สระว่ายน้ำ

ความเป็นมาของสระว่ายน้ำดาราวิทยาลัยโดย สันติภาพ พันธ์พิกุลอดีตนายกสมาคมผู้ปกครองและครู โรงเรียนดาราวิทยาลัย

โครงการสร้างสระว่ายน้ำเฉลิมพระเกียรติ ร .9 ดาราวิทยาลัย นี้ ครั้งแรกคณะกรรมากรได้ร่วมกันพิจารณาเห็นว่า มีข่าวเยาวชนแอบชักชวน แอบชวนกันไปว่ายน้ำตามเขื่อนต่างๆ และเกิดอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิตหลายราย ในช่วงเวลานั้นในจังหวัดเชียงใหม่จะมีสระว่ายน้ำที่ให้บริการแก่ผู้ที่สนใจกีฬาว่ายน้ำอยู่ไม่กี่แห่ง ได้แก่ สระว่ายน้ำของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสระว่ายน้ำของโรงเรียนอนุบาลบ้านเด็ก ซึ่งไม่เพียงพอต่อการรองรับความสนใจต่อกิจกรรมการว่ายน้ำของเด็กๆ รวมทั้งค่าบริหารจัดการแต่ละแห่งก็ค่อนข้างแพง ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่จะห่วงลูกหลานในเรื่องการที่เด็กว่ายน้ำไม่เป็น และผู้ปกครองไม่มีเวลาพาลูกไปฝึกว่ายน้ำเอง ในโรงเรียนดาราวิทยาลัยของเราจากข้อมูลที่ได้รับขณะนั้นนักเรียนของเรามีจำนวน 4,000 กว่าคน แต่นักเรียนประมาณ 85 – 90 เปอร์เซ็นต์ก็ว่ายน้ำไม่เป็น ดังนั้นเพื่อความไม่ประมาท “ กันไว้ดีกว่าแก้ ” ความคิดเห็นจึงเริ่มตกผลึกในมวลหมู่ผู้ปกครอง และมองเห็นความจำเป็นที่จะต้องสร้างสระว่ายน้ำรองรับนักเรียนของโรงเรียน และมอบให้สถาปนิกออกแบบและคำนวณค่าใช้จ่าย ปรากฏว่างบประมาณที่ใช้สูงเป็นหลักล้าน ทั้งนี้ผู้เขียนในฐานะนายกสมาคมผู้ปกครองและครู จึงได้วางโครงการและแต่งตั้งกรรมการช่วยกันหาทางระดมทุนขึ้นมา จัดสร้างสระว่ายน้ำ โดยถือเป็นผลการดำเนินการร่วมกันของสมาคมผู้ปกครองและครู คณะกรรมการหลายท่านช่วยกันหาทุนและเสนอความคิดเห็นมากมายและมีโครงการรองรับหลายโครงการ เช่น โครงการเดินวิ่งการกุศลดาราวิทยาลัย เพื่อหาทุนสร้างสระว่ายน้ำ

เนื่องจากผู้เขียนมีความคุ้นเคย กับ ฯ พณ ฯ มารุต บุนนาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในสมัยนั้น จึงได้นำเอาเรื่องนี้ไปปรึกษาท่าน ท่านก็เห็นชอบด้วยและออกปากว่ามีอะไรให้ช่วยก็บอก ผู้เขียนจึงเสนอโครงการขอให้ท่านรับเป็นประธาน โครงการเดินวิ่งการกุศลดาราวิทยาลัย เพื่อหาทุนมาสร้างสระว่ายน้ำ และในช่วงใกล้จะถึงวันฉลอง วันพระราชสมภพ ครบ 60 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีส่วนราชการและองค์กรต่างๆ จัดงานและปลุกสร้างวัตถุมงคลมากมาย แล้วจะขอพระบรมราชานุญาตใช้ชื่อว่า “ เฉลิม พระเกียรติ ” คณะกรรมการจึงลงมติให้เรียกชื่อ สระว่ายน้ำของโรงเรียนดาราวิทยาลัย “ สระว่ายน้ำเฉลิมพระเกียรติ ร. 9 ” แต่ภายหลังเมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อย คณะกรรมการสมาคมผู้ปกครองและครู และผู้บริหารโรงเรียนชุดต่อมา เกรงว่า การขอพระราชทานบรมราชานุญาตการใช้นามสระว่ายน้ำ คงจะยุ่งยาก จึงให้ใช้ชื่อสระว่ายน้ำที่สร้างใหม่นี้ว่า “ สระว่ายน้ำ ดาราวิทยาลัย ” ตามชื่อของโรงเรียน

งบประมาณครั้งแรก 1,500,000 บาท

คุณอนุพร อินพะพันธ์ เป็นสถาปนิกออกแบบโครงสร้างสระว่ายน้ำ ได้ออกแบบเป็นสระ 2 สระติดกัน คือ สระฝึกว่ายน้ำ 1 ช่อง และ สระว่ายน้ำ 2 ช่อง โดยให้สร้างตามแบบมาตรฐานสากล เพื่อรองรับการแข่งขันและการฝึกซ้อมที่สมจริง ซึ่งสมดังความมุ่งหมาย นักกีฬาว่ายน้ำของโรงเรียนในรุ่นต่อๆมา ได้มีโอกาสเข้าเป็นตัวแทนการแข่งขันในระดับชาติ และนานาชาติ โดยผลผลิตจากสระว่ายน้ำดาราวิทยาลัย นับเป็นเกียรติประวัติของโรงเรียน ซึ่งถือว่าเป็นผลได้ที่เกินคุ้มจริงๆ การออกแบบครั้งแรกมีต้นทุนที่ 1,500,000 บาท ( หนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้วน ) ต่อมาได้เพิ่มช่องว่ายน้ำอีก 2 ช่อง เป็นการขยายเพื่อรองรับจำนวนนักเรียนดาราวิทยาลัยที่มีจำนวนมากขึ้นทุกปี รวมทั้งยินดีให้บริการแก่ผู้สนใจที่เป็นบุคคลภายนอกโรงเรียนด้วย โดยคณะกรรมการของสมาคมผู้ปกครองและครู สมาคมนักเรียนเก่าดาราวิทยาลัย ตลอดจนผู้บริหารในขณะนั้น คือ อาจารย์สมปรารถนา บุณยเกียรติ เป็นอาจารย์ใหญ่ และ อาจารย์สมศรี ไชยเศรษฐ เป็นผู้อำนวยการ คณะครูอาจารย์ นายกสมาคมฯ คนต่อมา คือ คุณทรงพล เมธาทิพย์ อาจารย์รัชนี พวงวงศ์ นายกสมาคมนักเรียน

สรุปค่าใช้จ่ายทั้งโครงการ ร่วม 3 ล้าน

เดิมทีเงินลงทุนค่าสระว่ายน้ำ สมาคมผู้ปกครองและครูระดมทุนได้ 1,500,000 บาท และเงินกู้ธนาคารกรุงเทพ 1,000,000 บาท เงินจำนวนนี้ยังไม่พอเพียง เพราะยังมีค่าใช้จ่ายอีกหลายอย่างรวมแล้วประมาณ 3 ล้านกว่าบาท แม้ทุนในการจัดสร้างจะค่อนข้างแพงในขณะนั้น แต่เราก็ช่วยกันสร้างจนสำเร็จ ผลพวงของรายได้จะมาจากรายได้ซึ่งเป็นสมาชิกสามัญ ประเภทนักเรียน ปีละ 250 บาท จากจำนวนนักเรียน 4 พันกว่าคน จากครอบครัวบัตรทองของผู้ปกครอง บัตรละ 5 ,000 บาท ซึ่งสมาชิกประเภทนี้สามารถมาใช้บริการสระว่ายน้ำได้ทั้งครอบครัวตลอดชีพ เงินสนับสนุนจากนักเรียนเก่าทั่วประเทศ และผู้ใจบุญให้ความช่วยเหลืออีกจำนวนหนึ่ง

นอกจากนี้ยังได้มอบหมายให้ อาจารย์วิสสุดา กระแสชัย ประสานงานขอเชิญ คุณธงชัย แมคอินไตยย์ มาแสดงคอนเสริต์ หาเงินสมทบทุนสร้างสระว่ายน้ำถึง 3 ปีติดต่อกัน ได้เงินมาช่วยสร้างสระว่ายน้ำเป็นจำนวน