เรื่องที่ 3 ไขมัน

  ไขมัน ( Fats หรือ Lipid) เป็นสารอินทรีย์ที่ไม่ละลายน้ำ แต่ละลายได้ดีในตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น อีเทอร์ เบนซีน คลอโรฟอร์ม คาร์บอนเตตราคลอไรด์ อะซิโตน และแอลกอฮอล์ประกอบด้วย คาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) ออกซิเจน (O) แต่อัตราส่วนของธาตุเหล่านี้ไม่เหมือนกับคาร์โบไฮเดรต (คาร์โบไฮเดรตอัตราส่วนระหว่าง H : O = 2 : 1) จำนวนออกซิเจนจะมีน้อย ส่วนจำนวนคาร์บอน และไฮโดรเจนนั้นมีต่างๆกันตามชนิดของไขมันนั้นๆ

สมบัติของไขมัน

1. ไขมันและน้ำมันไม่ละลายน้ำ ละลายได้ดีในตัวทำลายที่ไม่มีขั้ว เช่น เฮกเซน

2. ไขมันมีความหนาแน่นต่ำกว่าน้ำ แต่มีความหนาแน่นสูงกว่าเอทานอล

3. ไขมัน และน้ำมันเกิดกลิ่นหืดได้ โดยน้ำมันจะเกิดได้ง่ายกว่า เพราะเกิดปฏิกิริยากับO2 ได้ง่ายกว่า

4. ในกรณีที่มีคาร์บอนอะตอมเท่ากันการเผาไหม้น้ำมันจะมีเขม่ามากกว่าการเผาไหม้ไขมัน

5. ไขมันมีลักษณะเป็นของแข็งที่อ่อน แต่น้ำมันเป็นของเหลว

ประเภทของไขมัน

ไขมันแบ่งออกตามลักษณะทางเคมีได้ ๒ ประเภท คือ

1. ไขมันธรรมดา (simple lipid) เป็นลิพิดที่ประกอบขึ้นด้วยกรดไขมันกับแอลกอฮอล์

เกิดจากการรวมตัวระหว่างกลีเซอรอล 1 โมเลกุลกับกรดไขมัน 1-3 โมเลกุล

2. ไขมันเชิงประกอบ (compound lipid) ประกอบด้วยไขมันรวมกับสารอื่นๆ

ความสำคัญและประโยชน์ของสารอาหารประเภทไขมันต่อสิ่งมีชีวิต

1. เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกาย โดยไขมัน 1 กรัม จะให้พลังงานประมาณ 9.1

กิโลแคลอรี มากกว่าสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน

2. ให้กรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย คือ กรดไลโนเลอิก (linoleic)

3. ไขมันในอาหารจะเป็นตัวทำละลาย และช่วยในการดูดซึมวิตามิน A,D,E,K เข้าสู่ร่างกาย

4. ไขมันที่สะสมภายในร่างกาย ช่วยยึดอวัยวะภายในและป้องกันการกระทบกระแทก

5. เป็นฉนวนป้องกันความร้อน ไม่ให้สูญเสียออกจากร่างกายโดยสะสมไว้บริเวณใต้

ผิวหนัง