เรื่องที่ 3 กระบวนการที่สารผ่านเซลล์

โครงสร้างของนิวเคลียสแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

     2.1 เยื่อหุ้มนิวเคลียส (Nuclear Membrane) เป็นเยื่อบางๆ 2 ชั้น อยู่รอบนิวเคลียสมีคุณสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่านเช่นเดียวกับเยื่อหุ้มเซลล์ มีรูเล็กๆกระจายทั่วไปเพื่อเป็นช่องทางแลกเปลี่ยนของสารระหว่างนิวเคลียสกับไซโทพลาซึมโดยเยื่อบริเวณชั้นนอกจะมีไรโบโซมเกาะติดอยู่

 

  2.2 นิวคลีโอลัส (Nucleolus) เป็นโครงสร้างที่ปรากฏเป็นก้อนเล็กๆ อยู่ในนิวเคลียสทำหน้าที่สังเคราะห์กรดนิวคลีอีกชนิดหนึ่งชื่อ ไรโบนิวคลีอิก (Ribonucleic acid  หรือ RNA กับสารอื่นที่เป็นองค์ประกอบของ   ไรโบโซม โดยสารเหล่านี้จะถูกส่งผ่านรูของเยื่อหุ้มนิวเคลียสออกไปยังไซโทพลาซึม

        2.3 โครมาทิน (chromatin) เป็นเส้นใยของโปรตีนหลายชนิดกับกรดดีออกซีไรไบนิวคลีอิก(Deoxyribonucleic acid หรือ DNA) ซึ่งเป็นสารพันธุกรรมในขณะที่มีการแบ่งเซลล์จะพบโครมาทินลักษณะเป็นแท่งๆเรียกว่าโครโมโซม (Chrommosome)

1.ไซโทพลาสซึม (Cytoplasm) 

        สิ่งที่อยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ทั้งหมดยกเว้นนิวเคลียสเรือกว่าไซโทพลาซึม ซึ่งเป็นของเหลวที่มีโครงสร้างเล็กๆ คือออร์แกแนลล์ (Organelle) กระจายอยู่ทั่วไปโดยออร์แกแนลล์ส่วนใหญ่จะมีเยื่อหุ้ม ทำให้องค์ประกอบภายในออแกแนลล์ออกจากองค์ประกอบอื่นๆในไซโทพลสซึม

2.ออสโมซิส(Osmosis

        เป็นการแพร่ของเหลวผ่านเยื่อบางๆซึ่งตามปกติจะหมายถึงการแพร่ของน้ำผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ เนื่องจากเยื่อหุ้มเซลล์มีคุณสมบัติในการยอมให้สารบางชนิดเท่านั้นผ่านได้ การแพร่ของน้ำจะแพร่จากบริเวณที่เจือจางกว่า(มีน้ำน้อย) ตามปกติการแพร่ของน้ำนี้จะเกิดทั้งสองทิศทางคือทั้งบริเวณเจือจางและบริเวณเข้มข้นจึงมักกล่าวกันสั้นๆว่าออสโมซิส เป็นการแพร่ของน้ำจากบริเวณที่มีน้ำมากเข้าไปสู่บริเวณที่มีน้ำน้อยกว่าโดยผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ แรงดันออสโมซิสเกิดจากการแพร่ของน้ำจากบริเวณที่มีน้ำมาก(เจือจาง) เข้าสู่บริเวณที่มีน้ำน้อย (เข้มข้น) สารละลายที่มีความเข้มข้นต่างกันจะมีผลต่อเซลล์แตกต่างกันด้วย