เพลงและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

ตอนที่ 1 ดนตรีกับเด็กปฐมวัย

       ดนตรีมีความสำคัญกับเด็กปฐมวัยตั้งแต่อายุ 4-6 เดือน เพราะนักวิจัย พบว่า เด็กทารกจำเสียงจังหวะและท่องทำนองตนตรีไต้ดีเท่ากับการเปลี่ยนเสียงสูงๆ ต่ำๆ โดยเต็กทารก (อายุ 6-6 เดือน) สามารถบิดตัวดิ้นหรือเคลื่อนไหวตามเสียงเพลง ดังนั้นการที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับดนตรีต่างๆ จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการการสร้างเครือข่ายของเซลล์สมองประสบการณ์ทางดนตรีของเด็กทารก เช่น การฟังเพลงกล่อม การได้ยินเสียงโมบาย การเล่นของเล่นที่มีเสียง

เรื่องที่ 1 พัฒนาการทางดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย

เด็ก 1 ขวบ

       เด็กวัยนี้เริ่มมีพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็ก อย่างเช่น กล้ามเนื้อที่ช่วยให้เต็กสามารถหยิบจับของชิ้นเล็กๆ ได้ถนัดมือ ซึ่งจะช่วยให้เด็กหยิบจับและเคาะเขย่าสิ่งของได้ เด็กมักสนใจเครื่องดนตรีประเภทประกอบจังหวะ และลองเขย่าเพื่อให้เกิดเสียงต่างๆ อาจโยกตัวขยับไปตามจังหวะเพลงที่ได้ยิน อย่างไรก็ตาม เด็กวัยนี้จะตอบสนองต่อเสียงร้องเพลงของคนได้ดีกว่าเสียงดนตรี

เด็ก 2 ขวบ

       เด็กวัยนี้มีการรับรู้เรื่องตนตรีชัดเจนขึ้น ถ้ามีเครื่องประกอบจังหวะ เช่น กลอง เด็กก็จะพยายามเล่นไปพร้อมๆ กับเพลง สิ่งที่เด็กวัยนี้ชอบมากคือ เมื่อเด็กได้ยินเสียงเพลงเด็กก็มักจะขยับเนื้อตัวตามจังหวะเพลงเสมอ เด็กมักจะตอบสนองต่อเสียงร้องเพลงได้ดีกว่าเสียงของเครื่องดนตรี

       เด็กวัย 2 ขวบจะมีพัฒนาการทางด้านการพูดมากขึ้น การเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ ทางร่างกายก็ดีตามไปด้วย จะเป็นผลดีต่อพัฒนาการดนตรีของเด็ก เด็กสามารถฮัมเพลงและเล่นไปด้วย โดยพยายามเคาะจังหวะให้เข้ากับเพลง เด็กจะพยายามร้องเพลง และเคาะจังหวะ ทำท่าทาง ประกอบบทเพลงได้ เวลาพาเด็กเข้านอน พ่อแม่ควรจะร้องเพลงกล่อมเด็ก นอกจากจะสร้างความเพลิดเพลินแล้ว ยังช่วยให้เด็กได้สัมผัสเสียงดนตรี และเป็นการเปิดการเรียนรู้และประสบการณ์ทางดนตรีให้แก่เด็กด้วย

เด็ก 3 ขวบ

       เต็กวัยนี้ การบังคับกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ พัฒนาดีขึ้น การจัดกิจกรรมก็ควรคำนึงถึงพัฒนาการของกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กเพราะจะชวยให้พัฒนาการของกล้ามเนื้อทั้งสองใช้งานประสานกันได้ดี พัฒนาด้านการพูด ก็จะพูดเป็นเรื่องเป็นราวมากขึ้น ทางด้านดนตรีนั้นเด็กสามารถร้องเพลงง่ายๆ ได้อย่างถูกต้อง พัฒนาทางด้านจังหวะดีขึ้น การเคลื่อนไหวตามจังหวะดีขึ้น เริ่มตบมือเข้ากับจังหวะที่ได้ยิน ชอบร้องเพลงหรือถ้าหาของเล่นเคาะจังหวะให้เด็กได้ เด็กก็จะเคาะตามจังหวะ

เด็ก 4 ขวบ

       เด็กวัยนี้เริ่มมีชวงเสียงที่กว้างขึ้น ด้านจังหวะและการร้องพัฒนาได้ดีขึ้น สามารถร้องเพลงยากๆ ขึ้นได้เนื่องจากได้เรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ มากขึ้น แต่ก็ยังร้องเพี้ยนอยู่บ้าง มีการเริ่มตอบสนองต่อดนตรีได้มากขึ้น คือ สามารถแสดงความรู้สึกให้เข้ากับท่วงทำนองเพลงได้ และก็ยังคงชอบร้องและเต้นตามเสียงดนตรี

เด็ก 5 ขวบ

       เด็กในวัยนี้ จะเป็นระยะเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน เด็กเริ่มมีพัฒนาการทางด้านสังคมที่ชัดเจนขึ้น เมื่อพิจารณาประสบการณ์ทางต้านดนตรี เด็กเริ่มจะได้เรียนรู้การร้องเพลง การเต้นตามจังหวะให้เข้ากับเพื่อนๆ ในชั้นเรียนที่โรงเรียน เต็กจะต้องเรียนรู้ในการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนๆ นอกเหนือจากเรียนรู้ทางด้านดนตรี วัยนี้จะชอบร้องเพลง และเลียนแบบบุคคลที่ตนชอบหรือเห็นบ่อยๆ เต็กจะมีสมาธิในการฟังเพลงมากขึ้น ขอบร้องเพลงและเคลื่อนไหวมากกว่าการนั่งฟังเพลงนานๆ เด็กจะร้องเพลงถูกต้องตามจังหวะมากขึ้น 

เรื่องที่ 2 คลื่นเสียงของดนตรีต่อการกระตุ้นการทำงานของสมอง

1. การเดินทางของเสียงดนตรีเข้าสู่สมอง

จากภาพจะแสดงให้เห็นถึงการเดินทางของเสียงดนตรีเข้าสู่สมองได้อย่างไร

       เสียงตนตรีจะเดินทางประสาทสัมผัสด้านแรก คือ "หู" โดยเสียงต่างๆ จะผ่านเข้ามาในหูในส่วน "โคเคลีย" (Cochlear) ซึ่งมีรูปทรงคล้ายกันหอยและเต็มไปด้วยเชลล์ประสาทอ่านการรับรู้เสียงประมาณ 30,000 ตัว มีหน้าที่คอยแยกแยะความถี่ของเสียง

       จากนั้นก็จะส่งผ่านไปยังก้านสมอง และส่งต่อไปยังส่วนของสมองที่เรียกว่า Auditory Cortex เป็นศูนย์กลางในการรับข้อมูลด้านเสียง ซึ่งอยู่บริเวณเปลือกสมอง และเป็นสมองส่วนบน (ในบริเวณคอริเทกซ์จะเป็นส่วนสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยินถึง 12 ส่วน และแต่ละส่วนพร้อมที่จะมีปฏิกิริยาตอบสนองและทำงานประสานกันเมื่อได้ยินเสียงดนตรี

2. คลื่นเสียงคลื่นสมอง

       2.1 คลื่นเสียง

       ดนตรีหรือเสียงเพลงที่เราได้ยิน ถือว่าเป็นเสียงๆ หนึ่ง ที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของเครื่องดนตรีที่ผ่านตัวกลาง และการกระจายของโมเลกุลของอากาศรอบๆ ต้นกำเนิดเสียงทำให้อากาศเกิดการอัดตัว และการขยายตัวของอากาศเกิดเป็นคลื่นเสียง คลื่นเสียงมี 2 ลักษณะคือ

       (1) ความถี่ของคลื่น (Frequency) ได้แก่ จำนวนของช่วงคลื่นในระยะเวลา 1 นาที หากมีหลายช่วงคลื่นแสดงว่า "เสียงนั้นมีความถี่มาก" แต่ถ้าใน 1 วินาที มีจำนวนความถี่น้อยเสียงนั้นจะมีความถี่ต่ำ

       ความแตกต่างของความถี่ จะทำให้เกิดเสียงสูง-เสียงต่ำ หน่วยของความถี่นี้มีชื่อ เรียกว่า Hertz โดยใช้ตัวย่อว่า H2 เสียงที่คนเรารับรู้ได้จะอยู่ในช่วง 20-20,000 Hertz เท่านั้น

       (2) ความสูงของคลื่น (Amplitude)  คือ ความสูงของคลื่นหรือขนาดของการอัดตัวและขยายตัวของโมเลกุล ทำให้เกิดความดังแตกต่างกันหน่วยที่เกียกการวัดความดังของคลื่นเสียง เรียกว่า เดซิเบล

       2.2 คลื่นสมอง

       เราแบ่งคลื่นสมองของคนเราออกเป็น 4 ระดับคือ

       (1) คลื่นเดลต้า (Delta) (1-4 รอบต่อวินาที) จะเกิดขึ้นในขณะที่อยู่ในภาวะหลับลึก

      (2) คลื่นเทต้า (Theta) (4-7 รอบต่อวินาที) จะเกิดขึ้นในขณะที่อยู่ในภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่น นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสภาวะนี้จะสามารถก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ชั้นสูงและเกิดการหยั่งรู้ได้ (Insight) อยู่ในสภาวะที่เรียกว่า สมาธิชั้นสูง

      (3) คลื่นอัลฟา (AIpha) (8-12 รอบต่อวินาที) จะอยู่ในภาวะที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ให้มากที่สุด คือ ตื่นตัวแบบผ่อนคลาย (Relaxed Alertness)  คลื่นสมองในระดับนี้จะทำให้ร่างกายและจิตใจสงบ มีการผ่อนคลายพร้อมที่จะรับข้อมูลต่างๆ เป็นภาวะที่จะก่อให้เกิดความจำระยะยาวได้ดี และเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายและรวดเร็ว

      (4) คลื่นเบต้า ซึ่งมีหน่วยวัดเป็นรอบอยู่ที่ 12-25 รอบต่อวินาที จะเป็นคลื่นสมองที่อยู่ในสภาวะร่างกายที่ตื่นตัวมาก เช่น การวิ่ง การเล่นกีฬา หรือการเดินเร็ว เป็นต้น

2.3 ความสัมพันธ์ของคลื่นเสียงและคลื่นสมอง

       คลื่นเสียงและคลื่นสมองไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องดยตรง แต่นักวิจัยพบว่า จะมีความสัมพันธ์กันในเรื่อง ระหว่างอัตราความเร็วของเสียงดนตรีกับอัตราความถี่ของคลื่นสมอง

       คลื่นเสียงต่างๆ จะเข้าไปสอดประสานกับความถี่ของคลื่นสมองในแต่ละระดับ ซึ่งจะทำให้มีการกระตุ้นสมองให้เกิดการประสาน หรือเชื่อมโยงเข้าไปสู่จังหวะของดนตรีที่บรรเลง คลื่นสมองจะมีการเปลี่ยนแปลงความไปตามสภาวะของกิจกรรมทางประสาทภายในสมอง ซึ่งจะเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ อารมณ์และจิตสำนึก  เช่น บางครั้งเรารู้สึกว่าการฟังดนตรีที่ช้ารู้สึกผ่อนคลายที่มีอัตราจังหวะหรือบีทช้าๆ จะทำให้เรารู้สึกสงบลง และเมื่อเราฟังดนตรีที่มีอัตราจังหวะหรือบีทเร่ง เราจะรู้สึกตื่นตัวตามอารมณ์ของตนตรี จากงานวิจัยเชื่อว่า ตอนที่เราสบายใจหรืออารมณ์ดี เป็นช่วงที่มนุษย์มีคลื่นสมองต่ำ ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้รวดเร็ว และจะคงทน ยาวนาน

       นักวิจัยทางด้านการพัฒนาศักยภาพสมองด้วยพลังคลื่นเสียงจากต่างประเทศ ได้อธิบายเกี่ยวกับประเภทของคลื่นเสียงจากดนตรีประเภทต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการกระตุ้นสมองส่วนต่างๆ ดังนี้

     (1) คลื่นเสียงจากดนตรีประเภทเสียงเบส เครื่องเคาะจำเพาะ หรือแตร จะไปกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนก้านสมอง และไขสันหลัง (Brain Stem and Spinal cord)

       (2) คลื่นเสียงจากดนตรีประเภทเครื่องเป่า ขลุ่ย และเครื่องสาย จะไปกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนอารมณ์ (Limbic system)

       (3) คลื่นเสียงจากดนตรีประเภทเครื่องสายเสียงสูง พิณ ออร์แกน ระฆัง จะไปกระตุ้นการทำงานของสมองนีโอคอร์เท็กซ์ (Neo Cortex)

เรื่องที่ 3 ประโยชน์ของดนตรี

       1. ดนตรีทำให้กิดการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลวทางสรีรวิทยา และมีผลต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบหายใจ ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาทและระบบการเผาผลาญในร่างกาย เป็นต้น

       สถาพร กลางคาร. 2540 : 21; อ้างอิงจาก Cook. 1981 : 257 ได้อธิบายถึงผลกระทบของตนตรีต่อระบบต่างๆ  ของร่างกายไว้ตังนี้ เสียงดนตรีจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของประจุไฟฟ้าในร่าง มีอิทธิพลต่อปริมาณและการไหลเวียนของโลหิต ชีพจร ความดันโลหิต การขับหลั่งสารภายในร่างกายตลอดจนมีผลต่อการเพิ่ม หรือการลดพลังงานของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะทำนองของดนตรีที่แตกต่างกันถ้าจะมีผลต่อระบบหายใจ คือ ดนตรีที่มีทำนองหรือประเภทที่ทำให้สงบ จะทำให้อัตราการไหลเวียนของโลหิตในสมองช้าและมีปริมาณลดลง รวมทั้งยังทำให้อัตราการใช้ออกซิเจนเป็นนาทีลดลง การเผาผลาญสารอาหารในร่างกายลดลงด้วย แต่ดนตรีที่มีทำนองเร็วและประเภทตื่นเต้น เร้าใจ จะทำให้มีปริมาณและอัตราการไหลเวียนของโลหิตในสมองเพิ่มขึ้น

       อัตราความเร็วของจังหวะดนตรีที่เราฟังแล้วจะรู้สึกสบาย จะอยู่ระหว่าง 50-120 BPM (Beat Per Minute) คือจำนวน 50-120 ครั้งต่อนาที เนื่องจากการเต้นของหัวใจในแต่ละคนปกติจะอยู่ระหว่าง 60-80 BPM

       2. ดนตรีมีผลต่อการเร่งอารมณ์และการทำงานของต่อมไร้ท่อ และความสัมพันธ์กับระบบประสาทซิมพาเซอติคเสียงดนตรีที่เบาจะทำให้รู้สึกผ่อนคลายส่วนความเข้มของเสียง (ความสมบูรณ์ของเสียง) จะก่อให้เกิดประโยชน์ คือ

          2.1 ใช้เป็นสื่อให้เกิดสมาธิได้

         2.2 กระตุ้นและลด ความรู้สึกส่วนลึกทางจิตใจให้สงบหรือตื่นตัวได้

       2.3 สามารถร้าง/จัดระเบียบ และควบคุมตนเองให้เหมาะสมได้

       3. ดนตรีมีผลต่อระบบการคิด (Cognitive System) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ IQ คณิตศาสตร์ ความคิดสร้างสรรค์ ภาษา และภาพมิติ นักวิจัยชาวต่างประเทศ ทำการวิจัยในเรื่อง ดนตรีมีผลต่อระบบการคิดของเด็ก/นักเรียนไว้มากมาย โดย

       3.1 ทดลองแบ่งกลุ่มเด็กอายุ 4 ปี ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองจะได้รับการเปิดเพลงคลาสสิค หนึ่งชั่วโมงต่อวัน ส่วนกลุ่มควบคุม จะไม่มีการเปิดเพลงใดๆ เลย หลังจากนั้นก็ได้ใช้เครื่องสแกน EEG (Electroencephalograph) ตรวจการทำงานของสมอง

       หลังการทดลองพบว่า ในกลุ่มทดลองที่ได้รับการเปีดเพลงคลาสสิคนั้น สมองได้มีการรวมตัว หรือเกาะกลุ่มกันของเซลล์ประสาท (coherence)  มากกว่าพร้อมทั้งมีระยะเวลาที่คลื่นสมองอยู่ที่คลื่น A/a นานกว่ากลุ่มควบคุม ซึ่งหมายความว่าสมองของกลุ่มทดลองนั้นอยู่ในภาวะที่จะเรียนรู้ได้ดีกว่า

          3.2 สวน ดร. กอร์ดอน ชอว์

       ได้ศึกษาผลของดนตรีที่มีต่อความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ โดยแบ่งเด็ก ออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้

       - กลุ่มที่ 1 เด็กจำนวน 29 คน เรียนเปียในและวีดีโอเกมทางคณิตศาสตร์

       - กลุ่มที่ 2 เด็กจำนวน 29 คน เรียนภาษาอังกฤษ และวีดีโอเกมทางคณิตศาสตร์

       - กลุ่มที่ 3 เต็กจำนวน 28 คน เป็นกลุ่มควบคุม

       หลังจากนั้นให้เด็กทั้ง 3 กลุ่มทำแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางด้านคณิตศาสตร์พบว่ากลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่มที่ได้มีการเล่นเกมทางคณิตศาสตร์ (โดยกอร์ดอน ชอร์ เป็นผู้ออกแบบเอง เพื่อที่จะช่วยเพิ่มในเรื่องของทักษะทางมิติสัมพันธ์)  สามารถทำคะแนนทางด้านคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมถึง 36% โดยเฉพาะในกลุ่มทดลองที่มีการเรียนวิชาเบียโน เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มทดลองที่มีการเรียนด้านภาษาอังกฤษนั้น พบว่ากลุ่มที่ได้เรียนเบียโนมีคะแนนสูงกว่ากลุ่มที่เรียนตามมาถึง 15%

       4. ดนตรีมีผลต่อระบบอารมณ์ (Emotional System)

       ดนตรีเป็นยาวิเศษมากสามารถกระตุ้นและพัฒนาทางสมองในส่วนอารมณ์ได้ดีที่สุด ซึ่งจะรวมทั้งต้านทักษะทางสังคม แรงจูงใจ การรับรู้ทางวัฒนธรรม ความซาบซึ้งทางด้านสุนทรียภาพ การมีวินัย หรือเรียกว่า "ความฉลาดทางอารมณ์" หรือ EQ

       เราสามารดูผลงานวิจัยจากนักวิจัยที่นำเรื่อง ดนตรีมีผลต่ออารมณ์อย่างไร

       4.1 งานวิจัยของ John Kratns เขาได้ทดลองกักลุ่มเด็กอายุ 5-12 ปีที่เคยเรียนดนตรี กับไม่เคยเรียนดนตรี โดยไดศึกษาถึงความสามารถในการแยกแยะความแตกต่างระหว่างอารมณ์สุข เศร้า หรือตื่นเต้น ในบทเพลงของบาค

       ผลงานวิจัยพบว่า ประสบการณ์ทางนตรีที่เด็กได้รับนั้นจะช่วยให้เด็กมีความสามารถในการรับรู้ แยกแยะ และสามารถแสดงออกทางอารณ์ได้อย่างถูกต้อง และดนตรีเป็นตัวช่วยในการเสริมความสามารถในการรับรู้ทางอารมณ์

       4.2 งานวิจัยของ คอคเคอร์ตั้น (Cockerton) และคณะได้ทำการศึกษา เรื่อง ผลของการเปิดดนตรีประกอบการเรียนการสอน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนในระดับอุดมศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 30 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยจัดบรรยากาศในการเรียน ต่างกัน 2 ลักษณะ คือ กลุ่มที่มีดนตรีประกอบ กับกลุ่มที่ไม่มีตนตรีประกอบในระหว่างการเรียนการสอน

       และเมื่อทำการทดลองทางด้าน IQ แล้ว ผลปรากฏว่า กลุ่มแรกคือกลุ่มที่มีเสียงดนตรีประกอบการเรียนการสอนมีคะแนนทางด้าน IQ มากกว่ากลุ่มที่ไม่มีเสียงตนตรีประกอบ ซึ่งเขากล่าวว่าอาจจะเป็นไปได้ที่ผลของเสียงดนดรีนั้นทำให้เด็กมีสมาธิขึ้นในระหว่างที่กำลังใช้ความคิด

       ดังนั้น ผู้เลี้ยงดูเด็กทุกคนควรจะนำดนตรีมาเปิดในขั้นเรียน ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก นอกจากจะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียดแล้วยังเป็นการสร้างบรรยากาศของการเรียนรู้ในห้องเรียนเพิ่มขึ้น

       นอกจากนั้นแล้ว ดนตรียังมีผลต่อระบบการรับรู้และการเคลื่อนไหว การอ่านหนังสือ และที่สำคัญที่สุดคือการกดดันต่อความเครียด

เรื่องที่ 4 การใช้ดนตรีในห้องเรียน

       1. ใช้ดนตรีเพื่อการแนะนำดนตรีก็ถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่จะใช้ในการเปิดตัวหรือการแนะนำตัวได้ อาจจะใช้เสียงที่ฟังแล้วตื่นเต้น เป็นต้น ถือว่าเป็นวิธีที่น่าสนใจวิธีหนึ่ง

       2. ใช้ดนตรีเพื่อการสร้างกลุ่ม การร้องเพลงที่ชอบร่วมกัน ก็จะช่วยให้เกิดการรวมกลุ่มขึ้น นอกจากนั้นการร้องเพลงก็จะทำให้เกิดการสร้างภาวะอารมณ์ที่คล้ายๆ กันในกลุ่มนั้นด้วย

       3. ใช้ดนตรีเพื่อเสริมการเรียนรู้ การเปิดดนตรีในยุคสมัยต่างๆ หรือช่วงประวัติศาสตร์นั้นๆ สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยผ่านการฟังดนตรี ไม่ว่าจะเป็นเนื้อเพลง ท่วงทำนอง หรือเครื่องดนตรีที่ใช้ดนตรีสัมพันธ์กับข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ทางสังคมและการเมืองต่างๆ ความสนุกสนาน หรือแม้แต่ในเรื่องวิทยาศาสตร์

       4. ใช้ดนตรีเพื่อเสริมในเรื่องการจำ ประสบการณ์กับดนตรี และความจำในห้องเรียน นักเรียนได้มีการทบทวนการบ้าน เช่น รายการ คำศัพท์ที่จะต้องท่องสามารถที่จะเปิดดนตรีคลอไปด้วยได้ แล้วอาจจะลองทวนกิจกรรมในลักษณะแบบเดิมกับอีกวันโดยที่ไม่มีนตรีคลอแล้วลองเปรียบเทียบความแตกต่างดู

       5. ใช้ดนตรีเพื่อการนำเสนอ และจำเนื้อหา การใช้ดนตรีเป็นตัวพาข้อมูล และช่วยสร้างความจำ การเลือกทำนองที่คล้ายกัน และการเขียนเนื้อเพลงที่สอดคล้องกับเนื้อหา เพื่อช่วยให้นักเรียนจำบทเรียนได้ดีขึ้น หรือบางงานที่จะต้องใช้ในเรื่องของทักษะการจำคำศัพท์ก็ช่วยได้ ต่อไปถ้าเป็นไปได้ก็อาจจะให้นักเรียนลองใสเนื้อหาที่เรียนลงในเพลง ก็จะได้เป็นเพลงของตัวเอง นับว่าเป็นการทบทวนบทเรียนได้ดีด้วย และยังชวยสงเสริมในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ได้อีกด้วย

การเปิดดนตรีในห้องเรียน

       การเปิดดนตรีในห้องเรียน เป็นส่วนสำคัญมากส่วนหนึ่งที่ผู้เลี้ยงดูเด็กสามารถเลือกสรรและจัดช่วงเวลาได้

       การเปิดดนตรีเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเรียน

       ควรจะเปิดดนตรีที่มีท่วงทำนอง 60 BPM (เท่ากับอัตราการเต้นของหัวใจ) เป็นเพลงช้าๆ นุ่มนวล เพื่อง่ายต่อการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจและทำให้ร่างกายสงบ

       การเปิดดนตรีในระหว่างการเรียน

       โดยปกติประมาณ 15-25% ของเด็กจะค่อนข้างมีความไวต่อเสียงที่ได้ยิน บางทีพวกเขาอาจจะมีสไตล์การเรียนรู้แบบการฟัง ถ้าพวกเขาบ่นเกี่ยวกับเสียงดนตรีที่เราใช้เราก็อาจจะเบาเสียงลงนิดหน่อย และก็ควรฟังความคิดเห็นของเด็ก ๆ ด้วย และควรใช้เสียงดนตรีเป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิชา ไม่ใช่ตลอดเวลา

       ดนตรีสำหรับเปิดคลอในชั้นเรียน ควรสอดคล้องกับหลักคร่าวๆ ดังนี้

       - ควรจะเป็น Major Key เพราะเป็นบันไดเสียงที่ฟังแล้วรู้สึกสดใสร่าเริง

       - ท่วงทำนองเพลงควรจะเป็นจังหวะที่ช้า และปานกลาง (Adante หรือ Adagio)

       - ควรจะเป็นเพลงที่มีการประสานของเครื่องดนตรีหลายๆ ชนิดไม่ควรเป็นการบรรเลงของเครื่องดนตรีชิ้นเดียว

       - เปิดดนตรีที่มีท่วงทำนองประมาณ 60 BPM (ตามลักษณะการเต้นของหัวใจ) ขณะทำกิจกรรมที่ต้องการสมาธิ (เช่น การอ่านหนังสือ เป็นต้น)

       - เปิดดนตรีบรรเลง ขณะทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิด (การคำนวณคณิตศาสตร์ การเขียน การวาดภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดระบบการทำงานโดยการทำแผนที่ทางความคิดและหลักช่วยจำ)

       - ควรจะใช้แค่ 20-50% ของคาบวิชา ไม่ควรใช้ตลอดเวลาเพราะจะทำให้นักเรียนเสียสมาธิต่อการเรียน

       การเปิดเสียงดนตรีคลอเพื่อให้มีประสิทธิภาพควรจะเปิดก่อน หรือเปิดช่วงระหว่างการทำกิจกรรม หรือขณะใช้ความคิดเพื่อแก้ปัญหา และไม่ควรเปิดดังมากจนไปรบกวนความคิด และอาจทำให้เบนความสนใจไปอยู่กับเสียงเพลงมากจนเกินไป

       และแน่นอนที่อาจจะมีนักเรียนบางคนอาจจะบ่นเกี่ยวกับเพลง ซึ่งจะไม่ใช่แนวที่พวกเขาชอบ ซึ่งถ้าคุณเชื่อว่ามันเป็นผลดีจะช่วยสงเสริมการเรียนรู้ได้จริง คุณก็ควรจะใช้วิธีการนำเสียงดนตรีเข้าสู่ห้องเรียนอย่างค่อยเป็นค่อยไป และใช้เสียงตนตรีที่หลากหลายเพื่อละลายพฤติกรรม     

       สำหรับช่วงจบชั่วโมงการเรียน

       - การเปิดดนตรีในจังหวะช้าๆ เด็กจะรู้สึกผ่อนคลาย และปล่อยใจให้สบายจะช่วยให้สมองของเขามีโอกาสจัดระบบ และจัดเก็บข้อมูลที่ได้เรียนมา นอกจากนี้ ดนตรีจังหวะช้ายังเหมาะสำหรับการทบทวนเรื่องที่ต้องใช้ความจำ

       - สำหรับในช่วงที่ต้องมีการเปลี่ยนห้องเรียน หรือต้องทำกิจกรรมภายนอกนั้น การเปิดดนตรีที่มีจังหวะคึกคัก ก็จะให้เด็กรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด