เรื่องที่ 1 ลักษณะรูปร่างของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์

เซลล์ (Cell) คือ หน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต

ประวัติการศึกษาเรื่องเซลล์

       ปี ค.ศ 1665 ฮุก (Robent Hooke) นักวิทยาศาตร์ชาวอังกฤษ ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ ที่มีคุรภาพดี และใช้ส่องดูไม้กอรฺกที่เฉือนบางๆและได้พบช่องเล็กๆจำนวนมากและเรียกห้องเหล่านั้นว่าเซลล์ (Cell) เซลล์ที่ฮุกค้นพบเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว

       ปี ค.ศ 1824 ดินโซโท ได้ศึกษาเนื้อเยื่อและเนื้อเยื่อสัตว์พบว่าประกอบด้วยเซลล์แต่มีลักษณะที่แตกต่างกันอยู่บ้าง

       ปี ค.ศ 1824 โรเบิร์ตบราวน์นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษได้ศึกษาเส้นขนและเซลล์อื่นๆของพืชพบว่ามีก้อนกลมขนาดเล็กอยู่กลาง จึงให้ชื่อก้อนกลมนี้ว่านิวเคลียส

       ปี ค.ศ 1831 มัตธิอัท ยาคอบ ชไลเคน นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันได้ศึกษาเนื้อเยื่อพืชต่างๆ และสรุปว่าเนื้อเยื่อทุกชนิดประกอบด้วยเซลล์

       ปี ค.ศ 1839  เทโอเดอ ชวานน์ นักสัตว์ศาสน์วิทยาชาวเยอรมัน ได้ศึกษาเนื้อเยื่อสัตว์ต่างๆแล้วสรุปว่าเนื้อเยื่อสัตว์ต่างๆทุกชนิดประกอบขึ้นด้วยเซลล์ดังนั้นในปีเดียวกันชานและไฮไลเคนได้ร่วมกันตั้งทฤษฎีเซลล์มีความสำคัญว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหลายประกอบขึ้นด้วยเซลล์และผลิตภัณฑ์ของเซลล์

       ทฤษฎีเซลล์ในปัจจุบันครอบคลุมใจความสำคัญ 3 ประการดังนี้

       1. สิ่งมีชีวิตทั้งหลายอาจมีเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ภายในมีสารพันธุกรรมและมีกระบวนการเมแทบบอลึซึ่ม ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ได้

        2. เซลล์เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตที่มีการจัดระบบการทำงานภายในโครงสร้างเซลล์

        3. เซลล์มีกำเนิดมาจากเซลล์แรกเริ่ม เซลล์เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์เดิมถึงแม้ว่าชีวิตแรกเริ่มจะมีวิวัฒนาการมาจากสิ่งไม่มีชีวิตแต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังเชื่อว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนเซลล์ เป็นผลสืบเนื่องมาจากเซลล์รุ่นก่อน

ปี ค.ศ. 1839 พูร์คินเย นักสัตววิทยา  ชาวเชโกสโลวาเกีย ได้ศึกษาไข่และตัวอ่อนของสัตว์ต่างๆ

ได้พบว่าภายในมีของเหลวใส เหนียว และอ่อนนุ่ม จึงได้เรียกของเหลวใสนี้ว่า โพรโทพลาซึม (Protoplasm)

ปี ค.ศ. 1868 ทอมัส เฮนรี ฮักซ์ลีย์ แพทย์ชาวอังกฤษศึกษาโพรโทพลาซึมและพบว่าโพรโทพลาซึมเป็นรากฐานของชีวิตเนื่องจากปฏิกิริยาต่างๆของเซลล์เกิดขึ้นที่โพรโทพราซึม

ปี ค.ศ. 1880 วัลเทอร์ เฟลมมิง นักชีววิทยาชาวเยอรมันได้ค้นพบว่าภายในนิวเคลียสของเซลล์

ต่าง ๆ มีโครโมโซม

ขนาดและรูปร่างของเซลล์

        เซลล์ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก และไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่อง แต่ก็มีเซลล์บางชนิดที่ใหญ่ สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น เซลล์ไข่

       รูปร่างของเซลล์แต่ละชนิดจะแตกต่างกันไปตามชนิด หน้าที่ และตําแหน่งที่ของเซลล์