เรื่องที่ 2 ธาตุและตารางธาตุ

ความหมายของธาตุ

   ธาตุ (element) สารเป็นสารบริสุทธิ์ที่มีโมเลกุลประกอบด้วยอะตอมชนิดเดียวกัน มีธาตุที่ค้นพบแล้ว 118 ธาตุ เป็นธาตุที่อยู่ในธรรมชาติ 94 ธาตุ เช่น โซเดียม (Na) แมกนีเซียม (Mg) คาร์บอน (C) ออกซิเจน (O)

เป็นต้น

  ถ้าจัดธาตุเหล่านี้มาจัดเป็นพวกโดยอาศัยเกณฑ์ต่าง ๆ ตามตาราง จะแบ่งธาตุออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1. โลหะ (metal) เป็นกลุ่มธาตุที่มีสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้าได้ นำความร้อนที่ดี มีจุดเดือดสูง ปกติเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง (ยกเว้น ปรอท) เช่น แคลเซียม อะลูมิเนียม เหล็ก เป็นต้น

2. อโลหะ (non-metal) เป็นกลุ่มธาตุที่มีสมบัติไม่นำไฟฟ้า มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ เปราะบาง และมีการแปรผันทางด้านคุณสมบัติทางกายภาพมากกว่าโลหะ

3. กึ่งโลหะ (metalloid) เป็นกลุ่มธาตุที่มีสมบัติก้ำกึ่งระหว่างโลหะและอโลหะ เช่น ธาตุซิลิคอน และเจอเมเนียม มีสมบัติบางประการคล้ายโลหะ เช่น นำไฟฟ้าได้บ้างที่อุณหภูมิปกติ และ นำไฟฟ้าได้มากขึ้น เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น เป็นของแข็ง เป็นมันวาวสีเงิน จุดเดือดสูง แต่เปราะแตกง่าย คล้ายอโลหะ เช่น ออกซิเจน กำมะถัน ฟอสฟอรัส เป็นต้น

ตารางธาตุ (Periodic table of elements)

  คือ ตารางที่นักวิทยาศาสตร์ได้รวบรวมธาตุต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่ตามลักษณะ และคุณสมบัติที่เหมือนกัน เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาในแต่ละส่วนของตารางธาตุ โดยคาบ (Period ) เป็นการจัดแถวของธาตุแนวราบ ส่วนหมู่ ( Group ) เป็นการจัดแถวของธาตุในแนวดิ่ง

 

 

 

ประโยชน์ของตารางธาตุ

1. การจัดธาตุเป็นหมู่และคาบ ทำให้ทราบสมบัติของธาตุในหมู่เดียวกันได้

2. สามารถที่จะทราบสมบัติต่าง ๆ จากธาตุในหมู่เดียวกัน จากธาตุที่ทราบสมบัติต่าง ๆ แล้ว

3. นำไปทำนายสมบัติของธาตุต่าง ๆ ที่ยังไม่ทราบในปัจจุบันไว้ล่วงหน้าได้

4. ทำให้การศึกษาเรื่องสมบัติของธาตุ เป็นไปอย่างรวดเร็ว