เรื่องที่ 2 โมเมนต์

       โมเมนต์ (Moment) หมายถึง ผลของแรงที่กระทําต่อวัตถุหมุนไปรอบจุดคงที่ ซึ่งเรียกว่าจุด ฟัลคัม (Fulcrum) 

ค่าของโมเมนต์ หาได้จากผลคูณของแรงที่มากระทํากับระยะที่วัดจากจุดฟัลครัมมาตั้งฉากกับ แนวแรง ดังสูตร M = F x S   หรือ

ทิศทางของโมเมนต์ มี 2 ทิศทาง คือ

       1.โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา

             คาน A B มีจุดหมุนที่ F มีแรงมากระทําที่ปลายคาน A จะเกิดโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา

       2.โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา

       คาน A B มีจุดหมุนที่ F มีแรงมากระทําที่ปลายคาน B จะเกิดโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา

กฎของโมเมนต์

เมื่อวัตถุหนึ่งถูกกระทําด้วยแรงหลายแรง แล้วทําให้วัตถุนั้นอยู่ในสภาวะสมดุล (ไม่ เคลื่อนที่และไม่หมุน) จะได้ว่า

ผลรวมของโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา = ผลรวมของโมเมนต์ตามเข็ม

คาน

หลักการของโมเมนต์ เรานํามาใช้กับอุปกรณ์ที่เรียกว่า คาน (lever) หรือคานดีดคานงัด คานเป็น เครื่องกลชนิดหนึ่งที่ใช้ดีดงัดวัตถุให้เคลื่อนที่รอบจุดหมด (fulcrum) มีลักษณะเป็นแท่งยาว หลักการ ทํางานของคานใช้หลักของโมเมนต์

รูปแสดงลักษณะของคาน

การจําแนกคาน คานจําแนกได้ 3 ประเภทหรือ 3 อันดับดังนี้

      1. คานอันดับที่ 1 เป็นคานที่มีจุด (F) อยู่ระหว่างแรงความพยายาม (E) และแรงความต้านทาน (W) เช่นกรรไกรตัดผ้า กรรไกรตัดเล็บ คีมตัดลวด เรือแจว ไม้กระดก เป็นต้น

      2. คานอันดับ 2 เป็นคานที่มีแรงความต้านทาน (W) อยู่ระหว่างแรงความพยายาม (E) และจุดหมุน (F)ช่น ที่เปิดขวดน้ำอัดลม รถเข็นทราย ที่ตัดกระดาษ เป็นต้น

     3. คานอันดับที่ 3 เป็นคานที่มีแรงความพยายาม (E) อยู่ระหว่างแรงความต้านทาน (W) และจุดหมุน (F)เช่น ตะเกียบ คีมคีบถ่าน แหนบ เป็นต้น


การใช้โมเมนต์ในชีวิตประจำวัน

ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของโมเมนต์ สามารถนําไปใช้ในชีวิตประจําวันในด้านต่างๆ มากมาย เช่น การเล่นกระดานหก การหาบของ ตราชั่งจีน การแขวนโมบาย ที่เปิดขวด รถเข็น คีม ที่ตัดกระดาษ เป็นต้น หรือในการใช้เชือกหรือสลิงยึดคานเพื่อวางคานยื่นออกมาจากกําแพง