ข้อมูลน่าสนใจ

วัดลี

วัดลี เป็นวัดในตัวเมืองเก่าเวียงน้ำเต้า สร้างขึ้นเมื่อจุลศักราช ๘๕๗ ตรงกับ พ.ศ. ๒๐๓๘ สมัยของพระเจ้ายอดเชียงราย กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ ได้มีพระราชโองการให้ เจ้าหมื่นหน่อเทพครู ผู้เป็นพระราชครูมากินตำแหน่งเป็น เจ้าสี่หมื่นพะเยา ได้มาสร้างวัดลี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระเจ้ายอกเชียงราย กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ เจ้าสี่หมื่นพะเยาได้มากระทำพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อ วันอาทิตย์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๙ เหนือ ปี พ.ศ. ๒๐๓๘ มีพระมหาเถรปัญญาวังสะ เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดลี วัดลีได้ผ่านการเป็นวัดร้างมาหลายร้อยปี ได้มารับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ โดยครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา มาเป็นผู้นำในการบูรณะ เมื่อการบูรณะแล้วแสร็จ จึงได้นิมนต์ครูบาแก้วมูล ญาณวุฑฺฒิ ซึ่งเป็นพระลูกศิษย์ของครูบาศรีวิชัย มาเป็นเจ้าอาวาสจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ต่อมาคณะศรัทธาจึงไปนิมนต์พระบุญชื่น ฐิตธมฺโม มาเป็นเจ้าอาวาสวัดลี สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

พระยิ้ม และพระสีชมพู

พระยิ้ม เป็นพระพุทธรูปหินทรายที่มีความศักดิ์สิทธิ์อีกองค์หนึ่งของวัดลี ใครก็ตามที่ได้รับทราบข่าว ต่างกันมาดูถึงความมหัศจรรย์ของพระพุทธรูปองค์นี้ ที่มีพระโอษฐ์แย้มพระสรวล (ยิ้ม) เมื่อมีคนเดินผ่านและพระเนตรแลมอง ราวกับมีชีวิต และพระสีชมพู เป็นพระพุทธรูปหินทรายที่มีความพิเศษ คือ มีสีชมพูเมื่อโดนแสงแดด ทั้งหมดเป็นพระพุทธรูปศิลปะสกุลช่างพะเยา มีอายุเก่าแก่กว่า ๕๐๐ ปี ปัจจุบันประดิษฐาน ณ พิพิธภัณฑ์เวียงพยาว (วัดลี)

อนุสาวรีย์พญาจอมธรรม

ปฐมกษัตริย์ ผู้สถาปนาอาณาจักร พะเยา มีประวัติ ศาสตร์ เริ่มต้น ในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ พญาจอมธรรมเป็นพระโอรสของพญาลาวเงิน กษัตริย์ผู้ครองนครเงินยางเชียงแสน ปี พ.ศ. ๑๖๓๙ ได้นำข้าราชบริพารอพยพมาถึงเมืองภูกามยาว และตั้งบ้านเมืองอยู่เชิงดอยชมพู จรดแม่น้ำสายตา (แม่น้ำอิง) ลักษณะเมืองคล้ายรูปน้ำเต้า ทรงฝังเสาหลักเมือง และทรงปราบดาภิเษกเป็นพญาจอมธรรมขึ้นเป็นผู้ครองเมืองพะเยาเป็นต้นมา...

อนุสาวรีย์เจ้าสี่หมื่นพะเยา

เจ้าสี่หมื่นพะเยา เป็นตำแหน่ง ทางการปกครอง ในสมัยของพระเจ้ายอด เชียงราย ให้มา ปกครองเมืองพะเยา ในจำนวนนั้น ได้มีเจ้าสี่หมื่น ซึ่งเป็นพระราชครูของพระเจ้ายอดเชียงราย นามว่า หมื่นหน่อเทพครู ได้มาสร้างวัดลี ในปี พ.ศ. ๒๐๓๘ เพื่ออุทิศส่วนบุญกุศลแด่พระเจ้ายอดเชียงราย กษัตริย์เมืองเชียงใหม่

พระธาตุเจ้าวัดลี

พระเจดีย์ ศิลปะล้านนา ทรงแปดเหลี่ยม ย่อมุม ๒๘ สูง ๓๗ เมตร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือว่าเป็นเจดีย์ที่สูงและใหญ่ที่สุด ในจังหวัดพะเยา และเป็นเจดีย์ที่เจ้าเมือง ทรงสร้างมาหลายยุคหลายสมัย จนเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่โดยพระครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา มีประเพณีสรงน้ำพระธาตุเจ้าวัดลี ในเดือนห้าเหนือ เป็นประจำทุกปี เรียกว่าป๋าเวณีห้าเป็ง

พระปางลีลา

หลวงพ่อ พุทธลีลา พระพุทธรูป ยืนปางลีลา ที่มีลักษณะสวยงาม อ่อนช้อย เป็นที่เคารพ สักการะใคร ผ่านไปมา ต้องแวะมาขอพร

พระพุทธรูปหินทราย และประติมากรรมหินทรายสกุลช่างพะเยา

พระพุทธรูปหินทรายปางต่าง ๆ ของสกุลช่างพะเยา รวมทั้งหลักศิลาจารึกของเมืองพะเยา ประติมากรรมหินทรายรูปสัตว์ ส่วนประกอบของสถาปัตยกรรมโบราณ ถานส้วมหินทราย ถังน้ำหินทราย เป็นต้น พระวิมลญาณมุนี เจ้าอาวาสวัดลี ได้เก็บรักษาและขอรับบริจาคจากชาวบ้านมาเป็นเวลาหลายสิบปี เป็นประติมากรรมหินทราย ที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปกรรม ในงานศิลปกรรมหินทรายของเมืองพะเยา เป็นที่ยอมรับว่าเป็น “ศิลปะสกุลช่างพะเยา” มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความสวยงามโดดเด่น ประกอบกับเมืองพะเยามีแหล่งหินทรายมากมาย ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบในการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมหินทรายของเมืองพะเยาเป็นจำนวนมาก

เครื่องพุทธบูชาและเครื่องสักการะ

เครื่องพุทธบูชาเกิดจากความศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงได้มีการประดิษฐ์และสรรหาเครื่องสักการะ ของพุทธศาสนิกชนในสมัยต่าง ๆ เพื่อให้เกิดบุญเกิดกุศลแก่ตน ให้มีความสุขความเจริญ ส่วนเครื่องสักการบูชา เกิดจากเจตนาและความคิดของแต่ละบุคคลที่จัดทำขึ้นเพื่อสักการบูชาสิ่งศักดิ์ที่ตนเคารพเลื่อมใส

พระพุทธรูปหินทรายสกุลช่างพะเยา

คลังมรดกวัฒนธรรมท้องถิ่น

ขันแก้วทั้งสาม

ตาลปัตรของครูบาศรีวิชัย

เครื่องราชกกุธภัณฑ์

เครื่องสัตตภัณฑ์

แผ่นพับ