เรื่องที่ 3 ปฏิกิริยาเคมีที่พบในชีวิตประจำวัน


   การเกิดปฏิกิริยาเคมี คือกระบวนการของสารอย่างน้อย 2 ชนิดทำปฏิกิริยากัน สารก่อนการเปลี่ยนแปลง เรียกสารนี้ว่า สารตั้งต้น แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดสารใหม่เรียกว่า ผลิตภัณฑ์ โดยสารที่เกิดใหม่นั้นจะต้องมีสมบัติแตกต่างไปจากเดิม

การเปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาเคมีในพลังงาน

1. ปฏิกิริยาคายความร้อน ปฏิกิริยาใช้พลังงานในการยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมน้อยกว่าพลังงานที่ถูกปล่อยออกมา ทำให้พลังงานภายในสารลดลงขณะที่ภายนอกเพิ่มขึ้น ผลที่ได้จะได้พลังงานถ่ายทอดออกมา ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของพลังงานความร้อน สามารถรู้สึกได้ถึงอุณหภูมิรอบข้างที่จะร้อนขึ้น ตัวอย่างปฏิกิริยาการคายความร้อน เช่น การเผาผลาญเชื้อเพลิงการหายใจ

2. ปฏิกิริยาดูดความร้อน ใช้พลังงานในการสลายแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมมากกว่าพลังงานที่ปล่อยออกมา ดูดความร้อนเข้าไปมากกว่าที่คายออกมา สามารถรู้สึกได้โดยอุณหภูมิรอบข้างจะเย็นขึ้น ตัวอย่างปฏิกิริยาการดูดความร้อน เช่น การละลายของน้ำแข็ง

ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวันและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

   -ปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสง

   -ปฏิกิริยาการสลายตัวของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์

   -ปฏิกิริยาการสลายตัวของโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตหรือผงฟู

   -ปฏิกิริยาการเผาไหม้เชื้อเพลิง

   -ปฏิกิริยาฝนกรด