เรื่องที่ 3 วัสดุ และ อุปกรณทางวิทยาศาสตร์


อุปกรณทางวิทยาศาสตร์ คือ เครื่องมือที่ใช้ทั้งภายในและภายนอกห้องปฏิบัติการ เพื่อใช้ทดลองและหาคําตอบต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ 

เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ มี 3 ประเภท คือ 

1. ประเภททั่วไป เชน บีกเกอร์ หลอดทดสอบ ปเปตต์ บิวเรตต์ แท่งแก้วคนสาร กล้องจุลทรรศน์ ตะเกียงแอลกอฮอล์ เป็นต้น      

2. ประเภทเครื่องมือช่าง เป็นอุปกรณที่ใช้ได้ทั้งภายในห้องปฏิบัติการ และภายนอก ห้องปฏิบัติการ เช่น แปรง คีม เครื่องชั่ง เป็นต้น 

3. ประเภทสิ้นเปลืองและสารเคมี เป็นอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้แล้วหมดไป ไม่สามารถนํากลับมาใช้ได้อีก เช่น กระดาษลิตมัส กระดาษกรอง สารเคมี เป็นต้น

การใช้งานอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ประเภททั่วไป

1. บีกเกอร์ (BEAKER) เป็นอุปกรณวิทยาศาสตร์ที่ใช้เพื่อให้ผู้ใช้สามารถทราบ ปริมาตรของเหลวที่บรรจุอยูได้อย่างคร่าว ๆ

2. หลอดทดสอบ (TEST TUBE) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ใส่สารในการทดลอง มีทั้งชนิดธรรมดาใช้ใส่สารเพื่อทดลองปฏิกิริยาเคมีระหวางสารที่เป็นสารละลาย

3. ปเปตต์ (PIPETTE) เป็นอุปกรณที่ใช้ในการวัดปริมาตรของเหลวที่มีจํานวนน้อยได้ อย่างใกล้เคียงความจริง มีความถูกต้องสูง

4. บิวเรตต์ (BURETTE) เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรที่มีขีดบอกปริมาตรต่าง ๆ และมี ก็อกสําหรับเปิด – ปิด เพื่อบังคับการไหลของของเหลว

การใช้งานอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ประเภทสิ้นเปลืองและสารเคมี 


1.กระดาษกรอง (FILTER PAPER) เป็นกระดาษที่กรองสารที่อนุภาคใหญ ออกจากของเหลว ซึ่งมีขนาดของอนุภาคที่เล็กกวา 

2.กระดาษลิตมัส (LITMUS) เป็นกระดาษที่ใชทดสอบสมบัติความเป็นกรด – เบสของ ของเหลว

สารเคมี หมายถึง

สารที่ประกอบดวยธาตุเดียวกันหรือสารประกอบจากธาตุ ต่าง ๆ รวมกันด้วยพันธะเคมี ซึ่งในห้องปฏิบัติการจะมีสารเคมีมากมาย อุบัติเหตุจากสารเคมีต้องรีบกําจัดสารเคมีปนเปื้อน ดังนี้

1. สารที่เป็นของแข็ง 

2.สารละลายกรด

3.สารละลายเบส

4.สารที่เป็นน้ำมัน

5.สารที่ระเหยงาย

6.สารปรอท


ข้อปฏิบัติการใช้วัสดุอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์และสารเคมี 

การใช้วัสดุอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์และสารเคมี ตองคํานึงถึงความเหมาะสม ความจําเป็นในการใช้งาน และตองคํานึงถึงความปลอดภัย มีข้อปฏิบัติ ดังนี้ 

1. ปฏิบัติตามคําแนะนําของผู้ดูแลปฏิบัติการอย่างเครงครัด 

2. สวมเสื้อกาวน์ และแว่นกันสะเก็ดทุกครั้ง 

3. อ่านฉลากสารเคมีก่อนทุกครั้ง และใช้เทาที่จําเป็น 

4. ห้ามชิมสารเคมี หรือสัมผัสด้วยมือเปล่า 

5. อุปกรณที่ใช้กับความร้อนต้องระวังเป็นพิเศษ 

6. อุปกรณไฟฟ้า ต้องตรวจสอบความพร้อมก่อนใช้งานทุกครั้ง 

7. เลือกใช้อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน 

8. อ่านคู่มือการใช้อุปกรณ์ทดลองทุกชนิดก่อนใช้งาน 

9. ดูแลความสะอาดอุปกรณ์ทดลอง โต็ะปฎิบัติการให้เป็นระเบียบเรียบร้อย