การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองเด็กปฐมวัย

ตอนที่ 2 โอกาสแห่งการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

 

เรื่องที่ 1 ความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

 

การเรียนรู้เป็นเรื่องของความสามารถเฉพาะบุคคล เด็กที่ได้รับประสบการณ์ และอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน จะมีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน เนื่องจากประสบการณ์ที่ เป็นพื้นฐานของเด็กแตกต่างกัน

เด็กปฐมวัยจะสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ต้องอาศัยสมองและระบบประสาท เป็นพื้นฐานของการรับรู้ รับความรู้สึก จากอวัยวะรับความรู้สึก คือ การเห็น การได้ยิน การสัมผัส การรับรส และการรับกลิ่น โดยพัฒนาการในลักษณะของการบูรณาการ ทั้ง 5 ด้านคือ พัฒนาการด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์ ด้านจิตใจ และด้านสังคม

 

การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ดังนี้

การเรียนรู้เป็นเรื่องของความสามารถเฉพาะบุคคล เด็กที่ได้รับประสบการณ์ และอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน จะมีการรับรู้ที่แตกต่างกัน เนื่องจากประสบการณ์ เติมของเด็กเป็นพื้นฐานที่ต่างกัน

การเรียนรู้จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและพัฒนาไปได้ตลอดชีวิต โดยเด็กจะมีทักษะในการเรียนรู้สิ่งใหม่ที่ได้รับในชีวิต โดยใช้ประสบการณ์เดิมเป็นตัวช่วยให้เกิดการเรียนรู้

การเรียนรู้เป็นกิจกรรมที่มีความสุขสนุกสนาน แม้บางครั้งการเรียนรู้จะ ก่อให้เกิดความรู้สึกลําบากทั้งกายและใจ แต่ก็จะสนุกสนานไปพร้อมๆ กัน

การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคม การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้เมื่อเด็กมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มโดยมีการแบ่งปันในการเรียนรู้ และใช้กลุ่มเป็นสิ่งกระตุ้นการเรียนรู้ การเรียนรู้เกิดจากการลงมือปฏิบัติ เรียนจากของจริงไปสู่สิ่งที่ไม่มีตัวตน มีผู้กล่าวถึงการเรียนรู้โดยวิธีต่างๆ ที่แตกต่างกันและมีระดับความสามารถในการเกิด การเรียนรู้เป็นร้อยละได้ดังนี้


 

เรียนรู้ได้ ร้อยละ 10 เกิดจากสิ่งที่ได้อ่าน

เรียนรู้ได้ ร้อยละ 20 เกิดจากสิ่งที่ได้ยิน

เรียนรู้ได้ ร้อยละ 30 เกิดจากสิ่งที่ได้เห็น

เรียนรู้ได้ ร้อยละ 50 เกิดจากสิ่งที่ได้เห็นและได้ยิน

เรียนรู้ได้ ร้อยละ 70 เกิดจากสิ่งที่ได้พูดคุยแสดงความคิดเห็น

เรียนรู้ได้ ร้อยละ 80 เกิดจากได้สัมผัสด้วยตัวเอง

เรียนรู้ได้ ร้อยละ 90 เกิดจากที่ได้พูดให้คนอื่นฟัง

ซึ่งจากการวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการเรียนรู้ของคนเรา จะมีประสิทธิภาพ สูงสุดก็ต่อเมื่อสมอง

ทั้งสองซีกทํางานไปพร้อมๆ กัน ซึ่งการบริหารสมองช่วยได้โดยมี เมื่อบริหารสมองไปแล้วจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงในการทํางานของหลักการคือ กล้ามเนื้อสมอง

 

เรื่องที่ 2 โอกาสแห่งการเรียนรู้

 

โอกาสแห่งการเรียนรู้ หมายถึง ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการที่จะพัฒนาพื้นที่ ในสมองซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สําคัญมาก นักวิจัยเกี่ยวกับสมองค้นพบว่า สมองจะเจริญ เติบโตอย่างรวดเร็วตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และจะชะลอการเจริญเติบโตเมื่อเด็กอายุ 10 ขวบ ในช่วงนี้สมองของเด็กในส่วนที่ไม่ได้ใช้จะถูกทําลายอย่างรวดเร็ว หลังจากนี้แล้วหากถูกกระตุ้นจะสามารถเรียนรู้ได้อีก แต่ประสิทธิภาพจะไม่ดีเต็มสมบูรณ์

พัฒนาการของเด็กในช่วงวัยสําคัญตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 4 ขวบ ในช่วงเวลานี้ เด็กจะมีศักยภาพมาก ส่วนหนึ่งจะเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา และอีกส่วนจะ พัฒนาตั้งแต่เด็กลืมตาออกมาดูโลก สิ่งสําคัญที่ต้องคำนึงถึงในการเรียนรู้คือ ต้องให้สิ่งกระตุ้นกับตัวเด็ก ทําให้ความรู้ที่ติดตัวเด็กอยู่แล้วตั้งแต่เกิดได้เพิ่มพูนขึ้น การเรียนรู้โดยใช้ความอบอุ่น ใกล้ชิดสนิทสนม จะช่วยทําให้เกิดการพัฒนา ทั้งเรื่อง การเติบโตของสติปัญญาและศักยภาพในการปรับตัว ข้อควรระวังในการพัฒนาเด็ก คือ เด็กทุกคนมีความสามารถและศักยภาพอยู่ในตัวทุกคน เด็กต้องการความเข้าใจ โอกาสและเจตคติที่ดีจากผู้เลี้ยงดู การพัฒนาเด็กต้องพัฒนาไปพร้อมๆ กันในทุกด้าน และยอมรับในความสามารถของเด็กในแต่ละด้านไม่เท่ากัน ลดการแข่งขันเปรียบเทียบ

 

ความสามารถของเด็ก กับคนอื่นๆ รอบตัว เพื่อให้เด็กได้พัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ

การหยิบ จับ สัมผัสเป็นสื่อสําคัญในการสร้างการเรียนรู้สําหรับเด็กปฐมวัยเป็นสิ่งแรกของการสร้างเสริมที่สัมพันธ์กับการกระตุ้นความงอกงามของใยประสาท การที่กระตุ้นเด็กปฐมวัย โดยใช้กล้ามเนื้อเล็กด้วยการหยิบ จับ พร้อมด้วยการส่งเสริม ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ การให้เด็กได้มีประสบการณ์คิด และการให้เด็ก เล่นดนตรี จะทําให้ประสาทมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ได้รับประสบการณ์ทั้งดีและ เลวมีผลต่อใยประสาทของเด็ก แต่หากเกิดความเครียด จะส่งผลทําให้ใยประสาท ของสมองเด็กถูกกดการทํางาน เนื่องจากในขณะเครียดจะมีฮอร์โมนที่ชื่อ คอร์ติโซล ออกมาทําให้เซลล์สมองตาย และความคิดคล่องแคล่วในการเรียนรู้จะลดลง

สภาพแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการพัฒนาสมอง การใช้ระยะเวลาที่เหมาะสม และการจัดประสบการณ์ที่มีคุณภาพ ตลอดจนการกระตุ้นที่ดีที่จัดให้ในช่วงอายุที่เหมาะสม จะมีผลระยะยาวต่อการพัฒนาการในช่วงวัยถัดไปของเด็ก เด็กแต่ละคน จะมีช่วงวิกฤต ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กจะสามารถเรียนรู้และพัฒนาทักษะเฉพาะอย่างได้ อย่างง่ายดาย โดยแต่ละส่วนของสมองจะมีความเกี่ยวข้องกับหน้าที่แต่ละอย่าง เช่น พัฒนาการของประสาทสัมผัส การพัฒนาทักษะการใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ทั้งเล็ก และใหญ่ จะขึ้นอยู่กับสิ่งที่เด็กได้รับการกระตุ้นจากผู้เลี้ยงดูเด็กที่จัดให้อย่างเหมาะสม ในช่วงเวลาจําเพาะที่เรียกว่า โอกาสแห่งการเรียนรู้

โอกาสแห่งการเรียนรู้ หมายถึง ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการที่จะพัฒนาพื้นที่ ในสมองที่เป็นช่วงเวลาที่สําคัญมากที่จะพัฒนาพื้นที่ในสมองให้พัฒนาไปได้สูงสุด แต่มีข้อควรระวังคือ อย่าให้เกิดความเครียด ความไม่สม่ำเสมอ การไม่ได้รับการ ตอบโต้ที่ดี จะเป็นผลในทางลบต่อการพัฒนาของสมองเป็นอย่างมาก ดังนั้น ในการ พัฒนาเด็กต้องพัฒนาทักษะในด้านการเคลื่อนไหว ภาษา การมีเหตุมีผล ความ สามารถในการจำและจินตนาการ จะสามารถพัฒนาสมองโดยตรงได้ทั้งสิ้น ทําให้อัตราการเจริญเติบโตของสมองเด็กมีความสัมพันธ์กับศักยภาพการรับรู้ของเด็ก

ข้อควรคํานึงอีกประการหนึ่งในการพัฒนาเด็กปฐมวัยคือวิธีการและปริมาณในการจัดกิจกรรมกระตุ้นให้เด็กต้องมีความพอดี ไม่เป็นการกระตุ้นมากเกินไปหรือใช้ 

กิจกรรมที่เน้นอุปกรณ์การสอนหรือของเล่นเพื่อพัฒนาทักษะด้านต่างๆ มากเกินความจําเป็น หรือให้กิจกรรมพัฒนาการด้านวิชาการแก่เด็กมากเกินไป ไม่สอดคล้อง เหมาะสมกับธรรมชาติของเด็กแต่ละคนโอกาสทองของการเรียนรู้ จะแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงวัยดังนี้

1. โอกาสในการมองเห็นของเด็ก จะเริ่มเรียนรู้ได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 2 ปีครึ่ง โดยประมาณและการมองเห็นนี้จะปิดไม่สามารถพัฒนาได้เมื่อเด็กอายุ 10 ปี หากยังไม่ได้พัฒนาหรือถูกใช้ก็จะสูญเสียความสามารถในด้านนี้ไป

2. โอกาสในการพัฒนาความสมบูรณ์ของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และกล้ามเนื้อ มัดเล็กจะเริ่มเรียนรู้และพัฒนาได้ตั้งแต่ก่อนคลอดจนถึงอายุ 10 ปี

3. โอกาสในการพัฒนาทางอารมณ์ จะอยู่ในช่วงอายุ 2-3 ปีแรกของชีวิต หากเด็กไม่ได้รับการพัฒนา ฝึกฝนการใช้อารมณ์เลย ก็จะไม่สามารถควบคุม อารมณ์ได้ดีเมื่อโตขึ้น

4. โอกาสในการพัฒนาทางด้านภาษา จะเริ่มตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 10 ขวบ ทั้งในด้านการเรียนรู้คำศัพท์พื้นฐานที่เหมาะสมไปจนอายุ 3 ปี หรือการเรียนรู้ภาษา 27 ที่สอง ที่เซลล์สมองจะมีความพร้อมสําหรับเรียนรู้เสียงต่างๆ แต่ไม่ควรเกิน 2 ภาษา ในช่วงนี้ หากเด็กไม่ได้ยินเสียงที่ต้องการพัฒนาในช่วง 10 ขวบปีแรก เซลล์สมองที่ เกี่ยวข้องจะสูญเสียการทํางาน แม้จะพัฒนาในตอนเป็นผู้ใหญ่ ก็จะไม่สามารถออก เสียงได้ดีเหมือนการได้รับการพัฒนาในช่วง 10 ขวบปีแรก

5. โอกาสในการเรียนรู้ด้านสุนทรียะ เด็กจะเริ่มเรียนรู้ได้ดีแต่แรกเกิด ส่วน การพัฒนาการเพื่อเล่นดนตรี จะเริ่มตั้งแต่อายุ 3-10 ปี

6. โอกาสในการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์และตรรกะหรือความเชื่อมโยงความ เป็นเหตุเป็นผลจะสามารถพัฒนาได้จนถึงช่วงอายุ 1-23 ปี

7. โอกาสในการเรียนรู้ด้านการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น จะสามารถเรียนรู้ ได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 3 ปี


การที่จะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทํางานของสมองผู้เลี้ยงดู เด็กปฐมวัยจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของสมองเป็นอย่างดีเสียก่อน เพราะ สมองแบ่งการสั่งการเป็น 2 ด้าน คือ ด้านซ้ายและด้านขวา จะมีหน้าที่เบื้องต้นแตกต่างกัน คือด้านซ้ายมีแนวโน้มในการคิดคํานวณ การใช้ภาษา วิเคราะห์หาเหตุผล ส่วนด้านขวามีแนวโน้มที่จะใช้ในการจินตนาการ งานศิลปะ ดนตรี สุนทรียศาสตร์ แต่สามารถที่จะทํางานประสานทดแทนกันได้ ในวัยเด็กสมองจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเตรียมพร้อมที่จะถูกฝึกฝนตามเวลาและโอกาสหากไม่ได้รับการพัฒนาสมองจะถูกทำลายในส่วนที่ไม่ถูกใช้อย่างรวดเร็วเพราะสมองจะพัฒนาเฉพาะส่วนที่สําคัญ และใช้บ่อยๆ เท่านั้น แต่มิใช่ว่าสมองจะเรียนรู้ไม่ได้หลังจากผ่านเลยโอกาส แห่งการเรียนรู้ไปแล้ว เพราะสมองจะเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต แต่ประสิทธิภาพจะไม่ดีเท่ากับการได้รับการพัฒนาในช่วงเวลาที่เหมาะสม

มีความจําเป็นที่ผู้เลี้ยงดูเด็กจะต้องมีความเข้าใจและพัฒนาสมองของเด็กในทุกด้านในช่วงเวลาอันเหมาะสมซึ่งความสามารถทางสติปัญญา ได้ถูกจําแนกโดย ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligence : MI) ของโฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner 1993) ออกเป็น 9 ด้าน ซึ่งความสามารถแต่ละด้านในแต่ละ บุคคลอาจมีมากน้อยต่างกันและสามารถพัฒนาให้สูงขึ้นได้ ถ้าได้รับการฝึกฝนที่ เหมาะสมตามเวลาและโอกาสของพัฒนาการเด็ก และความสามารถในแต่ละด้าน สามารถพัฒนาให้ทํางานร่วมกันได้ สอดคล้องกับข้อเขียนของ แพทย์หญิงโสภา เกริกไกรกุลและแพทย์หญิงจันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ ที่กล่าวถึงความสามารถ ทางสติปัญญาไว้ 9 ด้านดังนี้

1. สติปัญญาทางด้านภาษา เป็นความสามารถในการใช้คําอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การเขียน การพูด ความจํา การอธิบาย เล่านิทาน โต้เถียงและให้เหตุผล การชักชวนจะพบความสามารถนี้ได้จากนักการเมือง นักเล่านิทาน นักหนังสือพิมพ์ นักแต่งบทกวี นักเขียนบทละคร

จะมีบุคลิกภาพ คือ มีความสามารถในการจัดระเบียบแบบแผน เป็นคน มีระเบียบ ระบบ สามารถใช้เหตุผล เป็นนักฟัง นักอ่าน สามารถสะกดคําได้ง่าย ชอบเล่นเกมต่อคํา ช่างจดจําเรื่องเล็กๆ น้อยๆ

วิธีการฝึกฝนให้มีลักษณะด้านนี้ หัดเล่าเรื่องต่างๆ เล่นเกมที่เกี่ยวกับ ชื่อ สถานที่ หัดอ่าน เขียนเรื่องราวต่างๆ หรือเล่าเรื่องขบขัน เล่นเกมทําท่าทางเลียนแบบ 

หัดเขียนบทความลงในวารสาร ฝึกหัดทํากิจกรรมที่ผสมผสานระหว่างการเขียนและการอ่าน ฝึกอ่านคําศัพท์ต่างๆ

2. สติปัญญาด้านคณิตศาสตร์และตรรกวิทยา ความสามารถจะเกิดขึ้น การทดลอง การใช้ความคิด การสํารวจเมื่อมีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับตัวเลขการคํานวณ การเรียงลําดับเวลา ลําดับเหตุการณ์ การใช้เหตุผลเปรียบเทียบ ลําดับความคิด การตั้งสมมติฐานจะเป็นบุคคลที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ วิศวกร นักสืบ นักกฎหมาย นักบัญชี

จะมีบุคลิกภาพ คือ ชอบคิดในเรื่องนามธรรม ชอบวิจารณ์ ชอบนับของ ทํางานอย่างเป็นระบบ ชอบใช้คอมพิวเตอร์ และชอบแก้ไขปัญหา

วิธีการฝึกฝนให้มีลักษณะด้านนี้ โดยกระตุ้นให้หัดแก้ไขปัญหาการเล่นเกม คณิตศาสตร์ การแปลและวิเคราะห์ข้อมูล การให้เหตุผล การกระตุ้นให้ มีความกล้า ให้มีการทดลองคาดคะเนจากเหตุผล หัดจัดสถานที่ หัดทํางานอย่าง เป็นขั้นตอน หัดคิดโดยการรวบรวมข้อมูลก่อนสรุปผล

3. สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ การมองภาพรวมเป็นความสามารถใน 29 การออกแบบ การสรุปเหตุการณ์ หรือเรื่องราวต่างๆ จะเป็นบุคคลที่เป็นนักบริหาร สถาปนิก

จะมีบุคลิกภาพ คือ สามารถใช้จินตนาการและความรู้สึกออกมา เป็นการแสดง รูปภาพ หรือให้ภาพพจน์ได้ สามารถใช้คําอุปมาอุปมัย ชอบงาน ศิลปะ วาดภาพ ระบายสี ปั้นหรือแกะสลัก มีทักษะในการอ่านแผนที่ แผนภูมิมีทักษะในการใช้สี

วิธีการฝึกฝนให้มีลักษณะด้านนี้ ใช้การเรียนรู้ด้วยงาน หัดให้สร้าง สัญลักษณ์หรือภาพ หัดให้วาดภาพแผนที่ แผนภูมิ หัดให้ทํางานผสมผสาน ระหว่างงานด้านศิลปะกับงานด้านอื่นๆ หัดทํากิจกรรมที่เกี่ยวกับการเห็น การไป ทัศนศึกษา หัดให้เรียนรู้จากสิ่งรอบข้างเป็นตัวกระตุ้น เช่น สัญลักษณ์หรือภาพจาก ผนังห้องเรียน หัดเล่นบทบาทสมมติ ใช้ท่าทางเลียนแบบฝึกการจัดการเปลี่ยนแปลง สถานที่และสิ่งต่างๆ เพื่อฝึกการรับรู้ 

4. สติปัญญาด้านดนตรี ความสามารถในการรับรู้และแสดงออกทางดนตรี การเขียนบทเพลง การร้องเพลง การฟังจังหวะเพลง เป็นนักแต่งเพลง นักแสดง ผู้ควบคุมวงดนตรี นักดนตรี

จะมีบุคลิกภาพ คือ มีทักษะในเรื่องของจังหวะ ระดับเสียงของเครื่องดนตรี มีทักษะพิเศษในการรับรู้เรื่องของเสียงดนตรี ความซับซ้อนของระดับเสียงดนตรี มี ความอ่อนไหว แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก

วิธีการฝึกให้มีทักษะด้านดนตรี หัดให้รู้จักจังหวะการฟังเพลงจากดนตรี ใช้บทเพลงเข้ามาประกอบบทเรียน ให้ร่วมร้องเพลง หัดแต่งเพลงง่ายๆ ตามจังหวะที่ กำหนดใช้จินตนาการจากเสียงเพลงเสียงดนตรี

5. สติปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย มีความสามารถในด้านการเคลื่อนไหว ร่างกาย การเต้นรํา การกีฬา การแสดงบทบาทต่างๆ ความสามารถในการแสดงออก ในความรู้สึกต่างๆ มีทักษะในการเคลื่อนไหว ประดิษฐ์สิ่งของ

จะมีบุคลิกภาพ คือ ควบคุมร่างกายและอวัยวะให้เคลื่อนไหวได้ในขณะ ที่คนอื่นทําไม่ได้ มีทักษะในการเรียนรู้ การเคลื่อนไหวร่างกายและตอบสนองได้ดีชอบเล่นกีฬามีทักษะในงานใช้ฝีมือ งานหัตถกรรมต่างๆ ชอบแสดงออกและมีส่วน ร่วมในกิจกรรม มีความรู้สึกไว ช่างสังเกตต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

วิธีการฝึกให้มีทักษะด้านการเคลื่อนไหว จัดกิจกรรมให้แสดงออกอย่าง เหมาะสมโดยกำหนดบทบาทให้เป็นทั้งผู้นําและผู้ตาม จัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรม การเคลื่อนไหวและฝึกทักษะการสังเกต

6. สติปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์และสังคม คือความสามารถในการเข้าใจ อารมณ์ ความรู้สึก ความคิดและเจตนาของคนรอบข้าง มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เรียนรู้การทํางานร่วมกับผู้อื่น การวิเคราะห์ตนเอง มีความไวในการสังเกตน้ำเสียง ใบหน้า ท่าทาง ความแตกต่าง ของแต่ละบุคคล เข้าใจในอารมณ์ของผู้อื่น มีเพื่อนมาก ชอบกิจกรรมกลุ่มและมีความสามารถทําให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลปฏิบัติตามได้

จะพบลักษณะนี้ได้จาก ครู ผู้นําทางศาสนา องค์กรต่างๆ ที่ปรึกษา ผู้จัดการ มักจะมีบุคลิกภาพ คือ มีความคิดริเริ่มดี เข้ากับผู้อื่นได้ง่ายสามารถอ่าน คาดเดาความคิดของผู้อื่นได้ มีความสุขกับการได้อยู่ร่วมกับผู้อื่น มีเพื่อนมาก สื่อสารทํางานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น เรียนรู้ทางสังคมได้เก่ง

วิธีการส่งเสริมให้มีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ จัดวิธีการเรียนรู้โดยกิจกรรมกลุ่ม มีการแบ่งปัน ฝึกทักษะด้านการติดต่อและสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น เรียนรู้โดยการให้บริการผู้อื่น หัดให้รู้จักรับฟังคําแนะนําติชมจากผู้อื่น หรือใช้เหตุและผล

7. สติปัญญาด้านการรู้จักตนเอง คือความสามารถในการรู้จักตนเองตาม ความเป็นจริง รู้จักจุดอ่อน จุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย ในเรื่องใด มีความเป็นตัวของตัวเอง รู้เท่าทันความคิด อารมณ์ความประพฤติของตนเอง มีความสามารถในการฝึกฝน ตนเองและเข้าใจตนเอง

จะพบลักษณะนี้ได้จาก นักปรัชญา นักจิตวิทยา ที่ปรึกษา ผู้นําศาสนา

วิธีการส่งเสริมให้มีทักษะด้านนี้ โดยการจัดกิจกรรมให้ถ่ายทอดความ รู้สึกนึกคิด ความในใจของตนเอง สํารวจตนเองในเรื่องความรู้สึก อารมณ์และความ คิด ทํากิจกรรมที่พัฒนาตนเอง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนรอบข้าง ฝึกให้ฟัง และคิด วิจารณ์ ประสบการณ์และความรู้สึกของตนเอง เรียนรู้ที่จะควบคุมตนเอง สอนให้เชื่อมั่นในตนเองและหัดตั้งคําถาม 

8. สติปัญญาด้านการรักธรรมชาติสิ่งแวดล้อม คือความสามารถที่จะเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ความสําคัญของตนเองกับสิ่งแวดล้อมตระหนักถึงความสามารถของตนในการมีส่วนช่วยในการอนุรักษ์ธรรมชาติ เข้าใจถึงพัฒนาการของมนุษย์ และการดำรงชีวิตที่เกื้อกูลกันของ มนุษย์และสิ่งแวดล้อม

จะพบลักษณะนี้ได้จาก นักอนุรักษ์นิยม นักธรรมชาติวิทยา

วิธีการส่งเสริมให้มีทักษะด้านนี้ โดยการจัดกิจกรรมให้เรียนรู้จาก สิ่งแวดล้อม ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ สังเกตความแตกต่าง ความเปลี่ยนแปลงของ สิ่งแวดล้อม กิจกรรมที่แสดงถึงบทบาทของตนเองในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

9. สติปัญญาด้านการเข้าใจชีวิต sinออัตถิภวนิยม (Existential) คือ ความสามารถในการเข้าใจชีวิต การเข้าใจถึงกำเนิดของชีวิต การเปลี่ยนแปลงของชีวิตเพื่อการเรียนรู้ถึงบทบาทหน้าที่ของตนต่อชีวิตที่กำเนิดขึ้นมา นอกจากนี้ยังหมายรวมถึงความเข้าใจต่อสรรพสิ่ง และธรรมชาติ

จะพบลักษณะนี้ได้จาก บุคคลสําคัญของโลกทางด้านศาสนา

วิธีการส่งเสริมให้มีทักษะด้านการเข้าใจชีวิต โดยการจัดกิจกรรมให้เด็กเรียนรู้ในเรื่องคําสอนของศาสนา ความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตและการกำเนิดของชีวิต เข้าใจในเรื่องการเกิดการตายรวมทั้งการฝึกให้เรียนรู้ถึงบทบาทหน้าที่ของ ตนเอง การชื่นชมกับชีวิต 

ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ควรจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสติปัญญา ศักยภาพ ของเด็กให้ครบทั้ง 9 ด้าน และสังเกตเด็กแต่ละคนว่ามีทักษะความสามารถความถนัดเฉพาะทางด้านใดเป็นพิเศษเพื่อจัดกิจกรรมเสริมให้สอดคล้องกับความสามารถของเด็กพร้อมกับจดบันทึกเป็นหลักฐาน ข้อมูลประจําตัวของเด็กเพื่อส่งต่อให้แก่ ผู้ดูแลเด็กในระดับที่สูงขึ้นต่อไป และสิ่งสําคัญที่สุดที่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยต้องคํานึง ถึงคือความฉลาดของเด็กอาจมีมากกว่า 9 ด้าน

ความฉลาดคือความสามารถในการแก้ปัญหา การสร้างผลผลิตในรูปแบบที่มีสาระ เด็กแต่ละคนจะมีความฉลาดหลายๆด้าน และเด็กทุกคนสามารถพัฒนา ตนเองให้ถึงระดับความฉลาดแต่ละอย่างได้ตามความถนัดของคนๆ นั้น มีหลายวิธีที่จะสร้างความฉลาดในแต่ละอย่างได้และเด็กแต่ละคนจะมีรูปแบบการเรียนรู้ที่

แตกต่างกันและนําความฉลาดต่างๆ มาใช้ร่วมกันได้

 

กิจกรรมที่ 2

1. ให้นักศึกษาเลือกเด็กปฐมวัยมา 3-5 คนแล้วลองพิจารณาว่าเด็ก แต่ละคนมีความฉลาดในด้านใดบ้าง ยกตัวอย่างพฤติกรรม และการวิเคราะห์ ของนักศึกษามาพอเข้าใจ