รูปปั้น อนุสาวรีย์

อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง

อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมืองมีลักษณะเป็นรูปหล่อสำริด เป็นพระพุทธรูปยืน ลักษณะสุขุมมีอำนาจ พระหัตถ์ถือดาบอาญาสิทธ์ ความสูงเท่าครึ่งขององค์จริงประมาณ ๒ เมตร ๗๐ เซนติเมตร ประดิษฐานบนพระแท่นสูง ๒ เมตร ๕๐ เซนติเมตร พระพักตร์หันสู่กว๊านพระเยา

เมื่อมีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดพะเยาขึ้น เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๐

บรรดาพ่อค้า ประชาชน และข้าราชการในจังหวัดพะเยาต่างเห็นพ้องต้องกันว่าสมควรที่จะมีการสร้างอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมืองประดิษฐานไว้ ณ สวนสาธารณะเทศบาลเมืองพะเยา เพื่อเป็นที่สักการะและเทิดพระเกียรติพ่อขุนงำเมืองที่ทรงปกครองบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่โบราณกาลมาจนถึงทุกวันนี้ อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมืองถือเป็นปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมืองพะเยา

อนุสาวรีย์พ่อขุนเจืองธรรมิกราช

อนุสาวรีย์พ่อขุนเจืองธรรมิกราชหล่อด้วยโลหะสำริด (รมดำ) ตั้งอยู่ในค่ายขุนเจืองธรรมิกราช ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

การสร้างอนุสาวรีย์พ่อขุนเจืองธรรมิกราช เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของกำลังพลและครอบครัวตลอดจนประชาชนทั่วไปที่มีจิตใจเคารพเลื่อมใสต่อพ้อขุนเจืองธรรมิกราช พ่อขุนเจืองธรรมิกราชเป็นโอรสของพ่อขุนจอมธรรม ผู้สร้างอาณาจักรภูกามยาวหรือาณาจักรพะเยา พ่อขุนเจืองธรรมิกราชได้ครองอาณาจักรพะเยาเมื่อราวพุทธศักราช ๑๖๖๓ และได้ขยายอาณาเขตการปกครองไปยังประเทศลาว ประเทศเวียดนามละประเทศกัมพูชาบางส่วน จนประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่าในปีพุทธศักราช ๑๖๑๗ พ่อขุนเจืองธรรมิกราชได้เข้าพิธีปราบดาภิเษกเป็นพระยาจักราชในเมืองแก้ว เนื่องจากสามารถรวบรวมอาณาเขตของอาณาจักรล้านช้าง และอาณาจักรแก้วทั้งหมดเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเมืองพะเยาได้ พ่อขุนเจืองธรรมิกราชสิ้นพระชนเมื่อประมาณพุทธศักราช ๑๖๖๙ ขณะนำทหารบุกเข้าทำลายกำแพงประตูเมืองของอริราชศัตรู ซึ่งในขณะนั้นพ่อขุนเจืองธรรมิกราชได้ล่วงเข้าสู่วัยชราภาพแล้ว จึงนับได้ว่าขุนเจืองธรรมิกราชเป็นนักรบผู้เก่งกล้าสามารถ สมควรที่จัดสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและเป็นตัวอย่างแก้คนรุ่นหลังต่อไป

อนุสาวรีย์กัปตัน เจนเช่น

เป็นอนุสาวรีย์ของ ร้อยตำรวจเอกแฮนส์ เจนเช่น ผู้นำกำลังตำรวจเข้าปะทะกับพวกเงี้ยวที่เข้าปล้นเมืองพะเยา เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๕ ร้อยตำรวจแฮนส์ เจนเช่น ได้ถูกพวกเงี้ยวลอบซุ่มยิงที่บริเวณป่าห้วยเกี๋ยง ตำบลแม่กาท่าข้าม จึงได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ให้เพื่อระลึกถึงวีรกรรมของท่านบริเวณหลักกิโลเมตรที่ ๔๑ ถนนงาว-พะเยา บนเส้นทางสายลำปาง-พะเยา-เชียงราย ถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ ๗๒๖/๑ โดยจารึกว่า “ร.ต.อ. เจนเช่น มาร์กาณิต ชนชาติเดนมาร์ก ข้าราชการตำรวจไทย มรณกรรม ๑๔ ตุลาคม ๒๔๔๕”

อนุสาวรีย์ผู้เสียสละ พตท.๒๓๒๔

อนุสาวรีย์ผู้เสียสละ พลเรือน ตำรวจ ทหาร ๒๓๒๔ ลักษณะเป็นรูปทรงหกเหลี่ยม ตั้งอย่าที่ถนนสายพะเยา-เชียงคำ บริเวณหน้าค่ายขุนจอมธรรม อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการระลึกถึงวีรกรรมของพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่เสียสละชีวิตจากการต่อสู้กัลผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในจังหวัดเชียงรายและจังหวัดพะเยา ในอดีตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงปิดอนุสาวรีผู้เสียสละแห่งนี้ เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๕

สิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมือง

ศาลหลักเมือง

เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ นายหลง ศิริพันธ์ และนายเพียว ตันบรรจง สมาชิสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เป็นผู้นำกลุ่มประชาชนเมืองพะเยา ขอจัดตั้งจังหวัดพะเยาโดยแยกการปกครองจากจังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้พิจารณารับหลักการในการร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดพะเยา บุคคลกลุ่มหนึ่งอันประกอบด้วย นายหลง ศิริพันธ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย ร่วมกับคณะกรรมการอำเภอพะเยา ได้ร่วมกันพิจารณาเห็นว่าเมื่อพะเยาจะมีฐานะเป็นจังหวัดแล้ว สมควรจะมีศาลหลักเมืองไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนให้ตั้งมั่นอยู่ในความสามัคคี และเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมือง คณะกรรมการได้พิจารณาแล้วมีมติให้ใช้ที่ดินมุมด้านทิศใต้ของสนามเวียงแก้ว ตำบลเวียง อำเภอเมืองพะเยา เป็นที่ราชพัสดุในการก่อสร้างทางราชการจึงได้อนุญาตใช้ที่ดินดังกล่าวเมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๒๐ ต่อมาได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาว่าด้วยการจัดตั้งจังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ ได้มีการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างศาลหลักเมือง โดยนายสัญญา ปาลวัฒน์วิไชย ผู้ว่าราชการคนแรกของจังหวัดพะเยา ศาลหลักเมืองได้สร้างตามแบบของกรมศิลปากร แต่การก่อสร้างศาลหลักเมืองครั้งนั้น ได้หยุดชะงักลงไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร

เดือนธันวาคม ๒๕๒๘ พระครูปลัดสัมพิพัฑฒญาณจารย์ (พระอาจารย์ไพบูลย์ สุมังคโล) แห่งวัดรัตนวนาราม อำเภอเมืองพะเยา ได้เสนอแนวทางต่อผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา (นายสุดจิตร์ คอวนิช) เพื่อให้สร้างหลักเมืองให้เสร็จโดยเร็ว อันจะนำมาซึ่งความเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดพะเยา ดังนั้นจังหวัดจึงได้แต่งตั้งกรรมการ และคณะอนุกรรมการก่อสร้างศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยาขึ้นมาอีก คณะกรรมการได้มีมติให้ย้ายสถานที่ จากมุมทางด้านทิศใต้ของสนามเวียงแก้วมาไว้ตรงกึ่งกลางของสนามเวียงแก้ว เพื่อเป็นสง่าราศีแก่ตัวศาลหลักเมือง โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ส่งที่ดินราชพัสดุจำนวน ๑๐๐ ตารางวา ซึ่งเป็นที่ก่อสร้างศาลหลักเมืองเดิมคืนแก่กรมธนารักษ์ และขอใช้ที่ดินราชพัสดุแลงหมายเลขทะเบียนที่ พย ๔๕๕ โฉนดที่ ๑๘๙๐๙ ตำบลเวียง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยาแทน ซึ่งแต่เดิมที่ดินแปลงนี้อยู่ในความครอบครองของกรมการปกครอง โดยอำเภอเมืองพะเยาเป็นผู้ดูแลรักษา บริเวณกึ่งกลางของที่ดิน รวมเนื้อที่ ๖๒๕ ตารางเมตร หรือ ๑๕๖.๒๕ ตารางวา และต่อมาได้ทำพิธีถอนหลักเมืองที่ได้สร้างไว้เมื่อปี ๒๕๒๐ นำไปสร้าง ณ ที่แห่งใหม่เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๒๙ เวลา ๑๒.๐๐ นาฬิกา ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ โดยสมเด็จพระญาณสังวรฯ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๒๙ และเริ่มการก่อสร้างเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๒๙ ไดรับการออกแบบใหม่โดยอาจารย์ภิญโญ สุวรรณคีรี แล้วเสร็จเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๓๐ องค์หลักเมืองทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์มีขนาดวัดโดยรอบประมาณ ๑๔๐-๑๕๐ เซนติเมตร

เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๐ ซึ่งเป็นวันครบรอบ ๑๐ ปี แห่งการสถาปนาจังหวัดพะเยา ทางจังหวัดได้จัดงานพิธีครบรอบการก่อตั้งจังหวัดพะเยา ปิดทององค์หลักเมืองและสืบชะตาเมืองพะเยาขึ้น ณ บริเวณศาลหลักเมือง หน้าสำนักงานธนาคารออมสินสาขาพะเยาและอีก ๔ มุมเมืองพร้อมกัน ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๓๐ ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกองค์หลักเมืองจังหวัดพะเยา และแผ่นพระยันต์สุริยาทรงกลด ณ วัดศรีโคมคำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยมีพราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธีบวงสรวง และผู้ว่าจังหวัดพะเยาเป็นประธานพิธี

วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๓๑ ทางจังหวัดอันมีผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา (นายศักดา ลาภเจริญ) พร้อมด้วยคณะสงฆ์ ประชาชนชาวจังหวัดพะเยา ได้เชิญยอดหลักเมืองน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิม ณ พระราชวังสวนจิตรลดารโหฐาน หลังจากประกอบพิธีแล้วได้นำยอดวิหารเมืองมาไว้ที่วิหารวัดศรีโคมคำ จัดให้มีพิธีแห่สมโภชและสวมยอดองค์หลักเมือง หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงศาลหลักเมืองเป็นการใหญ่ ต่อมาจังหวัดพะเยาจึงได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชะนีนาถ เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีการเปิดศาลหลักเมือง