เรื่องที่ 4  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติ แบ่งตามลักษณะที่นํามาใช้ได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วไม่หมดสิ้น ได้แก่
  1) ประเภทที่คงอยู่ตามสภาพเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เลย เช่น พลังงาน จากดวง อาทิตย์ ลม อากาศ ฝุ่น ใช้เท่าไรก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่รู้จักหมด
2) ประเภทที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากถูกใช้ในทางที่ผิด เช่น ที่ดิน น้ำ ลักษณะ ภูมิประเทศ ฯลฯ               

2. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วหมดสิ้นไป ได้แก่
1) ประเภทที่ใช้แล้วหมดไป แต่สามารถรักษาให้คงสภาพเดิมไว้ได้ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า
ประชากรโลก ความอุดมสมบูรณ์ของดิน น้ำเสียจากโรงงาน น้ำในดิน ปลาบางชนิด ทัศนียภาพ  อันงดงาม ฯลฯ
        2) ประเภทที่ไม่อาจทําให้มีใหม่ได้ เช่น คุณสมบัติธรรมชาติของดิน พรสวรรค์ของ มนุษย์ สติปัญญา เผ่าพันธุ์ของมนุษย์ชาติ ไม้พุ่ม ต้นไม้ใหญ่ ดอกไม้ป่า สัตว์บก สัตว์นํา ฯลฯ
        3) ประเภทที่ไม่อาจรักษาไว้ได้ เมื่อใช้แล้วหมดไป แต่ยังสามารถนํามายุบให้ กลับเป็น วัตถุเช่นเดิม แล้วนํากลับมาประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เช่น โลหะต่างๆ สังกะสี ทองแดง เงิน ฯลฯ
        4) ประเภทที่ใช้แล้วหมดสิ้นไปนํากลับมาใช้อีกไม่ได้ เช่น ถ่านหิน น้ำมันก๊าซ อโลหะ ส่วนใหญ่ ฯลฯ  

สิ่งแวดล้อม  สิ่งแวดล้อมของมนุษย์ที่อยู่รอบๆ ตัว ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ซึ่งเกิดจาก การกระทําของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สิงแวดล้อมทางธรรมชาติ
2. สิงแวดล้อมทางวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อมประดิษฐ์ หรือมนุษย์เสริมสร้างกําหนดขึ้น                            

สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ จําแนกได้ 2 ชนิด คือ                                                                                     

1. สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ อากาศ ดิน ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ ทัศนียภาพต่างๆ ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทรและ  ทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิด
2. สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพหรือชีวภูมิศาสตร์ ได้แก่ พืชพันธุ์ธรรมชาติต่างๆ สัตว์ป่า ป่าไม้ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อยู่รอบตัวเราและมวลมนุษย์ 

ประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติ  ทรัพยากรธรรมชาติ มีประโยชน์มหาศาลต่อมนุษยชาติทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่ละชนิด  มีประโยชน์แตกต่างกัน ดังนี้
        น้ำ  มนุษย์ใช้บริโภค อุปโภค ที่สําคัญก็คือ น้ำเป็นปัจจัยสําคัญสําหรับทรัพยากร ธรรมชาติ ชนิดอื่นด้วย เช่น สัตว์ป่า ป่าไม้ ทุ่งหญ้า และดิน                            ดิน ทรัพยากรธรรมชาติส่วนใหญ่ มีดินเป็นแหล่งอาศัย หรือบ่อเกิด มนุษย์สามารถสร้าง ทรัพยากรธรรมชาติ  บางชนิดทดแทนได้ โดยอาศัยดินเป็นปัจจัยสําคัญ   

        ป่าไม้  ประโยชน์ที่สําคัญของป่าไม้ คือ ใช้ไม้ในการสร้างที่อยู่อาศัย เป็นที่อาศัยของสัตว์ป่า  เป็นแหล่งต้นน้ำ ลําธาร เป็นแหล่งหาของป่า เป็นปัจจัยสําคัญที่ทําให้เกิดวัฏจักรของน้ำ ทําให้อากาศ บริสุทธิ์ ช่วยอนุรักษ์ดิน เป็นแหล่งนันทนาการ
        สัตว์ป่า มนุษย์ได้อาหารจากสัตว์ป่า สัตว์ป่าหลายชนิดได้หนัง นอ เขา งา กระดูก ฯลฯ มาทําของใช้ เครื่องนุ่งห่ม และประกอบยารักษาโรค สัตว์ป่าช่วยให้เกิดความงดงามและคุณค่าทางธรรมชาติ  ช่วยรักษาดุลธรรมชาติ        

         แร่ธาตุ  มนุษย์นําแร่ธาตุต่างๆ มาถลุงเป็นโลหะ ทําให้เกิดการอุตสาหกรรมหลายประเภท  ทําให้ราษฎรมีงานทํา ส่งเป็นสินค้าออกนํารายได้มาสู่ประเทศปีละมากๆ
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสามารถกระทําได้หลายวิธี ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้   
1. การอนรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยทางตรง ซึ่งปฏิบัติได้ในระดับบุคคล องค์กร และระดับประเทศ คือ
  1.1 การใช้อย่างประหยัด คือ การใช้เท่าที่มีความจําเป็น เพื่อให้มีทรัพยากรไว้ใช้ได้นานและเกิดประโยชน์ อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
  1.2 การนํากลับมาใช้ซ้ำอีก สิ่งของบางอย่างเมื่อมีการใช้แล้วครั้งหนึ่งสามารถที่จะนํามาใช้ซ้ำได้อีก เช่น ถุงพลาสติก กระดาษ เป็นต้น หรือสามารถที่จะนํามาใช้ได้ใหม่โดยผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การนํากระดาษที่ใช้แล้วไปผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อทําเป็นกระดาษแข็ง เป็นต้น ซึ่งเป็น การลดปริมาณการใช้ทรัพยากรและ      การทําลายสิ่งแวดล้อมได้
  1.3 การบรณะซ่อมแซม สิ่งของบางอย่างเมื่อใช้เป็นเวลานานอาจเกิดการชํารุดได้   เพราะฉะนั้นถ้ามีการบูรณะซ่อมแซม ทําให้สามารถยืดอายุการใช้งานต่อไปได้อีก
  1.4 การบําบัดและการฟื้นฟู เป็นวิธีการที่จะช่วยลดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรด้วยการบําบัดก่อน เช่น การบําบัดน้ำเสียจากบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

  1.5 การใช้สิ่งอื่นทดแทน เป็นวิธีการที่จะช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยลงและไม่ทําลายสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้ใบตองแทนโฟม การใช้พลังงาน แสงแดดแทนแร่เชื้อเพลิง การใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี  เป็นต้น
  1.6 การเฝ้าระวังดูแลและปองกัน เป็นวิธีการที่จะไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทําลาย เช่น
การเฝ้าระวังการทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูลลงแม่น้ำ ลําคลอง การจัดทําแนวป้องกันไฟป่า เป็นต้น
2. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยทางอ้อม สามารถทําได้หลายวิธี ดังนี้
2.1 การพัฒนาคุณภาพประชาชน  โดยสนับสนุนการศึกษาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องตามหลักวิชา ซึ่งสามารถทําได้ทุกระดับอายุ ทั้งในระบบโรงเรียน และสถาบันการศึกษาต่างๆ
2.2 การใช้มาตรการทางสังคมและกฎหมาย การจัดตั้งกลุ่ม ชุมชน ชมรม สมาคม เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิงแวดล้อมต่างๆ
2.3 ส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการอนรักษ์ ช่วยกันดูแลรักษาให้คงสภาพเดิม ไม่ให้เกิดความเสื่อมโทรม เพื่อประโยชน์ในการดํารงชีวิตในท้องถิ่นของตน
        2.4 ส่งเสริมการศึกษาวิจัย ค้นหาวิธีการและพัฒนาเทคโนโลยี มาใช้ในการจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด
        2.5 การกําหนดนโยบายและวางแนวทางของรัฐบาล ในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อเป็นหลักการให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องยึดถือและนําไปปฏิบัติ รวมทั้งการเผยแพร่ข่าวสารด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ทั้งทางตรงและทางอ้อม
เยาวชนกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

         การอนรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่เกิดผลกระทบในทางเสียหายต่อสภาพแวดล้อมปัจจุบันและอนาคต
แนวคิดในการอนุรักษ์

1. มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม
2. มนุษย์ไม่อาจแยกตัวเป็นอิสระจากสิ่งแวดล้อมได้ เพราะฉะนั้น กระบวนการทางการอนุรักษ์  ย่อมแสดงถึงการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ จึงนับเป็นหนทางแห่งการปกป้องตนเองของ มนุษยชาติ ให้สามารถอยู่รอดได้ชั่วนิรันดร์ 
เยาวชนกับการอนุรักษ์ 

  1. ต้องมีหัวใจเป็นนักอนุรักษ์ จากคํากล่าวที่ว่า ท่านถูกเรียกว่า นักร้อง ด้วยเหตุที่ท่านร้องเพลง ได้ไพเราะ ท่านถูกเรียกว่าเป็นจิตกร ด้วยเหตุที่ท่านสามารถสร้างสรรค์งานจิตรกรรมได้เป็นที่ยอมรับ ต่อสาธารณชน "ศิลปิน ย่อมมีผลงานศิลปะ" เพราะฉะนั้น เป็นนักอนุรักษ์ไม่เพียงแต่รักงานอนุรักษ์  หรือเป็นนักวิชาการอนุรักษ์ จําเป็นต้องปฏิบัติตนเป็นอนุรักษ์อย่างแท้จริงด้วยตนเอง 

    2. ต้องมีหัวใจแห่งการเสียสละ นั้นคือ ต้องคํานึงถึงประโยชน์ของสังคมส่วนรวมมากกว่าประโยชน์แห่งตน                      
3. ต้องมีหัวใจที่รักและหวังดีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน นั้นคือนักอนุรักษ์ไม่พึงมีอคติต่อผู้อื่น งานอนุรักษ์จะสําเร็จได้ด้วยมิตรภาพและความเข้าใจอันดี
การพัฒนากับการอนุรักษ์
การพัฒนา………..คือ การทําให้เจริญขึ้น ดีขึ้น
การอนุรักษ์……….คือ ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
กระบวนการพัฒนาที่เหมาะสมคือ การจัดการทางวิทยาการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่เกิดผลเสียทางสิ่งแวดล้อมแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-  การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งภาครัฐบาลและเอกชน โดยดําเนินการ ดังนี้
- แก้ไขแนวคิดและจิตสํานึกของคนให้มีความรู้ความเข้าใจว่า สิ่งแวดล้อมมีความสําคัญ  ต่อความอยู่รอดของมนุษย์และสิ่งที่มีชีวิตซึ่งทุกคนต้องมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบ
- เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในท้องถิ่น เช่น การบริโภคทั้งกินและใช้ ต้องใช้และกินอย่าง ประหยัด                       

ภาวะโลกร้อน

            ภาวะโลกร้อน หมายถึง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เกิดจากการกระทําของมนุษย์ ที่ทําให้ อุณหภูมิ เฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น เราจึงเรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global Warming)
            ปรากฏการณ์เรือนกระจก หมายถึง การที่ชั้นบรรยากาศของโลกกระทําตัวเสมือนกระจกที่ยอม ให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุลงมายังผิวพื้นโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวที่โลกคาย ออกไปไม่ให้หลุดออกนอกบรรยากาศ ทําให้โลกไม่เย็นจัดในเวลากลางคืน บรรยากาศเปรียบเสมือนผ้าห่มใหญ่ที่คลุมโลกไว้ ก๊าซที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุลงมาได้แต่ไม่ยอมให้รังสี คลื่นยาวที่โลกคายออกไปหลุดออกนอกบรรยากาศ เรียกว่า ก๊าซเรือนกระจก
            ก๊าซเรือนกระจกที่สําคัญ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทนและก๊าซไนตรัสออกไซด์
1. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง โรงงานอุตสาหกรรมและการตัดไม้  ทําลายป่า
2. ก๊าซมีเทน เกิดจาก การย่อยสลายซากสิงมีชีวิตในพื้นที่ที่มีน้ำขัง เช่น นาข้าว

3. ก๊าซไนตรัสออกไซด์ เกิดจาก อุตสาหกรรมที1ใช้กรดไนตริกในกระบวนการผลิต และการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในการเกษตรกรรม