เรื่องที่ 2 การสังเกตตําแหน่งของดาวฤกษ์ 


คนในสมัย โบราณเชื่อว่า ดวงดาวทั้งหมดบนท้องฟ้าอยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางเท่า ๆ กันโดยดวงดาวเหล่านั้นถูกตรึงอยู่บนผิวของทรงกลมขนาดใหญ่เรียกว่า "ทรงกลมท้องฟ้า (Celestialere)" โดยมีโลก อยู่ที่ศูนย์กลางของทรงกลม ทรงกลมท้องฟ้าหมุนรอบโลกจากทิศตะวันออกไปขังตะวันตก โดยที่โลกหยุดนิ่งอยู่กับที่ ไม่เคลื่อนไหว

นักปราชญ์ในยุกต่อมาทำการศึกษาคาราศาสตร์กันมากขึ้น จึงพบว่า ควงดาวบนท้องฟ้าอยู่ห่างกโลกเป็นระยะทางที่แตกต่างกัน กลางวันและกลางคืนเกิดจากการหมุนรอบตัวเองของโลก มิใช่การหมุ่นของทรงกลมท้องฟ้า ดังที่เคยเชื่อกันในอดีต อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนักดาราศาสตร์ยังคงใช้ทรงกลมท้องฟ้าเป็นเครื่องมือในการระบุตำแหน่งทางคาราศาสตร์ ทั้งนี้เป็นเพราะ หากเราจินตนาการให้โลกเป็นศูนย์กลาง โดยมีทรงกลมท้องฟ้าเคลื่อนที่หมุนรอบ จะทำให้ง่ายต่อการระบุพิกัด หรือเปรียบเทียบตำแหน่งของวัตถุบนท้องฟ้า และสังเกตการเคลื่อนที่ของวัตถุเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น

การเคลื่อนที่ของทรงกลมท้องฟ้า

เมื่อมองจากพื้นโลกเราจะเห็นทรงกลมท้องผู้เคลื่อนที่จากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตกอย่างไรก็ตามเนื่องจากโลกของเราเป็นทรงกลม ดังนั้นมุมมองของการเคลื่อนที่ของทรงกลมท้องฟ้าย่อมขึ้นอยู่กับตำแหน่งละติจูด (เส้นรุ้ง) ของผู้สังเกตการณ์ เป็นตันว่า

ถ้าผู้สังเกตการณ์อยู่บนเส้นศูนย์สูตร หรือละดิจูด 0' ขั้วฟ้าเหนือก็จะอยู่ที่ขอบฟ้าค้านทิศเหนือพอดี ดังภาพ

ถ้าผู้สังเกตการณ์อยู่ที่ละติจุดสูงขึ้นไป เช่น ละติจุด เ3 ขั้วฟ้าเหนือก็จะอยู่สูงจากขอบฟ้าทิศเหนือ 130 ดังภาพ

 ถ้าผู้สังเกดการณ์อยู่ที่ขั้วโลกเหนือ หรือละดิจุด 90* ขั้วฟ้าเหนือก็จะอยู่สูงจากขอบฟ้า 90*เราสามารถสรุปได้ว่า ถ้าผู้สังกตการณ์อยู่ที่ละติจุดท่าใด ขั้วฟ้าเหนือก็จะอยู่สูงจากขอบฟ้าเท่ากับละติจูดนั้น

 กลุ่มดาว

       แม้ว่าจะมีกลุ่มดาวบนท้องฟ้อยู่ถึง 88 กลุ่ม แต่ในทางปฏิบัติมีกลุ่มดาวจักรราศี 12 กลุ่ม และกลุ่มดาวเด่นอื่นอีกประมาณเท่ากันที่เหมาะสมสำหรับการเริ่มต้น กลุ่มคาวเหล่านี้ก็มิได้มีให้เห็นตลอดเวลาเหตุเพราะโลกหมุนรอบตัวเอง และ โคจรรอบดวงอาทิตย์ กลุ่มดาวสว่างแต่ละกลุ่มจะไม่ปรากฏให้เห็นเฉพาะเมื่อกลุ่มดาวนั้นขึ้นและตกพร้อมกับดวงอาทิตย์

 ดาวฤกษ์สว่างรอบกลุ่มดาวหมีใหญ่

"กลุ่มดาวหมีใหญ่ (Ursa Major)" ประกอบด้วยดาวสว่างเจ็ดดวง เรียงตัวเป็นรูปกระบวยขนาดใหญ่ ดาวสองดวงแรกชาวยุโรปรียกว่า "ดาวชี้" (The Pointer) หมาขถึง ลูกศรซึ่งชี้เข้าหา "ดาวเหนือ(Polaris)" อยู่ตลอดเวลา โดขดาวเหนือจะอยู่ห่างจากคาวสองดวงแรกนั้น นับเป็นระยะเชิงมุมห้ำเท่าของระชะเชิงมุมระหว่างดาวสองดวงนั้น ดาวเหนืออยู่ในส่วนปลายหางของ "กลุ่มคาวหมีเล็ก (Ursa Minx)"   ซึ่งประกอบด้วยดาวไม่สว่าง เรียงตัวเป็นรูปกระบวยเล็ก แม้ว่าดาวเหนือจะมีความสว่างไม่มากนัก แต่ในบริเวณขั้วฟ้าเหนือก็ไม่มีดาวใดสว่างไปกว่าดาวเหนือดังนั้นคาวเหนือจึงมีความโดดเด่นพอสมควร

 สามเหลี่ยมฤดูหนาว   

ในช่วงของหัวค่ำของฤดูหนาว จะมีกลุ่มดาวสว่างอยู่ทางทิศตะวันออก คือ กลุ่มดาวนายพรานกลุ่มดาวสุนัขใหญ่ และกลุ่มดาวสุนัขเล็ก หากลากเส้นเชื่อม ดาวบีเทลจุส (Bete!geuse) - คาวสว่างสีแคงตรงหัวไหล่ของนายพรานไปยัง ดาวชีวิอุส (Sirius)- คาวฤกษ์สว่างที่สุดสีขาว ตรงหัวสุนัขใหญ่  และ ดาวโปรซีออน (Procyon) - ดาวสว่างสีขาวตรงหัวสุนัขเล็ก จะได้รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า เรียกว่า"สามเหลี่ยมฤดูหนาว (Winter Triangle)" ซึ่งจะขึ้นในเวลาหัวค่ำของฤดูหนาว


สามเหลี่ยมฤดูร้อน

ในช่วงหัวค่ำของต้นฤดูหนาว จะมีกลุ่มดาวสว่างทางด้านทิศตะวันตก คือ กลุ่มดาวพิณ กลุ่มดาวหงส์ และกลุ่มดาวนกอินทรี หากลากเส้นเชื่อม ดาววีกา (Veฐa) - ดาวสว่างสีขาวในกลุ่มดาวพิณไปยังดาวหางหงส์ (Deneb) - ดาวสว่างสีขาวในกลุ่มดาวหงส์ และ ดาวตานกอินทรี (AItair) -  ดาวสว่างสีขาวในกลุ่มดาว        นกอินทรี่ จะได้รูปสามเหลี่ยมด้านไม่เท่าเรียกว่า "สามเหลี่ยมฤดูร้อน (Summer Triangle)" ซึ่งอยู่ในทิสตรงข้ามกับสามเหลี่ยมฤดูหนาว ขณะที่สามเหลี่ยมฤดูร้อนกำลังจะตกสามเหลี่ยมฤดูหนาวก็กำลังจะขึ้น สามเหลี่ยมฤร้อนขึ้นตอนหัวค่ำของฤดูร้อนของยุโรปและอเมริกาซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนของประเทศไทย ในคืนที่เป็นข้างแรมไร้แสงจันทร์รบกวน หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่ามีแถบฝ้าสว่างคล้าขเมฆขาวพาดข้ามท้องฟ้า ผ่านบริเวณกลุ่มดาว นกอิบทรี กลุ่มดาวหงส์ ไปยังกลุ่มดาวแคสสิโอเปีย (ค้างคาว) แถบฝ้าสว่างที่เห็นนั้นแท้ที่จริงคือ "ทางช้างเผือก (The Milky Way)"