เรื่องที่ 1 ลักษณะทางพันธุกรรม


          ลักษณะทางพันธุกรรม หมายถึง ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่สามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไปได้ โดยผ่านทางเซลล์ ลักษณะทางพันธุกรรม ได้แก่ ลักษณะสีนัยน์ตา สีผม สีผิว ความสูงน้ำหนักตัว สติปัญญา สีของดอกไม้ ความถนัด ฯลฯ


    ความแปรผันของลักษณะทางพันธุกรรม (genetic variation) หมายถึง ลักษณะที่แตกต่างกัน เนื่องจากพันธุกรรมที่ไม่เหมือนกัน และสามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกได้ โดยลูกจะได้รับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมมาจากพ่อครึ่งหนึ่งและได้รับจากแม่อีกครึ่งหนึ่ง


ความแปรผันของลักษณะทางพันธุกรรม แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

   1. ลักษณะที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง (continuous variation) เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถแยกความแตกต่างได้ชัดเจน เช่น ความสูง น้ำหนัก โครงร่าง สีผิว เป็นต้น

   2. ลักษณะที่มีความแปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง (discontinuous variation) เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่สามารถแยกความแตกต่างได้ชัดเจน เช่น ลักษณะหมู่เลือด ลักษณะเส้นผมความถนัดของมือ จำนวนชั้นของหนังตา เป็นต้น  

กฎการถ่ายทอดทางพันธุศาสตร์ของเมนเดล

กฎข้อที่ 1 กฎแห่งการแยกตัว (LAW OF SEGREGATION) “สิ่งที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศมีอยู่เป็นคู่ๆ แต่ละคู่จะแยกจากกันในระหว่างการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ทำให้เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์มีหน่วยควบคุมลักษณะนี้เพียง 1 หน่วยและจะกลับมาเข้าคู่อีกเมื่อเซลล์สืบพันธุ์ผสมกัน” ลักษณะที่ปรากฏออกมาจะได้ลักษณะเด่นและลักษณะด้อยปรากฏออกมาเป็นอัตราส่วนเด่น : ด้อย = 3 : 1

กฎข้อที่ 2 กฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ(LAW OF INDEPENDENTASSORTMENT) “ในเซลล์สืบพันธุ์จะมีการรวมกลุ่มของหน่วยพันธุกรรม ของลักษณะต่างๆการรวมกลุ่มเหล่านี้เป็นไปได้อย่างอิสระ จึงทำให้เราสามารถทำนายผลที่เกิดขึ้นในรุ่นลูกและรุ่นหลาน” อัตราส่วน 1 : 1 : 1 : 1

ลักษณะทางพันธุศาสตร์

1.ลักษณะเด่น (Dominance) คือ ลักษณะที่ปรากฏออกมาในรุ่นลูกหรือรุ่นต่อ ๆ ไป

2.ลักษณะด้อย (Recessive) คือ ลักษณะที่ไม่มีโอกาสปรากฏในรุ่นต่อไป

3.พันธุ์แท้ (Hornozygous) คือ ลักษณะเด่นหรือด้อยเพียงอย่างเดียวมีคู่ยีนที่เหมือนกัน

4.พันธุ์ทาง (Horterozygous) คือ ลักษณะเด่นหรือด้อยอยู่ด้วยกันและลักษณะที่ปรากฏออกมาจะเป็นลักษณะมีคู่ยีน เช่น Tt

5. จีโนไทป์ (Genotype) คือ ลักษณะหรือแบบแผนของยีนที่ควบคุมลักษณะ

6. ฟีโนไทป์ (Phenotype) คือ ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏออกมา เนื่องจากยีนและสิ่งแวดล้อม

ยีน และ DNA

ยีน (gene) คือ หน่วยพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะต่าง ๆ จากพ่อแม่โดยผ่านทางเซลล์สืบพันธุ์ไปยังลูกหลาน ยีนจะอยู่เป็นคู่บนโครโมโซม โดยยีนแต่ละคู่จะควบคุมลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมเพียงลักษณะหนึ่งเท่านั้น เช่น ยีนควบคุมลักษณะสีผิว ยีนควบคุมลักษณะลักยิ้ม ยีนควบคุมลักษณะจำนวนชั้นตา เป็นต้น

ภายในยีนพบว่ามีสารเคมีที่สำคัญชนิดหนึ่งคือ DNA ซึ่งย่อมาจาก Deoxyribonucleicacid ซึ่งเป็นสารพันธุกรรมพบในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือแบคทีเรียซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เป็นต้น DNA เกิดจากการต่อกันเป็นเส้นโมเลกุลย่อยเป็นสายคล้ายบันไดเวียน ปกติจะอยู่เป็นเกลียวคู่