จากเมืองพะเยาสู่จังหวัดพะเยา

เมื่อเหตุการณ์กบฏเงี้ยวสงบลงแล้ว เมืองพะเยาจึงถูกปรับเปลี่ยนจาก “เมือง” เป็น “จังหวัด" แต่เรียกว่า “จังหวัดบริเวณพะเยา” ครั้น พุทธศักราช ๒๔๔๘ ทางกรุงเทพฯ ให้ยุบ “จังหวัดบริเวณพะเยา” ให้มีฐานะเป็น “อำเภอเมืองพะเยา” แล้วให้เจ้าอุปราชมหาชัย ศีติสาร รักษาการในตำแน่งเจ้าเมืองพะเยา

ต่อพุทธศักราช ๒๔๕๗ เมืองพะเยา เชียงคำ แม่ใจ จุน อยู่ในอำนาจของเมืองเชียงราย ส่วนเมืองปง เชียงม่วน ขึ้นอยู่กับเมืองน่าน เริ่มเปลี่ยนระบบการปกครองใหม่ นายอำเภอต่าง ๆ ได้จัดการบริหารการปกครองท้องถิ่นทุก ๆ ด้าน เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชน ส่งเสริมการศึกษาและอาชีพให้แก่ประชาชนเพื่อความอยู่ดีกินดี ทางฝ่ายพุทธจักรก็ให้ความร่วมมือกับทางคณะสงฆ์ดูแลพระภิกษุสามเณรให้การศึกษาเหล่าเรียนธรรมวินัย ตลอดจนถึงความประพฤติปฏิบัติให้มีระเบียบเรียบร้อย เมื่อพบเห็นสิ่งใดไม่ดีไม่งามไม่สมควรแก่กิจของสงฆ์ก็แจ้งให้พระเถระผู้ใหญ่คอยดูแลต่อไป

การปกครองบ้านเมืองในสมัยนั้นค่อนข้างลำบากเพราะมีอาณาเขตกว้างขวาง ฝ่ายพุทธจุกรก็เช่นกัน บ้านเมืองขยายไปถึงไหน วัดวาอารามการคณะสงฆ์ไปถึงนั่น เมื่อเริ่มมีการปกครองแบบกระจายอำนาจเป็นจังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ ขึ้นอยู่กับจังหวัดเชียงรายและจังหวัดน่าน

ก่อนที่รัฐบาลจัดตั้งจังหวัดพะเยาขึ้นกับจังหวัดเชียงรายและน่านเป็นเวลาร่วม ๗๐ ปี จนเมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ จึงประกาศจัดตั้งจังหวัดพะเยา โดยรวบรวมตำบลในอำเภอพาน จังหวัดเชียงรายผนวกกับตำบลในอำเภอเมืองพะเยาตั้งเป็นอำเภอแม่ใจ จนถึงพุทธศักราช ๒๕๔๒ มี ๙ อำเภอและ คือ อำเภอเมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอเชียงคำ อำเภอคำใต้ อำเภอจุน อำเภอปง อำเภอเชียงม่วน อำเภอภูซาง และอำเภอภูกามยาว