เรื่องที่ 3 สารและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิต

สารเคมีในชีวิตประจำวัน

ในชีวิตประจำวัน เราจะต้องเกี่ยวข้องกับสารหลายชนิด ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน สารที่ใช้ในชีวิตประจำวันจะมีสารเคมีเป็นองค์ประกอบ ซึ่งสามารถจำแนกเป็นสารสังเคราะห์และสารธรรมชาติ เช่น สารปรุงรสอาหาร สารแต่งสีอาหาร สารทำความสะอาด สารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช เป็นดัน ในการจำแนกสารเคมีเป็นพวก ๆ นั้นเราใช้วัตถุประสงค์ในการใช้เป็นเกณฑ์การจำแนก  ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดคอมพิวเตอร์ (Computer Cleaners)

ที่มีจำหน่ายเป็นส่วนผสมของอะลิฟาติกไฮโครคาร์บอนหลาย ๆ ชนิด (aliphatic hydrocarbon)

35 % อะลิฟาติกไฮโครคาร์บอนนี้เป็นส่วนประกอบหลักของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันหลายชนิด เช่น น้ำมันสน แก๊สโซน สีน้ำมันเป็นต้น คุณสมบัติของอะลิฟติกไฮ โดรคาร์บอนคือไวไฟได้ อะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอนส่วนใหญ่ หากสัมผัสซ้ำๆ ทำให้ผิวหนังแห้ง เนื่องจากมันสามารถละลายไขมันที่ผิวหนังได้ดึ ซึ่งอาจทำให้ผิวหนังเกิดอาการแพ้เช่นเป็นผื่นแดง คัน เป็นตุ่มพอง เป็นแผลระบม ฟกช้ำ ตกสะเก็ด และอะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอนบางชนิด เช่น :-hexane ยังเป็นสารพิษที่ขับยั้งหรือทำลายเนื้อเยื่อของระบบประสาท หากสูดไอระเหยเข้าไปเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง การ ได้รับสารทั้งแบบระชะสั้นในปริมาณมากหรือต่อเนื่องในระยะขาวทำให้มีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น การกดระบบประสาทส่วนกลาง หัวใจล้มเหลว หมดสติ โคม่า และอาจถึงตายได้ ดังนั้นในการใช้สารพิษชนิดนี้เป็นประจำควรมีเครื่องข้องกันการหายใจ และใช้ในที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี หลีกเลี่ยงการใช้ใน ที่ปิด เช่น           ห้องปรับอากาศ หรือในมุมอับอากาศ และควรสวมถุงมือด้วย

ผลิตภัณฑ์เพิ่มความชุ่มชื้นของผิวหนัง (Moisturizer)

   ปกติผิวหนังจะมีการปกป้องการสูญเสียน้ำตามธรรมชาติอยู่แล้ว โดยมีผิวหนัง ขี้ไคล ซึ่งเป็นแผ่นใสคลุมผิวอยู่ นอกจากนั้นยังมีน้ำมันหล่อเลี้ยงผิวหนังซึ่งช่วยเก็บความชุ่มชื้นของผิวไว้อีกชั้นหนึ่งแต่บางคนหรือบางสถานการณ์ เช่น โรคหนังแห้งจากพันธุกรรม การชำระล้างเกินความจำเป็น หรือในภาวะอากาศแห้งในฤดูหนาว หรือการทำงานในห้องปรับอากาศ น้ำจะระเหยจากผิวหนังเพิ่มมากขึ้น ผลิตภัณฑ์เพิ่มเพื่อความชุ่มชื้นจึงเป็นที่นิยม      จนกลายเป็นความจำเป็นขึ้นมา ลักษณะของผลิตภัณฑ์มีทั้ง ชนิดครีม โลชั่นขุ่น โลชั่นใส เจล สเปรย์ หลักการทำงานของมันก็คือ เพื่อให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้น องค์ประกอบมีทั้งสารช่วยเพิ่มน้ำในชั้นผิวหนัง เช่น กรคอะมิโน โซเดียมพีซีเอ (SodiumPyrrolidone Carboxyic Acid) โพลิเพปไทค์ ยูรีย แลคเตต เป็นต้น ส่วนสารป้องกันการระเหยของน้ำจากชั้นผิวก็เป็นพวกน้ำมันและขี้ผึ้ง ไขสัตว์ ซิลิโคน  บางผลิตภัณฑ์จะเดิมสารดูดความชื้นจาก

บรรยากาศเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำจากเนื้อครีม เช่น กลีเซอรีน น้ำผึ้ง กรคแลคติก

เอ เอช เอ (AHA) กับความงามบนใบหน้า

AHA ย่อมาจาก Alpha Hydroxy! Acids มีสรรพคุณที่กล่าวขวัญว่าเป็นสารช่วยลดริ้วรอยจุดด่างดำ   บนผิวหนังได้ จึงใช้ผสมกับครีมและ โลชั่น เครื่องสำอางที่มี AHA เปีนส่วนประกอบถูกจัดในกลุ่มเดียวกับสารเคมีสำหรับลอกผิว ซึ่งใช้งานกันในหมู่แพทย์ผิวหนังและศัลยกรรมพลาสติก AHA ที่ใช้กันมากคือ กรดไกลโคลิก และกรดแลกติก แต่ยังมีหลายชนิดที่ใช้เป็นส่วนประกอบ โดยปกติที่วางตลาดมีความเข้มข้นร้อยละ 10 หรือน้อยกว่านั้น แต่ในกรณีของผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังสามารถใช้ได้ถึงระดับความเข้มข้นร้อยละ 20 - 30 หรือสูงกว่านั้น AHA จัดอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่เครื่องสำอางทั่วไป แต่อยู่ในหมวดของเวชสำอาง (Cosmeceutical) ตามองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ซึ่งให้ความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจาก AHA ไม่เหมือนเครื่องสำอางทั่วไป แต่มันซึมผ่านเข้าไปในชั้นผิวหนังได้ และหากเข้มข้นพอก็จะลอกผิว ซึ่งเกิดผลในทางลบคือทำให้เซลล์ผิวเสื่อมเร็วขึ้น และยังทำให้ผิวหนังชั้นนอกบางลงด้วย ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี AHA จำนวนหนึ่ง ใช้แล้วพบว่าผิวของตนไวต่อแสงอาทิตย์มากขึ้น หรือแพ้แดดนั่นเอง การทดลองใช้กรดไกลโคลิกเข้มข้นและต่อเนื่อง จะพบอาการผิวแดงและทนต่อแสงยูวีได้น้อยลง องค์การที่ดูแลความปลอดภัยของผู้บริโภค ได้สรุปผลในการใช้  AHA อย่างปลอดภัย ให้มีความเข้มข้น   ไม่เกินร้อยละ 10 และเมื่อผสมพร้อมใช้จะต้องมีค่าความเป็น กรด-ด่างไม่ต่ำกว่า 3.5 นอกจากนั้นผลิตภัณฑ์นั้นขังต้องมีส่วนผสมที่ช่วยคระดับความไวต่อแสงแดด หรือมีสารกันแดด หรือมีข้อความแนะนำให้ใช้ควบคู่กับผลิตภัณฑ์สำหรับกันแดด ถ้าอยากทราบว่า

ผลิตภัณฑ์ที่ใช้อยู่มี AHA  หรือไม่ลองอ่านฉลากดู และมองหาชื่อสารเคมีต่อไปนี้

- กรดไกลโคลิก (Glycolic acid)

- กรดแลคติก (Lactic acid)

- กรดไกลโคลิกและแอมโมเนียมไกลโคเลต (Glycolic acid and Ammonium glycolate)

- กรดอัลฟาไฮดรอกซีคาโพรลิก (AIphahydroxy caprylic acid)

- กรดผลไม้รวม (Mixed fruit acid)

- กรดผลไม้สามอย่าง (Triple fruit acid)

- กรดผลไม้ชนิดไตรอัลฟาไฮดรอกชี (Tri-alpha hydroxy! fruit acid)

- สารสกัดจากน้ำตาลอ้อย (Sugar cane extract)

ผลิตภัณฑ์กำจัดสิ่งอุดตัน 

การเกิดสิ่งอุดตันในท่อโดยเฉพาะท่อน้ำทิ้งจากอ่างล้างชาม ส่วนหนึ่งเกิดจากไขมัน จากเศษอาหาร   แข็งตัวเกาะอยู่ในท่อ สารเคมีที่ใช้เป็นผลิตภัณฑ์กำจัดสิ่งอุดตันส่วนใหญ่คือโซเดียมไฮครอกไซด์ หรือ โซดาไฟ (sodium bydroxide) ซึ่งมีทั้งชนิดผงหรือเม็ด และชนิดน้ำ ความเข้มข้นของทั้ง 2 ชนิดจะแตกต่างกัน ชนิดผงจะมีความเข้มข้นของโซเดียมไฮครอกไซด์ ประมาณ 50% โดยน้ำหนัก ในขณะที่ชนิดน้ำจะมีความเข้มข้นประมาณ 25% โคขน้ำหนักโซเคียมไฮดรอกไซด์ จะทำปฏิกิริยากับสิ่งอุดตัน

ประเภทไขมันกลายเป็นสารที่ละลายน้ำได้

โซเดียมไฮดรอกไซด์ มีความเป็นพิษมาก เพราะฤทธิ์กัดกร่อน การสัมผัสทางผิวหนังทำให้เกิดแผลไหม้   การสัมผัสถูกตามีฤทธิ์กัดกร่อน ทำให้เกิดการระคายเคืองอย่างรุนแรง เปีนแผลแสบไหม้  อาจทำให้มองไม่เห็นและถึงขั้นตาบอดได้ การหายใจเอาฝุ่นหรือละอองของสารอาจทำให้เกิดการระคายเคืองเล็กน้อยของทางเดินหายใจส่วนบนไปจนถึงระดายเคืองอย่างรุนแรง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณของการได้รับสาร อาการอาจมีการจาม เจ็บคอ มีน้ำมูก เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ อักเสบ การบวม  น้ำที่ถุงลม และเกิดอาการบวมน้ำที่ปอด การกลืนหรือกินทำให้เกิดการไหม้อย่างรุนแรงของปาก คอ  และช่องท้อง ทำให้เนื้อเยื่อเป็นแผลรุนแรงและอาจตายได้ อาการยังรวมถึงเลือดออกในช่องท้อง อาเจียน ห้องเสีย ความดันเลือดต่ำ การปฐมพยาบาลควรล้างบริเวณที่ได้รับสารด้วยน้ำอย่างน้อย 15 นาที โซเดียมไฮดรอกไซด์เมื่อละลายในน้ำจะให้ความร้อนสูงจนอาจเคือดกระเด็นเป็นอันตรายได้ และยังทำให้เกิดละอองที่มีกลิ่นฉุนและระคายเคืองมาก ห้ามผสมหรือใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ที่มีสมบัติเป็นกรด

ดังนั้นห้ามผสมน้ำขาล้างห้องน้ำซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด เพราะไซเดียมไฮครอกไซด์มีฤทธิ์เป็นเบส ซึ่งเกิดปฏิกิริยารุนแรงและทำให้สารหมดประสิทธิภาพ ความเป็นด่างของโซเดียมไฮดรอกไซด์ มีผลต่อพีเอชหรือความเป็นกรดด่างของสิ่งแวดล้อมจน ทำให้สิ่งมีชีวิตในน้ำตายได้ ห้ามทิ้งลงสู่แหล่งน้ำ  น้ำเสีย หรือดิน ทางที่ดีจึงควรหลีกลี่ยงใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดสิ่งอุดตันประเภทนี้ หากจำเป็นกวรใช้  โซเดียมไฮดรอกไซด์ อย่างระมัดระวัง ไม่สัมผัสสาร   โดยตรง ควรใส่ถุงมือ และ ใช้สารให้หมดภายในครั้งเดียว การเก็บรักษาควรเก็บให้มิดชิด และปิดฝาให้สนิทเนื่องจากโซเดียมไฮดรอกไซด์ดูดความชื้น และคาร์บอนไคออกไซด์จากอากาศได้ดีมาก ทำให้ประสิทธิภาพลดลง

ผลิตภัณฑ์ไล่ยุง (Insect Repellents)

ผลิตภัณฑ์ไล่ยุง (Insct Rcpelle๓nts) ที่ใช้กันมีสารเคมีที่เป็นสารออกฤทธิ์คือ DEET, ไดเมหิล พทาเลต

(dimethy! phthalate)และ เอทิลบิวทิลอเซติลามิโน โพรพิโนเอต (ethyI butylacetylamino propionate)

ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงมีหลาชรูปแบบ ทั้งแบบสเปรย์ ลูกกลิ้ง (๗ol! on) โลชั่นทากันยุง และแป้งทาตัว DEET หรือ

diethyltoluamide เป็นสารออกฤทธิ์ที่นิยมใช้มาก เป็นพิษแบบเฉียบพลันไม่มากนัก ถ้าสัมผัสทางผิวหนังก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและตา หากสูคคมเข้าไป  ทำให้เกิดการระคายเคืองที่แผ่นเยื่อเมื่อกและทางเดินหายใจส่วนบน และการ ได้รับสารเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ ในการทดลองกับหนูการได้รับสารแบบเรื้อรังะก่อให้เกิดการกลาชพันธุ์และมีผลต่อทารกในครรภ์ ความเข้มขั้นของ DEET ในผลิตภัณฑ์ไล่ยุงอยู่ระหว่าง 5 - 25% โดยน้ำหนัก ปริมาณ % ที่มากขึ้นไม่ได้ หมายถึงประสิทธิกาพในการไล่ยุงจะมากขึ้น แต่หมายถึงระยะเวลาในการป้องกันยุงนานขึ้น เช่นที่ 6%  จะป้องกันยุงได้ 2 ชั่วโมง ในขณะที่ 20% จะป้องกันยุงได้ 4 ชั่วโมง dimethy! phthalate มีความเป็นพิษปานกลาง อาจทำให้เกิดการระคายเคืองเช่นเดียวกับ DEET แล้วยังกดระบบประสาทส่วนกลาง รบกวนระบบทางเดินอาหาร ทำอันตรายต่อไต มีความเสี่ยงทำให้เกิดการพิการแต่กำเนิดของทารกในครรภ์มีความเป็นพิยเล็กน้อยต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ โดยเฉพาะกับปล1 Elhyl butylacetylamino propionate มีความเป็นพิษปานกลาง ก่อให้เกิดการระคายเคืองตา นอกจากใช้ไล่ยุงแล้ว EthyI  butylacetylamino  propionte มีประสิทธิภาพในการไล่มด แมลงวัน แมงมุม เห็บ หมัดอีกด้วย ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงส่วนใหญ่มีผลต่อการกลายพันธุ์หากใช้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นควรใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้นและควรใช้อย่างระมัดระวัง...

คำแนะนำในการใช้

-ไม่ควรใช้ทาผิวหนังที่มีเสื้อผ้าปกปิดอยู่

- อย่าทาบริเวณที่มีบาดแผลหรือรอยผื่นคัน

- อย่าทาบริเวณดวงตา ปาก ถ้าใช้แบบสเปรย์ให้ฉีดสเปรย์ลงบนมือก่อนแล้วจึงทาที่ใบหน้าอย่าฉีดสเปรย์เข้าที่ใบหน้าโดยตรง

-ห้ามเด็กใช้ผลิตภัณฑ์ด้วยตัวเอง ควรทาบนมือก่อนแล้วจึงทาให้เด็ก อย่าฉีดหรือเทลงบนมือของเด็ก

ใช้ในปริมาณที่เพียงพอสำหรับปกป้องผิว ไม่จำเป็นต้องทาให้หนาเพราะไม่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการไล่ยุง

- ถ้าใช้แล้วเกิดผื่นหรือเกิดผลข้างเคียง ควรสั่งออกด้วยน้ำสบู่ แล้วไปพบแพทย์พร้อมกับนำผลิตภัณฑ์   ไปด้วย

- งดใช้ในสตรีมีครรภ์

ลูกเหม็น (Mothball)

ลูกเหม็นที่เราคุ้นเคยมีลักษณะเป็นก้อนกลมสีขาวขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร

เอาไว้ใส่ในตู้สื้อผ้หรือตู้เก็บรองเท้าเพื่อระงับกลิ่นและป้องกันแมลงกัดแทะ เพราะถูกเหม็นให้ไอที่มืกลิ่นออกมาจากสารเคมีที่เป็นของเข็งเรียกว่าระเหิดออกมา (ถ้ำไอออกมาจากของเหลว เรียกว่า ระเหย) สารเคมีที่มีกลิ่นและระเหิดได้นำมาใช้ทำลูกเหม็น ได้แก่ แนพธาลีน (Naphthalene) เป็นผลึกสีขาว แข็งและสามารถระเหิดเป็น ไอได้ง่าย หากกินหรือกลืนเข้าไปทำให้มีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน มึนงง ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารและลำไส้ การ ได้รับเข้าไปในปริมาณที่มากอาจทำลายเซลล์เม็ดเลือดแคง การหายใจเข้าไปจะทำให้เจ็บคอ ไอ ปวดศีรษะ และคลื่นไส้ การสัมผัสทางผิวหนังทำให้เกิดการระดาย เคืองปวดแสบปวคร้อน สารนี้สามารถดูดซึมผ่านผิวหนังและทำให้เป็นอันตรายได้ การสัมผัสถูกตาทำให้ปวดตา และสายตาพร่ามัว ยังมีอีกสารหนึ่งที่นำมาใช้แทนแนพธาลีน คือ p-Dichlorobenzene (1,4-Dichlorobenzene หรือ p-DCB) มีสมบัติสามารถระเหิดกลายเป็นไออย่างช้าๆ และไอของมันจะทำหน้าที่ดับกลิ่น หรือฆ่าแมลงพิษของ p-Dichlorobenzene คล้าขๆแนพธาถิ่น มีความเป็นพิษมาก(www.wikipedia.org) สารเคมีที่ใช้ทำลูกเหม็นอีกชนิดหนึ่งคือ แคมเพอร์ หรือ การบรู (Camphor;

1,7,7-trimethynorcamphor) มีความเป็นพิษมาก ถ้ำหายใจเข้าไปก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ 'ไอ หายใจถี่ มีผลต่อระบบประสาทเป็นได้ตั้งแต่มึนงงจนถึงชัก ขึ้นอยู่กับปริมาณและระยะเวลาที่ได้รับสาร การกลืนหรือกินเข้าไปก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ห้องเสีย อาจทำให้ปวดศีรษะ เป็นลม การสัมผัสทางผิวหนังก่อให้เกิดอาการเป็นผื่นแดง คัน และเจ็บ สามารถดูดซึมผ่านผิวหนังได้อย่างรวดเร็ว ถ้าได้รับสารเป็นเวลานานอาจทำลาขตับและ ไต คนที่มีอาการผิดปกติทางระบบประสาทหรือเป็นโรคเกี่ยวกับตับอยู่แล้วจะได้รับผลกระทบต่อสารนี้ได้ง่ายอย่างไรก็ตาม การใช้ลูกเหม็นตามปกติไม่ได้ให้อันตรายเช่น   ว่านี้ เพราะมันค่อยๆระเหิดให้ไอออกมา เราไม่ได้ไปสูดดมแรง ๆ หรือสัมผัสนาน ๆ สิ่งที่ควรระมัดระวังคือเก็บให้พ้นมือเด็ก ที่อาจเล่นหรือหยิบไปใส่ปากได้...

น้ำยาขัดพื้นและเฟอร์นิเจอร์

น้ำขาขัดพื้นและเฟอร์นิเจอร์ มักมีส่วนผสมของสารเคมีหลัก ๆ อยู่ 2 - 3 ชนิดคือ ไดเอธิถีน

ไกลคอล (Diethylene Glycol) น้ำมันปีโตรเลียม และไนโตรเบนซีน ทั้งหมดเป็นสาร ไวไฟและให้ไอระเหย แต่ส่วนใหญ่คือ 2 ชนิดแรก ส่วนไนโตรเบนซึนมีน้อย ไดเอธินไกลคอลและ น้ำมันปีโตรเลียมทำหน้าที่เป็นตัวทำละลาความเป็นพิษของทั้งสองตัวนี้ไม่รุนแรงและไม่มีพิษเฉียบพลันนอกจากกลืนกินเข้าไป อันตรายจึงอยู่ที่ความไวไฟและไอระเหยที่อาจสูดดมเข้าไประยะยาว แต่เมื่อมันมาอยู่ในบ้านเราก็ต้องระวังเด็กกินเข้าไปเท่านั้น ถ้ากลืนกินเข้าไปจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วงต้องให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมาก ๆ ล้วงคอให้อาเจียนแล้วส่งแพทย์ สำหรับ           ไนโตรเบนซีนที่อาจเป็นส่วนผสมอยู่นั้น ด้วยตัวของมันเองจะมีพิษมากกว่า เพราะเมื่อสูดดมหรือซึมซับเข้าผิวหนังเป็นเวลานาน จะเป็นพิษต่อเม็ดเลือด อาการรุนแรงอาจถึงขั้นปวดศีรษะ ชีพจรเต้นไม่เป็นจังหวะ ความดันเลือดลดลง หายใจลำบาก เกิดอาการตัวเขียว และระบบส่วนกลางผิดปกติ เมื่อเกิดไฟไหม้ให้ใช้โฟมสำหรับดับไฟ หรือผง

เคมี หรือคาร์บอนไดออกไซด์ดับไฟได้ แต่ถ้ำน้ำชาปริมาณไม่มากก็ใช้น้ำได้ การถูกผิวหนังไม่มีอันตรายมากนักเพียงแต่ล้างออกทันทีด้วยน้ำมาก ๆ ที่สำคัญไม่ควรปล่อยไนโตรเบนซึน สู่สิ่งแวดล้อมการที่เราต้องพึ่งพาน้ำขาต่าง ๆ ตั้งแต่น้ำขาขัดพื้นห้องน้ำทั้งกรดและด่าง แล้วยังน้ำขาขัดเฟอร์นิเจอร์อีก น่าจะหยุดคิดว่ามีความจำเป็นสักเพียงใด ดลงได้หรือไม่ อาจหาสิ่งอื่นทดแทนก็ได้เช่นอาจใช้น้ำมันผสมน้ำมะนาว (2 : 1) ขัดเฟอร์นิเจอร์แทน หรือถ้าท่อตันลองใช้วิธีทะลวงท่อหรือล้างด้วยน้ำร้อน ก่อนหันไปใช้โซดียมไฮดรอกไซด์ หรือแทนที่จะใช้น้ำขาล้างห้องน้ำที่เป็นกรดไฮโดรคลอลิก อาจใช้แค่น้ำผสมผงซักฟอกแล้วขัดด้วยแปรงก็ได้ หรือถ้าอย่างอ่อน ๆ ก็หันไปใช้ผงฟู (โซเดียมไบคร์บอเนต) แทน ดังนั้นก่อนจะซื้อน้ำขาทำความสะอาดใด ๆ มาใช้ หยุดคิดถึงสิ่งแวดล้อมสักนิดภัยใกล้ตัวก็อาจลดลงด้วย

โฟมพลาสติก

โฟมพลาสติกที่เราใช้กันแพร่หลายทุกวันนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โพลิสไตรีนโฟม หรือสไตโรโฟม มีลักษณะเป็นเนื้อพอง เป็นเม็ดกลมเบียดอัดกันแน่นอยู่ในแผ่นโฟม แข็งแรง ยืดหยุ่นได้ ใช้มืดตัดแต่งได้ เบา และราคาไม่แพง จึงยมใช้เป็นหีบห่อกันกระเทือน กันความร้อน ใช้เป็นภาชนะใส่อาหาร ส่วนชนิดเบามีความหนาแน่นน้อย นิยมใช้เป็นวัสดุตกแต่งเวที และพวงหรีด โฟมทำให้ชีวิตประจำวันของเราสะควกสบายขึ้นก็จริง แต่มันก็เป็นตัวสร้างปัญหามลภาวะอย่างมาก เพราะมันไม่เน่าเปื่อยหรือย่อยสลายตามธรรมชาติ โฟมใช้แล้วจะถูกทิ้งลงถังขยะ ความที่มันมีขนาดใหญ่ เบาและกินที่ การเก็บรวบรวมขยะจึงสร้างปัญหาให้กับเทศบาล เพราะมันเข้าไปอุดตันตามท่อระบายน้ำและทำลายทัศนียภาพอีกทั้งยังต้องใช้เตาเผาพิเศษ จึงจะกำจัดได้ จึงควรหกเลี่ยงการใช้ นอกจากนั้น เมื่อเผาทำลายมันขังปล่อยก๊าซซีเอฟซีซึ่งเติมลงไปในกระบวนการผลิตทำให้เกิดการพองตัว ก๊าซนี้เป็นตัวทำลายชั้นโอโซนของบรรยากาศ สาเหตุของปรากฏการณ์ โลกร้อนอันเนื่องมาจากก๊าซเรือนกระจก  ดังนั้น เราควรช่วยกันลดการใช้โฟมเพื่อสิ่งแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่

สาระสำคัญ

สาระสำคัญ

       โครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในการศึกษาค้นคว้า โดยผู้เรียนจะเป็นผู้ ดําเนินการ ด้วยตนเองทั้งหมด ตั้งแต่เริ่มวางแผน ในการศึกษาค้นคว้า การเก็บรวบรวมข้อมูล จนถึงการแปลผล สรุปผล และการเสนอ ผลการศึกษา โดยมีผู้ชํานาญการเป็นผู้ให้คําปรึกษา  


ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

1. อธิบายประเภท เลือกหัวข้อ วางแผน วิธีทํา นําเสนอและประโยชน์ของโครงงานได้

2. วางแผนการทําโครงงานได้

3. ทําโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกลุ่มได้

4. อธิบายและบอกแนวทางในการนําผลจากโครงงานไปใช้ประโยชน์ได้

5.นําความรู้เกี่ยวข้องกับโครงงานไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจําวันได้


ขอบข่ายเนื้อหา

ขอบข่ายเนื้อหา

เรื่องที่ 1 ประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์

เรื่องที่ 2 ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

เรื่องที่ 3 การทำโครงงานวิทยาศาสตร์