คัดเลือกพ่อพันธ์โคนมที่ดี ด้วยเทคโนโลยีจีโนม

“กรมปศุสัตว์” นำเสนอการใช้เทคโนโลยีรูปแบบใหม่ ภายใต้ชื่อ จีโนม เพื่อคัดเลือกพ่อโคนมทรอปิคอลโฮลสไตน์ เพื่อความก้าวหน้า

“กรมปศุสัตว์” นำโดย นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ คือหน่วยงานหลักที่ประเมินในด้านของความสามารถทางพันธุกรรมของ โคนมที่ถูกเลี้ยงดูในฟาร์มเกษตรกร และผลิตพ่อพันธุ์โคนมที่มีพันธุกรรมที่ดี “กรมปศุสัตว์” นำเทคโนโลยีจีโนม คัดเลือกพ่อพันธุ์โคนม เพื่อการผลิตน้ำเชื้อแช่แข็ง มีวัตถุประสงค์ในการบริการผสมเทียมให้แก่เกษตรกรทั่วประเทศ ด้วยวิธีที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติมาใช้เป็นเครื่องมือในการคัดเลือกและจัดลำดับพ่อแม่พันธุ์ สำหรับผลิตลูกโคเพศผู้หนุ่มและแม่โคสาวทดแทนให้มีความถูกต้องแม่นยำนั้น

ภาพจาก : pixabay

แต่ในปัจจุบันวิทยาการในความก้าวหน้าทางด้านจีโนมิกส์ และด้านอณูพันธุศาสตร์ ก้าวหน้าและก้าวกระโดดไปมาก กรมปศุสัตว์จึงได้มีการพัฒนาวิธีการคัดเลือกสัตว์ขึ้นมาใหม่ที่เรียกว่าการคัดเลือกด้วยจีโนม โดยใช้ข้อมูลเครื่องหมายทางพันธุกรรมที่ครอบคลุมทั้งจีโนม ข้อมูล SNPs ร่วมกับข้อมูลพันธุ์ประวัติของสัตว์แต่ละตัวและเครือญาติ และข้อมูลลักษณะปรากฏ แทนการคัดเลือกแบบดั้งเดิม

เกษตร และ บทวิเคราะห์ เทคโนโลยีทางการเกษตร ตลาดขายพืชผลทางการเกษตร ผลกระทบทางการเกษตร งบประมาณและนโยบายรัฐเพื่อการเกษตร และการส่งออกพืชผลทางการเกษตร ที่ได้รับความสนใจ ติดตามได้ที่ doodido