๓. จารึกเจ้าสี่หมื่นพยาวฝังเสมาวัดลี

สถานที่พบ

ด้านที่ ๑

ด้านที่ ๒

ด้านที่ ๓

ด้านที่ ๔

ชื่อจารึก จารึกเจ้าสี่หมื่นพยาวฝังเสมาวัดลี

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ พย. 27, พย. 27 จารึกเจ้าสี่หมื่นพยาวฝังเสมาวัดลี พ.ศ. 2038, พย. 27 จารึกเจ้าสี่หมื่นพยาว (วัดลี)

อักษรที่มีในจารึก ฝักขาม

ศักราช พุทธศักราช 2038

ภาษา ไทย

ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน 4 ด้าน มี 102 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 19 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 26 บรรทัด ด้านที่ 3 มี 28 บรรทัด ด้านที่ 4 

มี 29 บรรทัด

วัตถุจารึก หินทรายสีเทา

ลักษณะวัตถุ รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ กว้าง 52 ซม. สูง 96 ซม. หนา 17 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ 1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “พย. 27”

2) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 กำหนดเป็น “พย. 27 จารึกเจ้าสี่หมื่นพยาวฝังเสมาวัดลี พ.ศ. 2038”

3) ในหนังสือ ประชุมจารึกเมืองพะเยา กำหนดเป็น “พย. 27 จารึกเจ้าสี่หมื่นพยาว (วัดลี)”

ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ วัดลี ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์เวียงพยาว (วัดลี) ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

พิมพ์เผยแพร่ 1) จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 157-161.

2) ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 153-164.

เนื้อหาโดยสังเขป พ.ศ. 2038 ครูพระเป็นเจ้าสี่หมื่นพยาวได้ให้เอาหินมาปักปันที่ดิน แล้วฝังหินพัทธสีมาให้เป็นโบสถ์ของวัดลี ข้อความ

ตอนท้ายของด้านที่ 1 เป็นรายนามของพระสงฆ์ที่อยู่ประจำวัด ข้อความจารึกด้านที่ 2-4 เป็นรายนามผู้บริจาคเงิน

และสิ่งของแก่วัด

ผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ ข้อความจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1 ระบุ จ.ศ. 857 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2038 อันเป็นปลายรัชสมัยของพระเจ้ายอดเชียงราย

 (พ.ศ. 2030-2038)

ข้อมูลอ้างอิง เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :

1) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “พย. 27 จารึกเจ้าสี่หมื่นพยาวฝังเสมาวัดลี พ.ศ. 2038,” ใน จารึก

ล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534),

 157-161.

2) ฮันส์ เพนธ์, “พย. 27 จารึกเจ้าสี่หมื่นพยาว (วัดลี),” ใน ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538),

 153-164.

ภาพประกอบ ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-

TH-22, ไฟล์; PY 27 side 1+ .copy 1, PY 27 side 2-4.photo 1 และ PY 27 side 3+.copy 1)