เรื่องที่ 3  ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ

              ลม (Wind) คือ มวลของอากาศที่เคลื่อนที่ไปตามแนวราบ กระแสอากาศที่เคลื่อนที่ในแนวนอน ส่วนกระแสอากาศ คืออากาศที่เคลื่อนที่ในแนวตั้ง การเรียกชื่อลมนั้นเรียกตามทิศทาง ที่ลมนั้นๆ พัดมา เช่น ลมที่พัดมาจากทิศเหนือเรียกว่า ลมเหนือและลมที่พัดมาจากทิศใต้เรียกว่า  ลมใต้  เป็นต้น
              การเกิดลม สาเหตุเกิดลม คือ
1. ความแตกต่างของอุณหภูมิ
2. ความแตกต่างของหย่อมความกดอากาศหย่อมความกดอากาศ (Pressure areas)  หย่อมความกดอากาศสูง หมายถึง บริเวณที่มีความกดอากาศสูงกว่าบริเวณข้างเคียงใช้ตัวอักษร หย่อมความกดอากาศต่ำ หมายถึง บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำกว่าบริเวณข้างเคียงใช้ตัวอักษร L
              ชนิดของลม ลมแบ่งออกเป็นชนิดต่าง ๆ คือ
- ลมประจำปี หรือลมประจำภูมิภาค เช่น ลมสินค้า
- ลมประจำฤดูเช่น ลมมรสุมฤดูร้อน และลมมรสุมฤดูหนาว
- ลมประจำเวลา เช่น ลมบก ลมทะเล
- ลมที่เกิดจากการแปรปรวน หรือลมพายุ เช่น พายุฝนฟ้าคะนอง พายุหมุนเขตร้อน
            ลมผิวพื้น (Surface Winds) คือ ลมที่พัดจากบริเวณผิวพื้นไปยังความสูงประมาณ 1 กิโลเมตรเหนือ พื้นดิน
            ลมกรด (Jet Stream) เป็นกระแสลมแรงอยู่ในเขตโทรโพพอส (แนวแบ่งเขตระหว่างชั้น โทรโพสเฟียร์กับชั้นสตราโตสเฟียร์) เป็นลมฝ่ายตะวันตกที่มีความยาวหลายพันกิโลเมตร มีความกว้าง หลายร้อยกิโลเมตร แต่มีความหนาเพียง 2 - 3 กิโลเมตร เท่านั้น
            ลมมรสุม (Monsoon) มาจากคําในภาษาอาหรับว่า Mausim แปลว่า ฤดู ลมมรสุม จึงหมายถึง ลมที่พัดเปลี่ยนทิศทางกลับการเปลี่ยนฤดู คือ ฤดูร้อนจะพัดในทิศทางหนึ่ง และจะพัดเปลี่ยนทิศทาง ในทางตรงกันข้ามใน
ฤดูหนาว

            ลมท้องถิ่น เป็นลมที่เกิดขึ้นภายในท้องถิ่น เนื่องจากอิทธิพลของภูมิประเทศและความ เปลี่ยนแปลงของ    ความกดอากาศ ลมท้องถิ่นแบ่งแยกออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
  1. ลมบกและลมทะเล เป็นลมที่เกิดจากความแตกต่างอุณหภูมิของอากาศหรือพื้นดินและ พื้นน้ำ เป็นลมที่พัดประจําวัน

· ลมทะเล (Sea Breeze) เกิดในฤดูร้อนตามชายฝั่งทะเล ในเวลากลางวันเมื่อพื้นดินได้รับความร้อน จาก  ดวงอาทิตย์จะมีอุณหภูมิสูงกว่าพื้นน้ำ และอากาศเหนือพื้นดินเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัวลอย ขึ้นสู่เบื้องบน อากาศเหนือพื้นน้ำซึ่งเย็นกว่าจะไหลเข้าไปแทนที่ เกิดลมจากทะเลพัดเข้าหาฝั่งมีระยะ ทางไกลถึง 16 - 48 กิโลเมตร และความแรงของลมจะลดลงเมื่อเข้าถึงฝั่ง
· ลมบก (Land Breeze) เกิดในเวลากลางคืน เมื่อพื้นดินคายความร้อนโดยการแผ่รังสีออก จะคาย ความร้อนออกได้เร็วกว่าพื้นน้ำ ทําให้มีอุณหภูมิต่ำกว่าพื้นน้ำ อากาศเหนือพื้นน้ำซึ่งร้อนกว่าพื้นดิน จะลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน อากาศเหนือพื้นดินซึ่งเย็นกว่าจะไหลเข้าไปแทนที่ เกิดเป็นลมพัดจากฝั่งไปสู่ ทะเล ลมบก
· ลมภูเขาและลมหุบเขา (Valley Breeze) เป็นลมประจําวันเช่นเดียวกับลมบกและลมทะเล ลมหุบเขา เกิดขึ้นในเวลากลางวัน อากาศตามภูเขาและลาดเขาร้อน เพราะได้รับความร้อนจากดวง อาทิตย์เต็มที่ ส่วนอากาศที่หุบเขาเบื้องล่างมีความเย็นกว่าจึงไหลเข้าแทนที่ ทําให้มีลมเย็นจากหุบเขา เบื้องล่างพัดไปตามลาดเขาขึ้นสู่เบื้องบน เรียกว่า ลมหุบเขา
3. ลมพัดลงลาดเขา (Katabatic Wind) เป็นลมที่พัดอยู่ตามลาดเขาลงสู่หุบเขาเบื้องล่าง ลมนี้มี ลักษณะคล้ายกับลมภูเขา แต่มีกําลังแรงกว่า สาเหตุการเกิดเนื่องจากลมเย็นและมีน้ำหนักมากเคลื่อนที่ จากที่สูงลงสู่ที่ต่ำภายใต้แรงดึงดูดของโลก
4. ลมชีนุก (Chinook) เป็นลมที่เกิดขึ้นทางด้านหลังเขา มีลักษณะเป็นลมร้อนและแห้ง ความแรงลมอยู่ในขั้น
ปานกลางถึงแรงจัด
5. ลมซานตาแอนนา (Santa Anna) เป็นลมร้อนและแห้งพัดจากทางตะวันออก หรือตะวันออก เฉียงเหนือ เข้าสู่ภาคใต้มลรัฐแคลิฟอร์เนีย จะพัดผ่านบริเวณทะเลทรายและภูเขา จึงกลายเป็นลมร้อนและแห้ง                       6. ลมทะเลทราย (Desert Winds) เป็นลมท้องถิ่นเกิดในบริเวณทะเลทราย เวลาเกิดจะมาพร้อมกับ พายุฝุ่นหรือพายุทราย คือ ลมฮาบูบ (Haboob)                                                                                           7. ลมตะเภาและลมว่าว เป็นลมท้องถิ่นในประเทศไทย โดยลมตะเภาเป็นลมที่พัดจากทิศใต้ไปยัง ทิศเหนือ คือ  พัดจากอ่าวไทยเข้าสู่ภาคกลางตอนล่าง พัดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ซึ่งเป็น ช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะเปลี่ยนเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
เครื่องมือวัดอัตราเร็วลม
              เครื่องมือวัดอัตราเร็วลม เรียกว่า แอนนิโมมิเตอร์(Anemometer) มีหลายรูปแบบ บางรูปแบบ ทําเป็นถุงปล่อย ลู่บางรูปแบบทําเป็นรูปถ้วย ครึ่งทรงกลม 3 - 4 ใบ วัดอัตราเร็วลมโดยสังเกตการณ์                                                                                                              

ผลของปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศที่มีต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
ประโยชน์ของปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ
1. การเกิดลมจะช่วยให้เกิดการไหลเวียนของบรรยากาศ
2. การเกิดลมสินค้า
3. การเกิดเมฆและฝน
4. การเกิดลมประจําเวลา
ผลกระทบและภัยอันตราย
      1. ผลกระทบจากอิทธิพลของลมมรสุม เช่น น้ำท่วม น้ำท่วมฉับพลัน
      2. ผลกระทบจากอิทธิพลของลมพายุ เช่น ต้นไม้ล้มทับ คลื่นสูงในทะเล
      1. ปรากฏการณ์ธรรมชาติ  คือ การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ทั้งในระยะยาวและระยะสั้น สภาพแวดล้อมของโลกเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ทั้งเป็นระบบและไม่เป็นระบบ เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา มันส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต   ในธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงบางอย่าง มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอย่างรุนแรง
      2. มวลอากาศ (Air mass) มวลอากาศ หมายถึง ลักษณะของมวลอากาศที่มีลักษณะอากาศภายในกลุ่มก้อนขนาดใหญ่มาก มีความชื้นคล้ายคลึงกัน ตลอดจนส่วนต่างๆ ของอากาศเท่ากัน
1. การจําแนกมวลอากาศโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์                                                                                 

1.1. มวลอากาศอุ่น (Warm Air mass) ุ           เป็นมวลอากาศที่มีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิของอากาศ ผิวพื้นที่มวลอากาศเคลื่อนที่ผ่าน มักมีแนวทางการเคลื่อนที่จากละติจูดต่ำไปยังบริเวณละติจูดสูงขึ้นไป ใช้สัญลักษณ์แทนด้วยตัวอักษร " W "
1.2 มวลอากาศเย็น (Cold Air mass) เป็นมวลอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิผิวพื้นที่มวล อากาศเคลื่อนที่ผ่าน เป็นมวลอากาศที่เคลื่อนที่จากบริเวณละติจูดสูงมายังบริเวณละติจูดต่ำ ใช้สัญลักษณ์ แทนด้วยอักษรตัว " K " มาจากภาษาเยอรมัน คือ " Kalt " แปลว่า เย็น
2. การจําแนกมวลอากาศโดยใช้แหล่งกําเนิดเป็นเกณฑ์                                                                                

2.1 มวลอากาศขัวโลก (Polar Air-mass)
      2.1.1 มวลอากาศขัวโลกภาคพืนสมุทร (Marine Polar Air mass)                                                            
      2.1.2 มวลอากาศขัวโลกภาคพืนทวีป (Continental Polar Air mass)
2.2 มวลอากาศเขตร้อน (Topical Air mass)
      2.2.1. มวลอากาศเขตร้อนภาคพืนทวีป (Continental Topical Air mass)
      2.2.2. มวลอากาศเขตร้อนภาคพืนสมุ ทร (Marine Topical Air mass)

3. แนวอากาศ (Air Front) หรือแนวปะทะของมวลอากาศ แนวอากาศ หรือ แนวปะทะมวลอากาศ เกิดจากสภาวะอากาศที่แตกต่างกันมาก โดยมีอุณหภูมิและความชื้นต่างกันมากมาพบกัน เราสามารถจําแนกแนวอากาศหรือแนวปะทะอากาศ ของมวลอากาศได้  4  ชนิด  ดังนี้
  3.1 แนวปะทะของมวลอากาศอุ่น (Warm Front)
  3.2 แนวปะทะของมวลอากาศเย็น (Cold Front)
  3.3 แนวปะทะของมวลอากาศซ้อน (Occluded Front)
  3.4 แนวปะทะมวลอากาศคงที (Stationary Front)
4. พายุหมุน พายุหมุนเกิดจากศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ ทําให้บริเวณโดยรอบศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ
  4.1 พายุหมุนนอกเขตร้อน พายุหมุนนอกเขตร้อน หมายถึงพายุหมุนที่เกิดขึ้นในเขตละติจูดกลางและเขตละติจูดสูง4.2 พายุทอร์นาโด (Tornado) พายุทอร์นาโด เป็นพายุขนาดเล็กแต่มีความรุนแรงมากที่สุด มักเกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา และนอกนั้นเกิดที่แถบประเทศออสเตรเลีย
  4.3 พายุหมุนเขตร้อน พายุหมุนเขตร้อน เป็นพายุหมุนที่เกิดขึ้นในเขตร้อนบริเวณเส้นศูนย์สูตรระหว่าง              8 - 12 องศา เหนือและใต้ โดยมากมักเกิดบริเวณพื้นทะเลและมหาสมุทรที่มีอุณหภูมิของน้ำสูงกว่า 27 องศา เซลเซียส
พายุ ดีเปรสชัน (Depression) ความเร็วลมน้อยกว่า 63 กิโลเมตร/ชั่วโมง เป็นพายุอ่อนๆ มีฝนตกบาง ถึงหนัก พายุโซนร้อน (Tropical Storm) ความเร็วลม 64 - 115 กิโลเมตร/ชั่วโมง มีกําลังปานกลางมีฝน ตกหนัก           พายุหมุนเขตร้อน หรือพายุไซโคลนเขตร้อน (Tropical Cyclone) ความเร็วลม มากกว่า115 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง เป็นพายุที่มีกําลังแรงสูงสุด มีฝนตกหนักมาก บางครั้งจะมีพายุฝนฟ้าคะนองด้วย
ชนิดของพายุ ฝนฟ้าคะนอง
5.2.1 พายุ ฝนฟ้าคะนองพาความร้อน (Convectional Thunderstorm) เป็นพายุฝนที่เกิด จากการพาความร้อน ซึ่งมวลอากาศอุ่นลอยตัวสูงขึ้นทําให้อุณหภูมิของอากาศเย็นลง ไอน้ำจะกลั่นตัว กลายเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) และเกิดเป็นพายุฝนฟ้าคะนอง มักเกิดเนื่องจากโลกได้รับ ความร้อนจากดวงอาทิตย์ ทําให้พื้นดินร้อนขึ้นมาก อากาศบริเวณพื้นดินจะลอยสูงขึ้นเกิดเป็นเมฆคิวมู โลนิมบัส (Cumulonimbus) มักเกิดในช่วงบ่ายและเย็นในวันที่อากาศร้อนจัด
5.2.2 พายุ ฝนฟ้าคะนองภูเขา (Orographic Thunderstorm) เกิดจากการที่มวลอากาศอุ่น เคลื่อนที่ไปปะทะกับภูเขา ขณะที่มวลอากาศเคลื่อนที่ไปตามลาดเขาอากาศจะเย็นตัวลง ไอน้ำกลั่นตัว กลายเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus)
5.2.3. พายุ ฝนฟ้าคะนองแนวปะทะ (Frontal Thunderstorm) เกิดจากการปะทะกันของ มวลอากาศ มักเกิดจากการปะทะของมวลอากาศเย็นมากกว่า มวลอากาศอุ่น มวลอากาศอุ่นจะถูกดันให้ ยกตัวลอยสูงขึ้น ไอน้ำ
กลั่นตัวกลายเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) และเกิดเป็นพายุฝนฟ้าคะนองแนวปะทะอากาศเย็นอากาศเย็นมวลอากาศอุ่นเคลื่อนที่ไป การเคลื่อนที่มาปะทะกันของปะทะ ภูเขา มวลอากาศอุ่นและเย็น ทําให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
5.3 ปรากฏการณ์ที่เกิดจากพายุ ฝนฟ้าคะนอง ขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนองจะเกิดฟ้าแลบ  ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ลูกเห็บตก มีลมกระโชกแรงเป็นครั้งคราว โดยในรอบ 1 ปี
5.3.2 การเกิดฟ้าร้อง เนื่องจากประกายไฟฟ้าของฟ้าแลบทําให้อากาศในบริเวณนั้น มีอุณหภูมิสูงขึ้นถึงประมาณ 25,000 องศาเซลเซียส อย่างเฉียบพลัน มีผลทําให้อากาศมีการขยายตัว อย่างรวดเร็วและรุนแรง ทําให้เกิดเสียง "ฟ้าร้อง" เนื่องจากฟ้าร้องและฟ้าแลบเกิดขึ้นพร้อมกัน
5.3.3 การเกิดฟ้าผ่า เป็นปรากฏการณ์ควบคู่กันกับฟ้าแลบ และฟ้าร้อง เนื่องจากประจุ ไฟฟ้าได้มีการหลุดออกมาจากกลุ่มเมฆฝน และถ่ายเทลงสู่พื้นดิน ต้นไม้ อาคารหรือสิ่งก่อสร้าง ตลอดจนสิ่งมีชีวิตอื่นๆ