เรื่องที่ 1 แรง

                 แรง (Force) คือ อํานาจอย่างหนึ่งที่กระทําหรือพยายามกระทําต่อวัตถุให้เปลี่ยนสภาวะ แรง เป็นปริมาณเวกเตอร์และมีหน่วยเป็น

นิวตันผลของแรงทําให้วัตถุเปลี่ยนแปลง ดังนี้

1.   เปลี่ยนรูปทรง

2.   เปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ เช่น การเคลื่อนที่เร็วขึ้น การเคลื่อนที่ช้าลง การหยุดนิ่ง หรือเปลี่ยนทิศทาง

ปริมาณในทางวิทยาศาสตร์มี 2 ปริมาณด้วยกัน ดังนี้

1.   ปริมาณเวกเตอร์ (Vector quantity) เป็นปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง เช่น น้ำหนัก แรงความเร็ว เป็นต้น

2.   ปริมาณสเกลลาร์ (Scalar quantity) เป็นปริมาณที่มีแต่ขนาดอย่างเดียว เช่น อุณหภูมิ เวลาอัตราเร็ว มวล  เป็นต้น

   การเขียนปริมาณเวกเตอร์ เขียนแทนด้วยเส้นตรงที่มีหัวลูกศรกํากับ ความยาวของเส้นตรงแทน ขนาดของเวกเตอร์ และหัวลูกศรแทนทิศทางของเวกเตอร์ การเขียนสัญลักษณ์ของแรง เขียนได้หลาย รูปแบบ เช่น เวกเตอร์ A เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ A  ตัวอย่างเช่น

ก)  เวกเตอร์ A ไปทางทิศตะวันออก  เขียนแทนด้วย    A

ข)  เวกเตอร์ A ไปทางทิศตะวันตก เขียนแทนด้วย A

     แรงลัพธ์ของแรง  (Resultant force) คือ ผลรวมของแรงหลายแรงที่กระทําต่อวัตถุ การหาแรงลัพธ์ทําได้ 2 วิธี คือ

   1. เมื่อแรงย่อยที่กระทําต่อวัตถุมีทิศทางเดียวกัน ขนาดของแรงลัพธ์จะได้จากการนําขนาดของแรงย่อยต่างๆ มารวมกัน

           2. เมื่อแรงที่กระทําต่อวัตถุ มีทิศทางตรงกันข้าม แรงลัพธ์มีขนาดเท่ากับผลต่างของขนาดของแรงย่อยที่กระทําต่อวัตถุ และมีทิศทางไปทางเดียวกับทิศทางของแรงที่มีขนาดมากกว่า

สมบัติของแรงเสียดทาน

     1.รงเสียดทานมีค่าเป็นศูนย์ เมื่อวัตถุไม่มีแรงภายนอกมากระทํา

     2.ขณะที่มีแรงภายนอกมากระทําต่อวัตถุ และวัตถุยังไม่เคลื่อนที่ แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นมขนาดต่าง ๆ กัน ตามขนาดของแรงที่มากระทํา และแรงเสียดทานที่มีค่ามากที่สุดคือ แรงเสียดทานสถิต เป็นแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุเริ่มเคลื่อนที่

     3.แรงเสียดทานมีทิศทางตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถ

     4.แรงเสียดทานสถิตมีค่าสูงกว่าแรงเสียดทานจลน์เล็กน้อย

     5.แรงเสียดทานจะมีค่ามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะของผิวสัมผัส ผิวสัมผัสหยาบหรือขรุขระจะมีแรงเสียดทานมากกว่าผิวเรียบและลื่น

     6.แรงเสียดทานขึ้นอยู่กับน้ำหนักหรือแรงกดของวัตถุที่กดลงบนพื้น ถ้าน้ำหนักหรือแรงกดมากแรงเสียดทานก็จะมากขึ้นด้วย