เรื่องที่ 1 โลก

กําเนิดโลก(Earth)

          นักวิทยาศาสตร์หลายคนพยายามทีจะอธิบายการกําเนิดของโลกมาตั้งแต่ ค.ศ. 1609 หนึ่งในนั้น  คือ กาลิเลโอ ที่ส่องกล้องขยายดูพื้นผิวที่เป็นหลุมเป็นบ่อบนดาวเคราะห์ดวงอื่นพบว่า มีหลุมบ่อมากมาย หลุมบ่อเหล่านั้นเป็นผลจากเทหวัตถุ (อุกาบาต) วิ่งชนและเกิดการหลอมรวมตัวกันทําให้ขนาดของดาวเคราะห์เพิ่มใหญ่ขึ้นเรื่อยนักวิทยาศาสตร์ เชื่อกันว่าเอกภพเกิดมาเมื่อ 10,000 ล้านปี แล้ว ขณะที่โลกเพิ่งเกิดมาเมื่อ 4,600  ล้านปี
การกําเนิดของโลกเริ่มจากปรากฏการณ์ที่ฝุ่นและก๊าซกระจายอยู่ในจักรวาลมารวมตัวกันเป็นวงก๊าซที่อุณหภูมิ ร้อนจัด และมีความหนาแน่นมหาศาล อุณหภูมิสูงมากประมาณการจนทําให้กลุ่มฝุ่นและก๊าซนี้เกิดการระเบิดขึ้นมา
เรียกว่า บิกแบงค์ ถือว่าเป็นการระเบิดครั้งยิ่งใหญ่ ส่งให้มวลสารแพร่กระจายออกไปจุดศูนย์กลางที่ร้อนที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ (มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1,400,000 กิโลเมตรอุณหภูมิ 15 ล้านองศาเซลเซียส) ส่วนมวลสารอื่นๆ ที่ยังกระจายอยู่ทั่วไปเริ่มเย็นลง (พร้อมกันนั้นไอน้ำก็เริ่มกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ) ได้เป็นดาวเคราะห์น้อยมากมายประมาณว่ามีร้อยๆ ล้านดวงลอยเคว้งคว้างอยู่ในจักรวาล ชนกันเอง ช้าบ้าง เร็วบ้าง ชนกันไปเรื่อยๆ ในที่สุดการชนก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงชนกันไปชนกันมาดาวเคราะห์บางดวงค่อยๆ ปรากฏมวลใหญ่ขึ้น เมื่อใหญ่ขึ้นแรงดึงดูดก็มากขึ้นตามมา ยิ่งถูกชนมากยิ่งขนาดใหญ่ขึ้นเก็บสะสมพลังงานได้มากขึ้น ด้วยเหตุนี้การก่อกําเนิดโลกก็เกิดขึ้น  ดาวพุธ ดาวศุกร์ ก็เกิดขึ้นในทํานองเดียวกัน ช่วงแรกพื้นผิวโลกจึงปรากฏรูพรุนเต็มไปหมด เนื่องจากการชนกลายเป็นหลุม 

อุกาบาต  ซึ่งเทียบได้จากพื้นผิวของดวงจันทร์ซึ่งศึกษาได้ในขณะนี้
การโคจรของโลก

            โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นวงโคจรซึ่งใช้เวลา 365.25 วัน เพื่อให้ครบ 1 รอบ ปฏิทินแต่ละปี
มี 365 วัน ซึ่งหมายความว่าจะมี 1/4 ของวันที่เหลือในแต่ละปี ซึ่งทุกปี จะมีวันพิเศษ คือจะมี 366 วัน กล่าวคือเดือนกุมภาพันธ์จะมี 29 วัน แทนที่จะมี 28 วันเหมือนปกติ วงโคจรของโลกไม่เป็นวงกลม ในเดือนธันวาคม จะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าเดือนมิถุนายน ซึ่งจะอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มาก ที่สุด โลกจะเอียงไปตามเส้นแกน
ในเดือนมิถุนายน ซีกโลกเหนือจะเอียงไปทางดวงอาทิตย์ ดังนั้น ซีกโลกเหนือจะเป็นฤดูร้อนและซีกโลกใต้จะเป็นฤดูหนาว ในเดือนธันวาคมจะเอียงจากดวงอาทิตย์ ทําให้ซีกโลกเหนือเป็นฤดูหนาวและซีกโลกใต้เป็นฤดูร้อน
ในเดือนมีนาคมและกันยายน ซีกโลกทั้งสองไม่เอียงไปยังดวงอาทิตย์ กลางวันและกลางคืนจึงมีความยาวเท่ากัน
ในเดือนมีนาคม ซีกโลก เหนือจะเป็นฤดูใบไม้ผลิ และซีกโลกใต้เป็นฤดูใบไม้ร่วง ในเดือนกันยายน
สถานการณ์จะกลับกัน  โลกมีอายุประมาณ  4,700  ปี โลกไม่ได้มีรูปร่างกลมโดยสิ้นเชิง เส้นรอบวงที่เส้นศูนย์สูตรยาว 40,077 กิโลเมตร (24,903 ไมล์) และที่ขั้วโลกยาว  40,009  กิโลเมตร (24,861 ไมล์) และมีดวงจันทร์เป็น บริวาร 1 ดวง โคจรรอบโลกทุกๆ 27 วัน 8 ชั่วโมง  โลกมีลักษณะเป็นทรงวงรี โดยในแนวดิ่งเส้นผ่า ศูนย์กลางยาว 12,711 กม. ในแนวนอน ยาว 12,755 กม. ต่างกัน  44 กม. มีพื้นน้ำ  3  ส่วน หรือ 71% และ มีพื้นดิน  1  ส่วนหรือ 29 %แกนโลกจะเอียง  23.5  องศา

ส่วนประกอบของโลก
1. ส่วนที่เป็นพื้นน้ำ  ประกอบด้วย ห้วยหนอง  คลองบึง  ทะเล  มหาสมุทร  น้ำใต้ดิน  น้ำแข็ง  ขั้วโลก
2. ส่วนที่เป็นพื้นดิน  คือ ส่วนที่มีลักษณะแข็งห่อหุ้มโลก โดยที่เปลือกที่อยู่ใต้ทะเลมีความหนา 5 กิโลเมตร และ
    ส่วนเปลือกที่มีความหนา คือ ส่วนที่เป็นภูเขา หนาประมาณ 70 กิโลเมตร                                                             

3. ชั้นบรรยากาศ  เป็นชั้นที่สําคัญ เพราะทําให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ทางธรรมชาติ เช่น วัฏจักรน้ำ  อิออน               
ที่จําเป็นต่อการติดต่อสื่อสาร  เป็นต้น  
4. ชั้นสิ่งมีชีวิต

เปลือกโลก
    เปลือกโลก (crust) เป็นชั้นนอกสุดของโลกที่มีความหนาประมาณ  60 - 70  กิโลเมตร ซึ่งถือว่า เป็นชั้นที่บางที่สุดเมือเปรียบกับชั้นอื่นๆ

แมนเทิล
       แมนเทิล  (mantle หรือ Earth's mantle)  เป็นชั้นที่อยู่ระหว่างเปลือกโลกและแก่นโลก  มีความหนา  ประมาณ 3,000  กิโลเมตร บางส่วนของหินอยู่ในสถานะหลอมเหลวเรียกว่า หินหนืด (Magma)  ทําให้ชั้นแมนเทิลมีความร้อนสูงมาก เนื่องจากหินหนืดมีอุณหภูมิประมาณ  800-4,300 °C ซึ่งประกอบด้วย  หินอัคนี  เป็นส่วนใหญ่  เช่นหินอัลตราเบสิก  หินเพริโดไลต์
แก่นโลก
    แก่นโลก  (Core)  ความหนาแน่นของโลกโดยเฉลี่ย  คือ  5,515 กก./ลบ.ม. ทําให้โลกเป็น ดาวเคราะห์ที่หนาแน่นที่สุดในระบบสุริยะ
แผ่นเปลือกโลก
   โครงสร้าง นอกสุดของโลก  ประกอบด้วยชั้น  2  ชั้นที่อยู่นอกสุดคือชั้นดินแข็ง (lithosphere)  ที่มีเปลือกโลกและ ชั้นนอกสุดของแมนเทิลที่เย็นตัวและแข็งแล้ว ภายใต้ชั้นดินแข็ง  คือ  ชั้นดินอ่อน  (aethenosphere)