แหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์จังหวัดพะเยา

เรื่องราวของผู้คนและการก่อตั้งถิ่นฐาน สร้างบ้านแปลงเมือง ความเป็นมาในอดีตของเมืองพะเยา ส่วนใหญ่ได้มาจากหลักฐานที่ปรากฏในเอกสารพงศาวดาร ตำนาน หลักฐาน ทางโบราณคดีและศิลาจารึก

ถ้าพิจารณาจากสภาพภูมิประเทศแล้วจะเห็นได้ว่า เมืองพะเยาและกลุ่มเมืองแห่งอื่น ๆ ในเขตจังหวัดพะเยา ตั้งอยู่ในหุบเขาลุ่มน้ำอิงมีภูเขาสูงและเนินเขาเตี้ย ๆ วางตัวสลับกับพื้นที่ราบ มีแหล่งน้ำไหลผ่านคือแม่น้ำอิง จากลักษณะดังกล่าวนี้และจากการสำรวจพบขวานหินขัดทั้งขนาดเล็ก-ใหญ่ ทั้งแบบมีบ่าและไม่มีบ่า สันนิษฐานว่าพื้นที่ในเขตพะเยานี้ดั้งเดิมเคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์

จาการศึกษาทางโบราณคดีพบเวียงโบราณอยู่ในพะเยาหลายแห่ง นอกจากนั้นยังมีโบราณสถานและโบราณวัตถุอื่น ๆ อีกมากมายที่อยู่ในเมืองพะเยา บ่งบอกถึงความเก่าแก่ของเมืองพะเยาที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เมืองหนึ่ง

ยุคก่อนรับศาสนา ห รือก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (ก่อนพุทธศักราช ๑๘๐๐) มักเกี่ยวข้องกับคน ๒ พวก คือ พวกตั้งถิ่นฐานอยู่บนที่สูงกับพวกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บนที่ราบ คนทั้ง ๒ พวกยังไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ-พราหมณ์ เป็นการนับถือผีอาจเรียกยุคนี้ว่า “สมัยก่อนประวัติศาสตร์” เพราะยังใช้เครื่องมือหินและเครื่องมือโลหะอยู่ ยังไม่มีการจดบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ

ยุคหลังรับศาสนา หรือหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (หลังพุทธศักราช ๑๘๐๐) มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลัก เชื่อมโยงและหล่อหลอมให้ผู้คนกลุ่มต่าง ๆ ทั้งที่อยู่บนที่สูงและที่ราบให้เป็นพวกเดียวกัน จนเกิดเป็นบ้านเมืองเล็ก ๆขึ้นบริเวณที่ราบลุ่ม พัฒนาเป็นบ้านเมืองขนาดใหญ่ที่ภายหลังมีชื่อเรียกว่า “พยาว” หรือ “พะเยา” ซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองในภูมิภาคแถบนี้ เมื่อมีความเจริญมากขึ้นชุมชนจึงขยายออกไปรอบ ๆ เกิดเป็นชุมชนใหม่ที่ขึ้นกับการปกครองส่วนกลาง และรับวัฒนธรรมต่าง ๆเข้ามาใช้ในชุมชน

เมืองพะเยาเป็นเมืองขนาดใหญ่มีอาณาเขตกว้างขวาง ประกอบด้วยชุมชนใหญ่น้อยจำนวนมาก แบ่งออกเป็นพันนาต่าง ๆ ได้ถึง ๓๖ พันนา โดยมีตัวเมืองพะเยาเป็นศูนย์กลางการปกครอง ขอบเขตแต่ละพันนามีลักษณะคล้ายตำบลในปัจจุบัน ประกอบด้วยชุมชนระดับหมู่บ้านหลาย ๆแห่งที่ตั้งใกล้ ๆกัน พันนาทั้ง ๓๖ แห่ง ของเมืองพะเยาซึ่งปรากฏอยู่ในพงศาวดารโยนก คือ ๑.พันนาเชียงดี ๒.พันนาน้ำเซาะ ๓.พันนาแคว้นดง ๔.พันนาปั้น ๕.พันนามหาก ๖.พันนามูล ๗.พันนาโคกหลวง ๘.พันนาแลง ๙.พันนาแหน ๑๐.พันนาพูน ๑๑.พันนาแคว้นนาย ๑๒.พันนาคม ๑๓.พันนาเพ็ง ๑๔.พันนาแพง ๑๕.พันนาแจ้ตาก ๑๖.พันนาตอหวาย ๑๗.พันนาตอใคร้ ๑๘.พันนาดิน ๑๙.พันนาพุงเมือง ๒๐.พันนาฉนาก ๒๑.พันนาแจ้ห่ม ๒๒.พันนาม่วง ๒๓.พันนาครัว ๒๔.พันนาชัน ๒๕.พันนากุลาน้อย ๒๖.พันนาทาน ๒๗.พันนาลาใต้ ๒๘.พันนาแช่โหว้ ๒๙.พันนาเชียงเคี่ยน (เชียงกลึง) ๓๐.พันนาอง ๓๑.พันนาไชย ๓๒.พันนาแก้ว ๓๓.พันนาเชียงเครื่อง ๓๔.พันนาฉางหลวง ๓๕.พันนาริน ๓๖.พันนาเริง

การแบ่งพื้นที่ของเมืองพะเยาออกเป็น ๓๖ พันนาในสมัยโบราณนั้นนับว่ามีจำนวนใกล้เคียงกับการแบ่งเขตพื้นที่ต่าง ๆในหุบเขาเมืองพะเยาปัจจุบัน ซึ่งมีทั้งสิ้น ๓๐ ตำบล ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองพะเยา อำเภอดอกคำใต้ และอำเภอแม่ใจ

พระเทพสุทธิเวที เจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ ได้สำรวจสืบหาที่ตั้งของพันนาต่าง ๆทั้ง ๓๖ แห่ง พบว่าบางพันนาไม่มีหมู่บ้านตั้งอยู่ในปัจจุบัน บางพันนายังมีหมู่บ้านตั้งอยู่และเป็นที่ตั้งของตำบลต่าง ๆ เช่น

พันนาม่วง คือ บริเวณตำบลใหม่และบางส่วนของอำเอแม่ใจ

พันนาชัน คือ บริเวณตำบลสางและตำบลตุ่น

พันนาริน คือ บริเวณตำบลดงเจน

พันนาแพง คือ บริเวณตำบลแม่นาเรือหรือตำบลแม่ใส

พันนาปั้น คือ บริเวณตำบลแม่ปืน

พันนาแช่โหว้ คือ บริเวณตำบลถ้ำ

พันนาคม คือ บริเวณตำบลแม่กา

ในสมัยโบราณประชากรเมืองพะเยาส่วนใหญ่คลจะอาศัยอยู่ในหมู่บ้านของพันนาต่าง ๆ และมีอาชีพเกษตรกรรม ดังนั้นหน้าที่หลักโดยทั่วไปของพันนา คือ การเพราะปลูก ผลิตอาหาร และเสียภาษีจากผลผลิตการเกษตรของตนให้กับเมืองพะเยา

ลักษณะที่แสดงว่าเป็นชุมชนโบราณ หรือเมืองโบราณได้ชัดเจนที่สุดคือ ลักษณะที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ และภายในเมืองโบราณอาจจะมีศาสนสถานและร่องรอยการดำดงชีวิตของมนุษย์ เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ปรากฏให้เห็นโดยทั่วไป

เมืองโบราณในเขตจังหวัดพะเยาที่สำรวจพบแล้วมีจำนวนมาก สามารถแบ่งออกได้ตามลักษณะความสำคัญของเมือง คือ เมืองโบราณกลุ่มศูนย์กลางเมืองพะเยา และเมืองโบราณตามพันนาต่าง ๆมีรายละเอียดดังนี้

(๑.) เมืองโบราณกลุ่มศูนย์กลางเมืองพะเยา

เมืองโบราณกลุ่มนี้เป็นศูนย์กลางการปกครอง การเมือง เศรษฐกิจ และศิลปะของเมืองพะเยา บริเวณนี้ปรากฏร่องรอยเมืองโบราณหรือเวียงโบราณที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ๕ เมืองดังนี้

๑. เวียงพะเยา คือตัวเมืองพะเยาปัจจุบัน ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของกว๊านพะเยาในเขตตำบลเวียง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เส้นรุ่งที่ ๑๐ องศา ๑๐ ลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ ๙๙ องศา๕๕ ลิปดาตะวันออก เมืองพะเยาเดิมมีประตูรวม ๘ ประตู คือ ประตูชัย ประตูหอกลอง ประตูเหล็ก ประตูท่านาง ประตูท่าเหล้า ประตูปราสาท ประตูท่าแป้นและประตูออมปอม

ในพงศาวดารโยนกกล่าวว่า พระยาหลวงเงินผู้ครองเมืองหิรัญนครเงินยาง พระราชบิดาขุนจอมธรรม ได้รับสั่งให้ขุนจอมธรรมไปครองเมืองภูกามยาว ซึ่งเป็นเมืองฝ่ายใต้ ตั้งอยู่ ณ เชิงเขาชมพูหรือดอยด้วน เมืองนี้เป็นนครเก่าร้างมาแต่โบราณขุนจอมธรรมจึงได้ให้ไพร่พลแผ้วถาง สร้างนิเวศสถานในนครนั้น

จากตำนานพงศาวดารนี้ แสดงให้เห็นว่าเมืองเริ่มสร้างในสมัยขุนจอมธรรมกษัตริย์พระองค์แรกของเมืองพะเยาเมื่อปี พ.ศ.๑๖๓๙ ส่วนกษัตริย์ที่มีตัวตนจริงและครองเมืองพะเยาในสมัยแรก คือ พญางำเมือง ร่วมสมันกับพ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย และพญามังรายแห่งเมืองเชียงใหม่ แสดงให้เห็นว่าเมืองพะเยาแห่งนี้มีมาก่อนสมัยพญางำเมืองแน่นอน (ก่อนต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙)

ภายในเมืองพะเยามีวัดทั้งสิ้น ๑๘ วัด ทั้งหมดเคยเป็นวัดร้างมาก่อน บางวัดได้รับการบูรณะขึ้นในรัตนโกสินทร์ อันเป็นช่วงฟื้นฟูเมืองพะเยา เช่น วัดหลวงราชสัณฐาน วัดศรีอุโมงค์คำ วัดไชยอาวาส และวัดราชคฤห์ เป็นต้น ส่วนที่เป็นวัดร้างมีอยู่ ๑๑ วัด ส่วนใหญ่แทบไม่เหลือสภาพ และมีประชาชนครอบครองที่ดินบริเวณวัดร้างหมดแล้ว

๒.เวียงท่าวังทองหรือเวียงประตูชัย ตั้งอยู่ห่างจากเวียงพะเยาปัจจุบันไปทางทิศตะวันออก ตั้งอยู่ที่บ้านประตูชัย ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เส้นรุ้งที่ ๑๙ องศา ๑๐ ลิปดา ๓ ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ ๙๙ องศา ๕๗ ลิปดา ๔๕ ฟิลิปดาตะวันออก ผังเมืองวางอยู่ในแนวทิศตะวันออก - ตะวันตก ยาวประมาณ ๑,๕๐๐ เมตร ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ กว้างประมาณ ๕๐๐ เมตร ด้านตะวันตกเฉียงใต้ กว้างประมาณ ๑,๐๐๐ เมตร คูเมืองนั้นขุดเป็นแนวโอบล้อมเนินสูงสามแห่ง จึงมีรูปร่างคล้ายผลน้ำเต้า

เวียงท่าวังทองสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ตรงกับสมัยพญาติโลกราชและพระเมืองแก้วปกครองอาณาจักรล้านนา ซึ่งขณะนั้นพญายุทธิษฐิระเป็นผู้ปกครองเมืองพะเยา ส่วนร่องรอยโบราณสถานและโบราณวัตถุที่พบในเมือง สามารถกำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑

๓. เวียงปู่ล่าม ตั้งอยู่ห่างจากเวียงท่าวังทองไปทางตะวัยออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ที่บ้านศาลา ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เส้นรุ้งที่ ๑๙ องศา ๑๐ ลิปดา ๔๑ ฟิลิปดาตะวันออก

เวียงปู่ล่ามเป็นเมืองโบราณประเภทคูเมืองชั้นเดียว มีคันดินขนาบสองข้าง ผังเมืองเป็นรูปวงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๕๘๐ เมตร ตั้งอยู่บนเนินเขาไม่สูงนัก สภาพคูคันดินทางทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตกถูกทำลายไปเกือบหมดแล้วคงเหลืออยู่บ้างทางทิศตะวันออก

เดิมภายในเมืองปู่ล่ามมีซากโบราณสถานอยู่มากมาย พบศิลาจารึกที่วัดอารามป่าน้อยกล่าวว่าวัดนี้สร้างเมื่อพุทธศักราช ๒๐๓๗ และพบหลักฐานทางโบราณคดีอื่น ๆ เช่น ภาชนะดินเผา ผลิตจากแหล่งเตาในล้านนา และเครื่องถ้วยจีนในสมัยราชวงศ์หมิง ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๑ แสดงให้เห็นว่าเวียงปู่ล่ามสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑

๔. เวียงหนองหวีหรือเวียงแก้วหรือบ้านศาลา ตั้งอยู่ห่างจากเวียงปู่ล่ามมาทางตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ในเขตบ้านหนองหวี ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เส้นรุ้งที่ ๑๙ องศา ๑๐ ลิปดา ๕๕ ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ ๙๙ องศา ๕๑ ลิปดา ๑๒ ฟิลิปดาตะวันออก

เวียงหนองหวี เป็นเมืองโบราณประเภทคูเมืองชั้นเดียว มีคันดินขนาบสองข้าง มีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมพื้นผ้า แนวคูน้ำคันดินด้านทิศเหนือยาวประมาณ ๖๐๐ เมตร ด้านทิศตะวันตกยาวประมาณ ๗๐๐ เมตร ด้านทิศใต้ยาวประมาณ ๔๕๐ เมตร และด้านทิศตะวันออกยางประมาณ ๕๐๐ เมตร

ภายในเมืองหนองหวีไม่เหลือซากโบราณสถานอีกแล้ว พบเพียงภาชนะดินเผา มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ เวียงหนองหวีตั้งอยู่ใกล้เวียงปู่ล่ามมาก สันนิษฐานว่าเมืองทั้งสองนี้เป็นเมืองแฝด เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กันและอยู่ในสมัยเดียวกันทั้งเวียงหนองหวีและเวียงปู่ล่ามเป็นเวียงขนาดเล็ก อาจเป็นที่ประทับของเจ้านายหรือกษัตริย์เพราะอยู่ไม่ห่างจากเวียงพะเยาและเวียงท่าวังทองมากนัก

๕. เวียงพระธาตุจอมทอง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของกว๊านพะเยาทางทิศเหนือของเมืองพะเยา ตั้งอยู่ที่บ้านแท่นดอกไม้ ตำบลต๋อมคง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เส้นรุ้งที่ ๑๙ องศา ๑๑ ลิปดา ๐ ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ ๙๙ องศา ๕๓ ลิปดา ๓๔ ฟิลิปดาตะวันออก มีคูเมืองหนึ่งชั้นขนาบด้วยคันดินสองข้าง คูเมืองล้อมรอบเนินเขาลูกเตี้ย ๆ รูปวงรียาวประมาณ ๘๕๐ เมตรกว้างประมาณ ๔๕๐ เมตร

ภายในเวียงมีพระธาตุจอมทองตั้งอยู่บนยอดสูงสุดของเวียง แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าวัดนี้สร้างแต่สมัยใด เวียงพระธาตุจอมทองนี้เป็นเวียงพระธาตุประจำเมืองพะเยาเช่นเดียวกับเมืองต่าง ๆ หลายเมืองในล้านนาที่ต้องมีเวียงพระธาตุอยู่ด้วย เช่น เวียงพระธาตุลำปางหลวง เวียงสวนดอก เป็นต้น การขุดคูคันดินล้อมรอบพระธาตุก็คงเนื่องมาจากคตินทีสีมาที่แพร่หลายทั่วไปในล้านนาช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ ดังนั้น เวียงพระธาตุจอมทองนี้คงมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ เช่นกัน

(๒.) เมืองโบราณตามพันนาต่าง ๆ

พันนาเป็นหน่วยย่อยทางการปกครองของเมือง ประกอบไปด้วยชุมชนระดับหมู่บ้านหลาย ๆ แห่ง พันนาจึงเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของเมือง มีลักษณะเป็นชุมชนบริวารคล้ายกับตำบลในปัจจุบัน

เนื่องจากชุมชนที่ตั้งอยู่ตามพันนาต่าง ๆ มีลักษณะเป็นเพียงหมู่บ้านไม่ได้เป็นตัวเมือง จึงจำเป็นต้องขุดคูคันดินล้อมรอบเป็นเวียง อย่างไรก็ตามพันนาก็มีการขุดคูคันดินล้อมรอบบริเวณหนึ่งคล้ายกับเวียง แต่ละพันนาที่มีการสร้างเวียงของตนขึ้นมานั้นคงมีความจำเป็น และจุดมุ่งหมายในการสร้างแตกต่างกันไป ซึ่งสันนิษฐานได้จากการศึกษาวิเคราะห์หลักฐานหลาย ๆอย่างประกอบกัน อย่างไรก็ตามเวียงที่ตั้งตามพันนาเหล่านี้ ย่อมเป็นส่วนหนึ่งของเมืองพะเยา มิได้แยกเป็นเอกเทศ

เพราะเป็นเพียงพันนาหนึ่งของเมืองพะเยาเท่านั้น

๑. เวียงต๋อมดง ตั้งอยู่ที่บ้านต๋อมดง ตำบลต๋อมดง อำเภอเมืองจังหวัดพะเยา เส้นรุ้งที่ ๑๙ องศา ๑๑ ลิปดา ๓๕ ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ ๙๙ องศา ๔๙ ลิปดา ๑๕ ฟิลิปดาตะวันออก ทางด้านทิศตะวันตกของกว๊านพระเยา ห่างจากเวียงพระธาตุจอมทองมาทางตะวันตกประมาณ ๗ กิโลเมตร ลักษณะเป็นเมืองโบราณประเภท คู ๒ ชั้น คันดิน ๓ ชั้น วางตัวตามแนวทิศเหนือ-ใต้ แบ่งเป็น ๒ เวียง ตัวเมืองมีลักษณะเป็นเนินเขาลูกเล็ก ๆ มีการขุดคูน้ำคันดินล้อมรอบเป็นสองส่วนอยู่ติดกันเรียกว่า เวียง ๑ และเวียง

รูปร่างของเวียงไม่สม่ำเสมอเพราะขุดคูน้ำคันดิน ๒ ชั้น ล้อไปตามรูปร่างของเนินเขา คูด้านนอกค่อนข้างเตี้ย มีคันดินอยู่ด้านนอกเล็กน้อยคูด้านในมีความลึกมากกว่า และมีคันดินคั้นอยู่ระหว่างคูทั้งสอง สภาพคูน้ำคันดินในปัจจุบันถูกทำลายไปบ้างแต่ส่วนใหญ่ยังคงปรากฏอยู่ชัดเจน

รูปร่างของเวียง ๑ เป็นรูปยางรีไม่สม่ำเสมอ ขนาดยางประมาณ ๖๕๐ เมตรและกว้างประมาณ ๔๐๐ เมตร เวียงนี้ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเวียง ๒ และคงสร้างขึ้นก่อนเวียง ๒ เพราะแนวคูเวียงด้านทิศใต้ของเวียงนี้ถูกใช้เป็นคูเวียงด้านทิศเหนือของเวียง ๒ ส่วนเวียง ๒ มีรูปวงรีต่อจากเวียง ๑ ไปทางใต้ ขนาดยาวประมาณ ๓๕๐ เมตร กว้างประมาณ ๒๐๐ เมตร เป็นพื้นที่ลาดลงจากเนินเขาของเวียง ๑ ลงมาทางทิศใต้ ยังบริเวณที่ราบใกล้ลำห้วยต๋อมดง

ภายในเวียงต๋อมดงไม่พบโบราณสถานใด ๆ พบเพียงโบราณวัตถุเป็นเศษภาชนะดินเผาผลิตจากแหล่งเตาล้านนา (เตาสันกำแพงและเตาเวียงกาหลง) และเครื่องแก้วราชวงศ์หมิง และพบว่ามีการอยู่อาศัยทั้งด้านในและด้านนอกเวียงมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ เวียงแห่งนี้คงมีความสำคัญพิเศษ ในลักษณะเป็นพันนาของเมืองพะเยา นอกจากพบแนวคันดินโบราณคล้ายถนนเชื่อมกับเวียงพระธาตุจอมทองซึ่งเป็นบริเวณชุมชนหลักของเมืองพะเยา เวียงต๋อมดงนี้คงสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นป้อมค่ายในยามศึกสงคราม ต่อมาจึงใช้เป็นที่อยู่อาศัย แต่คงไม่ได้เป็นชุมชนใหญ่นัก

๒. เวียงโบราณบนดอยม่อนแจ๊ะ ตั้งอยู่บนยอดดอยม่อนแจ๊ะใกล้กับวัดอนาลโย (ดอยบุษราคัม) ตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ห่างจากเวียงต๋อมลงมาทางใต้ประมาณ ๒ กิโลเมตร อยู่ทางด้านตะวันตกของกว๊านพะเยา เส้นรุ้งที่ ๑๙ องศา ๑๐ ลิปดา ๔๕ ฟิลิป-ดาเหนือ

เวียงนี้ตั้งอยู่บนยอดดอยลูกเล็ก ๆ ตัวเวียงมีขนาดเล็ก มีรูปร่างไม่สม่ำเสมอ เป็นคูเมืองที่มีน้ำคันดินหลายชั้น ด้านในมีพื้นที่ค่อนข้างลาดจะมีคูคันดินถึงสามชั้น ด้านเหนือพื้นที่ค่อนข้างชัน มีคูเพียงชั้นเดียว ในคูไม่มีร่องรอยการเก็บน้ำ กว้างประมาณ ๕ เมตร คันดินมองเห็นไม่ชัดนัก พื้นที่ภายในเวียงบนยอดดอยมีการสร้างอาคารต่าง ๆ ของวัดอนาลโย ไม่พบโบราณสถานใด ๆ และไม่มีร่องรอยการอยู่อาศัยในสมัยโบราณ

เวียงแห่งนี้คงตั้งอยู่ในเขตพันนาเดียวกันกับเวียงต๋อมดง เพราะอยู่ไม่ไกลกันนัก จากยอดดอยที่ตั้งของเวียงนี้มองไปทางทิศเหนือจะเห็นเนินเขาที่ตั้งเวียงต๋อมดงได้ชัดเจน ระหว่างเนินเขาที่ตั้งของเวียงทั้งสองมีที่ราบแคบ ๆ คั่นอยู่เป็นราบยาวไปตามลำห้วยต๋อม จากบริเวณต้นน้ำเทือกเขาดอยหลวงทางตะวันตก มาต่อกับที่ราบผืนใหญ่ของเมืองพะเยาตรงบริเวณบ้านผาช้างมูบ ห้วยแม่ต๋อมนี้ยังคงเป็นหัวใจของพันนานี้ และที่ราบแคบ ๆ ตามแนวห้วยคงเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางที่จะข้ามเทือกเขาดอยหลวงไปยังเวียงป่าเป้าได้ การสร้างเวียงเล็ก ๆ สองเวียงบนเนินเขาใกล้กับบริเวณที่ห้วยแม่ต๋อมไหลออกสู่ที่ราบใหญ่น่าจะใช้เป็นป้อมปราการควบคลุมปากทางเข้าออกเมืองพะเยาทางด้านนี้

ลักษณะของเวียงบนดอยม่อนแจ๊ะแสดงให้เห็นความมุ่งหมายในการสร้างเพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกันตัวอย่างชัดเจน เช่น ตั้งอยู่บนยอดเขา สูงกว่าระดับพื้นราบมากพอสมควร ไหล่เขาด้านใดที่ไม่ค่อยลาดชันก็จะมีการขุดคูก่อคันดินถึง ๓ ชั้น ส่วนด้านที่ชันมากอยู่แล้วก็จะมีคูคันดินเพียงชั้นเดียว การตั้งอยู่บนยอดเขาทำให้สามารถมองเห็นทัศนียภาพได้กว้างไกล และได้เปรียบยามสงคราม อย่างไรก็ตามการตั้งอยู่บนยอดเขาทำให้ไม่เหมาะในการตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยเป็นถาวร เพาระอยู่ไกลแหล่งน้ำและการขึ้นลงลำบาก ดังนั้นในยามปกติคงแทบไม่มีคนอยู่อาศัยในเวียงนี้เลย จึงพบหลักฐานโบราณคดน้อยมาก ผู้คนคงอพยพมารวมกันในเวียงนี้เฉพาะยามสงครามเท่านั้น

ทั้งเวียงที่ดอยม่อนแจ๊ะและเวียงต๋อมดงนี้คงมีลักษณะคล้ายกันในช่วงแรก คือน่าจะใช้เป็นป้อมปราการยามศึกสงครามเหมือนกัน ไม่ได้สร้างขึ้นเป็นที่อยู่อาศัย จึงเลือกสร้างบนเนินเขา แต่ต่อมาคงมีความพยายามที่จะปรับปรุงให้เวียงต๋อมเป็นที่อยู่อาศัยได้ จึงมีการสร้างเวียง ๒ ขึ้นมา เนินเขาของเวียงต๋อมคงไม่ชันนัก และตั้งอยู่ใกล้ที่ลาดและแหล่งน้ำจึงมีการใช้ประโยชน์จากเวียงต๋อมดง ในแง่การอยู่อาศัยอย่างถาวรภายในเวียงด้วยในระยะหลังแต่ที่เวียงบนดอยม่อนแจ๊ะตั้งอยู่ส่วนบนยอดเขาที่สูงและชันกว่าเวียงต๋อมดง การขึ้นลงติดต่อกับที่ราบและแหล่งน้ำไม่สะดวก จึงไม่สามารถปรับปรุงให้เป็นที่อยู่อาศัยถาวรได้เวียงนี้จึงมิได้มีลักษณะเป็นชุมชนเลย

๓. เวียงโบราณที่บ้านเหยี่ยน ตั้งอยู่ที่บ้านเหยี่ยน ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองพะเยา เส้นรุ้งที่ ๑๙ องศา ๑๖ ลิปดา ๒๒ ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ ๙๙ องศา ๔๘ ลิปดา ๒๔ ฟิลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากเวียงพะเยามาทางตะวันตะเฉียงเหนือประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ตัวเวียงตั้งอยู่บนเนินเตี้ย ๆ มีคูน้ำคันดินค่อนข้างซับซ้อน คูกว้างประมาณ ๑๐ เมตร มีคันดินขนาบทั้งสองข้าง ภายในตัวเวียงปรากฏวัดร้าง ๑ แห่ง และพบเศษภาชนะดินเผากระจายอยู่บางบริเวณ ด้านนอกเวียงมีมีวัดร้างอยู่หลายแห่ง พบสิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทราย และเศษภาชนะดินเผาเครื่องเคลือบของเตาในล้านนา ได้แก่ จากแหล่งเตาพาน เตาเวียงกาหลง และเตาพะเยา เวียงนี้คงมีการอยู่อาศัยทั้งเวียงและนอกเวียง วัดร้างต่าง ๆ ที่ตั้งกระจายกันอยู่นอกเวียงก็คงเป็นวัดของหมู่บ้านต่าง ๆ ในสมันโบราณ ซึ่งอยู่ไม่ไกลกันมากนัก

หมู่บ้านเหล่านี้น่าจะเป็นบริเวณพันนาม่วงในสมัยโบราณ พันนานี้ตั้งอยู่ตั้งอยู่ตรงชายขอบเมืองพะเยาทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นที่ราบหุบเขาระหว่างเทือกดอยหลวงทางตะวันตกทางเทือกเขากับเทือกดอยด้วนทางตะวันออก ที่ราบนี้จะแผ่ยาวไปทางทิศเหนือติดต่อกับที่ราบของอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ดังนั้นพันนานี้จึงตั้งอยู่ในช่องทางคมนาคมจากเมืองพานและเมืองเชียงรายที่จะเข้าสู่หุบเขาของเมืองพะเยาพันนาม่วงนี้จึงเป็นหน้าด่านของเมืองพะเยาทางตะวันตกเฉียงเหนือที่จะควบคุมเส้นทางเข้าสู่เมืองพะเยาทางด้านนั้น ด้วยความสำคัญทางยุทธ-ศาสตร์ทำให้พันนานี้มีการสร้างเวียงขึ้น เพื่อป้องกันข้าศึกยามมีการรุกรานจากต่างเมือง เวียงนี้มีคูน้ำค่อนข้างลึก ยามมีศึกสงครามประชาชนตามหมาบ้านต่าง ๆ ของพันนาม่วงคงจะอพยพมารวมกันอยู่รวมกันภายในเวียงและใช้เวียงเป็นป้อมปราการในการต่อสู่ แต่ยามปกติประชาชนส่วนใหญ่จะอาศัยตามหมู่บ้านต่าง ๆ ของตน

จากบันทึกของพระเทพวิสุทธิเทวีกล่าวพบศิลาจารึกบริเวณเวียงนี้ ๓ แผ่น แผ่นหนึ่งพบที่วัดดงแล ปรากฏคำว่า “เวียงปู่พระ” อาจจะชื่อของเวียงนี้ก็ได้

๔. เวียงโบราณที่บ้านห้วยหม้อ ตั้งอยู่ในเขตบ้านห้วยหม้อ ตำบลตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เส้นรุ้งที่ ๑๙ องศา ๘ ลิปดา ๑๕ ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ ๙ องศา ๔๙ ลิปดา ๑๕ ฟิลิปดาตะวันออก อยู่ทางทิศตะวันตกของกว๊านพะเยา ห่างจากเวียงต๋อมดงลงมาทางทิศใต้ประมาณ ๕.๗ กิโลเมตร และห่างจากเวียงพะเยาลงมาทางทิศตะวันตกประมาณ ๕.๗ กิโลเมตร ตังเวียงมีลักษณะเป็นเนินเขาลูกเล็ก ๆ เป็นเมืองโบราณที่มีคูน้ำชันเดียว กว้างประมาณ ๕-๖ เมตร มีคันดินขนาบสองข้าง ตังเวียงมีเนื้อที่ประมาณ ๕๐ ไร่ รูปร่างไม่สม่ำเสมอ ภายในเวียงมีเจดีย์ร้างอยู่ ๑ แห่ง ปัจจุบันถูกไถทำลายหมดแล้ว พบพระพุทธรูปหินทรายทรงเครื่อง ๒ องค์ มีอายุอยู่ในราวศตวรรษที่ ๒๑ และพบเศษภาชนะดินเผาที่ผลิตจากแหล่งเตาเวียงกาหลง เตาพาน และเตาสันกำแพง มีอายุอยู่ในราวศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ จึงสันนิษฐานได้ว่าเวียงแห่งนี้น่าจะสร้างขึ้นในช่วงเวลานั้นด้วย

เวียงแห่งนี้คงตั้งอยู่ในขอบเขตของพันนาชัน ซึ่งปัจจุบันเป็นตำบลตุ่นและตำบลสาง พันนานี้มีห้วยแม่ตุ่นเป็นลำน้ำหลัก การตั้งถิ่นฐานของประชากรส่วนใหญ่คงตั้งอยู่เป็นหมู่บ้านต่าง ๆ อยู่บนที่ราบโดยเฉพาะแนวลำน้ำตุ่น ส่วนในตัวเวียงคงมีคนอาศัยอยู่บ้าง

ในลำห้วยแม่ตุ่น ตั้งแต่โบราณที่ตั้งของเวียงนี้เรื่อยไปทางต้นน้ำ พบก้อนหินทรายเป็นจำนวนมากเกลื่อนกลาดอยู่ตามท้องน้ำ คุณภาพพอใช้ได้ สันนิษฐานว่าในอดีตพันนานี้อาจเป็นหินทรายสำคัญเมืองพะเยา รวมทั้งเป็นแหล่งแกะสลักหินทรายที่สำคัญของเมืองพะเยาด้วย

๕. เวียงบัวหรือเวียงก๋า ตั้งอยู่ในเขตบ้านบัว ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เส้นรุ้งที่ ๑๙ องศา ๒ ลิปดา ๒ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ ๙๙ องศา ๕๗ ลิปดา ๔๕ ฟิลิปดาตะวันออก อยู่ทางทิศใต้ของเมืองพะเยา ห่างจากเวียงพะเยาประมาณ ๑๔ กิโลเมตร เวียงนี้ตั้งอยู่บนเนินเขาเตี้ย ๆ เป็นเมืองโบราณที่มีคูคันดินล้อมรอบ แบ่งออกเป็น ๒ เวียง ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กัน มีลักษณะดังนี้

เวียงบัว ๑ คูและคันดินวางตัวอยู่ในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ลักษณะเมืองคล้ายรูปใบโพธิ์ ตัวเวียงมีขนาดกว้างประมาณ ๘๐๐ เมตร คูเวียงด้านทิศตะวันออก ทิศตะวันตก และทิศเหนือมีชั้นเดียวกว้างประมาณ ๑๐.๕ เมตร คันดินขนาบ ๒ ข้าง ประมาณ ๖.๕๐ เมตร ด้านนอกกว้างประมาณ ๕ เมตร คูเวียงด้านทิศใต้มีคู ๒ ชั้น มีคันดินอยู่ตรงกลาง

เวียงบัว ๒ รูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ กว้างประมาณ ๔๐๐ ยาว ๖๐๐ เมตร มีคู ๒ ชั้น คันดิน ๓ ชั้น คูด้านในกว้างประมาณ ๑๑ เมตร คันดินกว้างประมาณ ๘ เมตร คูชั้นนอกกว้างประมาณ ๗๐๐ เมตร คันดินกว้างประมาณ ๔ เมตรระหว่างคูมีคันดินคั่น คูคันดินในปัจจุบันเหลือสภาพเฉพาะด้านทิศเหนือเท่านั้น ส่วนด้านอื่น ๆ เหลือสภาพไม่สมบูรณ์นัก

ในเขตเวียงบัวทั้งสองไม่พบซากโบราณสถานใด ๆ พบเศษภาชนะดินเผาผลิตจากแหล่งเตาพะเยา อายราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ห่างจากเวียงบัวไปทางใต้ประมาณ ๒ กิโลเมตร พบแหล่งเตาเผาภาชนะดินเผาเขาม่อนออม แต่ไม่พบเตาเผา สันนิษฐานว่าอาจเป็นเตาหลุม หรือขุดโพรงเข้าไปในเนินเขา ลักษณะเศษภาชนะดินเผาคล้ายกับที่เวียงบัว สันนิษฐานได้ว่าภาชนะที่พบในเวียงบัวเป็นผลิตภัณฑ์จากแหล่งเตานี้

เวียงบัวนี้คงเป็นเวียงที่ตั้งอยู่ในบริเวณพันนาคม ซึ่งครอบคลุมตำบลแม่กา และตำบลจำป่าหวายในปัจจุบัน ลักษณะพันนานี้เป็นที่สูงปานกลางอยู่ระหว่างพ้นที่ราบลุ่มขนาดใหญ่ของเวียงพะเยากับเทือกเขาทางทิศใต้ที่เป็นเขตของเมืองพะเยาบริเวณนี้เป็นช่องทางติดต่อกับหุบเขาของอำเภองาว จังหวัดลำปางได้ ดังนั้นพันนานี้จึงเป็นเขตทางเข้าเมืองพะเยา

จากความสำคัญดังกล่าว คงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พันนานี้สร้างเวียงขึ้นมา มีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นป้อมปราการยามมีสงคราม คือ เวียงบัว ๒ ส่วนเวลาปกติคงอาศัยทำมาหากินตามที่ราบ ที่ตั้งเป็นหมู่บ้านต่าง ๆ อยู่นอกเวียง ความสำคัญอีกประการหนึ่งของพันนานี้ คือ เป็นแหล่งผลิตเครื่องถ้วยชามของเมืองพะเยา พบแหล่งเตาเผา ๓ แห่ง คือ ที่บ้านโทก-

หวาย ตำบลป่าหวาย บ้านหนองแก้ว ตำบลแม่กา และที่เขาม่อนออม การผลิตเครื่องถ้วยชามของพันนานี้คงเป็นอุตสาหกรรมใหญ่พอสมควร เพราะพบผลิตภัณฑ์ของแหล่งเตานี้ได้ทั่วไปในเมืองต่าง ๆ ของล้านนา

ความเติบโตของอุตสาหกรรมผลิตเครื่องถ้วยชามนี้ คงเป็นเหตุผลให้มีการสร้างเวียงอีกเวียงขึ้นมา คือ เวียงบัว ๑ โดยขยายจากเวียงบัว ๒ ที่ตั้งบนเนินเขามาสร้างเวียงใกล้ที่ราบเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยอย่างถาวรได้ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังคงอาศัยนอกเวียงเช่นเดิม คงมีแต่ผู้ปกครองพันนาเท่านั้นที่อาศัยอยู่ภายในเวียง และใช้เวียงนี้เป็นศูนย์กลางการค้า และศูนย์กลางการปกครองระดับพันนา

๖. เวียงฮางหรือเวียงพระธาตุแจ้โว้ ตั้งอยู่ในเขตบ้านปาง ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา เส้นรุ้งที่ ๑๙ องศา ๔ ลิปดา ๒๘ ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ ๑๐๐ องศา ๐ลิปดา ๕๙ ฟิลิปดาตะวันออกอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเวียงบัว ห่างประมาณ ๗ กิโลเมตร และห่างจากเวียงท่าวังทองมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ ๑๗ กิโลเมตรที่ตั้งของเวียงฮางเป็นเนินเขาโดด ๆ ค่อนข้างสูง เป็นที่ตั้งของพระธาตุแจ้โว้ เวียงฮางมีรูปร่างไม่สม่ำเสมอ เพราะขุดคูคันดินไปตามภูมิประเทศ ผังเมืองวางตัวอยู่ในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก มีขนาดกว้างประมาณ ๙๐๐ เมตร ยาว ๑,๕๐๐ เมตร มีคูชั้นเดียว คันดินขนาบสองข้าง คูกว้างประมาณ ๑๘.๕ เมตร คันดินกว้างประมาณ ๔.๖ เมตร คูคันดินมีสภาพค่อนข้างดี ตอนกลางเมืองมีคูน้ำคันดินผ่านกลาง เชื่อมต่อระหว่างคูเวียงด้านเหนือกับด้านใต้ คูกว้างประมาณ ๑๖ เมตร คันดินกว้างประมาณ ๘ เมตร มีห้วยร่องขุยไหลผ่านทางทิศตะวันออก ภายในเวียงมีโบราณสถาน ๒ แห่ง คือ วัดพระธาตุแจ้โว้ ตั้งอยู่บนยอดเนินเขาเป็นจุดสูงสุดของเวียง มีเจดีย์ทรงล้านนา ๑ องค์ คือ พระธาตุแจ้โว้ วัดนี้อาจสร้างขึ้นพร้อมกับเวียงฮาง จากลักษณะพระพุทธรูปหินทรายที่พบมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑

ส่วนโบราณสถานอีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ใกล้แนวคูคันดินเวียงด้านทิศเหนือเป็นซากวัดร้างขนาดใหญ่ประกอบด้วยเจดีย์ และวิหาร หลักฐานอื่น ๆที่พบในเวียงนี้ คือ เครื่องใช้แกะสลักจากหินทรายเศษภาชนะดินเผาที่ผลิตจากแห่งเตาในล้านนา และเครื่องถ้วยจีนในสมัยราชวงศ์หมิง ซึ่งน่าจะมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ดังนั้นเวียงนี้น่าจะอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน

เวียงฮางนี้ตั้งอยู่ในพันนาแช่โหว้ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ตำบลถ้ำ อำเภอดกคำใต้ บริเวณนี้เป็นต้นน้ำของร่องขุย พันนานี้คงเป็นลำน้ำหลักของพันนาแช่โหว้ รวมทั้งเป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อกับชุมชนหลักของเมืองพะเยาที่เวียงท่างังทองและเวียงท่าพะเยาด้วย โดยมีร่องรอยคันดินโบราณคล้ายแนวถนนตัดเสียบฝั่งตะวันออกของห้วยร่องขุยนี้

๗. เวียงโบราณพระธาตุภูขวาง ตั้งอยู่ที่พระธาตุภูขวาง ตำบลห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เส้นรุ้งที่ ๑๙ องศา ๑๖ ลิปดา ๑๗ ฟิลิปดา เส้นแวงที่ ๑๐๐ องศา ๑๙ ฟิลิปดาตะวันออก ยังไม่มีการสำรวจการศึกษา

๘. เวียงโบราณที่บ้านดงอินตา ตั้งอยู่ที่บ้านดงอินคา ตำบลบ้านเหล่า อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา เส้นรุ้งที่ ๑๙ องศา ๒๓ ลิปดา ๒๐ ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ ๙๙ องศา ๕๐ ลิปดา ๕๔ ฟิลิปดาตะวันออก เป็นเมืองโบราณที่มีคูคันดินล้อมรอบ ปรากฏแนวคูคันดินให้เห็นบางส่วนปัจจุบันมีชาวบ้านเข้าไปตั้งถิ่นฐานอาศัยหนาแน่น จากภาพถ่ายทางอากาศเห็นคูเมืองเป็นรูปวงกลมชัดเจน ซึ่งมีประตูทั้ง ๕ ด้าน

๙. เวียงลอ ตั้งอยู่ที่บ้านลอ ตำบลหงส์หิน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา เส้นรุ้งที่ ๑๙ องศา ๒๗ ลิปดา ๓๗ ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ ๑๐๐ องศา ๔ ลิปดา ๕๙ ฟิลิปดาตะวันออก เป็นเมืองโบราณมีคูน้ำคันดินล้อมรอบ มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า นาดกว้างประมาณ ๕๖๐ เมตร ยาว ๒๗๐ เมตร ปรากฏซากโบราณสถานมากมายร่วม ๗๐ แห่ง เช่นเจดีย์วัดศรีปิงเมือง วัดบุนนาค เป็นต้น

บริเวณวียงนี้ ปรากฏหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ เครื่องมือหินกะเทาะ ตุ้มถ่วงแห แวดินเผา ภาชนะเนื้อดินธรรมดา เป็นต้น ส่วนโบราณวัตถุในสมัยประวัติศาสตร์ ได้แก่เศษภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาพะเยา เครื่องถ้วยจีนและพระพุทธรูป เป็นต้น สันนิษฐานได้ว่าเมืองนี้มีอายุสมัยร่วมกับสมัยล้านนา และเมืองพะเยา

๑๐. เวียงโบราณที่บ้านฝั่งหมิ่น ตั้งอยู่ในเขตบ้านฝั่งหมิ่นตำบลห้วยข้าวก่ำ อำเภอจุน จังหวัดพะเยา เส้นรุ้งที่ ๑๙ องศา ๒๐ ลิปดา ๔๒ ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ ๑๐๐ องศา ๙ ลิปดา ๔๙ ฟิลิปดาตะวันออก เป็นเมืองโบราณที่มีคูคันดินล้อมรอบบริเวณรอบ ๆ เวียงเป็นหมู่บ้านและทุ่งนา เวียงแห่งนี้ยังไม่ได้สำรวจศึกษาอย่างละเอียด

๑๑. เวียงโบราณบ้านจุนหลวง ตั้งอยู่ในเขตบ้านจุนหลวง ตำบลจุน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา เส้นรุ้งที่ ๑๙ องศา ๑๗ ลิปดา ๕๕ ฟิลิป-ดาเหนือ เส้นแวงที่ ๑๐๐ องศา ๙ ลิปดา ๕๘ ฟิลิปดาตะวันออก เป็นเมืองโบราณที่มีคูคันดินล้อมรอบ มีลักษณะผังเป็นรูปวงกลม สภาพด้านตะวันตกเป็นภูเขา ชื่อ ห้วนเดื่อ ด้านตะวันออกเป็นหมู่บ้าน เวียงโบราณแห่งนี้ยังไม่ได้ศึกษาอย่างละเอียด

๑๒. เวียงโบราณวัดบ้านร่องคู่ ตั้งอยู่ในเขตบ้านร่องคู่ ตำบลจุน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา เส้นรุ้งที่ ๑๙ องศา ๑๙ ลิปดา ๑๔ ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ ๙๙ องศา ๘ ลิปดา ๒๒ ฟิลิปดาตะวันออก เป็นเวียงโบราณที่มีคูคันดินล้อมรอบ สภาพปัจจุบันปรากฏคูคันดินให้เห็นบางส่วน เวียงแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้เวียงโบราณบ้านจุนหลวง ด้านตะวันตกเป็นภูเขา ด้านตะวันออกมีวัดบุญเกิดตั้งอยู่เวียงโบราณแห่งนี้ยังไม่ได้สำรวจศึกษาอย่างละเอียด

๑๓. เวียงโบราณบ้านร่องอ้อย ตั้งอยู่ในเขตบ้านร่องอ้อย ตำบลปง อำเภอปง จังหวัดพะเยา เส้นรุ้งที่ ๑๙ องศา ๙ ลิปดา ๕ ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ ๑๐๐ องศา ๑๖ ลิปดา ๒๘ ฟิลิปดาตะวันออก เป็นเมืองโบราณที่มีคูคันดินล้อมรอบ สภาพปัจจุบันปรากฏคูคันดินให้เห็นบางส่วน ภายในเวียงปัจจุบันเป็นที่อยู่ อาศัยของชาวบ้าน เวียงโบราณนี้ยังไม่ได้สำรวจศึกษาอย่างละเอียด

๑๔. เวียงโบราณบ้านดง ตั้งอยู่ในเขตบ้านดง ตำบลงิม อำเภอปง จังหวัดพะเยา เส้นรุ้งที่ ๑๙ องศา ๑๖ ลิปดา ๑๕ ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ ๑๐๐ องศา ๒๒ ลิปดา ๒๔ ฟิลิปดาตะวันออก เป็นเมืองโบราณที่มีคูคันดินล้อมรอบ สภาพปัจจุบันปรากฏคูคันดินให้เห็นบางส่วนมีถนนตัดผ่านกลางเมือง สองฝั่งถนนเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน เวียงโบราณแห่งนี้ยังไม่ได้สำรวจศึกษาอย่างละเอียด

๑๕. เวียงโบราณพระที่นั่ง ตั้งอยู่ในเขตบ้านพระที่นั่งดิน ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยาเส้นรุ้งที่ ๑๙ องศา ๒๙ ลิปดา ๕๗ ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ ๑๐๐ องศา ๑๙ ลิปดา ๓๗ ฟิลิปดาตะวันออก เป็นเมืองโบราณที่มีคูคันดินล้อมรอบ เวียงโบราณแห่งนี้ยังไม่ได้สำรวจศึกษาอย่างละเอียด

๑๖. เวียงงุ่น ตั้งอยู่ในเขตบ้านงุ่น ตำบลทุ่งกล้วย กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา เส้นรุ้งที่ ๑๙ องศา ๓๕ ลิปดา ๔๑ ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ ๑๐๐ องศา ๒๓ ลิปดา ๒๓ ฟิลิปดาตะวันออก เป็นเมืองโบราณที่มีคูคันน้ำคันดินล้อมรอบ ลักษณะผังเมืองคล้ายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางตัวในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก ปรากฏคูน้ำ ๒ ชั้น และคันดิน ๓ ชั้น เวียงนี้ขุดคูดินล้อมรอบเนินเขา ๓ เนินไว้ด้วยกัน ขนาดของเมืองแคบและยาว

พิจารณาจกสภาพโดยทั่วไป โบราณวัตถุที่พบที่เวียงงุ่นมีจำนวนน้อย สันนิษฐานว่าเวียงงุ่นนี้เป็นเวียงอาศุยอยู่ชั่วคราว และใช้เป็นป้อมปราการยามมีศึกสงคราม ยามสงบประชาชนจะอยู่อาศัยตามที่ราบนอกเวียง และพื้นที่ราบจะเอื้ออำนวยในการประกอบอาชีพและอยู่อาศัยมากกว่าในเวียง

๑๗. เวียงโบราณบ้านร่องเชียงแร้ง (๒) ตั้งอยู่ในเขตบ้านร้องเชียง ตำบลเชียงแร้ง กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา เส้นรุ้งที่ ๑๙ องศา ๓๖ ลิปดา ๔๙ ฟิลิดาเหนือ เส้นแวงที่ ๑๐๐ องศา ๑๘ ลิปดา ๔๘ ฟิลิปดาตะวันออก เป็นเมืองโบราณที่มีคูดินล้อมรอบ สภาพปัจจุบันปรากร่องรอยแนวคูคันดินให้เห็นบางส่วน ภายในเวียงเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน เวียงโบราณแห่งนี้ไม่ได้สำรวจศึกษาอย่างละเอียด

๑๘. เวียงโบราณบ้านปางงัว ตั้งอยู่ในเขตบ้านปางงัว ตำบลน้ำแวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เส้นรุ้งที่ ๑๙ องศา ๒๙ ลิปดา ๒๙ ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ ๑๐๐ องศา ๑๕ ลิปดา ๑๕ ฟิลิปดาตะวันออก เป็นเมืองโบราณที่มีคูคันดินล้อมรอบ สภาพปัจจุบันปรากฏร่องรอยแนวคูคันดินให้เห็นบางส่วน ภายในเวียงเป็นทุ่งนา และที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน เวียงโบราณแห่งนี้ยังไม่ได้สำรวจศึกษาอย่างละเอียด

๑๙. เวียงแก ๑ ตั้งอยู่ในเขตบ้านแกใหม่ ตำบลภูซาง กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา เส้นรุ้งที่ ๑๙ องศา ๓๕ ลิปดา ๔๘ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ ๑๐๐ องศา ๑๙ ลิปดา๓๐ ฟิลิปดาตะวันออก เป็นเมืองโบราณที่มีคูคันดินล้อมรอบ ลักษณะผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าด้านไม่เท่า คูน้ำคันดินด้านทิศเหนือยาวประมาณ ๕๕๐ เมตร ด้านทิศตะวันออกยาวประมาณ ๔๐๐ เมตร

ด่านทิศใต้ยาวประมาณ ๔๕๐ เมตร ด้านทิศตะวันตกติดกับเวียงแก ๒ ยาวประมาณ ๓๗๕ เมตร เวียงแก ๑ อยู่ทางทิศตะวันออกของเวียงแก ๒ มีคูเมืองด้านทิศตะวันตกของเวียงแก ๑ และคูเมืองด้านทิศตะวันออกของเวียงแก ๒ ติดต่อกัน แต่แยกออกจากกันไม่ได้ใช้คูเมืองร่วมกัน

เวียงแก ๑ และเวียงแก ๒ มีลักษณะเป็นเมืองแฝด เวียงแก ๑ น่าจะสร้างขึ้นเป็นที่อยู่ชั่วคราว เนื่องจากภูมิประเทศและที่ตั้งของเวียงแก ๑ อยู่บนเนินดินค่อยข้างสูง ขนาดของเมืองเล็ก ไม่พบซากโบราณสถาน และพบโบราณวัตถุน้อยมาก ได้แก่ เศษภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาล้านนา เวียงนี้สันนิษฐานว่าสร่งขึ้นมาก่อนเวียงแก ๒ เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราวและเป็นป้อมปราการยามมีศึกสงคราม เวียงนี้คงสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑

เวียงแก ๒ ตั้งอยู่ในเขตบ้านแกใหม่ตำบลภูซาง กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา เส้นรุ้งที่ ๑๙ องศา ๓๕ ลิปดา ๔๘ ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ ๑๐๐ องศา ๑๙ ลิปดา ๓๐ ฟิลิปดาตะวันออกอยู่ทางทิศตะวันตกของเวียงแก ๑ ผังเมืองมีรูปร่างไม่สม่ำเสมอ เป็นเมืองโบราณที่มีคูคันดินล้อมรอบ

มีขนาดกว้างประมาณ ๖๕๐ เมตร ยาว ๗๐๐ เมตร ด้านทิศเหนือมีแม่น้ำเปือยไหลผ่าน และเวียงนี้ลำน้ำเปือยเป็นส่วนหนึ่งของคูน้ำคันดิน พบก้อนอิฐที่บริเวณกำแพงเมืองคันดินด้านทิศใต้ จากลักษณะของคูน้ำคันดินของเวียงแก ๒ นี้ แสดงให้เห็นว่ามีการใช้คูเมืองเก็บกักน้ำ พบซากโบราณสถาน ๒ แห่ง ทางทิศเหนือ แต่ถูกทำลายและไถเพื่อการเกษตร มีเศษอิฐกระจายอยู่อาศัยอย่างถาวร เนื่องจากมีการขยายตัวของเวียงแก ๒ การสร้างเวียงแก ๒ มีการวางแผนอย่างดี โดยใช้ลำน้ำเปือยเป็นคูเมือง และนำน้ำเข้ามาใช้ภายในเมืองอย่างสะดวกนอกจากนี้ ยังมีคันดินป้องกันน้ำท่วม พบเศษภาชนะดินเผาเป็นจำนวนมาก รวมทั้งเป็นโบราณสถานแสดงให้เห็นว่ามีการอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น และมีการทำกิจกรรมทางศาสนา จากเศษภาชนะดินเผาที่พบทั้งที่ผลิตจากแหล่งเตาในล้านนา และเครื่องจีนในสมัยราชวงศ์หมิง ชุมชนของเวียงแก ๒ นี้ คงมีอายุร่วมสมัยกับเวียงแก ๑ คือราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑

๒๐. เวียงแจ๊ะ (เป็นเวียงที่พบใหม่) เวียงแจ๊ะ ตั้งอยู่ในหมู่ที่ ๘ บ้านท่าตาด ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ลักษณะเป็นชุมชนโบราณแห่งหนึ่งของอำเภอแม่ใจ เส้นทางสามารถเข้าไปถึงได้สะดวกโดยรถยนต์ สภาพที่เห็นปัจจุบันยังคงมีแนวคันดิน แสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้มีการตั้งชุมชนอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าส่วนใหญ่จะถูกชาวบ้านบุกรุก ทำไร่ ทำสวน แล้วก็ตาม

ในบริเวณชุมชนโบราณมีซากเจดีย์ที่สร้างด้วยอิฐขนาดใหญ่ ชุมชนนี้ความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง เห็นได้จากเนินที่ตั้งขององค์เจดีย์ลาดต่ำลงมาเป็นบริเวณป่าช้าของชุมชนเวียงแจ๊ะนี้ จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ทราบว่าบริเวณดังกล่าวเคยพบ…..(หลุม/เมรุ/กระดูก) อยู่มากมาย

การล่มสลายของชุมชนแห่งนี้ไม่ทราบชัด แต่สันนิษฐานว่าเกิดจากการเคลื่อนย้ายของชุมชนไปสู่ที่อุดมสมบูรณ์กว่าในปัจจุบัน ท่านพระครูมานัสนทีพิทักษ์เจ้าคณะอำเภอเมืองแม่ใจ ได้นำคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนปักเขตแดนที่ตั้งของเวียงแจ๊ะ และปลูกป่าในบริเวณดังกล่าวเพื่ออนุรักษ์ไว้ให้เป็นแหล่งวัฒนธรรมเพื่อการศึกษาของชนรุ่นต่อไป

(เอกสารหลักฐานข้อมูลเมืองโบราณและชุมชนโบราณล้านนา สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ ๖ เชียงใหม่)