. เมื่อศึกษาจบตอนที่ 2 แล้ว โปรดทำแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อทราบความก้าวหน้าของการเรียน

สื่อ/เทปเสียง

       1. สื่อ CD เพลง พร้อมแถบเสียงคำพูดด้านบวก จำนวน 4 ตอน

การประเมินผล

       1. การทำแบบทดสอบตอนเอง ก่อน-หลังเรียน

       2. การบันทึกกิจกรรมหลังการฝึกการสร้าง EQ เพื่อสร้างจินตนาการตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิส

 เรื่องที่ 1 ความสำคัญของการพัฒนาชีวิต

แนวคิด

       การพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ต้องพัฒนาทั้งทางร่างกาย พัฒนาความคิดและพัฒนาจิตใจเพื่อให้เกิดความพอดี ความสมบูรณ์และความสมดุลในการดำเนินชีวิต ซึ่งควรจะต้องมีการฝึกฝน เรียนรู้ ตั้งแต่แรกเกิด ก็จะทำให้ชีวิตมีความสมดุลมากยิ่งขึ้น

1. ความสำคัญของการพัฒนาชีวิต

       การพัฒนาชีวิต หมายถึง การเรียนรู้ การฝึกฝนและการหาความรู้ใส่ตัวเพื่อการพัฒนาให้ชีวิตดำเนินไปตามจุดมุ่งหมาย

       ความสำคัญของการพัฒนาชีวิตคือ

       มนุษย์ดำเนินชีวิตได้ต้องมีการเรียนรู้ ต้องมีการฝึกฝน ต้องพัฒนาและปรับปรุงตัวอยู่ตลอดเวลา นับตั้งแต่คลอดออกจากท้องมารดา มนุษย์ก็มีการปรับตัวโดยการเปล่งเสียงร้องซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นเรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่รอด เมื่อถึงเวลาหิวก็ร้องไห้เพื่อขอนมยังชีพ เมื่อผ้าอ้อมเปียกก็ร้องไห้ จึงเห็นได้ว่าการต้องการให้มีชีวิตรอดได้ต้องมีการฝึกฝน ฝึกหัดปรับตัวและต้องมีการเรียนรู้ตลอดเวลา

       เมื่อมนุษย์โตขึ้นยิ่งต้องมีการเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดเวลา การหมั่นฝึกฝนและหมั่นพัฒนาตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ ความคิด การเข้าสังคม การทำงาน การพัฒนาความรู้ หรือการพัฒนาการดำรงชีวิต เป็นต้น ยิ่งเมื่อพัฒนามากเท่าใดก็จะนำชีวิตไปสู่ความดีงาม และชีวิตที่สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น

       การพัฒนาชีวิตให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ต้องพัฒนาร่างกาย พัฒนาความคิดและพัฒนาจิตใจเพื่อให้เกิดความพอดี เกิดความสมดุลในการดำเนินชีวิต พาชีวิตไปสู่ความสุข

2. ความสำคัญของชีวิตการพัฒนาเด็กปฐมวัย

       นักวิทยาศาสตร์ได้ประมาณเอาไว้ว่า คนทั่วไปมักมีการเรียนรู้สิ่งต่างๆ มากถึง 70% ของการเรียนรู้ทั้งหมดของชีวิตในชวง 6 ปีแรกที่เกิดขึ้นมาในโลกซึ่งถือว่าเป็นช่วงที่มีจินตนาการสูงที่สุด ดังนั้น พ่อแม่ที่มีความรู้ในเรื่องของพัฒนาการและจินตนาการของเด็ก ก็มักจะปลูกฝังจินตนาการของเด็กในวัยทารกไว้ โดยผ่านเสียงเพลง การเล่านิทาน หรือคำพูดที่ดี เพื่อปลูกฝังให้จินตนาการและความสามารถนั้นๆ ไว้จินตนาการของเด็ก ซึ่งจะส่งผลไปเป็นบุคลิกภาพของผู้ใหญ่ในอนาคต

       เด็กปฐมวัยในศูนย์เด็กเล็ก ก็จะเป็นช่วงในวัย 6 ปีแรกที่มีความสำคัญแต่ผู้ปกครอง ส่วนใหญ่จะเฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงของเด็ก เฉพาะด้านที่อยากเห็นหรืออยากให้ชัดเจน คือ การอ่าน การเขียนและการพูด การรีบสอนให้เด็กท่องจำจะมีผลดีในระยะสั้น แต่ในระยะยาวความคิดสร้างสรรค์หรือจินตนาการของเด็กจะถูกตัดทอนไป เมื่อเด็กคนนั้นโตเป็นผู้ใหญ่การทำงานของสมองซีกช้ายและขวาจะไม่สมดุลกัน เพราะขาดการฝึกที่เหมาะสม สมองส่วนที่สร้างจินตนาการ (ซีกขวา) ประมาณ 93% จะถูกครอบงำด้วยสมองรู้จำ (สมองชีกซ้าย) เพราะไม่ได้รับการฝึกที่ถูกต้องตามวัย จึงมีผลต่อการดำรงชีวิตในระยะยาว ซึ่งตามธรรมชาติของเต็กในวัยปฐมวัย เป็นวัยที่ต้องการเล่น ต้องการสร้างจินตนาการและความคิดฝันก้าวไกล  ซึ่งจะเกิดจากภายในจิตใจของโดยวิธีการฟังเพลง การพูด การเล่า มาสู่การพูด การอ่าน และการเขียนและการสื่อสารเป็นภาพ

เรื่องที่ 2 นีโอฮิวแมนนิสคืออะไร

       นีโอฮิวแมนนิส คืออะไร

       "กิ่งไผ่อ่อนสามารถจะถูกตัดหรือปรับให้อยู่ในรูปแบบใดก็ได้ ส่วนกิ่งไผ่แก่จะต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวด ในการตัดหรือปรับให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม..." นี่คือ แนวคิดของนีโอฮิวแมนนิส

       นีโอ แปลว่า ใหม่

       ฮิวแมนนิส แปลว่า มนุษย์

       นีโอฮิวแมนนิส คือ "ยิ่งเรารู้ว่าดนตรีมีผลต่อสมองมากเท่าใด เราก็จะเห็นความสำคัญของดนตรีมากยิ่งขึ้นเท่านั้น เรารู้ดีว่า ดนตรีมีผลต่ออารมณ์ แต่ไม่ได้มีเพียงแค่เท่านั้น มันยังมีผลต่อสมองส่วนที่ทำการคิดและให้เหตุผลด้วย ดนตรีจะซึมเข้าไปสู่โครงสร้างของสมอง ซึ่งจะช่วยให้คุณคิดอะไรที่ซับซ้อนขึ้น และทำให้คุณได้ใช้สมองในทางที่สร้างสรรค์มากขึ้น กอร์ดอน ชอว์

       "มนุษย์ยุคใหม่ที่มีความคิดที่จะพัฒนาตนเอง (รู้จักตนเอง) รักตนเอง เห็นคุณค่าของตนเอง และอยากจะแบ่งปันพลังของความรัก ความรู้สึกที่ดีต่อคนทุกคน โดยการนำจิตสำนึก จิตใต้สำนึกและจิตเหนือสำนึกที่มีอำนาจอันยิ่งใหญ่ของตัวเราเองมาสร้างความสำเร็จและความสุขให้แก่ตนเองและผู้อื่นได้อย่างเต็มที่"

นีโอฮิวแมนนิสประกอบด้วยอะไร

       1. การสร้างจินตนาการภายใต้ คลื่นสมองต่ำ (คลื่นอัลฟ่า) จะเกิดขึ้นได้ในภาวะของการนอนหลับลึก ซึ่งเป็นกิจวัตรที่สำคัญ แต่บางคนกลับไม่เห็นความสำคัญ แท้ที่จริงแล้ว การนอนหลับเป็นช่วงเวลาที่สมองจะได้จัดเก็บข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับมาในระหว่างวันให้เข้าที่เข้าทาง การนอนหลับอย่างเต็มที่จะทำร่างกายตื่นขึ้นมาพร้อมกับความสดชื่น ถือว่าเป็นการเติมเต็มของชีวิต เป็นการบำรุงรักษา/ซ่อมแซมตัวเอง ทำให้มีอายุยืนยาว

       นักวิทยาศาสตร์ค้นพบข้อเท็จจริงว่า ขณะหลับสมองของเรายังคงทำงานอยู่ตลอดเวลา และสมองของเราจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อมีสภาวะจิตใจสงบที่สุด ในรอบทศวรรษที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์สามารถประดิษฐ์เครื่องมือ EEG โดยต่อเครื่องนี้เข้ากับศีรษะของมนุษย์ ซึ่งจะแสดงคลื่นสมองของคนเราออกมาในรูปของกราฟ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์พบว่าสมองของคนเรานั้น สามารถส่งคลื่นสมองออกมาได้หลายชนิด ซึ่งแปรเปลี่ยนไปตามความสงบของจิตใจและพฤติกรรมของมนุษย์

       - คลื่นแกมม่า

       หรือเรียกว่า คลื่นประจัญบาน มีความถี่มากกว่า 40 รอบ/วินาที เป็นคลื่นสมองของความกลัว ความเกลียดชัง ความโกรธ พร้อมที่จะทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้เสมอ

       - คลื่นเบต้า

       เป็นคลื่นสมองที่เกิดขึ้นในสภาวะปกติ จนถึงวุ่นวายสับสน มีความถี่ประมาณ 12-25 รอบ /วินาที เป็นคลื่นของความวุ่นวายสับสน มีความเครียดสูง นักวิทยาศาสตร์ตะวันตกเป็นจำนวนมากยอมรับว่า ในสภาวะสมองแบบนี้ เราจะมีการรับรู้ข้อมูลต่างๆ ผ่านเข้ามาทางจิตสำนึกได้น้อยมากและจิตใต้สำนึกของคนเราก็จะบันทึกข้อมูลได้น้อยมากเช่นเดียวกัน ในสภาวะคลื่นสมอง แบบนี้ จึงเป็นเหตุให้เกิดความคิดด้านลบ เช่น ความอิจฉาริษยา ความโลภ ความรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าคนอื่น หรือความรู้สึกว่าตนเองโดดเด่นกว่าคนอื่น

       - คลื่นอัลฟ่า

       หรือคลื่นแห่งสมาธิและความสุข เป็นช่วงที่ร่างกายและจิตใจได้ผ่อนคลายและสงบมากที่สุด คือ การตื่นตัวแบบผ่อนคลาย (Relaxed Alertness)  คลื่นชนิดนี้จะมีความถี่ช้ากว่าคลื่นเบต้ามาก มีความถี่ประมาณ 8-12 รอบ/วินาที เป็นคลื่นที่มีความถี่ช้ามาก แต่มีขนาดใหญ่กว่า และมีพลังงานมากกว่าคลื่นเบต้ามาก ในสภาวะนี้คนเราส่งคลื่นชนิดนี้ออกมาจะมีจิตใจสงบ เยือกเย็น สมดุล แต่มีความตื่นตัวพร้อมที่จะทำกิจกรรมใดๆ ของชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ในสภาวะคลื่นต่ำนี้เป็นสภาวะที่สมบูรณ์แบบที่สุด จิตใต้สำนึกของเราจะมีลักษณะคล้ายฟองน้ำสามารถซึมซับข้อมูลใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงภาพพจน์ของเราจะเป็นไปอย่างง่ายดายในสภาวะเช่นนี้ ซึ่งเราเรียกสภาวะนี้ว่า ภวังค์แห่งการรับรู้

       คนที่มีคลื่นสมองประเภทนี้เป็นผู้ที่มีอารมณ์ดี มีความผ่อนคลายสูง มีความคิด สร้างสรรค์สูง มีสมาธิ มีภูมิคุ้มกันในร่างกายสูง มีความจำดี มีความคิดด้านบวก และมีพลังความคิดที่จะนำไปสู่ความเป็นจริงสูง เป็นต้น

       - คลื่นเทต้า (4-7 รอบต่อวินาที)

       หรือ คลื่นคอสมิก เป็นคลื่นที่เข้าสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ และจักรวาลอยู่ในภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่น คลื่นเดลต้า (1-4 รอบต่อวินาที เป็นคลื่นที่อยู่ในภาวะหลับลึกทำให้เข้าถึงสภาวะปีติสุขที่ยิ่งใหญ่ที่สุด มีความรักความเมตตาที่ยิ่งใหญ่ให้กับทุกๆ สรรพสิ่ง ไม่มีความรู้ "ตัวเรา" และ "ตัวเขา"

       2. การสร้างภาพพจน์ของตัวเอง


       นักปราชญ์ชาวตะวันออกได้อธิบายว่า ภาพพจน์ของตัวเรานี้จะติดตัวเราอยู่ตลอดเวลาเหมือนเงาของตัวเราเอง ถือว่าเป็นความเชื่อที่หยั่งลึกลงไปในจิตใต้สำนึกของคนเราที่ทำให้เราเชื่อว่าเราเป็นคนอย่างไร ซึ่งภาพพจน์และความเชื่อของเราจะถูกปลูกฝังจากประสบการณ์ หรือจากคำพูดตั้งแต่วัยเด็กทุกๆ วันโดยที่เราไม่รู้สึกตัว เป็นได้ทั้งเงาสีดำ (ภาพพจน์ด้านลบ) หรือเงาสีขาว (ภาพพจน์ด้านบวก) ที่ปรากฎอยู่ในจิตใต้สำนึกของเราตลอดเวลา

       เราลองมานึกดูว่าภาพพจน์ของเราเป็นด้านบวกหรือไม่ เชน การเป็นคนที่น่ารัก ใจกว้าง คนที่มีความคิดสร้างสรค์ หรือลองมานึกภาพพจน์ด้านลบของเรา เช่น ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง เก็บตัว โมโหร้าย เป็นต้น

       เพื่อที่เข้าใจเกี่ยวกับที่มาของภาพพจน์ตัวเอง เราควรจะเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของจิตใจมนุษย์ของเราเสียก่อน

 การทำงานของจิตใจมนุษย์

       นักปราชญ์ชาวตะวันออกได้แบ่งระดับจิตของมนุษย์ออกเป็น 3 ระดับ

       1. จิตสำนึก (conscious mind) คือประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของคนเรา เช่น ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง โดยมีหน้าที่หลักในการรับรู้ นึกคิดและสั่งการ เพื่อให้ในการดำรงชีวิต เช่น การควบคุมเกี่ยวกับการกิน การขับถ่าย ความรักและความชอบ การสืบพันธุ์ เป็นต้น

       นักปราชญ์โบราณได้ศึกษาและทำความเข้าใจในระดับลึกการทำงานของจิตใจมนุษย์พบว่า จิตสำนึก คือการรับรู้ นึกคิดและสั่งการ แต่คนเรามีจิตอีกส่วนหนึ่งที่มีอำนาจที่ยิ่งใหญ่และทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของจิตสำนึกอยู่ตลอดเวลา นักปราชญ์เรียกระดับจิตใจนี้ว่า จิตใต้สำนึก

       2. จิตใต้สำนึก (Subconscious mind) ทำหน้าที่เป็นศูนย์บันทึกข้อมูลดิบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดทุกประสบการณ์ที่ผ่านจิตสำนึกของคนเรา (ตา หู จมูก ลิ้นและผิวหนัง) จะถูกบันทึกอยู่ในจิตใต้สำนึกของคนเราแต่ละคน และข้อมูลที่บันทึกไว้ในจิตใต้สำนึกนี่เองจะเป็นตัวกำหนดภาพพจน์ ทัศนคติ นิสัยใจคอและพฤติกรรมต่างๆ  ของคนเราอย่างแท้จริง ขอยกตัวอย่างลักษณะหรือพฤติกรรมของคนเราที่เกิดจากจิตใต้สำนึก เช่น คนที่กลัวความสูง คนที่ขาดความเชื่อมั่นและมีพฤติกรรมที่จะหลบตาเวลาพูดคุย คนที่กลัวความแคบ/ความกว้าง คนที่เกลียดการออกกำลังกาย เป็นต้น

       3. จิตเหนือสำนึก

รูปภาพข้างล่าง

จะช่วยให้เราเข้าใจการทำงานของจิตสำนึกและจิตใต้สำนึกได้เป็นอย่างดี

       เราจะพบว่าประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของคนเรานั้น จะถูกสะสม/บันทึกข้อมูลเข้าไปในจิตใต้สำนึกของเราทุกวัน โดยเฉพาะประสาทสัมผัสทาง ตา และทางหู จะเป็นประสาทสัมผัสที่มีการรับรู้มากที่สุด และถ้าเราสัมผัสสิ่งที่ไม่ดี ผ่านทางตา และหูทุกวัน จิตใต้สำนึกเราก็จะบันทึกข้อมูลที่ไม่ดีเข้ามาทุกวันโดยเราไม่รู้ตัว กว่าจะรู้ตัวอีกครั้งก็กลายเป็นพฤติกรรม การกระทำหรือนิสัยของเราไปแล้ว

       นักปราชญ์ตะวันออกและนักจิตวิทยาสมัยใหม่ได้ทำการทดลองครั้งแล้วครั้งเล่าพบว่าใต้สำนึกของคนเรามีพลังมหาศาล มีอำนาจเหนือกว่าจิตสำนึกของคนเรา เขาเปรียบเทียบเหมือนกับก้อนหิมะน้ำแข็งเล็กๆ ที่ลอยอยู่บนพื้นผิวทะเล ส่วนจิตใต้สำนึกของคนเรามากมายนักเปรียบเสมือนกับก้อนหิมะน้ำแข็งก้อนใหญ่ที่จมอยู่ใต้พื้นผิวน้ำ

       มีผู้เปรียบเทียบลักษณะการทำงานของจิตสำนึกและจิตใต้สำนึกไว้อย่างน่าฟังว่าเปรียบเสมือนกับคนขี่ม้าและม้าที่ถูกขี่ คนขี่ม้าเปรียบเสมือนจิตสำนึกซึ่งเป็นผู้กำหนดทิศทางให้ม้าวิ่ง ส่วนม้านั้นมีกำลังมหาศาลมากกว่าคนขี่ม้าเปรียบเสมือนจิตใต้สำนึก เราจะมาเปรียบเทียบกันดูว่า คนขี่ม้า และม้านั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวกันอย่างไร จิตสำนึกทำหน้าที่เหมือนคนขี่ม้า คือ รู้เป้าหมาย รู้ทิศทาง เช่น การต้องการภาพพจน์ด้านบวก ต้องการมีความเชื่อมั่น เป็นต้น

       แต่พลังจากจิตสำนึกมีไม่เพียงพอที่จะนำเราไปสู่วัตถุประสงค์นั้น ผู้ขี่จึงต้องรู้จักนำพลังจากจิตใต้สำนึกซึ่งเปรียบเหมือนม้ามาช่วยทำงานโดยการสร้าง/ประสานงานจนก่อให้เกิดพลังมหาศาลและสามารถบรรลุเป้าหมายหรือทิศทางได้สำเร็จ

       3. เรามาพูดด้านบวกกันเถอะ (พูด..... ....อย่างนีโอ.....พูดอย่างไร)

       การพูดด้านบวกนี้ หมายถึงการพูดด้านบวกกับตัวเอง..กับคนอื่น (Auto-suggestion) และการได้ฟังผู้อื่นพูดด้านบวก (Outer-suggestion)

การพูดด้านบวกกับตัวเอง

       เราไม่ค่อยจะรู้สึกว่าในบางขณะแม้เราจะไม่ได้กำลังพูดออกมาดังๆ แต่เราพูดในใจของเราเสมอ เกือบตลอดเวลา และการสนทนากับตัวเองในสมองของเราจะเกิดขึ้นเรื่อยๆ บ่อยๆ ซึ่งเปรียบเสมือนเทปที่เปิดช้ำแล้วซ้ำอีก  เป็นการบันทึกในข้อมูลในจิตสำนึกของเรา ถ้าเราพูดกับตัวเราในด้านบวกอยู่บ่อยๆ ทุกวันๆ ข้อมูลในสมองของเราก็จะเป็นด้านบวก เป็นความคิดและจินตนาการที่ดี แต่ถ้าเราพูดกับตัวเราเองในด้านลบอยู่ทุกวัน ข้อมูลหรือเทปของสมองก็จะบันทึกแต่ข้อมูลด้านลบอยู่ตลอดเวลา และจะฝังอยู่ในจิตสำนึกของเรา สิ่งที่เราต้องรับทราบคือจิตใต้สำนึกของเราจะทำหน้าที่รับข้อมูลที่ผ่านเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของคนเรา โดยไม่แยกแยะว่าข้อมูลนั้นดีหรือไม่ดี เที่ยงตรงหรือไม่เที่ยงตรง สร้างสรรค์หรือทำลาย

       เมื่อเราทราบเช่นนี้แล้ว เราจะให้คำพูดด้านลบอยู่ในสมอง/จิตใต้สำนึกของเรา หรือเรารู้ว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของเราได้โดยการเปลี่ยนข้อมูลในจิตใต้สำนึกของเราเองด้วยคำพูดของตัวเราเอง

       แนวคิดต่อไปนี้จะช่วยให้การใช้คำพูดด้านบวกกับตัวเองได้ผลดียิ่งขึ้น

       - เราจะต้องเชื่อมั่นว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของตัวเองได้ และเราสามารถสร้างความสำเร็จ สุขภาพที่ดี ความสุข และความสงบของจิตใจได้จากการเปลี่ยนข้อมูลในจิตใต้สำนึกของตัวเราเอง

       - เราจะฝึกนิสัยฟังคำสนทนาในสมองของตัวเราเองให้มากขึ้น

       - เมื่อเราได้ยินคำสนทนาด้านลบในสมองของเรา เชน สอบตกแน่ๆ ไม่มีทักษะทางกีฬา ความจำแย่ ฯลฯ เราจะรีบขจัดคำสนทนาเหล่านี้ด้วยการพูดในใจว่า "เลิกคิด"

       - เราจะแทนที่คำสนทนาด้านลบด้วยคำสนทนาด้านบวก เช่น

       ลบ : ผมทำไม่ได้แน่นอน

       บวก : ผมจะต้องทำให้ได้

       ลบ : ผมไม่มีความสามารถในเรื่องนี้เลย

       บวก : ผมฝึกบ่อยๆ ผมจะต้องทำได้ดีขึ้นเรื่อยๆ

       ลบ : ความจำผมแย่มาก

       บวก : ผมจะฝึกความจำทุกวัน และความจำผมจะต้องดีขึ้นแน่นอน

       ลบ : ทักษะทางภาษาของผมไม่มีเลย

       บวก : ทุกคนสามารถเรียนรู้ภาษาต่างประเทศได้

       ลบ  : ทำไมผมจึงจะต้องเปลี่ยนวิธีใหม่

       บวก : ผมจะเริ่มทดลองทำในวันพรุ่งนี้เลย

       - ช่วงเวลาที่จิตใต้สำนึกรับข้อมูลใหม่ๆ ได้ดีที่สุด คือ ช่วงเวลาที่เรามีคลื่นสมองต่ำมีความถี่ระหว่าง 9-13 รอบต่อวินาที หรือที่เรียกว่าสภาวะอัลฟา

       - เพื่อที่จิตใต้สำนึกจะบันทึกข้อมูลใหม่ได้ง่ายขึ้น ควรเลือกประโยคคำพูดด้านบวกเพียงประโยคเดียวแล้วพูดซ้ำๆ 5-10 รอบ ในการพูดด้านบวกกับตัวเองแต่ละครั้ง วันหนึ่งควรทำ 2 ครั้ง ในสภาวะที่คลื่นสมองต่ำๆ อาจจะเป็นช่วงก่อนนอนหรือเพิ่งตื่นนอนระยะแรกๆ เราอาจจะไม่เห็นผลดีอะไรชัดเจน แต่ถ้าเราทำต่อเนื่องกันไปอย่างสม่ำเสมอประมาณ 21 วัน ผลดีต่างๆ จะเริ่มปรากฎชัดเจนขึ้น เช่น มีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น, รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่ามากขึ้น มีความรู้สึกดีๆ ให้กับคนรอบข้างมากขึ้น เรียนหนังสือดีขึ้น ฯลฯ หลัง 21 วันแล้ว อาจจะพูดกับตัวเองด้วยประโยคเดิม หรือเลือกประโยคใหม่ที่จะใช้พูดกับตัวเอง

       ตัวอย่างประโยคคำพูดด้านบวกกับตัวเองต่างๆ สำหรับเด็กๆ

       เป็นคนที่ยอดเยี่ยม

       เป็นคนที่น่ารัก

       เป็นคนที่ฉลาด

       เป็นคนที่สมองดี

       เป็นคนที่เรียนเก่ง

       เป็นคนที่แข็งแรง

       เป็นคนที่รูปร่างดี

       เป็นคนที่เล่นกีฬาเก่ง

       เป็นคนที่ชอบช่วยเหลือคนอื่น

       เป็นคนที่เพื่อนๆ รัก

ตัวอย่างประโยคคำพูดด้านบวกต่างๆ สำหรับผู้ใหญ่

"ยิ่งฉันมีอายุมากขึ้น ฉันยิ่งแข็งแรงขึ้น มีเสน่ห์มากขึ้น เก่งขึ้นในทุกๆ ด้าน"

       เป็นคนที่ยอดเยี่ยม

       เป็นคนที่มีความสามารถ

       เป็นคนที่มีเสน่ห์และน่ารัก

       เป็นคนที่ชอบทำให้ตัวเองและผู้อื่นมีความสุข

       เป็นคนที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง

       เป็นคนที่แข็งแรง

       เป็นคนที่อารมณ์ดี ใจเย็น

       เป็นคนที่กล้าหาญและเข้มแข็ง

       เป็นคนที่มีความรักให้กับตัวเอง และผู้อื่น

       หลายๆ คนจะรู้สึกอึดอัดหรือขัดใจ รู้สึกว่ากำลังหลอกตัวเองหรือโกหกตัวเอง เมื่อจะต้องพูดด้านบวกกับตัวเองทุกๆ วัน เพราะคิดว่าไม่เป็นความจริง ถ้าเราพิจารณาตามความเป็นจริงแล้ว เราต้องยอมรับคำสอนเกี่ยวกับความดีงามที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดของมนุษย์ว่า

       "จิตเดิมแท้ของคนเรานั้นเป็นประภัสสรหรือดีงาม" นั่นคือ จริงๆ แล้ว จิตใจของเรามาจากการว่างเปล่าของข้อมูล เราทุกคนเป็นคนดี ทุกสิ่งเกิดจากข้อมูลที่เราบันทึกเข้าไปทุกๆ วัน

การได้ฟังคำพูดด้านบวกจากคนรอบข้าง

       เราต้องเข้าใจว่า เมื่อเราเกิดมา เราต้องอาศัยร่วมกับคนอื่น กับพ่อแม่ ครอบครัว เมื่อเริ่มโตขึ้นจากผู้เลี้ยงดูเต็ก เพื่อนร่วมห้องเรียน จากคนรอบข้าง จากสิ่งต่างๆ

       การที่เราได้ฟังคำพูดด้านบวกจากคนรอบข้างจะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง คำพูดด้านบวกจากคนรอบข้าง หมายถึง คำพูดดีๆ จากคนในครอบครัว จากเพื่อน หนังสือดีๆ เพลง เทป บทสวดมนต์ วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น คำพูดที่ดีๆ จากบุคคลหรือสิ่งต่างๆ เหล่านี้ จะมีผลอย่างยิ่งต่อจิตใต้สำนึกของคนเราถ้าเราได้รับคำพูดดีๆ จากคนรอบข้างตั้งแต่ในวัยต้นๆ ของชีวิต (2-6 ปี) คำพูดดีๆ เหล่านี้จะถูกบันทึกไว้ในจิตใต้สำนึกอย่างล้ำลึก คำพูดดีเป็นคำพูดสั้น เช่น เก่ง ดี เยี่ยม น่ารัก หรือเป็นการรวมประโยคที่มีความหมายดีๆ เข้าไว้ด้วยกัน คล้ายกับร้อยกรองที่ทำให้ผู้ฟังเข้าใจ ความจริงของชีวิตและรู้สึกดีๆ กับตัวเองมากขึ้นคำพูดด้านบวกเชิงร้อยกรองที่แนะนำและคิดว่าพวกเราทุกคนควรได้ฟังเพื่อบันทึกไว้ในจิตใต้สำนึกตั้งแต่ในวัยต้นๆ ของชีวิตเป็นต้นไป

       ในโลกอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้

       ไม่มีใครอีกแล้วที่เหมือนฉัน

       ฉันเกิดขึ้นมาพร้อมกับความสามารถแฝงเร้นที่ยิ่งใหญ่

       ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของฉันเอง

       เป็นความสามารถที่ไม่มีใครอีกแล้วในโลกที่จะทำได้ดีเท่าฉัน

       ฉันจะหาความสามารถนั้นให้พบ

       และพัฒนาความสามารถนั้นให้ดีที่สุด

       เพื่อทำประโยชน์ให้แก่ตัวฉันและมนุษยชาติได้สูงสุด

       ฉันจะถามตัวฉันเองอยู่เสมอว่า

       ฉันจะรับใช้เพื่อนมนุษย์อย่างไรได้บ้าง

       ฉันจะทำให้คนรอบข้างของฉันมีความสุขมากขึ้นได้อย่างไรบ้าง?

       ยิ่งฉันมีโอกาสทำให้คนรอบข้างมีความสุขมากขึ้น

       ฉันก็ยิ่งมีความสุขมากขึ้น

       และรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนที่มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น.....

       คำพูดดีๆ เหล่านี้จะถูกบันทึกไว้ในจิตใต้สำนึกของเราและเราจะเข้าใจเคล็ดลับยิ่งใหญ่ของการสร้างความรู้สึกที่ดีแก่ตัวเองที่ว่า  เราจะเห็นคุณค่าของตัวเองได้อย่างแท้จริง เมื่อเราสามารถทำชีวิตของเราเองให้มีคุณค่า โดยการทำตัวเองให้เป็นคนมีประโยชน์สูงสุดกับตัวเองและคนรอบข้าง

เรื่องที่ 3 คำแนะนำและขั้นตอนการพัฒนาชีวิตตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสสำหรับครูปฐมวัย

ขั้นเตรียม

       1. ผู้เลี้ยงดูเด็กศึกษาเอกสารให้เข้าใจ

       2. จัดเวลาว่างในช่วงหัวค่ำ ในช่วงเวลาเดียวกันแล้วเริ่มปฏิบัติ

ขั้นปฏิบัติ

       1. ทำให้ตัวเองอยู่ในท่าที่สบาย อาจจะนั่งหรือนอนก็ได้

       2. ปล่อยตัวตามสบาย อย่าไขว่ห้างหรือกอดอก (เพราะจะทำให้ร่างกายเกิดความตึงเครียด)

       3. ตรวจสอบดูว่ามีตำแหน่งใดในร่างกายคุณรู้สึกเครียดบ้าง ทำให้ผ่อนคลายดังนี้

       - อย่ากัดฟัน ผ่อนคลายบริเวณกราม

       - ปล่อยไหลให้ลู่ลง

       - หงายฝ่ามือ

       4. หลับตาลง รับรู้ท่านั่งของตัวเองว่าอยู่บนเก้าอี้หรือท่านอนบนเตียง

 เริ่มปฏิบัติ

       ฟังเสียงหายใจของตนเองสักสิบรอบโดยไม่ต้องทำอะไร ไม่สำคัญหรอกว่าคุณจะหายใจเร็วหรือช้า เพียงแต่ตั้งใจฟังเสียงนั้น

เริ่มหายใจเข้าลึกๆ ขณะหายใจเข้า ท้องป่อง หายใจออกท้องแฟบ

       จดจ่อกับลมหายใจของเราเท่านั้น หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ เวลาหายใจเข้าลำตัวขยาย ท้องขยาย หน้าอกขยาย เวลาหายใจออก ท้องยุบ ลำตัวยุบ หน้าอกยุบตัดความคิดต่างๆ ออกไปให้หมด จดจ่อกับลมหายใจของเราเท่านั้น เพ่งความสนใจของเราไปที่กลางศีรษะของเรา เรารู้สึกได้ถึงวงกลมที่อยู่กลางกระหม่อมของเรา รู้สึกถึงความเป็นวงกลม เลื่อนความสนใจไปที่หน้าผากของเราหน้าผากของเราผ่อนคลาย เลื่อนความสนใจลงไปที่คิ้วและตาทั้งสองของเรา รู้สึกคิ้วของเราผ่อนคลาย ตาของเราผ่อนคลาย จับความรู้สึกไปที่แก้มและจมูกของเรา แก้มและจมูกของเราผ่อนคลาย เรารู้สึกเบาสบาย เลื่อนความรู้สึกไปที่ปากของเรา นึกจินตนาการถึงรอยยิ้มที่ปากของเรา เสียงหัวเราะจากริมฝีปากของเรารอยยิ้มที่มีความสุข เลื่อนความรู้สึกไปยังคางและลำคอของเรา คางและลำคอของเราผ่อนคลาย เรารู้สึกเบาสบาย เลื่อนความรู้สึกไปที่บ่าทั้งสองของเรา บ่าทั้งสองของเราสบาย บ่าของเราผ่อนคลาย หัวไหล่ของเราเบาผ่อนคลาย เพ่งความรู้สึกไปที่แขนทั้งสองข้างของเรา แขนทั้งสองข้างของเราผ่อนคลาย เรารู้สึกผ่อนคลาย เบาสบาย มือทั้งสองข้างของเรารู้สึกผ่อนคลาย ขาทั้งสองข้างของเรารู้สึกผ่อนคลาย จิตใจของเราผ่อนคลาย เบาสบาย ตัวของเราเบาสบายเหมือนไม่มีน้ำหนักเหลืออยู่เลย

แล้วเริ่มปฏิบัติตามตารางนี้

ขั้นปฏิบัติต่อเนื่อง

       1. บันทึกความรู้สึกในช่วงของการผ่อนคลาย ลงในกิจกรรมนี้

       2. ปฏิบัติเช่นนี้ ติดต่อกันอย่างน้อย 20 วัน แล้วบันทึกทุกวัน

       3. อย่าปฏิบัติในขณะขับรถ หรือภาวะเร่งรีบเพราะจะไม่ได้ผล

เรื่องที่ 4 คำแนะนำและขั้นตอนการพัฒนาชีวิต เพื่อสร้างจินตนาการตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสสำหรับเด็กปฐมวัย

คำแนะนำ

       ขั้นเตรียม

       1. ผู้เลี้ยงดูเด็กศึกษาสื่อเอกสาร เนื้อหาในเทปเสียง เพื่อทำความเข้าใจ

       2. ผู้เลี้ยงดูเด็กฟังแถบเสียงก่อนจัดกิจกรรม

       ขั้นตอนการใช้

       1. ให้เด็กปฐมวัยนอนหลับตาในท่าศพ โดยให้นอนห่างกันพอประมาณ

       2. เริ่มเปิดเทปเสียง โดยทำตามกิจกรรมการสอน

จุดประสงค์การเรียนรู้

       เพื่อให้เด็กได้ผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ สามารถจินตนาการและมีความคิดสร้างสรรค์ได้

สาระสำคัญ

       การเล่านิทานเป็นบรรยากาศแห่งความสุข และความอบอุ่นที่เด็กได้รับ นิทานเป็นสิ่งสำคัญในการฝึกสร้างมโนภาพและจินตนาการ ช่วยแก้ไขพฤติกรรมและเสริมสร้างคุณธรรม การฟังเพลงเป็นการสร้างบรรยากาศ จะทำให้คลื่นสมองต่ำและปล่อยจิตใจให้ล่องลอยไปตามเสียงเพลงจะเกิดจินตนาการ การนอนหลับเมื่อคลื่นสมองต่ำจะทำให้เกิดความสุข อยากทำสิ่งที่ดีงาม มีอารมณ์ดี มีมนุษยสัมพันธ์ดี และเรียนหนังสือดีขึ้น สมองจะรับรู้ได้ดี การปลูกฝังสิ่งที่ดีงามด้วยคำพูดด้านบวก

กิจกรรมการเรียนการสอน จำนวน 4 สัปดาห์

       3. เมื่อเด็กหลับหมดแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กปิดแถบเสียง

       4. ก่อนตื่นนอนประมาณ 15 นาที ผู้เลี้ยงดูเด็กเปิดแถบเสียงปลุก

ขั้นตอนการประเมินผล

       ผู้เลี้ยงดูเด็กสังเกตพฤติกรรมของเด็กหลังจากตื่นนอน และพฤติกรรมจากการร่วมกิจกรรมต่างๆ