Fruit Board เตรียมข้อมูลปรับปรุงยุทธศาสตร์การพัฒนาผลไม้ไทย ฉบับที่ 3

Roadmap ปี 2565 – 2570 เปิดแผนเกษตรฯ ปฏิบัติการพัฒนาผลไม้ไทย

ปัจจุบันผลไม้ไทยนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยคิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 45,613 ล้านบาทซึ่งภาครัฐได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับผลไม้เศรษฐกิจหลัก 7 ชนิด ได้แก่ มะม่วง ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ลำไย และลิ้นจี่ เพื่อผลิตผลไม้ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า นายทวี มาสขาว รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผย

กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดแผนเกษตรฯ ปฏิบัติการพัฒนาผลไม้ไทย ปี 2565 – 2570 จึงได้รับมอบหมายจาก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) รับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อนำข้อมูลและข้อเสนอแนะไปปรับปรุงแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาผลไม้ไทย พ.ศ. 2565 – 2570

ภาพโดย diapicard จาก Pixabay

หรือยุทธศาสตร์การพัฒนาผลไม้ไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2565 – 2570) ให้ครอบคลุมสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และยุทธศาสตร์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ทั้งนี้ มีเป้าประสงค์เพื่อสร้างเสถียรภาพราคาผลไม้เศรษฐกิจทั้ง 7 ชนิด โดยค่าเฉลี่ยที่เกษตรกรขายได้ราคาต้องไม่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต เพิ่มผลตอบแทนและมีกำไรสุทธิเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 14,850 บาท/ไร่ ในปี 2565 เป็น 17,600 บาท/ไร่ ในปี 2570 พร้อมเพิ่มมูลค่าการส่งออกผลไม้สดและผลิตภัณฑ์แปรรูปให้เติบโตเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี และการพัฒนาคุณภาพที่ได้มาตรฐาน GAP ต้องสูงขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของแปลงที่ขอการรับรอง

เกษตร และ บทวิเคราะห์ เทคโนโลยีทางการเกษตร ตลาดขายพืชผลทางการเกษตร ผลกระทบทางการเกษตร งบประมาณและนโยบายรัฐเพื่อการเกษตร และการส่งออกพืชผลทางการเกษตร ที่ได้รับความสนใจ ติดตามได้ที่ doodido