เรื่องที่ 1 กลุ่มดาวจักรราศี 

       ดาวฤกษ์ (Star)  หมายถึง ดาวซึ่งมีแสงสว่างในตัวเอง ผลิตพลังงานได้เองโดยการเปลี่ยนเป็นมวล

สารส่วนหนึ่ง(m)  ณ แกนกลางของดาวให้เป็นพลังงาน(E) ตามสมการ E = mc2ของไอน์สไตน์ เมื่อc เป็นอัตรเร็วของแสงซึ่งสูงเกือบ 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที การเปลี่ยนมวลเป็นพลังงานของดาวกฤษ์ เกิดขึ้นภายใต้อุณหภูมิที่สูงมากเป็น 15 ล้านเคลวิน ในการหลอมไฮโดรเจนเป็นฮีเลี่ยม จึงเรียกว่าปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ดาวที่ผลิตพลังงานเช่นนี้ได้ต้องมีมวลมากมหาศาล ดาวฤกษ์จึงมีมวลสารมาก เช่นดวงอาทิตย์ที่มีมวลประมาณ 2,000 ล้านล้านล้านล้านตัน ซึ่งคิดเป็นมวลกว่า 98% ของมวลของวัตถุในระบบสุริยะ ดาวฤกษ์ดวงอื่นๆอยู่ไกลมากแม้จะส่องมองด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ก็มองเห็นเป็นเพียงจุดแสง ดาวฤกษ์เพื่อนบ้านของเรามีชื่อเรียกว่า“แอลฟา เซนทอรี” (Alpha Centauri) ) เป็นระบบดาวฤกษ์สามดวง โคจรรอบกันและกัน อยู่ในกลุ่มดาวคนครึ่งม้าดวงที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุดชื่อ “พร๊อกซิมา เซนทอรี” (Proxima Centauri) อยู่ห่างออกไป 40 ล้านล้านกิโลเมตร ดาวฤกษ์บางดวงมีดาวเคราะห์โคจรล้อมรอบ เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ของเรา เราเรียกระบบสุริยะเช่นนี้ว่า “ระบบสุริยะอื่น” (Extra solar system)

ความสัมพันธ์ระหว่างโลก และดวงอาทิตย์

       ดวงอาทิตย์ (The Sun) เป็นดาวฤกษ์ใกล้โลกที่สุดอยู่ตรงกลางระบบสุริยะ มีดาวเคราะห์เป็นบริวารโคจรล้อมรอบอุณหภูที่ีีแกนกลางของดวงอาทิตย์สูงถึง 15 ล้านเควิน สูงพอที่นิวเคลียสของไฮโครเจน 4 นิวเคลียสจะหลอมรวมกันเป็นนิวเคลียสฮีเลียม 1 นิวเคลียส อุณหภูมิพื้นผิวลดลงเป็น 5,800 เคลวิน ดวงอาทิตย์มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.4 ล้านกิโลเมตร  (ประมาณ 109 เท่าของโลก)

       โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะในระบบโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี โดยมีระยะทาง

เฉลี่ยห่างจากดวงอาทิตย์ 149,597,870 กิโลเมตร และใช้เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 ปี เมื่อสังเกตจากพื้นโลกจะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นมาทางด้านทิศตะวันออก และตกทางด้านทิศตะวันตกทุกวัน ทั่งนี้เนื่องจากโลกมีการหมุนรอบตัวเองรอบละ 1 วัน อย่างไรก็ตามหากติดตามเฝ้าสังเกตการขึ้น - ตก ของดวงอาทิตย์เป็น ประจําจะพบว่า ในรอบ 1 ปี ดวงอาทิตย์จะปรากฏขึ้น ณ จุดทิศตะวันออก และตก ณ จุดทิศตะวันตกพอดี

เพียง 2 วันเท่านั้น คือวันที่ 21  มีนาคม และวันที่  23  กันยายน ส่วนวันอื่นๆ การขึ้น – ตกของดวงอาทิตย์จ ะเฉียงค่อนไปทางทิศเหนือหรือทางทิศใต้บ้าง โดยในวันที่ 21 มิถุนายน ดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกค่อนไปทางทิศเหนือมากที่สุดและตกไปทางทิศตะวันตกค่อนไปทางทิศเหนือมากที่สุด และในวันที่ 22  ธันวาคม ดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกค่อนไปทางทิศใต้มากที่สุดและทิศตะวันตกค่อนไปทางทิศใต้มากที่สุด  ดังแสดงในภาพ 

กลุ่มดาวและฤดูกาล

มนุษย์ในยุคโบราณสามารถสังกตตำแหน่งการขึ้น - ตกของควงอาทิตย์และการปรากฎของกลุ่มดาว สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ทำให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เป็นปกติสุขโดยการสังเกดดวงอาทิตย์และกลุ่มคาวที่ปรากฏบนท้องฟ้าหลังดวงอาทิตย์ตก มนุษย์สามารถรู้ว่าเมื่อใดควรเริ่มเพาะปลูก เมื่อใดควรเริ่มเก็บเกี่ยว เมื่อใดควรสะสมอาหารแห้งเตรียมไว้เพื่อบริโภคใบฤดูหนาว มนุษย์เริ่มรู้จักใช้วัตถุท้องฟ้าเป็นสิ่งกำหนดเวลาได้ โดยเฉ พาะอย่างยิ่งเมื่อมนุษย์เริ่มเปลี่ยนสภาพการดำรงชีวิตแบบป้าเถื่อนมาอยู่ในระดับที่เจริญขึ้น  ซึ่งการดำรงชีวิตเน้นทางด้นกสิกรรมหรือเกษตรกรรม มนุษย์ต้องมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็น จังหวะของธรรมชาติเหล่านั้นมากขึ้น

       เราอาจทำการสังเกตการณ์ หรือทำการ ทคลอง เพื่อศึกยาการขึ้น - ตกและตำแหน่งของดาว

อาทิตย์และการปรากฎของกลุ่มดาว ฌ วันใด ๆ ในรอบปีได้ เมื่อโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 1รอบ  คนบนโลกจะเห็นดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ปรากฎผ่านกลุ่มดาวฤกษ์ในจักรราศี ทั้ง 12 กลุ่มดังได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งโดยเฉลี่ยดวงอาทิตย์จะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนปรากฏเคลื่อนที่ในกลุ่มดาวแต่ละราศี

ราศีมีชื่อเกี่ยวกับกลุ่มคาวที่ควงอาทิตย์ปรากฏผ่านเช่นในยุคปัจจุบันควงอาทิตย์ปรากฎผ่าน

กลุ่มดาวมีนหรือกลุ่มดาวปลา ระหว่างวันที่ 21 มีนาคม - 20 เมยายน เดือนมีนาคมซึ่งแปลว่า มาถึง(อาคม) กลุ่มดาวปลา (มีน) แล้ว จึงเป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มคาวปลา เป็นต้น นั่นคือคนไทยตั้งชื่อเดือนตามกลุ่มดาวจักรราศี 

ตำแหน่งปรากฎของดวงอาทิตย์ในกลุ่มดาวในจักรราศี จะสอดกล้องกับชื่อเดือนทั้ง 12 เดือนที่คนไทยได้กำหนดขึ้นตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้ำเจ้าอยู่หัว พระปิยะมหาราชเช่นดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่ในกลุ่มดาวราศีตุลในช่วงราวเดือนตุลาคม และในช่วงเดือนดังกล่าวนี้กลุ่มดาวจักรราศีที่ปรากฏบนท้องสำหลังดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าในตอบหัวค่ำ ก็จะเป็นกลุ่มดาวแมงป้อง คนยิงธนู แพะทะเล คนแบกหม้อน้ำ ปลา และแกะ ตามลำดับจากทิศตะวันตกต่อเนื่องไปทางทิศตะวันออก ดังนั้นตำแหน่งการขึ้น - ตกของดวงอาทิตย์ในรอบปี ฤดูกาลและกลุ่มดาวที่ปรากฏบนท้องฟ้าจึงมีความสัมพันธ์กับอย่างใกล้ชิด