ตัวช่วยชาวเกษตร ปุ๋ยชีวภาพ ไมโคโรชา ลดต้นทุนปุ๋ยเคมี

กวก. วิจัยจุรินทรีย์ทางการเกษตร ค้นพบไมโคไรซา เชื้อราในดิน ทำปุ๋ยชีวภาพ ใส่เพียงครั้งเดียวอยู่ตลอดอายุพืช

ไมโคไรซา(mycorrhiza) เป็นการอยู่ร่วมกันแบบภาวะพึ่งพากัน ระหว่างฟังไจ (fungi) และรากพืช โดยที่พืชได้รับน้ำและธาตุอาหาร เช่น ฟอสฟอรัสและไนโตรเจน มีส่วนช่วยให้พืชเกษตรรอดชีวิตเมื่อเจริญบนดินที่มีสภาพไม่เหมาะสมได้

โดยนางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปุ๋ยชีวภาพ เป็นปุ๋ยทางเลือกนำมาใช้ทดแทนและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี ไมโคไรซาทำปุ๋ยชีวภาพ ใส่ครั้งเดียวอยู่ตลอดอายุพืช กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทางการเกษตร ได้ค้นพบไมโคไรซา เชื้อราในดินกลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่ที่รากพืชและเจริญเข้าไปในรากแบบพึ่งพาอาศัยกัน

ในขณะที่ปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่าจะทำงานอยู่ในรากพืช ดังนั้นหากใช้ร่วมกันจะช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารฟอสฟอรัส ธาตุอาหารสำคัญที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่สำคัญช่วยลดต้นทุน เพราะสามารถลดใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกรได้ครึ่งหนึ่ง และการใส่ปุ๋ยชีวภาพครั้งเดียวสามารถทำงานอยู่ได้จนตลอดชีวิตของพืช เกษตรกรที่สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร 0-2579-7522-3

เกษตร และ บทวิเคราะห์ เทคโนโลยีทางการเกษตร ตลาดขายพืชผลทางการเกษตร ผลกระทบทางการเกษตร งบประมาณและนโยบายรัฐเพื่อการเกษตร และการส่งออกพืชผลทางการเกษตร ที่ได้รับความสนใจ ติดตามได้ที่ doodido