ขั้นตอนการปลูกนาและเลือกพันธ์ข้าวของเกษตร

การเลือกพันธุ์ข้าว และ ช่วงเวลาปลูกข้าวของเกษตรกรหรือชาวนา พันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกในประเทศไทยมีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. พันธุ์ข้าวชนิดไม่ไวแสง เกษตรกรสามารถเพาะปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง การเลือกพันธุ์ข้าว และช่วงเวลาปลูกข้าวของเกษตรกรชนิดต่าง ๆ โดยมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 4 เดือน ส่วนมากให้ผลผลิตต่อไร่ ประมาณ 100 ถัง

  2. พันธุ์ข้าวชนิดไวแสง โดยเกษตรกรปลูกได้เฉพาะนาปี มีวันเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ค่อนข้างแน่นอน ไม่ว่าเกษตรกรจะเพาะปลูกเมื่อใด ส่วนมากจะให้ผลผลิตที่ไม่สูงมากนัก

ภาพจาก : pixabay.com

วิธีการทำนา การปลูกข้าว

โดยการทำนา การปลูกข้าวทั่ว ๆ ไป มี 3 วิธีหลักใหญ่ๆ คือ การทำนาหว่าน การมำนาหยอด และ การทำนาดำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ของแต่ละที เช่นพื้นที่สูง พื้นที่ลุ่ม พื้นที่น้ำลึก และสภาพน้ำ เช่น เขตช่วงหน้าน้ำฝน เขตอยู่ติดกับชลประทาน สภาพอากาศและสังคม เช่น มีแรงงานในการทำนาหรือไม่มีแรงงาน สภาพเศรษฐกิจโดยทั่ว ๆ ไป เช่น มีเงินทุนที่ใช้ลงทุนมากหรือน้อย โดยมีรายละเอียดดังนี้ คือ

  1. การทำนาแบบชนิดหว่าน โดยส่วนมากนิยม เนื่องจากขาดแคลนแรงงานสภาพน้ำจำกัด ยากแก่การปักดำข้าว หรือพื้นที่อยู่ในเขตน้ำฝนไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำได้ เป็นการปลูกข้าวโดยใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหว่านลงไปในนาที่เตรียมดินไว้แล้ว มี วิธีดังนี้คือ

  • หว่านข้าวแห้งหรือหว่านสำรวย

  • หว่านข้าวตม เมื่อข้าวงอกแล้วหว่านเพาะเลย

2. การทำนาแบบชนิดหยอด นิยมในเขตพื้นที่สูง เขตพื้นที่ไร่ หรือ ในสภาพนาที่ฝนไม่ค่อยตกต้องตามฤดูกาล โดยใช้เมล็ดข้าวแห้งที่ไม่ได้มีการเพาะให้งอก หยอดลงไปในหลุมที่เกษตรกรได้เตรียมไว้

3.การทำนาดำ เป็นวิธีการปลูกข้าว โดยแบ่งการปลูกเป็น ขั้นตอนการตกกล้า และ ขั้นตอนการปักดำ

ถึงแม้ว่า ในปัจจุบัน เกษตรกรนิยมปักดำน้อยลง เนื่องจากขาดแคลนแรงงาน ทำให้ชาวนาได้มีการหันไปพึ่งพาเทคโนโลยีและนำเข้ามาใช้ใน ด้านเกษตรกรรม เช่น รถดำนา รถปักกล้า การปักดำจึงไม่ใช่ปัญหาของเกษตรกรอีกต่อไป และ การทำนาแบบปักดำยังเป็นวิธีการปลูกข้าวที่สามารถควบคุมวัชพืชต่าง ๆ ได้ดีกว่าการทำนา แบบหว่านเมล็ดอีกด้วย

ติดตามทุกความเคลื่อนไหว ทางการเกษตรและ บทวิเคราะห์ เทคโนโลยีทางการเกษตร ที่ได้รับความสนใจ ได้ทั้งใน Facebook Doodido